ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีที่มาอย่างไร
การรักษาผู้ป่วยนอกจากการรักษาทางการแพทย์ ด้วยการผ่าตัด การรับประทานยาแล้ว การดูแลด้านโภชนการสำหรับผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการรักษาด้านการแพทย์เลยทีเดียว เพราะว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนต่อและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามความเหมาะสมของโรคที่ตนเองเป็นอยู่นั้น
จะทำให้ร่างกาย ของผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น จึงมีโอกาสที่จะหายจากโรคได้เร็วและมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแลด้านโภชนการ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ออกมาสำหรับผู้ป่วย เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ ถึงแม้ว่าผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์จะไม่สามารถทำการรักษาให้ผู้ป่วยหายจากโรคที่เป็นอยู่ได้เหมือนกับการรับประทานยา แต่ว่าผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์จะเข้าไปช่วยเพิ่มความสมดุลของสารอาหารภายในร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระบบทำงานได้ดีการฟื้นฟู ซ่อมแซมและรักษาร่างกายให้หายจากการเจ็บป่วยย่อมมีโอกาสหายได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่ในมีผู้ป่วยบางรายมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์กับอาหารเสริมทั่วไปว่าเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถรับประทานได้เหมือนกัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยจึงหันไปรับประทานอาหารเสริมแทนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าและคิดว่ามีคุณสมบัติที่เหมือนกันสามารถรับประทานแทนกันได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการป่วยที่หนักขึ้นหรืออาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเสริมที่ไม่เหมะสมกับโรคที่เป็นอยู่ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินรวม ทำให้มีความอยากอาหารและรับประทานอาหารมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ปัจจุบันนี้อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในรูปแบบผงหรือพร้อมดื่ม มีการโฆษณาสรรพคุณให้ผู้บริโภคฟังมากมาย บางชนิดบอกว่าสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรง บางชนิดช่วยรักษาโรคได้ บางก็โฆษณาว่าเป็นอาหารเสริมทางการแพทย์แต่บางชนิดก็บอกเพียงว่าเป็นอาหารเสริม แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ต่างกันอย่างไร
อาหารเสริม และ ผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อาหารเสริม ( Complementary foods ) คือ อาหารที่เราทำการรับประทานเพิ่มเติมจากการรับประทานอาหาร หลักทั้ง 5 หมู่ ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอย่ในสภาวะปกติไม่มีอาหารเจ็บป่วยของโรคเกิดขึ้น ซึ่งอาหารเสริมจะเข้าไปเพิ่มประมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการแต่ได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และเกลือแร่ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมมักจะรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อความสวยงาม ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย และช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ ( Dietary supplements หรือ Food supplements หรือ Nutritional supplements ) คือ อาหารที่มีสารอาหารเหมือนอาหารที่รับประทานอยู่ในชีวิตประจำวันไม่ใช่ยาที่ใช้ในการรักษาโรคให้หายได้ แต่เป็นอาหารที่ทำการผลิตและออกแบบตามหลักของโภชนการบำบัดที่ช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยมีการดัดแปลงอาหารให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถทำการย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เมื่อรับประทานเข้าไปสู่ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารอาหารและนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายได้ทันที จึงช่วยลดปัญหาการขาดสารอาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะมีหลายรูปแบบทั้งแบบที่ออกแบบมาสำหรับเสริมสารอาหารให้กับผู้ที่อยู่ในสภาวะปกติ เช่น ผู้สูงอายุ และแบบที่มีสารอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิต เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะได้รับการออกแบบมาให้มีสารอาหารที่ผู้ป่วยเหล่านั้นต้องการในปริมาณที่เพียงพอและไม่มีปริมาณสารอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยผสมอยู่ด้วย จึงช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะขาดสารอาหารที่ทำให้ระบบภายในเกิดความผิดปกติ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะอยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย ผู้ป่วยจึงสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน สามารถฟื้นฟูและต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่จนร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลากหลายชนิด มีทั้งสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา และผู้ป่วย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์แบ่งออกได้ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ชนิดนี้ทำมาจากอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ที่ร่างกายต้องการ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมันดี โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย นำมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปที่สามารถรับประทานได้ง่าย โดยปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ไม่มีการเพิ่มหรือเสริมสารอาหารชนิดใดเป็นพิเศษเข้าไปในตัวผลิตภัณฑ์ จึงเหมาะสมกับผู้ที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติแต่ไม่สามารถรับประทานอาหารหลักให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่หรือผู้ที่ต้องรับประทานอาหารทางสายยาง เช่น คนที่รู้สึกเบื่ออาหาร ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง เป็นต้น
2.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละโรคจะมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องได้รับอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่แต่ต้องระวังในเรื่องของปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากอาหาร ซึ่งอาหารเสริมเวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายในกระบวนการเผาผลาญที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติจึงช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงอยู่ไม่ถูกตึงไปใช้จนหมด และลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดจึงช่วยลดความเสี่ยงในของการมีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงได้ หรือในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการให้เคมีบำบัดที่เกิดอาการข้างเคียงจึงมีความรู้สึกเบื่ออาหารไม่อยากรับประทานอาหาร ต้องได้รับโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงกว่าปกติ เพื่อช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ลดอาการข้างเคียงและทำลายเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยนี้สามารถรับประทานไปพร้อมกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์ทางเลือกได้ตามปกติ
นอกจากทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่งคือแบบที่มีการเสริมสารอาหารใดสารอาหารหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารดังกล่าว เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เสริมเส้นใยอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เสริมเวย์โปรตีนสำหรับมีปัญหากล้ามเนื้อเหี่ยวย่น เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์แบบนี้คนทั่วไปสามารถรับประทานเสริมในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ระบบการทำงานภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกระบบ
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลายชนิดทั้งสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ คนชราและผู้ป่วย ซึ่งแต่ละแบบได้มีการออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายตามหลักทางการแพทย์และหลักของโภชนการบำบัด การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทยสามารถรับประทานควบคู่ไปกับการรับ ประทานอาหารหลักหรือรับประทานแทนอาหารหลักก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์และลักษณะของผู้บริโภคด้วย เช่น ผู้สูงวัยนอนติดเตียงที่ต้องได้รับอาหารทางสายยาง ผู้ป่วยอัมพาตหรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตนเองก็สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนทางสายยางเพื่อทดแทนอาหารหลักได้ หรือในผู้ป่วยที่สามารถรับประทานอาหารได้เอง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ที่ถึงแม้จะรับประทานอาหารได้เองแต่ก็รับประทานได้น้อย ส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วยก็จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการที่เป็นอยู่ได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาด้านโภชนการบำบัด (Novel Therapeutic Nutrition) ที่มีการค้นคว้า วิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงความสำคัญด้านโภชนการต่อผู้ป่วยเฉพาะโรค
ข้อดีของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์
1.ทานง่าย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีการทำการผลิตออกมาในรูปแบบที่สามารถรับประทานได้ง่าย เช่น มีลักษณะเป็นผงสำหรับชงทาน เพียงแค่ใส่น้ำคนให้ละลายก็สามารถรับประทานได้ รวมถึงการออกแบบกลิ่นและรสชาติของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการรับประทาน ซึ่งด้วยลักษณะที่ท่านง่ายและมีขั้นตอนการเตรียมที่ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุรับประทานได้ดีจึงช่วยเพิ่มปริมาณสารอาหารให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
2.มีสารอาหารเพียงพอ
การรับประทานอาหารหลักในแต่ละมื้อ ร่างกายอาจจะได้รับปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป อาหารที่รับประทานมีสารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ หรือร่างกายไม่สามารถทำการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหาร แต่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะประกอบไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เอนไซม์ ใยอาหาร ในมี ปริมาณที่เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละประเภท และสารอาหารทุกชนิดล้วนอยู่รูปแบบที่ใช้งานได้ง่าย จึงหมดช่วยแก้ปัญหาสารอาหารไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารอย่างได้ผล ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมกับการรับประทานอาหารหลักหรือรับประทานแทนอาหารหลักในผู้ป่วยบางราย จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ
3.มีลักษณะที่เฉพาะตรงตามความต้องการ
ร่างกายของคนแต่ละช่วงอายุหรือร่างกายของผู้ป่วยแต่ละโรคล้วนมีความต้องการของสารอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งการเลือกรับประทานอาหารหลักเพียงอย่างเดียว สารอาหารที่ได้รับจากอาหารในแต่ละมื้อของวันอาจยังไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายทั้งหมด ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารหลักจึงสามารถช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นในขนาดที่เหมาะสมและเพียงพอกับร่างกายของทุกเพศ ทุกวัย ทุกโรค ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายมีการทำงานที่เป็นปกติ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้นและยังช่วยผู้ป่วยฟื้นตัวให้หายจากโรคที่เป็นอยู่ได้เร็วขึ้น
การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตารฐานน่าเชื่อถือได้ มีการรับรองจากองค์กรอาหารและยาหรือสถาบันที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตทั้งในและต่างประเทศ มีการบอกถึงส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดถึงสัดส่วนของสารอาหาร บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุต้องปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารอื่นเข้ามาปนเปื้อนได้ในขณะที่ทำการขนส่ง มีการระบุอัตราส่วนในการบริโภคอย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุด้วยว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เป็นชนิดใด เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปหรือว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวใดบ้าง ปริมาณสารอาหารที่ได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโค ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะต้องมีระบุอยู่บบรรจุภัณฑ์เพื่อที่ผู้บริโภครับรู้ได้อย่างชัดเจน
จะเห็นว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มสารอาหารให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย แต่การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ต้องมีความเข้าใจเสียก่อนว่า ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่ยาที่ช่วยรักษาโรคให้หายได้ เพราะมีผู้ป่วยบางรายเข้าใจว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะสามารถช่วยให้หายจากอาการป่วยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงรับประทานผลิตเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ไม่รับประทานอาหารหลัก ไม่รับประทานยาและไม่ยอมไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา ซึ่งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์นี้อาจจะส่งผลให้อาการของโรคที่เป็นอยู่มีอาการที่แย่ลงได้ในอนาคต เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง
ดังนั้นผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์นั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคที่เป็นอยู่ได้ เนื่องจากสารอาหารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้เข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภายในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้สามารถต่อสู้เชื้อโรคที่อยู่ภายในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นและเมื่อทำงานร่วมกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคแล้วจึงทำให้หายจากโรคที่เป็นอยู่ได้นั่นเอง
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เป็นอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือความเสื่อมของร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน หรือผู้ที่ต้องการสารอาหารบางชนิดมากกว่าปกติที่ควรได้รับต่อวัน หรือผู้ที่ต้องทำการควบคุมปริมาณสารอาหารบางชนิดไม่ให้ได้รับมากเกินไป ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารทั้งสิ้น ซึ่งการรับประทานอาหารที่เรารับประทนกันอยู่ทุกวันอาจจะไม่ตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด
ดังนั้นการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จึงเป็นทางเลือกหใม่ที่เกิดขึ้นสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กที่ต้องการสารอาหารที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันออกไป การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมแล้วย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ตามวัยอย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยการรับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการบำบัดเสียก่อน หรือรับประทานตามที่มีการระบุจากผู้ผลิตเท่านั้น เพื่อที่การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะส่งผลดีที่สุดต่อร่างกายของผู้บริโภคนั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
https://www.nestlehealthscience-th.com/
Victora CG, Bahl R, Barros AJD, et al, for The Lancet Breastfeeding Series Group. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet 2016; 387: 475–90.
Black, R.etal., ‘Maternal and child undernutrition and overweight in low-Income and middle-income countries’, The Lancet, vol.382, no. 9890, 3 August 2013, pp.427-451.
I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.