Home Blog Page 18

ต้นมะลิลา ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน

0
มะลิ
ต้นมะลิลา หรือมะลิ ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน เป็นไม้พุ่ม แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ ใบประกอบแบบขนนก ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
มะลิ
เป็นไม้พุ่ม แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ ใบประกอบแบบขนนก ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

มะลิลา

มะลิลา หรือมะลิ มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ชื่อสามัญ Kampopot[8], Seented star jusmine[6], Jusmine[8], Arabian jasmine[2],[5] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac (L.) Aiton[3],[5] อยู่วงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เซียวหน่ำเคี้ยง (จีน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิลา (ทั่วไป), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิขี้ไก่ (จังหวัดเชียงใหม่), หม้อลี่ฮวา (จีนกลาง), บักหลี่ฮวย (จีน), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิลา (ภาคกลาง), มะลิ (ทั่วไป), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่งสอน) [1],[3]

ลักษณะของมะลิลา

  • ต้น เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบอยู่แน่น ต้นสูงประมาณ 5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขารอบลำต้น ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การตอนกิ่ง โตได้ดีในดินร่วนซุย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้นมะลิชอบที่มีแสงแดดจัด ถ้าให้น้ำเยอะไปก็จะทำให้ดอกออกน้อยลง การตัดแต่งใบในภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะออกดอกดียิ่งขึ้น [1],[7] มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบประเทศเอเชีย [7]
  • ใบ ออกใบเรียงตรงข้ามกัน ใบมะลิเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเพียงใบเดียว ใบเป็นรูปขอบขนาน รูปไข่ รูปมนป้อม รูปรี ที่โคนใบจะมนสอบเข้าหากัน ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ มีเส้นใบประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมาก มีขน[1],[8]
  • ดอก ออกที่ตามซอกใบตามปลายกิ่ง มีดอกแบบไม่ซ้อนที่เรียกกันว่า ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกที่ปลายจะแยกเป็นกลีบ 5-8 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมเป็นหลอดที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกจะมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมเหลืองอ่อน ที่ปลายจะแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้อยู่ 2 ก้านติดที่กลีบดอกในหลอดสีขาว มักไม่ติดผล[8]
  • ผล เป็นผลสด[2]

ประโยชน์มะลิลา

1. คนไทยมีความเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิเป็นไม้ประจำบ้าน ทำให้สงบสุข ร่มเย็น เป็นที่ประทับใจต่อผู้คนรอบข้าง ช่วยเกื้อหนุนให้เกิดความกตัญญูของผู้เป็นลูกที่มีต่อคุณแม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อบ้านกับผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นมะลิทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปลูกวันพุธเพื่อเอาคุณ ผู้ปลูกควรเป็นผู้หญิงสูงอายุ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป มะลิที่นิยมปลูกในบ้านเพื่อความมงคลมี 5 ชนิด ก็คือ พุทธชาด มะละฉัตร มะลิพวง มะลิวัลย์ ต้นมะลิเป็นต้นไม้ประจำวันเกิดผู้เกิดที่วันจันทร์ หมายถึงความนุ่มนวลอ่อนโยนเรียบร้อย
2. ทางสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ใช้น้ำมันหอมระเหยของดอกมะลิ กระตุ้นระบบประสาทผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ ง่วง เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ช่วยปรับอารมณ์และช่วยปรับสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาความกลัว บรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ บรรเทาความเครียด (ดอก)[4]
3. ดอกมะลิมีกลิ่นหอมและเป็นสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิเป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ[1]
4. เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์[9]
5. ปลูกเป็นไม้ประดับ [7]
6. นิยมใช้ดอกร้อยเป็นพวงมาลัย หรือทำดอกไม้แห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย ใช้อบขนม ใช้แต่งกลิ่นใบชา [6]

สรรพคุณมะลิลา

1. ในตำรายาไทยใช้ดอกมะลิแห้งมาปรุงเป็นยาหอม ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณที่ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น และช่วยแก้ไข้ (ดอก)[2],[4]
2. สามารถใช้แก้กระดูกร้าว และฟกช้ำได้ โดยนำรากมะลิแห้ง 1.5 กรัม มาฝนกับเหล้าทาน (ราก)[3]
3. สามารถนำรากมะลิสดมาตำใช้พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเพราะหกล้มได้ (ราก)[3]
4. สามารถนำใบมะลิสดมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ และแผลโรคผิวหนังเรื้อรังได้ (ใบ)[1]
5. สามารถนำใบมะลิสดมาตำให้ละเอียดผสมน้ำมันมะพร้าวใหม่ แล้วเอาไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง (ใบ)[5]
6. สามารถช่วยขับประจำเดือนของผู้หญิงได้ (ราก)[5]
7. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ นำใบมะลิอ่อนใสมาแช่น้ำเย็น ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี (ใบ)[9]
8. สามารถช่วยแก้อาการเสียดท้องได้ (ราก)[5]
9. สามารถนำดอกมะลิสดมาตำละเอียดแล้วเอามาใช้พอกหรือเช็ดตรงบริเวณเต้านมเพื่อทำให้น้ำนมหยุดหลั่ง (ดอก)[1]
10. สามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบ แก้หอบหืดได้ โดยนำรากสด 1-1.5 กรัมมาต้มกับน้ำทาน (ราก)[1],[4]
11. สามารถช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟันได้ โดยนำรากมะลิสดประมาณ 1-1.5 กรัมมาต้มกับน้ำทาน [1]
12. ในตำรับยาแก้หวัดแดด มีไข้ ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม มาต้มกับน้ำรวมกัน แล้วนำมาทาน (ดอก)[3]
13. ใบกับดอกของมะลิมีรสเผ็ดชุ่ม จะเป็นยาเย็น สามารถช่วยแก้ไข้หวัดแดด ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยดับพิษร้อน ช่วยถอนพิษไข้ และช่วยขับเหงื่อขับความชื้น (ใบ, ดอก)[3],[4]
14. นำรากของมะลิมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)[5]
15. สามารถช่วยแก้เจ็บหูได้ (ใบ, ดอก)[3]
16. สามารถช่วยแก้อาการเจ็บตาได้ (ดอก)[4]
17. ถ้านอนไม่หลับ ให้นำรากของมะลิแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมมาฝนกับน้ำทาน (ราก)[3]
18. ดอกจะมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุ่มชื้น ชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย [4]
19. มีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน อย่างเช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ยาหอมเทพจิต ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมทิพโอสถ มีส่วนประกอบหลักคือดอกมะลิ และมีการใช้เป็นส่วนผสมตำรับยามหานิลแท่งทอง ยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง เป็นต้น (ดอก)[4]
20. ใบมะลิสามารถช่วยขับน้ำนมของผู้หญิงได้ (ใบ)[5]
21. รากของมะลิมีรสเผ็ดขม จะเป็นยาเย็น มีพิษนิดหน่อย สามารถใช้เป็นยาแก้ปวด ยาชาได้ โดยนำรากมะลิสดประมาณ 1-1.5 กรัม มาต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ปวด (ราก)[1],[3]
22. สามารถนำดอกสดมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง แก้ปวดหูชั้นกลาง ผิวหนังผื่นคัน และเยื่อตาอักเสบ (ดอก)[1],[4]
23. สามารถช่วยแก้ฝีหนองได้ (ใบ, ดอก)[3]
24. สามารถช่วยบำรุงครรภ์รักษาได้ (ดอก)[4]
25. สามารถนำดอกมะลิสดหรือดอกมะลิแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม มาต้มกับน้ำ ใช้ทานเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด (ดอก[1],[4], ดอกและใบ[3])
26. รากของมะลิสามารถใช้เป็นยาแก้โรคที่เกี่ยวกับทรวงอกได้ (ราก)[1]
27. ใช้ดอกมะลิแก่เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)[5]
28. สามารถตำดอกมะลิสดแล้วใส่พิมเสน นำมาใช้สุมหัวเด็กแก้ตัวร้อน แก้ซาง แก้หวัด (ดอก)[4]
29. สามารถนำใบมะลิสดประมาณ 3-6 กรัม มาต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[1],[5]
30. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ โดยนำรากมะลิสดมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าให้ร้อน แล้วนำมาพอกตรงบริเวณที่ปวด (ราก)[3],[10]
31. ถ้าปวดฟันผุ ให้นำรากตากแห้งมาบดเป็นผง ผสมไข่แดงต้มสุก จนได้ยาที่เหนียวข้น แล้วนำมาใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)[10]
32. ใช้รากมะลิสดมาทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก)[1]
33. รากกับใบของมะลิใช้ทำเป็นยาหยอดตาได้ (ใบ, ราก)[5] บ้างก็บอกว่าใช้ดอกสดมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้มกับน้ำให้เดือดสักครู่ แล้วเอาน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)[10]
34. สามารถนำดอกมะลิสดมาตำละเอียดแล้วนำมาใช้พอกขมับ ช่วยแก้ปวดศีรษะ (ดอก)[1]
35. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ นำรากมะลิมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าสารที่สกัดได้จากดอกมะลิด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1:1 ในขนาดเทียบเท่ายาผง 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่เป็นพิษกับหนูถีบจักร ไม่ว่าให้โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือป้อน สารสกัดที่ได้จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1:1 เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ปรากฏว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่า 1 กรัมต่อกิโลกรัม[4]
  • ดอก มีสาร methyl isoeugenol, caryophyllene oxide, farnesyl acetate, benzyl benzoate ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และเชื้อรา Aspergillus niger[4]
  • จากการทดสอบตำรับยาที่มีน้ำมันหอมระเหยในตำรับ 3-20% มีน้ำมันหอมระเหยจากมะลิคิดเป็น 50-90% ปรากฏว่ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ[4]
  • น้ำมันระเหยจากดอก ทำให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยไปกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสาร phytol[4]
  • นำรากที่สกัดด้วยน้ำมาทดลองกับหัวใจกบกับกระต่ายที่อยู่นอกตัว ปรากฏว่าทำให้หัวใจเต้นช้าลง และเมื่อทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวหนูกับกระต่ายทดลอง ปรากฏว่ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกที่ตั้งท้องและไม่ได้ตั้งท้องให้บีบตัวแรงขึ้น[3]
  • สาร jasmolactone B และ D ที่แยกจากดอกมะลิพวงจะออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี (coronary vasodilating), กระตุ้นหัวใจ (cardiotropic activities) อาจสนับสนุนการนำดอกมะลิมาใช้ในตำรับยาหอมในการรักษาอาการวิงเวียน เป็นลม ที่มีการใช้ในยาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ[4]
  • ดอกมะลิ มีน้ำมันระเหยอยู่ประมาณ 0.2-0.3% น้ำมันระเหยที่ได้จากดอกมะลิพบสาร Methyl benzoate, Jasmine lactone, hexenyl benzoate, Caryophyllene, Benzyl acetate, Benzyl alcohol, Methyl jasmonte, Benzyl alcohol ester, Cadinene, Geraniol, Jasmone, Linalool และพบสาร Linalyl benzoate, Pipid และพบสาร Sambacin, Jasmine ในใบ และพบสาร Sterols, Alkaloids ในราก[3],[4]
  • น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากดอกมีฤทธิ์ไล่หมัดได้ดีมากกว่าสารเคมี diethyltoluamide[4]
  • สารสกัดเมทานอลจากดอกแห้งจะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml สารสกัดดังกล่าวมีผลกับสุขภาพช่องปาก[4]
  • กลิ่นชามะลิที่มีสารสำคัญ (R)-(-)-linalool ปรากฏว่าช่วยทำให้สงบในอาสาสมัคร 24 คน[4]
  • เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากรากมะลิด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำในปริมาณ 1-8 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม มาฉีดเข้าช่องท้องสัตว์ทดลอง ปรากฏว่าทำให้สัตว์ทดลองหลับได้ดี หลับสบาย ช่วยทำให้สงบนิ่ง ถ้าใช้สารนี้ในปริมาณที่เยอะขึ้น แล้วฉีดให้กบจะทำให้กบเป็นอัมพาตทั้งตัว แสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลางของสัตว์[3]
  • น้ำรากสดคั้น เมื่อทดลองกับสัตว์ทดลอง อย่างเช่น การฉีดเข้าช่องท้องของกบ หนูใหญ่ หนูตะเภา สุนัข นกพิราบ กระต่าย ในปริมาณไม่เท่ากัน ปรากฏว่าทำให้การเต้นหัวใจของกระต่ายกับกบเต้นช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อกบคลายตัว ทำให้หลอดเลือดดำกระต่ายขยายตัวขึ้น ทำให้มีฤทธิ์กดประสาทกระต่าย ทำให้กระต่ายเคลื่อนไหวช้าลง[1]
  • ลำต้นกับใบ พบสารสำคัญหลายกลุ่ม อย่างเช่น irridoid glycoside, flavonoid, triterpenoid เช่น trans-3-hexenyl butyrate, linalool, d-fenchene, jasminin, sambacin, rutin, sambacoside A, E, F, benzyl acetate, cis-linalool oxide, quercetin, isoquercetin, limonene, methyl benzoate, kaempferol-3-rhamnooglycoside, methyl salicylate, myrcene [4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “มะลิ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 639-641.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะลิลา Arabian Jasmine”. หน้า 128.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะลิ”. หน้า 454.
4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [17 พ.ค. 2014].
5. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 พ.ค. 2014].
6. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [17 พ.ค. 2014].
7. ไขปริศนา พฤกษาพรรณ, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มะลิลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/. [17 พ.ค. 2014].
8. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
9. โรงเรียนอุดมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. “ดอกมะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.udom-suksa.com. [17 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://www.gardenersworld.com/

โมกบ้าน เปลือกสรรพคุณช่วยรักษาโรคไต

0
โมกบ้าน เปลือกสรรพคุณช่วยรักษาโรคไต เป็นไม้พุ่มมีขนาดกลาง ดอกออกเป็นช่อสีขาว ก้านชูดอกยาวและจะเป็นเส้นเล็ก กลิ่นหอมเย็น ฝักแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปกระสวยมีขนปุยสีขาวขึ้นที่ปลายเมล็ด
โมกบ้าน
เป็นไม้พุ่มมีขนาดกลาง ดอกออกเป็นช่อสีขาว ก้านชูดอกยาวและเส้นเล็ก กลิ่นหอมเย็น ฝักแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปกระสวยมีขนปุยสีขาวขึ้นที่ปลายเมล็ด

โมกบ้าน

โมกบ้าน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa (Teijsm. & Binn.) Benth. ex Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Echites religiosus Teijsm. & Binn., Wrightia religiosa (Teijsm. & Binn.) Benth.) อยู่วงศ์ APOCYNACEAE [1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น โมกกอ (ไทย), โมก (ไทย), โมกลา (ภาคกลาง), หลักป่า (ระยอง), ปิดจงวา (เขมร-สุรินทร์), โมกดอกหอม(ไทย), โมก (ไทย), โมกซ้อน (ภาคกลาง) [1],[3],[4]

ลักษณะของโมกบ้าน

  • ต้น เป็นไม้พุ่มมีขนาดกลาง จะไม่ผลัดใบ ต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีเรือนยอดที่แผ่กว้าง เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเกลี้ยงและเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีจุดเล็กสีขาวประอยู่ จะแตกกิ่งต่ำอยู่ใกล้กับผิวดิน มีน้ำยางสีขาวทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง โตได้ดีในดินร่วนที่สามารถระบายน้ำได้ดี ที่ชื้นปานกลาง ต้นชอบแสงแดดเต็มวันถึงรำไร จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนความร้อนกับแสงแดดได้ มักจะพบเจอขึ้นได้ที่ตามป่าละเมาะที่มีความชื้น ตามป่าดงดิบ[1],[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่ รูปรี ที่ปลายใบจะมนหรือจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบเข้าหากันหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.3-7.8 เซนติเมตร มีเนื้อใบที่บาง ท้องใบมีลักษณะเรียบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามซอกใบ หนึ่งช่อมีดอกประมาณ 4-8 ดอก ดอกจะมีกลิ่นที่หอมเย็น มีดอกทั้งแบบชั้นเดียวเรียกกันว่าโมกลา และชนิดที่มีกลีบดอกเรียงซ้อนที่เรียกกันว่าโมกซ้อน ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีขาว กลีบดอกมีอยู่ 5-16 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ที่โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียว ที่โคนเชื่อมกัน ส่วนที่ปลายจะแยกเป็นแฉกแหลม ๆ มีเกสรติดกับหลอดท่อดอกอยู่ที่กลางดอก ก้านชูดอกมีลักษณะยาวและจะเป็นเส้นเล็ก ดอกบานเต็มกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกดอกได้ทั้งปีถ้าอยู่ในสภาพที่เหมาะสม ดอกจะออกเยอะพิเศษช่วงปลายฤดูกับต้นฤดูหนาว[1],[2],[3],[4]
  • ผล เป็นฝักคู่ ที่โคนจะเชื่อมกัน ส่วนที่ปลายจะแหลม ผิวฝักมีลักษณะเรียบ ยาวประมาณ 5-6.5 นิ้ว ฝักแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดรูปกระสวยเป็นจำนวนมากอยู่ในฝัก จะมีขนปุยสีขาวขึ้นที่ปลายเมล็ด จะช่วยให้ปลิวลมไปไกล ชนิดดอกลาจะติดฝักดีมากกว่าชนิดของดอกซ้อน[1],[2],[4]

ประโยชน์โมกบ้าน

  • คนไทยโบราณมีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนปลูกต้นโมกเป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้เกิดความสุขบริสุทธิ์ สดใส เนื่องจากคำว่าโมกมีเสียงพ้องกับคำว่า โมกข์ หรือ โมกษ์ ที่มีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง เป็นความหมายเดียวกับนิพพาน และมีความเชื่อกันว่าช่วยคุ้มครองป้องกันภัยทั้งปวง เพื่อเป็นสิริมงคลให้ปลูกต้นโมกที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ควรปลูกวันเสาร์เพื่อเอาคุณ[3]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป จะนิยมปลูกริมน้ำตก ลำธาร ริมทะเล ปลูกลงในกระถางเป็นไม้แคระ ทำบอนไซ ปลูกประดับสวน หรือจะปลูกเป็นแถวเพื่อบังสายตา ต้นโมกทิ้งใบช่วงฤดูหนาว สามารถทนร่มได้ดี ทำให้ปลูกในอาคารได้นาน ควบคุมการออกดอกได้ โดยควบคุมการให้น้ำกับปุ๋ยให้เหมาะสม ตัดแต่งให้เป็นรูปทรงได้ การตัดแต่งทรงพุ่มจะต้องทำสม่ำเสมอ เนื่องจากทำให้เป็นทรงพุ่มแน่นสวยงาม แต่จะไม่ค่อยที่ออกดอก ควรปลูกที่กลางแจ้ง เนื่องจากถ้าปลูกที่มีแสงแดดไม่เพียงพอก็จะทำให้ต้นมีขนาดสูงชะลูดและจะทำให้ไม่ค่อยที่จะออกดอก[3],[4]
  • นิยมนำดอกไปสกัดกลิ่นหอมใช้ทำน้ำอบไทยหรือน้ำปรุง

สรรพคุณโมกบ้าน

1. ใบสามารถใช้ขับน้ำเหลืองได้ (ใบ)[5]
2. รากโมกจะมีรสเมามัน สามารถใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคคุดทะราด โรคเรื้อนได้ (ราก)[1],[2]
3. ดอกโมกจะเป็นยาระบาย (ดอก)[5]
4. เปลือกสามารถใช้เป็นยาที่ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ (เปลือก)[5]
5. สามารถใช้ยางเป็นยาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้พิษงูได้ (ยาง)[3]
6. เปลือกสามารถช่วยรักษาโรคไตได้ (เปลือก)[5]
7. ยางจากต้นโมกนั้นสามารถใช้เป็นยาแก้โรคบิดที่มีอาการเลือดมาออกได้ (ยาง)[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โมก บ้าน (Mok Bann)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 247.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “โมก บ้าน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 649-650.
3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โมกซ้อน”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [19 พ.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โมกลา โมกซ้อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [19 พ.ค. 2014].
5. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ต้นโมกไม้มงคล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: m-culture.in.th. [19 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flora-toskana.com/en/exotic-fragrant-flower-plants/624-wrightia-religiosa-wasser-jasmin.html
2. https://seed2plant.in/products/water-jasmine-highly-fragrant-wrightia-religiosa
3. https://medthai.com/

โมกหลวง สรรพคุณช่วยรักษาแผลพุพอง

0
โมกหลวง สรรพคุณช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดขนาดเล็กและยาว ปลายกลีบดอกม้วนลงคล้ายกลีบดอกแก้ว เป็นสีขาว กลางดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ฝักทรงกระบอกแคบปลายฝักแหลม
โมกหลวง
เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกม้วนคล้ายดอกแก้ว สีขาว กลางดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ฝักทรงกระบอกแคบปลายฝักแหลม

โมกหลวง

โมกหลวง เป็นไม้ประดับที่ดอกมีกลิ่นหอม เนื้อไม้สีขาวใช้ทำของใช้ได้ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งสามารถทนต่อแสงแดดได้ พบเจอได้ที่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังทั่วไป ป่าดิบแล้ง มีเขตการกระจายพันธุ์จากที่แอฟริกาจนถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9] ชื่อสามัญ Tellicherry tree, Easter tree, Conessi bark [10], Kurchi [4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don[1] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Echites antidysentericus Roth[6], Holarrhena antidysenterica (Roth) Wall. ex A.DC.[1], Holarrhena antidysenterica Wall.) อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1],[3] ชื่อ อื่น ๆ มูกหลวง, โมกใหญ่

ลักษณะของโมกหลวง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงกลาง ต้นสูงประมาณ 3-15 เมตร ลำต้นจะกลม เปลือกต้นชั้นนอกมีลักษณะเป็นสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล จะหลุดเป็นแผ่นกลม มีขนาดที่ไม่เท่ากัน เปลือกต้นชั้นในสีซีด จะมียางสีขาวทั้งต้น ใบอ่อนมีขนขึ้นเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด [1],[5],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ใบเป็นรูปหอกกลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปรี รูปไข่ ที่ปลายใบจะเรียวแหลมหรือจะมน ส่วนที่โคนใบจะแหลมหรือจะป้าน ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 4-12 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-27 เซนติเมตร ที่แผ่นใบจะมีขนขึ้น ใบแก่จะบาง เส้นใบมีข้างละประมาณ 10-16 คู่ มีเส้นกลางใบ สามารถเห็นเส้นใบได้ชัด เส้นใบมีลักษณะเป็นสีเหลือง จะไม่มีต่อม ผิวใบด้านบนจะมีขนนุ่มขึ้นอยู่ ผิวใบด้านล่างจะมีขนแน่นกว่าผิวใบด้านบน ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.2-0.6 เซนติเมตร ใบร่วงง่าย[6]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจุกใหญ่ตามซอกใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงรูปกรวยยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดขนาดเล็กและยาว ปลายบานเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกม้วนลงคล้ายกลีบดอกแก้ว เป็นสีขาว ใจกลางดอกเป็นสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม[6] หรือจะออกดอกพร้อมติดผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน[9]
  • ผล เป็นฝัก มีลักษณะห้อยลงเป็นคู่โค้ง ฝักมีลักษณะเป็นฝักแห้ง ฝักเป็นรูปทรงกระบอกแคบ ที่โคนฝักจะแบน ส่วนที่ปลายฝักจะแหลม ฝักกว้างประมาณ 0.3-0.8 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 18-43 เซนติเมตร ฝักแก่เต็มที่จะแตกตามแนวยาวเป็นตะเข็บเดียวและอ้าออกเป็นซีก 2 ซีก มีเมล็ดอยู่ในฝัก เมล็ดมีขนาดประมาณ 1.3-1.7 เซนติเมตร จะมีขนสีขาวเป็นพู่อยู่ ขนสีขาวลอยตามลมได้[2],[5],[6]

ประโยชน์โมกหลวง

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ[11]
  • นิยมใช้เนื้อไม้ทำของเล่นเด็ก, ไม้ฉาก, ไม้เท้า, ตู้, ตะเกียบ, พัด, หวี, ไม้บรรทัด, เครื่องเรือน, กรอบรูป, โต๊ะ, เครื่องใช้ [9],[11]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สาร kurchicine เป็นสารอัลคาลอยด์ที่ทำให้สัตว์ทดลองเป็นอัมพาต ถ้าให้ขนาด lethal dose จะทำให้สัตว์ทดลองเป็นอัมพาต แต่ถ้าให้ขนาดน้อยจะทำให้ความดันขึ้น และเปลือกมีตัวยาสูงจะต้องลอกจากต้นที่อายุ 8-12 ปี[10]
  • พบสาร สารอัลคาลอยด์ประมาณ 4.5% ที่ประกอบด้วย Kurchicine, Conessine, Kurchine ฯลฯ
  • พบสาร kurchessine, kurchamine ฯลฯ ในใบ[10]
  • สารที่สกัดจากน้ำกับเมทานอล อัตราส่วน 2:3 ของเมล็ดโมก (สารกลุ่มฟลาโวนอยด์และฟีนอล) เมื่อทดสอบในหนูแรทที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ปรากฏว่าถ้าเอามาทดสอบในหลอดทดลองสารสกัดด่างต้านการทำงานของเอนไซม์ alpha-glucosidase จากลำไส้เล็กได้ โดยค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) คือ 0.52 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดที่ได้จากเมล็ดในขนาด 200, 400 และ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารของหนูแรทได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างถ้าเทียบกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (acarbose 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดนี้ ปรากฏว่าใช้ได้ในขนาดถึง 6.4 กรัม กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว สรุปว่าสารสกัดที่ได้จากเมล็ดต้านการดูดซึมแป้งในลำไส้เล็กได้ และสามารถช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ alpha-glucosidase จึงทำให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารของหนูแรทที่ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ น่าจะเป็นประโยชน์เพื่อทำการศึกษาในคนต่อไป[12]
  • เปลือกต้น มีสารอัลคาลอยด์ โคเนสซีน (Conessine) ประมาณ 0.4% ของอัลคาลอยด์ทั้งหมด จะมีฤทธิ์ที่ฆ่าเชื้อบิด ใช้แก้โรคบิดได้ และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิดอยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อยลง เพราะพบฤทธิ์ข้างเคียงกับระบบประสาท[4],[6]

สรรพคุณโมกหลวง

1. สามารถนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อได้ ถ้าใช้เยอะไปจะทำให้นอนไม่หลับและจะมีอาการปั่นป่วนท้อง[6],
2. สามารถนำใบหรือเปลือก มาต้มผสมน้ำใช้อาบรักษาโรคหิดได้ (เปลือก, ใบ)[6]
3. สามารถช่วยแก้ไฟลามทุ่งได้ (เมล็ด)[8]
4. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาฝาดสมานได้ (เมล็ด)[1],[2],[3],[5]
5. สามารถช่วยสมานท้องลำไส้ได้ (เมล็ด)[8]
6. สามารถช่วยแก้ดีพิการได้ (เปลือกต้น)[8]
7. ดอก มีรสฝาดเมา สามารถใช้เป็นยาขับพยาธิ และยาถ่ายพยาธิได้ (ดอก)[1],[2],[3],[5]
8. ใบ สามารถช่วยขับพยาธิในท้องได้ (ใบ)[3],[6]
9. สามารถช่วยขับไส้เดือนในท้องได้ (ใบ)[7],[8]
10. เมล็ดเป็นยาถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก (เมล็ด)[1],[2],[3],[5]
11. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้บิดได้ (เมล็ด)[1],[2],[3],[5]
12. สามารถนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้บิด และแก้บิดมูกเลือดได้ อีกตำรับให้นำเปลือกต้นประมาณ 6-10 กรัม มาผสมผลมะตูมแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน รวมเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน เอามาตำให้เป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ทำลูกกลอน ใช้ทานครั้งละ 1-2 กรัม ของยาที่ผสมแล้ว ประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา หรือเอามาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ทานวันละ 2 ครั้งเป็นยาแก้บิด (เปลือกต้น)[1],[2],[4],[5],[7]
13. ในตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีนำรากมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้บิด (ราก)[6]
14. เมล็ด สามารถช่วยแก้ท้องเสีย และแก้ท้องเดินได้ (เมล็ด)[1],[2],[3],[5]
15. ในตำรายาพื้นบ้านจังอุบลราชธานีนำรากมาต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้ท้องเสีย (ราก)[6]
16. สามารถช่วยขับถ่ายได้ (เมล็ด)[1]
17. สามารถช่วยรักษาหลอดลมอักเสบได้ (ใบ)[6]
18. เมล็ด มีรสฝาดขม มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ และแก้ไข้ท้องเสียได้ (เมล็ด)[1],[2],[3],[5],[8]
19. สามารถนำเปลือกต้นมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้จับสั่นได้ (เปลือกต้น)[1],[6],[8]
20. ในตำรับยาแก้ไข้พิษ ระบุให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 6-10 กรัม มาผสมผลมะตูมแห้ง อย่างละ ๆ เท่ากัน และเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน ตำเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ทำลูกกลอน ทานครั้งละ 1-2 กรัม ของยาที่ผสมแล้ว ประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา หรือเอามาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ทานวันละ 2 ครั้งใช้เป็นยาแก้ไข้พิษ (เปลือกต้น)[7],[8]
21. สามารถนำเปลือกต้นมาใช้ปรุงเป็นยาแก้เบาหวานได้ (เปลือกต้น)[1],[6]
22. ทำให้ฝันเคลิ้มได้ (เมล็ด)[8]
23. เปลือกต้น มีรสขมฝาดเมาร้อน เป็นยาที่ทำให้เจริญอาหารได้ (เปลือกต้น)[1],[5],[6]
24. ใบ มีรสฝาดเมา สามารถช่วยขับน้ำนมของสตรีได้ (ใบ)[1],[2],[3],[5]
25. สามารถช่วยรักษาฝีได้ (ใบ)[3],[6],[8]
26. สามารถช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ (เมล็ด)[1],[2],[3],[5]
27. สามารถช่วยรักษาแผลพุพองได้ (ใบ)[6]
28. สามารถช่วยขับน้ำเหลืองเสียได้ (เปลือกต้น)[8]
29. ราก มีรสร้อน สามารถช่วยขับโลหิต และขับโลหิตประจำเดือนของผู้หญิง (ราก)[1],[3],[7],[8]
30. ผลสามารถช่วยขับโลหิตได้ (ผล)[7],[8]
31. เปลือกต้นแห้งที่บดละเอียด สามารถใช้ทาตัวแก้โรคท้องมานได้ (เปลือกต้น)[1],[5]
32. สามารถช่วยรักษาท้องร่วงได้ (เปลือกต้น, น้ำมันจากเมล็ด)[6]
33. สามารถช่วยขับลมได้ (เมล็ด)[3],[5],[6]
34. เปลือกต้นแห้ง มีสรรพคุณที่สามารถแก้เสมหะเป็นพิษได้ (เปลือกต้น)[1],[6],[8]
35. ผล มีรสฝาดขมร้อน สามารถใช้เป็นยาแก้สันนิบาต หน้าเพลิงได้ (ผล)[8]
36. กระพี้สามารถช่วยฟอกโลหิตได้ (กระพี้)[7],[8]
37. สามารถช่วยบำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ และช่วยทำให้รู้ปิดธาตุได้ (เปลือกต้น)[6],[8]
38. ใบ มีสรรพคุณที่ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อได้ (เปลือกต้น, ใบ)[1],[2],[3],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โมกหลวง (Mok Luang)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 249.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “โมกหลวง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 128.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โมก หลวง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 166.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โมกหลวง Kurchi”. หน้า 120.
5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “โมกใหญ่”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 652-653.
6. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โมกหลวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [20 พ.ค. 2014].
7. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โมกหลวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [20 พ.ค. 2014].
8. สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สมุนไพรไทยโมกหลวง”. (วชิราภรณ์ ทัพผา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/46313433/Thaiherb/. [20 พ.ค. 2014].
9. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. “โ ม ก ห ล ว ง”.
10. ไทยเกษตรศาสตร์. “ข้อมูลของโมกหลวง”. อ้างอิงใน: ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [20 พ.ค. 2014].
11. โครงการสำรวจสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “โมกใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: orip.kku.ac.th/garden/. [20 พ.ค. 2014].
12. ย่อยข่าวงานวิจัย, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ของสารสกัดเมล็ดโมกหลวงในการต้านการทำงานของเอนไซม์ alpha-glucosidase และลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารในหนูแรทที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [20 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiabiodiversity.org/
2.https://www.plantslive.in/
https://medthai.com/

มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ

0
มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ เป็นไม้พุ่ม ผิวเปลือกเรียบ ดอกเป็นสีเหลือง ใบประกอบแบบขนนก มีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ฝักแบน ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล
มะขามแขก
เป็นไม้พุ่ม ผิวเปลือกเรียบ ดอกเป็นสีเหลือง ใบประกอบแบบขนนก มีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ฝักแบน ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล

มะขามแขก

มะขามแขก มักถูกใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก ด้วยการนำใบแห้งหรือฝักแห้งมาต้มเพื่อรับประทาน มีทั้งที่ใช้ในรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและผสมร่วมกับสมุนไพรอื่น เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ ชื่อสามัญ Alexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของมะขามแขก

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลำต้นค่อนข้างขาว และมีกิ่งก้านสาขา ผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เป็นพืชที่ทนแร้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่อน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและต้นกล้า
  • ดอก จะบานจากโคนไปหาปลายช่อ กลีบดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง
  • ใบ คล้ายใบมะขามไทย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยออกเรียงสลับกัน เป็นคู่ โคนและปลายใบมน แผ่นใบมีขนนุ่มขึ้น ใบมีสีเขียวอ่อนๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
  • ผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวแต่พอแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6 -12 เมล็ด

ประโยชน์ของมะขามแขก

  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆได้ เช่น ยาชง แคปซูล เป็นต้น

สรรพคุณของมะขามแขก

1. สามารถช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมากได้ดีมากกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) และแคลเซียมเซนโนไซต์ ช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องมากขึ้น
2. ใบ มีสรรพคุณในการช่วยถ่ายน้ำเหลืองได้ดี
3. ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้
4. ใบ สามารถช่วยในการถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูกได้
5. ช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ใบ, ฝัก)
6. ใบ สามารถช่วยในการถ่ายพิษเสมหะได้
7. ใบ สามารถช่วยทำให้อาเจียนได้
8. ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ และต้านเชื้อแบคทีเรียได้ (ข้อมูลทางเภสัชวิทยา)
9. ใบ สามารถช่วยลดอาการบวมน้ำได้
10. ใบ ช่วยถ่ายโรคบุรุษได้
11. มีสรรพคุณในการแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
12. ใบ สามารถช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
13. ใบ สามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้
14. มีสรรพคุณในการช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
15. ใช้ทำเป็นยาระบาย ยาถ่าย และอาการท้องผูกได้ โดยการใช้ใบและฝัก วิธีการคือให้นำใบประมาณ 2 กรัม และฝัก 10-15 ฝัก มาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ต้มประมาณ 4 นาทีจากนั้นใส่เกลือเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน ใช้ทานเพียงรอบเดียว หรือ จะบดให้แห้งเป็นผงชงกับน้ำดื่มก็ได้ หากเกิดอาการปวดมวนท้องหลังดื่ม ให้แก้ด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้อง (ใบ, ฝัก)

ข้อควรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก

  • ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูงๆหากจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
  • หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิต เนื่องจากเสียน้ำจากการขับถ่ายมาก
  • หากใช้ในทางที่ผิด จะทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และจะทำให้นิ้วมือนิ้วเท้า มีลักษณะหนาและใหญ่ขึ้น (Finger clubbing)
  • หากใช้ยาติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ทำให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะถ่ายได้
  • มีผลข้างเคียง อาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีห้ามใช้
  • ไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เพราะมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย
  • การใช้ร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ จะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
  • อาจทำให้ข้อกระดูกมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
  • อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (Malmquist, 1980) อาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำ ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง ทำสูญเสียโพแทสเซียมในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย น้ำหนักลด การดูดซึมผิดปกติ อาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ และมีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ
  • สามารถช่วยให้อุจจาระมีมวลมาก และมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวกขึ้นโดยการใช้เป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน
  • ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน ไส้ติ่งอักเสบ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้(Reynolds, 1989)
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทาน (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร (มหาวิทยาลัยมหิดล), หนังสือสมุนไพรกับวัฒนธรรมไทยตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย (กันทิมา สิทธิธัญกิจ, พรทิพย์ เติมวิเศษ)
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/

มหาหิงคุ์ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ

0
มหาหิงคุ์
มหาหิงคุ์ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ เป็นชันน้ำมัน หรือยางจากหัวรากที่อยู่ใต้ดิน เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ใบหนารียาวสีเขียวอมสีเทา ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกเพศเมียสีเหลือง เพศผู้สีขาว ผลคู่แบนยาวรี
มหาหิงคุ์
เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ใบหนารียาวสีเขียวอมสีเทา ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกเพศเมียสีเหลือง เพศผู้สีขาว ผลคู่แบนยาวรี

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ เป็นชันน้ำมัน หรือยางจากหัวรากที่อยู่ใต้ดินหรือลำต้นของพืชตระกูล Ferula มีลักษณะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุน[1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Ferula assa-foetida L. อยู่วงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น อาเหว้ย (จีนกลาง), หินแมงค์ (จังหวัดเชียงใหม่) [1]

ลักษณะของมหาหิงคุ์

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2 เมตร มีหัวใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง พื้นผิวของลำต้นจะแตกเป็นร่อง โคนต้นมีใบแทงขึ้นจากรากใต้ดิน[1]
  • ใบ เป็นใบประกอบขนนก 3-4 คู่ ช่วงบนลำต้นใบเป็น 1-2 คู่ ใบมีลักษณะหนา ร่วงง่าย ใบย่อยเป็นรูปไข่รียาว รูปกลมรี มีลักษณะเป็นสีเขียวอมสีเทา ที่ขอบใบจะมีฟันเลื่อยขนาดเล็ก ก้านใบมีขนาดยาวประมาณ 50 เซนติเมตร[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ช่อหนึ่งจะมีก้านดอกย่อยอยู่ประมาณ 20-30 ก้านเล็ก แต่ละก้านแยกจากกัน ดอกเพศเมียมีลักษณะเป็นสีเหลือง ส่วนดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นสีขาว มีกลีบอยู่ 5 กลีบ อยู่ต่างช่อกัน มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน มีรังไข่อยู่ 2 อัน มีขนขึ้น[1]
  • ผล เป็นผลคู่แบน เป็นรูปไข่ยาวรี[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ถ้านำน้ำที่ต้ม เข้มข้น 1:1,000 มาทดลองมดลูกที่อยู่นอกตัวหนูทดลอง ผลปรากฏว่ามีฤทธิ์ที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัวแรง ถ้าเป็นสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะไม่มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกให้บีบตัว[1]
  • น้ำมันระเหย มีฤทธิ์ที่กระตุ้นหลอดลมให้บีบตัว สามารถช่วยขับเสมหะได้[1]
  • พบสาร ยาง 25%, Latex 40-64%, น้ำมันระเหย 10-17% ในน้ำมันหอมระเหยพบสารให้กลิ่นฉุนจำพวก Asafetida อย่างเช่น Diauldo, Sec-butyl, Propenyl
  • พบสาร Farnesiferol, Ferulic acid เป็นต้น ในยาง[1]
  • สาร Asafetida เป็นสารที่ให้กลิ่นฉุน มีรสขม ถ้าเข้าไปในกระเพาะลำไส้ร่างกายจะดูดซึมไม่พบอาการเป็นพิษ และมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ ใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ และช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ได้[1]

สรรพคุณมหาหิงคุ์

1. ผสมแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้บวม แก้ปวด [1]
2. ข้อมูลอื่นระบุเอาไว้ว่า อดีตใช้ผสมแอลกอฮอล์ใช้ทาท้องเด็ก สามารถช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ น้ำมันหอมระเหยที่ได้มีคุณสมบัติที่เป็นยาฆ่าแมลงได้ ยางที่ได้รากสามารถช่วยบำรุงธาตุ ใช้เป็นยาขับลม ใช้เป็นยาขับลม ช่วยแก้อาการทางประสาทชนิดฮิสทีเรีย ชำระเสมหะและลม แก้ลมที่มีอาการให้เสียดแทง แก้อาการเกร็ง ช่วยย่อยอาหาร ขับประจำเดือนของสตรี แก้ปวด แก้อาการชักกระตุก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลาก ใช้กลิ่นในการรักษาโรคหวัด และไอได้[3]
3. สามารถช่วยแก้บิด แก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ [1]
4. สามารถใช้เป็นยาขับลม แก้อาหารไม่ย่อย แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อได้[1]
5. ในตามตำรับยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยระบุเอาไว้ว่าให้ใช้มหาหิงคุ์ 10 กรัม, ลูกหมาก 20 กรัม, พริกไทย 10 กรัม, โกฐกระดูก 20 กรัม มาบดเป็นผงทำยาเม็ดลูกกลอน ขนาดเม็ดละ 3 กรัม นำมาทานหลังอาหารครั้งละ 10 เม็ด[1]
6. ยางที่ได้จากลำต้นหรือรากจะมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นที่ฉุน เป็นยาอุ่น จะออกฤทธิ์กับตับ กระเพาะ ม้าม ลำไส้ และสามารถช่วยบำรุงธาตุภายในร่างกาย[1]
7. มีคุณสมบัติทางยาอื่น ๆ เช่น แก้อาการนอนไม่หลับเป็นยาระบาย ฆ่าเชื้อ ยากล่อมประสาท ถ่ายพยาธิ
8. สามารถใช้เป็นยาฆ่าพยาธิได้[1]
9. สามารถช่วยขับเสมหะได้[1]
10. ในตำรับยาแก้ท้องแข็งแน่นเป็นก้อน ให้นำมหาหิงคุ์ 20 กรัม, โกฐเขมาขาว 100 กรัม, ขมิ้นอ้อย 60 กรัม, แปะไก้จี้ 120 กรัม, ซำเล้ง 100 กรัม มาคั่ว บดให้เป็นผง ใช้ทำเป็นยาเม็ด ทานครั้งละ 60 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น[1]

วิธีใช้

ใช้ครั้งละ 1-1.5 กรัม มาเข้าตำรับยาหรือผสมกับแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้ขับลม แก้ปวด แก้บวม สามารถใช้ทาแก้ปวดท้อง หรือเข้ากับตำรายาอื่น [1]

ข้อควรระวังในการใช้

  • อดีตนิยมใช้เข้าตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ขนาดที่ใช้ทานสำหรับผู้ใหญ่ นั่นก็คือ 0.3-1 กรัม ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ขายทั่วไปมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยาทาภายนอกเป็นหลัก ไม่ควรทาน
  • ห้ามให้ผู้ที่ม้ามหย่อน กระเพาะหย่อน และสตรีที่มีครรภ์ทาน[1]
  • การใช้เป็นยาทาภายนอก เมื่อใช้กับเด็กทารกบางครั้งอาจทำให้มีอาการแพ้เป็นผื่นคัน และไม่ควรทานเนื่องจากอาจจะทำให้ริมฝีปากบวม คลื่นไส้อาเจียน เป็นผื่นคัน[3]

การออกฤทธิ์ของมหาหิงคุ์

  • โดยปกติจะนำมาชุบสำลี หรือนำชนิดที่เป็นลูกกลิ้ง มาทาที่ศีรษะ หน้าท้อง ฝ่าเท้าของเด็กทารก หรือทานเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ สารที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นสารจากกลุ่มเดียวกัน นั่นก็คือ สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย การทานกลไกการออกฤทธิ์เป็นแบบ Local ที่ทางเดินอาหาร โดยเป็น Antispasmodic และกระตุ้นให้ขับลม
  • ในกรณีที่ใช้ทาภายนอก ใช้กับเด็กทารกเท่านั้น เพราะน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Stimulant ด้วย การทาที่ท้องของเด็กคงอาศัยผลจากที่ผนังหน้าท้องของเด็กทารกบางพอที่ผลการเป็น Stimulant จะไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวลำไส้ได้ แต่การใช้ทาที่ฝ่าเท้าหรือหน้าผากก็ยากที่จะคาดเดา ที่เป็นไปได้ที่สุดคงเป็นฤทธิ์ที่ทำให้สงบช่วยทำให้เด็กไม่โยเย (อนุชิต พลับรู้การ)[4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “มหาหิงคุ์”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 418.
2. บทความโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย) ลำดับชั้นที่ 6 ในสายราชสกุลแพทย์ “ทินกร”. “ตำรับยาเบ็ญจะอำมฤตย์”.
3. รักสุขภาพ. “เจาะลึกสมุนไพรในตำรับยาต้านมะเร็ง ตอนที่ 1”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:www.raksukkapap.com. [12 พ.ค. 2014].
4. Evans, W.C. Trease and Evans’ Pharmacognosy 14th ed. WB Saunders Co. Ltd.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.pflanzenreich.com/enzyklopaedie/ferula-assa-foetida/
2. https://www.therapeutika.ch/Ferula+assa-foetida
3. https://medthai.com/

ต้นไฟเดือนห้า สรรพคุณรักษาโรคหัวใจอ่อนแรง

0
ต้นไฟเดือนห้า
ต้นไฟเดือนห้า สรรพคุณรักษาโรคหัวใจอ่อนแรง เป็นไม้ล้มลุก ก้านมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ดอกเป็นช่อกระจุก รยางค์รูปมงกุฎสีเหลืองแกมส้ม เมล็ดเป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลเข้ม และมีขนยาวสีขาวขึ้นปกคลุม
ต้นไฟเดือนห้า
เป็นไม้ล้มลุก ก้านมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ดอกเป็นช่อกระจุก รยางค์รูปมงกุฎสีเหลืองแกมส้ม เมล็ดเป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลเข้ม และมีขนยาวสีขาวขึ้นปกคลุม

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า ประเทศไทยสามารถพบเห็นได้ตามป่า และตามริมทางในชนบท[1],[2] ชื่อสามัญ Bastard ipecacuanha, Butterfly Weed, Blood Flower, Milkweed, Silkweed[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Asclepias curassavica L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1],[3] ชื่ออื่น ๆ เหลียนเซิงกุ้ยจื่อฮวา จิงเฟิ่งฮวา (ภาษาจีนกลาง), เทียนใต้ (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เทียนแดง (ในภาคกลาง), บัวลาแดง (จังหวัดเชียงใหม่), คำแค่ (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), ไม้จีน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ค่าน้ำ เด็งจ้อน (จังหวัดลำปาง), ดอกไม้เมืองจีน ไม้เมืองจีน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของไฟเดือนห้า

  • ต้น 
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี
    – ลำต้นจะแผ่กิ่งก้านขยายออกมา ตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่ว
    – กิ่งก้านมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
    – ความสูงของต้นประมาณ 40-60 เซนติเมตร และบางต้นอาจสูงได้ถึง 1 เมตร
  • ใบ
    – รูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกยาว ตรงปลายใบแหลม และขอบใบเรียบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันตามบริเวณกิ่งและก้าน
    – ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-13 เซนติเมตร และก้านใบสั้น[1]
  • ดอก
    – ดอกจะมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบมีสีแดง ลักษณะของกลีบดอกคือกลีบดอกจะพับงอ และมีกระบังหรือรยางค์รูปมงกุฎที่มีสีเหลืองแกมส้ม ยื่นออกมาเล็กน้อย ส่วนก้านช่อดอกมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม  มีความยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน[1],[2]
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อกระจุก โดยภายใน 1 ช่อดอกจะมีดอกย่อยประมาณ 7-20 ดอก ซึ่งจะออกช่อดอกที่บริเวณปลายกิ่งและง่ามใบ
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงยาวคล้ายรูปกระสวย มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่อผลแก่ ผลสามารถแตกออกได้[1],[2]
  • เมล็ด
    – เมล็ด มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ลักษณะรูปร่างของเมล็ดเป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีขาวขึ้นปกคลุม ขนมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของต้นไฟเดือนห้า

1. ต้นนำมาใช้รักษาอาการติดเชื้อที่มดลูกหลังการคลอดบุตร (ต้น)[3]
2. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยารักษาแผลในลำไส้ แก้บิด รักษาแผลในมดลูก และรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ทั้งต้น)[6]
3. ต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคไข้ตรีโทษ (ต้น)[3]
4. ต้นมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ต้น)[3]
5. ในตำรับยารักษาโรคมะเร็งของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ จะมีต้นไฟเดือนห้าเป็นส่วนประกอบหลัก จึงคาดว่าต้นมีสรรพคุณในการช่วยยับยั้งมะเร็ง
6. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษฝี และยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อน (ใบ)[3]
7. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคหนองในได้ (ใบ)[6]
8. ใบนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน (ใบ)[3],[6]
9. รากนำมาทำเป็นยาสำหรับรักษาอาการกระดูกหัก หรือกระดูกร้าว (ราก)[1]
10. รากนำมาใช้ทำเป็นยาทาภายนอก แก้อาการฟกช้ำ (ราก)[3]
11. รากนำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการปวดประจำเดือน (ราก)[1]
12. เมล็ดนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคกลากเกลื้อน และอาการผดผื่นคันตามผิวหนัง (เมล็ด)[1]
13. นำเมล็ดในปริมาณ 6-10 กรัม มาต้มกับน้ำใช้รับประทานเป็นยารักษาฝีหนองภายนอก (เมล็ด)[1]
14. เมล็ดมีสรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นได้ (เมล็ด)[1]
15. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการคนที่มีเหงื่อออกมามาก ๆ ได้ (เมล็ด)[1]
16. เมล็ดนำมาใช้ทาน มีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดประจำเดือน (เมล็ด)[1]
17. เมล็ดนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับขับพิษเลือดในเดือนอยู่ไฟของสตรีได้ (เมล็ด)[1]
18. ทั้งต้น ใบ และเมล็ดจะนำมาใช้ทำเป็นยาห้ามเลือด แก้อาการอักเสบ และแก้ปวด (เมล็ด[1], ใบ, ทั้งต้น[6])
19. ต้นและเมล็ดมีสรรพคุณรักษาโรคหัวใจอ่อนแรงได้ (ต้น[3], เมล็ด[1])
20. ต้นและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ต้น[3], เมล็ด[1])
21. นำเมล็ดในปริมาณ 6-10 กรัม มาต้มกับน้ำใช้รับประทานเป็นยาแก้อาการเต้านมอักเสบ หรือจะนำรากมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นก็สามารถทำได้เช่นกัน (ราก, เมล็ด)[1]
22. รากหรือทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยขับอาเจียน (ราก[1], ทั้งต้น[6])
23. นำดอกและเมล็ดในปริมาณที่เท่า ๆ กัน มาบดรวมกันให้เป็นผง ใช้สำหรับโรยลงบนบริเวณที่มีบาดแผล โดยมีสรรพคุณในการรักษาแผลสด (ดอก, เมล็ด)[1]

ประโยชน์ของต้นไฟเดือนห้า

1. ขนของเมล็ดสามารถนำไปใช้แทนนุ่นได้[4]
2. นำมาปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบ้าน ตกแต่งตามอาคาร หรือปลูกไว้ในสวนสาธารณะก็ได้ เนื่องจากดอกมีสีสันสดใสสวยงาม[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการวิจัยต้น พบสารสำคัญ ได้แก่ Calotropin, Asclepin, Curassvicin และ Ascurogenin เป็นต้น และจากการทดลองกับสัตว์ทดลอง พบว่าสาร Calotropin  จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในโพรงจมูกที่อยู่นอกตัวของสัตว์ทดลองได้[1]
2. จากงานวิจัยพบว่า ยางจากต้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้[1]
3. จากการทดลองสารสกัดจากต้นในกระต่ายทดลอง ผลพบว่าสาร Curassicin, Ascurogenin และ Asclepin มีฤทธิ์ในการเข้าไปกระตุ้นหัวใจ ทำให้หัวใจของกระต่ายทดลองมีการบีบตัวแรงขึ้น[1]

ขนาดและวิธีใช้

1. เมล็ดนำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทานเป็นยา
2. รากนำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้สำหรับรับประทานเป็นยา หรือนำมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล[1]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ส่วนของรากและดอก มีสาร Asclepiadin อยู่ ถ้านำมาใช้ในปริมาณที่มากเกินไป จะเป็นพิษได้ โดยถ้าหากนำมาให้สัตว์เลี้ยงกินในปริมาณที่มากจนเกินไป จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาต และทำให้ตายได้[2],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “ไฟเดือนห้า”.  หน้า 414.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ไฟเดือนห้า”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [06 พ.ย. 2014].
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ไฟ เดือน ห้า”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/.  [07 พ.ย. 2014].
4. ไทยรัฐออนไลน์.  (นายเกษตร).  “ไฟ เดือน ห้า ขนเมล็ดมีประโยชน์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th.  [07 พ.ย. 2014].
5. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา.  “พืชมีพิษในประเทศไทย (2)”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/ez.mm_display.asp.  [07 พ.ย. 2014].
6. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย.  “ไฟ เดือน ห้า”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com.  [07 พ.ย. 2014].
7. https://medthai.com
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.gardensonline.com.au/
2.https://monarchbutterflygarden.net/

ต้นไมยราบยักษ์ ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคปวดหลัง

0
ไมยราบยักษ์
ต้นไมยราบยักษ์ ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคปวดหลัง เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง โคนใบจะมน มีขนคลุมหลังใบท้องใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกกลม เป็นสีชมพู สีม่วงอ่อน ผลเป็นฝักแบนโค้งงอมีขน
ไมยราบยักษ์
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง โคนใบจะมน มีขนคลุมหลังใบท้องใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกกลม เป็นสีชมพู สีม่วงอ่อน ผลเป็นฝักแบนโค้งงอมีขน

ไมยราบยักษ์

ไมยราบยักษ์ เป็นพืชดั้งเดิมของประเทศอเมริกากลาง และทางตอนเหนือแถบโคลัมเบีย เวเนซุเอลา ภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ถึงทวีปเอเชีย อย่างเช่น ประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ชื่อสามัญ Maiyaraap ton[2], Giant sensitive[3] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Mimosa pigra L. อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ไมยราบหลวง, ฝีหมอบใหญ่ (ภาคอีสาน), ขี้แฮด (ภาคเหนือ), จี่ยอบหลวง, ไมยราบต้น (ภาคเหนือ),พรม (ภาคกลาง) [1],[2],[3]

ลักษณะของไมยราบยักษ์

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีหนามแหลมงองุ้มลงตลอดลำต้นกับกิ่ง ที่ปลายกิ่งจะย้อย มีเนื้อแข็งเหนียว มักขึ้นเองที่ในเขตร้อนชื้น ตามที่กว้าง ริมถนนหนทาง ทุ่งหญ้า หุบเขา และที่รกร้างทั่วไป[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบ 3 ชั้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ใบประกอบย่อยมีอยู่ประมาณ 6-14 คู่ ใบประกอบจะมีใบประกอบย่อยประมาณ 15-40 คู่ เป็นรูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมน มีขนขึ้นคลุมหลังใบ มีท้องใบเรียบ[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามยอดที่ตามซอกใบ ช่อดอกมีลักษณะเป็นกระจุกกลม เป็นสีชมพู สีม่วงอ่อน มีดอกย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก กลีบเลี้ยงจะรวมกันเป็นเส้น ที่ปลายกลีบเลี้ยงจะแตกเป็นฝอย กลีบดอกรวมกันเป็นหลอด ที่ปลายจะแยกเป็น 4 กลีบ ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกมาเป็นจำนวน 8 ก้าน[1]
  • ผล เป็นฝัก ฝักแบน โค้งงอ ที่ปลายฝักจะแหลม จะมีขนขึ้นคลุม หนึ่งช่อดอกติดฝักประมาณ 3-16 ฝัก มีเมล็ดอยู่ในฝักประมาณ 9-25 เมล็ด ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลดำ พอแก่จะแตกออกเป็นข้อทีละเมล็ด[1]

วัชพืชไมยราบยักษ์

ในปี พ.ศ.2490 ประเทศไทยมีการนำเมล็ดเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย เพื่อปลูกเป็นพืชคลุมดินในไร่ยาสูบ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศได้ดี จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายพันธุ์แบบรวดเร็ว ที่ตามแหล่งน้ำ การคมนาคมขนส่ง และได้เกิดการแพร่ระบาดไปเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย จึงทำให้ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ได้นำเข้าด้วงเจาะเมล็ดจากประเทศเม็กซิโก เพื่อใช้ในการกำจัดและช่วยลดการแพร่กระจาย นับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยกับสภาพแวดล้อม และยังให้ผลควบคุมในระยะยาว[3]

ซึ่งเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในเขตที่ลุ่ม ที่ชายน้ำทางภาคเหนือ เนื่องจากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ดี แต่ละปีมีการสร้างเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดพักตัวได้เป็นเวลาหลายปีเพื่อรอสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการงอก ทำให้แพร่กระจายไปได้หลายพื้นที่ เมื่อยึดครองพื้นที่แล้วก็ยากที่พรรณไม้อื่นจะผสมกัน เนื่องจากขึ้นคลุมหนาแน่น จึงทำให้พรรณพืชดั้งเดิมขาดแสงตายลงและค่อย ๆ หายไปจากพื้นที่

วิธีการป้องกันและวิธีกำจัด

จะต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยกำจัดตั้งแต่ยังเล็ก ด้วยการขุดรากถอนโคน การถาง การตัดออกไม่สามารถกำจัดได้ เนื่องจากเป็นพืชล้มลุกคาบปี ดอกออกติดเมล็ดเป็นจำนวนมาก ฝักแก่จะแตกออก และสามารถดีดตัวได้ จึงทำให้การกระจายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และเมล็ดยังมีความแข็งแรงทนทานเนื่องจากมีเปลือกที่แข็ง และวิธีการสุดท้ายจะต้องใช้สารเคมีช่วยกำจัด ถ้าพบเห็นให้รีบป้องกันและรีบกำจัด

สรรพคุณไมยราบยักษ์

1. นำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม สามารถช่วยแก้อาการปวดข้อได้ (ต้น)[2]
2. แพทย์ตามชนบทที่ทางภาคอีสาน นำทั้งต้นมาตากให้แห้งแล้วเอาไปคั่วไฟต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาช่วยขับน้ำนิ่วในไต ขับปัสสาวะได้ (ใบ, ทั้งต้น)[1]
3. นำต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มเป็นยาขับเสมหะได้ (ต้น)[2]
4. นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกายได้ ชาวบ้านมักใช้ร่วมกับพืชชนิดอื่น นำมาต้มด้วยกันเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน (ใบ,ทั้งต้น)[2]
5. นำทั้งต้นมาตากให้แห้งแล้วคั่วไฟต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคปวดหลังได้ (ทั้งต้น)[1]
6. ใบ มีรสขมเฝื่อนนิดหน่อย สามารถนำมาตำใช้พอกเป็นยารักษาแผลฝีหนอง แผลเรื้อรัง แก้ปวดบวมได้ (ใบ)[2]
7. สามารถนำใบมาต้มหรือชงกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้บิดได้ (ใบ)[2]
8. ต้น มีรสขมเฝื่อนนิดหน่อย สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ไข้ (ต้น)[2]

ประโยชน์ไมยราบยักษ์

1. สามารถนำลำต้นใช้ทำฟืน ทำรั้ว ไม้ค้ำได้[5]
2. สามารถช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ได้ เนื่องจากช่วยตรึงไนโตรเจนได้[5]
3. สามารถใช้แปรรูปเป็นพลังงานทดแทนอัดแท่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนพลังงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนำมาอัดให้เป็นแท่งถ่าน ถ้าเทียบกับถ่านไม้ทั่วไปที่ขายกันตามตลาดจะเกิดอัตราการสิ้นเปลืองสูง มอดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนมาใช้ถ่านแท่งที่เอามาบดเป็นผงถ่าน ผสมตัวประสานเพื่อให้เป็นถ่านอัดแท่ง รูปแบบนี้ทำให้อัตราการสิ้นเปลืองลดลง จากการทดสอบปรากฏว่าประหยัดกว่าถ่านทั่วไปถึง 3 ส่วน[6]
4. สามารถช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดิน และช่วยป้องกันการพังทลายของตลิ่งได้[5]
5. สามารถใช้เป็นอาหารของสัตว์ได้ [5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ยาสกัด 50% แอลกอฮอล์จากรากสามารถช่วยยับยั้งการเจริญของ S. typhimurium, B. subtilis, S. brunii, P. aeruginosa ได้[4]
  • ยาสกัด 50% แอลกอฮอล์จะแสดงผลมี alkaloid (s) เป็นสารสำคัญ ไม่มีผลเป็น steroid[4]
  • สารสกัด 50% แอลกอฮอล์ส่วนกลางลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา T. rubrum ได้สมบูรณ์แบบ[4]
  • จากการศึกษาผลการต้านจุลินทรีย์ปรากฏว่ายาผงสกัดชนิด spray dried กับ ยาสกัด 50% แอลกอฮอล์ส่วนยอด ส่วนกลาง ส่วนราก สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ที่เข้มข้น 0.6% และเข้มข้น 5% และยับยั้งการเจริญของ B. subtilis ได้[4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “ไมยราบยักษ์”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 129.
2. โครงการตาสับปะรด นักสืบเสาะภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชุมชนสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. “ไมยราบยักษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pineapple-eyes.snru.ac.th. [21 พ.ค. 2014].
3. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. “ด้วงเจาะเมล็ดไมยราบยักษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiocontrol.org. [21 พ.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลการเกษตรของประเทศไทย. “ประโยชน์ของไมยราบยักษ์ สารสกัดแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์”. (ฉันทรา พูนศิริ, พุทธรินทร์ วรรณิสสร, ศศิธร วสุวัต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pikul.lib.ku.ac.th/agdb/. [21 พ.ค. 2014].
5. หน่วยงานในกรมชลประทาน ส่วนกลาง, กรมชลประทาน. “ไมยราบยักษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kromchol.rid.go.th. [21 พ.ค. 2014].
6. เดลินิวส์. “ถ่านอัดแท่งไมยราบยักษ์ จากวัชพืชสู่พลังงานทดแทน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [21 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/5918060342
2. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Mimosa_pigra_%28Fabaceae%29.jpg
3. https://medthai.com/

แพงพวย ช่วยแก้อาการตัวเหลืองจากพิษสุรา

0
แพงพวย
แพงพวย ช่วยแก้อาการตัวเหลืองจากพิษสุรา เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ใบเดี่ยว ดอกจะออกเป็นช่อกระจุก สีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ผลทรงกระบอก
แพงพวย
เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ใบเดี่ยว ดอกจะออกเป็นช่อกระจุก สีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ผลทรงกระบอก

แพงพวย

แพงพวย เป็นไม้พื้นเมืองหมู่เกาะมาดากัสการ์ มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกากลาง ปัจจุบันสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วไปในประเทศที่อากาศร้อน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Catharanthus roseus (L.) G.Don อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)[1] ชื่อสามัญ Pink periwinkle, Cape periwinkle, Bringht eye, Vinca, Pinkle-pinkle, Indian periwinkle [4], West Indian periwinkle[1], Old maid, Cayenne jasmine, Rose periwinkle [5], Madagascar periwinkle[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พังพวยฝรั่ง (ภาคกลาง), พังพวยบก (ภาคกลาง), นมอิน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), แพงพวยฝรั่ง (ภาคกลาง, จังหวัดกรุงเทพมหานคร), แพงพวยบก (ภาคกลาง, จังหวัดกรุงเทพมหานคร), ฉางชุนฮวา (จีนกลาง), ผักปอดบก (ภาคเหนือ) [1],[2],[3]

ลักษณะของต้นแพงพวย

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ต้นสูงได้ถึงประมาณ 25-120 เซนติเมตร ช่วงบนของลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาลปนสีเขียว มียางเป็นสีขาว ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดกิ่ง การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง โตได้ดีในดินปนกับทรายที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นปานกลาง สามารถทนความแล้งได้ ชอบแสงแดดเต็มวันจนถึงปานกลาง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะที่แถบชายทะเลจะขึ้นงอกงามเป็นพิเศษ[1],[2],[3],[5]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเป็นคู่เรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ รูปไข่ ที่โคนใบจะมนหรืออาจแหลม ส่วนที่ปลายใบจะมนเป็นติ่งหนาม ขอบใบเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนา ที่ท้องใบจะเรียบ ที่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มจะเรียบและเป็นมัน เส้นกลางใบมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองลากเป็นเส้นชัด[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจุกหรือจะออกเป็นกลุ่ม หนึ่งกระจุกมีดอกละประมาณ 1-3 ดอก ออกดอกที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยเป็นสีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ถ้าเป็นดอกสีชมพูตรงกลางดอกจะเป็นสีแดง ส่วนดอกสีขาวมีสีเหลืองที่กลางดอก มีกลีบดอกรูปไข่กลับอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมเป็นหลอด ส่วนที่ปลายกลีบจะมนและจะมีติ่งแหลม มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน ดอกบานเต็มกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ถ้าดอกร่วงจะติดผลเป็นรูปทรงกระบอก[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกระบอก ผลมักจะออกเป็นคู่ มีขนาดยาวประมาณ 2-3.75 เซนติเมตร ผลแห้งจะแตกออกเพียงด้านเดียว มีเมล็ดอยู่ในผล

ประโยชน์แพงพวย

  • ในไทยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนทั่วไป ปลูกที่ตามริมถนน ริมทางเดิน ริมทะเล สวนสาธารณะ หรือที่น้ำไม่ท่วมขัง และปลูกเป็นไม้กระถาง ควรปลูกกลางแจ้ง [5]
  • ในบางท้องถิ่นที่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียมักปลูกเป็นไม้ประดับหลุมฝังศพ จะไม่ปลูกที่ตามบ้านเรือน[2]

สรรพคุณแพงพวย

1. สามารถช่วยแก้แผลเน่าเปื่อย แก้บวม แก้แผลหกล้มได้ โดยนำต้นสดมาตำใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[4]
2. สามารถช่วยแก้เด็กเป็นฝี แก้หัวกลัดหนองที่ยังไม่แตกได้ โดยนำต้นสดมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างและใช้ตำเพื่อนำมาพอก (ทั้งต้น)[4]
3. สามารถช่วยห้ามเลือดได้ (ราก)[1],[4]
4. สามารถช่วยแก้โดนสุนัขกัด แก้งูกัด โดยนำต้นสด 1-2 กำมือมาล้างด้วยน้ำสะอาดให้สะอาด แล้วก็ตำคั้นเอาน้ำมาดื่ม สามารถใช้กากที่เหลือพอกบริเวณที่โดนกัดได้ (ทั้งต้น)[4]
5. สามารถช่วยแก้อาการตัวเหลืองเพราะพิษสุราได้ โดยนำต้นสด 1 กำมือมาตำแล้วคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้งเดือนห้าดื่ม (ทั้งต้น)[4]
6. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะเป็นหนอง แก้โรคหนองในได้ โดยนำต้นสด 30 กรัมมาผสมน้ำตาลกรวด 15 กรัม ใช้ต้มดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (ทั้งต้น)[4]
7. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิ (ราก)[1],[4],[7]
8. สามารถช่วยย่อย และช่วยแก้อาการท้องผูกเรื้อรังได้ (ใบ)[1],[4]
9. ใบกับต้น สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ โดยนำใบกับต้น 1 กำมือ มาต้มกับน้ำใช้ดื่มเช้าเย็น (ต้น, ใบ)[7]
10. ทั้งต้น มีรสจืดเย็น สามารถช่วยแก้ร้อน แก้อาการไอแห้งเพราะความร้อน ทำให้เลือดเย็น แก้หวัด และแก้ตัวร้อนได้ โดยนำต้นแห้ง 15-30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น)[3],[4]
11. ทั้งต้น มีรสเอียน สามารถต้มดื่มใช้เป็นยาแก้เบาหวาน และช่วยบำบัดเบาหวานได้ (ทั้งต้น)[3],[7] ใบเป็นยาแก้โรคเบาหวาน ชาวจาเมกาเชื่อกันว่ายาดองเหล้าที่ได้จากใบตากแห้งช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ (ใบ)[1],[4]
12. เมือง La Reunion ในประเทศฝรั่งเศสใช้รากที่หมักเปื่อยเป็นยาบำรุงและเป็นยาธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)[4]
13. ทั้งต้น รสขมนิดหน่อย จะเป็นยาเย็น และมีพิษ สามารถใช้เป็นยารักษาเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง รักษามะเร็ง ต่อต้านมะเร็ง มะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองเยอะไป โดยใช้ครั้งละ 6-15 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน (ทั้งต้น)[3],[7]
14. ราก สามารถช่วยรักษามะเร็งในเลือดได้ (ราก)[4]
15. สามารถนำก้านสดกับรากสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดได้ (ราก, ก้าน)[6]
16. สามารถนำต้นสดมาตำใช้พอกเป็นยาแก้กลากน้ำนมได้ (ทั้งต้น)[4]
17. สามารถช่วยแก้ผดผื่นคัน แก้หัด แก้แผลอักเสบ แก้หัดหลังหัดออกแต่ไข้ไม่ลด โดยนำต้นสด 30-60 กรัม มาคั้นเอาน้ำไปต้มใช้ดื่ม (ทั้งต้น)[4]
18. เมือง Orissa ของประเทศอินเดีย นำน้ำที่สกัดได้จากใบมาใช้รักษาโรคแมลงกัดต่อย (ใบ)[4]
19. ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ และยาถอนพิษสำแดงได้ (ทั้งต้น)[4]
20. สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกเยอะไปช่วงที่มีประจำเดือนของของผู้หญิงได้ โดยนำใบมาเคี้ยวใช้อมเพื่อให้ตัวยาเข้าทางปาก (ใบ)[4]
21. นำทั้งต้น มาครั้งละ 6-15 กรัม เอามาต้มกับน้ำใช้ทานเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[3],[4]
22. ราก มีรสเอียน เป็นยาแก้บิด (ราก)[1],[4],[7]
23. นำต้นสด 60 กรัมมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดฟันได้ (ทั้งต้น)[4]
24. สามารถช่วยแก้อาการท้องผูก แก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ โดยนำต้นสด 60-120 กรัมมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาผสมน้ำผึ้งเดือนห้าอุ่นดื่ม (ทั้งต้น)[4]
25. สามารถนำทั้งต้นมาต้มใช้ดื่มช่วยลดความดันโลหิต ในตามตำรับยาให้ใช้แพงพวย 15 กรัม, เก๊กฮวย 6 กรัม, ชุมเห็ดไทย 6 กรัม เอามาต้มรวมกันกับน้ำทาน หรือนำแพงพวย 15 กรัม, แห่โกวเช่า 15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ทั้งต้น)[1],[3],[4],[7]
26. ใบ สามารถช่วยบำรุงหัวใจได้ (ใบ[1],[4], ต้นและใบ[7])
27. สามารถนำก้านสดกับรากสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลังได้ (ราก, ก้าน)[6]
28. ใบ มีรสเอียน เป็นยาแก้มะเร็ง แก้มะเร็งในเม็ดเลือดของเด็กได้ (ใบ)[1]

วิธีใช้

ให้ใช้ทั้งต้นแห้งครั้งละ 15-30 กรัมเอามาต้มกับน้ำใช้ดื่ม หรือนำต้นสดมาคั้นเอาน้ำมาใช้ดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาตำใช้พอกหรือสุมไฟให้เป็นถ่านผสมเป็นยาใช้พอก[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษโดยฉีดสารสกัดที่ได้จากใบด้วยเอทานอล 95% เข้าที่ช่องท้องของหนูถีบจักร ปรากฏว่าขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งนั่นก็คือ 4 กรัมต่อกิโลกรัม[7]
  • ในปี ค.ศ. 2004 ในประเทศไทยได้ศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือดสูง ด้วยการทำการทดลองในหนู (Mice) โดยให้สารสกัดที่ได้จากแพงพวยขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ทดสอบค่าความเป็นพิษ และทดสอบผลการลดความดันโลหิตสูงในแมวที่ให้สารสกัดแพงพวยขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัม และทดสอบผลลดไขมันในเลือดในหนูโดยให้สารสกัดแพงพวยขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัม 3 สัปดาห์ ดูผลการขับปัสสาวะขนาด 0.1 กรัม ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เทียบกับสาร Furosemide ผลการทดลองสรุปว่าสารสกัดแพงพวยที่ใช้รูปยาที่ชื่อว่า RUVINAT ได้ผลดีสำหรับลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ [7]
  • นำสาร ที่สกัดได้ไปทดลองในหนูขาวทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด ปรากฏว่าสาร Vinblastine มีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งโรคต่อมน้ำเหลือง P-1534 ของหนูทดลองได้[3]
  • สกัดสารอัลคาลอยด์ Vineristine กับสาร Vinblastine จากทั้งต้น มาทำให้บริสุทธิ์ ใช้ในรูปยาฉีดรักษาคนไข้มะเร็งบางชนิด [1]
  • พบสาร Leurosidine, campesterol, arginins, akummigine, acenine, loganin, glutamine, carosine, ammocalline, ajalicine [7]
  • มีฤทธิ์ที่ทำให้เม็ดเลือดขาวน้อยลง เวลานำมาใช้ต้องระวังให้มาก ๆ [3]
  • น้ำที่ได้ ถ้าเอาไปให้สุนัขทดลองทานปรากฏว่ามีฤทธิ์ที่ลดความดันโลหิตของสุนัขได้ และพบว่ามีฤทธิ์ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ไม่กระทบกับการเต้นของหัวใจและการหายใจของปอด[3]
  • นักวิทยาศาสตร์ทำการแยกสารอัลคาลอยด์และตั้งชื่อว่า Vinblastine และใช้ทดลองกับหนูทดลอง ปรากฏว่าสาร Vinblastine มีฤทธิ์ที่ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดขาวลดลง และได้ทำการสกัดและแยกสารอัลคาลอยด์จากแพงได้ประมาณ 50 ชนิด ในจำนวนนี้มีสารอัลคาลอยด์อยู่ 4 ชนิดที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้ นั่นก็คือ Vinrosidine, Vincristine, Vinleucostine, Vinblastine (สาร Vinrosidine, Vincristine, Vinleucostine, Vinblastine เป็นสารอัลคาลอยด์ที่อยู่ในพวก Dimeric indoleindoline) ต้นหนัก 500 กิโลกรัม ให้สารอัลคาลอยด์ Vincristine 1 กรัม โดยสาร Vinblastine ที่นิยมใช้ Vinblasine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าที่หลอดเลือดดำหรือใช้ทำยาทานเพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และสาร Vincristine ที่นิยมใช้ Vincristine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าที่หลอดเลือดดำในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก[2]
  • มีฤทธิ์ที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดไขมันในเลือด ต้านเชื้อรา ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตได้[7]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “แพงพวยฝรั่ง (Phaengphuai Farang)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 202.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “แพงพวยบก”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 573-575.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “แพงพวย”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 400.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แพงพวยฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [09 พ.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แพงพวยฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [09 พ.ค. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Periwinkle madagascar, Periwinkle, Vinca, Old”. อ้างอิงใน:
7. หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [09 พ.ค. 2014]. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “แพงพวยฝรั่ง”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 132-133.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://housing.com/news/periwinkle/
2. https://alchetron.com/Catharanthus-roseus
3. https://medthai.com/

พิมเสนต้น ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้

0
พิมเสนต้น
พิมเสนต้น ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ เป็นไม้ล้มลุก แผ่นใบทั้งสองด้านจะมีขนสีเทาอ่อนขึ้น ดอกเป็นช่อสีขาวอมม่วง ผลขนาดเล็กเป็นรูปไข่ยาวเป็นผลแห้งไม่แตก
พิมเสนต้น
เป็นไม้ล้มลุก แผ่นใบทั้งสองด้านจะมีขนสีเทาอ่อนขึ้น ดอกเป็นช่อสีขาวอมม่วง ผลขนาดเล็กเป็นรูปไข่ยาวเป็นผลแห้งไม่แตก

พิมเสนต้น

พิมเสนต้น มีถิ่นกำเนิดที่ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย[4] ชื่อสามัญ Patchouly, Patchouli, Patchoulli [3],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Pogostemon patchouli var. suavis (Ten.) Hook. f.) อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[1],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ก่วงฮั่วเซียง (จีนกลาง), ใบอีหรม (ภาคใต้), ผักชีช้าง, ใบพิมเสน, ฮั่วเซียง (จีนกลาง), ใบหลม (ภาคใต้) [1],[6]

ลักษณะของต้นพิมเสนต้น

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง กิ่งก้านจะเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขาที่ยอดต้น ถ้าขยี้จะมีกลิ่นหอมฉุน ทั้งต้นจะมีขนสีเหลืองขึ้น ขยายพันธุ์โดยการตัดลำต้นปักชำ[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใบที่บริเวณโคนต้นจะเล็กกว่าตรงยอดต้น แผ่นใบทั้งสองด้านจะมีขนสีเทาอ่อนขึ้น โดยเฉพาะส่วนเส้นใบจะมีขนขึ้นเยอะ ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามปลายกิ่งกับซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวอมม่วง เป็นรูปทรงกระบอก สามารถยาวได้ถึงประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้ม 4 ใบ มีขนาดยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 ก้าน[1]
  • ผล ขนาดเล็กเป็นรูปไข่ยาวเป็นผลแห้ง ผลจะไม่แตก [1],[6]

ประโยชน์พิมเสนต้น

  • น้ำพิมเสนที่กลั่นจากกิ่งกับใบที่กันเรียกว่า น้ำมันแพทชูลี (Patchouli oil) นิยมใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ในสมัยโบราณจะใช้แต่งกลิ่นขี้ผึ้งสีปาก[6]
  • สามารถนำใบแห้ง กิ่งแห้งใส่ตู้เสื้อผ้าช่วยทำให้มีกลิ่นหอม ช่วยป้องกันแมลงกัดเสื้อผ้า[6]
  • ใบจะมีกลิ่นหอมสามารถกลั่นมาทำน้ำหอมได้ และสามารถใช้เป็นสารช่วยให้น้ำหอมมีกลิ่นติดทนนานได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อ Spirochaete หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง[1]
  • พบสาร น้ำมันระเหย 15% และพบสารในน้ำมันระเหยนั่นก็คือ Anethole, Pogostol, Pinene, Patchoulipyridine, p-Methoxycinnamaldehyde, Methychavicol, Patchouli alcohol, Cinnamic aldehyde, Eugenol เป็นต้น[1]
  • น้ำมันระเหย มีฤทธิ์ที่เพิ่มน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร สามารถช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดียิ่งขึ้น และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะกับลำไส้ ทำให้สามารถช่วยคลายอาการปวดได้ และช่วยทำให้อาหารที่ตกค้างในกระเพาะอาหารไม่บูด[1]

สรรพคุณพิมเสนต้น

1. สามารถช่วยรักษาโรคผิวหนัง และกลากเกลื้อนได้ โดยนำต้นแห้งมาผสมโกฐน้ำเต้า 15 กรัม, สารส้มสะตุ 15 กรัม เอามาต้มรวมกันกับน้ำ ใช้ชำระผิวหนังตรงบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[1]
2. น้ำมันพิมเสนต้นในทางยาสามารถใช้ทาแก้ปวดได้ [6]
3. ยาชงจากยอดแห้งกับรากแห้งสามารถใช้ดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะติดขัด และขับปัสสาวะได้ (ยอด, ราก)[5],[6]
4. ผงที่ได้จากใบสามารถใช้เป็นยานัตถุ์ ทำให้จามได้ (ใบ)[6]
5. ทั้งต้นของ มีรสเผ็ดขม เป็นยาร้อนนิดหน่อย จะออกฤทธิ์กับกระเพาะอาหาร ปอด ม้าม สามารถใช้เป็นยาลดไข้ แก้หวัดแดด แก้ตัวร้อน มีน้ำมูกไหล และแก้จมูกอักเสบได้ (ทั้งต้น)[1]
6. ในตำรับยาแก้อาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ให้นำยาแห้ง 10 กรัม, เปลือกลูกหมาก 10 กรัม, แปะตุ๊ก 10 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม และเกาโพ๊ก 7 กรัม, ชะเอม 7 กรัม, กิ๊กแก้ 7 กรัม, โกฐสอ 7 กรัม, ปั่วแฮ 7 กรัม, จี่โซว 7 กรัม มาต้มกับน้ำทาน หรือเอามาบดรวมเป็นผงใช้ทำยาเม็ดลูกกลอนทานได้ (ทั้งต้น)[1]
7. สามารถใช้ต้นภายนอกเป็นยาแก้น้ำกัดเท้าได้ (ทั้งต้น)[1]
8. สามารถนำใบแพงพวยสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดประจำเดือน ยาขับประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (ใบ)[5]
9. สามารถใช้ทั้งต้นของแพงพวยเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ในตำรับยาแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย โดยใช้ยาแห้ง 10 กรัม, เปลือกลูกหมาก 10 กรัม, แปะตุ๊ก 10 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม และเกาโพ๊ก 7 กรัม, ชะเอม 7 กรัม, กิ๊กแก้ 7 กรัม, โกฐสอ 7 กรัม, จี่โซว 7 กรัม, ปั่วแฮ 7 กรัม มาต้มกับน้ำทาน หรือบดรวมเป็นผงทำยาเม็ดลูกกลอนทาน (ทั้งต้น)[1]
10. ยาชงจากยอดแห้งกับรากแห้งมีสรรพคุณที่เป็นยาขับลมในทางเดินอาหารได้ (ยอด, ราก)[5],[6]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลม และขับลมชื้นได้ (ทั้งต้น)[1]
12. ในตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาลดไข้ ใช้ปรุงเป็นยาเย็น แก้ไข้ได้ทุกชนิด ช่วยทำให้ความร้อนในร่างกายน้อยลง ช่วยถอนพิษร้อน ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ ยาจันทลีลา ในตำรับยาทางล้านนา กับยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้น (ใบ)[2],[3],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “พิม เสน ต้น”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 388.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พิมเสนต้น”. หน้า 170.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พิม เสน ต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [06 พ.ค. 2014].
4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “พิมเสนต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [06 พ.ค. 2014].
5. ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด). “พิมเสนหนาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th. [06 พ.ค. 2014].
6. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ผศ.สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์). “พิมเสน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pcog2.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2548/07-48/borneol.pdf. [06 พ.ค. 2014].
7. https://medthai.com

ต้นสายน้ำผึ้ง ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ

0
ต้นสายน้ำผึ้ง ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกลักษณะเป็นหลอด ดอกสีขาว เกสรเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมหวาน ผลทรงกลมผิวเกลี้ยงสีดำ
สายน้ำผึ้ง
เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกลักษณะเป็นหลอด ดอกสีขาว เกสรเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมหวาน ผลทรงกลมผิวเกลี้ยงสีดำ

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น สามารถเจริญเติบโตได้ดีและมักพบขึ้นมากในป่าแถบภูเขา พื้นที่ที่มีดินร่วนซุยและความชื้นปานกลางเป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต ชื่อสามัญ Woodbine, Honeysuckle, Lonicera, Japanese Honeysuckle[2],[3],[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Lonicera japonica Thunb. อยู่ในวงศ์ (CAPRIFOLIACEAE)[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ จินอิ๋นฮวา จินหยิงฮัว เหยิ่นตงเถิง ซวงฮัว (จีนกลาง), หยิ่มตังติ้ง กิมงิ่งฮวย (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น[3],[4]

ลักษณะของสายน้ำผึ้ง

  • ต้น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี เถาเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะกลมยาวประมาณ 9 เมตร เนื้อในกลวง มีกิ่งก้านสาขาแตกออกมาเป็นทรงพุ่ม มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุมตามกิ่งอ่อนอยู่ ใช้วิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ดในการขยายพันธุ์ [1],[2],[3],[4],[6]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ช่อละ 2 ดอก ช่อมักจะออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีส่วนปลายแยกเป็นรูปปากที่มีกลีบเปิดออกมา ดอกมีสีครีมที่โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปกรวยแหลมยาว โดยปลายแยกของกลีบดอกจะเป็นปากที่แบ่งออกเป็น 2 ปาก ซึ่งปากบนมี 4 กลีบและปากล่างมี 1 กลีบ มีใบประดับ 1 คู่คล้ายใบ โดยมีขนปกคลุมอยู่ที่กลีบดอกข้างนอก มีกลีบรองดอกที่ติดกันและปลายแยกของกลีบดอกจะมีรูปสามเหลี่ยม ดอกมีเกสรอยู่ 5 อันยื่นออกมาจากใจกลาง ดอกที่เริ่มบานจะมีสีขาว ต่อมาประมาณ 2-3 วัน ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองทอง ออกดอกได้ตลอดปี โดยจะมีจำนวนดอกที่มากขึ้นในช่วงฤดูฝน และมีกลิ่นหอมที่สุดในช่วงเย็นใกล้กับเวลามืดจนถึงก่อนที่แดดจะออกตอนเช้า[1],[2],[3],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวที่ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ รูปรี หรือรูปมนรี ใบมีความกว้าง 1-4 เซนติเมตรและความยาว 3-8.5 เซนติเมตร โคนใบตัดหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมีหางสั้น ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมเนื้อใบเล็กน้อย เนื้อใบอ่อนนุ่ม หลังใบมีสีเขียวเข้ม และท้องใบมีสีเทาอมเขียว ก้านใบยาว 4-10 มิลลิเมตร[1],[4]
  • ผล เป็นผลสดรูปทรงกลม ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมันเงา ขนาดราวๆ 6-7 มิลลิเมตร ผลสุกมีสีดำ[1],[2]

ประโยชน์ของสายน้ำผึ้ง

1. มีการใช้หัวน้ำมันดอกสายน้ำผึ้งในอุตสาหกรรมน้ำหอมหรือใช้ในทางสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ซึ่งในปัจจุบันหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้หัวน้ำมันดอกสายน้ำผึ้งแท้ 100% ได้ยากมาก ส่วนมากมักจะผสมขึ้นมาจากหัวน้ำมันดอกไม้ชนิดอื่นๆ และนำมาปรุงแต่งกลิ่นให้ได้ความหอมใกล้เคียงกับกลิ่นของดอก [10]
2. ด้วยรูปลักษณ์ของดอกที่มีความบอบบางและมีกลิ่นหอมหวาน ทำให้ดอกสายน้ำผึ้งเป็นแรงบันดาลใจของกวีและศิลปินจำนวนมาก อีกทั้งในทางตะวันตก เป็นสัญลักษณ์ของความรักความผูกพัน ความอ่อนหวานไร้เดียงสา และความสวยงาม เชื่อว่ากลิ่นหอม ช่วยขับไล่ความโศกเศร้าและความกลัวได้ ทำให้จิตใจร่าเริงเบิกบาน ทำให้รู้สึกเป็นสุข อบอุ่น และปลอดภัย[10]
3. สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ เพราะดอกมีกลิ่นที่หอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี[6]
4. Dr. Edward Bach แพทย์ชาวอังกฤษ เชื่อว่าคุณสมบัติเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจเช่น ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าเนื่องจากความคิดถึงอดีตและปฏิเสธการอยู่กับปัจจุบัน เป็นตัวช่วยในการปลอบประโลมจิตใจ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่คงค้างในใจ และช่วยให้ผู้ใช้มีความสุขกับชีวิตในปัจจุบัน ตามความเชื่อของเขา พลังจากดอกไม้สามารถถ่ายทอดไปยังผู้ใช้และช่วยในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ [10]
5. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มและขนมหวานต่างๆ และช่อดอกสดจะใช้ในการแต่งหน้าขนมหวานหรือขนมเค้กเพื่อเพิ่มความสวยงาม[10]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • นำต้มจากดอก ช่วยในการยับยั้งเชื้อ Bacillus inuza, Staphelo coccus, Stepto coccus, เชื้อวัณโรค และเชื้อไทฟอยด์ในลำไส้ และพบว่าน้ำที่ใช้แช่ดอกจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อมากกว่าน้ำที่ต้มกับดอก [4]
  • ในดอกมีสาร Luteolin ที่ช่วยในการลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบด้วยการทดลองกับลำไส้เล็กของกระต่ายที่อยู่นอกร่างกาย แต่จะมีฤทธิ์อ่อนกว่า Papaverine และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอย่างอ่อนด้วย Luteolin ที่ความเข้มข้น 1 : 2,000 จะทำให้อัตราการเต้นและความแรงในการบีบตัวของหัวใจกบที่อยู่นอกร่างกายลดลงเล็กน้อย และทำให้ปริมาณของเลือดที่ฉีดออกมาในแต่ละครั้งลดลง
  • การทดลองใช้เถาสด 60 กรัม เติมน้ำ 1,000 มิลลิลิตร แล้วต้มให้เหลือ 400 มิลลิลิตร แบ่งดื่มเช้าและเย็นเป็นเวลา 15 นาที ในการรักษาผู้ป่วยตับอักเสบชนิดเอ 22 รายพบว่า ตับทำงานเป็นปกติ 12 ราย ตับทำงานดีขึ้น 6 ราย และไม่ดีขึ้นเลย 4 ราย[8]
  • พบสารเช่น Luteolin-7-rhamnoglucoside, Syringin, Loganin, Loincerin ในเถา[4] ส่วนในดอกพบสาร Luteolin, Inositol, Luteolin-7-rhamnoglucoside, Saponin, Lonicerin เป็นต้น และในใบพบสาร
    Luteolin-7-rhamnoglucoside และ Lonicerin ส่วนในผลมีสาร Cryptosanthin[5]
  • สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Bacillus subtilis และ Staphylococcus spp. ด้วยสาร Luteolin ที่ความเข้มข้น 1 : 350,000 [8]
  • จากการทดลอง เมื่อกรอก Luteolin ให้กับหนูขาวอายุ 25-28 วันพบว่าทำให้ต่อมน้ำนมฝ่อ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองได้[8] สาร Luteolin ที่ความเข้มข้น 1 : 5,000 จะทำให้อัตราการเต้นและความแรงในการบีบตัวของหัวใจหนูตะเภาที่อยู่นอกร่างกายเพิ่มขึ้น
  • มีการนำมาใช้ทดลองรักษาอาการบิดไม่มีตัวและลำไส้อักเสบด้วยการใช้เถาสด 45 กรัม ต้มน้ำกินเช้าและเย็นวันละ 2 ครั้ง ขณะเดียวกันให้ใช้เถาสด 15 กรัม มาต้มกับน้ำสวนทวารวันละครั้ง รักษาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 7 วัน ในการรักษาผู้ป่วยสองกลุ่ม กลุ่มแรกมีจำนวน 167 ราย พบว่าเมื่อรักษาเพียงช่วงแรกมีอาการหายไป 131 ราย และไม่ได้ผล 36 ราย ไข้จะลดลงภายใน 2 วัน อุจจาระหายเหลวภายใน 4.5 วัน ไม่พบเชื้อบิดในอุจจาระภายใน 4.9 วัน และถ่ายเป็นปกติใน 5.6 วัน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสองที่เป็นบิดไม่มีตัวจำนวน 80 ราย พบว่ารักษาหายในช่วงแรกคิดเป็น 73.9% ถ่ายเป็นปกติภายใน 5.5 วัน อาการไข้ลดลงภายใน 1.5 วัน ไม่พบเชื้อบิดในอุจจาระภายใน 3.7 วัน และอุจจาระหายเหลวภายใน 4.6 วัน ส่วนอีกวิธีทดลอง คือใช้เถาสด 100 กรัมมาสับเป็นท่อนเล็กๆ เติมน้ำ 200 มิลลิลิตร แช่ไว้ในหม้อดินเคลือบไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อน 3 ชั่วโมง เติมน้ำ 100 มิลลิลิตร กรองเอาแต่น้ำมากินวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ให้ลดหรือเพิ่มขนาดของยาตามอาการ โดยเริ่มกิน 20 มิลลิลิตร ทุก ๆ 4 ชั่วโมง เมื่อดีขึ้นให้เปลี่ยนเป็นทุกๆ 6 ชั่วโมง เมื่ออาการท้องร่วงหายไป ให้กินต่อไปอีก 2 วัน
    พบว่าจากการรักษาผู้ป่วย 150 ราย เป็นลำไส้อักเสบ 90 ราย เป็นบิดไม่มีตัว 60 ราย พบว่าได้ผลดีมากกับผู้ป่วยจำนวน 146 คน และมี 4 รายไม่ได้ผล โดยเฉลี่ยอาการปวดท้องจะหายภายในเวลา 3 วัน อาการปวดมวนหายไปภายใน 2.5วัน อาการไข้และท้องร่วงจะลดลงภายใน 2 วัน อุจจาระเหลวจะหายไปภายใน 4.4 วัน และไม่พบว่ามีอาการข้างเคียง [8]
  • จากการทดลองนำน้ำที่ต้มหรือแช่กับดอก มาให้กระต่ายทดลองกิน พบว่าลำไส้มีการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้น้อยลง และทำให้คอเลสเตอรอลส่วนที่เหลือถูกขับถ่ายออก เนื่องจากน้ำต้มดอก กับคอเลสเตอรอลในลำไส้กระต่ายเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวทางเคมี[4]

สรรพคุณของสายน้ำผึ้ง

1. จากตำราการแพทย์แผนจีนให้ข้อมูลว่า กิมหงึ่งฮวยหรือดอกสายน้ำผึ้ง มีรสอมหวานและเย็น ช่วยขับพิษ ถ่ายบิดเป็นมูกเลือด แก้แผลฝี แผลเปื่อย บวม แก้หวัดอันเกิดจากการกระทบลมร้อน มีฤทธิ์ผ่อนคลายและกระจายความร้อน และกิมหงึ่งฮวยถ่าน จะช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี แก้ถ่ายบิดเป็นมูกเลือด เลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด โดยใช้ในขนาด 6-15 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำมาดื่ม สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเย็นพร่องของม้ามและกระเพาะอาหารห้ามใช้สมุนไพรนี้(ดอก)[7]
2. เถา ใช้แก้อาการปวดเส้นปวดกระดูกได้(เถา)[4] ส่วนทั้งต้นมีสรรพคุณรักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ทั้งต้น)[5]
3. ดอก นำมาทำเป็นยาแก้ปวดบวม ฝีหนองอักเสบ(ดอก)[4]
4. ใช้ดอกในการรักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง เชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง พิษฝีหนอง(ดอกตูม)[4],[5]
5. สามารถช่วยในการขับพิษของโรคงูสวัดที่ตกค้างในร่างกายออกได้ คือมีอาการปวดแสบปวดร้อนและบวม โดยใช้ ดอก 10 กรัม, ข้าวเย็นเหนือ 30 กรัม, ข้าวเย็นใต้ 30 กรัม, ใบโด่ไม่รู้ล้ม 10 กรัม(แบบแห้งทั้งหมด) นำมาต้มในน้ำ 1 ลิตรจนเดือด ดื่มเช้าเย็นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ให้ดื่มไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะหายดี(ดอก)[9]
6. ใช้ในการรักษาตับอักเสบชนิดเอ (เถาหรือใบ)[3] ทั้งต้นนำมารักษาตับอักเสบได้(ทั้งต้น)[5] และเถาใช้รักษาโรคติดเชื้อในตับ (เถา)[4]
7. ดอกใช้ทำเป็นยารักษาปากมดลูกอักเสบเป็นหนองได้ ด้วยการนำดอกแห้งมา 1,000 กรัม บดเป็นผงแล้วแช่ไว้กับเหล้าขาว 40 ดีกรี ปริมาณ 1,500 ซีซีทิ้งไว้ 2 วัน ต่อมาให้กรองเอาแต่เหล้ามา 400 ซีซี ทาบริเวณปากมดลูกติดต่อกัน 7-12 วัน (ดอก)[4]
8. มีการใช้เป็นยาขับปัสสาวะในตำราจีน โดยนำเถาสดนำมาต้มกับน้ำกิน(เถา,เถาหรือใบ)[2],[3]
ดอกและทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้เช่นกัน (ดอก,ทั้งต้น)[1],[5]
9. ใช้เถาหรือดอกแห้ง 10-30 กรัม (หากเป็นเถาสดให้ใช้ 20-60 กรัม) มาต้มเคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วกินจะช่วยแก้บิดมูกเลือด แก้บิดติดเชื้อถ่ายเป็นเลือดได้(เถา,ดอก,ทั้งต้น)[1],[3],[4]
10. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหาร(ทั้งต้น)[6],[9]
11. ดอกช่วยรักษาเต้านมอักเสบได้(ดอก)[4]
12. ใช้เป็นยารักษาแผลในปากได้(ดอก)
13. ต้น มีสรรพคุณช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ(ต้น)[9]
14. นำใบหรือเถา หรือดอกแห้ง 30 กรัม(หากเป็นแบบสดให้ใช้ 90 กรัม) มาต้มกับน้ำกินบ่อย ๆ สามารถใช้เป็นยาแก้หวัด แก้คอแห้งได้(ใบหรือเถา,ดอก)[1],[3] และมีอีกวิธีคือให้ใช้ดอก15 กรัม, เก็งสุ่ย 6 กรัม, ใบไผ่เขียว 15 กรัม, โหล่วกิง 20 กรัม, เต่าซี่แห้ง 10 กรัม, กิ๊กแก้ 5 กรัม, เหลี่ยงเคี้ยว 15 กรัม, ชะเอม 3 กรัม, ใบสะระแหน่ 3 กรัม, หงู่ผั่งจี้ 5 กรัม ต้มรวมกับน้ำรับประทาน(ดอก)[4]
15. ใช้เถาเป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ รักษาไข้ที่เกิดจากการกระทบจากปัจจัยภายนอก ช่วยทะลวงลมปราณได้ โดยเถามีรสหวานชุ่ม เป็นยาสุขุม ที่มีฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ(เถา)[4]
16. ดอก ใช้เป็นยารักษาอาการความดันโลหิตสูงได้(ดอก)[1]
17. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้อายุยืนและมีความกระปรี้กระเปร่า โดยใช้ดอกสดหรือแห้ง นำมาชงดื่มแทนชา ดอกมีรสหวานเย็น(ดอก)[1]
18. มีสรรพคุณในการรักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ รักษาวัณโรคและอาการทางผิวหนังที่เกิดจากโรคซิฟิลิส รักษาผื่นคันจากการติดเชื้อได้ ก้านดอกถูกนำมาทำเป็นยาแก้อาการไขข้ออักเสบ และคางทูม ส่วนสารสกัดจากดอกสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ หากนำทั้งก้านและดอกมาผสมกันจะใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคนิวมอเนียได้ด้วย
มีจากวิจัยในจีนพบว่า อาจมีสรรพคุณเป็นยารักษามะเร็งได้บางชนิดได้ เช่นมะเร็งทรวงอก[10]
19. ใช้ใบหรือเถา หรือดอกแห้งประมาณ 30 กรัม (หากสดให้ใช้ 90 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินบ่อยๆ จะสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว และอาการปวดหลังได้(ดอก)[1],[3]
20. หากมีอาการเมาเห็ด สามารถนำกิ่งและใบอ่อนมาล้างให้สะอาดแล้วเคี้ยวให้ละเอียดกินเป็นยาได้(กิ่ง,ใบ)[8]
21. มีสรรพคุณในการรักษาฝีฝักบัว (เถาหรือใบ)[3]
22. ใช้เป็นยาในการรักษาแผลเปื่อย แผลฝีต่างๆ และโรคผิวหนังต่างๆได้ (เถาหรือใบ,ทั้งต้น)[1],[3],[5]
23. ใช้แก้โรคติดเชื้อบางชนิดได้(เถาหรือใบ)[3]
24. ดอกนำมาทำเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบได้(ดอก)[4]
25. ทั้งต้นนำมาแก้ริดสีดวงทวารได้(ทั้งต้น)[1] และดอกก็สามารถใช้รักษาริดสีดวงในลำไส้ได้(ดอก)[4]
26. ดอกใช้ในการรักษาลำไส้ติดเชื้อ(ดอก)[4]
27. ใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วงได้ จากตำรายาแก้ท้องร่วงระบุไว้ว่า ให้ใช้เถาสด 100 กรัม มาสับเป็นท่อนเล็กๆ แช่ลงไปในหม้อเคลือบเติมน้ำ 200 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง จากนั้นให้ต้มด้วยไฟอ่อน 3 ชั่วโมงและเติมน้ำไปให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาแต่น้ำมารับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ลดหรือเพิ่มขนาดยาตามอาการ โดยปกติแล้วทุกๆ 4 ชั่วโมงให้กิน 20 มิลลิลิตร แต่หากอาการดีขึ้นให้เปลี่ยนเป็นทุกๆ 6 ชั่วโมงแทน หลังจากอาการหายไปแล้วให้ทานต่อไปอีก 2 วัน(เถา)[5]จากการทดลองนำเถาสดนำมาต้มกับน้ำให้กับผู้ป่วยกินพบว่าช่วยในการแก้ท้องเสียได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้แก้อาการท้องร่วง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด และลำไส้อักเสบได้อีกด้วย(เถา,เถาหรือใบ,ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5] ดอกตูมก็สามารถใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ และอาการท้องเสียได้เช่นกัน(ดอก)[3],[4]
28. ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคลำไส้ได้ [5]
29. ดอก มีสรรพคุณเป็นยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ (ดอก)[4]
30. ทั้งต้นใช้แก้ปากนกกระจอกได้(ทั้งต้น)[1]
31. สามารถนำมารักษาอาการเจ็บคอได้(ทั้งต้น)[1]
32. ดอก สามารถนำมาใช้ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้พิษ มีไข้ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้หวัดใหญ่ ดอกมีรสชุ่มและขมเล็กน้อย มีฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะอาหาร เป็นยาเย็น(ดอก)[4]
33. มีสรรพคุณในการแก้อาการมึนเมา (ทั้งต้น)[1]
34. ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ โดยการนำดอกมาคั้นรับประทาน(ดอกตูม)[1],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สายน้ำผึ้ง (Sai Nam Phueng)”. หน้า 299.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สายน้ำผึ้ง Japanese Honey-suckle”. หน้า 134.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สายน้ําผึ้ง”. หน้า 781-782.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สายน้ำผึ้ง”. หน้า 554.
5. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สายน้ําผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [11 มิ.ย. 2014].
6. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (นพพล เกตุประสาท). “สายน้ำผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [11 มิ.ย. 2014].
7. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. “กิมหงึ่งฮวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th. [11 มิ.ย. 2014].
8. ไทยเกษตรศาสตร์. “สมุนไพรสายน้ำผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [11 มิ.ย. 2014].
9. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “สายน้ำผึ้ง กับสูตรแก้ปวดจากงูสวัด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [11 มิ.ย. 2014].
10. Sangkae’s Blog. “สายน้ำผึ้ง…ดอกไม้แห่งความสดใสร่าเริง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: sangkae.wordpress.com. [11 มิ.ย. 2014].
11. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://colplanta.org/
2.https://powo.science.kew.org/