Home Blog Page 17

สีเสียด เปลือกของต้นใช้เป็นยาแก้บิด

0
สีเสียด เปลือกของต้นใช้เป็นยาแก้บิด เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ใบเรียบสีเขียวมีขน ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล มีกลิ่นหอม ฝักแบนตรง
สีเสียด
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ใบเรียบสีเขียวมีขน ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล มีกลิ่นหอม ฝักแบน

สีเสียด

สีเสียด พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียเช่น จีน อินเดีย และบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย ผู้คนมักใช้มาทำเป็นยาโดยนำแก่นต้นมาสับแล้วต้มและเคี่ยว จากนั้นระเหยน้ำที่ต้ม จะได้ของแข็งเป็นก้อนสีน้ำตาลดำออกมา สามารถใช้ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วงได้ (Escherichia coli) ส่วนเมล็ดนั้นใช้เป็นแหล่งของโปรตีน ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (LEGUMINOSAE) ชื่อสามัญ Catechu tree, Cutch tree[1], Cutch, Black Catechu[6] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ สีเสียด สีเสียดไทย สีเสียดเหนือ สีเสียดเหลือง สีเสียดหลวง สีเสียดลาว และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย

ลักษณะสีเสียด

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งมีหนามเป็นคู่ ลำต้นมีเปลือกเป็นสีเทาดำ ผิวเปลือกมีความขรุขระสามารถลอกเปลือกผิวออกมาได้ เปลือกในเป็นสีแดง เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถทนต่อแสงแดดและความแห้งแล้งได้ดีเติบโตได้ในดินทุกสภาพ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ต้องการน้ำในระดับปานกลางและไม่ชอบน้ำขัง พบขึ้นทั่วไปใน ป่าโปร่งภาคเหนือ ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ตามพื้นที่ราบและที่แห้งแล้งทั่วไป[1],[2],[3],[7]
  • ใบ ลักษณะรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบเรียบสีเขียวมีขนขึ้นประปราย ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอยแบบเดียวกับใบกระถิน ใบออกตรงข้ามกัน 20 – 50 คู่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ ยาวประมาณ 9-17 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ ไม่มีก้าน[1],[2],[3]
  • ดอก เป็นช่อแบบก้านธูปหรือรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กมีสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกย่อยมีจำนวนมากอัดกันแน่น รวมกันเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ไม่มีกลีบดอก กลีบรองดอกมีสีเขียวนวล มีกลีบที่ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตรอยู่ 5 กลีบติดกันที่ฐาน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเป็นเส้นเล็ก ๆ สีขาวก้านเกสรไม่ติดกัน[1],[2],[3] ดอกมักจะออกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม[6]
  • ผล เป็นฝักแบนตรง กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปลายและโคนของฝักเรียวแหลม ผิวมันเรียบ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลดำและแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาลเป็นมัน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปแบน เมล็ดภายในฝักมีประมาณ 3-7 เมล็ด (เมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด จะมีน้ำหนักประมาณ 65 กรัม)[1],[2],[3],[9] จะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[6]
  • ก้อนสีเสียด คือยางที่ได้จากการนำแก่นต้น สับให้เป็นชิ้นๆ แล้วต้มและเคี่ยวจะได้ยางที่มีลักษณะเหนียวสีน้ำตาลดำ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้จนแห้งแข็งเก็บไว้ใช้นำมาบดหรือต้มรับประทานเป็นยาได้ จะมีรสขมและฝาดจัด ไม่มีกลิ่น[1],[2],[8],[9]

ประโยชน์ของสีเสียด

1. สามารถนำไม้จากต้นมาใช้ทำเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆได้ เช่น เสา คาน สะพาน หรือใช้ทำด้ามมีด ด้ามพร้าได้[7] อีกทั้งยังสามารถนำไม้มาทำเป็นถ่านสำหรับหุงอาหาร และเยื่อไม้สามารถเอามาทำแผ่นไม้อัดได้ด้วยแต่ต้องสกัดเอายางออกก่อน[9]
2. ทั้งต้น ใช้เลี้ยงครั่งได้ และใบใช้เป็นอาหารสัตว์ประเภท วัว ควายได้[9]
3. สามารถปลูกไว้เป็นไม้ประดับหรือเพื่อผลิตก้อนในการค้าได้ อินเดียและพม่าจะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการค้าเป็นหลัก[9]
4. สามารถทำอุตสาหกรรมย้อมผ้าและฟอกหนังสัตว์ โดยการนำเปลือกต้นและก้อนยางมาใช้[2],[6]
โดยแก่นจะให้สีน้ำตาล ที่สามารถนำมาใช้ย้อมผ้า แห อวน และหนังได้ สามารถย้อมสีเส้นไหมจากการใช้เปลือกต้นมาทำ โดยนำมาสับเป็นชิ้นๆ ต้มสกัดสีกับน้ำในอัตราส่วน 1:2 (เปลือก 15 กก. ย้อมเส้นไหมได้ 1 กก.) ต้มนาน 1 ชั่วโมง และนำมาย้อมร้อน สุดท้ายนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี จุนสี และสารส้ม ก็จะได้เส้นไหมที่มีสีน้ำตาล (สีที่ได้จะไม่อ่อนลงหากนำไปซัก และไม่ทนต่อแสงมาก)[5]
5. สามารถใช้แก่นไม้มาเคี้ยวกินกับหมาก โดยชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่มักจะทำกัน[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สามารถใช้สารสกัดมาเป็นยาบำรุงและรักษาโรคข้อได้ โดยส่วนผสมของสารสกัดมี baicalin จาก Scutellaria baicalensis และ (+)-catechin และ epicatechin อยู่ โดยจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเลือดของคนที่มีสุขภาพดีที่ได้รับสารสกัดนี้เมื่อเทียบกับยาที่ใช้รักษาโรคเดียวกัน[10]
  • สารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli สารสกัดด้วยเมทานอลออกฤทธิ์ยับยั้ง Salmonella typhi สายพันธุ์ที่ดื้อยาได้ปานกลาง มีข้อมูลพบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 0.2 กรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ B. subtilis และ S. typhimurium ได้ปานกลาง ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรืออะซีโตนจากลำต้นที่ความเข้มข้น £ 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ B. subtilis, E. coli และ Salmonella typhimurium[10]
  • มีสารกลุ่มแทนนินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ฤทธิ์ต้านเชื้อบิด มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านออกซิเดชัน ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ และต้านการก่อกลายพันธุ์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วง (Escherichia coli)[8]
  • ทั้งต้นมีสาร Epicatechin, ใบมีสาร -(+)-Chatechin, Isoacacatechol, Tannins isoacacatechol acetate, เปลือกต้นพบสารจำพวก Catechol, Gallic acid, Tannin, แก่นมีสาร Catechin, Dicatechin, 3′ ,4′ ,7′ , -Tri-O-methyl catechin, 3′ ,4′ ,5 , 5′ , 7-sPenta-O-methyl gallocatechin[3],[4]
  • การทดลองความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเทียบกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง ไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับยีน แต่การฉีดสารสกัดจากลำต้นด้วยแอลกอฮอล์กับน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีความเป็นพิษ[10]
  • สารสกัดยางด้วยคลอโรฟอร์มเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้ ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำเข้มข้น 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ B. subtilisได้ สารสกัดจากยางด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร[10]
  • สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สายพันธุ์ ATCC 25923 และสายพันธุ์ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ methicillin (MRSA) ได้ดี โดยการใช้สารสกัดจากเนื้อไม้ด้วยน้ำและด้วยแอลกอฮอล์[10]
  • องค์ประกอบทางเคมีของสารในกลุ่ม tannins เช่น epigallocatechin-3-O-gallate, catecchin,acacatechin 2-10%, catechu red, epicatechin, catechutannic acid 20-35%, epicatechin-3-O-gallate, protocatechu tannins, phlobatannin, pyrogallic tannins และสารในกลุ่ม flavonoids เช่น fisetin flavanol dimers , quercetagetin, quercetin [8]

สรรพคุณของสีเสียด

1. สามารถช่วยป้องกันปูนกัดปากได้ โดยใช้ใส่ปูนที่จะรับประทานกับหมากและพลู[6]
2. มีสรรพคุณในการช่วยรักษาแผลที่น้ำกัดเท้าได้ โดยใช้ก้อนยางมาฝนกับน้ำให้ข้นหรือใช้ผงผสมกับน้ำมันพืชทาบริเวณแผล (ก้อนยาง)[6] และเมล็ดก็สามารถนำมาฝนทารักษาแผลน้ำกัดเท้าได้เช่นกัน (เมล็ด)[4]
3. สามารถรักษาโรคผิวหนังได้โดย ใช้เป็นยาทาภายนอก (แก่น, ก้อนยาง)[1],[2]
4. ผงนำมาละลายกับน้ำใช้ใส่แผลสดสามารถเป็นยาห้ามเลือดได้ (ผง)[6],[9]
5. ใช้เป็นยาแก้บิดได้โดยการนำเปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (เปลือกต้น)[1],[3],[4]
6. มีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบได้(ก้อนยาง)[8]
7. ช่วยรักษาแผลในลำคอ และใช้รักษาเหงือก ลิ้น และฟันได้ (ก้อนยาง)[7],[9]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้อาการไอ แก้ไข้จับสั่นได้(ก้อนยาง)[7]
9. ใช้ปรุงเป็นยาแก้ธาตุพิการได้ โดยการนำเปลือกต้นใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)[3] สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุและแก้อติสารได้ (ก้อนยาง)[9]
10. มีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้ เช่นท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้และการอุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน (ก้อนยาง)[8]
11. สามารถใช้เป็นยาระงับเชื้อได้โดยการนำเปลือกต้นนำมาต้มใช้น้ำที่ต้มเป็นยาระงับเชื้อ หรือจะใช้ก้อนมาบดหรือต้มเป็นยาทาก็ได้(เปลือกต้น, ก้อนยาง)[9]
12. ใช้เป็นยาทาแก้โรคหิดได้ โดยการนำเมล็ดที่อยู่ในฝักมาฝนทา(เมล็ด)[3],[4]
13. ใช้เปลือกต้นเป็นยาชะล้างบาดแผล ล้างแผลหัวนมแตก แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง แผลหัวแตก เป็นยาสมานแผลได้(เปลือกต้น)[1],[3],[4] ส่วนแก่นใช้เป็นยารักษาบาดแผล (แก่น)[1],[2] อีกทั้งก้อนยางสามารถนำมาใช้เป็นยาทา สมานบาดแผล หรือรักษาบาดแผล ล้างแผลที่ถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็วได้เช่นกัน (ก้อนยาง)[1],[3],[8]
14. สามารถใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงได้ (ก้อนยาง)[8]
15. ใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วงได้ ส่วนแก่นมีสารแทนนินทำให้มีฤทธิ์ฝาดสมาน (แก่น, เปลือกต้น, ก้อนยาง)[1],[2],[3] มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วงอย่างแรงได้ โดยการใช้ส่วนเปลือกต้นมาทำ(เปลือกต้น)[1]
16. การใช้ก้อนมาบดให้เป็นผงประมาณ 1/3-1/2 ช้อนชาแล้วต้มเอาน้ำดื่มให้หมดใน 1 ครั้ง ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร จะทำให้เป็นยาแก้อาการท้องเดินได้ ส่วนเปลือกต้นก็สามารถแก้ท้องเดินได้เช่นเดียวกัน (ก้อนยาง, เปลือกต้น)[3],[4],[8] ถ้าท้องเดินมากให้ใช้ผงผสมกับผงอบเชย อย่างละเท่ากันมา 1 กรัมแล้วนำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมงรับประทานครั้งละ 4 ช้อนแกง วันละ 3 ครั้ง (ผง)[6]
17. สามารถช่วยห้ามเลือดที่ออกจากจมูก แก้ปากที่เป็นแผล หรืออาการเจ็บที่มีเลือดออกได้(ก้อนยาง)[8],[9]
18. สามารถปิดธาตุ คุมธาตุ แก้อาการลงแดงได้ โดยใช้ก้อนยางและเปลือกต้นมาทำ(เปลือกต้น, ก้อนยาง)[1]
19. สามารถแก้บิดมูกเลือดได้ (ก้อนยาง)[1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สี เสียด เหนือ (Sisiad Nuea)”. หน้า 305.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สี เสียด เหนือ Catechu Tree / Cutch Tree”. หน้า 32.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สีเสียดเหนือ”. หน้า 784-785.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สี เสียด เหนือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [08 ต.ค. 2014].
5. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ, กรมหม่อนไหม. “สี เสียด เหนือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : qsds.go.th/webtreecolor/. [08 ต.ค. 2014].
6. ไทยเกษตรศาสตร์. “สีเสียดเหนือมีประโยชน์อย่างไร”. อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [08 ต.ค. 2014].
7. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สี เสียด แก่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th. [08 ต.ค. 2014].
8. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สี เสียด ไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [08 ต.ค. 2014].
9. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “สี เสียด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7 (ก่องกานดา ชยามฤต, ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 ต.ค. 2014].
10. สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สี เสียด”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [08 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://www.flickr.com/
3. https://medthai.com/

ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ

0
สาบแร้งสาบกา
ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ เป็นวัชพืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว ผลทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น
สาบแร้งสาบกา
เป็นวัชพืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว ผลทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อนกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามริมถนน ชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ชื่อสามัญ Goat Weed[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1] พบมีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างข้างทางทั่วไป มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยคือ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย), เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว), เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของสาบแร้งสาบกา

  • ต้น เป็นวัชพืชเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 1-2 ฟุต กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด[1],[2]
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดจะเรียงสลับกัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 7-26 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนอ่อนๆขึ้นปกคลุมอยู่ ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน[1],[2]
  • ดอก ดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีม่วงน้ำเงินหรือขาวและอัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้น ๆ ปลายแหลม เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น มีขนบริเวณหลังกลีบดอกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ใจกลางของดอก ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 5 กลีบ[1],[2]
  • ผล เป็นรูปเส้นตรงสีดำมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น มีร่อง 5 ร่อง[1],[2]

สรรพคุณของสาบแร้งสาบกา

1. ใบ สามารถเป็นยาแก้อาการปวดบวมได้ โดยใช้ทาภายนอก (ใบ)[1]
2. นำใบสดนำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดง จากนั้นนำมาตำรวมกัน ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลเรื้อรังหรือมีหนองจะสามารถช่วยรักษาได้(ใบ)[1]
3. สามารถทำเป็นยาแก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่อง หรือแมลงได้ โดยการใช้รากและใบตำพอกและคั้นเอาน้ำมาใช้(รากและใบ)[3]
4. ใช้ยอดและใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณแผลฟกช้ำ แผลสด แผลถลอก มีเลือดออก สามารถช่วยรักษาได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นยาห้ามเลือดได้อีกด้วย(ใบ)[1],[3]
5. ใช้เป็นยาขับระดูของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
6. ใช้เป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ (ทั้งต้น)[2]
7. ใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
8. ใช้ยาแห้งนำมาคั่วให้เหลือง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่มสามารถช่วยรักษาอาการปวดกระเพาะ ปวดท้อง กระเพาะลำไส้อักเสบ จุกเสียดแน่นท้องได้(ทั้งต้น)[2]
9. ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาแก้ลมได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
10. ใช้ใบสด 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอกปากที่เป็นแผล[1]
11. สามารถทำเป็นยาหยอดตาแก้อาการตาเจ็บได้ โดยการใช้น้ำที่คั้นจากใบมาทำ(ใบ)[1],[3]
12. การดื่มน้ำที่คั้นจากใบสามารถช่วยทำให้อาเจียนได้ (ใบ)[1],[3]
13. ใช้ใบสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน จะสามารถใช้รักษาไข้หวัดได้ส่วนรากและทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เช่นกัน (ใบ, ราก, ทั้งต้น)[1] และอีกวิธีคือให้ใช้ต้นสดประมาณ 70 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะสามารถใช้เป็นยาแก้หวัดตัวร้อนได้(ต้น)[2]
14. ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณข้อหรือกระดูกที่ปวด จะสามารถช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้(ใบ)[1]
15. การใช้ใบสดประมาณ 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอกบริเวณตาปลาที่อักเสบ จะสามารถช่วยรักษาอาการอักเสบได้(ใบ)[1]
16. หากเกิดผดผื่นคันสามารถใช้ใบ มาตำพอกบริเวณที่คัน จะสามารถช่วยรักษาอาการคันได้(ใบ, ทั้งต้น)[1],[2]
17. ใบสดและยอดใช้รักษาแผลเรื้อรังที่เนื้อเยื่อเมือกบวมอักเสบได้ ด้วยการนำมาล้างน้ำ ผสมกับเกลือและข้าวหมัก ตำให้เข้ากัน ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[1]
18. ใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือดได้ (ทั้งต้น)[2]
19. ช่วยแก้อาการช่องท้องทวารหนักหย่อนยานได้(ทั้งต้น)[1]
20. สามารถใช้ส่วนรากมาทำเป็นยา ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่วได้ (ราก)[1]
21. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อย รวมถึงโรคกระเพาะอาหาร โดยการใช้รากและใบนำมาเคี้ยวกิน หรือต้มกับน้ำดื่ม(รากและใบ)[3]
22. ช่วยแก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อได้ โดยใช้ใบมาทาภายนอก(ใบ)[1]
23. รักษาอาการคออักเสบได้ โดยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลกรวด ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ใบ)[1] สามารถใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คออักเสบปวดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ ทางเดินหายใจติดเชื้อได้ (ทั้งต้น)[2]
24. ใช้ยอดสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหูสามารถใช้รักษาหูชั้นกลางอักเสบได้(ใบ)[1] สามารถแก้หูน้ำหนวกได้ (ทั้งต้น)[2]
25. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอจะทำยาแก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ไข้ ด้วยการใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม(รากและใบ)[3]
26. ช่วยในการขับเสมหะได้ (ทั้งต้น)[3]
27. ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ เพราะทั้งต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม (ทั้งต้น)[2]

วิธีใช้ : ยาสดนำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือ ใช้ตำพอกรักษาแผลภายนอก
ส่วนยาแห้งนำมาบดเป็นผงใช้โรยตามแผล[2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. พบ สารจำพวกน้ำมันระเหย มีกรดอินทรีย์, กรดอะมิโน, โพแทสเซียมคลอไรด์, อัลคาลอยด์, ฟลาโวนอยด์, Ageratochromene, coumarin, β-Sitosterol, friedelin, stigmasterol ได้ทั้งต้น[1],[2]
2. สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ระงับอาการปวด โดยมีความรุนแรงเท่ากับมอร์ฟีน ทราบผลได้จากการทดลองในสัตว์ทดลอง แต่ก็ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป[3]
3. ทั้งต้นมีสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus[1],[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 777-779.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 522.
3. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 33.
4. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://www.jatiluhuronline.com/

ต้นสะพ้านก๊น ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

0
สะพ้านก๊น
ต้นสะพ้านก๊น ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรง ช่อดอกคล้ายกับรูปซี่ร่ม สีขาวเหลือง ผลอ่อนเป็นสีเขียว สุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ผลแก่จะเป็นสีแดงจนถึงสีดำ
สะพ้านก๊น
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรง ช่อดอกคล้ายกับรูปซี่ร่ม สีขาวเหลือง ผลอ่อนเป็นสีเขียว สุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ผลแก่จะเป็นสีแดงจนถึงสีดำ

สะพ้านก๊น

สะพ้านก๊น จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม พบขึ้นตามชายป่าทั่วไปเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อสามัญ Javanese Elder[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sambucus javanica Blume จัดอยู่ในวงศ์ ADOXACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ โป่ทีโด๊ะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่),พวงไข่มุก (ภาคเหนือ),แป่โลเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), เปร่เส้า (ม้ง),ไม้ขี้ป้าน หมากอูนเทิ้น(ไทใหญ่),เชียลิ่ ลู่อิง เจียกู่เฉ่า (จีนกลาง) [1],[2],[3]

ลักษณะของสะพ้านก๊น

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีการแตกกิ่งก้านสาขามากมาย มีผิวเรียบไร้ขน มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ตามกิ่งก้านมีสีเขียวเข้มและเป็นเหลี่ยม กิ่งแก่ไม่มีขนส่วนกิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ตามกิ่งมีข้อสีแดงอ่อน รากมีลักษณะกลมและคดงอ มีรากแก้วใหญ่และรากฝอย เนื้อในมีสีขาวเหลือง มีร่องประมาณ 7-8 ร่อง เปลือกเป็นสีเลี่ยมอ่อน สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุยความชื้นปานกลาง [1],[2],[3],[4]
  • ดอก มีลักษณะช่อดอกคล้ายกับรูปซี่ร่ม ออกดอกเป็นช่อๆบริเวณส่วนยอดของกิ่ง ช่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 เซนติเมตรและจะมีขนสั้นๆ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบทุกๆกลีบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีดอกย่อยขนาดเล็ก สีของดอกย่อยจะมีสีขาวออกเหลืองอ่อนๆ ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 5 กลีบเป็นรูปกลมรีปลายแหลม มีเกสรเพศเมีย 1 อันยื่นออกมาข้างกลีบดอกและมีเกสรเพศผู้ติดอยู่สั้นๆ 5 อัน[1],[2]
  • ใบ เป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ ลักษณะของใบเป็นรูปแบบขนนกแต่จะใหญ่มากกว่า ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรียาวปลายแหลม ในก้านหนึ่งจะมีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบเรียบมันไม่มีขน ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ไม่มีหูใบ เมื่อนำใบมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น[1],[2]
  • ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลที่สุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ผลอ่อนเป็นสีเขียวส่วนผลแก่จะเป็นสีแดงจนถึงสีดำ เมล็ดเดี่ยวรูปไข่[1],[2],[3]

ประโยชน์ของสะพ้านก๊น

  • ผลถูกนำมาทำเป็นของเล่นโดยชาวม้ง โดยการนำมาใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วอัดทำให้เกิดเสียงดัง[3]
  • ดอก ถูกชาวลั้วะนำไปวัดหรือบูชาพระ[3]

สรรพคุณของสะพ้านก๊น

1. สามารถใช้ต้นและรากเป็นยาแก้ปวดข้อ บรรเทาอาการปวดในกระดูกที่หักและช่วยต่อกระดูกได้(ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2] หรือจะใช้ใบสดและยอดมาพอกบริเวณที่กระดูกหักได้เช่นกัน(ใบ)[4] บางพื้นที่อาจใช้ใบร่วมกับต้นหญ้าเอ็นยืดใช้ประคบบริเวณที่กระดูกเคลื่อน (ใบ)[3] ใช้ทั้งต้นนำมาต้มรวมกับไมยราบแล้วใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณที่กระดูกหัก (ทั้งต้น)[3] ใช้ใบนำมาอังไฟ ประคบรักษากระดูกหัก กระดูกเคลื่อน (ใบ)[3]
2. ผงของราก ตำกับหัวหอมใหญ่ แล้วนำมาคั่วกับเหล้าสามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ฟกช้ำดำเขียวจากการกระแทก เคล็ดขัดยอกได้ โดยการใช้พอกบริเวณที่เป็น (ราก)[2] หรือจะใช้ยอดและใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่มีอาการก็ได้หรือนำใบสดมาปูนอนแก้อาการปวดเมื่อยก็ทำได้ (ใบ)[4]ในบางพื้นที่จะใช้ใบนำมาย่างกับไฟแล้วนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด (ใบ)[3]
3. ใช้ผลสด มาตำให้ช้ำแล้วถูทาบริเวณที่เป็นสามารถใช้เป็นยาแก้โรคหูดได้(ผล)[1]
4. สามารถใช้ใบนำมาบดกับน้ำเป็นยาทาแก้อาการอักเสบได้(ใบ)[5]
5. ใช้เป็นยาแก้โรคดีซ่านได้ (ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2]
6. สามารถใช้รากสด มาช่วยแก้ตัวบวมน้ำ รวมถึงอาการนั่งนอนไม่สบาย ด้วยการนำมาลอกเปลือกออกแล้วนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยผสมกับเหล้า 1 ถ้วยอุ่น ใช้ทานเป็นยาตอนท้องว่าง(ราก)[1],[2] และสามารถใช้รากนำมาต้มให้สตรีที่เพิ่งคลอดลูกใหม่กิน รักษาอาการหน้าบวม ตัวบวม เป็นยาแก้หรือบำรุงกำลัง (ราก)[4] ส่วนชาวกะเหรี่ยงแดงนั้นจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบเพื่อแก้อาการตัวบวม (ทั้งต้น)[3]
7. สามารถใช้รากสดประมาณ 90-120 กรัมนำมาตุ๋นกับกระเพาะหมู ใช้รับประทานเป็นยาติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน แก้โลหิตไหลออกจากทวารทั้งห้าได้ (ราก)[1]
8. ผล ช่วยทำให้ถ่ายท้อง ใช้กินเป็นยาระบายได้ (ผล)[5]
9. ต้นและราก ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ (ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2]
10. สามารถใช้ราก ร่วมกับพืชชนิดอื่นเป็นยาแก้ไข้มาลาเรียได้ (ราก)[4]
11. ทั้งต้นนั้นเป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยาฟอกเลือด กระจายเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี (ต้นและราก,ทั้งต้น)[1],[2]
12. สามารถใช้ก้านและใบมาแก้อาการชักได้ โดยการนำมาขยี้ให้คนไข้ดม (ก้านและใบ)[5]
13. ชาวปะหล่องและชาวไทใหญ่จะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำให้สตรีที่คลอดลูกใหม่ๆอาบ เพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว สบายเนื้อสบายตัว แก้อาการปวดเอวและปวดหลัง (ทั้งต้น)[3] คนเมืองจะใช้รากนำมาต้มรวมกับรากกล้วยเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอวหรือแก้ลมผิดเดือน หลังการคลอดบุตรของสตรี (ราก)[3] ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะใช้ใบนำมาอังกับไฟ ใช้นวดบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย และให้ผู้หญิงคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟด้วยการมานั่งทับใบอุ่น (ราก, ใบ)[3]
14. ทั้งต้น สามารถใช้ภายนอกเป็นยาแก้ปวดบวม ฝีหนองได้(ทั้งต้น)[2]
15. ใช้ทั้งต้นนำมาต้มแล้วเอาน้ำชะล้างสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังผดผื่นคัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง ติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนังได้(ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2],[5]
16. ใช้ใบหรือรากสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับไข่ขาวเล็กน้อยคลุกให้เข้ากันสามารถใช้รักษาแผลบวมแดงอักเสบได้ ด้วยการนำมาทาบริเวณที่เป็นหรือจะใช้พอกเลยก็ได้ (ราก, ใบ)[1]
17. สามารถใช้ต้นแห้งประมาณ 12-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา ช่วยแก้ไตอักเสบ บรรเทาอาการบวมน้ำ หรือขาบวมน้ำได้(ต้น, ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2]
18. สามารถใช้ราก 90 กรัม นำมาตุ๋นกับลำไส้เล็กของหมูรับประทานเป็นยาติดต่อกันประมาณ 3-5 วัน ใช้แก้สตรีตกขาวมากผิดปกติได้(ราก)[1]
19. ต้น ช่วยในการขับปัสสาวะได้ (ทั้งต้น)[2]ชาวเมี่ยนนั้นจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้นิ่ว (ใบ)[3]
20. ใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ต้นและราก, ทั้งต้น)[1],[2]
21. สามารถใช้ยอดและใบ ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอได้ (ใบ)[4]
22. ทั้งต้นนั้นมีสรรพคุณช่วยขับลมชื้นได้ (ทั้งต้น)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ใช้ทั้งต้นมาตำคั่วกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกขาของกระต่ายที่มีอาการกระดูกหักแล้วใช้ไม้ดามกระดูกไว้เปลี่ยนยาทุก ๆ 3 วัน จากนั้นนำรากมาต้มน้ำให้กระต่ายกินไปด้วย ทำแบบนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า กระดูกมีการเชื่อมติดกันและบริเวณกระดูกที่ร้าวมีแคลเซียมเคลือบอยู่[2]
  • สามารถใช้เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และฆ่าแมลงได้[4]
  • ทั้งต้นมีสารประกอบจำพวก Tannins, ฟีนอล, Flavonoid, Camperol, Stigmasterol, Campestetol, Chloronic acid, Ursolic acid และน้ำตาล ส่วนรากมีแทนนินมาก อัลคาลอยด์ และมีน้ำตาลคืนรูป ส่วนใบมี B-sitosterol,stigmasterol,campesterol, α-amyrin palmitate,ursolic acid และโพแทสเซียมไนเตรต และในเมล็ดพบสารไซยาโนจีนีติค ไกลโคไซด์ (Cyanogenic glycoside)[1],[2]
  • สามารถนำน้ำที่ต้มได้จากรากและใบ มากวนกับแป้งให้ข้น ใช้ทาบริเวณหูของกระต่ายทดลอง
    ที่มีอาการบวม จากนั้นพบว่ากระต่ายทดลองมีอาการบวมลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเส้นเลือดบริเวณหูของกระต่ายก็กลับมามีขนาดปกติอีกด้วย[2]

วิธีการใช้

  • ยาสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัมนำมาต้มกับน้ำใช้ตำคั้นเอาน้ำมาล้างแผลภายนอก หรือใช้รับประทานก็ได้ สามารถทำเป็นยาพอกแผลบริเวณที่เป็น ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 7-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทานหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นได้ในตำรับ[2]

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นอันขาด[1],[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะพ้านก๊น”. หน้า 765-767.
2.หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สะพ้านก๊น”. หน้า 544.
3.โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “สะพ้านก๊น, อูน ,พวงไข่มุก, อูนป่า”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [13 ต.ค. 2014].
4.ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สะพ้านก๊น”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [13 ต.ค. 2014].
5.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “สะพานก๊น”. อ้างอิงใน : หนังสือป่าแม่คำมีความหลากหลายทางชีวภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน (กลุ่มงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้)., Ethnomedical survey of plants used by the Orang Asli in Kampung Bawong, Perak, West Malaysia. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org/wiki/สะพานก๊น. [13 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/
2. https://www.flickr.com/
3. https://medthai.com/

สะแก เมล็ดแก้ตานขโมยและ แก้ซาง

0
สะแกนา
สะแก เมล็ดแก้ตานขโมยและ แก้ซาง เป็นไม้ยืนต้น ดอกเล็กเป็นช่อสีเหลืองอ่อน สีขาว ผลแห้งสีน้ำตาลอมสีขาว ผลแก่หรือสุกจะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล มีเมล็ดสีน้ำตาลแดง เมล็ดเป็นรูปกระสวย
สะแกนา
เป็นไม้ยืนต้น ดอกเล็กเป็นช่อสีเหลืองอ่อน สีขาว ผลแห้งสีน้ำตาลอมสีขาว ผลแก่หรือสุกจะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล มีเมล็ดสีน้ำตาลแดง เมล็ดเป็นรูปกระสวย

สะแก

สะแก มีเขตการกระจายพันธุ์จากประเทศอินเดียถึงคาบสมุทรอินโดจีน สามารถพบขึ้นได้ที่ตามป่าเต็งรัง ป่าละเมาะทั่วไป ริมธารน้ำชายป่า ที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 250 เมตร[7] ชื่อสามัญ Combretums, Bushwillows [6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Combretum attenuatum Wall.) อยู่วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[4],[6] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ แพ่ง (ภาคเหนือ), จองแข้ (จังหวัดแพร่), ขอนแข้ (จังหวัดแพร่), ซังแก (เขมร-ปราจีนบุรี), แก (ภาคอีสาน), ขอนแด่ (จังหวัดแพร่), แก (จังหวัดอุบลราชธานี) [1],[4],[5]

ลักษณะของสะแก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีเทานวล กิ่งอ่อนจะเป็นสันสี่มุม มีขนเป็นเกล็ดกลมตามลำต้น มีหนามแหลมยาวแข็งที่โคนของต้น หรือจะเป็นกิ่งแปรสภาพเป็นหนามที่โคนของต้น เนื้อใบมีลักษณะเป็นมันและหนา ใบเป็นสีเขียวสด ที่ผิวใบของทั้งสองด้านจะมีเกล็ดเป็นสีเงิน ที่ผิวใบด้านบนจะสากมือ ก้านใบมีขนาดสั้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด เติบโตได้ดีในดินเหนียวที่มีความชุ่มชื้น ควรปลูกช่วงฤดูฝน[2],[4],[5],[8]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว จะออกใบเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน รูปรี ที่โคนใบจะสอบแคบถึงก้านใบ ส่วนที่ปลายใบจะมนหรืออาจจะเว้าเป็นแอ่งตื้น ขอบใบเรียบหรืออาจจะหยักเป็นคลื่นนิด ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร[5]
  • ดอก มีลักษณะเล็กและเป็นสีเหลืองอ่อน สีขาว ดอกจะออกเป็นช่อที่ตามซอกใบที่ปลายยอด เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงลด มีขนาดยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกจะไม่มีก้าน ช่อหนึ่งจะมีดอกที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ที่โคนกลีบเลี้ยงจะเชื่อมกันเป็นรูปกรวย ส่วนที่ปลายจะแยกเป็น 4 กลีบ เป็นสีขาวอมสีเหลือง มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ มีลักษณะเป็นสีขาวอมสีเหลือง เป็นรูปไข่กลับ ที่ปลายกลีบจะมน ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้อยู่ 8 อัน มีเกสรเพศเมีย จะมีรังไข่เหนือวงกลีบ ดอกออกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม[5]
  • ผล เป็นผลแห้ง มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลเป็นรูปไข่ จะมี 4 ครีบ เป็นสีน้ำตาลอมสีขาว ผลแก่หรือสุกจะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล มีเมล็ดสีน้ำตาลแดงอยู่ 2 เมล็ดในผล เมล็ดเป็นรูปกระสวย จะมี 4 สัน ตามแนวยาว[4],[5]

ประโยชน์สะแก

  • แก่นต้นมีความแข็ง ชาวบ้านจะนำมาทำฟืน [8]
  • สามารถนำผลดิบมาแช่กับน้ำไว้ให้วัว ควายกินเป็นยาขับพยาธิ[5]

สรรพคุณสะแก

1. สามารถนำใบอ่อนมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[3],[4]
2. สามารถช่วยรักษาฝีมะม่วง และฝีต่าง ๆ ได้ (ราก)[1],[2],[5]
3. สามารถช่วยแก้คุดทะราดได้ (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
4. สามารถช่วยแก้น้ำเหลืองเสียได้ (ราก)[1],[2],[5]
5. สามารถนำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำใช้ดื่ม สามารถช่วยขับน้ำคาวปลาให้สตรีหลังคลอดบุตร (เนื้อไม้)[5]
6. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงได้ (ราก[1],[2], ราก[5])
7. สามารถช่วยแก้อุจจาระหยาบ แก้กลิ่นเหม็นคาวได้ (ทั้งต้น)[5]
8. รากของมีจะรสเมา สามารถใช้ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลามได้ (ราก)[5]
9. สามารถช่วยแก้เสมหะได้ (ราก)[1],[2],[5]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึมได้ (เมล็ด[1],[2], ราก[5])
11. สามารถช่วยแก้ผอมแห้งได้ (เมล็ด[1],[2], ราก[5])
12. สามารถนำต้นกับใบมาใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในได้ (ต้น,ใบอ่อน)[1],[2],[5]
13. เมล็ดจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้มะเร็งได้ (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
14. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้มะเร็งลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร (ราก)[1],[2],[5]
15. เมล็ด มีรสเบื่อเมา สามารถนำเมล็ดแก่ขนาด 1 ช้อนคาวมาตำ หรือนำเมล็ดประมาณ 15-20 เมล็ดมาสับละเอียด แล้วผสมไข่ทอดให้เด็กทานครั้งเดียวตอนที่ท้องว่าง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลมในเด็กได้ จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หากไม่ถ่ายให้ทานยาถ่ายเอาตัวออกมา (เมล็ดแก่)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
16. กระพี้จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย (กระพี้)[5]
17. รากจะมีรสเมาสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิ ยาเบื่อพยาธิเด็ก และฆ่าพยาธิ (ราก)[1],[2],[3],[4],[5]
18. ทั้ง 5 ส่วนจะมีรสเมา จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิในท้องได้ (ทั้งต้น)[5]
19. สามารถช่วยแก้ฝีตานซางได้ (ทั้งต้น)[5]
20. สามารถนำต้นมาใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีได้ (ต้น)[1],[2]
21. สามารถนำใบอ่อนมาใช้เป็นยาแก้บาดแผล ยารักษาแผลสดได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[5]
22. สามารถช่วยแก้กามโรคที่เข้าข้อออกดอก แก้แผลในที่ลับ แก้กามโรคหนองใน (ต้น)[1],[2],[5]
23.ราก มีสรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้กามโรค หนองใน (ราก)[1],[2],[3],[4]
24. ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี นำลำต้นเข้ายากับเบนโคก เบนน้ำ ใช้เป็นยาแก้มดลูกอักเสบ แก้ปวดมดลูก (ลำต้น)[5]
25. กระพี้จะมีรสเบื่อร้อน จะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้คันทวารเด็กได้ (กระพี้)[5]
26. สามารถช่วยแก้ตกมดลูก และแก้มูกเลือดได้ (ราก)[1],[2],[5]
27. สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือดได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[5]
28. ต้นกับรากจะมีรสเมา จะมีสรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้อาเจียนเป็นโลหิตได้ (ต้น,ราก)[1],[2],[5]
29. สามารถช่วยแก้ไข้สันนิบาตได้ (ราก)[1],[2],[5]
30. ใบอ่อนจะมีรสฝาดเมา จะที่สรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้ไข้ได้ (ใบอ่อน)[1],[2]
31. เมล็ดจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้ตานขโมย แก้ซาง (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
32. ทั้งต้น 5 ส่วนจะมีรสเมา สามารถใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอดได้ [5]

หมายเหตุ
สามารถใช้เมล็ดเป็นยาโดยตรงได้ ไม่ต้องแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ เมล็ดสามารถเก็บไว้ใช้เป็นยาได้นานหลายปีโดยที่ไม่เป็นอันตราย แต่จะต้องเก็บเมล็ดในภาชนะที่ปิดสนิทและแห้ง ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา ห้ามใช้เกินขนาดที่กำหนดเด็ดขาด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดที่ได้จากเมล็ดด้วยเอทานอล 80% ด้วยวิธีการให้ที่ทางปากหนูแรททั้งเพศผู้เพศเมีย หนูเม้าส์ทั้งเพศผู้เพศเมีย ปรากฏว่ามีพิษปานกลาง ทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่ฉีดสารสกัดเข้าช่องท้องหนูปรากฏว่ามีพิษเยอะมาก ทำให้สัตว์ทดลองตาย และการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน โดยป้อนสารสกัดให้ที่ทางปากทุกวัน ขนาดวันละ 0.5, 1, และ 2 กรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าหนูแรททนสารสกัดในขนาดวันละ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้นาน 1 สัปดาห์ โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่สำหรับหนูเม้าส์ทนสารสกัดดังกล่าวในขนาด 1 และ 2 กรัมต่อกิโลกรัมไม่ได้ จากการที่ตรวจสอบอวัยวะภายในปรากฏว่าเลือดคั่งที่ไต ลำไส้ ตับ ลำไส้โป่งบวม และพบก้อนเลือดในหลอดเลือด พบภาวะเลือดคั่ง มีเลือดออก [6]
  • ให้วัวกินเมล็ด ปรากฏว่าจำนวนไข่พยาธิตัวกลมชนิด Neoascaris vitulorum ลดลงจนไม่พบอีกภายในเวลา 1-3 สัปดาห์
  • มีผู้ที่พบว่ามีเด็กนักเรียนทานเมล็ดชุบไข่ทอดในขนาด 1.5-3 กรัม ไม่ให้ผลขับพยาธิเส้นด้าย แต่มีอาการข้างเคียง นั่นก็คือ มีอาการคลื่นไส้มึนงง
  • ให้ไก่ไข่ที่กินอาหารที่มีเมล็ดเป็นส่วนผสมอัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาถ่ายพยาธิเปอราซิน (piperazine) ขนาด 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม ผลการทดลองปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดเป็นส่วนผสมในอาหาร กำจัดพยาธิไส้เดือน (Ascaridia galli) ได้ 63% แต่กลุ่มที่ได้รับยาถ่ายพยาธิกำจัดพยาธิไส้เดือนได้ 100%[6]
  • สารสกัดเมทานอลจากใบ แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่โดนชักนำให้ตับโดนทำลายด้วย Lipopolysaccharide, D-galactosamine และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่โดยทำลายด้วย tumor necrosis factor-Alpha, D-galactosamine สามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบได้เยอะกว่า 30ชนิด และปรากฏว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์กับไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (cycloartane -type triterpenes) มีคุณสมบัติป้องกันการทำลายของตับ[10]
  • ในเมล็ดจะมีสารจำพวก Flavonoid ที่มีชื่อว่า Combretol และมี Penacyclic, Bsitosterol, Triterpene, Carboxylic acid เป็นต้น
  • ในรากและเมล็ดรวมกันจะมี Pentacyclic triterpen carboxylic acid ได้แก่ B-sitosterol glucoside, B-sitosterol และ 3B,6B,18B-trihydroxyurs-12-en-30-oic เป็นต้น[4],[8]
  • การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ปรากฏว่าเมื่อให้เมล็ดในขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัมที่ปากสัตว์ทดลองจะตาโปนแดง ขาลาก และจะตายเมื่อเพิ่มขนาดยา ทำให้การใช้ในคนต้องระวังเรื่องของขนานยาที่ใช้ให้เยอะ ๆ [8]
  • จากการทดสอบความพิษเป็นเฉียบพลันของสารสกัดที่ได้จากเมล็ดด้วยเมทานอล 80% โดยวิธีการป้อนเข้าที่ทางปากหนูแรททั้งเพศผู้กับเพศเมีย หนูเม้าส์ทั้งเพศผู้กับเพศเมีย ปรากฏว่าจะมีพิษปานกลาง ทำให้สัตว์ทดลองตาย และการทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูทั้งเพศผู้เพศเมีย เมื่อให้สารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์นิดหน่อยกับน้ำหนักในเติบโต ไม่มีผลกับตับเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม เมื่อให้เมล็ดที่ทางปากหนูแรทกับหนูเม้าส์ในขนาด 0.582 และ 1.985 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อหนึ่งครั้ง ปรากฏว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน[6]
  • สารสกัดด้วยเมทานอลจากเมล็ด จะมีฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity) เมื่อทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่โดนทำลายด้วย tumor necrosis factor-Alpha, D-galactosamine เมื่อเอาสารสกัดเมทานอลมาแยกให้บริสุทธิ์จะได้สารกลุ่ม triterpene glucosides ชนิดใหม่ จะแสดงฤทธิ์การปกป้องตับคือสาร quadranosides 1,2 และ 5 ที่เข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ สารทั้ง 3 จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายของเซลล์ตับได้ 37.6, 40.9, และ67.5% ตามลำดับ [11]
  • สารสกัดชั้นเอทานอลช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 (IC100 : 12.5 mcg/ml) และช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 integrase ได้ (IC50 : 2.5 mcg/ml) (ไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนใด)[9]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สะแกนา (Sakae Na)”. หน้า 291.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “สะ แก นา”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 178.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สะแกนา”. หน้า 90.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะแกนา”. หน้า 761-762.
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สะแกนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [09 มิ.ย. 2014].
6. สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สะแก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [09 มิ.ย. 2014].
7. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “สะแกนา”.
8. วิทยาลัยการอาชีพชุมแพ. “สะ แก นา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chumphae.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].
9. สมุนไพร, สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “สะแกนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/. [09 มิ.ย. 2014].
10. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับของสะแกนา”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].
11. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร triterpene glucosides จากเมล็ดสะแกนา”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://myloview.com/
2. https://bvnguyentriphuong.com.vn/
3. https://medthai.com/

ต้นสลัดได ช่วยแก้อาการท้องมาน

0
สลัดได
ต้นสลัดได ช่วยแก้อาการท้องมาน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ ผิวเรียบ มีใบประดับสีเหลือง ผลมีสีน้ำตาลเข้ม
สลัดได
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ ผิวเรียบ มีใบประดับสีเหลือง ผลมีสีน้ำตาลเข้ม

ต้นสลัดได

สลัดได มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน พบได้ทุกภาคในไทยมักขึ้นตามภูเขาที่มีหินปูน ชื่อสามัญ Malayan spurge tree[1], Milkbush[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia antiquorum L.อยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ สลัดไดป่า (ภาคกลาง), เคียะยา (ภาคเหนือ), ทูดุเกละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หั่วยานเล่อ ป้าหวางเปียน (จีนกลาง), เคียะเหลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน), กะลำพัก (นครราชสีมา)เป็นต้น[1],[3]

ชนิดของสลัดได

1. สลัดไดบ้าน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia trigona Haw.(พรรณไม้จากต่างประเทศ)
2. สลัดไดป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia antiquorum L.(ของไทย)
3. สลัดไดลายเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia lactea Haw.
4. “เคี๊ยะ”(ชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia lacei Craib

ลักษณะของสลัดได

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงราวๆ 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านออกมาจำนวนมากจากลำต้น ต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ ผิวเรียบ เว้าคอดต่อกัน มียางสีขาวข้น เป็นหยักและมีหนามเล็กแหลม 1 คู่อยู่บริเวณขอบสัน ใช้เมล็ดและวิธีการปักชำกิ่งในการขยายพันธุ์ [1],[2],[4]
  • ดอก เป็นช่อ ออกตามแนวสันเหนือหนามเป็นช่อสั้นๆ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในช่อเดียวกันและไม่มีกลีบดอก ใน 1 ช่อจะมีดอกตัวผู้หลายดอกและมีดอกตัวเมียเพียงดอกเดียว มีใบประดับสีเหลืองอยู่ 5 ใบ [1],[2],[3]
  • ใบ ขนาดเล็ก เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีแผ่นใบอวบน้ำ ใบหลุดร่วงได้ง่าย [1]
  • ผล เป็นผลแห้งรูปทรงกลม ผลมีสีน้ำตาลเข้ม ผลมีพู 3 พูและมีขนาดเล็ก ผลแห้งจะแตกออก [1]

หมายเหตุ
ต้นที่แก่จัดและมีอายุ 10 ปีขึ้นไปจะยืนต้นตาย และเกิดเป็นแก่นแข็งสีน้ำตาลลักษณะเหมือนไม้แห้ง มีกลิ่นหอม และพอต้นตายลงแก่นที่ได้จะถูกเรียกว่า “กะลำพัก” [1],[2],[6]

ประโยชน์ของสลัดได

  • อาจใช้ทำน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยนำน้ำยางสีขาวมาสกัดแบบเดียวกับพญาไร้ใบ ซึ่งมีการทดลองพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการสกัด สามารถใช้ได้ผลดีในเครื่องยนต์ดีเซล [5]
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้วบ้านจะช่วยป้องกันคนและสัตว์ และมีการปลูกตามสวนสมุนไพรทั่วไป แต่ไม่นิยมนำมาปลูกใกล้บ้าน เพราะมีความเชื่อของคนไทยโบราณว่าต้นมีผีสิงอยู่

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีสารพิษจำพวก deoxyphorbol เช่น euphorbin มี tetracyclic diterpene เป็นต้น [7]
  • ในน้ำยางสีขาวมีสาร Caoutchouc ประมาณ 4-7% พบ tricyclic diterpene ได้แก่ tinyatoxin, huratoxin และ resin แล้วยังพบสารพวก tetracyclic diterpene ได้แก่ phorbol และ ester เช่น ingenol, 12-deoxyphorbaI, 13-tiglate 20-acetate และ ester เช่น 16-hydroxyingenol 3, 5, 6, 20-tetraacetate พบ ß-amyrin, α euphorol, cycloartenol, euphol จากนํ้ายาง [5]
  • พบสารหลายชนิดเช่น Euphorbol, Euphorbium, Taraxerol, C30H50O, C30, H48O, Friedalan-3 a-0l,Taraxeroneเป็นต้น [3]

สรรพคุณของสลัดได

1. ยาง สามารถใช้แก้อาการปวดหลัง (ยาง) [1]
2. ก้าน ใบ และยาง สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดบวมได้ เป็นยาเย็นมีพิษ มีรสขมและมีกลิ่นหอม(ก้าน,ใบ,ยาง)[3]
3. ใช้ถอนพิษหนองได้(ก้าน,ใบ,ยาง) [3]
4. นำมาทำยารักษาโรคตับแข็งได้ (ยาง) [3]
5. ใช้ในการช่วยขับเลือดเสีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) [4]
6. ยางมีสรรพคุณในการช่วยขับปัสสาวะ (ยาง) [1]
7. ใช้เป็นยาถ่ายและยาฆ่าพยาธิได้ (ก้าน,ใบ,ยาง) [3]
8. ยางหากนำมานึ่งจนสุกและตากให้แห้งจะเป็นยาถ่ายอย่างแรง ควรนำมาย่างเพื่อฆ่าฤทธิ์ก่อน ยางมีรสร้อนเบื่อเมา(ยาง) [1]
9. ช่วยในการแก้ท้องมาน แก้บวมน้ำได้ โดยนำยางมาทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนใช้รับประทาน(ยาง) [3]
10. ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ได้(ก้าน,ใบ,ยาง) [3]
11. ช่วยในการแก้หอบหืด(ต้น,ราก) [6]
12. สามารถใช้แก้ผอมเหลืองได้(ไม่ระบุส่วนที่ใช้) [4]
13. มีสรรพคุณในการเจริญธาตุไฟ(ไม่ระบุส่วนที่ใช้) [4]
14. ยาง ช่วยแก้อัมพฤกษ์ได้(ยาง) [1]
15. ใช้เป็นยาขับความชื้น ขับพิษ ลดอาการแสบร้อน (ก้าน,ใบ,ยาง) [3]
16. ยางใช้เป็นยากัดหูดได้เนื่องจากมีพิษระคายเคืองผิวหนัง แต่หากไปถูกเนื้อดีจะทำให้เนื้อดีเน่าและหลุดไปด้วย (ยาง)[1],[2],[5]
17. ช่วยในการรักษาผดผื่นคัน ฝีหนองได้ (ก้าน,ใบ,ยาง) [3]
18. ยาง ใช้รักษากลากเกลื้อนภายนอก และเป็นยาทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง(ยาง) [3]
19. สามารถเป็นยาบำรุงตับและปอดได้ (แก่น) [6]
20. ใช้ยางช่วยถ่ายหัวริดสีดวงได้ (ยาง) [1]
21. ช่วยถ่ายริดสีดวงในลำไส้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) [4]
22. มีสรรพคุณในการแก้พรรดึก อาการท้องผูกอย่างแรง และมีอุจจาระแข็งมาก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) [4]
23. ยาง สามารถนำมาแก้อาการบวมน้ำได้ (ยาง) [1]
24. การใช้ต้นหรือใบสด 30-70 กรัม มาคั้นเอาแต่น้ำ จากนั้นใช้ข้าวสาร 15 กรัมมาคั่วรวมกันจนออกสีเหลืองสุดท้ายนำมาต้มกับน้ำทานจะสามารถแก้กระเพาะลำไส้อักเสบเฉียบพลันได้(ต้น,ใบ) [3]
25. สรรพคุณในการแก้พิษเสมหะ (แก่น) [6]
26. ในตำราไทยแก่นใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ได้ [1],[2]
27. แก่นกะลำพักเป็นยาแก้ลม มีรสขม(แก่น) [6]

ข้อควรระวัง

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ขวบและสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานยาจากสมุนไพรชนิดนี้ [3]
  • น้ำยางสีขาวมีพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบและอาจถึงขั้นตาบอดได้ หากโดนผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ ทำให้เป็นตุ่มพองน้ำ กัดผิว ผิวหนังแดงไหม้ เปื่อย คันแดงแสบ ฉะนั้นต้องระวังให้มากหากจะนำมาใช้งาน [3],[5],[6]
  • ยาง ใช้ครั้งละไม่ควรใช้เกิน 130 มิลลิกรัม เพราะถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก มีอาการเวียนศีรษะ และอาเจียน แล้วสลบ[3] อีกทั้งยังมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง [7]
  • ยางเป็นยาถ่ายอย่างแรง และระคายเคืองมาก อีกทั้งยังพบสาร 3-O-angeloylingenol(สารก่อมะเร็ง)จึงควรระมัดระวังให้มากในการใช้ [1],[2],[5]
  • วิธีการกำจัดพิษ ก่อนนำมาทานต้องนำยาแห้งไปคั่วกับข้าวสารจนเป็นสีเหลืองก่อนเพื่อกำจัดพิษถึงจะใช้ได้[3]
  • วิธีการแก้พิษ หากยางโดนผิวหนังให้รีบใช้แอลกอฮอล์เช็ด หรือล้างออกด้วยน้ำแล้วใส่ยาแก้ปวด จากนั้นนำน้ำเย็นจัดมาประคบครึ่งชั่วโมง อีกวิธีคือใช้น้ำสะอาดมาล้างออกหลายๆครั้งจากนั้นใช้ยาที่เข้าสเตียรอยด์ทา หากยางเข้าตาให้รีบล้างออกหลายๆครั้งด้วยน้ำสะอาด จากนั้นหยอดตาด้วยยาที่มีสเตียรอยด์และนำไปส่งโรงพยาบาล หากทานมากเกินแล้วเกิดอาการเป็นพิษให้นำตัวส่งโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทันที [3],[6] หากทานยางเข้าไป ให้รับประทาน activated chrcoal (ถ่าน) และนำตัวส่งไปล้างท้องหรือทำให้อาเจียนที่โรงพยาบาล และรักษาต่อไป [7]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สลัดได (Salad Dai)”. หน้า 290.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สลัดได Malayan Spurge Tree”. หน้า 108.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สลัดได (กระลำพัก)”. หน้า 538.
4. ข้อมูลพรรณไม้ในพระตำหนักเทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. “สลัดได”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rbru.ac.th/db_arts/rbruflower/. [09 มิ.ย. 2014].
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “สลัดไดป่ามีสรรพคุณดังนี้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [09 มิ.ย. 2014].
6. ไทยโพสต์. “สลัดได-กะลำพัก ขึ้นต้นเป็นพืชร้าย ตอนตายเป็นพืชดี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [09 มิ.ย. 2014].
7. ข้อมูลพรรณไม้, พิษระคายเคืองผิวหนัง, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สลัดไดป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/. [09 มิ.ย. 2014].
8. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/
2. https://worldofsucculents.com/

ต้นสลอด เมล็ดใช้รักษาโรคเกาต์ได้

0
ต้นสลอด เมล็ดใช้รักษาโรคเกาต์ได้ เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นมีสีเทาเข้มยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอกเล็กเป็นสีขาวโคนกลีบมีขน ผลมีผิวที่ขรุขระสากมือ เมล็ดสีเหลืองเข้ม ผิวเรียบมันเงา เนื้ออมน้ำมัน
สลอด
เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นมีสีเทาเข้มยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอกเล็กเป็นสีขาวโคนกลีบมีขน ผลมีผิวที่ขรุขระสากมือ เมล็ดสีเหลืองเข้ม ผิวเรียบมันเงา เนื้ออมน้ำมัน

สลอด

สลอด เป็นไม้กลางแจ้งสามารถโตได้ดีในดินร่วนซุยและความชื้นน้อย[1],[4],[5] พบได้ในศรีลังกา อินเดีย จีนและมาเลเซีย ชื่อสามัญ Purging Croton[3], Croton oil plant[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Croton tiglium L. อยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ หมากหลอด ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น ต้นหมากหลอด (ภาคกลาง), หมากทาง หัสคืน มะคัง มะข่าง มะตอด (ภาคเหนือ), ปาโต้ว (จีนกลาง), หมากยอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บะกั้ง(แพร่) เป็นต้น[1],[4],[5]

ลักษณะของสลอด

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกมามาก ความสูงราวๆ 2-4 เมตร เปลือกต้นมีสีเทาเข้มหรือน้ำตาลอ่อนลักษณะเรียบเกลี้ยง มีขนขึ้นปกคลุมและมีเส้นร้อยสีเขียวบริเวณกิ่งอ่อน และยอดอ่อนเป็นสีแดง ใช้วิธีการเพาะเมล็ด การตอน การปักชำในการขยายพันธุ์ จะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[9]
  • ดอก มีลักษณะออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือช่อตั้งที่ปลายยอด มีใบประดับเล็ก และเป็นดอกแยกเพศซึ่งอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศเมียจะอยู่ช่วงล่าง และดอกเพศผู้จะอยู่ช่วงบน โดยดอกเพศผู้จะมีกลีบรองดอก 4-6 กลีบ และกลีบดอก 4-6 กลีบ โดยมีขนเป็นรูปดาว ฐานดอกและปลายกลีบดอกมีขน มีต่อมซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกลีบรองกลีบดอกจำนวนเท่ากันส่วนเกสรเพศผู้จะมีจำนวนมากและก้านเกสรจะโค้งเข้าไปข้างในเมื่อดอกยังอ่อนอยู่ สำหรับดอกเพศเมียจะไม่มีกลีบดอกหรือมีแต่จะมีกลีบรองดอกเป็นรูปไข่ขนาดเล็กมากๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาว ที่โคนกลีบมีขน และรังไข่มี 2-4 ช่อง ดอกที่บานได้เต็มที่กลีบดอกจะงองุ้มไปด้านหลัง[1],[2],[5],[6]
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่ รูปหอก รูปรี มีหยักห่างๆที่ขอบใบ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขนาดของใบมีความกว้าง 2-7 เซนติเมตรและความยาว 5-14 เซนติเมตร แผ่นใบบาง มีขนขึ้นประปรายที่หน้าใบ หน้าใบเป็นสีเขียวเข้มและหลังใบมีสีเขียวอ่อน ใบที่แก่จัดจะเป็นสีแดงและเริ่มหลุดร่วงไป หลังใบเรียบ มีเส้นใบ 3-5 เส้น มีต่อมอยู่ 2 ต่อมที่ฐานใบ ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร ลักษณะเรียวเล็ก[1],[2],[4],[5]
  • ผล แบ่งเป็นพู มี 3 พู ลักษณะเป็นรูปรีหรือกลมรูปไข่ มีขนาดความกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร และยาว 2 เซนติเมตร ผลมีผิวที่สากมือและมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย หน้าตัดปลายผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลแห้งออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดอยู่ 1-3 เมล็ดในผล ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี และแบนเล็กน้อย เมล็ดเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อน มีความยาว 1-1.5 เซนติเมตรและความกว้าง 8-10 มิลลิเมตร หนา 4-7 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมันเงา มีเนื้อที่อมน้ำมัน พบพิษจำนวนมากในน้ำมันที่ได้จากเมล็ด[1],[2],[5]

ประโยชน์ของสลอด

สามารถนำใบมาทำเป็นยาฆ่าแมลงวัน[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • การทดสอบความเป็นพิษ พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และน้ำมันเพียงแค่ 10 หยดสามารถฆ่าสุนัขได้ ส่วนที่สกัดแยกได้จากเมล็ด Resin มีคุณสมบัติเป็นสาเหตุของเนื้องอก[7]
  • น้ำแช่หรือต้มจากเมล็ด มีฤทธิ์ทำให้ไส้เดือน แมลงวัน หอยโข่งตายได้[5]
  • สารสำคัญที่พบในเมล็ดมีน้ำมัน Croton oil ประมาณ 40-60% ซึ่งประกอบด้วย Croton resin, Crotonic acid, Phorbol, โปรตีน 18% เป็นโปรตีนพิษเช่น Crotin ที่มีฤทธิ์คล้ายกับพิษโปรตีนจากเมล็ดละหุ่ง พบ Alkaloids อีกหลายชนิด เช่น Ricinine,Crotonside และพบสาร Cocarcinogen A1 (สารก่อมะเร็ง)[5] นอกจากนี้ยังพบสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร และมีสารอื่น ๆ อีกเช่น Crotonoside ที่เป็นน้ำตาลและไกลโคไซด์ และ Terpenoid ที่เป็นตัวทำให้เกิดมะเร็งได้เร็วขึ้น (Phorbals) [4][5].
  • พบว่าสารสกัดชั้นเมทานอล ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease และยังสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 ที่มีค่า IC100 เท่ากับ 0.04 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรได้ด้วย[8].
  • พบว่าน้ำเกลือที่แช่กับใบสามารถช่วยในการฆ่าเชื้อ Columbacilus(มาจากลำไส้ใหญ่) ในหลอดทดลองได้หลายชนิด[5]
  • ในเมล็ดพบสาร Crotonic acid, Croton resin และ Phorbol ซึ่งเป็นยาถ่ายอย่างแรง[5]

สรรพคุณของสลอด

1. ยาที่ได้จากราก สามารถช่วยแก้อาการฟกช้ำปวดบวมได้ดี(ราก)[5]
2. ดอก มีสรรพคุณในการรักษาคุดทะราด (ดอก)[2],[6]
3. ใช้เพื่อรักษาโรคเรื้อนได้[1],[2],[6]
4. ทำเป็นยาแก้พิษงูได้โดยการนำรากและเมล็ดมาใช้ภายนอก(ราก,เมล็ด)[5]
5. ช่วยในการขับปัสสาวะได้ ด้วยการใช้รากมาต้มกับน้ำกิน ข้อควรระวังสำหรับสตรีมีครรภ์คือหากกินในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้แท้งบุตรได้(ราก)[1],[2]
6. ใช้ทำเป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับพยาธิในลำไส้(เมล็ด)[1],[2],[5]
7. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูกได้(เมล็ด)[2]
8. ใช้เมล็ดในการรักษาอาการปวดท้องได้(เมล็ด)[2]
9. มีสรรพคุณในการขับลมชื้น(เมล็ด)[5]
10. ช่วยแก้อาการคอตีบได้ โดยใช้เมล็ดมาทำเป็นยาใช้ภายนอก(เมล็ด)[5]
11. สามารถช่วยในการถ่ายเสมหะ โลหิตและลม(ราก)[6]
12. ทำเป็นยาแก้ไอสำหรับเด็กได้ ด้วยการนำเมล็ดในปริมาณน้อยมาผสมกับน้ำขิงสดทาน(เมล็ด)[1],[2]
13. ใช้เพื่อแก้อาการผิดปกติทางจิตได้ (เมล็ด)[1],[2]
14. เมล็ดใช้รักษาโรคเกาต์ได้(เมล็ด)[1],[2]
15. สามารถรักษาลมชักบางชนิดได้(เมล็ด)[1],[2]
16. ใช้ใบมาตำพอกเป็นยาแก้ฝีมะตอยได้ ใบมีรสฝาดเมา (ใบ)[2],[5]
17. ช่วยแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อนได้ โดยนำเมล็ดมาใช้ภายนอกเป็นยา(เมล็ด)[5] ดอกก็สามารถเป็นยาแก้กลากเกลื้อนได้เช่นกัน(ดอก)[1],[2],[6]
18. เมล็ดมีสรรพคุณในการถ่ายน้ำเหลืองเสีย(เมล็ด)[1],[2]
19. ใช้แก้อาการบวมน้ำได้ โดยนำรากมาต้มกับน้ำทาน(ราก)[2] เมล็ดก็สามารถใช้แก้อาการบวมน้ำ และอาการท้องมานได้ (เมล็ด)[2]
20. สามารถช่วยในการถ่ายอุจจาระธาตุ (เมล็ด)[5]
21. เมล็ดสามารถแก้อาการลำไส้อุดตันได้ (เมล็ด)[5]
22. เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ก่อนใช้ต้องกำจัดพิษก่อนด้วยการนำมาเมล็ดมาทุบให้รอบ จากนั้นต้มกับน้ำนม 2-3 ครั้ง เมล็ดมีรสเผ็ดร้อนมัน(เมล็ด)[1],[2],[3]
23. สามารถทำเป็นยาแก้ปวดท้องเนื่องจากลมชื้นได้(ราก)[5]
24. นำเมล็ด มาใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อเนื่องจากกระเพาะเย็นชื้นได้ อีกทั้งยังช่วยในการขับลม(เมล็ด)[1],[2]
25. ช่วยในการขับเหงื่อและทำให้อาเจียนได้ โดยใช้น้ำต้มจากเนื้อไม้(ใช้ในปริมาณน้อย)(เนื้อไม้)[9]
26. เปลือกต้นใช้แก้เสมหะที่ค้างอยู่ในอกและลำคอได้ เปลือกต้นมีรสเฝื่อน(เปลือกต้น)[2],[6]
27. ช่วยในการถ่ายพิษเสมหะและโลหิต โดยนำเมล็ดมากินเป็นยา(เมล็ด)[1],[2],[5]
28. ผลสามารถช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ และใช้ในการดับเตโชธาตุ ไม่ให้เจริญ (ผล)[6] ดอกก็สามารถแก้ลมอัมพฤกษ์ได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยในการดับธาตุไฟไม่ให้กำเริบ(ดอก)[1],[2]

หมายเหตุ

  • ราก ให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม น้ำมาต้มกับน้ำทาน
  • ใบ ใช้ใบแห้ง 0.01-0.05 มาบดทานเป็นผง
  • เมล็ด ก่อนทานควรจะเอาเปลือกเมล็ดออกก่อน จากนั้นบีบเอาน้ำมันออกมา โดยจะใช้เมล็ดครั้งละ 0.15-0.35 กรัม มาบดทานเป็นผง[5]

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • การนำเมล็ดมาทำเป็นยานั้น ต้องใช้ยาในการคุมฤทธิ์ไว้ เนื่องจากเมล็ดมีพิษมาก [6]
  • สำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ และสตรีมีครรภ์ห้ามในการทานสมุนไพรชนิดนี้[5]
  • การใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีพิษในทุกส่วนของต้น[2] พบสารพิษคือ Toxic albuminous substance crotin, Taxalbumins (phytotoxins), Croton oil, Resin, Crotin ในยาง เนื้อในเมล็ด และ ส่วนของเมล็ด[7]
  • การใช้รากในปริมาณมากๆ จะทำให้แท้งบุตร[1],[2]
  • อาการเป็นพิษจากพืชชนิดนี้ที่พบคือ ทำให้คลื่นไส้อาเจียนคล้ายอาหารเป็นพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง และอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่จนเสียชีวิตในที่สุด น้ำมันที่มาจากพืชชนิดนี้เป็นยาถ่ายอย่างแรงและทำให้เกิดอาการระคายเคืองมาก หากน้ำมันโดนผิวหนังจะทำให้เกิดอาการผิวหนังไหม้แดง เป็นผื่นคันระคายเคือง และผงจากเมล็ดหากโดนผิวหนังจะทำให้เป็นแผลพุพองอักเสบ และหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการลำไส้ฉีกขาด (gastroenteritis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาตั้งแต่ 1-2 ชม. หรือ 2 วัน และยางจากลำต้นจะทำให้เกิดแผลพุพองหากถูกผิวหนัง[4],[5],[6],[7]
  • เมล็ดมีพิษมากและมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง เนื่องจากน้ำมันในเมล็ดมีพิษร้อนคอ ระบายจัด และปวดมวน ก่อนจะใช้จึงต้องกำจัดพิษก่อนด้วยการแช่เมล็ดไว้ในน้ำ 3-4 วัน จากนั้นนำมาคนกับน้ำต้มข้าวเหนียวให้เข้ากัน จนน้ำข้าวซึมไปในเมล็ด และนำไปตากให้แห้ง ลอกเอาเปลือกออกมาจากนั้นบีบน้ำมันออกมาจนหมด สุดท้ายนำเมล็ดไปคั่วหรือตากให้แห้ง จะสามารถใช้เป็นยาได้เลย[5] หรืออีกวิธีคือทุบเมล็ดจนเปลือกและจุดงอกในเมล็ดแยกออก จากนั้นต้มกับน้ำนม 2-3 ครั้ง ก่อนนำมาใช้งาน[2] มีข้อมูลระบุไว้ว่า มีน้ำมันอยู่ในเมล็ดแก่ ซึ่งสามารถจำกัดได้โดยการนำไปคั่วจนน้ำมันระเหยออกไป จะมีผลทำให้ฤทธิ์อ่อนลง[4],[6]
  • สำหรับการรักษาพิษจากเมล็ด จะเริ่มต้นด้วยการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเพื่อลดการดูดซึมของพิษ และให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น นมหรือผงถ่าน เพื่อช่วยลดอาการและรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องทันที นอกจากนี้ยังให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือเพื่อลดการดูดซึมสารพิษ และเพื่อป้องกันการหมดสติควรให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด นอกจากนี้ยังให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อลดการอุดตันต่อทางเดินในไตเนื่องจากเม็ดเลือดแดงเกาะตัวรวมกัน และให้ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง และงดไขมันเพื่อลดอาการตับอักเสบ หากมีอาการคล้าย atropine เช่นในกลุ่มสารพิษ curcin ให้ atropine antagonists เช่น physoatigmine salicylate IV ระบบไหลเวียนเลือด และสำหรับกรณีอื่นๆให้รักษาตามอาการ[7],[10] และอีกวิธีในการแก้พิษคือใช้ถั่วเขียว ต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้อึ่งเน้ย อึ่งแปะ นำมาต้มกับน้ำรับประทานก็ได้[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สลอด (Salod)”. หน้า 289.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “สลอด”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 177.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สลอด Purging Croton”. หน้า 93.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สลอด”. หน้า 756-757.
5. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สลอด”. หน้า 536.
6. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส ล อ ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [11 มิ.ย. 2014].
7. ฐานข้อมูลพืชพิษ, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “สลอด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/poison/. [11 มิ.ย. 2014].
8. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “ส ล อ ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/. [11 มิ.ย. 2014].
9. เดลินิวส์. “ส ล อ ด ต้ น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [11 มิ.ย. 2014].
10. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สลอด” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [11 มิ.ย. 2014].
11. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/

ต้นส้มป่อย สรรพคุณแก้ไข้มาลาเรีย

0
ต้นส้มป่อย สรรพคุณแก้ไข้มาลาเรีย ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เถาเนื้อแข็งต้นสีน้ำตาลขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวนวลขนนุ่ม ฝักยาวผิวขรุขระ ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม
ส้มป่อย
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เถาเนื้อแข็งต้นสีน้ำตาลขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวนวลขนนุ่ม ฝักยาวผิวขรุขระ ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

ส้มป่อย

ส้มป่อย พบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ขึ้นได้ตามป่าคืนสภาพ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ที่ราบเชิงเขา และที่รกร้างทั่วไปชอบความชื้นปานกลางถึงน้อย ชอบแสงแดดมาก เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Acacia rugata (Lam.) Merr., Mimosa concinna Willd.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1],[3],[4],[9]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ส้มพอดี (ภาคอีสาน), ส้มคอน (ไทใหญ่), ส้มขอน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิจือสะ พิฉี่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผ่อชิละ ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แผละป่อย เมี่ยงโกร๊ะ ไม้ส้มป่อย (ลั้วะ), เบล่หม่าฮั้น (ปะหล่อง)[1],[4],[6]

ลักษณะของต้นส้มป่อย

  • ต้น [1],[3],[4],[6],[7],[8]
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มเลื้อยทอดลำต้น
    – มีความสูงถึง 3-6 เมตร
    – เถามีเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่
    – เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล
    – เถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง
    – มีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่ม
    – ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นอยู่ทั่ว มีขนหูใบรูปหัวใจ
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี
  • ใบ [1],[2],[3],[4]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกใบเรียงสลับกัน
    – ช่อใบย่อยมี 5-10 คู่
    – ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบย่อย
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือตัด ขอบใบหนาเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 0.8-3 มิลลิเมตร และยาว 3.5-11.5 มิลลิเมตร
    – แผ่นใบเรียบ
    – ก้านใบยาว 3.6-5 เซนติเมตร
    – มีก้อนนูนสีน้ำตาลคล้ายต่อม 1 อัน อยู่ที่โคนของก้านใบ
    – แกนกลางมีความยาว 6.6-8.5 เซนติเมตร
  • ดอก [1],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกรูปทรงกลม
    – จะออกที่ปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ
    – จะออกดอก 1-3 ช่อดอกต่อข้อ
    – มีขนาดประมาณ 0.7-1.3 เซนติเมตร
    – มีดอกประมาณ 35-45 ดอก
    – ก้านช่อดอกยาว 2.5-3.2 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม
    – มีใบประดับดอก 1 อัน เป็นรูปแถบ มีความยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กขึ้นอยู่แน่นที่แกนดอก
    – กลีบดอกเป็นหลอดสีขาวนวล
    – กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ
    – กลีบดอก มีความกว้าง 1-1.5 มิลลิเมตร และยาว 3.5-4 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 200-250 อัน มีความยาว 4-6 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศเมีย รังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
    – มีออวุลประมาณ 10-12 ออวุล
    – ก้านรังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
    – ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร เป็นสีขาวอมเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง
    – จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ผล [1],[2],[4]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนยาว
    – ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อ ๆ ตามเมล็ด
    – ปลายฝักมีหางแหลม
    – สันฝักหนา
    – ผิวฝักขรุขระหรือจะย่นเมื่อแห้ง
    – ฝักมีความกว้าง 1.3-1.4 เซนติเมตร และยาว 7-9.3 เซนติเมตร
    – ฝักอ่อน จะเป็นสีเขียวอมแดง
    – ฝักแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ
    – ก้านฝักยาว 2.8-3 เซนติเมตร
    – ในแต่ละฝักจะมีเมล็ด 5-12 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นรูปทรงแบนรี สีดำ มีความกว้าง 4-5 มิลลิเมตร และยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – จะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. สารสำคัญที่พบ คือ[3]
    – acaiaside
    – acacinin A, B, C, D
    – azepin
    – concinnamide
    – lupeol
    – machaerinic acid menthiafolic
    – sonuside
    – sitosterolspinastero
  2. สารสกัดเมทานอล 75% จากฝักส้มป่อย[9]
    – เป็นพิษต่อเซลล์ Fibrosarcoma HT-1080
    – ความเข้มข้นของสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 2.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม
    – สารที่ออกฤทธิ์คือสาร Kinmoonosides A, B, C สารสกัดเมทานอล สกัดที่ละลายน้ำ
  3. สารสกัดเมทานอลและเอทานอล ในอัตราส่วน 1:1 จากฝักส้มป่อย[9]
    – เป็นพิษต่อเซลล์ Fibrosarcoma HT-1080 อย่างอ่อน
    – ความเข้มข้นของสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 10, 17.9, 21.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดคลอโรฟอร์ม สารสกัดอะซีโตน สกัดที่ละลายน้ำ สารสกัดเมทานอล
  4. สารสกัดเมทานอลและเอทานอล ในอัตราส่วน 1:1 จากฝักส้มป่อย[9]
    – มีความเป็นพิษต่อเซลล์ CA-Colon-26-L5 อย่างอ่อน
  5. สารสกัดเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ของต้นส้มป่อย[9]
    – ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ CA-9KB
  6. สารสกัดซาโปนินจากเปลือกและสารสกัดเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1[9]
    – มีฤทธิ์ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก
    – ค่าดัชนีการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับ 1,350
  7. สารสกัดจากใบและก้านหรือลำต้น[9]
    – ให้หนูถีบจักรกินหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
    – โดยให้แอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1
    – ในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม
    – ไม่พบพิษ
  8. สารสกัดเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1[9]
    – ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร
    – มีค่า LD50 เท่ากับ 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  9. สารสกัด acacic acid จากเปลือก[9]คน
    – มีฤทธิ์ฆ่าสเปิร์ม
  10. สารสกัดซาโปนินจากเปลือกที่ความเข้มข้น 0.004%[9]
    – มีฤทธิ์ฆ่าสเปิร์มในเพศชาย
  11. เมื่อปี ค.ศ.2006 ที่ประเทศอินเดีย[3]
    – ได้ทำการทดลองสารสกัดจากดอกกับหนูเพศผู้
    – ให้สารสกัดในขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
    – ใช้ระยะเวลาการทดลองนาน 3 สัปดาห์
    – พบว่า ค่าคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูทดลองลดลง ไตรกลีเซอไรด์ลดลง
    – สารสกัด มีผลลดอสุจิและ endometrial glands ในมดลูก
    – มีการเปลี่ยนแปลงในชั้นเซลล์ในมดลูก
    – สามารถใช้เป็นยาคุมกำเนิดได้
  12. ฝักมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20.8%
    – acacinin A, B, C, D, E
    – ถ้านำฝักมาตีกับน้ำจะเกิดฟอง

สรรพคุณของส้มป่อย

  • ช่วยแก้เส้นเอ็นที่พิการให้สมบูรณ์[1],[3],[4]
  • ช่วยลดไขมัน ช่วยลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก[3]
  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย[3]
  • ช่วยทำให้เส้นเอ็นอ่อน แก้เส้นเอ็นพิการ ขัดยอก[1],[3],[4]
  • ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยฟอกล้างโลหิตระดู[1],[4],[5]
  • ช่วยขับพยาธิในลำไส้[3]
  • ช่วยชำระเมือกมันในลำไส้[4]
  • ช่วยแก้บิด[1],[3],[4]
  • ช่วยแก้น้ำลายเหนียว[1],[4]
  • ช่วยขับเสมหะ[3],[4]
  • ช่วยแก้โรคที่เกี่ยวกับดวงตา[1],[3],[4]
  • ช่วยฟอกโลหิต[4]
  • ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน[1],[3],[4]
  • ช่วยขับเสมหะ[3],[4]
  • ช่วยแก้กระษัย[3]
  • ช่วยขับเสมหะ[1],[4]
  • ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3],[4],[12]
  • ช่วยแก้ไอ[1],[3],[4],[12]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร[1],[4]
  • ช่วยแก้ซางเด็ก[1],[4]
  • ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย[1],[4]
  • ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3],[4],[12]
  • ช่วยแก้ไอ[1],[3],[4],[12]
  • ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะ[3],[4]
  • ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก[11]
  • ช่วยทำให้อาเจียน[1],[3]
  • ช่วยแก้น้ำลายเหนียว[1],[4]
  • ช่วยปิดแผล แก้โรคผิวหนัง[1],[2],[4]
  • ช่วยทำให้สตรีมีครรภ์คลอดได้ง่าย[8],[10]
  • ช่วยแก้ไข้[12]
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด[12]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[4],[5]
  • ช่วยแก้ฝี แก้พิษฝี[4],[8],[10],[12]
  • ช่วยแก้ไข้[1],[3],[4]
  • ช่วยแก้ท้องร่วง[8],[10],[12]
  • ช่วยแก้ฝี แก้พิษฝี[4],[8],[10],[12]

ประโยชน์ของส้มป่อย

  • เป็นไม้มงคลของชาวไทย[10]
    – เชื่อว่าการปลูกไว้จะช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายไม่ให้มารบกวน
    – ช่วยเสริมหรือคืนอำนาจให้ผู้มีคาถาอาคม
    – ให้ปลูกไว้ทางทิศเหนือ
  • ในด้านของความเชื่อ[6],[8],[10],[11]
    – เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวล้านนา
    – ชาวบ้านจะใช้ฝักในพิธีกรรมทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์
    – ใช้ในงานมงคล ทำน้ำมนต์รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
    – ใช้สรงน้ำพระพุทธรูป
    – ใช้อาบน้ำผู้ป่วยเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย ไล่ผี
    – ใช้ล้างหน้าลูกหลังและล้างมือหลังไปงานศพ
    – ใช้ใบใส่ลงไปในน้ำเพื่อใช้สระผมก่อนพิธีโกนผมนาค
    – ชาวเหนือจะใช้ฝักเป็นของขลัง ที่ช่วยป้องกันตนจากสิ่งเลวร้าย
    – ในยามที่ไปงานศพ ชาวเหนือจะพกฝักติดตัวเอาไว้ เชื่อว่าจะช่วยป้องกันผีสางไม่ให้มารบกวนได้
    – ในยามที่มีลมพายุ ชาวเหนือก็จะนำฝักไปเผาไฟ เชื่อว่าจะทำให้ลมพายุอ่อนแรงลงได้
    – ชาวบ้านมีความเชื่อว่าต้องเก็บฝักในช่วงก่อนฝนตกฟ้าร้อง จะทำให้มีความขลังมากยิ่งขึ้น
    – คนเมืองจะใช้ฝักนำไปทำน้ำใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ
    – นำฝักแห้งมาใช้ใส่น้ำมนต์ในงานมงคลต่าง ๆ
    – ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ฝักแก่แห้ง นำมาทำน้ำหรือนำมาผูกกับตาแหลว
  • น้ำของฝัก สามารถนำมาใช้ขัดเครื่องโลหะได้[8]
  • ใบและฝัก สามารถนำมาต้มกับน้ำอาบ ใช้ทำความสะอาด และบำรุงผิวได้[4]
  • ใบ สามารถนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมเส้นไหมได้ จะให้สีเขียวอ่อน สีเหลืองอ่อน สีน้ำตาลอ่อน หรือสีครีม[7]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้ในการย้อมผ้า ย้อมแห และย้อมอวนได้[8]
  • ชาวลั้วะ จะนำเปลือกต้นมาทุบใช้ขัดตัวเวลาอาบน้ำหรือสระผม
  • ชาวไทใหญ่ จะนำฝักแห้งมาใช้ต้มกับน้ำอาบและขัดตัว หรือนำมาแช่น้ำใช้สระผม[6]
  • ใบ สามารถนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรได้[5]
    – จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ
    – ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ
    – ช่วยบำรุงผิวพรรณ
    – เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง
    – แก้ปวดเมื่อย
    – ช่วยแก้หวัด
  • ใบ สามารถนำมาใช้ในสูตรยาลูกประคบสมุนไพรได้[5]
    – ช่วยแก้โรคผิวหนัง
    – ช่วยบำรุงผิว
    – ช่วยลดความดัน
  • ฝักแก่แห้ง สามารถนำมาต้มเอาน้ำใช้สระผมได้[1],[2],[4],[5],[12]
    – ช่วยแก้รังแค
    – ช่วยแก้อาการคันศีรษะ
    – ช่วยบำรุงเส้นผม
    – ทำให้ผมชุ่มชื้นเป็นเงางาม
    – เป็นยาปลูกผม
    – ช่วยป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ฝักแก่แห้ง สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดได้[1],[2],[4],[5],[12]
  • ยอดอ่อนและใบอ่อน สามารถนำมาใช้เพื่อดับกลิ่นคาวปลาได้[4]
  • ใบ เป็นผักที่มีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูง[12
  • จากการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของยอด[12]
    – พบว่ามีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
  • สารซาโปนินในฝัก[12]
    – ทำให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น
    – ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นด้วย
  • ยอดอ่อนและใบอ่อน[4],[6],[12]
    – สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ แจ่วได้
    – สามารถนำมาปรุงรสได้ เช่น ต้มปลา เนื้อเปื่อย
    – สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ เช่น แกงส้ม ต้มข่าไก่ ต้มส้มป่อย
  • ชาวปะหล่อง จะนำยอดอ่อนไปผสมกับน้ำพริกห่อใบตองแล้วนำไปหมกแล้วรับประทาน[4],[6],[12]
  • ชาวกะเหรี่ยง จะนำทั้งยอดอ่อนและดอก มาใช้ในการประกอบอาหาร[4],[6],[12]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ส้มป่อย (Som Poi)”. หน้า 282.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ส้มป่อย”. หน้า 33.
3. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ส้มป่อย” หน้า 178.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [28 ก.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [28 ก.ค. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส้มป่อย, ส้มป่อยป่า”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7 (ก่องกานดา ชยามฤต, ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [28 ก.ค. 2014].
7. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [28 ก.ค. 2014].
8. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:www.dnp.go.th. [28 ก.ค. 2014].
9. ฐานข้อมูลความปลอดภัยของสมุนไพรที่มีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/poisonpr/. [28 ก.ค. 2014].
10. สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [28 ก.ค. 2014].
11. เทศบาลเมืองทุ่งสง. “ส้มป่อย” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [28 ก.ค. 2014].
12. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 365 คอลัมน์: เรื่องเด่นจากปก. (ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร). “ส้มป่อย สุดยอดผักเพิ่มภูมิคุ้มกัน กำจัดพิษกาย พิษใจ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [28 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://nurserylive.com/products/acacia-concinna-shikakai-seeds
2. https://indiabiodiversity.org/observation/show/1749194
3. https://medthai.com/

ต้นว่านลูกไก่ทอง เหง้าใช้ทำเป็นยาบำรุงตับและไต

0
ต้นว่านลูกไก่ทอง เหง้าใช้ทำเป็นยาบำรุงตับและไต เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเฟิร์น รอบเหง้ามีขนนิ่มสีเหลืองทองปกคลุม ก้านใบมีสีเทา และที่โคนก้านใบมีขนสีทองยาวปกคลุม ก้านมีความแข็งมาก
ว่านลูกไก่ทอง
เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเฟิร์น รอบเหง้ามีขนนิ่มสีเหลืองทองปกคลุม ก้านใบมีสีเทา และที่โคนก้านใบมีขนสีทองยาวปกคลุม ก้านมีความแข็งมาก

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง ประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งจะพบตามธรรมชาติในพื้นที่แถบภูเขา ตามหุบเขา เชิงเขา หรือตามพื้นที่ชื้นแฉะ[1],[2],[3] ในต่างประเทศสามารถพบเห็นได้ในแถบประเทศจีน มาเลเซีย และอินเดีย ชื่อสามัญ Golden Moss, Chain Fern.[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cibotium barometz (L.) J.Sm.[1],[2] จัดอยู่ในวงศ์ CIBOTIACEAE ชื่ออื่น ๆ จินเหมาโก่วจี๋ (ภาษาจีนกลาง), เกาแช กิมซีม้อ กิมม๊อเกาจิก (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), หัสแดง (ในภาคใต้), เฟินลูกไก่ทอง กูดผีป่า ละอองไฟฟ้า กูดพาน เฟิร์นลูกไก่ทอง (ในภาคเหนือ), ว่านไก่น้อย (ในภาคกลาง), กูดเสือ โพลี (จังหวัดปัตตานี), ขนไก่น้อย (จังหวัดเลย), แตดลิง (จังหวัดตราด), หัสแดง (จังหวัดนครราชสีมา), นิลโพสี (จังหวัดสงขลาและยะลา) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของว่านลูกไก่ทอง

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทเฟิร์น
    – ออกใบเป็นจำนวนมากรอบ ๆ เหง้า โดยจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎ
    – รอบเหง้าแล้ว ก็ยังมีขนนิ่ม ๆ สีเหลืองทองปกคลุมอยู่ทั่วเหง้าอีกด้วย (เป็นที่มาของขนอ่อนที่เหมือนกับลูกไก่)
    – ความสูงของต้นประมาณ 2.5-3 เมตร
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ โดยต้นจะเจริญเติบโตได้ดีในดินเปรี้ยว ดินที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงแดดที่ไม่จ้ามากนัก และต้องการความชื้นมาก
  • ใบ
    – ใบหลักจะแบ่ง 2 ลักษณะ คือ 1. ใบส่วนบนเป็นใบขนาดใหญ่ที่มีลักษณะรูปร่างรี ปลายแหลมเป็นรูปขนนก 3 ชั้น ใบมีสีเขียวเข้ม และ 2. ใบส่วนล่างเป็นใบที่ขนาดเล็กกว่ามีลักษณะรี ปลายแหลม ใบมีสีเทาลักษณะเหมือนมีแป้งเคลือบใบเอาไว้อยู่
    – ก้านใบมีสีเทา และที่โคนก้านใบจะมีขนสีทองยาวขึ้นปกคลุมอยู่ ก้านมีความแข็งมาก
    – ที่ริมใบตามรอยหยักของใบจะมีอับสปอร์ลักษณะกลมโตขึ้นอยู่ประมาณ 2-12 กลุ่ม ซึ่งอับสปอร์นี้จะมีเยื่อสีน้ำตาลหุ้มเอาไว้อยู่[1],[2]
    – ใบหลักมีขนาดความกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร และใบย่อยมีขนาดความกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และมีความยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

สรรพคุณของว่านลูกไก่ทอง

1. ตำรับยารักษาโรครูมาติสซั่ม รักษาอาการปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ หรืออาการแขนและขาไม่มีแรง ระบุว่าให้ใช้เหง้าตากแห้ง, รากอบเชยญวน, ต้นและรากนังด้งล้าง, ใบพวงแก้วมณี, รากซกต๋วง, รากพันงู และเปลือกต้นโต่วต๋ง นำมาแช่กับเหล้าใช้ทานเป็นยา (เหง้า)[1]
2. เหง้านำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิ (เหง้า)[1]
3. ตำรับยาบำรุงกำลังและกระดูก ระบุว่าให้นำเหง้าตากแห้ง, รากหง่วงจี้เน็ก, โกฐเชียง และโป่งรากสนที่เอาเปลือกออกแล้ว ในปริมาณอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดให้ละเอียดเป็นผง จากนั้นนำมาผสมกับน้ำผึ้ง ทำเป็นยาเม็ด ใช้ทานพร้อมกับเหล้าครั้งละ 50 เม็ด (เหง้า)[1]
4. ตำรายาแก้อาการปัสสาวะบ่อย ระบุว่าให้ใช้เหง้าตากแห้ง, เปลือกต้นโต่วต๋ง, เปลือกรากโงวเกียพ้วย และลูกบักกวย ในปริมาณอย่างละ 15 กรัมเท่า ๆ กัน นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา (เหง้า)[1]
5. เหง้านำมาใช้ทำเป็นยาระบาย เป็นยาเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และมีสรรพคุณในการช่วยย่อยอีกด้วย [1]
6. ในตำรายามียาที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ระบุไว้ว่า ให้นำเหง้าตากแห้งในปริมาณ 15 กรัม, รากเชียวจั้งในปริมาณ 15 กรัม, ราพังทึ้งก้วงในปริมาณ 15 กรัม, และใบไต่แม้กวยมึ้งในปริมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูใช้ทานเป็นยา โดยจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคช้ำรั่วหรืออาการปัสสาวะไม่รู้ตัว อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นสีเหลือง (เหง้า)[1],[2]
7. เหง้านำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการน้ำกามเคลื่อนที่ไม่รู้ตัว (เหง้า)[2]
8. สตรีที่มีอาการตกขาวมากผิดปกติ สามารถนำเหง้าที่เอาขนออกแล้ว, แปะเกี่ยมสด และเต็งย้ง (เขากวางอ่อนนึ่งด้วยน้ำส้ม แล้วนำไปเผา) นำมาบดรวมกันให้เป็นผงพักไว้ก่อน จากนั้นให้นำต้นหนาดใหญ่ลงไปต้มกับน้ำส้มสายชูที่ผสมกับข้าวเหนียว หลังจากต้มได้ที่แล้วก็นำมาบดจนเหนียว แล้วนำมาผสมกับผงที่พักไว้ทำเป็นยาเม็ด ใช้ทานตอนท้องว่าง ทานปริมาณครั้งละ 50 เม็ด (เหง้า)[1],[2]
9. มีความเชื่อว่าเหง้ามีสรรพคุณทำให้มีบุตรได้ง่ายขึ้น (เหง้า)[1]
10. เหง้านำมาใช้ทำเป็นยาบำรุงตับและไต (เหง้า)[1],[2]
11. เหง้านำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก แก้อาการเหน็บชา รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อาการอัมพฤกษ์ รักษาอาการแขนขาอ่อนไม่มีแรง (เหง้า)[1],[2]
12. ในตำรับยาหลาย ๆ ตำรับ ได้ระบุไว้ว่า ผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด โดยนำขนจากเหง้ามาตากแห้ง แล้วบดให้เป็นผงนำมาใช้โรยลงบนบริเวณที่มีบาดแผล มีฤทธิ์ในการบรรเทาแผลจากปลิงดูด ใช้รักษาบาดแผลสด แผลจากการถูกของมีคมบาดทุกชนิด แผลที่ถูกสุนัขกัด หรือจะนำมาใช้หลังการถอนฟันก็ได้เช่นกัน (ขนจากเหง้า)[1],[2],[3],[4]

ประโยชน์ว่านลูกไก่ทอง

1. สัตว์เลี้ยงที่เกิดโรคติดต่อ สามารถรักษาให้หาย โดยการนำขนของว่านชนิดนี้ไปแช่กับน้ำให้สัตว์ที่ป่วยกิน[4]
2. ใบแก่นำมาใช้ฟอกสำหรับนำมาย้อมสีได้[3]
3. มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีขนสีทองปกคลุม ทำให้ดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ[3],[4]
4. ถือเป็นว่านมหามงคลชนิดหนึ่ง มีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของการช่วยป้องกันภยันตรายต่าง ๆ และถือเป็นว่านเสี่ยงทาย เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่า หากต้นเติบโตขึ้น แล้วได้ยินเสียงไก่ร้องในตอนกลางคืนที่เงียบสงัด มีเสียงร้อง “จิ๊บ ๆ” (บางตำราว่าร้อง “กุ๊ก ๆ”) ก็จะทำนายทายทักโชคชะตาของผู้ปลูกและครอบครัวได้ว่า จะร่ำรวยเงินทองในไม่ช้า และมีโชคลาภเกิดขึ้น แต่ถ้าหากนำมาปลูกไว้ในบ้านหรือหน้าบ้าน ไม่ควรเดินข้ามหรือล้างมือใส่ และห้ามปัสสาวะรดโดยเด็ดขาด เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของว่านจะเสื่อมลงได้ [4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. ขนจากเหง้าที่นำมาบดให้เป็นผง จากการนำมาทดลองกับสุนัขและกระต่ายทดลอง มีผลพบว่า มีฤทธิ์ในการห้ามเลือดในแผลสด รักษาแผลเป็น รักษาบาดแผลของตับและม้าม รักษาบาดแผลของเนื้อเยื่อ เนื่องจากมีผลทางกายภาพ สร้างเม็ดเลือดใหม่เร็วขึ้น และผลจากการทดลองนี้ยังพบอีกว่าส่วนผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด โดยจะมีฤทธิ์คล้ายกับปฏิกิริยาที่เกิดกับ Gelatin และฟองน้ำ เหตุนี้จึงนิยมใช้ผงจากขนล้วน ๆ มาโรยลงบนบริเวณที่มีบาดแผล และเนื้อเยื่อก็จะค่อย ๆ ดูดซึมผงจนหมดไปเองอีกด้วย[1],[2]
2. เหง้า มีสารจำพวกแทนนิน สาร Kaempferol และแป้งอีกประมาณ 30%[1],[2]

ขนาดและวิธีใช้

1. ยาสำหรับใช้ภายใน ให้นำเหง้ามาใช้ในปริมาณครั้งละ 5-10 กรัม มาต้มกับน้ำใช้ดื่ม
2. ยาสำหรับใช้ภายนอก ให้นำขนมาใช้บดให้เป็นผง นำมาโรยบนบริเวณที่มีบาดแผล[2]

ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีอาการปากขม ลิ้นแห้ง และมีอาการปัสสาวะขัด ไม่ควรรับประทานสมุนไพรว่านลูกไก่ทอง เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ว่านไก่น้อย”. หน้า 707-709.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านไก่น้อย”. หน้า 508.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “เฟินลูกไก่ทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [24 ต.ค. 2014].
4. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านลูกไก่ทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [24 ต.ค. 2014].
5. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.nybg.org
2. https://commons.wikimedia.org

ต้นราชพฤกษ์ ช่วยทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง

0
ต้นราชพฤกษ์ ช่วยทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง เป็นไม้ขนาดกลาง ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีดำ เมล็ดมีสีน้ำตาลแบน
ราชพฤกษ์
เป็นไม้ขนาดกลาง ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีดำ เมล็ดมีสีน้ำตาลแบน

ราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์ หรือ คูณ เมื่อปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย ดอกไม้ สัตว์ และสถาปัตยกรรม สัตว์ประจำชาติคือ “ช้างไทย” สถาปัตยกรรมประจำชาติคือ “ศาลาไทย” ดอกไม้ประจำชาติคือ “ดอกราชพฤกษ์” ชื่อสามัญ คือ Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Purging Cassia ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia fistula L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง), ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคใต้), คูน (ทั่วไปเรียกและมักจะเขียนผิดหรือสะกดผิดเป็น “ต้นคูณ” หรือ “คูณ“)

ความหมายของราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์ หมายความว่า ต้นไม้ของราชา เป็นสัญลักษณ์ของงาน มหกรรมพืชสวนโลก เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี

ความเชื่อ

หากบ้านใดที่ปลูกต้นไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติและศักดิ์ศรี เนื่องจากคนให้การยอมรับว่าเป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นเจริญรุ่งเรือง จะนิยมปลูกในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน

เหตุผลที่เป็นต้นไม้ประจำชาติ

  • ตำราไม้มงคล 9 ชนิดระบุไว้ว่า ต้นราชพฤกษ์แสดงถึงความเป็นใหญ่ ความมีอำนาจวาสนา และมีโชคมีชัย
  • เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและแข็งแรงทนทาน
  • มีรูปทรงและพุ่มที่งดงาม
  • มีดอกสีเหลืองอร่ามเต็มต้น
  • สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
  • ดอกมีสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย
  • เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา
  • เป็นสัญลักษณ์ของวันจันทร์ โดยเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีชาวไทยมานาน เนื่องจากเป็นไม้มงคลนามและใช้ในการประกอบพิธีสำคัญ
  • เป็นต้นไม้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันในนามของ “ต้นคูน”
  • สามารถพบเห็นได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ

ลักษณะของราชพฤกษ์

  • ต้น
    – เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียใต้ ไล่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกา
    – เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง
    – มีลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยง
    – สามารถพบขึ้นได้ตามป่าผลัดใบหรือในดินที่มีการถ่ายเทน้ำดี
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้ามาปลูกในถุงเพาะชำ
  • ใบ
    – ใบออกเป็นช่อ
    – ใบ เป็นสีเขียวและเป็นมัน
    – ช่อหนึ่งจะยาว 2.5 เซนติเมตร
    – มีใบย่อยเป็นไข่หรือรูปป้อม ๆ ประมาณ 3-6 คู่
    – ใบย่อยมีความกว้าง 5-7 เซนติเมตร และยาว 9-15 เซนติเมตร
    – โคนใบมนและสอบไปทางปลายใบ
    – เนื้อใบบาง
    – มีเส้นแขนงใบถี่และโค้งไปตามรูปใบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ สีเหลือง
    – มีความยาว 20-45 เซนติเมตร
    – มีกลีบรองดอกรูปขอบขนาน มีความยาว 1 เซนติเมตร
    – กลีบมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ค่อนข้างง่าย
    – กลีบดอกยาวกว่ากลีบรองดอก
    – บริเวณพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน
    – มีเกสรเพศผู้ขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 ก้าน
    – มีก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น
    – ดอกจะบานในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ๆ
    – ฝักมีความยาว 20-60 เซนติเมตร
    – เส้นผ่านศูนย์กลางได้ 2-2.5 เซนติเมตร
    – ฝักอ่อนจะมีสีเขียว
    – ฝักแก่จะมีสีดำ
    – ข้างในฝักจะมีผนังเยื่อบาง ๆ ติดกันอยู่เป็นช่องตามขวางของฝัก
    – ในช่องจะมีเมล็ดสีน้ำตาลแบน ๆ มีขนาด 0.8-0.9 เซนติเมตร

ข้อควรระวัง

  • การทำเป็นยาต้ม ควรต้มให้พอประมาณจึงจะได้ผลดี
  • หากต้มนานเกินไปหรือเกินกว่า 8 ชั่วโมง ยาจะไม่มีฤทธิ์ระบาย แต่จะทำให้ท้องผูก
  • ควรเลือกใช้ฝักไม่มากจนเกินไป
  • ยาต้มที่ได้หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้

สรรพคุณของราชพฤกษ์

  • ช่วยแก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยขับรกที่ค้าง ทำให้แท้งลูก
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียด
  • ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก
  • ช่วยรักษาเด็กเป็นตานขโมย
  • ช่วยรักษาไข้ แก้อาการหายใจขัด
  • ช่วยถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการซึมเศร้า หนักศีรษะ หนักตัว
  • ช่วยทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก
  • ช่วยถอนพิษ ทำให้อาเจียน
  • ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย
  • ช่วยแก้โรคปวดข้อ และอัมพาต
  • ช่วยแก้ฝี แก้บวม
  • ช่วยแก้ผดผื่นตามร่างกาย
  • ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง
  • ช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อโรคบนผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
  • ช่วยต้านการเกิดพิษที่ตับ
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยแก้ไข้รูมาติก
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือถุงน้ำดี
  • ช่วยรักษาไข้
  • ช่วยในการขับถ่าย
  • ช่วยทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยแก้โรคคุดทะราด
  • ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยถอนพิษ ทำให้อาเจียน
  • ช่วยแก้ท้องร่วง
  • ช่วยรักษาโรคบิด
  • ช่วยทำให้เกิดลมเบ่ง

ประโยชน์ของราชพฤกษ์

  • ฝักแก่ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจได้ที่ โดยไม่ต้องผ่า ตัด หรือเลื่อย
  • เนื้อของฝักแก่ สามารถนำมาใช้แทนกากน้ำตาลในการทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยายได้
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ หรือทำเป็นไม้ไว้ใช้สอยได้
  • ต้นเป็นไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์ ใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเสาหลักเมือง
  • มีการนำมาใช้ทำเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร คทาจอมพล
  • ใบ สามารถใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ไว้สะเดาะเคราะห์ได้
  • สามารถปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ได้เช่น สถานที่ราชการ บริเวณริมถนนข้างทาง

ผลิตภัณฑ์ที่นิยม

  1. ชาสุวรรณาคา
    – เป็นยาที่มีไว้ชงดื่มควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น
    – ช่วยในด้านสมอง
    – แก้ปัญหาเส้นเลือดตีบในสมอง
    – ช่วยให้ระบบไหลเวียนในร่างกายดีขึ้น
    – ช่วยแก้อัมพฤกษ์อัมพาต
  2. ผงพอกคูนคาดข้อ
    – นำใบคูนมาบดเป็นผง และนำมาพอกบริเวณ
    – จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือด
    – ช่วยแก้อาการปวดเส้น อัมพฤกษ์อัมพาต
    – บรรเทาอาการปวดข้อ รักษาโรคเกาต์
    – ช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
    – สามารถใช้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก ตาไม่หลับ มุมปากตกได้
  3. ลูกประคบราชตารู
    – นำใบคูนมาผสมกับขมิ้นอ้อย เทียนดำ กระวาน และอบเชยเทศ
    – สูตรนี้จะใช้ปรุงตามอาการ
    – จะดูตามโรคและความต้องการเป็นหลัก
  4. น้ำมันนวด
    – เคี่ยวมาจากน้ำมันจากใบคูน
    – เป็นน้ำมันนวดสูตรร้อนหรือสูตรเย็น
    – ใช้นวดแก้อัมพฤกษ์อัมพาต และแก้ปัญหาเรื่องเส้น

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, เว็บไซต์ไทยโพส, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราช พฤกษ์ 2554, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://buy-rare-seeds.com/products/shrubtree-cassiafistula
2. https://www.ugaoo.com/blogs/ornamental-gardening/tree-saga-cassia-fistula-the-golden-shower-tree-amaltas
3. https://medthai.com/

พิมเสนเกล็ด ช่วยแก้เหงือกบวม ปากเปื่อย หูคออักเสบ

0
พิมเสน
พิมเสนเกล็ด ช่วยแก้เหงือกบวม ปากเปื่อย หูคออักเสบ เป็นเกล็ดเล็กๆ ผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม สีขาวขุ่น เนื้อแน่น ระเหิดได้ช้า ละลายได้ยากในน้ำ กลิ่นหอมเย็น
พิมเสน
เป็นเกล็ดเล็กๆ ผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม สีขาวขุ่น เนื้อแน่น ระเหิดได้ช้า ละลายได้ยากในน้ำ กลิ่นหอมเย็น

พิมเสนเกล็ด

พิมเสนเกล็ด เป็นลักษณะของพิมเสนสังเคราะห์ที่ได้จากสารสกัดต้นการบูร (มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora (L.) Presl. อยู่วงศ์ต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิมเสนหนาด ที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera (L.) DC. อยู่วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE), อบเชย (LAURACEAE), น้ำมันสนโดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เหมยเพี่ยน (จีนกลาง), พิมเสนเกล็ด (ไทย), ปิงเพี่ยน (จีนกลาง)

ลักษณะพิมเสนเกล็ด

  • เป็นเกล็ดเล็กๆ ผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม
  • สีขาวขุ่น เนื้อแน่น
  • ระเหิดได้ช้า
  • ละลายได้ยากในน้ำ
  • กลิ่นหอมเย็น
  • ติดไฟง่าย ควันมาก ไม่มีขี้เถ้า

ประเภทพิมเสน

  • พิมเสนจากธรรมชาติ Borneol camphor (พิมเสนต้น)
  • พิมเสนสังเคราะห์ Borneolum Syntheticum (Borneol) (พิมเสนเกล็ด)

ซึ่งพิมเสนทั้งสองชนิดระเหยและติดไฟง่าย ละลายได้ในคลอโรฟอร์ม แอลกอฮอล์ ปิโตรเลียมอีเทอร์ ไม่ละลายหรือละลายยากในน้ำ มีจุดหลอมตัวของทางเคมีวิทยาที่ 205-209 องศาเซลเซียส[1] สมัยก่อนใช้ใส่หมากพลูเคี้ยว

สรรพคุณพิมเสนเกล็ด

1. พิมเสนอยู่ใน ตำรับยาทรงนัตถุ์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง 17 สิ่ง อย่างละเท่า ๆ กัน (รวมพิมเสน) นำมาผสมกัน บดให้เป็นผงละเอียด สามารถใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย และโรคที่เกิดในศีรษะ ตา จมูกได้ และมีอีกขนาดหนึ่งที่ใช้เข้าเครื่องยา 15 สิ่ง (รวมพิมเสน) นำมาบดเป็นผงละเอียด นำผ้าบางมาห่อ สามารถใช้ทำเป็นยาดมแก้อาการริดสีดวงคอ แก้สลบ วิงเวียน ริดสีดวงตา ปวดศีรษะ ริดสีดวงจมูก [2]
2. สามารถใช้เป็นยาแก้อักเสบ แก้ปวดบวมได้ [1]
3. การกลั่นใบหนาด ยอดอ่อนหนาดด้วยไอน้ำจะได้พิมเสนตกผลึกออก สามารถใช้ทำเป็นยาทานแก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง ใช้ขับลม หรือจะใช้ภายนอกเป็นผงนำมาใส่บาดแผล ช่วยแก้กลากเกลื้อน แผลอักเสบ ฟกช้ำ [2]
4. สามารถใช้รักษาบาดแผลสด และแผลเนื้อร้ายได้[1],[2]
5. สามารถช่วยขับลมทำให้เรอ ช่วยขับผายลม และช่วยแก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดแน่นท้องได้ [1],[2]
6. สามารถช่วยแก้เหงือกบวม ปากเปื่อย หูคออักเสบ ปากเป็นแผล [1]
7. สามารถใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวายได้ และทำให้ง่วงซึมได้[2]
8. สามารถช่วยกระตุ้นการหายใจ และกระตุ้นสมองได้ [2]
9. พิมเสนจะมีรสเผ็ดขม กลิ่นหอม เป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับหัวใจ ปอด สามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้ [1]
10. พิมเสนเป็นส่วนผสมใน ตำรับสีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น และ ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น เป็นตำรับยาที่ใช้ในการถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อน[2]
11. พิมเสนเป็นส่วนผสมในตำรับยาหอมต่าง ๆ อย่างเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมก็คือหน้ามืดตาลาย แก้ลมวิงเวียน [2]
12. สามารถใช้แก้ผดผื่นคันได้ โดยนำพิมเสนกับเมนทอลมาอย่างละ 3 กรัม และผงลื่น 30 กรัม นำมารวมบดให้เป็นผง แล้วใช้ทาแก้ผดผื่นคัน[1]
13. สามารถใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคผิวหนังได้ [1]
14. สามารถช่วยรักษาแผลกามโรคได้ [1],[2]
15. สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับเหงื่อ และแก้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ [1],[2]
16. ในตำรายาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ ให้นำพิมเสน 2 กรัม, ขี้ผึ้ง 3 กรัมมาใช้ทำเป็นยาหม่อง แล้วนำมาทาตรงบริเวณลำคอ จมูก สามารถช่วยบรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ แก้ไอได้[1]
17. สามารถใช้แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด หัวใจอ่อน และทำให้ชุ่มชื่นได้[1],[2]
18. สามารถช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย และทะลวงทวารทั้งเจ็ดได้[1]

วิธีใช้

ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัม นำมาบดให้เป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น ๆ หรือทำยาเม็ด ไม่ควรปรุงยาด้วยการต้ม ถ้าใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงแล้วนำมาใช้โรยแผล [1]

ประโยชน์พิมเสนเกล็ด

  • สมัยก่อนพิมเสนเป็นยาหายาก ราคาแพง (มีคำพูดว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ) นิยมนำพิมเสนใส่หมากพลู ใช้ผสมลูกประคบเพื่อแต่งกลิ่น จะมีฤทธิ์ที่เป็นยาแก้พุพอง แก้หวัด และยังใช้ผสมยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมมีพิมเสน ใบพิมเสนผสมด้วย[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พิมเสนจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหลายชนิด อย่างเช่น Staphelo coccus, เชื้อในลำไส้ใหญ่, Steptro coccus, เชื้อราบนผิวหนัง และใช้รักษาอาการปวดเส้นประสาท อาการอักเสบ[1]
  • พบสาร Dryobalanon Erythrodiol, Hydroxydammarenone2, d-Borneol, Dipterocarpol, Caryophyllene, Humulene, Asiatic acid [1]
  • จากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาปรากฏว่าพิมเสนนั้นมีคุณสมบัติคล้ายกับการบูร[1]

ข้อควรระวังในการใช้

  • วิธีเก็บพิมเสนจะต้องเก็บในภาชนะที่ปิดอย่างมิดชิด ควรเก็บในที่แห้ง มีอุณหภูมิต่ำ [1]
  • ห้ามให้สตรีมีครรภ์ทาน [1]
  • ถ้าใช้เกินขนาดอาจจะทำให้เกิดอาการความจำสับสน คลื่นไส้อาเจียน [2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “พิมเสน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 386.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พิมเสน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [10 พ.ค. 2014].
3. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “พิมเสน”. (ผศ.สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pcog2.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2548/07-48/borneol.pdf. [10 พ.ค. 2014].
4. https://medthai.com/