Home Blog Page 19

โป๊ยกั๊ก สรรพคุณแก้อัณฑะบวม และโรคไส้เลื่อน

0
โป๊ยกั๊ก สรรพคุณแก้อัณฑะบวม และโรคไส้เลื่อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้น ดอกเดียวสีเหลืองแต้มสีชมพูถึงสีแดง ผลมี 8 กลีบ ผลแห้งแข็งสีน้ำตาลแดง กลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน
โป๊ยกั๊ก
เป็นไม้ยืนต้น ดอกเดียวสีเหลืองแต้มสีชมพูถึงสีแดง ผลมี 8 กลีบ ผลแห้งแข็งสีน้ำตาลแดง กลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน

โป๊ยกั๊ก

โป๊ยกั๊ก หรือจันทน์แปดกลีบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและเวียดนาม มันถูกจัดเป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียเขตร้อนผู้คนมักจะนำส่วนเมล็ดของผลแก่หรือผลแก่ตากแห้ง มาใช้ประโยชน์กัน ซึ่งเมล็ดนั้นมีลักษณะคล้ายกับดาว 8 แฉกและมีการใช้กันในจีนกว่า 1,300 ปีมาแล้ว ถือเป็น 1 ใน 5 ของผงเครื่องเทศสมุนไพรในการปรุงอาหารแบบจีนดั้งเดิม ในปัจจุบันจะมีการเพาะปลูกมากในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ เวียดนาม และประเทศญี่ปุ่น[2] ชื่อสามัญ Chinese star anise[1], Star anise[2], Star aniseed[4], Badiane (ฝรั่งเศส)[4], Badian (อาหรับ), Badian khatai (อินเดีย), Bunga lawang (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย)[3],[4], Thakolam (มาลายาลัม) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Illicium verum Hook.f.จัดอยู่ในวงศ์ SCHISANDRACEAE ชื่ออื่นๆ โป๊ยกั๊ก,จันทร์แปดกลีบ,ดอกโป๊ยกั๊ก,โป๊ยกั๊กจีน

ลักษณะของโป๊ยกั๊ก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็ก เปลือกจะมีสีขาวเทา ลักษณะหยาบเล็กน้อยลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 18 เมตร[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ใบเรียวยาว ส่วนโคนใบเป็นรูปโคนสอบ ปลายใบจะแคบเป็นแถบยาว ส่วนปลายสุดจะพบทั้งแบบเว้าและแบบแหลม[2]
  • ดอก เป็นทรงกลมแกมรูปถ้วย ดอกเดียวสีเหลืองบางครั้งอาจแต้มด้วยสีชมพูถึงสีแดง กลีบดอก 10 กลีบ รูปรีกว้าง ก้านดอกยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ขอบกลีบมีขนเป็นและเป็นกระพุ้ง[2]
  • ผล เป็นกลีบปลายแหลม มองเห็นได้เป็นรูปดาว มี 5-13 พู เมล็ดรูปไข่ แต่ละพูมี 1 เมล็ด โดยส่วนใหญ่มักมี 8 กลีบ ผลดิบมีสีเขียว ถ้าผลแห้งจะมีกลีบหนาแข็ง ผิวสีน้ำตาลแดง เรียบ และ เป็นเงา มีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดร้อน และ หวาน

คุณค่าทางโภชนาการ

โป๊ยกั๊ก ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน 31%,
  • คาร์โบไฮเดรต 31%,
  • เส้นใยอาหาร 38%,
  • วิตามินเอ 10.5%,
  • วิตามินซี 35%,
  • แคลเซียม 65%,
  • เหล็ก 62%,
  • ธาตุโพแทสเซียม 31%,
  • และธาตุโซเดียม 1%[3]

ประโยชน์ของโป๊ยกั๊ก

1. สามารถใช้เป็นส่วนผสมของยาหรือยาอมได้ โดยใช้น้ำมันที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำมาทำ อีกทั้งยังสามารถใช้ในการแต่งกลิ่นหรือดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย[1],[2]
2. สามารถใช้เป็นส่วนผสมของผงเครื่องเทศทั้งห้าที่ใช้ในการปรุงอาหารจีนแบบดั้งเดิมนั่นคือ โป๊ยกั๊ก อบเชย กานพลู ยี่หร่า พริกไทยเสฉวน [4]
3. ส่วนประกอบของธาตุเหล็กที่ช่วยในการบำรุงโลหิต และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
4. ผลและเมล็ดแบบแห้งสามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรหรือนำมาประกอบอาหารก็ได้[1],[2]
5. สามารถใช้เป็นเครื่องชูรสชูกลิ่นได้และผลยังสามารถใช้แต่งกลิ่นทำอาหารได้ทั้งคาวและหวานรวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดได้อีกด้วย[1],[2],[3]

สรรพคุณของโป๊ยกั๊ก

1. ช่วยส่งเสริมสุขภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้[6]
2. ช่วยรักษาวัยทองในเพศชายได้[7]
3. ช่วยแก้เหน็บชาหรือตะคริวตามข้อมือข้อเท้าได้[3]
3. ช่วยระงับความเจ็บปวดได้[3]
4. ผล สามารถใช้เป็นยากระตุ้นได้[1]
5. ช่วยแก้อัณฑะบวม และโรคไส้เลื่อนได้[5]
6. ผล สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ผล)[1]
7. ช่วยแก้อาการจุกเสียดในเด็กทารก ปวดท้อง แก้อาการท้องอืดได้[3]
8. เมล็ด สามารถช่วยแก้อาการหลอดลมอักเสบได้ (เมล็ด)[6]
9. น้ำมันหอมระเหย สามารถนำมาใช้ผสมในยาผงแก้หืดหรือเป็นยาสำหรับสัตว์ก็ได้[1]
10. มีสรรพคุณช่วยแก้หวัด ลดไข้ได้[3]
12. สามารถสกัดกรดชิคิมิก (Shikimic acid)จากเมล็ด ซึ่งสามารถนำมาสังเคราะห์ยาทามิฟลู (Tamiflu) ต่อได้
13. ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในช่วงอากาศเย็นชื้นมีรสร้อนนิดเจือหวานเล็กน้อย ใช้สำหรับดื่มหลังอาหารในช่วงเช้าหรือเย็น วิธีการรับประทานก็ให้ใช้ผง 1 ช้อนชาชงกับน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ [3]
14. โป๊ยกั๊กเพียงแค่ 1 ช้อนชานำมาชงกับน้ำอุ่นดื่มสามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ สำหรับเด็กเล็กมากให้ใช้น้ำมันมาทาบริเวณฝ่าเท้า จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดี[3]
15. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตรได้[6]
16. ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศได้[7]
17. ชะเอมผสมกับน้ำมันหอมระเหยประมาณ 1-4 หยดมีสรรพคุณสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้[1]
18. ผง 1 ช้อนชานำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น สามารถระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยรักษาโรครูมาติสม์ได้ (Rheumatism)[3]
19. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้กับกล้ามเนื้อได้[3]
20. มีคุณสมบัติในการช่วยขับน้ำดี (เมล็ด)
21. มีสรรพคุณสามารถช่วยแก้ปัสสาวะขัดได้[5]
22. ผล สามารถช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้ (ผล)[1]
23. ผล มีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการลมกองหยาบได้ (ผล)[1]
24. มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ[3]
25. ชะเอมผสมกับน้ำมันหอมระเหยใช้บรรเทาอาการไอได้[1]
26. เมล็ด มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ทั้งไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดนก
27. ผล สามารถช่วยขับเสมหะได้(ผล)[1]
28. ผล สามารถช่วยแก้ธาตุพิการได้(ผล)[1]
29. ผล สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้(ผล)[1]

คำแนะนำที่ปลอดภัยต่อการรับประทาน

ให้รับประทานโป๊ยกั๊กจีนเท่านั้น ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีและไม่มีพิษ ส่วนโป๊ยกั๊กญี่ปุ่นเป็นพืชมีพิษหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากมีสารพิษที่ที่มีฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรงและ ทำให้เกิดอาการอักเสบภายใน รวมถึงอวัยวะในระบบย่อยอาหารและท่อปัสสาวะอีกด้วย[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง

1.ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โป๊ย กั๊ก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [10 ต.ค. 2013].
2.ละผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [10 ต.ค. 2013].
3.มูลนิธิสุขภาพไทย. “โป๊ยกั๊กเพิ่มพลังภูมิคุ้มกันโรค“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [10 ต.ค. 2013].
4.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (en).
5.หนังสือสมุนไพรเครื่องเทศและพืชปรุงแต่งกลิ่นรส. “โป๊ย กั๊ก“. (สุพจน์ คิลานเภสัช). (2543). กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาสน์.
6.THE TIMES OF INDIA. “Benefits of star anise“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: articles.timesofindia.indiatimes.com. [10 ต.ค. 2013].
7.WebMD. “STAR ANISE“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.webmd.com. [10 ต.ค. 2013].
8. https://medthai.com/

ต้นปอกะบิด สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

0
ปอกะบิด
ต้นปอกะบิด สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงเวียนรูปไข่ ดอกเป็นแบบช่อกระจุกดอกสีแดงอมส้ม ผลเป็นฝักกลมบิดเป็นเกลียวสีเขียว ผลแก่จะเป็นสีดำแห้งด้าน
ปอกะบิด
ต้นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงเวียนรูปไข่ ดอกเป็นแบบช่อกระจุกดอกสีแดงอมส้ม ผลเป็นฝักกลมบิดเป็นเกลียวสีเขียว ผลแก่จะเป็นสีดำแห้งด้าน

ปอกะบิด

ปอกะบิด พบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง หรือที่รกร้างว่างเปล่า ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อสามัญ คือ East indian screw tree ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Helicteres isora L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) และวงศ์สำโรง (STERCULIACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย HELICTEROIDEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปอทับ (เชียงใหม่), มะบิด (ภาคเหนือ), ข้าวจี่ (ลาว), ปอบิด

ลักษณะของปอกะบิด

  • ต้น
    – เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – มีความสูงได้ถึง 1-2 เมตร
    – ลำต้นมีความกลมเรียวและอ่อนคล้ายกับเถา
    – เปลือกนอกจะมีสีเทา
  • ใบ
    – ใบเดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่ กว้าง 5.5-7.5 ซม. ยาว 8.5-15 ซม.
    – ปลายใบเป็นแฉก ไม่เป็นระเบียบ 3-5 แฉก แฉกกลางสุดยาวคล้ายหาง
    – โคนใบกลมหรือรูปหัวใจ ขอบหยักคล้ายฟันปลา แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสากคาย ด้านล่างมีขนรูปดาว หรือขนสั้นหนานุ่ม
    – เส้นโคนใบ 3-5 เส้น เส้นใบย่อย แบบขั้นบันไดชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบ ยาว 0.5-2 ซม. มีขน หูใบรูปแถบ ยาว 3-7 มม.
  • ดอก
    – ดอกเป็นแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ มี 5-8 ดอก ก้านช่อดอกสั้น ก้านดอก ยาว 3-5 มม. มีขน
    – ใบประดับและใบประดับย่อย รูปแถบ ยาว 3-5 มม.
    – กลีบเลี้ยงมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ยาว 1-2 ซม. เบี้ยว ติดทน มีขนรูปดาวถึงขนสั้นหนานุ่ม
    – โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก ไม่เท่ากัน 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 5-9 มม.
    – กลีบดอกสีแดงอมส้ม มี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปหอกกลับ ยาว 2.5-3 ซม. โค้งพับลง กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้และเพศเมีย มีก้านชูยื่นยาว โผล่พ้นกลีบดอกออกมามาก
    – เกสรเพศผู้สีเหลือง 10 อัน โคนเชื่อมกันเป็นหลอด รูปถ้วย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอด ก้านชูอับเรณู มีขนหนาแน่น มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก เกสรตัวเมีย 5 อัน ผล
  • ผล
    – ผลเป็นฝักกลมบิดเป็นเกลียว
    – มีความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว
    – ผลอ่อนจะมีสีเขียว
    – ผลแก่จะเป็นสีดำแห้งด้าน
    – ฝักจะอ้าออกเห็นเมล็ดรูปกึ่งสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สีน้ำตาล ยาว 2-2.5 มม. เกลี้ยง

สรรพคุณของปอกะบิด

  • ช่วยแก้อาการปวดเคล็ดบวม
  • ช่วยรักษาแผล อาการอักเสบเรื้อรังในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง
  • ช่วยรักษาโรคลำไส้ในเด็ก
  • ช่วยแก้อาการลงแดง
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง
  • ช่วยแก้โรคบิด
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยแก้ธาตุพิการ
  • ช่วยแก้เสมหะ
  • ช่วยบำรุงธาตุ
  • ช่วยบำรุงน้ำเหลือง แก้น้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยบำรุงกำลัง

สรรพคุณของปอกะบิดเกลียวทอง

  • ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวระบบภายในมดลูกของสตรี
  • ช่วยรักษาโรคเกาต์ อาการปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเข่า
  • ช่วยแก้อาการนิ้วล็อก
  • ช่วยแก้โรคเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคไต
  • ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  • ช่วยรักษาโรคไทรอยด์
  • ช่วยรักษาอาการไมเกรน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน

(ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมายืนยันได้ ควรใช้วิจารณญาณ)

วิธีกินปอกะบิดเกลียวทอง

1. ให้นำฝักไปต้มในน้ำร้อน 25 ฝักต่อน้ำ 1.5 ลิตร
2. ใช้เวลาต้มประมาณ 20 นาที
3. จากนั้นเอาน้ำมาดื่มเป็นชา โดยดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น
4. ราคาที่มีจำหน่ายกิโลกรัมละประมาณ 500 บาทขึ้นไป

ข้อควรระวัง
1. ยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาโรคเบาหวานได้จริง
2. จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความเป็นพิษ
3. ในกรณีที่ยังไม่มีข้อมูลครบ การนำมาใช้ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อตับและไตได้
4. ผู้ที่ใช้สมุนไพรชนิดนี้อยู่ ควรตรวจภาวะการทำงานของตับและไตอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 3 เดือน
5. สำหรับผู้ที่มีประวัติหรือเป็นโรคตับและไตห้ามรับประทาน

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เว็บไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://medthai.com

ต้นปอกระสา สรรพคุณรากบำรุงไต ขับลมชื้น

0
ต้นปอกระสา สรรพคุณรากบำรุงไต ขับลมชื้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน เป็นไม้ยืนต้น แผ่นใบเป็นเนื้อบาง ดอกสีขาว ผลทรงกลมสีส้มอมแดง ผลมีเนื้อผลมาก ฉ่ำน้ำ
ต้นปอกระสา
เป็นไม้ยืนต้น แผ่นใบเป็นเนื้อบาง ดอกสีขาว ผลทรงกลมสีส้มอมแดง ผลมีเนื้อผลมาก ฉ่ำน้ำ

ปอกระสา

ปอกระสา มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ในประเทศไทยสามารถพบได้ในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ตามบริเวณป่าโปร่ง ในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น และพื้นที่ตามริมน้ำ[1],[2],[4],[5],[7],[9] ชื่อวิทยาศาสตร์ Broussonetia papyrifera (L.) L’Hér. ex Vent. จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ขนุน (MORACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ปอสา (ชื่อทั่วไป), ป๋อสา (เฉพาะถิ่น), หมอมี หมูพี (ในภาคกลาง), ปอฝ้าย (ในภาคใต้), ปอกะสา (ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), สายแล (ชาวเงี้ยวในภาคเหนือ), ฉำฉา ชำสา (จังหวัดนครสวรรค์), ตู๋ซิก จูซิก (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), โกวสู้ ชู่สือ (ภาษาจีนกลาง), ส่าแหล่เจ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), หนั้ง (ชาวเมี่ยน), เตาเจ (ชาวม้ง), เซงซะ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี), ไม้สา (ชาวไทลื้อ), ลำสา (ชาวลั้วะ), ชะดะโค ชะตาโค (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดกำแพงเพชร), ไม้ฉายเล (ชาวไทใหญ่), ตุ๊ดซาแล (ชาวขมุ) เป็นต้น[1],[4],[5],[6],[8]

ลักษณะของปอกระสา

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
    – ลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผิวเปลือกบางเห็นเป็นเส้นใย ลำต้นจะแผ่ขยายกิ่งก้านเป็นวงกว้าง ตามยอดและกิ่งอ่อนจะมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
    – ต้นมีน้ำยางสีขาว
    – ความสูงของต้น ประมาณ 6-10 เมตร
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างคล้ายรูปรี หรือรูปไข่กว้าง โดยปลายใบจะแหลม ส่วนโคนใบจะมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ตรงที่ขอบใบจะมองเห็นเป็นซี่ฟันเล็ก ๆ ยาวไปตลอดทั้งขอบใบ
    – ใบมีแผ่นใบเป็นเนื้อบาง โดยส่วนท้องของใบจะมีสีเขียวอ่อนหรือสีเทาและมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ส่วนหลังของใบจะมีสีเขียวเข้ม
    – ใบจะออกเรียงเป็นแถวตามแนวก้านใบ โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของใบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดใบหยักจะมีแฉก 3-4 แฉก และชนิดใบมนที่ไม่มีแฉก โดยทั่วไปแล้วใบจะแยกชนิดใบหยักและใบมนอยู่คนละต้นกัน แต่ก็มีบางกรณีที่พบว่าใบมีทั้ง 2 ชนิดในต้นเดียวกัน
    – จากศึกษาพบว่าใบที่มีอายุมากขึ้นจะมีใบมนมากกว่าใบหยัก [1],[2],[4],[9]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร
    – เป็นไม้ผลัดใบ
  • ดอก
    – ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงช่วงเดือนมีนาคม โดยดอกมีลักษณะเป็นแบบแยกเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    – ดอกเพศผู้ โดยช่อดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อห้อยลงมา มีดอกย่อยจำนวนมาก โดยจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง ดอกมีกลีบดอกสีขาว กลีบรองดอกเป็นกาบ มีอยู่ 4 กลีบ
    – ดอกเพศเมีย โดยช่อดอกเพศเมียจะแตกต่างจากดอกเพศผู้ตรงที่จะออกเป็นช่อกลม มีดอกย่อยจำนวนมาก และจะออกที่บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเขียว กลีบเลี้ยงที่โคนจะเชื่อมติดกัน ก้านเกสรมีลักษณะเป็นเส้นฝอยมีสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่ที่กลางดอก[1],[2],[4],[5]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลรวมและผลจะออกที่บริเวณซอกใบ โดยผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ผลมีสีส้มอมแดง ผลมีเนื้อผลมาก เมื่อมองดูจะรู้สึกถึงความแน่นและฉ่ำน้ำของผลอย่างชัดเจน
    – ออกผลในช่วงเดือนเมษายน[1],[2],[4]
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีรูปร่างกลมแบน และมีขนาดเล็ก

สรรพคุณของต้นปอกระสา

1. ผลมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา (ผล)[4]
2. ผลมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง และแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้ (ผล)[4],[5],[9]
3. นำถั่วดำในปริมาณ 1 ถ้วยชา มาต้มเอาแต่น้ำ แล้วนำน้ำที่ได้นี้มาใช้แช่ผลที่ทำการตากแห้งแล้ว จากนั้นนำมาตากแดดจนกว่าน้ำถั่วที่นำมาแช่ผลจะแห้งสนิท พอน้ำแห้งสนิทแล้วก็ให้ทำการใส่เมล็ดเก๋ากี้ลงไป แล้วทำการคั่วรวมกันให้เกรียม ต่อมาให้นำมาบดจนละเอียดเป็นผงเป็นอันเสร็จ โดยนำมาใช้รับประทานวันละ 15 กรัม มีสรรพคุณในการรักษาอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย บรรเทาอาการปวดศีรษะ รักษาอาการการหลั่งน้ำอสุจิยามนอนหลับโดยไม่รู้ตัว รักษาอาการท้องผูก และแก้อาการกระหายน้ำ (ผล)[5]
4. ผลนำมารับประทานมีสรรพคุณเป็นยาในการบำรุงกระดูกและเส้นเอ็น (ผล)[4]
5. ผลนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอกมีสรรพคุณในการรักษาอาการฝีมีหนอง (ผล)[4],[5]
6. ผลมีสรรพคุณในการบำรุงตับและไต (ผล)[4],[5]
7. ใบนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยมีสรรพคุณในการรักษาแผลจากการถูกแมงป่อง งู ตะขาบ และแมลงที่มีพิษกัดต่อย (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5]
8. ใบนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยมีสรรพคุณในการรักษาโรคกลากเกลื้อน และรักษาอาการผิวหนังอักเสบ (ใบ)[4],[5]
9. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคปัสสาวะมีหนอง (ใบ)[4],[5]
10. ใบนำมาทำเป็นยา มีสรรพคุณในการแก้อาเจียนออกมาเป็นเลือด และบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหลไม่หยุดได้ (ใบ)[4],[5]
11. ใบนำมาทำเป็นยาใช้สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาการ และแก้อาการร้อนในตับ (ใบ)[4]
12. ใบนำมาทำเป็นยาใช้สำหรับรักษาอาการตามัว และหูอื้อ (ใบ)[4],[5]
13. รากและเปลือกมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการไอ (รากและเปลือก)[4],[5]
14. รากและเปลือกนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาบรรเทาอาการปวดฝี (รากและเปลือก)[4],[5]
15. รากและเปลือกนำมาต้มเป็นยาใช้สำหรับดื่ม โดยมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการสตรีตกเลือด รักษาโรคบิด และอาการถ่ายเป็นเลือด (รากและเปลือก)[4],[5]
16. รากและเปลือก นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก มีสรรพคุณในการรักษาแผลสด และแผลฟกช้ำ [4],[5]
17. รากและเปลือกมีสรรพคุณในการบำรุงไต (รากและเปลือก)[2]
18. รากและเปลือกนำมาใช้ทำเป็นยาขับลมชื้น (รากและเปลือก)[4]
19. เปลือกนำมาใช้ทำเป็นยามีสรรพคุณในการแก้อาเจียน (เปลือก)[9]
20. ตำรายารักษาแผลสด และยาห้ามเลือดภายนอก ระบุไว้ว่าให้นำเปลือกที่ได้มาจากกิ่งก้านอ่อนนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นเอากากที่ได้ มาพอกบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก หรือจะนำใบมาคั้นเอาแต่น้ำ ใช้สำหรับทาลงบนบาดแผลที่มีเลือดไหลจะช่วยให้เลือดหยุดไหลได้ (กิ่งก้านอ่อน, ใบ)[4],[5]
21. นำเปลือกที่ได้มาจากกิ่งก้านอ่อนมาตำให้ละเอียด จากนั้นเอากากที่ได้มาพอกบริเวณที่เป็นผื่นคัน [5]
22. นำเปลือกที่ได้มาจากกิ่งก้านอ่อนมาคั้นเอาแต่น้ำใช้รับประทานเป็นยาบรรเทาอาการก้างปลาติดคอได้ [5]
23. นำเปลือกที่ได้มาจากกิ่งก้านอ่อนมาคั้นเอาแต่น้ำใช้รับประทานเป็นยา การรักษาโรคตาแดง (กิ่งก้านอ่อน)[5]
24. ในตำรายารักษาอาการบวมน้ำ ระบุว่าให้นำใบสดในปริมาณประมาณ 3-6 กรัม มาต้มแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ดื่ม หากใช้เปลือกให้นำเปลือกที่แห้งแล้วเท่านั้น ในปริมาณประมาณ 6-9 กรัม จากนั้นนำมาบดให้ละเอียดใช้สำหรับต้มเป็นยาสำหรับดื่ม หรือจะใช้ผลแห้งหรือรากแห้งก็ได้ นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม (ใบ, รากและเปลือก, ผล)[4],[5]
25. ผล ราก และเปลือก มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ผล, รากและเปลือก)[2],[3],[4],[5]
26. ราก ต้น และใบ นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก, ต้น, ใบ)[1],[2],[3]
27. นำเปลือกมาเผาไฟให้เป็นเถ้า จากนั้นนำมาบดให้ละเอียดใช้แต้มที่บริเวณตา มีสรรพคุณในการแก้อาการตาเป็นต้อ หรือจะนำผลมาตากให้แห้ง จากนั้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา (เปลือก, ผล)[4],[5]
28. ยางนำมาใช้ทำเป็นยาทาบรรเทาพิษจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย และถอนพิษงู (ยาง)[4],[5]
29. ยางนำมาใช้ทำเป็นยาทาสำหรับรักษาโรคกลากเกลื้อน (ยาง)[4],[5]

ขนาดและวิธีใช้

1. เปลือกของต้น นำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 10-18 กรัม โดยให้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยา
2. ผล นำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 6-15 กรัม โดยมักนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรายาจีน
3. รากและใบ นำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 30-70 กรัม โดยให้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยา[4]

ประโยชน์ของต้นปอกระสา

1. ต้นปอกระสาเหมาะสำหรับการนำไปปลูกในพื้นที่ปลูกป่า เนื่องจากเป็นพืชที่โตเร็ว และคงทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี[7],[9]
2. ที่ประเทศไทยทางภาคเหนือจะนำเส้นใยที่ได้มาจากเปลือกของต้นปอกระสา มาผลิตทำเป็นกระดาษหรือกระดาษที่ใช้ทำร่ม[5]
3. เปลือกต้นนำมาทำให้เป็นเส้นใย จากนั้นนำมาทำเป็นเชือก หรือจะนำไปใช้ทอผ้าก็ได้เช่นกัน[5]
4. ในชนเผ่าตองกา ตาฮิติ ฟิจิ และซามัว จะนำเส้นใยที่ได้จากเปลือกต้นปอกระสามาถักทอเป็นผ้า โดยผ้านี้มีชื่อเรียกว่า ตาปา
5. กระดาษสาที่ผลิตมาจากต้นปอกระสา จะมีคุณสมบัติพิเศษกว่ากระดาษสาชนิดอื่น ๆ คือ มีความทนทาน สามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานาน และไม่เปื่อยยุ่ยง่ายหากอยู่ในพื้นที่ชื้น[7],[9]
6. ใบสามารถนำมาสกัดเป็นสีได้ โดยจะให้สีเหลือง[9]
7. เนื้อไม้ของต้นปอกระสามักนำมาใช้ทำเป็นไม้จิ้มฟันและตะเกียบ[8]
8. นอกจากเปลือกต้นแล้ว แกนของต้นปอกระสา สามารถนำมาทำเป็นกระดาษได้อีกด้วย[9]
10. ใบหรือยอดอ่อนของต้นปอกระสา สามารถนำมาทำเป็นอาหารของสัตว์เกษตรได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น นำมาผสมในรำหมู ใช้เป็นอาหารปลา หรือนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับโคและกระบือ เป็นต้น[6],[9]
11. เมล็ดนำมาสกัดเอาน้ำมัน มีประโยชน์ในการใช้ทำสบู่ หรือใช้สำหรับเครื่องเขิน[7]
12. ผลและเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับกระรอกและนกได้[7],[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการศึกษาโดยนำใบที่ตากแห้งแล้ว มาบดให้ละเอียด จากนั้นเติมน้ำข้าวและน้ำตาลทรายมาผสมใช้ทำเป็นยาทาภายนอก โดยนำมาทาแผลบริเวณที่ผู้ทดสอบถูกผึ้งต่อยจนเกิดอาการอักเสบ เป็นจำนวน 22 ราย ผลการทดสอบพบว่าตัวยานี้สามารถรักษาอาการปวดบวมอักเสบจากการถูกผึ้งต่อยได้ทุกราย[5]
2. จากการวิจัยพบว่า ในส่วนของใบและเปลือก มีสาร Tannin, Flavonoid Phenols, Glycoside และ สาร Carboxylicaid ส่วนในผลมีวิตามินบีและน้ำมันอยู่ ในอัตราส่วนร้อยละประมาณ 31.7% และในส่วนของน้ำมันที่สกัดออกมาจะมีสาร Saponin อยู่ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบสารอย่าง Fructose, Linoleic acid และ Oleic acid อีกด้วย[4]
3. จากการศึกษายารักษาโรคกลากเกลื้อน โดยนำน้ำยางของต้นมาทาผู้ป่วยในบริเวณที่เป็น วันละ 1-2 ครั้ง ทาติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน ผลพบว่าจากการรักษาผู้ป่วยโรคกลากเกลื้อน จำนวน 9 ราย หลังจากใช้ยาสูตรนี้พบว่ามีผู้ป่วยที่หายจากโรคดังกล่าวทันทีจำนวน 4 ราย และอีก 5 รายที่โรคนี้หายในเวลาต่อมา[5]
4. จากการศึกษาวิจัยการนำต้นมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยนำเปลือกมาขูดเอาผิวนอกออกก่อน ใช้ในปริมาณประมาณ 30 กรัม, ต้นเสี้ยวหนี่อั้ง (Oldenlandia lancea (Thunb.) O.Ktze) สดในปริมาณ 15 กรัม และพลูคาวสดในปริมาณ 15 กรัม นำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มรวมกัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ใช้สำหรับดื่มวันละ 3 ครั้ง โดยผลที่ได้พบว่าจากการนำตัวยานี้มาให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังดื่มเป็นจำนวน 233 คน พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คิดเป็นอัตราร้อยละ 27.4% และผู้ป่วยที่มีอาการหายขาดคิดเป็นอัตราร้อยละ 17.6% [5]

ข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานผลในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้เสี่ยงกระดูกเปราะง่ายยิ่งขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้[4],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ปอ กระ สา (Po Kra Sa)”. หน้า 187.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ปอกระสา”. หน้า 133.
3. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ปอกระสา”. หน้า 52.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ปอ กระสา”. หน้า 320.
5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ปอกะสา”. หน้า 454-457.
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ปอกระสา”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 พ.ย. 2014].
7. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปอ กระ สา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [27 พ.ย. 2014].
8. พืชให้เส้นใย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ปอสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1.htm. [27 พ.ย. 2014].
9. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฉบับที่ 154 กันยายน 2543. (จิระศักดิ์ ชัยสนิท). “ปอสา”.
10. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://jardinage.lemonde.fr/
2. https://www.healthbenefitstimes.com/

ต้นเบอะคะปุ่ย ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา

0
ต้นเบอะคะปุ่ย ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา สามารถพบได้ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป เติบโตในพื้นที่ป่าชื้นแฉะ ลักษณะเป็นกอ ดอกสีขาว ผลรูปไข่ เมล็ดเป็นทรงกลมสีเป็นสีสนิม มีตุ่มขนาดเล็กกลางเมล็ด
เบอะคะปุ่ย
เป็นไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นกอ ดอกสีขาว ผลรูปไข่ เมล็ดเป็นทรงกลมสีเป็นสีสนิม มีตุ่มขนาดเล็กกลางเมล็ด

เบอะคะปุ่ย

เบอะคะปุ่ย สามารถพบได้ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป โดยจะเติบโตในพื้นที่ป่าชื้นแฉะ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Myosoton aquaticum (L.) Moench ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Stellaria aquatica (L.) Scop. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะต้นเบอะคะปุ่ย

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ล้มลุกที่มีลักษณะการขึ้นเป็นกอ
    – ผิวเปลือกลำต้นจะมีจุดสีม่วงเข้มขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่ว และมีร่องที่ไม่ลึกมากอยู่ตามลำต้น ตรงปลายของลำต้นจะชูขึ้น ลำต้นจะนอนทอดราบไปกับพื้นดิน
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ตรงปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักเป็นคลื่น ที่โคนใบเป็นรูปหัวใจ ใบจะแบ่งเป็นใบตอนบนและใบตอนล่าง โดยใบตอนล่างจะมีก้านใบ ส่วนใบตอนบนจะไม่มีก้านใบ
    – ใบจะออกในลักษณะที่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ที่บริเวณก้านใบ และใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร และก้านใบตอนล่างมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 10 อัน อับเรณูมีสีแดงอมส้ม รังไข่มีอยู่หนึ่งช่องมีรูปร่างเป็นรูปไข่ และดอกมีท่อเกสรเพศเมียอยู่ 5 แฉก
    – ดอกมีกลีบดอกสีขาว กลีบดอกจักเป็นแฉกลึก 2 แฉก ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ดอกมีกลีบรองดอกขนาดเล็ก 5 กลีบ รูปร่างของกลีบรองดอกเป็นรูปหอกและมีขนขึ้นปกคลุมเป็นประปราย จุดเด่นของดอกจะอยู่ที่ดอกมีต่อมขนขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยว ซึ่งจะออกที่บริเวณซอกใบ[1]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปไข่กว้าง และผลจะมีพูปรากฏขึ้นอยู่ประมาณ 5 พู ตรงปลายพูจะมีรอยจักเป็นพูเล็ก ๆ 2 พู ผลเป็นผลแห้ง
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีรูปร่างเป็นทรงกลม เมล็ดมีสีเป็นสีสนิม และมีตุ่มขนาดเล็กปรากฏขึ้นที่กลางเมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นเบอะคะปุ่ย

1. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดกระดูก และอาการฟกช้ำ โดยนำใบไปลงแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลาสักระยะหนึ่ง จากนั้นนำมาใช้แปะหรือทาบบริเวณที่มีอาการ ใช้เป็นยาภายนอก (ใบ)[1]
2. ใบมีฤทธิ์ในการรักษาอาการตกขาวของสตรี (ใบ)[1]
3. ลำต้นและใบนำมาต้มกับน้ำ ใช้สำหรับดื่มเป็นยามีสรรพคุณขับน้ำนม (ลำต้นและใบ)[1]
4. ลำต้นและใบนำมารับประทาน มีฤทธิ์ในการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบได้ โดยนิยมในประเทศญี่ปุ่นและจีน (ลำต้นและใบ)[1]
5. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาแผลเรื้อรัง (ลำต้นและใบ)[1]
6. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา (ลำต้นและใบ)[1]
7. ลำต้นและใบมีฤทธิ์ในการรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก (ลำต้นและใบ)[1]
8. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ลำต้นและใบ)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เบอะคะปุ่ย”. หน้า 438-439.
2. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://arthropodafotos.de/
2. https://www.infoflora.ch/

ต้นติ้วขาว สรรพคุณของยางช่วยแก้อาการคัน

0
ติ้วขาว
ต้นติ้วขาว สรรพคุณของยางช่วยแก้อาการคัน ไม้ยืนต้นผลัดใบ ใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีสีขาวอมสีชมพูอ่อนหรือสีแดง ผิวผลแข็งและเรียบ ผลอ่อนสีขาว ผลแก่สีน้ำตาลดำ
ติ้วขาว
ไม้ยืนต้นผลัดใบ ใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีสีขาวอมสีชมพูอ่อนหรือสีแดง ผิวผลแข็งและเรียบ ผลอ่อนสีขาว ผลแก่สีน้ำตาลดำ

ติ้วขาว

ติ้วขาว ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคใต้ตอนเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพบขึ้นเองตามธรรมชาติตามบริเวณแถบป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง และป่าตามเชิงเขา[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer (Cratoxylum formosum subsp. formosum) จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE) ต้นติ้วขาว ติ้วเหลือง (ในภาคกลาง), ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด ติ้วเหลือง (ในภาคเหนือ), แต้ว (ในภาคใต้), ผักติ้ว (ชื่อทั่วไป), แต้วหิน (จังหวัดลำปาง), กวยโชง (จังหวัดกาญจนบุรี), ติ้วส้ม (จังหวัดนครราชสีมา), ตาว (จังหวัดสตูล), ผักเตา เตา (จังหวัดเลย) เป็นต้น[1]

หมายเหตุ
ต้นติ้วขาวชนิดนี้เป็นพืชคนละชนิดกับ ต้นติ้วหนาม หรือต้นติ้วขน

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลาง ทนต่อสภาพแล้งได้ดี
    – เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลแดง มีลวดลายแตกเป็นสะเก็ด ส่วนภายในเปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง
    – ลำต้นมีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม ลำต้นจะแผ่ขยายกิ่งก้านออกมา กิ่งก้านเรียว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ และที่โคนต้นจะมีหนามขึ้นอยู่ทั่ว
    – ต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดง
    – ความสูงของต้น ประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – เนื้อใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน รูปร่างของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ ตรงปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบโค้งและเรียบ ที่โคนใบสอบและเรียบ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบมีเส้นข้างใบประมาณ 7-10 คู่ ใต้ท้องใบมีต่อมขึ้นอยู่ประปราย ใบอ่อนมีสีชมพูอ่อน ผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนใบแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง
    – ช่วงฤดูหนาวจะเห็นใบทั้งหมดเป็นสีชมพูอ่อน
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 2.5-4.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-13 เซนติเมตร ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 0.6-1.6 เซนติเมตร[1]
  • ดอก
    – ดอกจะออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม[2]
    – ดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวอมสีชมพูอ่อนหรือสีแดง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีสีเขียวอ่อนปนสีแดง ก้านดอกมีรูปร่างเรียวเล็กและมีกาบเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ฐานกลีบด้านใน และดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ส่วนเกสรตัวเมียมี 3 อัน ก้านมีสีเขียวอ่อน และมีรังไข่อยู่ด้านบนกลีบ
    – ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกที่บริเวณกิ่ง
  • ผล
    – รูปร่างของผลเป็นแบบแคปซูล ปลายผลแหลม ผิวผลแข็งและเรียบ ผลมีขนาดความกว้างประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1.3-1.8 เซนติเมตร
    – ผลอ่อนจะมีสีขาว แต่เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำ และจะแตกออกเป็นแฉก 3 แฉก[2]
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีสีน้ำตาล

สรรพคุณของต้นติ้วขาว

1. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)[1]
2. แก่นและลำต้น นำมาแช่กับน้ำใช้ดื่ม มีสรรพคุณแก้อาการเลือดไหลไม่หยุด หรืออาการปะดงเลือด (แก่นและลำต้น)[1]
3. มีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคตาบอดตอนกลางคืน และรักษาโรคตาไก่[7]
4. ผลจากการทดลอง รับประทานผักติ้วเป็นประจำจะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับได้ (ใบ)[6]
5. รากผสมกับหัวแห้วหมูและรากปลาไหล นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา วันละ 3 ครั้ง โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปัสสาวะขัด และช่วยขับปัสสาวะ (ราก)[1],[7]
6. เปลือกและใบของต้น นำมาตำให้แหลกแล้วนำไปผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาภายนอก มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ (เปลือกและใบ)[1]
7. รากและใบของต้น นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)[1]
8. ส่วนของ ยอด, ใบอ่อน, ดอก และเถา มีสรรพคุณเป็นยาช่วยแก้ประดง ช่วยขับลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ ช่วยฟอกโลหิต และแก้โรคไขข้อพิการ (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)[1]
9. น้ำยางจากต้น นำมาทาใช้เป็นยาภายนอกสำหรับรักษารอยแตกของส้นเท้าได้ (ยาง)[1]
10. น้ำยางนำมาใช้ทาบริเวณที่คัน จะช่วยแก้อาการคันได้ (ยาง)[1]

ประโยชน์ของต้นติ้วขาว

1. เนื้อไม้ นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเป็นเครื่องตกแต่งภายในเรือน ทำกระดานพื้น ทำโครงสร้างบ้าน ทำด้ามเครื่องมือ ฯลฯ[7]
2. ใช้รับประทานเป็นผักสดทานคู่กับอาหารอื่น ๆ หรือจะนำไปปรุงรสในแกงให้เกิดรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาวก็ได้เช่นกัน [1],[2],[6],[7]
3. สารสกัดที่มีชื่อว่า “คลอโรจินิกแอซิด” สามารถนำไปใช้ยับยั้งกลิ่นเหม็นหืนของอาหารได้ (แหล่งที่มา: งานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)[6]
4. ดอกอ่อนนำมาใช้ทำยำหรือซุปได้[2]

คุณค่าทางโภชนาการ

ดอก, ใบอ่อน และยอดอ่อน ในปริมาณ 100 กรัม มีพลังงานอยู่ 58 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
มีโปรตีน 2.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม
ไขมัน 1.7 กรัม
เถ้า 0.6 กรัม
น้ำ 85.7 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม
วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 7,500 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.67 มิลลิกรัม
แคลเซียม 67 มิลลิกรัม
วิตามินซี 56 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม

แหล่งที่มา : ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม (กองโภชนาการ กรมอนามัย)[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ติ้วขาว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [15 ม.ค. 2014].
2. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร “ติ้วขน“. อ้างอิงใน : หนังสือไม้อเนกประสงค์กินได้ (คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์), หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข), หนังสือผักพื้นบ้านภาคเหนือ (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable. [16 ม.ค. 2014].
3. เครือข่ายกาญจนาภิเษก. “ผักติ้ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : kanchanapisek.or.th. [15 ม.ค. 2014].
4. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ผักแต้ว“. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [15 ม.ค. 2014].
5. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2553. “การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา“. (พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ, ปาริชาติ พุ่มขจร).
6. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. คอลัมน์ : เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ. “ผักติ้ว ต้านมะเร็งตับ“. (นายเกษตร).
7. ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ผักติ้ว“. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : student.nu.ac.th. [15 ม.ค. 2014].
8. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://tracuuduoclieu.vn/
2. https://www.botanyvn.com/

ต้นหนุมานประสานกาย ช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ

0
ต้นหนุมานประสานกาย ช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกออกเป็นช่อสีเขียว สีนวล ขนาดเล็ก ผลเป็นรูปไข่อวบน้ำ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงสด
หนุมานประสานกาย
เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกออกเป็นช่อสีเขียว สีนวล ขนาดเล็ก ผลเป็นรูปไข่อวบน้ำ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงสด

หนุมานประสานกาย

ชื่อสามัญ Edible-stemed Vine[6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Schefflera leucantha R.Vig. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Schefflera kwangsiensis Merr. ex H.L.Li, Schefflera tamdaoensis Grushv. & Skvortsova, Schefflera tenuis H.L.Li) อยู่วงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)[1],[3] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กุชิดฮะลั้ง (จีน), ว่านอ้อยช้าง (จังหวัดเลย), ชิดฮะลั้ง (จีน) [1]

ลักษณะของหนุมานประสานกาย

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวลำต้นค่อนข้างที่จะเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง โตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง[1],[2],[7]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกใบเรียงสลับกัน มีใบย่อยอยู่ประมาณ 7-8 ใบ ใบย่อยเป็นรูปใบหอก รูปยาวรี รูปวงรี ที่โคนใบจะมีหูใบติดที่ก้านใบ ส่วนที่ปลายใบจะเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผิวใบมีลักษณะเรียบเป็นมัน ก้านใบย่อยมีขนาดยาวประมาณ 8-25 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีขนาดยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ดอกย่อยเป็นดอกสีเขียว สีนวล ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ผล เป็นรูปไข่ อวบน้ำ ผลกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ผลสุกแล้วเป็นสีแดงสด[1]

ประโยชน์หนุมานประสานกาย

  • หมอชาวบ้านคิดค้นยาสำเร็จเป็นรายแรก มีสรรพคุณที่เป็นยาบรรเทาโรคหวัด ไม่มีผลข้างเคียง ผ่านการพิสูจน์ตำรับยาจาก อย. แล้ว ประกอบด้วยใบหนุมานประสานกาย และสมุนไพรชนิดหลายชนิด อย่างเช่น หญ้าเกร็ดหอม ชะเอมเทศ ลูกมะแว้ง จากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างปรากฏว่าช่วยบรรเทาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ ไม่ว่าจะเป็นหวัด เห็นผลภายในเวลา 2-3 วัน[5]
  • มีประสิทธิภาพป้องกันยุงได้หลายชนิด ด้วยการเตรียมน้ำมันทากันยุง นำใบมาล้างให้สะอาดด้วยน้ำ ผึ่งให้แห้ง แล้วหั่นให้เล็กเท่า ๆ กัน แล้วก็เทน้ำมันมะพร้าวที่มีน้ำหนักเท่าตัวยาใส่ลงกระทะ นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัด นำที่เตรียมไว้ทอดด้วยไฟร้อนเป็นเวลาประมาณ 5 นาที กรองน้ำมันด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งให้เย็น แล้วใช้น้ำมันเป็นยาทากันยุง สารสกัดที่ได้จากใบช่วยป้องกันยุงที่กัดตอนกลางวันได้ประมาณ 2 ชั่วโมง และยุงที่กัดตอนกลางคืนได้ 7 ชั่วโมง (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 6 ธันวาคม 2554 หน้า 22)
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นสมุนไพร ปลูกประดับอาคาร ปลูกในกระถาง ถ้าเจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ให้เด็ดใบมาสักหนึ่งช่อเคี้ยวให้ละเอียด กลืนแต่น้ำ แล้วคายกากทิ้งสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดี ถ้าใช้รักษาหอบหืดอาจต้องใช้เวลาทานติดต่อกันเป็นเวลานานนิดหน่อยถึงจะหาย[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • การทดสอบความเป็นพิษที่ออกฤทธิ์กับหัวใจ ปรากฏว่าเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและเป็นพิษกับหัวใจ ถ้าใช้ขนาดสูงอาจจะทำให้มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ[4]
  • พบสารเคมี L-rhamnose, D-Xylose, Butulinic acid, D-glucose, Oleic acid [3]
  • สารที่สกัดด้วยเอทานอลจากใบ จะมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวให้เร็วขึ้น เพิ่มการหดตัวของบาดแผลได้ [6]
  • สารสกัดที่ได้จากใบมีสารซาโปนิน จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่กดหัวใจ สารในกลุ่มซาโปนิน (Saponins) สามารถขยายหลอดลมได้ จะลดการหลั่งสารเมซโคลิน (Methcholine), สารฮีสตามีน (Histamine) [2],[6]

สรรพคุณหนุมานประสานกาย

1. สามารถช่วยแก้ช้ำในได้ โดยนำใบประมาณ 1-3 ช่อ มาตำละเอียด เอามาต้มกับน้ำครึ่งแก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำยาทานทุกเช้าเย็น (ใบ)[6],[7],[8]
2. ในคู่มือยาสมุนไพร และโรคประเทศเขตร้อนและวิธีบำบัดรักษา ระบุเอาไว้ว่าใช้ใบรักษาโรคหลอดลมอักเสบระยะเรื้อรัง โรคแพ้อากาศ โรคหืด อาการแพ้อื่น ๆ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ทำการวิจัย ปรากฏว่ามีคุณสมบัติรักษาโรคเกี่ยวปอดต่างได้ดังนี้ อย่างเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ไอกรน เนื้อร้ายในปอด เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ปอดชื้น วัณโรค ต่อมน้ำเหลืองในปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบชนิดมีหนอง เป็นแผลในปอด โรคไข้ปอดบวม (ใบ)[9]
3. ใช้ยางใส่แผลสด สามารถช่วยทำให้แผลแห้งเร็วได้ (ยาง)[1]
4. สามารถช่วยแก้อาการตกเลือดเพราะการคลอดบุตรของสตรีระหว่างการคลอดหรือหลังการคลอดบุตรหรือเพราะตกเลือดเนื่องจากใกล้หมดประจำเดือนได้ สามารถนำใบสดประมาณ 10-15 ช่อ มาตำละเอียดผสมเหล้าโรง 4-6 ช้อน แล้วคั้นน้ำทาน (ใบ)[8]
5. สามารถใช้เป็นยาแก้พิษได้ โดยนำใบมาต้มเอาน้ำหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าทาน (ใบ)[1]
6. สามารถช่วยขับเสมหะได้ โดยนำใบสดประมาณ 9 ใบ มาต้มเอาน้ำทาน (ใบ)[3]
7. ใบ สามารถช่วยบรรเทาหวัดแก้เจ็บคอ ลดอาการไอ แก้คออักเสบ แก้ร้อนในได้ โดยนำใบสดมาเคี้ยวแล้วกลืนช้า ๆ (ใบ)[5],[6],[8]
8. สามารถช่วยรักษาวัณโรคได้ โดยนำใบ 10 ช่อ รากพุดตานสด 10 กรัม มาต้มกับน้ำใช้ทาน (ใบ)[8]
9. สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบได้ โดยนำใบสดเล็ก 9 ใบ มาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น 7 สัปดาห์ (ใบ)[3],[6]
10. ทั้งต้นมีรสหอมเผ็ดปร่าและขมฝาดนิดหน่อย จะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวกได้ (ทั้งต้น)[6]
11. สามารถใช้แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกทำให้อัมพาต และสามารถช่วยกระจายเลือดลมที่จับเป็นก้อนหรือคั่งภายในได้ (ใบ)[6]
12. สามารถช่วยแก้อาการอักเสบบวมได้ (ใบ)[6]
13. สามารถนำใบสดมาตำให้ละเอียด ใช้กากมาทาหรือพอกเป็นยาสมานแผล ช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[1],[2]
14. สามารถนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารกับลำไส้ (ทั้งต้น)[6]
15. สามารถช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ โดยนำใบสด 12 ใบย่อย มาคั้นเอาน้ำ 2 ถ้วยตะไล ทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน (ใบ)[1],[2],[3]
16. สามารถช่วยรักษาแผลในปากเนื่องจากร้อนในได้ โดยนำใบสด 1-2 ใบ มาเคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลืน ทานเช้าและเย็น (ใบ)[7],[8]
17. สามารถใช้ใบเป็นยาแก้ไอได้ โดยนำใบสดประมาณ 9 ใบ มาต้มเอาน้ำทาน หรือนำใบสดมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำ มาผสมเหล้าใช้ทานเป็นยา (ใบ)[1],[2]
18. สามารถช่วยรักษาวัณโรคปอดได้ โดยนำใบสดที่มีขนาดเล็ก 9 ใบ มาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ติดต่อกันเป็นเวลานาน 60 วัน แล้ว x-ray ดูปอดจะดีขึ้น ให้ทานต่ออีกระยะหนึ่ง (ใบ)[3]
19. ใบ มีรสหอมเผ็ดปร่าและขมฝาดนิดหน่อย จะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษาโรคหอบหืด เป็นภูมิแพ้ แพ้อากาศได้ โดยนำใบสดที่มีขนาดเล็ก 9 ใบ มาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น 7 สัปดาห์ (ใบ)[1],[2],[3],[6]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ห้ามทานสมุนไพรนี้ขณะที่กำลังเหนื่อยหรือขณะที่หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น[6]
  • ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีไข้สูง สตรีที่ตั้งครรภ์ห้ามใช้[6]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หนุมานประสานกาย”. หน้า 818-819.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนุมานประสานกาย”. หน้า 185.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนุมานประสานกาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [15 ก.ค. 2014].
4. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “หนุมาน ประสานกาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/. [15 ก.ค. 2014].
5. ผู้จัดการออนไลน์. “ยกหนุมานประสานกายแจ๋ว! นำร่องสินค้าสมุนไพรไทยสู้หวัด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [15 ก.ค. 2014].
6. ไทยโพสต์. “หนุมานประสานกาย แก้ไอ เจ็บคอ หอบหืด สมานแผล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [15 ก.ค. 2014].
7. เทศบาลเมืองทุ่งสง. “หนุมานประสานกาย” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [15 ก.ค. 2014].
8. สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๗, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). “หนุมาน ประสานกาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.oocities.org/thaimedicinecm/. [15 ก.ค. 2014].
9. หนังสือคู่มือยาสมุนไพร และโรคประเทศเขตร้อนและวิธีบำบัดรักษา. (พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์). “หนุมานประสานกาย”.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/
2. https://powo.science.kew.org/
3. https://medthai.com

ต้นหนุมานนั่งแท่น สรรพคุณใช้เป็นยาทารักษาฝี

0
ต้นหนุมานนั่งแท่น สรรพคุณใช้เป็นยาทารักษาฝี เป็นไม้พุ่ม ใบเป็นรูปไข่โคนใบรูปหัวใจ ดอกสีแดงหรือส้ม ผลเป็นรูปกระสวยผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง สีดำ
หนุมานนั่งแท่น
เป็นไม้พุ่ม ใบเป็นรูปไข่โคนใบรูปหัวใจ ดอกสีแดงหรือส้ม ผลเป็นรูปกระสวยผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง สีดำ

หนุมานนั่งแท่น

หนุมานนั่งแท่น มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง ชอบที่แสงแดดจัดเต็มวัน ทนความแล้งได้ สามารถพบได้ตั้งแต่ที่สูงจากน้ำทะเลถึงระดับ 800 เมตร ชื่อสามัญ Fiddle-leaved Jatropha, Gout Plant, Guatemala Rhubarb [5] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Jatropha podagrica Hook. อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านหนูมานนั่งแท่น, ว่านเลือด (ภาคกลาง), หัวละมานนั่งแท่น (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ว่านหนุมาน [1],[4]

ลักษณะของหนุมานนั่งแท่น

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 1.5-3 เมตร โคนลำต้นพอง ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นไม่เรียบ เป็นสีน้ำตาลอมสีเขียว มีเหง้าใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมยาวอาจจะเป็นเหลี่ยมนิดหน่อย มีน้ำยางสีขาวขุ่นใสในต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ใช้หัวหรือเหง้าที่ใต้ดิน โตได้ดีในที่มีความชุ่มชื้น [1],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกกันเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่กว้าง ที่โคนใบจะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็น 3-5 แฉก ใบกว้าง 5-15 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ที่ท้องใบจะเรียบ ส่วนที่หลังใบก็จะเรียบเช่นกัน ก้านใบมีขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร หูใบมีลักษณะแตกแขนงยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อกึ่งช่อเชิงหลั่น สามารถยาวได้ถึงประมาณ 26 เซนติเมตร แกนช่อดอกมีขนาดยาวถึงประมาณ 20 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีดอกย่อยสีแดงเป็นจำนวนมาก มีกลีบดอกสีแดงหรือส้มอยู่ 5 กลีบ ดอกเพศผู้จะมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่กว้าง มีความยาวประมาณ 0.6 มิลลิเมตร กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร จานรองดอกจะเป็นรูปโถ เกสรเพศผู้มีความยาวประมาณ 6-8.5 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรจะเชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปรี มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีความยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ก้านชูเป็นสีแดง และก้านชูช่อดอกก็เป็นสีแดงเช่นกัน[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปกระสวยหรือรูปกลมรี ผิวผลจะเรียบ แบ่งเป็น 3 พู ที่ปลายผลจะมน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง สีดำ ผลแห้งไม่แตกออก มีเมล็ดอยู่ในผล [1],[2],[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้จากเมล็ด ด้วยปีโตรเลียมอีเทอร์ จะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา[2]
  • พบสารกลุ่ม phorbol esters ในเมล็ด เป็นพิษเหมือนสบู่ดำ[2]

ประโยชน์หนุมานนั่งแท่น

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและว่านมงคลชนิดหนึ่งที่ตามบ้านและวัด จะนิยมขยายพันธุ์โดยใช้หัวหรือเหง้า ตอนรดน้ำให้พูดคาถานะโมพุทธายะ 3 จบ ควรปลูกวันพฤหัสบดีข้างขึ้น ถ้าจะเอาสมุนไพรไปใช้ให้บอกต้นไม้ว่าจะใช้รักษาอะไร แล้วน้ำยางจะไหลออกมาเยอะ[4] อีกความเชื่อระบุเอาไว้ว่าถ้าขุดหัวว่านมาใช้ ให้เสกคาถาสัพพาสี – ภาณามเห 3 หรือ 7 จบ รดน้ำรอบต้นแล้วขุด ขณะที่กำลังขุดให้เสกด้วยคาถาหะนุมานะ โสธาระ เป็นคาถาผูก 3 หรือ 7 จบ แล้วเก็บหัวว่านมาใช้ และตอนใช้ต้องเสกคาถานะโมพุทธายะ 3 จบก่อนทุกครั้ง เชื่อกันว่าจะมีอานุภาพฟันแทงไม่เข้า
  • เป็นยาที่ถูกใช้รักษาแผลม้า ปรากฏว่ายางสามารถรักษาแผลให้หายดีและเร็วกว่ายาสมานแผลทั่วไป ยาเนกาซันท์ ยาปฏิชีวนะ และเป็นยาชนิดเดียวที่ใช้รักษาบาดแผลเนื้องอกได้ โดยที่ยาอื่นไม่สามารถรักษาได้ และช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยให้หายได้ (แม่โจ้)
  • สมัยก่อนมีการใช้ในทางคงกระพันชาตรี โดยนำนำหัวว่านมาแกะเป็นรูปพญาวานร เสกคาถาพุทธคุณ อิติปิโส ภะคะวา – ภะคะวาติ 3 หรือ 7 จบ แล้วอมหรือพกติดตัวเอาไว้ ทำให้ศัตรูแพ้พ่าย ถ้าแกะเป็นรูปพญานาคราช ให้เสกคาถา เมตตา3 หรือ 7 จบ เมื่อเจรจากับผู้ใด จะมีแต่ผู้รักใคร่ ปราถนาสิ่งใดสำเร็จทุกประการ หากแกะเป็นรูปพระพรหมแผลงศร ให้เสกคาถา อิติปิโส ภะคะวา – ภะคะวาติ 3 หรือ 7 จบ ใครมาทำร้ายทิ่มแทงเราจะล้มทับตัวเอง อาวุธจะพลัดหลุดจามือ จนต้องหลบหนีไป และถ้าแกะเป็นรูปภควัมบดีปิดหูปิดตา ปิดทวารทั้งเก้า ให้เสกคาถา อิติปิโส ภะคะว่า – ภะคะวาติ 7 จบ แล้วอมในปาก ทำให้ผู้อื่นจะมองไม่เห็น ไม่สามารถทำร้ายได้ ต้องการสิ่งใดก็สมดังปรารถนา ถ้าหากแกะเป็นรูปพระ แล้วเสกคาถา อะ อิ อุ ธะ 7 จบ ช่วยป้องกันอันตรายทั้งปวงได้[4]

สรรพคุณหนุมานนั่งแท่น

1. สามารถใช้เหง้านำมาโขลกละเอียดใช้เป็นยาทาพอกที่ตามข้อมือและข้อเท้า สามารถนวดแก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ (เหง้า)[4]
2. สามารถนำหัวหรือเหง้า มาทานเป็นยาบำรุงพละกำลังผู้ที่ต้องใช้กำลังแบกหามหรือทำงานหนักได้ (เหง้า)
3. ยาพื้นบ้านล้านนานำน้ำยางมาใช้ห้ามเลือด ใช้เป็นยาทารักษาแผลมีดบาด แผลถลอก โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วซับแผลให้แห้งด้วยสำลี แล้วใช้มือเด็ดก้านกลางใบ โดยให้เลือดใบที่ไม่แก่หรืออ่อนไป ถ้าน้ำยางเริ่มไหลออกให้ใช้นิ้วมือรองยางที่หยด ใช้ป้ายแผลวันละ 2-3 ครั้ง แผลจะเริ่มแห้งและตกสะเก็ดภายในเวลาประมาณ 1-2 วัน(น้ำยาง)[1],[2] เหง้าหนุมานจะมีสรรพคุณที่เป็นยาสมานแผล (เหง้า)[4]
4. เหง้าหนุมานจะมีสรรพคุณที่เป็นยาฟอกโลหิต (เหง้า)[4]
5. ในตำรับยาพื้นบ้านนำน้ำยางมาใช้เป็นยาทารักษาฝี (น้ำยาง)[1],[2]

พิษของต้นหนุมานนั่งแท่น

  • ยางกับเมล็ด จะมีสารพิษที่ออกฤทธิ์คล้าย curcin, toxalbumin พิษจาก resin alkaloid glycoside[5]
  • ถ้าน้ำยางโดนผิวหนังจะมีอาการบวมแดงแสบร้อน แพ้ระคายเคือง และถ้าทานเมล็ดจะทำให้มีอาการความดันโลหิตต่ำ การเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว กล้ามเนื้อชักกระตุก ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ ตาบอดชั่วคราว ถ้าได้รับปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดถาวร ห้ามนำเมล็ดหรือผลมาทานเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้[5]

การรักษาพิษ

  • ให้ใช้สบู่ล้างน้ำยางออกจากผิวหนัง อาจจะทายาสเตียรอยด์ แต่ถ้าหากทานให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกโดยการใช้ถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ล้างท้อง หรือรีบทำให้อาเจียนออกมา และรักษาตามอาการ[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หนุมาน นั่งแท่น (Hanuman Nang Thaen)”. หน้า 326.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนุมานนั่งแท่น”. หน้า 134.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หนุมานนั่งแท่น”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้เมืองไทย พืชสมุนไพร1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [15 ก.ค. 2014].
4. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านหนุมานนั่งแท่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [15 ก.ค. 2014].
5. พืชมีพิษต่อระบบทางเดินอาหารและโลหิต, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนุ มาน นั่ง แท่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/use/toxic_002.htm. [15 ก.ค. 2014].
6. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://efloraofindia.com
2. https://www.flora-toskana.com/

ต้นรัก สรรพคุณช่วยแก้บิดมูกเลือด

0
ต้นรัก สรรพคุณช่วยแก้บิดมูกเลือด เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทา ยางสีขาวข้น ดอกเป็นแบบซี่ร่ม สีขาว สีม่วง ผลเป็นฝักติดเป็นคู่มีนวลสีขาวเหนียวมือ ในฝักมีเมล็ดแบนสีน้ำตาล
ต้นรัก
เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทา ยางสีขาวข้น ดอกเป็นแบบซี่ร่ม สีขาว สีม่วง ผลเป็นฝักติดเป็นคู่มีนวลสีขาวเหนียวมือ ในฝักมีเมล็ดแบนสีน้ำตาล

รัก

ชื่อสามัญ Tembega, Giant Milkweed [3], Giant Indian Milkweed, Crown flower [1] เป็นพืชที่มาจากประเทศอินเดีย ชื่อสามัญจะเรียกตามลักษณะดอกที่คล้ายกับมงกุฎ หรือน้ำยางสีขาวคล้ายกับนม [2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) Dryand. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Calotropis gigantea (L.) R. Br. ex Schult.) อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1],[3] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รักร้อยมาลัย, รักดอกขาว (ภาคกลาง), รัก (ภาคกลาง), ปอเถื่อน (ภาคเหนือ), รักเขา (จังหวัดเพชรบูรณ์), (ภาคเหนือ), รักแดง, รักดอกม่วง (ภาคกลาง), รักซ้อน (จังหวัดเพชรบูรณ์), รักดอก (ภาคกลาง), รักขาว (เพชรบูรณ์), ป่านเถื่อน (ภาคเหนือ) [1],[2],[3]

ลักษณะของรัก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กหรือจะเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะอยู่ที่โคนต้น จะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกด้านข้างพอ เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีเทา สีน้ำตาลอ่อน จะแตกร่องตามแนวยาว ไม่มีเนื้อไม้ที่กิ่ง จะมีขนสีขาวปกขึ้นที่ตามกิ่งอ่อนยอดอ่อน มียางสีขาวข้นอยู่ทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด ทนต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในดินที่ไม่สมบูรณ์แห้งแล้ง มักพบขึ้นเองที่ตามธรรมชาติทั่วไป ที่ริมคลอง ริมถนน รกร้าง ตามหมู่บ้าน ริมทางรถไฟ ข้างถนน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ที่ประเทศอินเดียถึงประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศจีน คาบสมุทรมลายู ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และนิวกินี [1],[2],[5],[7],[9]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ที่โคนใบจะมนหรือจะเว้านิดหน่อย ส่วนที่ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 8-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ที่ท้องใบจะมีขนสีขาวขึ้น ส่วนที่หลังใบก็จะมีขนสีขาวขึ้นเช่นกัน เวลาที่กระทบแสงจะสะท้อนเป็นสีเหลืองนวล ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบขนาดสั้น[1],[2],[5]
  • ดอก เป็นดอกช่อแบบซี่ร่ม ออกดอกที่ตามซอกใบใกล้กับยอดหรือที่ออกดอกที่ตามปลายกิ่ง ช่อแต่ละช่อจะมีดอกย่อยอยู่เยอะ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร และก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีม่วงหรือสีขาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกมีผิวที่เกลี้ยง กลีบแต่กลีบจะเป็นรูปรีถึงรูปใบหอก ที่ปลายแหลมหรือจะบิด มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีหลอดกลีบดอกสั้น มีรยางค์เป็นรูปมงกุฎ มีขนาดที่สั้นกว่าเส้าเกสรเพศผู้ ที่ปลายจะมน และจะมีติ่งมนที่ด้านข้าง จะมีฐานเป็นเดือย อับเรณูจะมีเยื่อบางห่อหุ้มเอาไว้ มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ที่ปลายกลีบเลี้ยงดอกจะแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกดอกได้ทั้งปี และติดผลได้ทั้งปีเช่นกัน จะออกดอกเยอะช่วงฤดูร้อน [1],[2],[5]
  • ผล ผลเป็นฝักติดเป็นคู่ ฝักเป็นรูปรีโค้ง ที่ปลายของฝักจะแหลมและงอ กว้างประมาณ 2.58-4 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวของฝักจะเป็นคลื่น มีนวลสีขาวเหนียวมือ ฝักแก่จะมีเปือกเป็นสีน้ำตาลและจะแตกออก ถ้าเป็นฝักอ่อนจะมีเปลือกเป็นสีขาว มีเมล็ดแบนสีน้ำตาลอยู่ในฝัก เมล็ดมีความยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ที่ปลายเมล็ดจะมีขนสีขาวติดเป็นกระจุก มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร [1],[2],[4]

พิษของยาง

  • ใบกับยางจะมีสารพิษ Digitalis จะออกฤทธิ์เป็นพิษกับหัวใจและเลือด ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุปากกับกระเพาะอาหาร แล้วก็จะมีอาการท้องเดิน อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ ถ้าทานเยอะแล้วล้างท้องไม่ทัน ลำไส้จะดูดซึมสารพิษ แล้วก็จะแสดงความเป็นพิษกับหัวใจ จะเกิดขึ้นช้าเร็วขึ้นอยู่ที่ชนิดของไกลโคไซด์[3]
  • ยางเป็นอันตรายกับผิวหนังและดวงตา การเก็บดอกต้องแต่งกายรัดกุมมิดชิด สวมถุงมือยาง สวมแว่นตา ใส่ผ้าปิดปาก ใส่ผ้าปิดจมูก[6]

วิธีการแก้พิษ

ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อล้างท้อง และรักษาตามอาการ ถ้าจาก EKG พบว่ามี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride ประมาณ 5-10 g หรือ K+ ประมาณ80 mEq/L และถ้าหากเจ็บแขนก็อาจช่วยโดยวิธีนวดและประคบน้ำร้อน[3]

การเก็บรักษาดอก

  • ควรเก็บในถุงพลาสติกแช่ในน้ำแข็ง สามารถช่วยยืดอายุดอกได้ดีที่สุด เฉลี่ยประมาณ 11.3 วัน[6]
  • ให้เก็บที่อุณหภูมิต่ำ จะช่วยยืดอายุและช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของได้นานถึงประมาณ 7-10วัน (เฉลี่ย 7.6 วัน) ถ้าเก็บดอกไว้ในอุณหภูมิห้องปกติจะมีอายุการเก็บเฉลี่ย 2 วัน[6]

ประโยชน์รัก

  • สามารถเอาเนื้อไม้มาเผาเป็นถ่านใช้ผสมดินปืนได้[4]
  • ทางไสยศาสตร์นิยมใช้รากที่มีดอกซ้อนสีขาวมาแกะเป็นรูปนางกวัก รูปพระปิดตา หรือเป็นรูปเด็กขนาดเล็กที่รวมกับรูปเด็กที่แกะจากรากมะยม ที่เรียกว่า รักยม แล้วก็นำไปแช่ในขวดที่มีน้ำมันจันทน์ นับเป็นของขลังที่ชายไทยสมัยก่อนนิยมพกติดตัวเวลาที่ออกจากบ้าน [2]
  • ประเทศอินเดียใช้น้ำที่ได้จากผลเป็นส่วนผสมเครื่องดื่มที่เรียกกันว่า บาร์[5]
  • ดอกเป็นสินค้าที่คนไทยต้องการใช้ทั้งปี เนื่องจากใช้ร้อยพวงมาลัย[2]
  • สามารถใช้ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์ได้[7]
  • สามารถนำเส้นใยที่ได้จากลำต้นกับผลมายัดใส่หมอนได้[5]
  • มีรายงานว่าปุยจากเมล็ดใช้ทำเส้นด้ายสำหรับทอผ้า และสามารถใช้แทนนุ่นได้[7]
  • นำดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวแล้ว และนำใบมารองก้นขันใส่สินสอดกับขันใส่เงินทุนที่ให้คู่สมรส[2]
  • ชาวฮาวายถือว่ามาลัยดอกรักที่ใช้ทำสร้อยคอ (lei) คือ สัญลักษณ์ความเป็นกษัตริย์[8]

สรรพคุณรัก

1. ผล สามารถใช้แก้รังแคบนศีรษะได้ [2],[7]
2. สามารถช่วยแก้กลากเกลื้อนได้ (ยางสีขาวที่ได้จากต้น[1],[9], ดอก[2])
3. สามารถนำยางไม้ใส่แผลสดใช้เป็นยาฆ่าเชื้อได้ (ยางสีขาวที่ได้จากต้น)[5]
4. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงในลำไส้ได้ (ยางขาวจากต้น)[2],[10]
5. ยางสีขาวที่ได้จากต้นจะมีฤทธิ์ที่เป็นยาถ่ายแรง (ยางสีขาวที่ได้จากต้น)[1],[4],[9]
6. สามารถช่วยย่อยได้ (ดอก)[1],[9]
7. สามารถช่วยขับเหงื่อได้ (ราก[4], เปลือกราก[7])
8. สามารถช่วยแก้หอบหืด แก้ไอ และแก้อาการหวัดได้ (ดอก)[1],[8],[9]
9. ยางสีขาวที่ได้จากต้นเป็นยาแก้ปวดฟัน และแก้ปวดหู (ยางสีขาวที่ได้จากต้น)[1],[7],[9]
10. ดอก มีรสเฝื่อน สามารถช่วยทำให้เจริญอาหารได้ [1],[9]
11. สามารถใช้ใบสดเป็นยาพอกบรรเทาอาการโรคไขข้อได้ (ใบ)[5]
12. สามารถใช้ยางสีขาวที่ได้จากต้น แก้โรคเรื้อนได้ (ยางสีขาวที่ได้จากต้น)[4]
13. สามารถช่วยแกคุดทะราดได้ (ใบ)[2]
14. เปลือกต้น มีสรรพคุณที่สามารถช่วยขับน้ำเหลืองเสียได้ (เปลือกต้น)[1],[9]
15. ใบ มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ (ใบ)[2],[7]
16. สามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ ด้วยการนำยางสีขาวที่ได้จากต้นมาใช้ทาปลาช่อนแล้วย่างกับไฟให้เด็กทานเป็นยาเบื่อพยาธิไส้เดือน (ยางขาวจากต้น)[1],[2]
17. สามารถใช้เป็นยาแก้โรคบิดได้ (ราก[4], เปลือกราก[7],[9])
18. สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือดได้ (ราก)[7]
19. เปลือกรากจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยขับเสมหะได้ (เปลือกราก)[8],[9]
20. สามารถช่วยทำให้อาเจียนได้ (เปลือกต้น[1],[7],[9], ราก[4], เปลือกราก[7],[9])
21. สามารถใช้รากเป็นยาแก้ไข้ได้ (ราก)[7]
22. สามารถแก้ไข้เหนือได้ (ราก)[10]
23. ต้น รสเฝื่อนขม มีสรรพคุณที่สามารถช่วยบำรุงทวารทั้งห้าได้ [10]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รัก (Rug)”. หน้า 258.
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 272 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “รัก ชื่อนั้นสำคัญยิ่งนัก”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [28 พ.ค. 2014].
3. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [28 พ.ค. 2014].
4. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “รัก”.
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รักดอก”. อ้างอิงใน: Nordic Journal of Botany, Volume 11, No.3, Page 306-307. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [28 พ.ค. 2014].
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (กาญจนา เหลืองสุวาลัย, ศิริชัน อริยานนท์ภิญโญ, นิพนธ์ ทรัพย์ทิพย์). “การยืดอายุการเก็บรักษาดอกรัก”.
7. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (สุภาภรณ์ เยื้อนหนูวงค์). “ต้นรัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [28 พ.ค. 2014].
8. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “รัก (ไม้พุ่ม)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org. [28 พ.ค. 2014].
9. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “รัก”. หน้า 673-674.
10. หนังสือเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “รัก”.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://floridaseeds.net/
2. https://commons.wikimedia.org/
3. https://www.quintadosouriques.com/
4. https://medthai.com

ต้นสบู่เลือด ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย

0
สบู่เลือด
ต้นสบู่เลือด ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย ไม้พุ่ม ใบคล้ายใบบัว ดอกเป็นช่อแบบกระจุกเล็กเรียวสีเหลือง ผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่กลับ
สบู่เลือด
ไม้พุ่ม ใบคล้ายใบบัว ดอกเป็นช่อแบบกระจุกเล็กเรียวสีเหลือง ผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่กลับ

สบู่เลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Stephania pierrei Diels จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ชื่ออื่น ๆ พุ่งเหมาด้อย (ชาวเมี่ยน), โกฐหัวบัว (ในภาคกลาง), เปล้าเลือดเครือ (ในภาคเหนือ), บัวบก (จังหวัดนครราชสีมา และกาญจนบุรี), บัวกือ (จังหวัดเพชรบุรี และเชียงใหม่), บัวเครือ (จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นสบู่เลือด

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก
    – ลำต้นจะแทงขึ้นโผล่ออกมาจากหัวขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดิน หัวมีลักษณะที่กลมแป้น เปลือกหัวภายนอกมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อภายในหัวมีสีขาวนวล
    – ลำต้นโค้งงอลงสู่พื้นดิน ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้กึ่งเลื้อย โดยสามารถเลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดินได้ถึง 3-5 เมตร[1]
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างคล้ายใบบัวแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า บางใบที่ปลายใบจะมีติ่งหนาม เส้นใบเป็นรูปฝ่ามือ โดยจะแผ่ออกเป็นร่างแหสามารถเห็นได้ทั้งสองด้าน ผิวใบบางไม่หนามากแต่เนื้อแข็ง และใบมีก้านใบติดอยู่ที่บริเวณกลางแผ่น
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ใบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก
    – ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศ มีดอกเพศผู้เป็นรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน เนื้อกลีบมีผิวนุ่มและมีสีเหลือง ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันอยู่ที่บริเวณเหนือก้านดอก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
    – ดอกเป็นช่อแบบกระจุก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร โดยดอกจะออกที่บริเวณง่ามใบหรือซอกใบ ก้านช่อดอกมีลักษณะเล็กเรียว มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-8 มิลลิเมตร [1],[3]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ภายนอกจะมีตุ่มประมาณ 16-19 ตุ่มเรียงกันเป็นแถว 4 แถวอยู่ด้านบน และภายในผลจะมีรูเล็ก ๆ ตรงกลางผนัง[1],[3]

สรรพคุณของต้นสบู่เลือด

  • ต้นมีสรรพคุณในการช่วยขับลมแน่นในอกได้ และช่วยกระจายลม (ต้น)[1],[3]
  • หัวนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (หัว)[4]
  • หัวมีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี และอาการมุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด โดยให้นำ
  • หัวมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 3 ชิ้น จากนั้นนำมาตำโขลกกับสุราหรือน้ำซาวข้าวให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มในปริมาณประมาณ 1 ถ้วยชา ให้ดื่ม 3 เวลา เช้า เย็น และก่อนนอน อาการจะดีขึ้น (หัว)[1]
  • หัวมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและทำให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น (หัว)[3]
  • หัวนำมาใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (หัว)[3]
  • ใบนำมาใส่บาดแผลสดหรือเรื้อรังจะช่วยบรรเทาอาการได้ (ใบ)[1]
  • ใบนำมารับประทานบำรุงธาตุไฟ (ใบ)[1]
  • ดอกนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคเรื้อน และยาฆ่าเชื้อ (ดอก)[1],[3]
  • ดอกช่วยทำให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายยิ่งขึ้น (ดอก)[1]
  • เถามีสรรพคุณในการช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (เถา)[1]
  • เถามีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิในลำไส้ (เถา)[1]
  • เหง้ามีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย (เหง้า)[5]
  • นำเครือต้นสบู่เลือด, ว่านมหากาฬ และไก่ มาต้มรวมกันเป็นยาบำรุงเลือด (เครือ)[3]
  • รากนำมารับประทานบำรุงเส้นประสาท (ราก)[1]
  • หัวกับก้านนำมารับประทานร่วมกับสุรา จะทำให้เกิดอาการชาที่ผิวหนัง โดนตีโดนเฆี่ยนก็ไม่เจ็บ แต่เมื่อยาหมด
  • ฤทธิ์ อาการเจ็บต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง (นักเลงสมัยก่อนนิยมใช้กัน) (หัว, ก้าน)[1],[4]
  • หัวและก้านมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงกำหนัด และเพิ่มพละกำลัง (หัว, ก้าน)[1]
  • รากหรือหัวนำมาตำใช้สำหรับพอกบริเวณศีรษะ จะช่วยรักษาอาการปวดศีรษะได้ (ราก, หัว)[4]
  • หัวและก้านมีสรรพคุณในการช่วยแก้เสมหะเบื้องบน (หัว, ก้าน)[1]
  • รากหรือหัวมีสรรพคุณในการช่วยแก้หืด (ราก, หัว)[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [10 พ.ย. 2013].
2. หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม สมิตินันทน์).
3. หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้. (ก่องการดา ชยามฤต).
4. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [10 พ.ย. 2013].
5. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sci.psu.ac.th. [10 พ.ย. 2013].
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.soilboy.sg/

ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง

0
รักใหญ่
ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกสีขาวเริ่มบานจะเป็นสีชมพูและสีแดงสด ผลค่อนข้างกลมโคนก้านผลจะเป็นสีแดง
รักใหญ่
ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกสีขาวเริ่มบานจะเป็นสีชมพูและสีแดงสด ผลค่อนข้างกลมโคนก้านผลจะเป็นสีแดง

รักใหญ่

รักใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในจีน ลาว บังกลาเทศ ไทย กัมพูชา อินเดีย พม่า [4] สามารถพบขึ้นกระจายพันธุ์ได้ทั่วไปที่ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าผลัดเบญจพรรณ ทุ่งหญ้าโล่ง ป่าผลัดใบ เขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร[1],[2] สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ที่จังหวัดกำแพงเพชร อุทัยธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ [3] ชื่อสามัญ Black lacquer tree, Burmese lacquer tree, Thai vanish wood, Burmese vanish wood[4], Vanish tree, Red zebra wood[1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Gluta usitata (Wall.) Ding Hou (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Melanorrhoea usitata Wall.) อยู่วงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รักหลวง, สู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), รัก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี, ภาคกลาง), น้ำเกลี้ยง (จังหวัดสุรินทร์), รักเทศ (เชียงใหม่), ฮัก, ซู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มะเรียะ (เชียงใหม่), ฮักหลวง (ภาคเหนือ)[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของรักใหญ่

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดมีลักษณะเป็นพุ่มค่อนข้างกลม มีเปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกต้นจะแตกเป็นร่องตามแนวยาว เปลือกชั้นในจะมีลักษณะเป็นสีชมพูอ่อน มีขนสีขาวขึ้นที่กิ่งอ่อนกับยอด กิ่งแก่จะเกลี้ยงหรือมีขนสั้น ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
  • ใบ มักมีแมลงมาวางไข่ตามใบ ทำให้เป็นตุ่มกลมที่ตามแผ่นใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่มตอนที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรี รูปไข่กลับ ที่โคนใบจะมนหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนที่ปลายใบจะแหลมหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนาคล้ายแผ่นหนัง มีใบแก่สีเขียวเข้ม จะมีไขขึ้นปกคลุม มีขนสีน้ำตาลขึ้นที่ตามผิวใบทั้งสองด้าน ใบอ่อนจะมีขนขึ้นหนาแน่น ท้องใบจะมีขนขึ้นหนาแน่นจะหลุดเมื่อใบแก่เต็มที่ หลังใบจะมีขนน้ำตาลประปราย มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 15-25 เส้น จะนูนชัดทางด้านบน เป็นร่างแหชัดที่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร [2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกดอกที่ตามปลายกิ่ง ตามซอกใบและที่ใกล้ปลายกิ่ง มักจะทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเริ่มบานจากดอกสีขาวเป็นสีชมพูและสีแดงสด ออกดอกเป็นแบบกลุ่มช่อหนาแน่นที่ตามซอกใบช่วงด้านบน ช่อดอกยาวได้ประมาณ 35 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร จะมีขนสั้นนุ่มเป็นสีน้ำตาลขึ้น มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ดอกตูมเป็นรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5 มิลลิเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร จะมีขนประปราย มีขนขึ้นเป็นกระจุกที่ปลาย กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวจะมีแถบสีเหลืองแกมกับสีเขียวตรงกลาง มีกลีบดอกอยู่ 5-6 กลีบ จะแผ่กว้าง ที่ปลายกลีบจะแคบและแหลม ส่วนที่หลังกลีบจะมีขนขึ้น มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 5 กลีบ เชื่อมกัน ที่ปลายจะแยกเป็น 5 แฉก ดอกที่แก่จะมีกลีบเลี้ยงคล้ายหมวก กว้างประมาณ 0.7-1.8 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 3-7.5 มิลลิเมตร เป็นสีแดง มีกลีบจำนวน 5 กลีบ ที่ผิวด้านในจะมีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบจะแหลมหรือมน จะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น กลีบดอกจะขยายขึ้นแจะจะเป็นปีกเมื่อติดผล จานฐานดอกจะเกลี้ยง มีจำนวนเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 30 อัน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร รังไข่กลม มีก้านเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน จะติดอยู่ที่ด้านข้างรังไข่[2]
  • ผล ค่อนข้างกลม ผนังผลชั้นในจะแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 เซนติเมตร กลีบดอกที่ขยายเป็นปีกตรงโคนก้านผลจะเป็นสีแดง มีปีกอยู่ 5 ปีก มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ที่ตรงระหว่างโคนปีกกับผลมีก้านเชื่อมกัน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปีกมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เห็นเส้นปีกชัด[2]

พิษของต้นรักใหญ่

  • ขนที่ได้จากใบแก่จะเป็นพิษกับผิวหนัง ถ้าขนโดนผิวหนังจะทำให้คัน และอาจจะทำให้คันนานนับเดือน อาจทำให้ผิวหนังบวม ชาวบ้านจะแก้ด้วยการในเปลือกกับใบสักมาต้มกับน้ำใช้อาบ[2]
  • น้ำยางสดจะมีสารพิษ Phenol อยู่ โดยจะออกฤทธิ์ระคายเคืองกับผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังอักเสบ มีอาการคัน เกิดอาการบวมแดง พองเป็นตุ่มน้ำใส อาจลุกลามรุนแรงเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการรีบล้างออกด้วยสบู่กันน้ำสะอาด ทาด้วยครีมสเตียรอยด์วันละ 1-2 ครั้ง อย่างเช่น ครีมtriamcinolone acetonide 0.025%-0.1% หรือครีม prednisolone 5% ผู้ที่แพ้ปานกลางหรือรุนแรง จำเป็นต้องทานเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารมื้อเช้า หรือทั้งหลังอาหารเช้าและเย็น อาการจะดีขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมง และผู้ที่แพ้รุนแรง อาจต้องทานเพรดนิโซโลน (Prednisolone) นาน 2 สัปดาห์ โดยลดขนาดลงทุกวันจนกระทั่งหยุดใช้ยา[2],[5]

ประโยชน์รักใหญ่

  • มีเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้ม จะมีริ้วสีแก่แทรก มีลักษณะมันเลื่อม เสี้ยนสน เนื้อไม้ค่อนข้างที่จะเหนียวละเอียด แข็งแรงทนทาน ไสกบตบแต่งได้ยาก ชักเงาได้ ใช้ทำบัวประกบฝาเครื่องเรือน รางปืน ไม้อัด เครื่องมือทางการเกษตร เฟอร์นิเจอร์ รางรถไฟ กระสวย เสา เครื่องกลึง คาน [3]
  • สามารถใช้น้ำยางทำน้ำมันเคลือบเงาได้ เมื่อน้ำยางใสโดนอากาศจะเป็นสีดำ เป็นมัน การใช้ยางรักที่ทางภาคเหนือรู้กันมานานแล้ว ด้วยการใช้เป็นวัสดุสำคัญในงานศิลปกรรมเพื่อผลิตเครื่องรัก การลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า ลงรัก) เป็นงานประณีตศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย อย่างเช่น ใช้ทากระดาษกันน้ำซึม งานประดับมุก ทาไม้รองพื้นสำหรับปิดทอง งานเขียนลายรดน้ำ ทาไม้เครื่องเขินเพื่อการลงลวดลาย[2],[3]
  • สามารถใช้ยางไม้ทำงานฝีมือ ที่เรียกกันว่า เครื่องเขินและทาผ้า เครื่องจักสานกันน้ำซึมได้[3]

สรรพคุณรักใหญ่

1. สามารถช่วยแก้ปวดข้อเรื้อรังได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
2. สามารถนำเปลือกต้นหรือใบ มาผสมรากสะแอะหรือรากหนวดหม่อน, ทั้งต้นของสังวาลย์พระอินทร์, เปลือกต้นหรือใบแจง, แก่นฝาง, เปลือกต้นกันแสง เอามาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย มีแผลเปื่อยที่ตามตัวผู้ป่วยเอดส์ (เปลือกต้น, ใบ)[2]
3. สามารถใช้เปลือกรากรักษาโรคผิวหนังได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4
4. สามารถนำแก่นมาต้มกับน้ำใช้อาบรักษาโรคผิวหนัง และผื่นคันได้ (แก่น)[2]
5. สามารถยางใช้ผสมยางสลัดไดเป็นยารักษาโรคผิวหนัง ขี้กลาก กัดเนื้อสดได้ (ยาง)[1],[2]
6. สามารถใช้ใบกับราก เป็นยาพอกแผลได้ (ใบ, ราก)[4]
7. เปลือกต้นจะมีรสเมา สามารถนำไปต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้กามโรคได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
8. สามารถช่วยแก้อาการปวดไส้เลื่อน และช่วยแก้ไส้เลื่อนในกระเพาะปัสสาวะได้ (เมล็ด)[2],[3]
9. สามารถช่วยแก้โรคท้องมานได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4]
10. สามารถช่วยการย่อยอาหารได้ (เมล็ด)[1],[2]
11. ในตำรับยาพื้นบ้านอีสานนำลำต้นหรือราก ผสมลำต้นหรือรากมะค่าโมง เอามาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ลำต้น, ราก)[2]
12. เปลือกรากจะมีรสเบื่อเมา สามารถช่วยแก้โรคไอได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4]
13. สามารถช่วยแก้โรคในฟันได้ (เมล็ด)[1]
14. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้ปากคอเปื่อยได้ (เมล็ด)[1],[2]
15. มีการใช้เปลือกต้นเข้ายาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
16. ใบ สามารถช่วยแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)[3]
17. สามารถช่วยแก้อักเสบได้ (เมล็ด)[2]
18. สามารถใช้เปลือกต้นเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
19. ยางนำมาทำเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้(ยาง)[1],[2]
20. สามารถช่วยแก้คุดทะราดได้ (เมล็ด)[1],[2]
21. สามารถใช้ยางทำเป็นยารักษาโรคตับได้ (ยาง)[1],[2]
22. เปลือกรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้โรคตับได้ (เปลือกราก)[2]
23. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงได้ (เมล็ด)[1],[2]
24. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงทวารได้ (ยาง)[2]
25. สามารถใช้ยางทำเป็นยาแก้พยาธิได้ (ยาง)[1],[2]
26. เปลือกรากสามารถใช้แก้พยาธิในลำไส้ได้ (เปลือกราก)[2],[4] บ้างก็ว่ารากเป็นยาขับพยาธิ สามารถใช้รากเป็นยาพอกแก้พยาธิในลำไส้ได้ (ราก)[3]
27. น้ำยางของต้น มีรสขมเอียน จะมีฤทธิ์ที่เป็นยาถ่ายแบบแรง (ยาง)[1],[2]
28. สามารถนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้บิดได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
29. เปลือกของต้นจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยขับเหงื่อ และทำให้อาเจียนได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
30. สามารถช่วยแก้ไข้เรื้อรังได้ (ต้น)[3]
31. เมล็ดกับยาง มีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้ปวดฟันได้ และสามารถนำยางมาผสมน้ำผึ้ง ใช้เป็นยารักษาโรคที่ปาก เอาสำลีมาชุบอุดฟันที่เป็นรูจะสามารถช่วยแก้ปวดได้ (ยาง,เมล็ด)[1],[2]
32. สามารถช่วยแก้มะเร็งได้ (ยาง)[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รักใหญ่ (Rug Yai)”. หน้า 260.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “รักใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [27 พ.ค. 2014].
3. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “รักใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [28 พ.ค. 2014].
4. สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง). “ความหลากชนิดของพรรณไม้ให้ยางรัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: oamc.ku.ac.th/knowledge/02-june/01.pdf. [28 พ.ค. 2014].
5. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รักหลวง” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [28 พ.ค. 2014].
6. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/