ปากนกกระจอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
69554
โรคปากนกกระจอก ควรรักษาอย่างไรบ้าง
ปากนกกระจอก ( Angular Cheilitis ) เป็น ภาวะผิวหนังริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
โรคปากนกกระจอก ควรรักษาอย่างไรบ้าง
ปากเกิดแผล เป็น ภาวะที่ผิวหนังริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก ( Angular Cheilitis ) คือ ภาวะผิวหนังริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยส่วนใหญ่อาการผิดปกติของโรคจะปรากฏเป็นรอยแดง ปากแห้ง รู้สึกแสบร้อน ปากเปื่อย เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวและเจ็บที่มุมปากขณะอ้าปากหรือรับประทานอาหาร แต่จะหายไปเองภายใน 7 – 10 วัน

อาการของโรค

  • รู้สึกเจ็บปวดแสบร้อนที่มุมปาก
  • มีลักษณะผิวหนังที่มุมปากลอก ปากเป็นขุยและคัน
  • เกิดผื่นแดง รอยแยกที่มุมปาก
  • มีเลือดออก
  • ริมฝีปากแห้งแตก (ขาดความชุ่มชื้น)
  • รู้สึกตึงบริเวณมุมปากขณะอ้าปาก
  • แผลพุพองมุมปาก

สาเหตุและปัจจัยการเกิดโรค

สาเหตุของโรคเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเด็กและผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน อาจทำให้ริมฝีปากบนยื่นออกมาเหนือริมฝีปากล่างและทำให้มุมปากลึกขึ้นซึ่งส่งผลให้มีน้ำลายอยู่ตลอดเวลาและส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจมีเชื้อราในช่องปากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดได้ง่ายขึ้นมีสาเหตุหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

  • มีน้ำลายออกมามากเกินไปที่มุมปาก
  • การสะสมของคราบน้ำลายที่มุมปาก
  • การเลียริมฝีปากบ่อย ๆ
  • ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นเป็นเวลานาน
  • การติดเชื้อรา
  • การขาดวิตามินบี
  • การขาดธาตุเหล็กและสังกะสี
  • ผู้ที่แพ้ลิปสติก จนริมฝีปากแห้งมีรอยแดง
  • โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome )
  • ฟันปลอมหลวม
  • สภาพผิวแห้งแพ้ง่าย
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและสุขภาพไม่ดี เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
  • แพ้ยาสีฟันทำให้มุมปากลอก
  • การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาหลายปี
  • มือสัมผัสกับสารเคมีแล้วจับโดนปาก

วิธีการรักษา

  • ใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น ไมโคนาโซล ไนสแตนดิน โคลไตรมาโซล คีโตโคนาโซล
  • ใช้ยาต้านแบคทีเรีย เช่น มิวพิโรซิน กรดฟูซิดิก
  • ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ช่วยบรรเทา เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดทา น้ำยาฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์บำรุงความชุ่มชื้นให้ปาก
  • อาหารเสริม เช่น ขาดธาตุเหล็ก หรือขาดวิตามินบี 2

วิธีการป้องกันอย่างไร

  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีในปริมาณที่มากกว่าปกติ เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • ทายาฆ่าเชื้อที่ปาก
  • ทาลิปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ปาก
  • ควรดื่มน้ำให้มากๆ สามารถป้องกันปากแห้งได้
  • ห้ามเลียริมฝีปาก
  • งดสูบบุหรี่
  • ไม่ควรใส่ฟันปลอมที่หลวม หรือคับเกินไป
  • ควรสังเหตุอาการแพ้สารเคมีบางอย่าง เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
  • หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และทำการรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตามการป้องกันปากนกกระจอกสามารถทำได้ด้วยตนเอง แค่กินอาหารประเภทธาตุเหล็ก วิตามินบี สามารถลดสาเหตุการเกิดโรคได้โดยไม่ต้องรักษาทางการแพทย์ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ริมฝีปากด้วยการดื่มน้ำและทาลิปสติกเพื่อบำรุงผิวปากเพียงเท่านี้คุณก็มีริมฝีปากที่สวยงาม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม