ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

0
9945
การป้องกันผลกระทบจากยาเคมีบำบัดที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสี
การรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลดีสูงสุด
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
เคมีบำบัด หรือ คีโมคือ การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพื่อรักษาให้หาย ควบคุมก้อนมะเร็ง และบรรเทาการแพร่กระจาย

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการทำลายเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันนี้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี ( Concurrent Chemoradiotherapy ) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายาเคมีบำบัดจะเข้าไปช่วยลดจำนวนและทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการกระจายตัวอย่างจำเพาะ มีผลข้างเคียงยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่มีการฉายรังสีและบริเวณที่ไม่มีการฉายรังสี ดังนั้นการเลือกเอายาเคมีบำบัดมาใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสีนั้น ต้องมีการเลือกขนาดของยากับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่เหมาะสมกันด้วย เพื่อการรักษาด้วย 2 วิธีนี้จะได้มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยอีกด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การให้ยาเคมีบำบัดมี

  1. การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษา ( Concurrent Therapy )

2. การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการฉายรังสีในการรักษา ( Induction Chemotherapy )

3. การให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลังจากการฉายรังสีในการรักษา ( Adjuvant Therapy )

ดังนั้นการเลือกยาเคมีบำบัดที่จะนำมาใช้ร่วมกับการฉายรังสีย่อมมีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักกับยาเคมีบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกัน

ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและผลข้างเคียง

1. Antimetabolites

ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีการใช้รักษามายาวนานแล้ว โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism หรือและทำตัวคล้ายกับเป็น Nucleoside Analogs ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการฉายรังสี คือ

1.1 5-FU

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines เป็นยาที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนานร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งและยังมีการใช้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ตัวอย่างมะเร็งที่รักษาด้วยยาชนิดนี้พร้อมกับการฉายรังสี คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งศรีษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ซึ่งยาชนิดนี้มีกลไกในการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism ด้วยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Thymidilate Synthetase ที่เป็นเอนไซม์ตัวสำคัญในการสร้างและสบาย DNA พร้อมทั้งเข้าไปจับกับสายของ RNA และ DNA ให้เกิดความเสียหายหรือความผิดปกติจนเซลล์ของมะเร็งไม่สามารถมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้

การให้ยา 5-FU ในการรักษาต้องให้ด้วยวิธีการฉายเข้าเส้นเลือด เนื่องจากยา 5-FU สามารถถูกทำลายได้สูงด้วยเอนไซม์ Dihydro Pyrimidne Dehydrogenase ( DPD ) ซึ่งจะพบมาในบริเวณผนังของลำไส้ เมื่อให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายแล้วมีการหลงเหลืออยู่ในร่างกาย ยา 5-FU ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ยาส่วนที่หลงเหลืออยู่นั้นจะถูกกำจัดโดยเอนไซม์ DPD ออกไปจนหมด สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อได้รับยา 5-FU ก็จะมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นี้แม้ว่าผู้ที่ขาดภาวะเอนไซม์นี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม แต่ทว่าในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยยาชนิดนี้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ DPD บางรายก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้เช่นกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

และจากการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา 5-FU มี ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU โดยการให้ยาเพื่อเสริมประสิทธิภาพพบว่ายา Leucovorin เป็นตัวยาชนิดที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของยา 5-FU ได้ดีที่สุด และพบว่าการให้ยา 5-FU แบบต่อเนื่อง (Continuous Venous Infusion) นั้นส่งผลให้ยานี้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากกว่าการให้ยาแบบระยะสั้น ๆ (Short Bolus) ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU จะทำให้ผลความเสียหายที่เกิดจากวิธีการให้ยานี้ก็มีความต่างกันตามไปด้วย แต่เมื่อนำการรักษาด้วยยา 5-FU ร่วมกับการฉายแสงก็พบว่าการให้ยาแบบต่อเนื่องก็ยังส่งผลต่อการรักษาได้ดีกว่าการให้ยาแบบสั้น ๆ ด้วยเช่นกัน

ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU

ผลข้างเคียงที่พบได้จากการให้ยา 5-FU ในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ท้องเสีย อ้วก Diarrhea และการกดไขกระดูกซึ่งเป็น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นอกจากนั้นยังมีการพบอาการเกี่ยวกับระบบประสาทแบบเฉียบพลันอีกด้วย เช่น การนอนไม่หลับ เป็นต้น แต่ทว่าผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU กับการให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งมีวิธีการที่ยุ่งยากมากจึงไม่เป็นที่นำนิยมนำมาใช้ในประเทศ ถึงอย่างไรก็ตามด้วยข้อดีของยาชนิดนี้มีอยู่มากจึงได้มีการพัฒนาและค้นพบยา Capecitabine ที่ออกฤทธ์ใกล้เคียงกับยา 5-FU แต่ใช้งานได้สะดวกกว่าการให้ยา 5-FU มาก

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี (Concurrent Chemoradiotherapy) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด

1.2 Capecitabine

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines Carbamate คือ ยาที่มีการพัฒนามาจาก 5-FU ให้อยู่ในรูปที่สามารถรับประทานเข้าไปแล้วไม่โดนทำลายโดย DPD การทำงานของยา Capecitabine คือ เมื่อกินยา Capecitabine เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะทำการดูดซึมได้อย่างง่ายและรวดเร็วที่บริเวณผนังของลำไส้ซึ่งมี Oral Bioavailability สูงมากถึง 80 % เลยทีเดียว เมื่อตัวยาได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตัวยาจะยังไม่ออกฤทธิ์ในทันที แต่ตัวยานี้จะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยเอนไซม์ในร่างกายถึง 3 ขั้นตอนกว่าที่ยาจะสามารถออกฤทธิ์ได้ โดยขั้นตอนสุดท้ายก่อนการออกฤทธิ์จะเกิดขึ้นที่บริเวณภายในเซลล์ของมะเร็งที่ทำการเปลี่ยน 5-Deoxy-5-Fluorouridine จนกลายเป็น 5-FU ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นโดยเอนไซม์ THymidine Phoshorylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเซลล์ของมะเร็งมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ ยา Capecitabine และ Metabolites ที่เกิดขึ้นในร่างกายจะถูกขจัดออกจากการทำงานของไต ซึ่งต่างจากยา 5-FU ที่สามารถขจัดออกโดยการย่อยสลายของเอนไซม์ DPD ดังนั้นการใช้ยา  Capecitabine ในการรักษาต้องคอยตรวจสอบการทำงานของไตให้อยู่ในสภาวะปกติด้วย เพื่อป้องกันการตกค้างของยาในร่างกาย

ส่วนผลข้างเคียงของยา Capecitabine ที่เกิดขึ้น และพบได้บ่อยในการรักษาเคมีบำบัดด้วยยาชนิดนี้ คือ Diarrhea Hand –Foot Syndrome ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยา 5-FU แต่ว่าความรุนแรงน้อยกว่า

[adinserter name=”มะเร็ง”]

1.3 Gemcitabine

ยา Gemcitabine ( 2’,2’-difluorodexycytodine ) เป็นยาชนิด Difluorinated Deoxycytidine Analogue ที่สามารถออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้งเซลล์มะเร็งในช่วง S Phase ที่วัฏจักรของเซลล์ และยังมีฤทธิ์เข้าไปช่วยเสริมการทำงานของรังสีอีกด้วย ยา Gemcitabine จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้น การใช้ยา Gemcitabine แม้ว่าจะใช้เพียงตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยารักษามะเร็งชนิดอื่นผลของการรักษาจากยาชนิดนี้ก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน

ยา Gemcitabine ในการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งจะใช้วิธีการหยดซึ่งการให้ยานี้ในแต่ละครั้งต้องให้ยาตั้งแต่เริ่มจนยาเข้าสู่ร่างกายหมดภายใน 30 นาทีห้ามเกินอย่างเด็ดขาด เพราะพบว่าถ้าใช้เวลาในการให้ยาเกิน 30 นาทีขึ้นไป ผลกระทบแบบโดยเฉพาะการกดไขกระดูกที่พบว่ามีโอกาสที่จะเกิดสูงกว่าการให้ยาภายใน 30 นาทีอยู่สูงมากทีเดียว เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมตัวยาและใช้ได้ทันที ตัวยาต้องผ่านขั้นตอนในร่างกายอยู่หลายขั้นตอนเสียก่อน ซึ่งกลไกที่ว่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบลำเลียงของนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotide Transporter System ) ที่จะนำตัวยาที่ยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ จนตัวยา Gemcitabine กลายเป็น Gemcitabine Triphosphate ที่สามารถออกฤทธิ์กลับได้ โดย Gemcitabine Triphosphate จะกลับเข้าไปรวมตัวกับ DNA ของเซลล์มะเร็ง ทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเกิดความเสียหายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

ผลค้างเคียงของการใช้ยา Gemcitabine ในการรักษามะเร็งที่พบได้มาก คือ การกดไขกระดูกซึ่งส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดจำนวนลดต่ำลงมากกว่าการพบปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ การเป็นไข้ เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับเวลาในการให้ยาที่นานเกิน 30 นาทีนั่นเอง แต่ข้อมูลการใช้ยา Gemcitabine ที่เป็นกรณีศึกษายังมีข้อมูลที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับยากลุ่ม .Antimetabolites ในการรักษาร่วมการฉายรังสี

2. Platinum Analogs Cisplatin คือ อะไร?

Cisplatin คือ ต้นแบบของยาที่อยู่ในกลุ่ม Platinum Analogs ที่ใช้กันอยุ่ในปัจจุบันนี้คือ Cisplatin, Carboplatin และ Oxaliplatin ซึ่งยาต้นแบบของยาในกลุ่มนี้คือ ยา Cisplatin ( Cisdiamminedichorplatineum [II] ) ที่นิยมใช้รักษาพร้อมกับการฉายรังสี กลไกการออกฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งของยาชนิดนี้พบว่ายาจะเข้าไปยับยั้งการสร้าง DNA ของเซลล์มะเร็งเป็นหลักเมื่อใช้ยานี้ในการรักษาเพียงอย่างเดียว แต่ว่าเมื่อใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสีแล้ว กลไกการออกฤทธิ์จะเกิดโดยยาจะเข้าไปในสาย DNA ของเซลล์มะเร็งและทำการให้เกิดการแตกตักของสาย DNA ที่เป็นสายเดี่ยว ( Single Strand Break ) พร้อมทั้งทำการเปลี่ยนเป็น Double Strand Break ของสาย DNA ซึ่งสาย DNA ที่เป็นแบบนี้จะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และ Cisplatin ยังทำหน้าที่คล้ายกับ Free Electron Scavenger ที่สามารถเข้าไปรบกวนการซ่อมแซมสาย DNA ของเซลล์มะเร็งที่เกิดความเสียหายจากผลของการฉายรังสีจึงช่วยให้เซลล์ถูกทำลายได้มากขึ้นและมีโอกาสที่จะฟื้นฟูตัวเองได้น้อยลง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ยา Cisplatin เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ในการกำจัดมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งที่บริเวณศีรษะ มะเร็งคอ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้งจะทำการคำนวนได้ด้วยคิดเป็น มิลลิกรัมต่อพื้นผิวของร่างกายที่มีหน่วยเป็นตารางเมตร และวิธีการให้ยา Cisplatin จะให้โดยการผสมในน้ำเกลือ 250 ml และหยดเข้าสู่ร่างกาย โดยการให้ยาแต่ละครั้งควรให้อย่างช้า ๆ ซึ่งการให้แต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง นอกจากนั้นก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ผู้ป่วยควรได้รับน้ำเพื่อช่วยในการขับปัสสาวะเป็นอย่างปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสะสมของยา Cisplatin ในร่างกายสูงเกินไป

ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา Cisplatin ที่พบได้มากที่สุด คือ การทำงานของไตเสื่อมพร้อมกับการสูญเสียเกลือแร่ที่มีอยู่ในร่างกายไปพร้อมกับการขับปัสสาวะออกมา คลื่นไส้ อาเจียน การได้ยินน้อยลง อาการประสาทส่วนปลายเสื่อม การกดไขกระดูกซึ่งการกดไขกระดูกที่พบจากการใช้ยานี้จะส่งผลให้ปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ และยังพบอาการ Hypersensitivy Reaction ที่เกิดจากการได้รับยาด้วย ดังนั้นการให้น้ำกับผู้ป่วยก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมากเมื่อมีการใช้ยา Cisplatin ในการรักษาร่วมไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวหรือรักษาร่วมกับการฉายรังสีก็ตาม เพื่อป้องกันความเสื่อมของไต

ยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษามะเร็ง นั่นคือ ยา Oxaliplatin แต่ยาชนิดนี้ไม่นิยมใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสี

ยา Carboplatin หรือยา Cis-Diammine ( Cyclobutane Dicarboxylato )-platinum ( II ) ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์คล้ายกับยา Cisplatin แต่ทว่าผลข้างเคียงต่อไตและการทำให้เกิดการอาเจียนคลื่นไส้มีเกิดขึ้นน้อยกว่ามาก แต่ก็ใช่ว่ายา Carboplatin จะดีกว่าเสียทั้งหมด เพราะว่ายา Carboplatin ส่งผลให้เกิดการกดไขกระดูกมากกว่ายา Carboplatin ด้วย ปริมาณที่ใช้ในการรักษาสามารถคำนวนได้จาก Area Under Curve ( AUC ) ซึ่งจะช่วยในการทำนายการกดไขกระดูกที่จะเกิดขึ้นได้แม่นยำกว่าการคำนวนยาเป็นมิลลิกรัมในการใช้ต่อพื้นผิวของร่างกายในหน่วยที่เป็นเมตร

ขนาดยาตาม Calvert Formula

= AUC ที่กำหนดไว้ x (Creatinine Clearance +25)

3. Mitomycin C

ยา Mitomycin C เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวานะที่สมารถออกฤทธิ์ในการรักษาโรคมะเร็งได้คล้ายกับยาที่อยู่ในกลุ่ม Alkylating Agent กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะเข้าไปยับยั้งการสร้างสาย DNA ของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้เกิด Cee Cycle ที่อยู่ในช่วง G2 / M-phase Transition และยังพบว่ายายา Mitomycin C ยังเป็น Hypoxic Cell Radiosensitizer ที่ดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้ยา ยา Mitomycin C ร่วมกับยา Fluorouracil ไปพร้อมกับการรักษาด้วยการฉายรังสีในการรักษามะเร็งทวารหนักอีกด้วย การใช้ยาสามารถให้ได้ 2 แบบ คือ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

  • การฉีดเข้าสู่เส้นเลือด แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ตัวยาไหลออกนอกเส้นเลือดเพราะจะไปสร้างผลกระทบกับเซลล์ที่ไม่ต้องการได้
  • การผสมยาในน้ำเกลือและทำการหยดยาให้หมดภายในระยะเวลา 15-30 นาที

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการใช้ยา ยา Mitomycin คือ การเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน การกดไขกระดูก แต่ว่าอาการกดไขกระดูกจะไม่เกิดขึ้นในทันทีแต่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ยา Mitomycin ร่วมกับการฉายรังสีจะมีการฟื้นตัวได้ช้ายู่ที่ประมาณ 8 -10 สัปดาห์

4. Taxanse

ยา Taxanse เป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากอีกกลุ่มหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง ยากลุ่ม Taxanse นี้คือ Paclitaxel กับยา Docetaxal ยาในกลุ่มของ Taxanse จะมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งโดยที่จะออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้ง Mitotic Spindle ที่อยู่ภายในเซลล์ Microtubule Assembly และยังเข้าไปยับยั้ง Disaggregation อีกด้วย ผลของยาจะเข้าไปส่งผลให้การแบ่งตัวของเซลล์เกิดการหยุดชะงักที่ G2 / M phase ของวัฏจักรของเซลล์ ซึ่งซ่วงนี้จะเป็นช่วงที่เซลล์มีความว่องไวต่อการทำลายของรังสีสูงมาก ดังนั้นการรักษาด้วยยา Taxanse ร่วมกับการฉายรังสีจึงช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งยาในกลุ่ม Taxanse ที่นิยมนำมาใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสี คือ ยา Paclitaxel

การใช้ยา Paclitaxel ในการรักษาจะใช้วิธีการฉีดเข้าสู่ร่างกาย และยาชนิดนี้จะสามารถขับออกมาจากร่างกายได้โดยการขับออกมาพร้อมกับอุจจาระโดยผ่านการไหลเวียนของตัวยาและ Metabolites มาทางกระแสเลือดและส่งไปยังตับที่จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในการขับยาชนิดนี้ออกจากร่างกาย ซึ่งกลไกการทำลายตัวยานั้นจะต้องอาศัยกลไกที่สำคัญของ Cytochrome P-450 Mixed Function Oxidase ตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ CYP2C8 และที่ CYP3A4 ซึ่งกลไกดังกล่าวนี้สามารถเกิดการยับยั้งการทำงานได้โดยการขาดเอนไซม์บางชนิด ดังนั้นการใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชนิดอื่นต้องดูด้วยว่ายาที่ใช้ร่วมกันนั้นมาขัดกว้างการสร้างเอนไซม์ที่จำเป็นในการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามาขัดขวางแล้วย่อมส่งผลให้ยาชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้หมด เกิดการสะสมและสร้างผลเสียต่อเซลล์ปกติได้

ผลข้างเคียงของยา Paclitaxel ที่พบได้มากที่สุด คือ การที่เม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิวมีค่าต่ำลง ซึ่งจะเกิดหลังจากที่ทำการให้ยาไปแล้วประมาณ 8-10 วัน แต่ผลที่เกิดขึ้นต้องเป็นการให้ยาแบบทุก ๆ 3 สัปดาห์ แต่อาการนี้จะกลับสู่สภาวะปกติได้หลังจากเกิดอาการไม่กี่วัน การให้ยายังมีอาการแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นด้วยนั่นคือ อาการ Hypersensitivity Reaction ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 10 นาทีของการให้ยาครั้งแรกกับตัวผู้ป่วย แต่อาการนี้จะหายไปทันทีหลังจากที่หยุดยาแล้ว การที่เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวเชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสาร Histamine-Like Substances ที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับ Polyoxyethylate Case Castor oil Vehicle ของยา อาการนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการให้ยาชนิดนี้ คือ Peripheral Neuropathy โดยผู้ป่วยจะมีอาการชาที่มือ เท้าทั้งสองข้าง บางครั้งมีการตรวจพบ Deep Tendon Reflex ที่มีค่าลดลง ซึ่งอาการที่เกิดความเป็นพิษต่อเส้นประสาทชนิดรุนแรงจะพบได้น้อยมาก เมื่อมีการให้ยาน้อยกว่า 200 mg / m² เมื่อมีการให้ทุก 3 สัปดาห์หรือมีการให้ยาน้อยกว่า 100 mg / m² ซึ่งผลข้างเคียงที่พบนี้ในขณะนี้ยังไม่ยาที่เข้ามาช่วยลดอาการดังกล่าวได้ การจะทำให้อาการลดลงหรือหายไปก็มีเพียงวิธีเดียวคือการหยุดยานั่นเอง นอกจากผลข้างเคียงที่พบได้มากแล้วการใช้ยานี้ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ เล็บเกิดร่อง เล็บมีสีเข้มขึ้น เล็บหลุดลอกออก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสีมีอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้กัน การเลือกใช้ทั้งชนิดและปริมาณของยาก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทำการเลือกตัวยาที่ดีที่สุดที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตรารอดจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของผู้คนทั่วไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].