- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ ?
- อาหารเสริม ทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ
- การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม
- การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง
- การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
- มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก
- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
- ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค
- ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
- ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )
- มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด
- มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร
- มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )
- มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )
- มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )
- มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )
- มะเร็งตับ ( Liver Cancer )
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )
- มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
- มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต
- มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
- มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน
- มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )
- มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )
- มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )
- มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )
- มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )
- มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
- มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )
- มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
- สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
- การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง
- สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
- อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020
- อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
- อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
- มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )
- การตรวจ และรักษามะเร็ง
- ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง
- ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )
- จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?
- ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
- มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง
- อาหารเพิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม
- อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
- การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ
- การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
- มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้
- โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
- สัญญาณมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer )
มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) คือ โรคมะเร็งที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งโรคมะเร็งทวารหนักก็อาจเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของทวารหนัก ได้แก่ เซลล์บุภายในทวารหนัก โดยอาจเป็นเซลล์เยื่อเมือกหรือเซลล์เบื่อบุผิวภายนอกก็ได้ กล้ามเนื้อ เส้นเลือดและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แต่โรคมะเร็งทวารหนักที่พบได้บ่อย มักจะเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในและเซลล์เยื่อบุผิวภายนอกมากที่สุด
มะเร็งทวารหนักมีสาเหตุจาก
มะเร็งทวารหนักภาษาชาวบ้านเรียก ” มะเร็งตูด “ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งทวารหนัก แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งได้แก่
- ทวารหนักเกิดการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) จึงทำให้เป็นมะเร็งทวารหนักได้ง่าย
- การมีเพศสัมพันธ์ทาทวารหนักและการสำส่อนทางเพศ รวมถึงคนที่เป็นหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งทวารหนัก และมะเร็งปากทวารหนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- ผู้หญิงที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องคลอด โดยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักมากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่ำ ทำให้ป่วยมะเร็งทวารหนักง่ายและเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) จะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักได้สูงด้วย
- การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง
- เกิดการอักเสบเรื้อรังของทวารหนัก หรือ มีเนื้องอกที่ทวารหนักคล้ายริดสีดวง
- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยจะเป็นชนิดไม่ถ่ายทอด
- อายุ โดยจากสถิติพบว่า มะเร็งทวารหนักจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากกว่าวัยอื่นๆ และมีโอกาสเกิดใน ผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกันนอกจากนี้มะเร็งทวารหนักก็มีหลายชนิดเช่นกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดจะมี 2 ชนิดคือ ชนิดสความัสและชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา โดยทั้งสองชนิดก็ถูกจัดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง
อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก
โรคมะเร็งทวารหนักไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่มีอาการเหมือนกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่แพทย์ชี้ว่ามักจะพบบ่อยๆ ในผู้ป่วยมะเร็งทวารหนัก ได้แก่
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปนมา
- มีอาการปวดเบ่งอุจจาระ
- มีก้อนเนื้อบริเวณทวารหนัก โดยอาจโผล่มาให้เห็นหรือคลำเจอเมื่ออุจจาระ
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตจนคลำเจอได้ โดยอาจพบว่าโตทั้งสองข้างหรือโตข้างเดียว ซึ่งอาการนี้จะพบได้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วการวินิจฉัยและระยะของโรคการวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนักแพทย์จะสอบถามจาก ประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก รวมถึงตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อทราบผลการตรวจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้ก็จะทำให้ทราบระยะของอาการป่วยด้วย
มะเร็งทวารหนัก คือ การเกิดเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก
โรคมะเร็งทวารหนักมีทั้งหมด 4 ระยะ
มะเร็งทวารหนักระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตร
มะเร็งทวารหนักระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นจากเดิม เกินจาก 2 เซนติเมตร
มะเร็งทวารหนักระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสูงเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง
มะเร็งทวารหนักระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายมาก โดยมะเร็งได้มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะปอดและตับ ซึ่งแพร่ผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองนั่นเอง
การรักษาโรคมะเร็งทวารหนัก
การรักษา แพทย์มักจะใช้ 3 วิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด โดยได้แก่การผ่าตัด การใช้รังสีรักษาและการทำเคมีบำบัด แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอายุและความพร้อมทางด้านสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ก็มีวิธีการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า แต่ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา จึงยังไม่นิยมนำมาใช้มากนัก และเนื่องจากมะเร็งทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง จะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับระยะ สุขภาพและอายุของผู้ป่วยด้วย
สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทวารหนักที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันยังไม่พบ ซึ่งแพทย์แนะนำให้สังเกตความผิดปกติของตัวเองจะดีที่สุด และรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน สำหรับการป้องกัน ก็ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดเช่นกัน
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20380″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.
Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.
Halperin, E., Perez, C., and Brady, L. (2008). Perez and Brady: Principles and practice of Radiation Oncology (5th edition). Philadelphia: Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins.
Haffty, B., and Wilson, L. (2009). Handbook of radiation oncology: basic principles and clinical protocols. Boston: Jones and Bartlett Publishers
DeVita, V., Hellman, S., and Rosenberg, S. (2005). Cancer: principles& practice of oncology (7th edition). New York: Lippincott Williams & Wilkins.
Anal cancer http://en.wikipedia.org/wiki/Anal_cancer [2012, Jan 2].