

อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
หากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดคุณอาจต้องเตรียมตัวเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไว้ด้วย สามารถใช้ไดักับผู้ป่วยผ่าตัดสมอง ระบบประสาท เนื้องอก ลำไส้ มดลูก กระดูก แขน ขา และผ่าตัดมะเร็ง เพราะการทานอาหารประเภทโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้ออย่างน้อย 20 – 30 กรัมต่อมื้อจนถึงวันที่ผ่าตัด ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้นและเป็นสิ่งสำคัญช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว ลดภาวะความเครียด เพราะผู้ป่วยหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร อาการทรุดลง ร่างกายอ่อนเพลีย แผลหายช้า ดังนั้น อาหารที่คุณกินจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจึงควรได้รับอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการท้องผูก การติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ( Surgical site infection ) เกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- คลื่นไส้และอาเจียนจากการดมยาสลบ
- เกล็ดเลือดต่ำ จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อยลง อาจมีแผลในช่องปาก
- เจ็บคอ ( เกิดจากใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการผ่าตัด )
- รู้สึกเจ็บปวด หรือบวมบริเวณบาดแผลที่ผ่าตัด
- กระสับกระส่าย หรือนอนไม่หลับ
- กระหายน้ำ
- อาการท้องผูก
โภชนาการหลังการผ่าตัดสำคัญอย่างไร
โปรตีนเป็นอาหารที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสมานแผล ช่วยสร้างผิวหนังและเนื้อเยื่อใหม่ให้แข็งแรง ดังนั้น
- การรับประทานอาหารโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้อ จะช่วยเพิ่มโปรตีนในร่างกายซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายของเราในการรักษาแผลผ่าตัด และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- ความเครียดจากการผ่าตัด อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังการผ่าตัดได้ ควรได้รับสารอาหารที่สำคัญ เช่น โปรตีน โอเมก้า-3 แอล-อาร์จินีน ไรโบนิวคลีโอไทด์ เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
อาหารที่ให้โปรตีนสูงมีอะไรบ้าง
ควรรับประทานอย่างน้อย 20 กรัมโปรตีนต่อมื้อและโปรตีน 10 กรัมต่ออาหารว่าง
- ไก่ / เนื้อ / หมู เท่ากับ 7 กรัม
- ไข่ 6 กรัม
- นม 1 แก้ว เท่ากับ 8 กรัม
- ปลาทูน่า 1 กระป๋อง เท่ากับ 40 กรัม
- ชีส เท่ากับ 15 กรัม
- โยเกิร์ตธรรมชาติ 1 ถ้วย เท่ากับ 12-20 กรัม
- ถั่วเหลือง เท่ากับ 14 กรัม
- เนื้อแดง เท่ากับ 7 กรัม
อาหารที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรรับประทาน
- ควรทานอาหารอ่อนประเภท อาหารต้ม อาหารตุ๋น อาหารนึ่ง จะช่วยให้ง่ายต่อการกลืนและย่อยง่าย สามารถฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยหลักการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
- อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- การทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ไฟเบอร์ ซึ่งจำเป็นต่อการรักษารวมทั้งการฟื้นตัวจากการผ่าตัด
- นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
สิ่งที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยง
- อาหารแห้ง หรืออาหารอบแห้ง ( ยกเว้นลูกพรุนสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ )
- อาหารแปรรูป ที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
- นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
- เนื้อแดง เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูงอาจทำให้ท้องได้
- อาหารหวานต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรได้รับอาหารที่ครบถ้วนเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับประทานอาหารได้ตามปกติหรือเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัดดังนั้นอาหารเสริมทางการแพทย์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เตรียมตัวผ่าตัดและหลังการผ่าตัด แนะนำให้ทานอาหารเสริมออรัล อิมแพค เป็นอาหารสูตรครบถ้วนที่มีโปรตีนสูงมีส่วนประกอบสำคัญ คือ โปรตีนเวย์ อาร์จีนีน โอเมก้า-3 ไรโบนิวคลีโอไทด์ และกลูตามีน ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยให้แผลหารเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อต่างๆ และที่สำคัญช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วย
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม