สาเก
ผลเป็นสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายขนุน แต่ลูกเล็ก เนื้อเหลืองซีดหรือขาวไม่มีเมล็ด

สาเก

สาเก (Breadfruit) เป็นหนึ่งในพืชผลที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายถูกนำมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและของหวาน เนื่องจากเนื้อประกอบไปด้วยแป้งเป็นหลักอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์ และยังเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) สาเกป่ามีถิ่นกำเนิดในนิวกินีและปลูกทั่วหมู่เกาะแปซิฟิกมีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์ปัจจุบันเกษตรกรมีการคัดเลือกพันธุ์ที่มีรสชาติดีที่สุด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และให้ผลผลิตในปริมาณมากสามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลานาน ชื่อสามัญ, Bread fruit tree, Bread nut tree ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis (Parkinson ex F.A.Zorn) Fosberg และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus communis J.R.Forst. & G.Forst., Artocarpus incisus (Thunb.) L.f., Saccus laevis Kuntze, Sitodium altile Parkinson ex F.A.Zorn
ชื่อเรียกอื่นอีกว่า “ขนุนสำปะลอ”

ถิ่นกำเนินของสาเก

สาเกป่าเดิมทีมีถิ่นกำเนิดในนิวกินีและปลูกทั่วหมู่เกาะแปซิฟิก เพาะปลูกกันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งในเกาะมาวีและเกาะฮาวาย คือแหล่งที่สะสมสายพันธุ์ต่าง ๆ เอาไว้หลายหลากสายพันธุ์ โดยปลูกเอาไว้ให้ชมกันมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว เป็นไม้ผลที่ออกลูกดก (ในหนึ่งฤดูต้นอาจออกผลราว 200 ผล) ส่วนที่นิยมปลูกในบ้านเราคือ พันธุ์ข้าวเหนียว ซึ่งในบ้านเรานั้นอาจจะพบได้บ้างตามหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ โดยวิธีการขยายพันธุ์นั้นจะขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อจากโคนต้นเก่ามาปลูก และเมื่อต้นมีอายุที่มากขึ้น มักจะตัดต้นทิ้ง เพราะว่าเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านใบดูเก้งก้าง และมีหนอนมาเจาะตามกิ่งและลำต้นทำให้ต้นตายง่ายอีกด้วย

ลักษณะของสาเก

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และจัดว่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกอีกด้วย ในเวลาต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งมีการปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยถูกจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นนั้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนมียางขาว ๆ การขยายพันธุ์นั้นจะใช้วิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ พันธุ์ข้าวเหนียว (ผลจะมีขนาดใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนม), และพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลจะมีขนาดเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานกันมากนัก)
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบคล้ายกับรูปไข่ ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีขนาดใบที่ใหญ่และหนา มีรอยหยักหรือร่องลึกเกือบถึงก้านกลางใบ (คล้ายคลึงกับใบมะละกอ) ก้านใบจะเห็นเด่นชัด
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกมีสีเหลือง มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลงมา มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียนั้นมีลักษณะกลม แต่จะแยกกันคนละดอก และดอกออกได้ตลอดทั้งปี
  • ผล มีลักษณะของผลเป็นทรงกลมรี ผลเป็นสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายคลึงกับขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้างได้ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนเนื้อภายในมีสีเหลืองซีดหรือขาวผลไม่มีเมล็ด (แต่จะมีอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ด นั่นก็คือ ขนุนสำปะลอ)

สรรพคุณของสาเก

1. มีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต (ผล)
2. มีส่วนช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (ผล)
3. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย (เปลือกต้น)
4. รากมีรสเบื่อเมา สามารถใช้เป็นยารักษากามโรค ด้วยการนำรากมาฝนผสมกับน้ำดื่มครั้งละไม่เกิน 1 แก้วตะไล วันละครั้ง อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติในที่สุด (ราก)
5. ยางสามารถนำมาใช้ในการรักษากลากเกลื้อนและหิดได้ (ยาง)
6. มีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างเมลานิน เนื่องจากสารสกัดจากเนื้อไม้ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งมีความแรงเท่ากับกรดโคจิก (Kojic acid) โดยได้ทำการทดลองกับผิวหนังของหนูตะเภาสีน้ำตาลที่มีสีผิวคล้ำเนื่องจากแสง UV-B ผลการทดลองนั้นพบว่าสารสกัดจากเนื้อไม้สามารถทำให้สีผิวของหนูจางลงได้โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนังของหนูและไม่มีผลก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์อีกด้วย
7. ใช้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ โดยการนำเปลือกต้นมาย่างไฟจนแห้ง แล้วหลังจากนั้นก็นำมาต้มดื่มแต่น้ำ (เปลือกต้น)
8. เปลือกต้นทำเป็นยาปรับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด และทำให้เกิดความกระชุ่มกระชวยได้
9. มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และกระดูกผุในหญิงวัยหมดประจำเดือน (ผล)

ประโยชน์ของสาเก

1. มีวิตามินหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้
2. มีคุณสมบัติในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ด้วยการช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)
3. เส้นใยอาหารช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในร่างกายได้ จึงช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้
4. ผลนำมาย่าง ต้ม อบ และนำมาเชื่อมได้ หรือจะใช้ทำเป็นขนม เช่น แกงบวด เชื่อม เป็นต้น
5. ทำเป็นแป้งเพื่อนำมาใช้ทำเป็นขนมปังกรอบอีกด้วย
6. สำหรับชาวอินโดนีเซียนั้น มักนิยมนำไปอบกรอบใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง
7. มีฤทธิ์ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่าย ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
8. เนื้อให้พลังงานที่สูง แถมยังมีแคลเซียมและวิตามินเอที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย
9. ปลูกตามบ้านจัดสรรทั่วไปเพื่อเป็นไม้ประดับและยังนำมาใช้เป็นร่มเงาได้อีกด้วย
10. ยางของต้นนำมาใช้เป็นชันยาเรือ
11. สกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางช่วยบำรุงผิวพรรณ ใช้ทำเป็นสารทำให้ผิวขาว (Skin whitening agent)
12. ดอกสามารถใช้ไล่ยุงได้
13. เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และทำเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือจะนำมาสร้างบ้านก็สามารถทำได้

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการ 100 กรัมให้พลังงาน 103 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 27.12 กรัม
น้ำตาล 11 กรัม
เส้นใย 4.9 กรัม
ไขมัน 0.23 กรัม
โปรตีน 1.07 กรัม
น้ำ 70.65 กรัม
ลูทีนและซีแซนทีน  22 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม 10%
วิตามินบี 2 0.03 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 6 0.457 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
โคลีน 9.8 มิลลิกรัม 2%
วิตามินซี 29 มิลลิกรัม 35%
วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
วิตามินเค 0.5 ไมโครกรัม 0%
ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.54 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
ธาตุแมงกานีส 0.06 มิลลิกรัม 3%
ธาตุฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม 4%
ธาตุโพแทสเซียม 490 มิลลิกรัม 10%
ธาตุโซเดียม  2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ), สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, www.lifestyle.iloveindia.com

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.halfyourplate.ca/
2.https://www.croptrust.org