มันแกว แก้ความดันเลือดสูง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันเส้นเลือดตีบ

0
1724
มันแกว
มันแกว แก้ความดันเลือดสูง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันเส้นเลือดตีบ มีรสคล้ายแป้งแต่จะออกหวานที่มาจากอินูลิน

มันแกว

มันแกว

มันแกว เป็นพืชทั่วไปที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะผลจากต้นจะนิยมนำมาทานเป็นผลไม้ได้ ชนิดที่ปลูกกันมากในประเทศไทยมี 2 ชนิดใหญ่ คือ พันธุ์หัวเล็กและพันธุ์หัวใหญ่ เป็นพืชพื้นเมืองของชาวเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง ส่วนของดอกมีสีสันสวยงาม เป็นพืชผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ถือเป็นผลในการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมันแกว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyrhizus erosus (L.) Urb.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Yam bean” “Jicama”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “มันแกว” ภาคเหนือเรียกว่า “เครือเขาขน ถั่วกินหัว ถั่วหัว ถั้วบ้ง ละแวก มันละแวก มันแกวละแวก มันลาว มันแกวลาว” ภาคอีสานเรียกว่า “มันเพา มันเภา” ภาคใต้เรียกว่า “หัวแปะกัวะ” จังหวัดเพชรบูรณ์เรียกว่า “หมากบ้ง” ชาวไทลื้อเรียกว่า “มะคะตุ๋ม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของมันแกว

มันแกว เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย
ลำต้น : ลำต้นมีขน ไม่มีมือเกาะ ต้นไม่แตกแขนง
หัว : มีหัวใต้ดินเป็นรากสะสมอาหาร ลักษณะอวบใหญ่ หัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน หนึ่งต้นจะมีหัวเดียว รสชาติคล้ายแป้ง ส่วนที่อยู่ใต้ดินจะมีอายุข้ามปี ส่วนบนดินจะมีอายุเพียงปีเดียว
ใบ : เป็นประกอบแบบขนนก ใบย่อย 3 ใบ เป็นรูปจักใหญ่หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะเดี่ยวที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล เป็นรูปดอกถั่วหรือรูปไต กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน สีชมพู หรือสีขาว
ผล : ออกผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีขนปกคลุมทั้งฝัก เมื่อแก่จะเรียบ มีเมล็ดเรียงกัน 4 – 10 เมล็ด เป็นรูปจัตุรัสแบน เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดง ผิวมัน

สรรพคุณของมันแกว

  • สรรพคุณ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมไม่ให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยในการป้องหวัด ป้องกันมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งในลำไส้ใหญ่
  • สรรพคุณจากหัว ช่วยทำให้เกิดน้ำหล่อเลี้ยง แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนกระสับกระส่าย ลดไข้ รักษาโรคร้อนดับพิษ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หน้าแดง แก้ความดันโลหิตสูง เป็นยารักษาพิษสุราเรื้อรัง
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาหูด

ประโยชน์ของมันแกว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร มีรสคล้ายแป้งแต่จะออกหวาน นำมาจิ้มกับพริกเกลือ ต้มหรือปรุงเป็นอาหารทั้งคาวและหวานได้ ฝักอ่อนและเมล็ดอ่อนใช้ทานเป็นผักสดกับส้มตำ หรือต้มทานเป็นผัก เมล็ดจะมีน้ำมันอยู่ สามารถนำมารับประทานได้
2. ใช้ในการเกษตร เศษของหัวนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ใบช่วยป้องกันแมลงที่จะเข้ามาทำลายสวนพืชผัก เมล็ดแก่มีสารพิษมาก จึงนิยมนำมาบดใช้ทำยาฆ่าแมลงหรือยาเบื่อปลา ประเทศฟิจินำต้นและเถามาใช้เป็นแหหรืออวน

คุณค่าทางโภชนาการของมันแกวดิบ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 17.47 กรัม
น้ำตาล 1.8 กรัม
ใยอาหาร 4.9 กรัม
ไขมัน 0.09 กรัม
โปรตีน 0.72 กรัม
น้ำ 90.07 กรัม
วิตามินเอ 21 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.020 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.029 มิลลิกรัม 
วิตามินบี3 0.200 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 0.042 มิลลิกรัม
วิตามินบี9 12 ไมโครกรัม 
วิตามินซี 20.2 มิลลิกรัม 
วิตามินอี 0.46 มิลลิกรัม
วิตามินเค 0.3 ไมโครกรัม
แคลเซียม 12 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.60 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 150 มิลลิกรัม 
โซเดียม 4 มิลลิกรัม
สังกะสี (ซิงค์) 0.16 มิลลิกรัม

มันแกว เป็นพืชผลที่นิยมนำมาทานเป็นผลไม้ในประเทศไทย ซึ่งรสหวานมาจากอินูลิน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้ อุดมไปด้วยกรดโฟลิก มีเส้นใยอาหารสูง เหมาะสำหรับทานเพิ่มสารอาหารได้ มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผล มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ความดันโลหิตสูง ควบคุมไม่ให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยในการป้องหวัด ป้องกันมะเร็งและช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [26 พ.ค. 2014].
ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มันแกว” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [26 พ.ค. 2014].
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [26 พ.ค. 2014].
มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaiherb-tip108.blogspot.com. [26 พ.ค. 2014].
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, ศูนย์วิทยุบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: esc.agritech.doae.go.th/webpage/e-book/mun-kaew.pdf. [26 พ.ค. 2014].
น้ำของประเทศไทย. “ผลไม้รักษาโรค”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.waterthailand.com. [26 พ.ค. 2014].
FoodFacts. “What Is Jicama (Yambean) Good For?”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: foodfacts.mercola.com. [26 พ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/