ดีหมี
ดีหมี (Acalypha spiciflora) มักจะพบในป่าและมีสรรพคุณทางยา โดยล่าสุดมีความเชื่อกันว่าใบดีหมีช่วยรักษาโควิดแต่ยังไม่มีการรับรองอย่างแน่ชัด ดีหมีอยู่ในตำรายาไทยมาเนิ่นนาน ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปหรือทางออนไลน์ เป็นต้นที่คู่ควรแก่การนำมาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ได้
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของดีหมี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha spiciflora Burm.f.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะดีหมี จ๊ามะไฟ” จังหวัดลำปางเรียกว่า “ดินหมี” จังหวัดระนองเรียกว่า “คัดไล” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กาดาวกระจาย” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “กาไล กำไล” ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เซยกะชู้” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โต๊ะกาไล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Cleidion spiciflorum (Burm.f.) Merr.
ลักษณะของต้นดีหมี
ต้นดีหมี เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบที่พบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดงดิบริมน้ำ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเกลี้ยงและเป็นสีเทาดำ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี รูปวงรีแกมใบหอกหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นหยักฟันเลื่อมแกมซี่ฟัน แผ่นใบหนาเรียบเป็นมันและมีสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน ที่ซอกของเส้นใบด้านท้องใบจะมีต่อมกระจัดกระจาย
ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อกระจะเชิงลด มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 – 3 แฉก
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นพู 2 พู เมื่อแก่จะแห้งและแตก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2 – 3 เมล็ด มีลักษณะกลมสีขาว
สรรพคุณของดีหมี
- สรรพคุณจากเปลือกต้น
– รักษามะเร็ง แก้อาการปวดท้อง แก้ตับพิการ รักษาโรคผิวหนัง ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
สรรพคุณจากแก่น
– แก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำแก่นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม - สรรพคุณจากทั้งต้น
– แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาระบาย - สรรพคุณจากใบ
– แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ - สรรพคุณจากราก
– แก้ลมพิษในกระดูก ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม - สรรพคุณจากต้น ราก ใบ
– แก้ไข้ รักษาไข้มาลาเรีย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำราก ต้นหรือใบมาต้มกับน้ำแล้วใช้อาบ - สรรพคุณจากต้น เปลือกต้น กิ่งและใบ แก้ตับอักเสบ ตับพิการ ใบไม้ตับ
ประโยชน์ของดีหมี
เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบสดนำมาลวกกินเป็นเมี่ยง
ข้อควรระวัง
ใบดีหมีมีพิษ น้ำต้มจากใบอาจทำให้สตรีมีครรภ์แท้งบุตรได้
ดีหมี กำลังเป็นที่นิยมในยุคโควิดและเป็นยาจีนรวมถึงยาในตำราไทยที่มีสรรพคุณแก้อาการหลากหลาย แต่ไม่เป็นผลดีกับสตรีที่กำลังมีครรภ์ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ตับอักเสบหรือตับพิการ รักษามะเร็ง แก้ไข้ เป็นพืชที่นิยมของชาวกะเหรี่ยง จีนและประเทศไทยเรา
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ดีหมี”. หน้า 72.[1]
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “ดีหมี”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [8 มี.ค. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. “ดีหมี แก่น-ราก-ใบ เป็นยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [8 มี.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ดีหมี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [8 มี.ค. 2014].
ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “สมุนไพรที่ใช้แก้อาการแพ้และระคายเคือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/index.php. [8 มี.ค. 2014].
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้เพื่อประเมินสถานภาพและศักยภาพ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี). “”ดันหมี””. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: inven.dnp9.com/inven/. [8 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ดีหมี : Cleidion speciflorum Merr.”. อ้างอิงใน: หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [8 มี.ค. 2014].
งานการแพทย์แผนไทย จังหวัดอุดรธานี. “สมุนไพรนายูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: sites.google.com/site/ttmudon/. [8 มี.ค. 2014].