จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

จักรนารายณ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า แปะตำปึง เป็นพืชในวงศ์ทานตะวันที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุได้หลายปีที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน พืชชนิดนี้ชอบแสงแดด ดอกมีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง และยังเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก ทำให้ดูสดใสเมื่อได้มอง นอกจากนั้นยังเป็นสมุนไพรครอบจักรวาล เพราะรักษาได้หลายโรคหลายอาการอีกด้วย แต่ว่าสมุนไพรเองก็มีพิษเช่นกันไม่เหมาะกับคนร่างกายอ่อนแอและมีไข้ ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบเลือดในร่างกายเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจักรนารายณ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura divaricata (L.) DC.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Purple passion vine” “Purple velvel plant”
ชื่อท้องถิ่น : ชาวไทลื้อเรียกว่า “แปะตำปึง แป๊ะตำปึง” คนเมืองเรียกว่า “แปะตังปึง แป๊ะตังปึง แปะตังปุง ผักพันปี กิมกอยมอเช่า จินฉี่เหมาเยี่ย ว่านกอบ ใบเบก” ชาวม้งเรียกว่า “ชั่วจ่อ” ชาวจีนเรียกว่า “เชียตอเอี๊ยะ งู่ปุ่ยไฉ่” จีนกลางเรียกว่า “ไป๋ตงเฟิง ไป๋เป้ยซันชิ” คนไทยเรียกว่า “จักรนารายณ์”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ชื่อพ้อง : Gynura ovalis DC., Gynura auriculata Cass.

ลักษณะของจักรนารายณ์

ลำต้น : ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโต เป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม
ราก : รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย
ใบ : ใบจะอยู่กับลำต้นที่แทงขึ้นจากราก เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน เป็นรูปไข่มน ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบหนาและนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียว ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีหลายดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่า
ผล : ผลสุกเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของจักรนารายณ์

  • สรรพคุณจากยอดอ่อน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งมดลูก
    – บำรุงร่างกาย ด้วยการนำยอดอ่อนใช้เป็นส่วนผสมในการต้มไก่กระดูกดำ
  • สรรพคุณจากราก ก้าน ใบ เป็นยาเย็นมีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม ช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยกระจายโลหิต แก้เส้นเลือดอุดตันและแก้อาการตกเลือด เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้วัณโรคในปอด เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยฟอกโลหิต ทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น ช่วยล้างพิษภายในออกทางอุจจาระ ปัสสาวะและทางตา ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น ทำให้ไม่เหนื่อยไม่หอบ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยรักษาโรคเริม ช่วยสมานบาดแผล รักษาแผลภายนอก ช่วยบรรเทาอาการอักเสบเนื่องจากเริมและงูสวัด แก้โรคเบาหวาน แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้ไขมันในเลือดสูง แก้โรคโลหิตจาง ช่วยฟอกโลหิต ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย แก้ไทรอยด์ แก้โรคมะเร็งทุกชนิด แก้โรคหัวใจ แก้โรคภูมิแพ้ แก้หอบหืด แก้ตาเป็นต้อ แก้ตาอักเสบ แก้โรคตาต่าง ๆ แก้อาการปวดเหงือก แก้ปวดฟัน ช่วยขับลม แก้โรคกระเพาะอาหาร ขับนิ่ว แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี แก้เนื้องอกต่าง ๆ ในไต แก้งูสวัด แก้แผลสะเก็ดเงิน แก้แผลอักเสบ แก้แผลฝีหนองทั่วไป แก้โรคผิวหนังทั่วไป แก้เกาต์ แก้อาการปวดเส้นปวดหลัง ช่วยทำให้กินได้นอนหลับ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอดส์มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น
    – รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการนำใบสดทานก่อนอาหารประมาณ 2 – 5 ใบ ช่วงตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า ทานอีกครั้งในช่วงหลังอาหารเย็นประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หรือกินก่อนนอนทุกวัน ทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์ จากนั้นให้หยุดดูอาการอีก 2 – 3 วัน แล้วทานต่อเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงเร็วเกินไป
    – ช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง ด้วยการนำใบทานสดร่วมกับลาบ
    – ช่วยรักษาโรคตา แก้ตาต้อ แก้ตาอักเสบ แก้ตามัว ด้วยการนำใบสดล้างให้สะอาด แล้วนำมาบดหรือโขลกให้แหลกพอกตาข้างที่มีอาการประมาณ 30 นาที ตรงเปลือกตาแล้วล้างออกด้วยน้ำ พอกทั้งเช้าและเย็น
    – ช่วยแก้อาการปวดเหงือก แก้ปวดฟัน แก้ปากเป็นผล แก้ลำคออักเสบ ด้วยการทานใบสดเคี้ยวและอมทิ้งไว้สักพักแล้วกลืนเป็นยาในช่วงกลางคืนหลังการแปรงฟัน
    – แก้อาการไอ แก้คออักเสบ ด้วยการนำใบและก้านประมาณ 10 กรัม ใส่ไข่และน้ำตาลเล็กน้อย ใช้ทาน
    – ช่วยขับลมที่แน่นภายในช่องท้อง ช่วยรักษาโรคกระเพาะหรือมีอาการปวดท้อง ด้วยการนำใบสดมาทานในขณะที่มีอาการ
    – รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยการนำใบสดมาตำ แล้วนำมายัดใส่ทวารหนัก
    – ช่วยแก้งูสวัด ด้วยการนำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง ให้จับตัวกันเป็นก้อน แล้วนำมาพอกตรงรอยแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำใช้ทาสด หรือใช้ตำพอก
    – ช่วยแก้ผดผื่นคัน บรรเทาอาการคัน ด้วยการนำใบมาขยี้ทาชโลมให้ทั่วบริเวณที่มีอาการคัน
    – ช่วยแก้ฝีบวม แก้ฝีร้อน แก้ฝีภายนอก แก้อาการปวดฝี ด้วยการนำใบสดมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น
    – เป็นยาดับพิษและดูดถอนพิษ แก้อาการปวดหรืออักเสบ แก้ปวดหัวลำมะลอก แก้พิษอักเสบทุกชนิด แก้พิษหัวลำมาลอก แก้พิษตะขาบ แก้พิษจากแมงป่อง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสดมาตำให้แหลกผสมกับสุราขาว ใช้สำลีชุบให้เปียกแล้วนำไปปิดบริเวณที่มีอาการ
    – ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการนำใบสดมาตำ แล้วนำมาผสมกับเหล้า คั่วให้ร้อน แล้วใช้เป็นยาพอก
    – ช่วยทำให้มะเร็งมีขนาดเล็กลง ด้วยการนำใบมาทานเป็นผักทุกวัน แล้วกินก่อนนอนอีก 5 – 7 ใบ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน

ประโยชน์ของจักรนารายณ์

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบสดนำมาใช้ทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้ประกอบอาหารพวก แกงจืด ผัดน้ำมัน ผัดเต้าเจี้ยว หรือใช้เป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ลาบ แหนม ส้มตำ หรือสลัดผัก

ข้อควรระวังของจักรนารายณ์

1. ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและมีไข้ ไม่ควรรับประทาน
2. ไม่ควรทานพร้อมกับ เนื้อ กุ้ง ปู ปลาทู ปลาหมึก ปลาร้า หูฉลาม ข้าวเหนียว กะปิ หน่อไม้ แตงกวา เผือก หัวผักกาด สาเก ของดอง ชาหรือกาแฟ แอลกอฮอล์

จักรนารายณ์ เป็นยอดสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคอันตรายได้มากมาย หรืออย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาอาการให้ลดน้อยลง ถือว่าเป็นต้นที่สำคัญต่อการวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ สามารถนำใบสดมารับประทานเป็นผักได้ มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งมดลูก บำรุงร่างกาย รักษาหลอดลมอักเสบ ทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น แก้ไขมันในเลือดสูง รักษาโรคเบาหวาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “จักรนารายณ์”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 178.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “จักรนารายณ์”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 222.
สวนพฤษศาสตร์สายยาไทย. “จักรนารายณ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [23 ก.พ. 2014].
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน), กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “แปะตำปึง”. (สุภาวดี ภูมิมาลี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.aopdh06.doae.go.th. [23 ก.พ. 2014].
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานีน้อมรับพระราชดำริ, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แป๊ะตำปึง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.svc.ac.th. [23 ก.พ. 2014].
Clearing House Mechanism of Department of Agriculture (CHM of DOA). “แป๊ะตำปึง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm.doa.go.th. [23 ก.พ. 2014].
ศูนย์เบาหวานศิริราช, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “ทานต้นแป๊ะตำปึง ลดน้ำตาลได้หรือไม่”. (ศูนย์เบาหวานศิริราช). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.si.mahidol.ac.th/sdc/. [23 ก.พ. 2014].
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “แป๊ะตำปึง”. (รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/. [23 ก.พ. 2014].
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (28 ม.ค. 2548), โดยทอม แม่โจ้ และผู้มีประสบการณ์ในการใช้.
GotoKnow. “ต้นแปะตําปึงหรือจักรนารายณ์”. (รุจิดา สุขใส). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [23 ก.พ. 2014].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล . “แป๊ะตำปึง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [23 ก.พ. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “แป๊ะตำปึง”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [23 ก.พ. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com
Longevity Spinach ( 蛇接骨 , 平卧菊三七 , 尖尾凤 )