รักษากระดูกด้วยแสงแดด
แสงแดด ที่หลากๆ คนอาจยังไม่ทราบว่า โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก สามารถรักษาโดยใช้แสงแดดช่วยรักษากระดูกเป็นตัวช่วยได้ โดยแสงแดดจะไปช่วยสร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย ซึ่งวิตามินดี ที่ได้จากแสงแดดถือว่าเป็นวิตามินธรรมชาติ ที่มีคุณภาพสูงก ว่า การได้รับวิตามินสังเคราะห์จากพวกอาหารเสริม โดยวิตามินดีจะไปช่วยในการควบคุมการดูดแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปสร้าง หรือซ่อมแซมกระดูกโดยตรง
กระดูกคืออะไร ?
กระดูก หรือ Bone เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( Connective Tissue ) ที่เป็นโครงร่างที่มีความแข็งแรง มีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนและรักษาโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ในวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มนุษย์จะมีกระดูกทั้งหมดประมาณ 206 ชิ้น เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่าง โดยมี ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ เป็นตัวยึดเหนี่ยวกระดูกในแต่ละชิ้นให้เชื่อมติดกัน ยกเว้น กระดูกอ่อนโคนลิ้น ที่เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ จะเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อเชื่อมกับกระดูกอื่นๆเลย
ประเภทของโครงสร้างกระดูก
โครงสร้างของกระดูกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โครงสร้างกระดูกแกน กับโครงสร้างกระดูกรยางค์ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton )
โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton ) คือ ชุดของกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัวและศีรษะของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญในร่างกาย ประกอบไปด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น เช่น
- กระดูกกะโหลกศีรษะ ( Skull ) ภายในกะโหลกศีรษะจะมีลักษณะเป็นโพรงสำหรับ บรรจุสมอง โดยมีกระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมต่อติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะมีหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมอง จากการกระทบกระเทือนต่างๆ
- กระดูกสันหลัง ( Vertebrae ) เป็นแกนกระดูกชิ้นหลัก ที่ช่วยค้ำจุน และช่วยรองรับน้ำหนักภายในร่างกาย เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น โดยระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ จะมีแผ่นกระดูกที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ( Intervertebral Disc ) เป็นกระดูกอ่อน ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสีกันของกระดูกแต่ละชิ้น หากหมอนรองกระดูกเสื่อมจะทำให้รู้สึกปวดหลัง และขยับตัวได้ลำบากมากขึ้น
- กระดูกซี่โครง ( Ribs ) เป็นกระดูก ที่มีลักษณะเป็นซี่ๆ จำนวน 12 คู่ ทำหน้าที่ป้องกันบริเวณส่วนอก กระดูกซี่ โครงจะเชื่อมกับกระดูกอก ( Sternum ) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครง จะมีกล้ามเนื้อที่คอยยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ โดยซี่โครงขยับเปิดช่องให้ปอดขยายตัวรับอากาศเมื่อหายใจเข้า และหดตัวเมื่อปอดหายใจออกเพื่อบีบอากาศเสียออกไป
2. โครงสร้างกระดูกรยางค์ ( Appendicular Skeleton )
โครงสร้างกระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton)เป็นโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกของกระดูกแกน ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวและปกป้องอวัยวะในระบบ การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ มีทั้งหมด 126 ชิ้น ตัวอย่าง เช่น กระดูกไหล่ ( Shoulder Girdle ) กระดูกต้นแขน ( Humerus ) กระดูกข้อมือ ( Carpal Bone ) กระดูกเชิงกราน ( Hip Bone ) และ กระดูกต้นขา ( Femur ) เป็นต้น
หน้าที่สำคัญของกระดูก
นอกจากเป็นโครงสร้างให้กับร่างกายแล้ว กระดูกยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น
1. ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะต่างๆ กระดูกจะช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่มีความบอบบาง ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน หรืออันตรายจากสิ่งภายนอก
2. รักษารูปร่างให้คงที่และทรงตัวได้ กระดูกคอยทำหน้าที่ เป็นโครงร่างให้ร่างกายมนุษย์สามารถรักษารูปทรงอยู่ได้ และช่วยให้มนุษย์สามารถทรงตัวได้ด้วย
3. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว กระดูกทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกาย หากไม่มีกระดูกมนุษย์ก็คงไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้
4. ช่วยให้เกิดการได้ยิน กระดูกช่วยในการนำคลื่นเสียง และช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน ทำให้เกิดการได้ยินขึ้น
5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดที่สำคัญต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยถูกสร้างขึ้นมาจากไขกระดูก
6. เป็นแหล่งเก็บสะสมแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย
7. เก็บสะสมสารส่งเสริมการเจริญเติบโตบางชนิด เช่น โบน มอร์โฟเจนเนติก โปรตีน ( Bone Morphogenesis Protein หรือ BMPs ) เป็นโปรตีนช่วยในระบบการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อน
8. เก็บสะสมไขมันในรูพรุนของกระดูก คือ ไขกระดูกเหลือง
9. รักษาความสมดุลในเลือด ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างในร่างกายให้คงที่ เมื่อเลือดเป็นด่างมาก กระดูกก็จะดูดซึมสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ ( Alkaline Salts ) เข้ามาเก็บไว้ในกระดูก เมื่อเลือดเป็นกรดมาก กระดูกก็จะปลดปล่อยสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ และแคลเซียมออกสู่กระแสเลือดเพื่อลดความเป็นกรดในเลือด
10. ช่วยสลายพิษในร่างกายพร้อมเนื้อเยื่อ กระดูกสามารถดูดซึม เก็บสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายออกมาจากกระแสเลือด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ กระดูกจะค่อยๆปลดปล่อยโลหะหนักเหล่านี้ออกไปยังม้ามและตับ ให้ขจัดออกทางระบบขับถ่ายต่อไป
11. ควบคุมกระบวนการเผาผลาญฟอสฟอรัส ( Phosphate Metabolism ) ซึ่ง ฟอสฟอรัสเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ หรือสารน้ำเกลือ ที่มีบทบาทต่อทั้งการซ่อมสร้างกระดูก
แนวปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง
1.ดื่มน้ำมะพร้าวก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง โดยอาจจะดื่มในช่วงเวลาอาหารเช้า อาการกลางวัน หรือช่วงที่ท้องว่างก็ได้ เนื่องจากในน้ำมะพร้าว จะมีกรดฮอร์โมนที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูก นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวยังมากไปด้วยสารอาหารที่ส่งผลดีต่อกระดูกอย่าง โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส โดยการดื่มให้จำกัดปริมาณเพียงครั้งละ 1 ลูกเท่านั้น
2. เน้นทานอาหารประเภทผักและผลไม้ในมื้อเช้า โดยเลือกผักใบเขียวที่มีแคลเซียมสูง ส่วนผลไม้ให้เลือกตามฤดูกาลเท่านั้น เนื่องจาก จะได้ผลไม้ที่สดใหม่ ไม่ผ่านการอาบรังสี จึงทำให้มีเอนไซม์มาก ซึ่งเอนไซน์เหล่านี้ที่ได้จากผักและผลไม้ จะช่วยในการซ่อมแซมและการสร้างกระดูกได้อย่างดีเลยทีเดียว
3. กินอาหารมังสวิรัติ เช่น ฟองเต้าหู้ ถั่วลันเตา เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เป็นต้น เพราะเป็นโปรตีนที่ได้จากพืชที่มีแคลเซียมสูง และต้องเป็นอาหารที่ไม่มีรสชาติจัดจ้าน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดในร่างกาย เพราะหากเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล้ว ปริมาณแคลเซียมในร่างกายจะลดลงตามไปด้วย
4. ควบคุมอาหารมื้อเย็น ในการทานอาหารมื้อเย็น ควรเลือกทานอาหารประเภทผักหรือผลไม้สดให้มาก และไม่ควรทานอาหารให้เยอะจนเกินไป
5.ดื่มน้ำเปล่าให้มาก การดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดในปริมาณมากๆ จะช่วยให้การดูดซึมใบอาหารเข้าสู่ร่างกายทำได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น
6. เลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มัน และเค็ม เนื่องจากอาหารประเภทนี้หากได้รับในปริมาณมาก อาจจะส่งผลเสียกับเลือด ทำให้เลือดเกิดความเป็นกรดได้ หากเลือดเกิดความเป็นกรดแล้ว กลไกทางร่างกายจะไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อนำแคลเซียมเหล่านั้นไปปรับความสมดุลในเลือดให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยๆปริมาณแคลเซียมในกระดูกจะลดลงและทำให้กระดูกเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ
7. รู้จักบริหารสภาวะอารมณ์ตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพราะเนื่องจากการมีสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี หรือมีความเครียดบ่อยๆ จะส่งผลให้เลือดเป็นกรดและข้น ซึ่งเป็นภาวะอ่อนไหวต่อการสร้างกระดูกอย่างมาก
8. ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ในแต่ละวันควรให้ร่างกายได้รับปริมาณของแสงแดดที่เพียงพอ โดยอาจใช้วิธีการรับแสงแดด เช่น คว่ำหน้าตากแดด 30-40 นาที และ นอนหงายตากแดดอีก 20-30 นาที และควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีอ่อนในการรับแสงแดด เพื่อให้แสงแดดเข้าสู่ผิวหนังได้มากที่สุด โดยเฉพาะสีขาว
9.ระมัดระวังการทานยาแต่ละชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดหัว เนื่องจากยารักษาโรคแต่ละชนิด หากได้รับในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป จะมีผลต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไต และยังส่งผลทำให้สภาวะเลือดเป็นกรดได้ด้วย หากมีอาการปวดหัวอาจใช้วิธีการอื่นในการรักษาเช่น ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กบางชุบน้ำบิดให้หมาดวางบนบริเวณที่ปวดสัก 1 ชั่วโมง เพื่อให้อาการทุเลาลง
ปัญหาของโรคกระดูกที่หลายคนมักพบเจอ คือการเสื่อมของกระดูกก่อนเวลาอันสมควร ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อมไปก่อนเวลานี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ชีวิตและพฤติกรรมที่ผิดๆ ที่บั่นทอนให้สุขภาพกระดูกค่อยๆแย่ลงจนเกิดเป็นภาวะโรคกระดูกเสื่อมขึ้น ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดภาวะโรคกระดูกเสื่อมกับตนเอง ควรรู้จักดูสุขภาพกระดูกให้ดีให้แข็งแรงอยู่เสมอ และต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลเสียทำลายกระดูกด้วย โดยวิธีการดูแลกระดูกที่ง่ายที่สุด คือ การได้รับปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายนำไปสร้างวิตามินดีที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงนั้นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5
MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.