มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร

0
4848
มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร
น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวด ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาล
มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร
น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวด ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาล

น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปา

น้ำดื่มบรรจุขวด หรือ ภาชนะต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน น้ำมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งเข้านอนในตอนกลางคืน น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริการคือ น้ำประปา สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว น้ำประปามีมาตรฐานการผลิตที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ในการผลิตน้ำประปาจะดูแลและควบคุมโดยหน่วยงานของ  รัฐบาล และมีหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของน้ำประปาที่ผลิตออกมาว่าได้ผ่านมาตรฐานหรือไม่ และนำผลการตรวจสอบมารายงาน ถ้าประชาชนต้องการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของน้ำประปาที่ผลิตออกมาว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ water.epa.gov ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพของน้ำประปานั้นจะต้องทำการตรวจสอบพร้อมทั้งรายงานผลทุกวัน

หน่วยผลิต น้ำประปา หนึ่งแห่งจะมีหน้าที่ผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในชุมชนที่มีประมาณหนึ่งแสนครัวเรือน มาตรฐานการผลิตน้ำประปาของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีมาตรฐานที่สูงมาก เพราะว่าน้ำประปาที่ผลิตออกมาเพื่อประชาชนนั้นได้มีการออกกฏหมายกำหนดมาอย่างชัดเจนว่า น้ำประปาต้องทำให้บริสุทธิ์เท่านั้น จึงจะสามารถปล่อยออกมาสู่ประชาชนได้ ดังนั้นน้ำประปาที่ออกมาประชาชนจึงสามารถดื่มได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปผ่านกระบวนการใดเพิ่มเติมอีก เพราะว่าน้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นถือว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์อยู่แล้ว

สำหรับ น้ำดื่มบรรจุขวด ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นผลิตโดยบริษัทเอกชน ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมและการตรวจสอบของหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือน น้ำประปา แต่ทว่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมอยู่ เพราะน้ำบรรจุขวดนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาหรือ FDA ซึ่งองค์กรอาหารและยานี้ไม่ได้ทำการตรวจสอบน้ำดื่มบรรจุขวดโดยตรง แต่บริษัทนั้นสามารถส่งตรวจสอบคุณภาพสถาบันวิจัยเอกชนได้ ส่วนทางองค์การอาหารและยานั้นจะเข้าไปตรวจสอบเฉพาะในขั้นตอนการบรรจุน้ำดื่มลงขวด เพื่อป้องกันสารปนเบื้อนที่จะเข้ามาในขั้นตอนขณะบรรจุเท่านั้น

ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านสุขภาพและอนามัย น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวดอยู่แล้ว

มาตรฐาน น้ำดื่มบรรจุขวด เน้นคุณภาพเป็นหลักเกณฑ์เพื่อบ่งชี้ถึงความสะอาด และความปลอดภัยของน้ำดื่ม นอกจากนั้นจากโฆษณาของบริษัทน้ำดื่มที่กล่าวว่าน้ำที่นำมาทำการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นนำมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งบางคนมีความสงสัยว่าแหล่งน้ำที่ว่าอาจจะเป็นแหล่ง น้ำประปา ก็เป็นได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ออกมา หลายคนจึงมองว่าการบริโภคน้ำจากน้ำดื่มบรรจุขวดหรือน้ำประปาในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ต่างกันเท่าใดนัก  ทว่าการบริโภคน้ำดื่มบรรจุนั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

การที่ น้ำดื่มบรรจุขวด เป็นที่ต้องการของประชาชนนั้น เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าคนในปัจจุบันนี้ใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีการลดดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและน้ำอัดลมลง และหันมาดื่มน้ำบรรจุขวดทดแทน มีการทำสถิติไว้ว่าขวดน้ำดื่มที่คนสหรัฐอเมริกาบริโภคในหนึ่งวัน เมื่อเอามาเรียงต่อกันจะได้ความยาวเท่ากับเส้นรอบโลกเลยที่ดี คิดดูสิว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตขวดพลาสติกที่จะนำมาบรรจุน้ำดื่มนั้นต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมเป็นจำนวนเท่าใด ถึงแม้ว่าการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่ได้ปรุงแต่งจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม แต่ว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้บรรจุแทนที่จะเป็นขวดพลาสติกใช้แล้วทิ้งแบบเดิม หันมาใช้ขวดพลาสติกที่ไม่มี BPA เป็นส่วนผสมก็จะช่วยลดมลภาวะของโลกให้น้อยลง แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด คือการใช้ภาชนะบรรจุน้ำแบบที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ทั้งแบบที่เป็นขวดสแตนเลสหรือขวดแก้วก็จะยิ่งดี เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ลดลงด้วย เราจะได้อยู่มีธรรมชาติที่สวยงามต่อไปให้ลูกหลาน

เชื่อกันว่าในอนาคตแล้วน้ำประปาในทุกประเทศควรที่จะบริโภคได้ไม่ต่างกับ น้ำดื่มบรรจุขวด ตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกา และยังการพัฒนาน้ำประปาเพื่อประชาชนให้มีสุขภาพดีแล้ว มีแนวคิดที่จะเพิ่มสารฟลูออไรด์ในน้ำประปาเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันของประชาชน ให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลฟันอีกด้วย อย่างที่เห็นจึงกล่าวได้ว่า น้ำประปา ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสามารถดื่มได้ไม่ต่างจากน้ำดื่มบรรจุขวด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Van der Leun, Justine (September 2009). “A Closer Look at New Research on Water Safety”. AOL Health. Retrieved September 2009.

Washington’s Gregoire plans 400 million more in budget cuts, Bloomberg Businessweek, December 16, 2010