ซิลิเนียม ( Selenium ) สารอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง

0
17074
ซิลิเนียม (Selenium) สารอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง
อาหารจะพบซีลีเนียมได้มากเป็นอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ ปลาทูน่า จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี ข้าวกล้อง
ซิลิเนียม (Selenium) สารอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง
อาหารจะพบซีลีเนียมได้มากเป็นอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ ปลาทูน่า จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี ข้าวกล้อง

ซีลีเนียม ( Selenium )

ซีลีเนียม ( Selenium ) คือ แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบในร่างกายน้อยมาก ซึ่งเป็นส่วนที่ร่างกายสามารถสกัดได้เองจากยีสต์ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

หน้าที่สำคัญของซีลีเนียม

1. ซีลีเนียมทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยชนิดหนึ่ง ชื่อว่าน้ำย่อยกลูทาไทโอนเปอร์ออกซิเดส Glutathione Peroxidade โดยจะช่วยกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเปอร์ออกไซด์และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ให้หมดไป รวมถึงป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอีกด้วย ซึ่งจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีด้วยนั่นเอง และนอกจากนี้จากการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็พบว่าซีลีเนียมสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะพบว่าเมื่อซีลีเนียมในร่างกายต่ำ ก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น

2. ซีลีเนียมช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและการติดลูก ทำให้ร่างกายมีการเติบโตอย่างสมวัย

3. ซีลีเนียมช่วยให้เนื้อเยื่อสามารถหายใจได้ดีและรับส่งอีเล็กตรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. ซีลีเนียมทำหน้าที่ในการประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่าง วิตามินดี วิตามินซี และ วิตามินเอ

การดูดซึมและการเก็บซีลีเนียม ( Selenium )

ซีลีเนียม สามารถถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก แต่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของซีลีเนียมและกำมะถันด้วย ว่ามีความสมดุลกันมากแค่ไหน ส่วนการเก็บซีลีเนียมไว้ในร่างกาย จะเก็บไว้ที่ตับและไตมากที่สุด โดยคิดเป็น 4-5 เท่าของซีลีเนียมที่ พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ และจะมีบางส่วนที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ โดยหากพบว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกมาทางอุจจาระด้วย นั่นแสดงว่าอาจมีความผิดปกติหรือมีการดูดซึมที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง

แหล่งอาหารที่พบซีลีเนียม ( Selenium )

สำหรับแหล่งอาหารที่พบซีลีเนียมส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารทะเล ตับ ไต และเนื้อสัตว์ และพบได้น้อยมากในพืช โดยซีลีเนียมที่พบในพืชนั้นก็จะขึ้นอยู่กับซีลีเนียมที่มีอยู่ในดินที่ปลูกด้วยนั่นเอง โดยพืชที่มีซีลีเนียมได้แก่ ต้นหอม มะเขือเทศ ถั่ว จมูกข้าว หน่อไม้ กระเทียม เมล็ดพืช หอมแดงและหอมใหญ่ เป็นต้น

ปริมาณซีลีเนียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ 

เพศ อายุ ปริมาณที่ควรได้รับ หน่วย
เด็ก 1-3 ปี 20 ไมโครกรัม/วัน
เด็ก 4-8 ปี 30 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 40 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 13-18 ปี 55 ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19-≥ 71 ปี 55 ไมโครกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 15 ไมโครกรัม/วัน

การขาดซีลีเนียม ( Selenium )

พบว่าเมื่อร่างกายขาดซีลีเนียมหรือได้รับน้อยเกินไป จะทำให้แก่ก่อนกำหนดได้ สังเกตได้จากริ้วรอยก่อนวัยและผิวที่เหี่ยวย่นลง นั่นก็เพราะซีลีเนียมจะทำหน้าที่ในการรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ หากมีซีลีเนียมน้อย จึงส่งผลดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าในเด็กที่มีซีลีเนียมน้อยก็มักจะมีปัญหาฟันผุต้องถอนและอุดบ่อยมากอีกด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้

การเป็นพิษของซีลีเนียม ( Selenium )

การได้รับซีลีเนียมเข้าสู่ร่างกายมาเกินไป คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีนทีน เมไทโอนีนและซีสเทอีน เป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถนำกรดอะมิโนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว และที่สังเกตได้ชัดที่สุด ก็คือ อาการเล็บฉีก ผมแห้งขาดความชุ่มชื่น และผมแตกปลายนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Ruyle, George. “Poisonous Plants on Arizona Rangelands” (PDF). The University of Arizona. Retrieved 2009-01-05.

House, James E. (2008). Inorganic chemistry. Academic Press. p. 524. ISBN 0-12-356786-6.

Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., ed. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.