Home Blog Page 25

ต้นปอพราน สรรพคุณเป็นยารักษาโรคบิด แก้ท้องเสีย

ต้นปอพราน สรรพคุณเป็นยารักษาโรคบิด แก้ท้องเสีย เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกสีเหลือง แต้มด้วยจุดเล็กสีแดงเป็นประปราย ผลมีลักษณะรูปทรงกลม มีขนขึ้นปกคลุม
ต้นปอพราน
เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกสีเหลือง แต้มด้วยจุดเล็กสีแดงเป็นประปราย ผลมีลักษณะรูปทรงกลม มีขนขึ้นปกคลุม

ปอพราน

ปอพราน มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย ประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ทั่วภูมิทุกภาค โดยจะพบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าละเมาะ แถบชายป่าดิบแล้ง หรือตามพื้นที่รกร้างทั่วไป โดยจะพบที่บริเวณความสูงไม่เกิน 200 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล [1],[2],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Colona auriculata (Desf.) Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Diplophractum auriculatum Desf.[1] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชบา (MALVACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย GREWIOIDEAE ชื่ออื่น ๆ ปอปาน (จังหวัดนครราชสีมา), ปอที (จังหวัดอุบลราชธานี), ปอพาน (จังหวัดเชียงใหม่), ขี้หมาแห้ง (จังหวัดสุโขทัย), ปอพราน (จังหวัดจันทบุรี), ปอขี้ตุ่น (จังหวัดอุตรดิตถ์) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของปอพราน

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่ม
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 1-2 เมตร
    – เปลือกต้นมีผิวเรียบไร้ขนมีสีเป็นสีน้ำตาลปนเทา และทุกส่วนของต้นมีขนยาวขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบ
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ตรงปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบเบี้ยวและเป็นรูปติ่งหู และตรงขอบใบมีรอยหยักเป็นฟันเลื่อยซ้อนกันสองชั้น
    – ใบนั้นจะออกใกล้กันจนขอบใบซ้อนกัน แผ่นใบมีผิวบางคล้ายกับกระดาษถึงกึ่งหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ที่ผิวใบด้านบนมีขนสากขึ้นปกคลุมอยู่ ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น
    – เส้นใบที่โคนมี 3 เส้น เส้นแขนงใบมีข้างละ 3-7 เส้น เส้นใบย่อยมีลักษณะคล้ายขั้นบันได และเส้นใบย่อยมีลักษณะเป็นแบบร่างแหสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากทางด้านบน
    – ก้านใบมีขนขึ้นปกคลุม ใบมีหูใบเป็นรูปรีถึงรูปสามเหลี่ยม แคบยาว โคนหูใบจะแผ่เป็นแผ่นรูปทรงกลม แต่ละด้านของแผ่นใบนั้นมีขนาดไม่เท่ากัน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-20 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ ซึ่งช่อดอกนี้จะห้อยลงใต้กิ่ง
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แต่ละกระจุกจะมีดอกอยู่ภายในประมาณ 1-3 ดอก
    – ดอกมีลักษณะรูปร่างที่ตูมเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงดอกเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีสีเป็นสีเหลืองและมีขนปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนผิวด้านในจะมีขนขึ้นปกคลุมที่บางกว่าและมีสีเป็นสีเหลือง แต้มด้วยจุดเล็กสีแดงเป็นประปราย กลีบเลี้ยงจะแยกออกจากกลีบดอกกันอย่างอิสระ
    – กลีบดอกนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ กลีบดอกมีสีเป็นสีเหลืองสด และมีจุดประสีส้มแกมน้ำตาลอยู่ประปราย ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกเป็นรูปช้อน ปลายดอกมน กลีบดอกมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-9 มิลลิเมตร กลีบดอกมีขนยาวขึ้นปกคลุม ผิวเป็นมัน
    – ดอกมีใบประดับย่อยอยู่ 3 ใบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปส้อม ใบมีสีเหลืองอ่อน และมีสีแดงตามแนวเส้นท่อลำเลียง
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูมีผิวเกลี้ยงมีสีเป็นสีขาวอมเหลือง อับเรณูเป็นสีเหลืองอ่อน ดอกมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น และมีช่องอยู่ ซึ่งในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ที่ประมาณ 2-4 เมล็ด
    – ออกดอกในช่วงเดือนประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน[1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะรูปทรงกลม มีรูปร่างรีเกือบกลม หรือเป็นรูปไข่ มีครีบเป็นสันตามยาวอยู่ 5 ครีบ สันมีความกว้างกว่า ½ ของส่วนกลางผล และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น
    – ผลมีขนาดความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว
    – ผลแก่จะไม่แตก โดยจะออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม[1],[3]

สรรพคุณของต้นปอพราน

  • ประเทศลาวจะนำทั้งต้น มาต้มทำเป็นยารักษาโรคบิด และแก้ท้องเสีย (ทั้งต้น)[1]
  • ตำรับยาพื้นบ้านจะนำผล ไปผสมกับเหง้าของต้นดองดึงและเปลือกต้นของต้นตูมกาขาว นำมาคลุกกับข้าวสำหรับทำเป็นยาเบื่อสุนัข (ผล)[1]
  • เส้นใยที่ได้มาจากเปลือก สามารถนำไปใช้ทำเป็นเชือกได้ โดยเชือกที่ได้ถือว่ามีคุณภาพดีเป็นอย่างยิ่ง[1] รวมไปถึงนำมาทำเป็นเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยได้อีกด้วย[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ปอ-พราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [25 ก.ย. 2015].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปอ-พราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [25 ก.ย. 2015].
3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ปอ-พราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [25 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/

ต้นประยงค์ ช่วยแก้อัมพาต และอาการเมาค้าง

ต้นประยงค์
ต้นประยงค์ ช่วยแก้อัมพาต และอาการเมาค้าง เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก ดอกออกเป็นช่อสั้นสีเหลืองกลิ่นหอมแรง ผลกลมสีเหลืองอ่อน เมื่อสุกสีแดงเข้มเกือบดำ
ต้นประยงค์
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก ดอกออกเป็นช่อสั้นสีเหลืองกลิ่นหอมแรง ผลกลมสีเหลืองอ่อน เมื่อสุกสีแดงเข้มเกือบดำ

ประยงค์

ประยงค์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ทั่วไปที่ตามป่าเบญจพรรณ ชื่อสามัญ Chinese rice flower ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour. อยู่วงศ์กระท้อน (MELIACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง), ยม (ภาคเหนือ), ขะยม (ภาคเหนือ), หอมไกล (ภาคใต้), ขะยง (ภาคเหนือ), พะยงค์ (ภาคเหนือ), ประยงค์บ้าน (ภาคกลาง)[1],[6]

ลักษณะของประยงค์

  • ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก พุ่มทึบค่อนข้างกลม ต้นสูงประมาณ 2-3 เมตร จะสูงไม่เกิน 5 เมตร จะแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีเทา ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด ขึ้นดีทุกสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถทนความแห้งแล้งได้ ควรปลูกในพื้นที่มีแสงแดดทั้งวัน เนื่องจากจะช่วยทำให้ทรงพุ่มสวยงาม[1],[5],[6]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบจะออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยอยู่ประมาณ 5 ใบ (บางใบอาจมี 3 ใบ) ใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบเป็นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวใบมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้ม ที่หลังใบเรียบ ส่วนที่ท้องใบก็เรียบเช่นกัน ก้านใบมีลักษณะแผ่ออกเป็นปีก[1],[2],[6]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ออกดอกที่ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกจะประกอบด้วยดอกย่อย ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีมากกว่า 10 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกจะซ้อนกันไม่บาน เป็นรูปทรงกลมเล็กคล้ายกับไข่ปลาสีเหลือง ออกดอกได้ทั้งปี ส่งกลิ่นหอมอ่อนทั้งวัน[1],[2],[5],[6]
  • ผล เป็นรูปทรงกลมรี มีขนาดประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนจะเป็นสีเหลืองอ่อน ผลสุกเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ในผล 1-2 เมล็ด[1],[2],[6]

สรรพคุณของประยงค์

1. ใบกับก้านจะมีรสเฝื่อน สามารถใช้เป็นยาพอกแก้แผลบวมฟกช้ำที่เกิดจากการหกล้ม ถูกกระทบกระแทก และยังสามารถช่วยรักษาแผลฝีหนองทั้งหลายได้ (ใบ, ก้าน)[1],[4]
2. สามารถช่วยแก้อัมพาตได้ (ดอก)[9]
3. สามารถใช้ใบเป็นยาสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมาผิดปกติได้ (ใบ)[5]
4. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงในท้องได้ (ดอก)[9]
5. สามารถใช้ใบกับรากแก้โรคที่เกี่ยวกับทรวงอก แก้ไข้ อาการชักได้ (รากและใบ)[4]
6. สามารถช่วยลดอาการอึดอัดแน่นหน้าอกได้ (ดอก)[1]
7. สามารถช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ราก)[5]
8. สามารถรากช่วยแก้เลือด แก้กำเดาได้ (ราก)[5]
9. ดอกสามารถช่วยดับร้อน และช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้ (ดอก)[1],[4]
10. นำยาชงที่ได้จากดอกมาใช้ดื่มแบบน้ำชาเป็นยาเย็น จะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้พุพองได้ (ดอก)[4]
11. ดอกจะมีรสเฝื่อนขมนิดหน่อย สามารถช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการเมาค้าง ทำให้หูตาสว่าง และช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่งได้ (ดอก)[1],[4]
12. ในประเทศฟิลิปปินส์นำใบกับรากมาต้มใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก, ใบ)[4]
13. สามารถใช้เป็นยาถอนพิษเบื่อ ยาเมาได้ (ราก)[1],[2],[3],[4]
14. สามารถช่วยเร่งการคลอดได้ (ดอก)[4]
15. สามารถช่วยรักษากามโรคได้ (ใบ)[5]
16. สามารถช่วยแก้ลมจุกเสียดได้ (ดอก)[9]
17. สามารถช่วยฟอกปอดได้(ดอก)[4]
18. สามารถใช้เป็นยากวาดเด็ก และช่วยแก้เสมหะด่างได้ (ดอก)[9]
19. รากจะมีรสเฝื่อนเย็น สามารถทานเป็นยาทำให้อาเจียนได้ (ราก)[1],[2],[3],[4]
20. สามารถช่วยแก้อาการไอได้ (ดอก)[1]
21. สามารถช่วยแก้ไอหืดได้ (ดอก)[9]
22. รากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ (ราก)[5]
23. สามารถช่วยทำให้เจริญอาหาร และสามารถแก้ผอมแห้งแรงน้อยได้ (ราก)[5]

หมายเหตุ
การใช้ตาม [4] ถ้าใช้ใบ ดอก ก้านแบบแห้ง ให้นำมา 3-10 กรัม เอามาต้มกับน้ำดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาเคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ วิธีเก็บช่อดอก ใบให้เก็บช่วงฤดูร้อนตอนออกดอก แล้วก็เอามาตากแห้ง แยกเก็บเอาไว้ใช้[4]

ประโยชน์ของประยงค์

  • เป็นต้นไม้มงคล เชื่อกันว่าถ้าปลูกเป็นไม้ประจำบ้าน จะสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้ชีวิต ช่วยปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และสามารถช่วยเสริมดวงทางคงกระพันชาตรี เพิ่มเดชให้กับตัวเอง เพื่อความสิริมงคลให้ปลูกวันเสาร์เพื่อเอาคุณ ควรปลูกทางทิศตะวันตกบริเวณบ้าน
  • นำดอกแห้งมาอบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่นใบชาซึ่งชาวจีนนิยมกันมาก[4],[6]
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนในป่าอนุรักษ์ สวนหย่อม บ้าน ปลูกประดับรั้ว เพราะดอกจะมีกลิ่นหอมแรง จะออกดอกให้ชมบ่อย เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบสวยงาม ทรงพุ่มสวยงาม (ต้องคอยตัดแต่งกิ่งก้านสาขาบ้าง) แข็งแรงทนทาน ปลูกง่าย มีอายุยืน[4],[5],[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้ด้วยน้ำจากกิ่งอ่อนจะมีฤทธิ์ที่ยับยั้งการเติบโตของผักโขม หญ้าข้าวนก[8]
  • พบสาร Odoratinol, (24 S) – Aglaitriol (24 R) – Aglaitriol, Aglaiol, อัลคาลอยด์ Odoratine, Aglaiondiol ในใบ [4]
  • มีฤทธิ์ยับยั้งการกินอาหารของแมลง จะมีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อนของแมลงได้ และเป็นพิษกับปลา สามารถช่วยยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ช่วยเสริมฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอก เป็นพิษกับเซลล์ (ไม่มีข้อมูลยืนยัน)
  • มีสารที่ออกฤทธิ์หลายชนิด อย่างเช่น สารในกลุ่ม Cyclopentabenzofuran เป็นอนุพันธ์ของสาร Triterpenes, Aglain, Rocaglamide, Lignanes, Odorine สารเหล่านี้นั้นจะมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้[7]

ข้อควรระวังในการใช้ประยงค์

  • ห้ามให้สตรีที่มีครรภ์ดื่ม เนื่องจากอาจจะทำให้แท้งบุตร[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ประยงค์ (Prayong)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 169.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ประยงค์”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 132.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ประยงค์”. หน้า 39.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ประยงค์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [19 เม.ย. 2014].
5. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ประยงค์”. (นพพล เกตุประสาท, ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [19 เม.ย. 2014].
6. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 273 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ประยงค์ช่อน้อยลอยกลิ่นไกล”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [19 เม.ย. 2014].
7. การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 3 วันที่ 28-29 ก.พ. 2550. “ผลของสารสกัดจากใบประยงค์ต่อจำนวนเม็ดเลือด ของแมลงวันผลไม้ระยะตัวหนอน”. (กิตติ ตันเมืองปัก, พาคิน ฝั่งไชยสงค์, อาทิตย์ พิมมี).
8. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41. “การเปรียบเทียบผลของสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของต้นประยงค์ด้วยน้ำที่มีต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชสองชนิด”. (ยิ่งยง เมฆลอย, วิรัตน์ ภูวิวัฒน์, จำรูญ เล้าสินวัฒนา, พัชนี เจริญยิ่ง). หน้า 311-317.
9. สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์,โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ประยงค์”. อ้างอิงใน: หนังสือต้นไม้ยาน่ารู้ (ธงชัย เปาอินทร์, นิวัตร เปาอินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: uttaradit.uru.ac.th/~botany/. [19 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.picturethisai.com/wiki/Aglaia.html

ต้นเบญจมาศน้ำเค็ม สรรพคุณรักษาการอักเสบในช่องคลอด

ต้นเบญจมาศน้ำเค็ม สรรพคุณรักษาการอักเสบในช่องคลอด เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยว ออกดอกเป็นช่อ ดอกสีเหลือง ผลแห้งสีน้ำตาลเข้ม และมีขนแข็งขึ้นปกคลุม
เบญจมาศน้ำเค็ม
เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยว ออกดอกเป็นช่อ ดอกสีเหลือง ผลแห้งสีน้ำตาลเข้ม และมีขนแข็งขึ้นปกคลุม

เบญจมาศน้ำเค็ม

ต้นเบญจมาศน้ำเค็ม มักจะพบขึ้นได้ ในพื้นที่ชื้นแฉะ ตามริมน้ำ ลำธาร บริเวณใกล้น้ำตก หรือตามป่าชายเลน[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Wollastonia biflora (L.) DC.  ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Wedelia biflora (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ผักคราดทะเล (กรุงเทพฯ)

ลักษณะของต้นเบญจมาศน้ำเค็ม

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยที่ทอดยอดคลุมหน้าพื้นดิน
    – ต้นมีความสูง: ประมาณ 1.5-5 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะเป็นสัน โดยตามลำต้นจะมีขนขึ้นปกคลุมกระจายอยู่
    – โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นวงกว้าง (แตกกิ่งไม่เป็นระเบียบนัก)
    – ต้นจะมีรากฝอยแตกออกที่บริเวณตามข้อรอบ ๆ ลำต้นที่อยู่เหนือพื้นดิน
    – ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนและเรียวมีขนาดไม่ใหญ่
    – การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยต้นเบญจมาศเป็นพืชที่ชอบอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื้น และต้นชอบดินทรายและดินร่วนปนทราย
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบมีรอยจักเป็นฟันเลื่อยในลักษณะที่เป็นแบบห่าง ๆ กัน
    – ใบที่อยู่ด้านบนนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าใบที่อยู่ด้านล่างเสมอ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว โดยที่บริเวณโคนใบจะสามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน 3 ใบ แล้วจะค่อย ๆ จางลงจรดจนถึงปลายใบ
    – เนื้อใบมีผิวสัมผัสที่ค่อนข้างนุ่มอุ้มน้ำ แต่ตามผิวใบจะมีขนแข็ง ๆ ขึ้นปกคลุมทั้งด้านหน้าและด้านหลังใบ[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 นิ้ว และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-5.5 นิ้ว
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกช่อดอกที่บริเวณส่วนปลายของลำต้น แต่ส่วนใหญ่ที่มักพบเจอ ต้นมักจะออกเป็นดอกเดี่ยวมากกว่าออกเป็นช่อ
    – ดอกมีสีเป็นสีเหลือง กลีบดอกเป็นรูปท่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ โดยที่ปลายกลีบดอกจะเป็นรอยจัก และดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ (มีทั้งเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน)
    – เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 นิ้ว
    – ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[1]
  • ผล
    – มีลักษณะเป็นผลแห้ง ที่ปลายผลตัด ส่วนโคนผลเป็นรูปสอบแคบ มีสันอยู่ 3 สัน ผลมีสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม และมีขนแข็ง ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ที่ด้านบนของผล[1]

สรรพคุณของต้นเบญจมาศน้ำเค็ม

1. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับรับประทานเป็นยาแก้ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่นได้ (ทั้งต้น)[1],[2]
2. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้น)[2]
3. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้อาการคัน และลดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง (ทั้งต้น)[2]
4. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาแผลเปื่อย (ทั้งต้น)[2]
5. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาอาการช่องคลอดอักเสบ (ทั้งต้น)[2]
6. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)[1]
7. ใบนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำนมวัว ใช้สำหรับรับประทานเป็นยาบำรุงของสตรีหลังคลอดบุตรได้ และใช้เป็นยาแก้ท้องผูก และยาถ่ายท้อง (ใบ)[1],[2]
8. ใบนำมาตำใช้สำหรับพอกรักษาโรคผิวหนังเป็นด่าง และภาวะเส้นเลือดขอดได้ (ใบ)[1]
9. ใบนำมาตำพอกใช้สำหรับรักษาแผลเรื้อรัง แผลฟกช้ำ แผลที่ถูกของมีคมบาด และบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)[1]
10. ดอกนำมาใช้ทำเป็นยาถ่ายอย่างแรงได้ (ดอก)[1]
11. รากนำมาตำใช้สำหรับพอกรักษาโรคหิด (ราก)[1]
12. รากนำมาต้มกับน้ำใช้ทำเป็นยาขับปัสสาวะ และแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ (ราก)[1],[2]
13. รากนำมาตำใช้สำหรับพอกรักษาบริเวณที่มีบาดแผลได้ (ราก)[1]
14. รากนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทำเป็นยาขับระดูของสตรี (ราก)[1]
15. รากนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และโรคโกโนเรีย (ราก)[1]

ข้อควรระวังของการใช้

  • ใบที่แก่ตัวลงและลำต้น หากนำสองส่วนนี้มาผสมกันจะทำให้เกิดความเป็นพิษได้ เมื่อสัตว์กินเข้าไปจะทำให้สัตว์มีอาการอาเจียนอย่างหนักหลังจากนั้นสักพักสัตว์ก็จะตายลงไป[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ผักคราดทะเล”.  หน้า 477-478.
2. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1767 คอลัมน์ : สมุนไพร.  “เบญจมาศน้ำเค็ม Wedelia biflora (L.) DC. COMPOSITAE (ASTERACEAE)”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.flickr.com/

ต้นบานบุรี สรรพคุณใช้เป็นยาระบาย

บานบุรี
ต้นบานบุรี สรรพคุณใช้เป็นยาระบาย ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยวติดเป็นคู่อยู่ตรงข้าม ดอกขนาดใหญ่เป็นช่อกระจุกสีเหลือง ผลทรงกลมเป็นหนาม
บานบุรี
ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยวติดเป็นคู่อยู่ตรงข้าม ดอกขนาดใหญ่เป็นช่อกระจุกสีเหลือง ผลทรงกลมเป็นหนาม

บานบุรี

ต้นบานบุรี (Golden trumpet) เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย หรือไม้เถาอาศัยต้นไม้อื่น ๆ เพื่อพยุงตัวขึ้น เป็นพืชเมืองร้อนชอบอากาศร้อนชื้นอย่างมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ ชื่อสามัญ Yellow bell, Allamanda, Common allamanda, Golden trumpet vine ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Allamanda cathartica L. อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ บานพารา บานบุรีสีเหลือง บานบุรีสีกุหลาบ อยู่ในสกุลเดียวกันก็คือ สกุล Allamanda บานบุรีสีแสด (บ้างก็เรียกกันว่า บานบุรีหอม) อยู่ในสกุล Odontadenia, บานบุรีสีม่วง อยู่ในสกุล Saritaea ทั้งหมดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกันนั่นก็คือ วงศ์ตีนเป็ด ยกเว้นบานบุรีม่วงที่อยู่วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

ลักษณะของบานบุรี

  • ต้น เป็นลำต้นหรือเถาสีน้ำตาล กลมเรียบ มียางสีขาวทั้งต้น ลำต้นสูงประมาณ 2-4.5 เมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอน ชอบน้ำปานกลาง โตได้ดีที่ในดินที่ร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ปลูกเลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถทนกับความแล้งกับดินเค็มได้ มักจะขึ้นที่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดเต็มวัน สามารถอยู่ได้ทั้งที่มีแสงแดดจัด ที่ร่มรำไร มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในประเทศบราซิล อเมริกาเขตร้อน และมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีสีดอกแตกต่างกันไป[1],[2],[4],[8]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว จะติดเป็นคู่อยู่ตรงข้าม หรืออาจติดอยู่รอบข้อ ข้อละประมาณ 3-6 ใบ ใบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปหอก รูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านบนจะมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มเรียบและเป็นมัน มีเส้นใบที่สามารถเห็นได้ชัด ที่ท้องใบจะมีสีอ่อนกว่า ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-9 เซนติเมตร[1],[2],[8]
  • ดอก มีดอกขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อกระจุก ที่ตรงบริเวณยอด จะออกดอกที่ตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นสีเขียว ที่ปลายจะแยกเป็น 5 แฉก ดอกย่อยเป็นสีเหลือง มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน เป็นรูปหอก ที่ปลายกลีบจะมนใหญ่ กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 16 มิลลิเมตร ที่โคนเชื่อมกันเป็นท่อสั้นหรือจะเป็นหลอดแคบ ดอกตูม กลีบดอกบิดไปทางเดียวกัน มีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 5 อัน ติดอยู่ที่ตรงด้านในบริเวณใกล้โคนท่อดอก เกสรเพศเมียจะมีช่องเดียว มีรังไข่อ่อนอยู่เยอะ ก้านเกสรมีขน มีขนาดสั้น อับเรณูเป็นรูปคล้ายหัวลูกศร ดอกบานเต็มกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร ออกดอกได้ทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนจะออกดอกดกเป็นพิเศษ
  • ผล ผลเป็นรูปทรงกลม จะเป็นหนาม ผลแก่สามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ในผลเป็นจำนวนมาก[1],[2]

สรรพคุณบานบุรี

  • ใบ มีรสเมาร้อน สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยทำให้กล้ามเนื้อของลำไส้หดเกร็งได้ [1],[2],[6]
  • ใบ มีสรรพคุณที่ทำให้อาเจียน (ใบ)[1],[2]
  • เปลือกกับยาง จะมีรสเมาร้อน ถ้าใช้ในปริมาณน้อยจะมีฤทธิ์ที่เป็นยาถ่าย สามารถช่วยขับน้ำดี ถ้าใช้ปริมาณมากจะเป็นพิษกับหัวใจ ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ (เปลือกและยาง)[1],[2]
  • สามารถช่วยแก้อาการจุกเสียดได้ (ใบ)[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • บานบุรีเหลือง จะมีฤทธิ์ที่ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเซลล์ สามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียกับเชื้อรา และต้านเนื้องอก แต่ฤทธิ์ดังกล่าวต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป[6]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ทั้งต้นกับยางจะมีสารพิษ จะออกฤทธิ์เป็นพิษกับหัวใจและเลือด ถ้าทานไปจะเกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุในปาก และเยื่อบุในกระเพาะอาหารก่อน แล้วก็จะตามด้วยอาการปวดท้อง อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องเดิน ถ้าทานในปริมาณที่มากแล้วล้างท้องไม่ทัน สารพิษ digitalis จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้และแสดงความเป็นพิษกับหัวใจ เกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของไกลโคไซด์ วิธีรักษาขั้นต้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แล้วก็ให้ทำการล้างท้อง รักษาตามอาการ ถ้าจาก EKG พบว่ามี Ventricular tachycardia ควรให้ Potossium chloride ประมาณ 5-10 กรัม หรือให้ K+ (80 mEq/L) อาการการเจ็บแขนอาจจะช่วยด้วยการนวด การประคบด้วยน้ำร้อน[7]
  • บานบุรีเหลืองเป็นพืชที่มีพิษ ถ้าจะใช้เป็นยาสมุนไพรต้องใช้แบบระมัดระวัง เนื่องจากทุกส่วนของต้นใช้ในปริมาณที่น้อยจะเป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน แต่ถ้าหากว่าใช้ในปริมาณที่เยอะมาก จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียนไม่หยุด ร่างกายอ่อนเพลีย อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้[1],[2],[5]
  • ยางกับผล มีพิษ (สารเป็นพิษก็คือ Resin เป็นส่วนผสมของ Phenol กับ Polycyclic acid) ถ้ายางโดนผิวหนังจะทำให้เกิดอาการอักเสบ คัน และแดง[3]
  • ถ้าทานยางหรือผลจะทำให้อาเจียน มีไข้สูง มีไข้สูง ท้องเสีย มีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ท้องเดิน ถ้าสูญเสียน้ำสูญเสียเกลือแร่มากอาจทำให้เสียชีวิตได้[3]

ประโยชน์บานบุรี

  • ปลูกเป็นไม้ประดับที่ตามทางเดิน ริมถนน ปลูกคลุมดิน สวน ริมทะเล สามารถตัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้ และยังมีดอกที่สวย ออกดอกได้ทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนก็จะออกดอกดกเยอะเป็นพิเศษ[3],[4],[8]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “บานบุรีเหลือง”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 424-425.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “บานบุรีเหลือง (Banburi Lueang)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 163.
3. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “บานบุรีเหลือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [01 เม.ย. 2014].
4. หนังสือชุดพรรณไม้เมืองไทย : ไม้ต่างถิ่นในเมืองไทย 1. “บานบุรี”. (ปรัชญา ศรีสง่า).
5. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. “พืชมีพิษในประเทศไทย (2)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/ez.mm_main.asp. [01 เม.ย. 2014].
6. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลและเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบบาร์โค้ดของพืชสกุล Allamanda”. (สโรชา อังคปัทมากุล, ดร.อรุณรัตน์ ฉวีราช, ดร.ธวัดชัย ธานี, ดร.รุ่งลาวัลย์ สุดมูล).
7. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “บานบุรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [01 เม.ย. 2014].
8. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “บานบุรีสีเหลือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [01 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.thespruce.com/grow-allamanda-inside-1902637
2. https://www.gardenia.net/plant/allamanda-cathartica

ต้นนาคราช ช่วยแก้พิษแมงป่อง พิษตะขาบ

ต้นนาคราช ช่วยแก้พิษแมงป่อง พิษตะขาบ เป็นพรรณไม้เถาลำต้นโค้งงอห้อยลง หนามสีแดง ดอกเป็นสีแดงแก่ ผลเล็กเป็นทรงกลม สีน้ำตาลอมแดง และมีมีขนยาวนุ่มปกคลุม
นาคราช
เป็นพรรณไม้เถาลำต้นโค้งงอห้อยลง หนามสีแดง ดอกเป็นสีแดงแก่ ผลเล็กเป็นทรงกลม สีน้ำตาลอมแดง และมีมีขนยาวนุ่มปกคลุม

นาคราช

ว่านนาคราช เป็นพรรณไม้เถาลำต้นโค้งงอห้อยลงมามีกิ่งมากมายจัดอยู่ในวงศ์กระบองเพชร (CACTACEAE)
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรในพื้นที่ที่มีหมอกหนาและสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทยตามป่าดงดิบแล้ง การเจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชอบแสงแดดจัด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์ประมาณ 15 ถึง 24°C ช่วงต้นฤดูร้อนเป็นช่วงที่ดีที่สุด ชื่อสามัญ Rat tail Cactus, Rat’s tail Cactus ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Disocactus flagelliformis (L.) Barthlott ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Aporocactus flagelliformis (L.) Lem. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ไส้หนุมาน (กรุงเทพฯ), นาคราช ว่านนาคราช (ภาคกลาง) กระบองเพชรหางหนู

ลักษณะของว่านนาคราช

  • ต้น [1]
    – มีลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน หรืออาจจะห้อยย้อยลงมา
    – ในระยะแรกลำเถาจะเป็นสีเขียวมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีอมเทา
    – ตามลำต้นมีสันนูนประมาณ 8-14 สัน
    – ในแต่ละสันจะมีรูขนเป็นปุ่ม
    – ปุ่มจะมีหนามงอกออกมาเป็นกระจุก กระจุกละ 15-20 เส้น
    – มีความยาว 0.5 เซนติเมตร
    – หนามเมื่อยังออกใหม่ ๆ จะเป็นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง และสีน้ำตาล
    – ลำต้นนั้นมีความกว้าง 0.5 นิ้วหรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย
    – มีความยาว 2 เมตร
    – ไม่มีใบ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมของไม้ผุ ๆ หรือหินปูนเก่า ๆ
  • ดอก [1]
    – ออกดอกตามลำต้น
    – ออกห่างกันเป็นระยะ ๆ ไม่เท่ากัน
    – ดอกเป็นสีแดงแก่
    – เมื่อออกดอกแล้วดอกจะอยู่ได้ประมาณ 7 วัน
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 1 นิ้ว และยาว 2 นิ้ว
  • ผล [1]
    – ผลมีขนาดเล็ก
    – ทำให้เมล็ดมีขนาดเล็กตาม
    – ผลจะเป็นทรงกลม สีน้ำตาลอมแดง
    – ตามผลจะมีขนยาวนุ่มปกคลุมอยู่

สรรพคุณและประโยชน์ของนาคราช

  • ต้น สามารถนำมาเผาหรือสุมไฟให้เป็นถ่านได้[1]
  • ต้น สามารถนำมาใช้ผสมกับยาเย็น ปรุงเป็นยาเย็นถอนพิษแก้พิษงู[1]
  • ต้น ช่วยแก้พิษแมงป่อง พิษตะขาบ และพิษทั้งปวง[1]
  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “นาคราช”. หน้า 392-393.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://succulentalley.com/
2.https://worldoffloweringplants.com/

พญาไม้ผุ สรรพคุณของแก่นใช้แก้ประดง

พญาไม้ผุ
พญาไม้ผุ สรรพคุณของแก่นใช้แก้ประดง ไม้พุ่มเถาเนื้อแข็งเลื้อยตั้งตรง ดอกเป็นช่อสีเขียวหรือสีเหลืองมีขนคล้ายเส้นไหม ผลเป็นสีเขียวรูปไข่ปลายแหลม
พญาไม้ผุ
ไม้พุ่มเถาเนื้อแข็งเลื้อยตั้งตรง ดอกเป็นช่อสีเขียวหรือสีเหลืองมีขนคล้ายเส้นไหม ผลเป็นสีเขียวรูปไข่ปลายแหลม

พญาไม้ผุ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Enkleia malaccensis Griff. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Enkleia malayana Griff, Enkleia siamensis (Kurz) Nevling, Linostoma scandens var. cambodiana Lecomte, Linostoma siamensis Kurz จัดอยู่ในวงศ์กฤษณา (THYMELAEACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปอตับเต่า (เลย), เต่าไห้ พญาไม้ผุ (ราชบุรี), พันไฉน พันไสน (กรุงเทพมหานคร), ปอตับเต่า (ภาคเหนือ)[1]

ลักษณะของต้นพญาไม้ผุ

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – เป็นพรรณไม้พุ่ม เลื้อยตั้งตรง หรืออาจจะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง
    – มีความสูงได้ถึง 2-5 เมตร
    – เปลือกต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีความเหนียว
    – มีมือเกาะอยู่ตรงข้าม
    – ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้น
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบขึ้นได้แทบทุกภาค ยกเว้นในทางภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามชายป่า บริเวณที่ค่อนข้างชื้น ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
    – จะขึ้นปะปนอยู่กับต้นไม้พวกยางชนิดต่าง ๆ
    – พบได้ในที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ความสูง 500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน หรืออาจจะออกเรียงสลับ
    – ใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี หรืออาจจะกลม
    – ปลายใบแหลมหรือมน
    – มีติ่งหนามเล็ก ๆ
    – โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร
    – แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง
    – ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นสีเขียว
    – มีขนสีเทาสั้นและนุ่ม จะขึ้นประปรายไปจนถึงหนาแน่นตามร่องเส้นกลางใบ
    – ด้านล่างเป็นสีเทา มีขนสั่นนุ่มขึ้นประปรายถึงแน่น
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 15-25 เส้น
    – ก้านใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม มีความยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร จะเป็นร่องทางด้านบน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ออกดอกที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกเป็นแบบช่อซี่ร่ม
    – ดอกมีจำนวน 3-15 ดอก
    – ดอกเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง
    – ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นเยื่อบาง เป็นสีครีมแกมสีเขียวอ่อน เป็นรูปรี
    – ปลายและโคนมน มีความกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร และยาว 2-5 เซนติเมตร
    – ใบประดับย่อยมีขนาดเล็ก เป็นรูปแถบ
    – กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีความยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก มีความกว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร และยาว 3-4 มิลลิเมตร – กลีบดอกจะมี 5 กลีบ เป็นรูปลิ้น มีความยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – มีความอวบน้ำ
    – ที่ปลายเป็นแฉกลึก 2 แฉก เป็นรูปขอบขนาน
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงเป็น 2 วง
    – ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง มีความยาว 0.5-1.5 มิลลิเมตร
    – มีอับเรณูยาว 1 มิลลิเมตร
    – มีรังไข่เป็นรูปรี อยู่เหนือวงกลีบ มีความยาว 1-2 มิลลิเมตร
    – มีขนคล้ายเส้นไหมขึ้นหนาแน่น มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เมล็ด
    – ก้านเกสรเพศเมียจะสั้น มีความยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
    – ยอดเกสรเพศเมียจะเป็นตุ่ม
  • ลักษณะของผล[1]
    – เป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปไข่ ปลายแหลม
    – ผิวผลจะเกลี้ยงหรือมีขนละเอียด
    – ผนังชั้นในแข็ง
    – ผลเป็นสีเขียว
    – มีความกว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร และยาว 1-1.5 เซนติเมตร
    – มีก้านผลยาว
    – มีใบประดับสีน้ำตาลอ่อน 2 ใบ มขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร
    – มีเมล็ดเป็นรูปไข่ มีความกว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร
    – จะออกดอกและออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ราก พบสาร linobiflavonoid, chamaejasmin, 7-O-β-d-glucopyranosyl chamaejasmin, ormocarpin , ( – )-wikstromol, matairesinol, (+)-lariciresinol, carthamidin สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ clausarin, daphnoretin, nordentatin, umbelliferone[1]
  • สาร daphnoretin จากราก มีฤทธิ์กดการแสดงออกของยีนไวรัสตับอักเสบบีในเซลล์ตับของมนุษย์และในหลอดทดลองได้[1]

สรรพคุณของพญาไม้ผุ

  • ผล สามารถนำมาใช้เป็นยาถ่าย[1]
  • ใบ สามารถนำมาใช้ต้มเป็นยารักษาโรคตา[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หืดได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ไอได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้ขับเสมหะได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้ขับลมได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ประดงได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ผื่นคันตามผิวหนังได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้โรคเรื้อนได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้คุดทะราดได้[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้[1],[2]

ประโยชน์ของพญาไม้ผุ

  • เส้นใยจากเปลือก สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกได้
  • เส้นใยจากเปลือก มีความเหนียวทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ได้[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ก.ย. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [23 ก.ย. 2015].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [23 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.phakhaolao.la/
2.https://uk.inaturalist.org/

ตะบูนดำ ใช้พอกรักษาแผลสด แผลฟกช้ำ แผลบวม

ตะบูนดำ
ต้นตะบูนดำ ใช้พอกรักษาแผลสด แผลฟกช้ำ แผลบวม เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น โคนต้นพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ดอกเป็นช่อสีขาว ผลงกลมมีร่องเล็กน้อย
ตะบูนดำ
เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น โคนต้นพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ดอกเป็นช่อสีขาวเขียว ผลงกลมมีร่องเล็กน้อย

ตะบูนดำ

ตะบูนดำ เป็นหนึ่งในไม้ป่าของป่าชายเลน เจริญเติบโตและขึ้นกระจายได้ดีในบริเวณที่เป็นดินเลนค่อนข้างแข็ง[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylocarpus moluccensis (Lam.) M. Roem. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กระท้อน (MELIACEAE) ชื่ออื่น ๆ ตะบูน ตะบัน (ในภาคกลาง และภาคใต้) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นตะบูนดำ

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีต้นขนาดใหญ่
    – ต้นมีความสูงประมาณ 20-35 เมตร
    – ลำต้นมีลักษณะเป็นต้นเปลาตรง ลำต้นจะออกใบเป็นรูปทรงยอดลักษณะเป็นพุ่มกลม และโคนต้นจะมีลักษณะเป็นพูพอนที่มีขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบ
    – เปลือกต้นมีผิวขรุขระ เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม ตามเปลือกจะแตกเป็นร่องตามยาว และเมื่อต้นแก่เปลือกจะลอกออกเป็นแถบแคบ ๆ รวมไปถึงภายในลำต้นที่มักจะเป็นโพรง
    – ระบบรากของต้นจะมีหลายลักษณะ โดยหลัก ๆ จะเป็นรูปกรวยคว่ำหรือแบนทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพของดิน
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก โดยใบจะออกเรียงสลับกันไม่มียอดใบ
    – ใบย่อยส่วนมากที่พบจะมีประมาณ 1-3 คู่ที่เรียงตัวกันอยู่ตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปรีถึงรูปขอบแกมรี ที่ปลายใบมน ส่วนโคนใบแหลม
    – ลักษณะเนื้อผิวของใบจะเป็นผิวมัน และใบมีสีเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นใบก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้น ก่อนที่ใบทั้งต้นนั้นจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน[1]
    – ใบย่อยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-6 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-15 เซนติเมตร
    – ก้านใบย่อยมีขนาดความยาวที่สั้นมาก
  • ดอก
    – ช่อดอกจะเป็นแบบช่อแยกแขนง โดยจะออกดอกที่บริเวณง่ามใบ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากอยู่ภายในช่อดอก
    – ดอกย่อยนั้นจะมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ กลีบจะเรียงตัวออกห่างกันเล็กน้อย ส่วนกลีบเลี้ยงมีอยู่ 4 กลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่จำนวน 8 อัน
    – โดยจะออกดอกพร้อมกับการแตกใบใหม่ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม[1]
  • ผล
    – ลักษณะรูปทรงของผลค่อนข้างกลม เปลือกผลมีร่องผลเล็กน้อย
    – ผลอ่อนจะมีสีเขียว โดยผลจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร
    – โดยผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม[1]
  • เมล็ด
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ที่ประมาณ 7-11 เมล็ด
    – ลักษณะรูปร่างของเมล็ดเป็นรูปโค้งนูน ในหนึ่งด้านจะมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-6 เซนติเมตร

ข้อควรรู้
โดยสภาพของลำต้นนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปได้บ้าง ตามแต่ละพื้นที่ที่เจริญเติบโต เช่น มีเปลือกเรียบ สีจากสีน้ำตาลปกติก็จะออกสีแดง เป็นสีน้ำตาล และตามเปลือกต้นก็มีร่องลำต้นเป็นสีขาวมีลักษณะเป็นทางยาวตามลำต้น

สรรพคุณของต้นตะบูนดำ

1. เปลือกไม้นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรับประทานมีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการอักเสบในลำไส้และอาการผิดปกติในช่องท้องได้ (เปลือกไม้)[2]
2. เปลือกไม้นำมาใช้ทำเป็นยาลดไข้ (เปลือกไม้)[2]
3. ผล มีสรรพคุณทางยาเป็นยาช่วยแก้บิดได้ โดยการปรุงยานั้นก็ให้ใช้ผลนำลงไปต้มกับน้ำใช้ดื่ม (ผล)[2]
4. ผลแห้งนำมาตากแห้งเผาไฟร่วมกับเห็ดพังกาและน้ำมันมะพร้าว นำมาใช้ทา โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาสำหรับแก้มะเร็งผิวหนังได้ (ผลแห้ง)[2]
5. ผลและเมล็ดนำมาทำเป็นยาสำหรับแก้อาการไอได้ (ผล, เมล็ด)[2]
6. ผลและเมล็ดนำมาใช้รับประทานสำหรับเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ผล, เมล็ด)[2]
7. ผลและเมล็ดนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้บำรุงร่างกายได้ (ผล, เมล็ด)[2]
8. ผลนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผล, เปลือกไม้)[2]
9. เปลือกและผลมีสรรพคุณเป็นยาช่วยแก้อหิวาตกโรคได้ (ผล, เปลือก)[2]
10. เปลือกและผลนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มช่วยรักษาแผลภายในได้ (เปลือก, ผล)[2]
11. เปลือกและผลนำมาต้มจากนั้นนำมาตำให้ละเอียด ใช้สำหรับพอกรักษาแผลสด แผลฟกช้ำ แผลบวม และแผลที่เป็นหนองได้ (เปลือก, ผล)[2]
12. เปลือกและผลนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับชะล้างบาดแผล จะช่วยทำความสะอาดแผลได้ (เปลือก, ผล)[2]

ประโยชน์ของต้นตะบูนดำ

1. สามารถนำไปใช้ทำดินสอได้ด้วย[2]
2. เปลือกไม้นำมาใช้ในการฟอกหนังเพื่อนำมาใช้ทำเป็นพื้นรองเท้า (Heavy leather)[2]
3. น้ำฝาดจากเปลือกต้นนั้น สามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้า ย้อมแหหรืออวนประมงได้ โดยจะให้สีที่เป็นสีน้ำตาล[2]
4. เนื้อไม้แข็ง และมีลวดลายและสีไม้ที่สวยงาม มักนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งบ้าน หรือตามอาคารได้
5. ลำต้นมักนำมาใช้ทำเป็นพื้นไม้กระดาน [1],[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “ตะ บูน ดํา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [15 พ.ย. 2013].
2. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ต้น ตะบูน ดำ“, “ตะ บูน ดํา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [15 พ.ย. 2013].
3. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะ บูน ดํา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [15 พ.ย. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/
2. http://www.northqueenslandplants.com/

ต้นเทียนขาว ช่วยบำรุงธาตุ และรักษาอาการตกขาวของสตรี

เทียนขาว
ต้นเทียนขาว ช่วยบำรุงธาตุ และรักษาอาการตกขาวของสตรี เป็นพืชสมุนไพรล้มลุก ดอกช่อคล้ายดอกผักชีล้อม สีขาวอมชมพู เมล็ดคล้ายข้าวเปลือกแต่เล็กและยาวเรียว รสเผ็ดร้อนขมหอม
เทียนขาว
เป็นพืชสมุนไพรล้มลุก ดอกช่อคล้ายดอกผักชีล้อม สีขาวอมชมพู เมล็ดคล้ายข้าวเปลือกแต่เล็กและยาวเรียว รสเผ็ดร้อนขมหอม

เทียนขาว

ต้นเทียนขาว เป็นพืชสมุนไพรล้มลุกอายุสั้นที่มีขนาดเล็กสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) เมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายยี่หร่า นิยมนำเมล็ดแห้งใช้สำหรับเป็นเครื่องเทศดับกลิ่นคาว แต่งกลิ่นในอาหารรวมถึงยังใช้ในยาแผนโบราณ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cuminum cyminum L.

ลักษณะของต้นเทียนขาว

  • ต้น
    – ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร
    – เป็นสมุนไพรที่นำเข้าจากต่างประเทศ
    – เป็นผลแห้ง
    – นิยมนำไปใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
    – มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ยี่หร่า” หรือ “เมล็ดยี่หร่า”
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบออกสลับกัน
    – ใบที่โคนต้นเป็นรูปไข่เมื่อดูแนวรูปใบ
    – มีความยาว 5-10 เซนติเมตร
    – ขอบใบหยักลึกจนถึงเส้นกลาง เป็นแฉก 2-3 แฉก
    – ในแต่ละแฉกจะคล้ายเส้นด้าย มีความยาว 1-2 เซนติเมตร
    – ก้านใบจะแผ่เป็นกาบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มหลายชั้น
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
    – มีกลีบเลี้ยงที่ค่อนข้างเล็ก
    – มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือสีชมพู
    – มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดอยู่กับฐานดอก ออกเรียงสลับกับกลีบดอก
    – เกสรตัวเมียจะสั้น
    – รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีอยู่ 2 ห้อง
    – ในแต่ละห้องจะมี 1 เมล็ด
  • ผล
    – เป็นผลแห้ง
    – รูปร่างยาวรี มีสีน้ำตาล
    – มีความกว้างประมาณ 1.3-2 มิลลิเมตร และยาว 4.5-6.7 มิลลิเมตร
    – เปลือกมีขนสั้นแข็งปกคลุม
    – ผลแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
    – ในแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – ซีกผลด้านนอกจะมีความนูน
    – ซีกผลด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อมจะมีความเว้า
    – ด้านที่นูนจะมีสันตามแนวของผล จะคล้ายกับเส้นด้าย 3 เส้น
    – ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันนูน มีขนแข็งสั้น ๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน
    – ระหว่างสันจะมีเนินเล็ก ๆ มีขนแข็ง
    – เมล็ดมีกลิ่นหอม
    – น้ำมันจากเมล็ดจะมีรสชาติเผ็ดร้อนและขม

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัมให้ พลังงาน 375 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 44.24 กรัม
น้ำตาล 2.25 กรัม
เส้นใย 10.5 กรัม
ไขมัน 22.27 กรัม
กรดไขมันอิ่มตัว 1.535 กรัม
โปรตีน 17.81 กรัม
น้ำ 8.06 กรัม
วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม 8%
วิตามินบี 2 0.327 มิลลิกรัม 27%
วิตามินบี 3 4.579 มิลลิกรัม 31%
วิตามินบี 6 0.435 มิลลิกรัม 33%
วิตามินบี 9 10 ไมโครกรัม 3%
วิตามินบี 12 0 ไมโครกรัม 0%
วิตามินซี 7.7 มิลลิกรัม 9%
วิตามินอี 3.33 มิลลิกรัม 22%
วิตามินเค 5.4 ไมโครกรัม 5%
ธาตุแคลเซียม 931 มิลลิกรัม 93%
ธาตุเหล็ก 66.36 มิลลิกรัม 510%
ธาตุแมกนีเซียม 366 มิลลิกรัม 103%
ธาตุฟอสฟอรัส 499 มิลลิกรัม 71%
ธาตุโพแทสเซียม 1,788 มิลลิกรัม 38%
ธาตุโซเดียม 168 มิลลิกรัม 11%
ธาตุสังกะสี 4.8 มิลลิกรัม 51%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สรรพคุณของเทียนขาว

  • ช่วยแก้นิ่ว
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้น้ำดีพิการ
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยแก้อาเจียน
  • ขับลมในลำไส้
  • ช่วยต้านอาการชักได้
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย
  • ช่วยขับระดูขาวของสตรี
  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  • ช่วยแก้ลมวิงเวียน
  • ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย อาการใจสั่น
  • ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียน
  • แก้ลมจุกแน่นในท้อง
  • ช่วยต่อต้านมะเร็งในหนูทดลอง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ช่วยแก้อาการปวดมวน ไซ้ท้องได้
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับลมในลำไส้หรือใช้ขับผายลมในเด็ก
  • ช่วยต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยแก้อาหารไม่ย่อย
  • ช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลายของแอลกอฮอล์และน้ำมันที่ถูกความร้อนสูง

ประโยชน์ของเทียนขาว

  • ช่วยเสริมสร้างความจำ
  • ชาวโรมันโบราณนั้นจะใช้แทนพริกไทย
  • สามารถนำผลมาบดเพื่อนำมาใช้ทำเป็นครีมข้นไว้สำหรับทาขนมปัง
  • ผงยี่หร่าจะช่วยเพิ่ม Hemoglobin ในเลือด ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีความอดทนในการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น
  • ผงยี่หร่า จะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายสามารถรับสารอาหารได้ง่ายขึ้น
  • เมล็ดยี่หร่า สามารถนำไปแปรรูปทำให้แห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศได้
  • สามารถนำไปใช้ใส่แกงพะโล้ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ แกงป่า มัสมั่นได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์บ้านข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.diys.com/cumin-plant/
2.https://lifeforceseeds.com.au/products/cumin

ต้นหลิว ช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบ

ต้นหลิว ช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบ เป็นต้นไม้ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเรียวยาวกิ่งก้านที่ห้อยย้อย ออกเป็นดอกเดี่ยวไม่มีกลีบดอก
ต้นหลิว
เป็นต้นไม้ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเรียวยาวกิ่งก้านที่ห้อยย้อย ออกเป็นดอกเดี่ยวไม่มีกลีบดอก

ต้นหลิว

ต้นหลิว เป็นต้นไม้ผลัดใบขนาดกลางอายุยืนประมาณ 20-30 ปี ใบเรียวยาวกิ่งก้านที่ห้อยย้อยสวยงามจัดอยู่ในตระกูล Salicaceae หรือตระกูลสนุ่นต้นไม้นี้มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกชอบแดดจัดไม่ชอบสภาพอากาศหนาวจัด ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Salix babylonica L. ชื่อเรียกอื่น ๆ ลิ้ว (จีนแต้จิ๋ว), หยั่งลิ้ว หลิว (จีนกลาง)[1],[2]

ลักษณะของต้นหลิว

  • ต้น[1],[2]
    – ลำต้นสูง 10-20 เมตร
    – เรือนยอดโปร่ง
    – เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล
    – กิ่งก้านสาขาเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลอ่อน
    – ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นเล็กน้อย
    – เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด
    – สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท
    – สามารถพบได้ตามริมแม่น้ำ
  • ใบ[1],[2]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปใบหอกแคบยาวรี
    – ปลายใบยาวแหลมเรียว
    – โคนใบแหลม
    – ขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเป็นจักละเอียดเกลี้ยง
    – ใบมีความกว้าง 2-6 นิ้ว และยาว 3.5-6.5 นิ้ว
    – หลังใบเป็นสีเขียว
    – ท้องใบเป็นสีขาว
    – มีก้านใบยาว 6-12 มิลลิเมตร
  • ดอก[1],[2]
    – ออกเป็นดอกเดี่ยว
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศ
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น
    – ดอกเพศผู้จะมีความยาว 1.5-2 เซนติเมตร
    – ดอกเพศเมียจะมีความยาว 5 เซนติเมตร
    – ไม่มีกลีบดอก

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารเคมีที่พบ คือ ในใบหลิวมีสารแทนนิน, delphinidin, cyanidin, fragilin, salicin, salicortin, salidroside, triandrin, vimalin, ในกิ่งก้านหลิวมีสาร salicin 3-4%, ในเปลือกต้นหลิวมีสารแทนนิน 3-9% และใบหลิวมีสารแทนนิน 4.9%[3]
  • การสกัดเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงจากตากิ่ง จะพบสารชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis[1]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกจนถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังถูกทำลายจนเป็นหนังพุพอง โดยการทดลองใช้กิ่งหลิวสดมาเผาไฟให้เป็นถ่าน ป่นให้เป็นผงละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำมันงา ทำให้เหลวข้น แล้วนำมาใช้เป็นยาทาบริเวณแผลโดยไม่ต้องปิดแผล เป็นระยะเวลา 3-14 วัน พบว่าสามารถทำให้แผลหายได้[1]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดเอ จำนวน 253 ราย ด้วยการทดลองใช้กิ่งและใบหลิวสดประมาณ 60 กรัม (ถ้าใช้ 30 กรัม) นำมาเติมน้ำ 500 มิลลิลิตร แล้วต้มจนเหลือ 300 มิลลิลิตร จากนั้นนำมาแบ่งให้ผู้ป่วยกินเป็น 2 ครั้ง กินติดต่อกันจนอาการดีขึ้น ผลการทดลองพบว่า มีผู้ป่วยหายขาดจากโรคชนิดนี้ คิดเป็น 96.3% ใช้เวลาในการให้ยาโดยเฉลี่ยคิดเป็น 28.5 วัน อาการอาเจียน กินไม่ได้ แน่นท้องจะหายไปภายในเวลา 2.7, 3.7, และ 7 วัน ตามลำดับ ปัสสาวะที่มีสีเข้มจะจางลงและมีปริมาณของปัสสาวะเพิ่มขึ้น[1]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จำนวน 82 ราย โดยการใช้กิ่งของต้นหลิว 120 กรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มกรองเอาแต่น้ำกินเป็นยาติดต่อกัน 10 วัน ผลการทดลองพบว่า มีผลในการรักษาอาการไอ เสมหะ และหอบได้ชั่วคราว จากการรักษาพบว่าได้ผลดีหากไม่มีอาการแทรกซ้อน และจากการสังเกตอาการของผู้ป่วยหลังจากดื่มยาแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและไม่แสดงอาการชั่วคราว 34 ราย มีอาการดีขึ้น 26 ราย มีอาการดีขึ้นบ้าง 21 ราย ส่วนอีก 1 ราย ไม่ได้ผล หลังจากกินยาชนิดนี้แล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่กินอาหารได้มากขึ้นและนอนหลับดีขึ้น แต่บางรายที่กินยาเกินขนาดพบว่ามีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาก็หายเองได้[1],[3]
  • เมื่อนำ salicin ที่สกัดได้มาต้มกับกรดเกลือเจือจางหรือกรดกำมะถัน จะได้ saligenin และ glucose โดย saligenin เป็นสารที่มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหาร หลังจากดูดซึมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็น salicylate ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงจาก salicin เป็น saligenin และ salicylate ในร่างกายนั้นไม่แน่นอน การจะหวังผลในการลดไข้แก้ปวดโดยใช้ salicin อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่นัก ส่วน saligenin เข้มข้น 4-10% สามารถนำมาใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ได้โดยไม่เกิดพิษ[3]
  • การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบแข็ง ด้วยการใช้กิ่งหลิวสด 180 กรัม นำมาทำเป็นน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร ให้ผู้ป่วยกินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน
  • หลังจากกินยานี้ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องอืดหรือมีอาการอาหารไม่ย่อย จะให้ยาช่วยย่อย ด้วยการเติมเมล็ดข้าวสาลีที่เริ่มงอก ในขนาด 30 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร จากการสังเกตผู้ป่วย 40 ราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด (มีอาการใจสั่น หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ แขนขาชาและบวม) จำนวน 31 ราย พบว่าอาการหายไป 14 ราย อาการทุเลาลง 13 ราย อาการคงที่ 4 ราย โดยส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ลดลงหรือหายไปภายใน 2-56 วัน และยังพบว่าผู้ป่วยบางคนมีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้อาการขาบวมหายไป นอนหลับได้ดีขึ้น เฉพาะผู้ป่วย 24 ราย ที่มีอาการความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าความดันโลหิตลดลงในระดับต่าง ๆ กัน
  • เมื่อตรวจสอบการรักษาด้วยการตรวจคลื่นหัวใจให้ผู้ป่วย 35 ราย พบว่าดีขึ้นจำนวน 15 ราย (ดูเหมือนว่าผลการรักษาจะดีกว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง) ส่วนระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาของผู้ป่วย 38 ราย ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้จากการใช้ยานี้ คือ อาจทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว แต่อาการจะหายไปเองภายใน 7-14 วัน และบางรายอาจเกิดผื่นคันและพรายย้ำ (จ้ำเขียว) ถ้าใช้ยาแก้แพ้ก็จะหายไปภายใน 7-14 วัน[3]

สรรพคุณของกิ่งหลิว

  • ช่วยแก้โรคปวดตามข้อ[1],[2]
  • ช่วยรักษาบริเวณที่เป็นฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง[1],[2]
  • ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก[3]
  • ช่วยแก้อาการบวมน้ำ[1]
  • ช่วยแก้ตับอักเสบ[1],[2]
  • ช่วยขับลมได้1],[2]
  • ช่วยป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอ[3]
  • ช่วยแก้ขัดเบา[1],[2]
  • ช่วยขับนิ่ว[1],[2]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[1],[2]
  • ช่วยขับลม[1],[2]
  • ช่วยแก้ปวด[1],[2]
  • ช่วยลดไข้[1],[2]

ประโยชน์ของหลิว

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[2]
  • กิ่ง สามารถนำมาใช้เตรียมเป็นผงถ่านพิเศษหรือกัมมันต์ได้ (Activated Charcoal)[3]
  • สาร salicin ที่สกัดได้จากต้นหลิวนั้นสามารถใช้ในการระงับอาการไข้และแก้ปวดได้[4]
  • มีการนำสาร salicin นำมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดของกรดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Acetyl salicylic acid ซึ่งใช้เป็นสารที่ใช้สำหรับทำยาแอสไพริน (Aspirin) หรือยาแก้ปวด[4]
  • เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความสุข ความร่ำรวย การได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง[4]
  • เป็นพืชวิเศษที่ชาวจีนเคารพบูชา
  • คนจีนไม่นิยมปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน เนื่องจากใบหลิวมีลักษณะลู่ห้อยลงมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนโศกเศร้า ดูแล้วทำให้อารมณ์เศร้าซึม
  • มีความเชื่อที่ว่าบ้านใดมีลูกสาวและปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน ลูกสาวบ้านนั้นจะไม่มีคนมาสู่ขอ

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หลิว”. หน้า 822-823.
2. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หลิว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [25 ส.ค. 2014].
3. ไทยเกษตรศาสตร์. “สรรพคุณของหลิว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [25 ส.ค. 2014].
4. SciMath. (สุนทร ตรีนันทวัน). “สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.scimath.org. [25 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://kingco.co.uk/
2. https://blog.irontreeservice.com/

สรรพคุณต้นช้างน้าว ช่วยต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค

ต้นช้างน้าว
สรรพคุณต้นช้างน้าว ช่วยต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อแบบกระจุกสีเหลืองสด ผลสดสีเขียว ผลแก่เป็นสีดำ
ต้นช้างน้าว
เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อแบบกระจุกสีเหลืองสด ผลสดสีเขียว ผลแก่เป็นสีดำ

ช้างน้าว

ช้างน้าว ถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย เขมร) ชื่อสามัญ Vietnamese mickey mouse plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus integerrimus Lour., Ochna harmandii Lecomte) จัดอยู่ในวงศ์ช้างน้าว (OCHNACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ กระโดงแดง (ร้อยเอ็ด) ช้างโหม (ตราด) ช้างโน้ม (จันทบุรี) ขมิ้นพระต้น (ระยอง) ช้างโหม ช้างโน้ม กระแจะ (ราชบุรี) ฝิ่น (นครราชสีมา) ช้างน้าว ตานนกกรด (บุรีรัมย์) แง่ง (ภาคเหนือ) ตาลเหลือง (ภาคกลาง) กำลังช้างสาร (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ตาชีบ้าง (กะเรี่ยง-กาญจนบุรี) โว้โร้ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์)ควุ

ลักษณะของช้างน้าว

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงของต้นโดยประมาณ 3-8 เมตรและอาจสูงได้ถึง 12 เมตร กิ่งก้านแผ่ขยายออก ลำต้นมักคดงอ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาลักษณะแข็งและแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ช้า เติบโตได้ในสภาพดินทุกชนิดแม้พื้นที่แห้งแล้ง แต่ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดจัด ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสน และป่าชายหาด ที่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ มักพบเรียงชิดกันเป็นกลุ่มๆ ที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ปลายใบจะแหลมหรือเรียวแหลม พบได้บ้างที่ปลายใบมน ส่วนโคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อยถี่ ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาวโดยประมาณ 12-17 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ มีเส้นใบข้างโดยประมาณ 7-15 คู่ หักโค้งงอ และมีเส้นระหว่างกลางไม่จรดกัน ใบแก่จะมีสีเขียวหม่นๆ และเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ส่วนก้านใบนั้นยาวโดยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และมีหูใบขนาดเล็กหลุดร่วงได้ง่ายที่ทิ้งร่องรอยไว้บนกิ่งก้าน
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบหรือบริเวณใกล้ปลายกิ่งที่ไม่มีใบ ชอบออกดอกพร้อมกับแตกใบใหม่ ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกโดยประมาณ 4-8 ดอก ช่อดอกยาวโดยประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวโดยประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ดอกมีจำนวนมากและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร มีก้านดอกยาวโดยประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใกล้โคนก้านจะมีลักษณะเป็นข้อต่อ ส่วนใบประดับมีขนาดเล็ก ร่วงได้ง่าย ดอกมีกลีบเลี้ยงมีสีแดงลักษณะเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน 5 กลีบ มีขนาดกว้างโดยประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวโดยประมาณ 10-15 มิลลิเมตร ผิวทั้งสองด้านเรียบ ส่วนกลีบดอกนั้นมีสีเหลืองสดมีโดยประมาณ 5-8 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบมนหรือกลม โคนกลีบสอบเรียวคล้ายก้านกลีบ ส่วนขอบกลีบหยัก กลีบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวโดยประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร แผ่นกลีบบอบบาง หลุดร่วงได้ง่าย ฐานกลีบแคบ ดอกมีเกสรเพศผู้โดยประมาณ 32-50 ก้าน มีก้านชูอับเรณูยาวโดยประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร มีขนาดไม่เท่ากัน โดยวงนอกจะยาวกว่าวงใน อับเรณู ยาวโดยประมาณ 5-6 มิลลิเมตร อับเรณูมีช่องเปิดอยู่ด้านปลาย ฐานรองดอกพองนูน ลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร ขยายขนาดและมีสีแดงเมื่อเป็นผล ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ คาร์เพล 6-12 อัน แต่ละอันจะมี 1 ช่องและมีออวุล 1 เม็ด ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะมี 1 ก้าน ยาวโดยประมาณ 1.2-2 เซนติเมตรติดกับฐานของรังไข่ ปลายแยกเป็นแฉก 6-10 แฉกสั้นๆ ยอดเกสรเพศเมียจะมีจำนวนเท่ากับคาร์เพล โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองเกือบทั้งต้น
  • ผล เป็นผลสด แบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดกว้างโดยประมาณ 8-9 มิลลิเมตรและยาวโดยประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผลมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวผลมัน ผลมีก้านเกสรเพศเมียคงเหลืออยู่ และยังมีกลีบเลี้ยงสีแดงสดที่เจริญตามมารองรับ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด บ้างว่ามีเมล็ด 1-3 เมล็ด ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งและมีขนาดใหญ่ มีเนื้อบางหุ้มอยู่ โดยจะออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของช้างน้าว

1. หมอยาไทยใหญ่จะใช้สมุนไพรช้างน้าวเพื่อรักษาเด็กที่เป็นซางจ่อยผอม หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ดี เป็นโรคเรื้อรัง มีการติดเชื้อบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ (ราก)
2. เปลือกต้นมีรสขม ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
3. ผลมีรสมันสุขุม เป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนตำรายาไทยใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม และตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล ต้น ลำต้น)
4. ตำรายาไทยใช้ต้นช้างน้าวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือจะใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว เถาตาไก้ รากน้ำเต้าต้น รากลกครก อย่างละเท่ากัน มาต้มกินเป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ ส่วนชาวเขาเผ่ามูเซอจะใช้ราก โดยนำมาตากแห้ง หรือดองกับเหล้า หรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ต้น ราก)
5. เนื้อไม้มีรสจืดเย็น ช่วยแก้กษัย ส่วนตำรายาไทยต้นก็มีสรรพคุณแก้กษัยเช่นกัน (ต้น เนื้อไม้)
6. ดับพิษร้อนในร่างกาย (เนื้อไม้)
7. แก้โลหิตพิการ (เนื้อไม้)
8. แก้ดีซ่าน (ราก)
9. เปลือกต้นมีรสขม ใช้ปรุงเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
10. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)
11. ช่วยขับผายลม (เปลือกต้น)
12. แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประดง (แก่น)
13. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)
14. เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น) ในประเทศอินเดียจะใช้ใบและรากช้างน้าวเป็นยาลดไข้ (ใบ ราก)
15. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร (ราก)
16. ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี ด้วยการใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว รากน้ำเต้าแล้ง รากลกครก เถาตาไก้ อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกินเป็นยา (ต้น)
17. ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ส่วนรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ต้น ราก)
18. รากเป็นยาขับพยาธิ (ราก)
19. ในประเทศอินเดียจะใช้ส่วนของใบและรากเป็นยาแก้บิด (ใบ ราก)
20. รากช่วยฟอกน้ำเหลือง แก้โรคน้ำเหลืองเสีย หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี (ราก)
21. รากช้างน้าวช่วยรักษาโรคปวดขา (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. ช้างน้าวมีสาร Bioflavonoid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค มีฤทธิ์ต้านอักเสบ แก้ไข้ และแก้ปวด
2. จากการศึกษาพบว่าสารสกัดที่ได้จากเปลือกช้างน้าวมีฤทธิ์ต่อต้านมาลาเรียได้ดีมาก

ประโยชน์ของช้างน้าว

1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวันและจะหอมมากในช่วงอากาศเย็น ต้นช้างน้าวยังเป็นพันธุ์พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดมุกดาหารอีกด้วย
2. เปลือกนอกของต้นช้างน้าวที่มีลักษณะนิ่ม ๆ คล้ายไม้คอร์ก นำมาบดให้เป็นผงซึ่งจะมีสีเหลืองเข้มสด นำมาใช้ทาแก้สิวฝ้า หรือใช้ทาแทนแป้งได้ (เปลือกนอก)
3. ชาวบ้านจะนิยมตัดกิ่งช้างน้าวขนาดประมาณ 1 ฟุตครึ่ง เพื่อนำมาจำหน่าย (กิ่งละประมาณ 10 บาท) โดยจะเรียกกิ่งไม้ชนิดนี้ว่า “ดอกตรุษจีน” เนื่องจากจะออกดอกในช่วงตรุษจีนพอดี โดยกิ่งของช้างน้าวนั้นเมื่อนำมาแช่น้ำประมาณ 3-4 วัน ก็จะผลิดอกสวยงามจนเต็มกิ่งก้าน คนเวียดนามจึงนิยมปลูกและนำมาใช้ปักแจกัน เพราะมีความเชื่อว่าดอกไม้สีเหลืองเป็นดอกไม้ที่จะนำโชคและความอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเรือน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “ช้างน้าว”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 93.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ตาลเหลือง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 114.
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ช้างน้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [5 มี.ค. 2014].
4. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ช้างน้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [5 มี.ค. 2014].
5. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ช้างน้าว”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [5 มี.ค. 2014].
6. ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ช้างน้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/. [5 มี.ค. 2014].
7. มูลนิธิสุขภาพไทย. “ตูมตังและช้างน้าว ผิวงามรับลมหนาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [5 มี.ค. 2014].
8. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “ช้างน้าว จ้าวยาของเด็กน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakkhaoyai.com. [5 มี.ค. 2014].
9. มติชนออนไลน์. “ช้างน้าวยิ่งเหลืองพรึ่บเท่าไหร่ ยิ่งรวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [5 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/
2. https://www.liamllivan.top/