กำจัดดอย ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน

0
กำจัดดอย
กำจัดดอยกำจัดดอย ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสีแดง ดอกเป็นช่อกระจุก ผลทรงกลมแห้ง และแตกได้
กำจัดดอย
ม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสีแดง ดอกเป็นช่อกระจุก ผลทรงกลมแห้ง และแตกได้

กำจัดดอย

ต้นกำจัดดอย เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสีแดงเข้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zanthoxylum acanthopodium DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หมักก้ากดอยสุเทพ (ภาคเหนือ), มะเคะ พะเคะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำข่วง (ลั้วะ), มะข่วง

  • ลักษณะของใบ [1]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือรูปวงรีแกมใบหอก
    – ขอบใบหยักโค้ง
    – ใบมีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาว 5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบเป็นสีแดง มีขน
  • ลักษณะของดอก [1]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุก
    – ออกดอกตามซอกใบ
    – ดอกย่อยมีหลายดอก
    – ก้านดอกสั้น
    – กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม
  • ลักษณะของผล [1]
    – เป็นผลแห้ง และแตกได้
    – ผลเป็นรูปทรงกลม

สรรพคุณของกำจัดดอย

  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้[1]
  • เมล็ด เมื่อนำมาตำ แล้วต้มหรือตุ๋นกับไก่ สามารถใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใสได้[1]
  • ใช้รักษาโรคเริมและงูสวัดได้(วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)

ประโยชน์ของกำจัดดอย

  • ผล สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้ และจะมีรสชาติคล้ายมะแขว่น[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปเผาถ่าน และผสมกับดินปืนได้[2]
  • เมล็ด ใช้ประมาณ 2 กิโลกรัม นำมาตำคลุกกับขี้เถ้า สามารถนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลาให้เมาได้ และเนื้อปลาจะไม่มีพิษ[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กำจัดดอย”. หน้า 228.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หมักก้ากดอยสุเทพ , มะข่วง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [16 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/helicongus/8255741594
2.https://www.boca-plantes.fr/catalogue/Poivrier-du-Timut-Zanthoxylum-armatum-p489495391

กาฬพฤกษ์ สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้

0
กาฬพฤกษ์
กาฬพฤกษ์ สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกเชอร์รี่ มีกลิ่นหอม ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก เนื้อในฝักสีขาวและแห้ง
กาฬพฤกษ์
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกเชอร์รี่ สีชมพูอมส้มมีกลิ่นหอม ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก เนื้อในฝักสีขาวและแห้ง

กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์ Horse cassia, Pink Shower เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงได้ถึง 20 เมตร ดอกมักจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พืชสมุนไพรมีสรรพคุณและประโยชน์ของเนื้อในฝักใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้ สามารถพบการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia grandis L.f. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือเปลือกขม (ปราจีนบุรี), กัลปพฤกษ์ (กรุงเทพมหานคร), กาลพฤกษ์ ไชยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง), กานล์ กาลส์ (เขมร), กาฬพฤกษ์ยอดแดง[1],[2],[4] คำว่า “กาฬ” และคำว่า “พฤกษ์” นั้น แปลตรง ๆ จะได้ว่า “ต้นไม้สีดำ”

ลักษณะต้นกาฬพฤกษ์

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – ลำต้นมีความคล้ายกับต้นคูนหรือต้นราชพฤกษ์
    – เรือนยอดเป็นพุ่มหรือแผ่กว้าง
    – โคนต้นมีพูพอน
    – เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ
    – แตกเป็นร่องลึก ตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน
    – ช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น
    – ยอดอ่อนเป็นสีแดง
    – มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
    – เป็นพรรณไม้ที่มีปลูกกันทั่วไปตามบ้านและวัด
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3]
    – ใบมีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายใบแคฝรั่งหรือใบขี้เหล็ก
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
    – ออกเรียงสลับกัน
    – แกนกลางใบประกอบยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบยาว 2-3 เซนติเมตร
    – มีใบย่อยประมาณ 10-20 คู่ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่
    – ใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายใบมนมีติ่งหรือหยักเว้าอยู่เล็กน้อย
    – โคนใบเบี้ยว มีความกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบางเรียบ
    – แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมันหรือมีขนประปราย
    – แผ่นใบด้านล่างมีขนขึ้นหนาแน่น
    – ใบอ่อนหรือยอดอ่อนเป็นสีแดง
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ช่อดอกเป็นช่อกระจะ
    – ออกตามกิ่งพร้อมกับผลิใบอ่อน มีความยาว 10-20 เซนติเมตร
    – ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 5 มิลลิเมตร
    – ดอกจะร่วงได้ง่าย
    – ดอกมีลักษณะที่คล้ายกับดอกเชอร์รี่ มีกลิ่นหอม
    – ดอกกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ ค่อนข้างกลม กว้าง 5 มิลลิเมตร และยาว 5-8 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีแดงคล้ำ จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้มตามลำดับ เป็นรูปไข่กลับ มีความกว้าง 8-10 มิลลิเมตร และยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร
    – มีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีความยาวไม่เท่ากัน
    – แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
    – กลุ่มแรกจะมี 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
    – กลุ่มที่ 2 มี 5 อัน ก้านชูอับเรณูจะสั้น
    – กลุ่มที่ 3 จะมี 2 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากและอับเรณูจะฝ่อ
    – รังไข่มีลักษณะเรียวโค้ง มีขนหนานุ่ม
    – เกสรดอกเป็นสีเหลือง
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3]
    – ผลเป็นฝัก ค่อนข้างกลม
    – เป็นแท่งหรือรูปทรงกระบอกยาว
    – โคนและปลายสอบ
    – เปลือกฝักทั้งหนาและแข็ง เป็นสีดำ ผิวขรุขระ และมีรอยแตก
    – ฝักมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และยาว 20-40 เซนติเมตร
    – ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้งสองข้าง
    – ผิวฝักมีรอยแตก
    – ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก
    – เนื้อในของฝักเป็นสีขาวและแห้ง
    – จะซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
    – มีเมล็ดประมาณ 20-40 เมล็ด

สรรพคุณของกาฬพฤกษ์

  • เนื้อในฝัก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้พิษไข้ได้[1]
  • เนื้อในฝัก สามารถนำมาใช้ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซ้ท้อง และระบายท้องเด็กได้ดี[1],[3],[4]
  • เปลือกและเมล็ด สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่ายพิษไข้ได้[1],[3]

ประโยชน์ของกาฬพฤกษ์

  • คนสมัยก่อนจะนำเนื้อในฝัก มาใช้กินกับหมาก[4]
  • เนื้อไม้และเปลือก สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังได้[4]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[2]
  • ถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดบุรีรัมย์[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กาลพฤกษ์”. หน้า 62.
2. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [17 มิ.ย. 2015].
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 มิ.ย. 2015].
4. สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rbru.ac.th/db_arts/rbruflower/pdf/Grandis.pdf. [17 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/8585196208
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/383329

ก้ามปูหลุด พรรณไม้ประดับใบลายสะดุดตา

0
ก้ามปูหลุด พรรณไม้ประดับใบลายสะดุดตา เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีดอกสีม่วงอ่อน ชมพู ใบลายม่วงสลับขาว มีขนยาวสีม่วง ผลขนาดเล็กรูปยาวรี
ก้ามปูหลุด
เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีดอกสีม่วงอ่อน ชมพู ใบลายม่วงสลับขาว มีขนยาวสีม่วง ผลขนาดเล็กรูปยาวรี

ก้ามปูหลุด

ก้ามปูหลุด ชื่อสามัญ คือ Inch plant, Wandering jew เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีดอกสีม่วงอ่อน ชมพู บานตลอดปี ซึ่งเป็นไม้ประดับใบลายม่วงสลับขาวสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยจัดอยู่ในวงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE) มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก อเมริกากลาง และโคลอมเบีย ไม้ประดับชนิดนี้ชอบแสงแดดส่องถึงและชอบดินร่วน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Tradescantia zebrina var. zebrina (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Tradescantia pendula (Schnizl.) D.R.Hunt, Zebrina pendula Schnizl.)
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปีกแมลงสาบ (ทั่วไป), ก้ามปู ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ), จุยเต็กเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เตี้ยวจู๋เหมย (จีนกลาง)

ลักษณะต้นก้ามปูหลุด

  • ลักษณะของต้น
    – แตกแขนงมาก
    – ลำต้นทอดเลื้อยคลุมดินและชูยอดขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีความอวบ เป็นสีเขียวหรือเขียวประม่วงจนถึงม่วงลายเขียว
    – มีข้อและปล้องชัดเจน
    – ในปัจจุบันแพร่กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่ว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการแยกลำต้น
    – เติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ชอบที่ชื้นมาก และชอบแสงแดดปานกลาง
  • ลักษณะของใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีขอบขนาน
    – ปลายใบแหลมเรียว
    – โคนใบมนเบี้ยว
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1.5-3 เซนติเมตร และยาว 3-8 เซนติเมตร
    – หลังใบเป็นสีเขียวอ่อนสลับกับสีเทาควันบุหรี่ลายทาง
    – ท้องใบเป็นสีม่วงอมแดง
    – ไม่มีก้านใบ
    – กาบใบสั้นเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูง 1 เซนติเมตร
    – ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาวและมีขนขึ้นเล็กน้อย
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ
    – จะออกดอกเป็นกระจุกที่ปลายยอด
    – มีใบประดับใหญ่ 2 ใบ จะมีขนาดไม่เท่ากันและหุ้มช่อดอกอ่อนเอาไว้
    – ดอกมีสีขาวอมชมพูเล็กน้อย
    – กลีบรองดอกเป็นสีขาว บาง
    – โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาว 7-10 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ
    – มีความกว้าง 4-5 มิลลิเมตร และยาว 6-8 มิลลิเมตร
    – กลีบด้านบนเป็นสีม่วง
    – ด้านล่างเป็นสีขาว
    – กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน
    – ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว
    – มีขนยาวสีม่วง
    – อับเรณูสีนวล
    – รังไข่เล็ก
    – ก้านเกสรเพศเมีย มีความเรียว
    – ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก
    – ดอกจะทยอยบานโผล่เหนือใบประดับ
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้าง 1 เซนติเมตร
    – ก้านดอกสั้นมาก
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3]
    – ผลเป็นรูปยาวรี
    – มีขนาดเล็ก
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกออกไปตามความยาวของผลระหว่างช่อง
    – ผลมีเมล็ด 2-3 เมล็ด

สรรพคุณของก้ามปูหลุด

  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาขับฝีในท้อง[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ คอบวม คออักเสบได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรีได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ไตอักเสบ บวมน้ำได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้พิษงูกัด ใช้พอกฝี ดูดพิษฝี แก้ฝีอักเสบ[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น มีรสขมหวานเล็กน้อย เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย[1]
  • ทั้งต้น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้บิด แก้บิดเรื้อรัง อันเนื่องมาจากการติดเชื้อ ตำรับยาแก้บิดจะใช้ต้นสด 50-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำข้าว[1]
  • ทั้งต้น สามารถช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด ตำรับยาแก้ไอเป็นเลือดจะใช้ต้นสด 50-100 กรัม นำมาต้มกับปอดหมู รับประทานวันละ 2 ครั้ง[1]
  • ใบ สามารถนำมาใช้ต้มกินน้ำเป็นยาช่วยลดอาการบวม[2]
  • ตำรายาแผนจีน ไต้หวัน จะใช้ใบนำมาตำให้พอละเอียด แล้วนำไปพอกแก้อาการบวมตามข้อได้ดีมาก[4]
  • ลำต้นและใบ สามารถนำมาใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้กระหายน้ำ[2]
  • ต้นสด สามารถนำมาใช้แก้โรคหนองในได้ จะใช้ต้นสดประมาณ 60-120 กรัม นำมาใส่น้ำแล้วต้มให้เหลือ 1 ถ้วย[3]
  • ลำต้น สามารถใช้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้[2]
  • กาบหุ้มดอกสด สามารถนำมาใช้แก้บิดเรื้อรังได้ โดยจะใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม และข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำ ใช้แบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง[3]

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1],[3]

ประโยชน์ของก้ามปูหลุด

  • นิยมนำมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับทั่วไป เพราะว่าใบมีสีสันสวยงาม[2],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่พบได้แก่ Calcium oxalate, Hydrocolloid, Gum[1],[3]
  • น้ำต้มที่ได้ หรือที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ สามารถกระตุ้นลำไส้ที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภาได้ แต่จะไม่มีผลต่อมดลูกและหัวใจ[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ก้ามปูหลุด”. หน้า 70.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ก้ามปูหลุด”. หน้า 59-60.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [18 เม.ย. 2014].
4. ไทยรัฐออนไลน์. “ก้ามปูหลุด รักษาแผลไหม้ลดบวม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [18 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://archivo.infojardin.com/tema/ficha-de-tradescantia-zebrina-var-zebrina.373975/
2.https://bigboyplants.com/tradescantia-zebrina-care/

กากหมากตาฤๅษี สมุนไพรป่าใช้ทำยาแก้โรคหอบหืด

0
กากหมากตาฤๅษี สมุนไพรป่าใช้ทำยาแก้โรคหอบหืด เป็นพืชเกาะอาศัยประเภทเบียนหรือกาฝากที่คอยดูดกินอาหารจากรากพืชชนิดอื่น ดอกสีแดงอมน้ำตาลกลิ่นหอมเอียน
กากหมากตาฤๅษี
เป็นพืชเกาะอาศัยประเภทเบียนหรือกาฝากที่คอยดูดกินอาหารจากรากพืชชนิดอื่น ดอกสีแดงอมน้ำตาลกลิ่นหอมเอียน

กากหมากตาฤๅษี

กากหมากตาฤๅษี เป็นพืชเกาะอาศัยประเภทเบียนหรือกาฝากที่คอยดูดกินอาหารจากรากพืชชนิดอื่น ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst. จัดอยู่ในวงศ์ขนุนดิน (BALANOPHORACEAE)[1],[2] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เห็ดหิน (เลย), ว่านดอกดิน (สระบุรี), บัวผุด (ชุมพร), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), กกหมากพาสี (ภาคเหนือ), ขนุนดิน (ภาคกลาง)[1],[2]

ลักษณะกากหมากตาฤๅษี

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพืชเบียน
    – เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชอื่น
    – มีความสูงได้ 10-25 เซนติเมตร
    – ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน
    – ลำต้นจะมีอยู่หลากหลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย
    – ในประเทศไทยจะสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
    – จะพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
    – มักเกาะพืชในวงศ์ LEGUMINOSAE และพืชในวงศ์ VITACEAE หรือ VITIDACEAE
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – เรียบเวียนรอบลำต้น
    – ใบมีขนาดเล็ก
    – มีประมาณ 10-20 ใบ
    – ใบเป็นสีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมแดง หรือสีน้ำตาล
    – ปลายใบแหลม
    – มีความกว้างมากที่สุด 2 เซนติเมตร และยาว 3 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ดอกเป็นสีแดงอมน้ำตาล
    – มีกลิ่นหอมเอียน
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น
    – ช่อแก่จะชูก้านขึ้นพ้นผิวดินเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก
    – กลุ่มหนึ่งอาจมีดอกถึง 10 ดอก
    – โดยช่อดอกเพศผู้ เป็นรูปไข่แกมรี
    – มีความกว้าง 2-6 เซนติเมตร และยาว 4-15 เซนติเมตร
    – ก้านดอกยาว 0.7-1 เซนติเมตร
    – กาบรองดอกเป็นรูปเหลี่ยมหรือมน ยาว 5 มิลลิเมตร
    – ดอกมีจำนวนมาก
    – กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวอ่อน มีขนาดเล็ก
    – ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว
    – มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน เชื่อมติดกันเป็นก้อนแบนแคบ ๆ ยาว 2.5-5 มิลลิเมตร
    – ตุ่มเกสรเป็นรูปเกือกม้า
    – ช่อดอกเพศเมียจะเป็นสีน้ำตาลอมแดง ค่อนข้างกลมหรือรี มีขนาด 2-10 เซนติเมตร
    – ดอกเล็ก มีจำนวนมากอยู่ชิดกันแน่น
    – ออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

สรรพคุณของกากหมากตาฤๅษี

  • ทั้งต้น มีรสฝาด แพทย์ตามชนบทจะเอาผลตากแห้ง นำมาฝนกับน้ำฝนบนฝาละมีหม้อดิน สามารถใช้เป็นยาแก้หูเป็นน้ำหนวก แก้แผลเน่าเรื้อรังได้[1]
  • ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะนำหัวไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดมานมนาน นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าทึ่ง[3]
  • มีรายงานทางการแพทย์ว่า ลำต้นที่มีลักษณะเป็นหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินนำมาสกัดได้สารโคนิเฟอริน (coniferin) สามารถใช้ทำยาแก้โรคหอบหืดได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กาก หมาก ตา ฤา ษี”. หน้า 72.
2. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กาก หมาก ตา ฤา ษี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [18 มิ.ย. 2015].
3. กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม. “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ขนุนดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamensis.org. [18 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:103250-1
2.http://flora-peninsula-indica.ces.iisc.ac.in/herbsheet.php?id=1806&cat=7

กัลปพฤกษ์ พรรณไม้ดอกไม้มงคล

0
กัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์ พรรณไม้ดอกไม้มงคล เป็นพรรณไม้ดอกไม้ประดับผลัดใบ ดอกสีขาวอมชมพู ฝักมีขนนุ่ม เนื้อในฝักเป็นสีขาวปนเขียว เมล็ดค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเป็นมัน
กัลปพฤกษ์
ป็นพรรณไม้ดอกไม้ประดับผลัดใบ ดอกสีขาวอมชมพู ฝักมีขนนุ่ม เนื้อในฝักเป็นสีขาวปนเขียว เมล็ดค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเป็นมัน

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์ Cassia bakeriana เป็นพรรณไม้ดอกไม้ประดับผลัดใบ ดอกสีขาวอมชมพูคล้ายกล้วยไม้สวยงาม ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนพบได้ในแถบประเทศพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าแดง ป่าโคก ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป (บางครั้งพบอยู่บนเทือกเขาหินปูนที่แห้งแล้ง) ที่ระดับความสูงประมาณ 300-1,000 เมตร ชื่อสามัญ คือ Wishing Tree, Pink Shower, Pink cassia, Pink and White Shower Tree[
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia bakeriana Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cassia bakerana Craib) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เปลือกขม (ปราจีนบุรี), แก่นร้าง (จันทบุรี), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), กาลพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง), กัลปพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ)[1],[2],[3],[4],[5]
และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น[4]

ลักษณะของกัลปพฤกษ์

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3],[5]
    จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 5-15 เมตร มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง แต่ไม่หนาแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำและทอดกิ่งยาวขึ้นสู่ด้านบน เปลือกต้นด้านนอกเรียบเป็นสีเทา ส่วนเนื้อไม้เป็นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล บริเวณยอดและกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมหนาแน่น นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้า ขึ้นได้ในดินทั่วไป สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่ดินไม่ค่อยสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวัน
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[5]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
    – ออกเรียงสลับกัน
    – เป็นช่อยาว 15-40 เซนติเมตร
    – ก้านช่อใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีใบย่อย 5-8 คู่
    – เรียงจากเล็กไปหาใหญ่
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก
    – ปลายใบกลม
    – โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย
    – ขอบใบเรียบ
    – มีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาว 4-9 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบาง
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 7-9 เส้น
    – เนื้อใบมีขนละเอียดนุ่มขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน
    – ด้านท้องใบจะมีขนขึ้นหนาแน่นมากกว่าด้านหลังใบ
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3],[5]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะตามกิ่งพร้อมกับแตกใบอ่อน
    – ช่อดอกไม่แตกแขนง
    – มีความยาว 5-10 เซนติเมตร
    – มีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม
    – ช่อดอกจะออกแน่นเป็นกลุ่มตลอดกิ่ง
    – ก้านดอกยาวได้ 4-6 เซนติเมตร
    – ดอกมีใบประดับเป็นรูปใบหอกชัดเจน มีความกว้าง 7 มิลลิเมตร และยาว 0.7-1.2 เซนติเมตร
    – ดอกเมื่อเริ่มบานแล้วจะเป็นสีชมพู
    – จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ จนถึงสีขาวเมื่อใกล้ร่วงโรย
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่
    – ปลายกลีบแหลม มีความกว้าง 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 9-12 มิลลิเมตร
    – มีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน
    – กลีบดอกมี 5 กลีบเช่นกัน เป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายมน โคนเรียวแคบ มีขนาดกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร และยาว 4-5.5 เซนติเมตร
    – โคนกลีบดอกจะคอดเข้าหากันเป็นก้านแคบ ๆ ยาวได้ 5 มิลลิเมตร
    – กลางดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง
    – เกสรเพศผู้มี 10 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
    – กลุ่มแรกมี 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร
    – กลุ่มที่ 2 จะมี 4 อัน ก้านชูอับเรณูยาวเพียงครึ่งหนึ่งของกลุ่มแรก
    – กลุ่มที่ 3 มี 3 อัน อับเรณูมีขนาดเล็กมาก
    – ก้านชูอับเรณูยาวได้ 1-1.5 เซนติเมตร
    – มีรังไข่เรียวโค้งยาว 4 เซนติเมตร มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ
    – รังไข่ติดอยู่บนก้านส่ง
    – เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของฝัก[1],[2],[3],[5]
    – ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาวแคบ เป็นสีน้ำตาล
    – แขวนลงมาจากกิ่ง
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร และยาว 30-40 เซนติเมตร
    – ฝักมีขนนุ่มสีเทาปกคลุม
    – ภายในฝักแบ่งออกเป็นช่อง ๆ ตามขวาง
    – เนื้อในฝักเป็นสีขาวปนเขียว
    – มีเมล็ด 30-40 เมล็ด
    – ผลจะออกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะเดียวกับการทิ้งใบ
  • ลักษณะของเมล็ด[5]
    – เมล็ด ค่อนข้างกลม เป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน
    – มีสีน้ำตาลเป็นมัน
    – มีความกว้างประมาณ 6-7 มิลลิเมตร และยาว 0.8-1.1 เซนติเมตร

สรรพคุณของกัลปพฤกษ์

  • เปลือกฝักและเมล็ด ช่วยทำให้อาเจียน[2],[3],[4]
  • เนื้อในฝัก สามารถนำมาใช้แก้คูถ แก้เสมหะ[3]
  • เปลือกฝักและเมล็ด มีรสขมเอียน สามารถนำมาใช้เป็นยาลด ถ่ายพิษไข้ได้ดี[2],[3],[4]
  • เนื้อในฝัก มีรสหวานเอียนขม สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกได้โดยไม่ไซ้ท้อง ช่วยระบายท้องเด็กได้ดี[2],[3],[4]

ประโยชน์ของกัลปพฤกษ์

  •  คนแก่ในสมัยก่อน จะใช้เนื้อในฝักกินคู่กับหมาก[4]
  • เนื้อไม้ มีความละเอียดและให้น้ำฝาด สามารถนำไปใช้ฟอกหนังได้[1]
  • ในสมัยก่อนคนไทยจะถือว่า เป็นไม้มงคล เหมาะสำหรับการนำไปทำด้ามธง ถือว่าทำให้เกิดสิริมงคลดีนัก[3]
  • คนไทยในอดีตเชื่อกันว่า มีอยู่ในแดนสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วสารพัดนึก หากปรารถนาสิ่งใด จะไปขอเอาจากต้นไม้นี้
  • เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ มีโชคมีชัย เชื่อกันว่าหากบ้านใดปลูกไว้เป็นไม้ประจำบ้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นสิริมงคล ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต พบแต่ความสุขสมหวังทุกประการ[3]
  • เป็นไม้มงคลที่มีรูปทรงสวยงาม ให้ดอกสวย ออกดอกดกเต็มต้น มีสีชมพูอ่อนสดใสดูงดงาม
  • ในปัจจุบันนิยมจึงนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะปลูกไว้ประดับอาคารบ้านเรือน ปลูกในสวนสาธารณะ และริมถนนทั่วไป และสามารถทนดินเลวและอากาศแห้งได้เป็นอย่างดี[1],[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ไม้โตเร็วอเนกประสงค์, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กั ล ป พ ฤ ก ษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [17 มิ.ย. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กัลปพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [17 มิ.ย. 2015].
3. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 320 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “กาลพฤกษ์ : ดอกไม้แห่งกาลเวลาของชาวไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [17 มิ.ย. 2015].
4. หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
5. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กัลปพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [17 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.richardlyonsnursery.com/pink-shower-tree-cassia-bakeriana/#page-content

กัญชาเทศ ดอกชมพู สรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ

0
กัญชาเทศ
กัญชาเทศ ดอกชมพู สรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว มีรูปร่างคล้ายใบกัญชา ดอกเป็นสีชมพูม่วงหรือสีม่วงแดง ผลสุกแล้วจะเป็นสีดำ เมล็ดกัญชาเทศมีรสหวานและฉุน
กัญชาเทศ
เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว มีรูปร่างคล้ายใบกัญชา ดอกเป็นสีชมพูม่วงหรือสีม่วงแดง ผลสุกแล้วจะเป็นสีดำ เมล็ดมีรสหวานและฉุน

กัญชาเทศ

ชื่อสามัญ คือ Motherworth, Siberian Motherwort, Greasy-bush, Lion’s Tail, Honeyweed เป็นต้น[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Leonurus sibiricus L. จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ส่าน้ำ (เลย), กัญชาเทศ (ราชบุรี), ซ้าซา (นครพนม), เอิยะบ่อเช่า (จีนแต้จิ๋ว), อี้หมูเฉ่า (จีนกลาง)[1],[2]

ลักษณะต้นกัญชาเทศ

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุประมาณ 1-2 ปี
    – ลำต้นมีความสูงได้ 60-180 เซนติเมตร
    – ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง
    – แตกกิ่งก้านเล็กน้อย
    – มีขนเล็ก ๆ ขึ้นตามต้น
    – เมื่อออกดอกแล้วต้นจะตาย[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบคู่
    – ลักษณะคล้ายกับใบกัญชา
    – มีขนาดใหญ่และหนากว่า
    – ขอบใบหยักตื้น 5-9 หยัก
    – ปลายใบแหลม
    – ใบที่อยู่โคนต้น ตรงขอบใบจะมีขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 4-5 เซนติเมตร และยาว 5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบยาว
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – จะออกจากปลายกิ่งหรือง่ามใบ
    – ดอกเป็นสีชมพูม่วงหรือสีม่วงแดง
    – มีขนาดเล็ก
    – ปลายกลีบดอกมี 5 หยัก
    – กลีบดอกยาว 9-12 มิลลิเมตร
    – มีเกสรเพศผู้ 4 อัน[1]
  • ลักษณะของผล[1],[3]
    – ผลเป็นผลแห้ง
    – ไม่แตก
    – เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีดำ
    – ผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
    – ในผลมีเมล็ด

สรรพคุณของกัญชาเทศ

  • ใบ สามารถใช้เป็นยารักษาพิษฝีหนองของผิวหนังได้[1]
  • รากและใบ สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการปวดศีรษะ และเป็นยาขับลมได้[4],[5]
  • เมล็ด มีรสหวานและฉุน สามารถใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ประจำเดือนไม่ปกติ[1]
  • เมล็ด ช่วยขับประจำเดือน ขับน้ำเหลืองเสีย และรักษาแผลต่าง ๆ[4]
  • ทั้งต้นที่อยู่เหนือดิน 3-4 กิ่ง นำมาเติมน้ำ 3 ถ้วย ต้มพอให้เดือด ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย[3]
  • ทั้งต้นและเมล็ด มีรสหอมขมและเผ็ดเล็กน้อย สามารถใช้เป็นยาเย็น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุง ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ฟอกเลือด ช่วยขับลม[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเนื่องจากหลอดเลือดของมดลูกมีการอุดตันและเป็นสาเหตุทำให้ปวดประจำเดือน[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด ช่วยแก้อาการปวดท้องหลังคลอดบุตร[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด ช่วยขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร และมีผลทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด สามารถใช้รักษาไตอักเสบในเบื้องต้นได้[1],[4],[5]
  • ทั้งต้นและเมล็ด สามารถใช้แก้บวมน้ำ และใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย[1],[4],[5]

ประโยชน์ของกัญชาเทศ

  • ใบยอดอ่อน สามารถนำมาใช้ต้มหมูบะช่อ[2]
  • สามารถใช้ปลูกเป็นสมุนไพร หรือจะปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชาเทศ

  • ในช่วงที่ยังไม่ออกดอกจะมีสารในปริมาณมากกว่าช่วงที่ออกดอกแล้ว โดยสารที่พบในใบจะมีสารอัลคาลอยด์ เช่น Leonurine ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และมีสาร Stachydrine, Leonuridine, Leonurinine เป็นต้น[1]
  • ต้นจะมีน้ำมันหอมระเหย 0.5% มีสารอัลคาลอยด์ leonurine มีลักษณะเป็น amorphous powder สีส้ม, มีสาร iridoids, leonuride ฯลฯ มี flavonoids เช่น apigenin, rutin, quercitin และอื่น ๆ[2]
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดหดตัว ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ[4]
  • น้ำต้มของต้นหรือสารสกัดจากแอลกอฮอล์ เมื่อนำมาฉีดเข้าในเส้นเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลองหรือให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามดลูกของกระต่ายที่อยู่ในร่างกายหรือนอกร่างกาย ล้วนมีการบีบตัวแรงและถี่ขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า น้ำต้มมีประสิทธิภาพในการบีบตัวแรงกว่าสารที่สกัดได้จากแอลกอฮอล์ และยังพบว่าการออกฤทธิ์นั้นคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง แต่ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า[1]
  • เมื่อใช้สารอัลคาลอยด์ที่ได้จากต้น มาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลอง พบว่ามีผลทำให้กระต่ายมีการขับปัสสาวะถี่ขึ้น[1]
  • น้ำต้มหรือน้ำแช่ของต้น มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อแบคทีเรียของโรคผิวหนังได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กัญ ชา เทศ”. หน้า 64.
2. ไทยเกษตรศาสตร์. “ข้อ มูล ของ กัญ ชา เทศ”. อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [18 มิ.ย. 2015].
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กัญ ชา เทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [18 มิ.ย. 2015].
4. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กัญ ชา เทศ”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [18 มิ.ย. 2015].
5. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “กัญ ชา เทศ”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.cabidigitallibrary.org/doi/10.1079/cabicompendium.119825

กล้วยบัวสีชมพู สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสียในเด็ก

0
กล้วยบัวสีชมพู สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสียในเด็ก เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ปลีช่อดอกตั้งตรงกาบประดับสีชมพู ผลเป็นสีเขียวคล้ายนิ้วมือ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง
กล้วยบัวสีชมพู
เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ปลีช่อดอกตั้งตรงกาบประดับสีชมพู ผลเป็นสีเขียวคล้ายนิ้วมือ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง

กล้วยบัวสีชมพู

ชื่อสามัญ คือ Flowering Banana[3]ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Musa ornata Roxb.[1] ( ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Musa rosacea N. J. von Jacquin., Musa speciosa M. Tenore, Musa carolinae A. Sterler, Musa rosea J. G. Baker, Musa rosea Jacq., Musa salaccensis H. Zollinger, Musa mexicana E. Matuda[2],[3] จัดอยู่ในวงศ์กล้วย (MUSACEAE)[1]
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กล้วยบัว (กรุงเทพฯ)[1]

ลักษณะกล้วยบัวสีชมพู

  • ลักษณะของต้น[1],[3]
    – จัดเป็นกล้วยไม้ล้มลุก
    – มีความสูงได้ 1-3 เมตร
    – ลำต้นอยู่ใต้ดิน
    – กาบใบห่อหุ้มกับลำต้นเทียม
    – ลำต้นเทียมจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 เซนติเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – เติบโตได้ดีในดินทั่วไป
    – ต้องการน้ำมากและแสงแดดจัด
    – เมื่ออยู่ในที่รำไรลำต้นจะสูงกว่าในที่กลางแจ้งต้นจะเตี้ย
    – พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า และบังกลาเทศ
  • ลักษณะของใบ[1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
    – ปลายใบมนหรือตัด
    – โคนใบเบี้ยว ด้านหนึ่งมน ส่วนอีกด้านหนึ่งเรียวแหลม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 25 เซนติเมตร และยาว 2 เมตร
    – หลังใบเรียบ
    – แผ่นใบเป็นนวลสีขาวเล็กน้อยทั้งสองด้าน
    – เส้นกลางใบเป็นสีแดง
    – ก้านใบยาวได้ 60 เซนติเมตร
  • ลักษณะของปลี[1],[3]
    – ปลีช่อดอกตั้งตรง
    – ก้านช่อหนา
    – มีความยาว 2-3 เซนติเมตร
    – ใบประดับมี 2 ใบ
    – มีความยาวได้ 30 เซนติเมตร
    – กาบประดับเป็นสีชมพู
    – ปลายกาบแหลม
    – กาบด้านล่างยาว 10 เซนติเมตร
    – มีขนาดเล็กลงช่วงปลายช่อ
    – ปลายกลีบเป็นสีเหลือง
    – กาบดอกเพศเมียอยู่ช่วงล่าง
    – มีกาบอยู่ 7 กาบ
    – ดอกเพศเมียจะมี 3-5 ดอก
    – ในแต่ละกาบ
    – เรียงแถวเดียว
    – กลีบดอกรวมเป็นสีเหลืองอมส้ม
    – กลีบรวมที่ติดกันยาว 3.5 เซนติเมตร
    – กลีบที่แยกยาวได้ 3 เซนติเมตร
    – ปลายหยักเป็นพูตื้น ๆ 5 พู พับงอ
    – เกสรเพศผู้ที่หมันยาว 1/3 หรือ 1/2 ส่วนของความยาวก้านเกสรเพศเมีย
    – รังไข่ยาว 4 เซนติเมตร
    – ก้านเกสรเพศเมียยาว 3 เซนติเมตร
    – ดอกเพศผู้มี 3-6 ดอก ในแต่ละกาบ
    – เรียงแถวเดียวกัน
    – กลีบรวมเป็นสีส้มครึ่งบน
    – ด้านล่างมีสีอ่อนกว่า
    – กลีบรวมที่ติดกันยาว 3.5-4 เซนติเมตร
    – คล้ายกับดอกเพศเมีย
    – กลีบรวมที่แยกกว้าง 1 เซนติเมตร และยาว 3-3.5 เซนติเมตร
    – เกสรเพศผู้ยาวเท่ากับกลีบรวมที่แยก
    – ก้านชูอับเรณูยาวกว่าอับเรณู
    – อับเรณูเป็นสีม่วง
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3]
    – ผลเป็นสีเขียว
    – เรียงชิดกันคล้ายนิ้วมือ
    – ผลย่อยยาว 6-8 เซนติเมตร
    – มี 4-5 สัน ก้านผลนั้นสั้น
    – ผลเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานเป็นเหลี่ยม
    – ปลายและโคนเรียว
    – ผิวเปลือกเรียบ
    – หวีหนึ่งมีแถวเดียวเรียงไม่เป็นระเบียบ
    – เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
    – ข้างในผลมีเมล็ดสีดำ
    – เมล็ดเป็นเหลี่ยมและแบน
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร

สรรพคุณ และประโยชน์ของกล้วยบัวสีชมพู

  • แพทย์ตามชนบทจะใช้กาบหัวปลี ผล และรากเหง้า สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียในเด็กได้[1],[2]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับมานานแล้ว[3]
    – ก่อนที่จะมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ (ตั้งในปี 1824) ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ผิด โดยเฉพาะชื่อ Musa rosacea Jacq.
    – เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงไม้ดอกไม้ประดับ
    – ยังมีพันธุ์ผสมที่มีลักษณะใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
    – ทำให้ใบประดับแต่ละพันธุ์มีหลากหลายสี
    – โดยเฉพาะพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาเองเพื่อเป็นไม้ตัดดอกแล้วนำมาตั้งชื่อเป็น Musa ornata ตามด้วยพันธุ์ผสมอื่น ๆ เช่น African Red, Bronze, Costa Rican Stripe, Macro, Lavender Beauty, Leyte White

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กล้วยบัวสีชมพู (Kluai Bua Si Chom Phu)”. หน้า 37.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กล้วยบัวสีชมพู”. หน้า 66.
3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กล้วยบัวสีชมพู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [23 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1https://wildlifeofhawaii.com/flowers/1432/musa-ornata-flowering-banana/
2.https://www.carousell.com.my/p/musa-ornata-banana-1143432165/

กระทืบยอด สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน

0
กระทืบยอด สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็กตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ดอกเป็นช่อกระจุกออกบริเวณยอด ผลที่เขียวอ่อนรูปกระสวย
กระทืบยอด
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็กตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ดอกเป็นช่อกระจุกออกบริเวณยอด ผลที่เขียวอ่อนรูปกระสวย

กระทืบยอด

กระทืบยอด เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็กตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Biophytum sensitivum (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด (OXALIDACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระทืบยอด (เชียงใหม่), นกเขาเง้า (นครราชสีมา), ทืบยอด (สุราษฎร์ธานี), จิยอบต้นตาล จิยอบต้นตาน (ภาคเหนือ), กะทืบยอด กะทืบยอบ (ภาคกลาง), หัวใจไมยราบ (ภาคใต้), ไมยราบ กระทืบยอด (ไทย), เนี้ยซัวเช้า (จีน), กะเสดโคก, คันล่ม, เช้ายอบ, หญ้างับ, หน่อปีเหมาะ[1],[2]

ลักษณะต้นกระทืบยอด

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว
    – ลำต้นมีขนาดเล็กและตั้งตรง
    – ไม่แตกกิ่งก้าน
    – ลำต้นกลมเป็นปล้อง
    – เปลือกต้นเป็นสีแดงระเรื่อ ๆ หรือเป็นสีน้ำตาลแดง
    – มีขนละเอียด
    – ลำต้นมีความสูง 10-20 เซนติเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และบริเวณที่ชื้นแฉะ
    – พบได้มากตามชายเขาในภาคเหนือและภาคกลาง
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3]
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
    – ออกเรียงสลับเวียนรอบต้น
    – ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด
    – ก้านใบแผ่แบนรวมกันอยู่บนยอด
    – ใบย่อยมีประมาณ 8-12 คู่
    – ใบย่อยเป็นรูปคล้ายโล่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุก
    – ออกบริเวณยอดของลำต้น
    – มีก้านยาว 3-10 เซนติเมตร
    – แต่ละช่อจะมีดอกย่อยเป็นกลุ่ม ๆ
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองสด
    – กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอด สีเขียวอ่อน
    – กลีบดอกเป็นสีเหลืองมีขีดสีแดงตามยาว
  • ลักษณะของผล[3]
    – ผลเป็นผลแห้งแตกได้
    – ผลเป็นรูปกระสวย
    – เป็นสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของกระทืบยอด

  • ใบ สามารถนำมาใช้เป็นยาขับเสมหะได้[2],[3]
  • ใบ สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้กาฬภายในได้[2],[3]
  • ใบ สามารถนำมาใช้เป็นยาพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แก้ฟกช้ำได้[2],[3]
  • ใบ สามารถนำมาใช้พอกรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พิษแมงป่องได้[2],[3]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำได้[2],[3]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคหนองในได้[1],[2],[3]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับนิ่วได้
  • ราก สามารถนำมาใช้ละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้[1],[2],[3]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้สะอึกได้[1],[3]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ไข้ แก้ไข้กาฬได้
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ถอนพิษเบื่อเมาได้ โดยนำลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม[1],[3]
  • เมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาแผลสด แก้ฝี เร่งฝีให้แตกเร็วได้[2],[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หอบหืดได้[2],[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้เบาหวานได้[2],[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาขับระดูของสตรีได้[2]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ไตพิการได้[2],[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระทืบยอด”. หน้า 31-32.
2. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “กระทืบยอด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [04 ก.ค. 2015].
3. คุยเฮิร์บ (KUIHERB). “กระทืบยอด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.inf.pharm.su.ac.th/~kuiherb/. [04 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiabiodiversity.org/files-api/api/get/raw/observations//aaaa76a5-677a-45aa-9447-b7b891e96e0e/50462.jpg
2.https://indiabiodiversity.org/species/show/228939

กระทาดง สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย

0
กระทาดง
กระทาดง สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ดอกเป็นช่อกระจุก กลีบดอกเป็นสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน ผลรูปไข่สีม่วงเข้ม
กระทาดง
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ดอกเป็นช่อกระจุก กลีบดอกเป็นสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน ผลรูปไข่สีม่วงเข้ม

กระทาดง

กระทาดง พืชที่คนไทยรู้จักกันใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lasianthus kurzii Hook.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasianthus chrysoneurus (Korth.) Miq.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

ลักษณะกระทาดง

  • ลักษณะของต้น[1]
    – เป็นพรรณไม้พุ่ม
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 2-4 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก
    – ใบมีความกว้าง 6-9 เซนติเมตร และยาว 15-25 เซนติเมตร
    – มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
    – มีดอกย่อย 4-7 ดอก
    – กลีบดอกเป็นสีขาว
    – เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลเป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปไข่
    – มีสีม่วงเข้ม

สรรพคุณของกระทาดง

  • ลำต้นหรือราก สามารถนำมาใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระทาดง”. หน้า 142.

กระแตไต่หิน สรรพคุณของเหง้าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

0
กระแตไต่หิน สรรพคุณของเหง้าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น เกาะตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้ มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาล
กระแตไต่หิน
เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น เกาะตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้ มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาล

กระแตไต่หิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Drynaria bonii Christ. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Drynaria meeboldii Rosenst. จัดอยู่ในวงศ์ POLYPODIACEAE[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ กระจ้อน, กระแตไต่ไม้, กระแตพุ่มไม้, กระปรอกเล็ก, ฮอกกาบลม[2]

ลักษณะของกระแตไต่หิน

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น
    – จะเลื้อยเกาะแน่นตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้
    – เหง้ามีลักษณะที่แบน มีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และหนา 5 มิลลิเมตร
    – มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาลอยู่หนาแน่น
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลียเขตร้อน และพอลินีเซีย
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบขึ้นได้ทุกภาค
    – มักขึ้นบนหินหรือคาคบในป่าดิบแล้งและในป่าเบญจพรรณ
    – จะขึ้นที่ความสูงระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    ใบมี 2 ชนิด และมีรูปร่างที่ต่างกัน
    1. ใบไม่สร้างสปอร์ (nest-leaves)
    – มีจำนวนมาก
    – ออกเรียงสลับซ้อนกันปิดเหง้าไว้เกือบมิด
    – เป็นรูปวงรีหรือรูปไข่
    – ปลายใบมนหรือแหลม
    – โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ
    – ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 4.5-7 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร
    – เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นได้ชัดเจน
    – ใบอ่อนเป็นสีเขียว
    – ใบแก่เป็นสีน้ำตาล
    2. ใบที่สร้างสปอร์ หรือใบแท้ (foliage-leaves)
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบชี้ขึ้นข้างบนและอยู่สูงกว่าใบประกบต้น
    – ใบด้านล่างส่วนที่ต่อกับก้านใบจะแผ่ออกเป็นปีก
    – ขอบใบจะเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบเป็นแฉก
    – แฉกเรียงกันแบบขนนก
    – ปลายพูแหลม
    – ขอบพูหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบจะมีความกว้าง 20-40 เซนติเมตร และยาวความ 30-50 เซนติเมตร
    – แต่ละแฉกเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก
    – มีความกว้างได้ถึง 3.5 เซนติเมตร และยาว 10-22 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – กลุ่มสปอร์จะอยู่ในอับสปอร์
    – มีรูปร่างที่ค่อนข้างกลม
    – เรียงกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบอยู่ระหว่างเส้นใบทางด้านหลังใบ
    – แอนนูลัส ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว
    – เรียงตัวในแนวตั้ง
    – ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณของกระแตไต่หิน

  • ขนจากเหง้า สามารถนำมาบดให้ละเอียด และใช้สูบแก้หืดได้[1]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น และต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืดได้[1]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษามะเร็งในปอด ปอดพิการได้[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้ฝนกับน้ำมะนาวกินและทาแก้เนื้อตายจากพิษงูเขียวหางไหม้ได้
  • ต้น ถูกจัดว่าเป็นตัวยาที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด
  • เมื่อนำไปผสมกับ Dipsacus และอื่น ๆ จะช่วยบำบัดอาการป่วยได้
  • สามารถนำมาใช้สำหรับบำบัดอาการปวดเข่าและปวดหลัง แก้ปวดฟัน และเลือดออกตามไรฟันได้
  • เหง้า มีรสขม ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  • เหง้า ช่วยขยายหลอดเลือด แก้อาการมืดเท้าเย็น
  • เหง้า ลดอาการเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด
  • เหง้า แก้ไขข้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดหลัง และกระดูกแตก

ประโยชน์ของกระแตไต่หิน

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้[2],[3]
  • สามารถนำมาปลูกเป็นเฟิร์นประดับตามโขดหินหรือต้นไม้ในสวนได้[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระ แต ไต่ หิน”. หน้า 96.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระแตไต่ไม้ (Drynaria bonii)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [05 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://alchetron.com/Drynaria
2.http://phytoimages.siu.edu/