โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้

0
4507
เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็ง, มะเร็งคืออะไร
เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็ง, มะเร็งคืออะไร
โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็ง, มะเร็งคืออะไร

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร ? มะเร็ง เป็นโรคภัยที่ใกล้ตัวเราชนิดหนึ่ง ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนสูงมากในแต่ละปี คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 8 ล้านคนต่อปี  โดยในประเทศไทยเองจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 120,000 คน ในทุกๆปี และจะกลายเป็นผู้เสียชีวิตสูงถึง 60,000 คนต่อปีเลยทีเดียว  จากข้อมูลมีสถิติที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มะเร็ง ( Cancer ) กลายไปเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งโดยมากกว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุเสียอีก

” มะเร็ง ” คืออะไร ?

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราลองมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งดังนี้

1. ปัจจัยด้านอาหาร  อาหารก่อมะเร็งเคยสังเกตกันไหมว่า อาหารหลายๆอย่างที่เราทานกันด้วยความอร่อยอยู่ในทุกๆวันนี้  ส่วนมากมักจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันที่สูงเช่น ไก่ทอด หมูทอด ครีมเทียม เนื้อสัตว์ที่ติดหนัง อาหารฟาสฟู้ดต่างๆ เป็นต้น หรือจะเป็นอาหารของหมักดอง อาหารเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหากทานเข้าไปในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ใช้น้ำมันในการทอดซ้ำๆ และยังรวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหารในส่วนที่ไหม้เกรียม จากการทอด การย่าง อีกด้วย

2. ปัจจัยด้านมลภาวะ เสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมต่างๆมักจะได้รับผลกระทบจากข้อนี้มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากต้องเผชิญกับมลพิษต่างๆมากมาย เช่น ควันท่อไอเสียรถมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม  ควันบุหรี่ สิ่งเหล่านี้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากจะเข้าไปสะสมในร่างกายและนอกจากนี้การที่ทำงานกลางแจ้ง จนได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เหมือนกัน

3. ปัจจัยด้านสารเคมีและรังสี โรคมะเร็งจากเคมีรอบตัว ในแต่ละวันเราเองอาจจะได้รับสารเคมีและรังสีต่างๆเข้าไปสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัวเช่นการกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างจากยาค่าแมลง การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะน้ำฝนในปัจจุบันควรต้มก่อนดื่มเสมอ และหากใครที่ทำงานในส่วนที่ ต้องสัมผัสหรือสูดดม สารจำพวกโลหะหนักเป็นประจำ เช่น เบนซิน นิกเกิล แคดเมียม ก็ควรหาเครื่องมือในการป้องกันและควรหมั่นไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำด้วย

4. พฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การใช้ชีวิตของคนเราเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงในการทำให้เกิดมะเร็งต่างๆได้ เช่น ความเครียด ความกดดัน การทำงานที่หนักจนเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ  ขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทานยาคุมกำเนิด ติดต่อกันนานๆเกินกว่า 5 ปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย

5. ความผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับข้อนี้คงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากเช่น พันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปลูก การมีร่างกายพิการตั้งแต่กำเนิดการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือพยาธิใบไม้ในตับ การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งเหล่าล้วนเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้เหมือนกัน

มะเร็งมาจากคำว่า Carcinus หรือ Karkinos ในภาษากรีก ที่แปลเป็นไทยว่า ปู เนื่องจากลักษณะการเติบโตของสารมะเร็งนั้นเป็นไปแบบไม่มีระเบียบ สามารถลุกลามไปที่อื่นได้ ก็คล้ายกับพฤติกรรมการเดินของปู ที่เวลาเดินจะไร้ทิศทางไม่มีระเบียบ และเซลล์มะเร็งก็มีส่วนคล้ายกับขาของปูดังนั้น เครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นสัญลักษณ์เสมอ

มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย โดยจะไปทำให้ DNA ภายในเซลล์กลายพันธุ์เกิดการไปทำลายข้อมูลของยีนส์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดหน้าที่ของเซลล์และยังไปทำลายการควบคุมความปกติของการแบ่งตัวของเซลล์อีกด้วยโดยปกติแล้วร่างกายคนเรา จะมีเซลล์อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกันออกไป  เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มในทุกๆวันอยู่แล้ว เพื่อไปซ่อมแซมทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป มีการทำงานที่เป็นระบบมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่เมื่อเซลล์พวกนี้ทำงานบกพร่อง ก็จะไปทำให้ เซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมากเกินกว่าปกติ จนทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อ หรือที่เรียกว่า เนื้องอก ( Tumor ) หากเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตรายจะเรียกว่า ( Benign Tumor ) แต่หากเป็นเนื้องอกที่มีความอันตรายหรือก้อนเนื้อร้าย เราจะเรียกมันว่า “ มะเร็ง ” ( Malignant Tumor ) นั้นเองสำหรับการเลือกชื่อชนิดของโรคมะเร็งที่พบ จะเรียกตามอวัยวะที่ผู้ป่วยเป็น เช่น หากเป็นที่ตับ ก็จะเรียกว่า มะเร็งตับ หรือ หากเป็นที่เต้านม ก็จะเรียกว่ามะเร็งเต้านม เป็นต้น ปกติคนเราจะเป็นมะเร็งได้มากกว่า 1 ชนิด โดยอาจเกิดจากการลุกลามจากที่แรกไปอีกที่หนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นแบบไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก และที่พบบ่อยสุดในเด็ก คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เซลล์มะเร็งจะมีคุณลักษณะ 5 ข้อต่อไปนี้ คือ  เจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง มีศักยภาพในการแบ่งตัวไร้ขีดจำกัด ไม่สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตได้ มีความสามารถในการแพร่กระจาย และรุกรานเนื้อเยื่ออื่น มีกลไกการสร้างเส้นเลือดใหม่จากเส้นเลือดเก่า ( Angiogenesis ) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับโรคมะเร็งว่า หากเป็นแล้วจะต้องตายทุกคน ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

“ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง ในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตจำนวน 3,455 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 10.5 ราย โดยผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน”

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งจะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.อวัยวะที่เป็นมะเร็ง หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในอวัยวะที่ไม่อันตรายมากเช่นมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ เป็นต้นก็สามารถรักษาให้หายได้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง

2. ระยะของมะเร็ง การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ส่วนถ้าผู้ป่วยรายใดพบมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้ว ก็มีโอกาสรักษาก็จะน้อยตามไปด้วย

3. อายุของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งที่เป็น โดยมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุน้อยจะไม่ดี รักษาได้ยาก เช่น มะเร็งเต้านมส่วนมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุมากไม่ดี เช่น มะเร็งสมอง ยิ่งอายุมากกว่า 60 ยิ่งอันตราย เป็นต้น

4. สภาพร่างกายของผู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็ง โอกาสที่จะหายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่สภาพของร่างกายผู้ป่วยด้วย โดยคนที่มีร่างกายแข็งแรงก็ย่อมมีโอกาสหายได้มากกว่าคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งแนวทางการรักษาก็จะไม่เหมือนกัน โดยหมอจะดูว่าผู้ป่วยทนต่อการรักษาแบบไหนได้บ้าง ควรรักษาเพื่อให้หายขาด ( Curative Care ) หรือแค่รักษาเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care )

5. ความเก่งของหมอและสถานพยาบาล ปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาอีกอย่างก็คือ การที่โรงพยาบาลนั้นๆมีหมอเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งหรือมีอุปกรณ์เครื่องมือในการรักษาครบถ้วน ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสรักษาให้หายมากตามไปด้วย6.จิตใจของผู้ป่วยเอง หากสภาพจิตใจของผู้ป่วยรายใด ที่มีกำลังใจดี เข้มแข็ง ก็ย่อมทำให้มีโอกาสรักษาให้หายได้มากกว่า ผู้ป่วยที่หมดกำลังใจ ซึมเศร้า มีแต่ความหดหู่ ดังนั้นผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 แล้ว แต่ถ้าเราตรวจพบโรคได้ไว และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ และในขณะเดียวกัน แม้จะรักษามะเร็งจนหายแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกาย สักวันคุณก็อาจจะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกได้ ใครจะไปรู้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.