4 พฤติกรรมและอาการประสาทจิตเวชที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมเป็นคำเรียกโดยรวมของโรคที่เกิดจากความเสียหายของสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วส่งผลกระทบต่อการกระทำ การแสดงออก ความคิดและการตัดสินใจของผู้ป่วย เมื่อเราลงรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมกันอีกนิด ก็จะพบว่าภาวะสมองเสื่อมนี้ยังแตกแขนงไปได้อีกหลายประเภท ซึ่งนั่นหมายความว่าอาการของโรคก็จะแตกต่างกันไปด้วย บางกลุ่มของโรคแทบไม่แสดงอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนเลยในระยะแรกถึงระยะกลาง กว่าผู้ป่วยจะถูกพาตัวมารักษาก็เกือบจะเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว ในขณะที่บางกลุ่มของโรคก็แสดงอาการชัดเจนเลยตั้งแต่เริ่มต้นจึงทำการรักษาได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามผลลัพธ์สุดท้ายของภาวะสมองเสื่อมก็คือทำให้เกิดการถดถอยของสมรรถภาพของสมองทำให้เกิดอาการทางจิตนั่นเอง
พฤติกรรมและประสาทจิตเวชอันเนื่องมาจากภาวะสมองเสื่อม หรือบีพีเอส ( Behavioral and Psychiatric Symptoms:BPS ) เป็นอีกหนึ่งอาการของภาวะสมองเสื่อมที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างโรคสมองเสื่อมกับโรคอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง เพราะสิ่งที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน ทั้งในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ได้มีภาวะสมองเสื่อม แต่เมื่อวินิจฉัยได้แน่นอนแล้วว่าเป็นอาการจิตประสาทที่เกิดจากความถดถอยทางสมรรถภาพของสมอง บีพีเอสจะกลายกุญแจสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ตีกรอบเพื่อระบุภาวะสมองเสื่อมได้แบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นผลดีอย่างมากต่อการรักษาผู้ป่วยต่อไป
พฤติกรรมและประสาทจิตเวชอันเนื่องมาจากภาวะสมองเสื่อม หรือบีพีเอส ( Behavioral and Psychiatric Symptoms:BPS ) สามารถแบ่งลักษณะอาการเด่นๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการโรคจิต กลุ่มอาการผิดปกติทางอารมณ์ กลุ่มพฤติกรรมอันเนื่องมาจากสมองกลีบหน้าทำงานบกพร่อง และกลุ่มที่เกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับ
โดยที่ในแต่ละกลุ่มไม่ได้มีเปอร์เซ็นต์ที่แน่ชัดว่ากลุ่มใดจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้มากกว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งวัย ระดับความรุนแรงของความเสียหายในสมอง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการอยู่ในกลุ่มไหนก็ล้วนสร้างปัญหาให้ผู้ดูแลทั้งสิ้น หลายรายเมื่อต้องรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยไปนานๆ ก็จะรู้สึกเป็นภาระและเกิดโรคซึมเศร้าขึ้น แม้แต่ตัวผู้ป่วยเองอาการ BPS ก็กระตุ้นให้ความเสื่อมทางสมองทรุดหนักลงอีกหากไม่มีการจัดการทางความคิดหรือพฤติกรรมการแสดงออกที่ดีพอ>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> สมองเสื่อมมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยอย่างไร มาดูกันค่ะ
กลุ่มเสี่ยงที่เป็นอาการประสาทจิตเวช
1. กลุ่มอาการโรคจิต ( Psychotic Symptoms )
เป็นกลุ่มของอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคจิตหรือผู้ป่วยจิตเภท ( Schizophrenia ) แต่จะไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งในด้านการวินิจฉัยโรคและวิธีดำเนินการรักษา จุดที่ใช้สังเกตเพื่อแยกแยะผู้ป่วยโรคจิตเภทออกจากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็คือ ในผู้ป่วยจิตเภทพบเจอลักษณะอาการที่อยู่ในกลุ่มอาการโรคจิตหลากหลายกว่า และพบได้ในผู้ป่วยจิตเภทตั้งแต่ช่วงระยะต้นๆ ในขณะที่เมื่อพูดถึงกลุ่มอาการโรคจิตในผู้ป่วยสมองเสื่อม ประเด็นที่เรามักจะให้ความสนใจมากเป็นพิเศษมีเพียง 2 ประเด็นเท่านั้น ก็คือ อาการหลงผิด ( Delusion ) และประสาทหลอน ( Hallucination ) ทั้งสองอย่างนี้พบได้น้อยมากในผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น แต่กลับพบได้บ่อยมากในผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะรุนแรง ลักษณะของอาการเป็นแบบขึ้นๆ ลงๆ ไม่สามารถกะเกณฑ์ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร อย่างไร
1.1 อาการหลงผิด ( Delusion ) เป็นความผิดปกติของระบบความคิด จุดเด่นของอาการกลุ่มนี้คือการมีความเชื่อที่ไม่เป็นจริง และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย นั่นจึงเป็นต้นเหตุของปัญหาและความเครียดที่จะตามมาในส่วนของตัวผู้ป่วยเองและญาติที่ดูแลใกล้ชิด อาการหลงผิดยังสามารถแยกย่อยเป็นประเด็นต่างๆ ได้อีกดังนี้
อาการหลงผิดชนิดไม่วิตถาร ( Non-bizarre delusion ) : หมายถึงอาการหลงผิดแบบที่ยังพอเข้าใจได้ว่าผู้ป่วยกำลังคิดหรือวิตกกังวลเรื่องอะไร ได้แก่ มีความเชื่อว่ามีคนปองร้ายอยู่ตลอดเวลา ( persecutory delusion ) จึงระแวงและหวาดกลัวจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ บ้างมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นไม่ยอมก้าวออกจากบ้านอีกเลย เชื่อว่ามีคนปลอมตัวมาเป็นญาติหรือเพื่อนของตนของตน ( Capgras delusion ) ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดูแล เพราะผู้ป่วยจะไม่ไว้วางใจคนใกล้ชิดและไม่ยอมให้เข้าถึงพื้นที่ส่วนตัวเลย เชื่อว่ามีคนแปลกหน้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ( phantom boarder syndrome ) เชื่อว่าสมบัติถูกขโมย ( delusion of theft ) และเชื่อว่าคู่ชีวิตหรือคู่สมรสนอกใจ ( jealousy delusion ) อาการหลงผิดกรณีต่างๆ มีปัจจัยหนึ่งทางจิตวิทยาที่มีแนวโน้มในการเกิดระบุเอาไว้ด้วย นั่นคือเรื่องของความผูกพันธ์กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากๆ เช่น ผู้ป่วยที่รักคู่ชีวิตของตัวเองมากๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการที่เชื่อว่าคู่ชีวิตหรือคู่สมรสนอกใจ ( jealousy delusion...
โรคสมองเสื่อมคนเป็นไม่รู้ คนรู้ไม่เป็น
โรคสมองเสื่อม
สมองเสื่อม ( Dementia ) คือ การเปลี่ยนแปลงของสมองผิดปกติและค่อยๆเสื่อมลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองก่อให้เกิดการลดลงของทักษะด้านความคิด สติปัญญา การเรียนรู้ อารมณ์ หรือการตัดสินใจ หากมีอาการของโรคสมองเสื่อมที่รุนแรงทำให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิมได้อีกเลย
กลไกการเกิดโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บป่วยประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและสร้างความลำบากใจให้กับผู้เกี่ยวข้องไปพร้อมกันก็คือกลุ่มโรคที่ “ คนเป็นไม่รู้ คนรู้ไม่เป็น ” โดยมากจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสมองและจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความผิดปกติเกี่ยวกับสมองจะไม่มีทางทราบหรือยอมรับว่าตนเองป่วย ต้องอาศัยญาติพี่น้องหรือคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิดช่วยสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และไม่ใช่แค่การสังเกตดูเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังต้องทำความเข้าใจกับพยาธิสภาพและผลกระทบจากการป่วยดังกล่าว เพื่อให้สามารถปรับตัวและพร้อมที่จะเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในการรักษาและฟื้นฟู กลไกการเกิด dementia หรือ สมองเสื่อมค่อนข้างซับซ้อน ถึงแม้โรคเหล่านี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทุกโรคแต่การบรรเทาไม่ให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้นก็เป็นการรักษาทางหนึ่งเช่นกัน โรคหรืออาการแสดงที่จัดอยู่ในประเภท “ คนเป็นไม่รู้ คนรู้ไม่เป็น ” ได้แก่ โรคสมองเสื่อม อาการบกพร่องในการจดจำ ( MCI ) โรคซึมเศร้า เป็นต้น>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> วัคซีนที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อม
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการโรคสมองเสื่อม ได้แก่ โรคทางระบบประสาทเสื่อมรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคฮันติงตัน โรคหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง การได้รับบาดเจ็บทางสมองเกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การหกล้ม การถูกกระทบกระแทกต่าง ๆ การติดเชื้อของกลางระบบประสาท รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเอชไอวี (HIV) การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้สมองเสื่อม
อายุที่มากขึ้นมีผลต่อการพบภาวะสมองเสื่อม โดยมีรายงานว่าพบอัตราการป่วย 6-8% ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบอัตราการป่วยที่ 30% ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป
กรรมพันธุ์ ในกรณีที่ครอบครัวเคยมีผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม หรือเคยมีประวัติเป็นโรคอื่นๆ เกี่ยวกับสมองมาก่อนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนปกติทั่วไป
ติดสุราและยาเสพติดเรื้อรัง ทั้งแอลกอฮอล์และสารเสพติดมีผลต่อการกดการทำงานของระบบประสาทโดยตรงจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมในระยะยาวได้
สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก เช่น เกิดอุบัติเหตุ ถูกตี ถูกกระแทกอย่างแรง
หลอดเลือดในสมองเกิดความเสียหายหรืออุดตัน เช่น มีเลือดออกในสมอง ภาวะหลอดเลือดเสื่อมสภาพ มีไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น ซึ่งความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดในสมอง อาจเกี่ยวข้องกับความดันที่มาจากหัวใจด้วยก็ได้
ภาวะเนื้องอกในสมอง ถ้าเนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกดการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง หรืออาจขัดขวางการทำงานก็จะกลายเป็นต้นตอของภาวะสมองเสื่อม
การได้รับสารพิษเป็นจำนวนมากหรือเป็นระยะเวลานาน เช่น ปรอท สารหนู สารคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น
ประเภทของภาวะสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมเป็นการเรียกโดยรวมทางพยาธิสภาพ ซึ่งสามารถแยกออกได้หลายประเภทตามความรุนแรง อาการที่แสดง หรือบริเวณของสมองที่เสียหาย เช่น ภาวะสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมจากหลอดเลือด โรคเลวี บอดี้ สมองเสื่อมบริเวณสมองส่วนหน้า และอื่นๆ เช่น
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease ) เป็นโรคเกี่ยวกับสมองที่พบได้มากที่สุด เราอาจพูดรวมๆ ได้ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง แต่หากเจาะลึกในความเชื่อมโยงที่แท้จริง อัลไซเมอร์ไม่ใช่โรคสมองเสื่อมแต่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคสมองเสื่อมในเวลาต่อมา โดยลักษณะของอัลไซเมอร์จะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ การนึกคิด โดยผู้ป่วยอาจจะเกิดการสูญเสียความสามารถในการจำ ( Mild cognitive impairment ) ในระยะแรกก่อนหรือไม่ก็ได้ ความผิดปกติของโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์คือการพบ plaque และ tangle ( การจับตัวเป็นก้อนมากผิดปกติในสมอง และกลุ่มเส้นใยที่พันกันยุ่งเหยิง ตามลำดับ )
โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือด ( Vascular dementia ) เป็นภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองเกิดความเสียหายและมีการอุดตันในหลอดเลือด ความรุนแรงและรูปแบบของอาการสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่พบการเสียหายของหลอดเลือด...
การเห็นภาพหลอนในอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม
ภาพหลอน
นิยามของการเห็น ภาพหลอน ( Visual hallucination ) คือ การรับรู้ถึงวัตถุหรือเหตุการณ์ของผู้ป่วยทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น การเห็นบุคคลในขณะที่คนรอบข้างไม่ได้เห็นบุคคลนั้นด้วย การเห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตที่แปลกปะหลาดอยู่ใกล้ๆ การเห็นสิ่งของมีรูปร่างผิดแปลกไปหรือเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น ผู้ป่วยที่เห็นภาพหลอนเกิดจากความผิดปกติของการรับรู้ ซึ่งควรได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ การเห็นภาพหลอนไม่ใช่อาการป่วยที่รุนแรงและไม่ใช่สาเหตุเบื้องต้นของการป่วยทางจิตแต่อย่างใด
การเห็นภาพหลอนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติหลายๆ อย่างรวมกันซึ่งมีการศึกษาและสรุปโดย Asaad และ Shapiro ออกมาได้เป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ ความผิดปกติที่มาจากโครงสร้างของสมองถูกรบกวน, ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง และการมีสภาพไม่รู้สึกตัว ( Unconscious ) ในขณะที่ยังอยู่ในสภาพรู้สึกตัว ( Consciousness ) ซึ่งความผิดปกติทั้ง 3 สิ่งนี้มักจะเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน
ถ้ากลไกการเห็นภาพหลอนนั้นเป็นผลมาจากความผิดปกติของสมอง ก็มักจะเป็นภาวะที่สมองมีพยาธิสภาพบริเวณสมองกลีบหน้า สมองกลีบขมับ ก้านสมองตลอดจนส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็นทั้งหมด ที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่คนที่มองเห็นได้เท่านั้นถึงจะเห็นภาพหลอน ในผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นหรือที่เราเรียกว่าคนตาบอด ก็เป็นอีกกลุ่มที่สามารถเห็นภาพหลอนได้เช่นเดียวกัน กรณีนี้จะพบได้มากกับคนที่ไม่ได้บกพร่องทางการมองเห็นมาตั้งแต่เกิด เดิมทีมีการมองเห็นเป็นปกติแล้วมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นจึงกลายเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นในภายหลัง เมื่อถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม สมองส่วนลิมบิค ( Limbic System ) ซึ่งเป็นกลุ่มของส่วนสมองตามแนวโค้งระหว่างทาลามัสกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรมจะค่อยๆ ปล่อยความทรงจำเก่าๆ ออกมา ผู้ป่วยจึงมองเห็นภาพสดใสภายในความมืดมิดที่มีอยู่เดิม แน่นอนว่าอาการนี้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ทั้งยังมีข้อดีที่หลายครั้งช่วยให้ผู้ป่วยได้มีความสุขกับการได้เห็นบางสิ่งบางอย่างจากที่มองไม่เห็นมานานอีกด้วย>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร ตามมาดูกันค่ะ
>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
อาการอื่นๆ ที่มักเกิดขึ้นพร้อมกับการเห็นภาพหลอน
ความผิดปกติทางจิต ผู้ป่วยที่เป็นจิตเภท ( Schizophrenia ) ส่วนใหญ่พบว่าจะมีอาการเห็นภาพหลอนร่วมด้วย โดยมีรายงานว่าพบได้มากถึง 16-72% ในผู้ป่วยที่เป็นจิตเภท มีการศึกษาเพิ่มเติมว่าอาการภาพหลอนในผู้ป่วยที่เป็นจิตเภทมักจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นจิตเภทเพราะมีปัจจัยทางจิตร่วมด้วย โดยการเห็นภาพหลอนของผู้ป่วยจิตเภทจะเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว วัตถุที่เป็นความเชื่อทางศาสนาและสัตว์ การแสดงอาการของการเห็นภาพหลอนจะขึ้นอยู่กับสภาพเงื่อนไขของผู้ป่วยด้วย อย่างเช่น อยู่ในอาการกลัวมากๆ หรือปลาบปลื้มใจ การเห็นภาพหลอนของผู้ป่วยที่เป็นจิตเภทจัดเป็นภาพหลอนประเภทที่มีขนาดและสีสันปกติ
อาการเพ้อคลั่ง ( Delirium )
เป็นกลุ่มอาการโดยรวมของการถูกรบกวนการมีสติรู้ตัว หรือความบกพร่องในการตั้งใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มอาการนี้มีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัย ได้แก่ การถูกรบกวนระบบเผาผลาญของผู้ป่วย ( metabolic disturbance ), การติดเชื้อ, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และความผิดปกติภายในสมอง ในกรณีผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังที่ไม่ได้รับแอลกอฮอลล์ หรือผู้ที่ติดยาเสพย์ติด เช่น โคเคน แอมเฟตามีน มีรายงานว่าผู้ป่วยกลุ่มที่เกิดอาการเพ้อคลั่งส่วนหนึ่งจะเห็นภาพหลอนเป็นแมลงที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาหา ( พบมากในผู้ป่วยที่ติดโคเคน )
โรคสมองเสื่อม (Dementia) ผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และ สมองเสื่อมชนิด DLB (Dementia with Lewy bodies) พบว่ามีรายงานการเห็นภาพหลอนอยู่ที่ประมาณ 20% ของผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมทั้งหมด ตัวอย่างของการเห็นภาพหลอน ได้แก่ เห็นวัตถุเคลื่อนที่ทั้งๆ ที่วัตถุนั้นหยุดนิ่ง การเห็นเหตุการณ์ที่มีผู้คนหรือวัตถุหลายๆ ชิ้นทั้งที่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอยู่หรือเกิดขึ้นจริง เห็นสิ่งเร้นลับในจินตนาการ เป็นต้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันเองก็พบว่ามีอาการเห็นภาพหลอนมากกว่า 50% เลยทีเดียว
กลุ่มอาการ Charles Bonnet Syndrome ( CBS )
เป็นกลุ่มอาการที่มักพบร่วมกับการเห็นภาพหลอนที่เกิดจากความบกพร่องทางการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง และเนื้องอกในสมอง ในผู้ที่มีอาการ Charles...
การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อม
เรามักจะเปรียบเทียบสมองของคนเหมือนกับซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเป็นหน่วยประมวลผลที่สำคัญที่สุด หากซีพียูเสียหายหรือมีส่วนใดผิดปกติไป คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ต้องซ่อมแซมในส่วนที่มีปัญหาเสียก่อน แม้ว่าจะไม่เหมือนซะทีเดียวแต่การอุปมาอุปไมยแบบนี้ก็พอช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมๆ ได้ว่า สมองนั้นมีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตมากมายขนาดไหน การตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การใช้ภาษา การเคลื่อนไหวที่ต้องควบคุม เช่น การขยับแขนขา การส่ายหน้า เป็นต้น และการเคลื่อนไหวแบบที่ไม่ต้องควบคุม คือเป็นไปตามธรรมชาติไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ เช่น การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลล้วนต้องผ่านการทำงานของสมองทั้งสิ้น เมื่อ สมองเสื่อม หรือเกิดความเสียหายขึ้นจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทุกอย่างในร่างกายจึงเข้าสู่สภาวะถดถอยไปเรื่อยๆ จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกระบวนการรักษาและตัวผู้ป่วยเอง
ความสามารถของสมองเราอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม ดังนี้
การรับรู้
ประสาทสัมผัสทั้งหมด รูป รส กลิ่น เสียง
ความจำ
ข้อมูลหรือเรื่องราวที่มีประสบการณ์ผ่านมา เรียนรู้มา
เหตุผล
การหาความเชื่อมโยงในการเกิดของบางสิ่งบางอย่าง และวิเคราะห์ความเป็นไปต่อได้
จินตนาการ
การนึกวาดภาพหรือสร้างภาพขึ้น โดยอาศัยสิ่งที่ได้รับรู้มาก่อนบวกกับความสร้างสรรค์
ความคิด
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในทุกๆ ด้าน เพื่อความเข้าใจและการตกผลึก หรือเพื่อหาทางต่อยอดไปสู่สิ่งอื่น
การตัดสินใจ
การเลือกเส้นทาง วิธีการ หรือรูปแบบที่ต้องการในสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งผู้ป่วยอื่นๆ และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีลักษณะถดถอยบางอย่างที่ทับซ้อนหรือคล้ายคลึงกันอยู่ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีรูปแบบที่ใช้เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยร่วมกับการตรวจวัดด้วยเครื่องมืออื่นๆ ว่าความถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสมองเสื่อมหรือไม่>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> สมองส่วนต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการถดถอยทางความสามารถของสมอง ดังต่อไปนี้
คิดวิเคราะห์ วางแผน จัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ไม่เข้าใจในเหตุผลต่างๆ
มีความบกพร่องในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ทั้งๆ ที่เคยทำได้ดีมาก่อน เช่น พูดไม่ถูก เรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ ไปจนถึงพูดไม่ได้เลย
มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนการดึงความรู้เดิมๆ ที่มีอยู่แล้วออกมาใช้ด้วย
มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ การจดจำและความเข้าใจบางอย่างสูญหายไป
เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วดังเดิม ควบคุมอวัยวะไม่ค่อยได้ทำให้ทำงานและกิจวัตรประจำวันได้ลำบาก
ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้เป็นเวลานาน
เริ่มมีความบกพร่องในการเข้าสังคม การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ราบรื่นและยุ่งยากมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อผู้ป่วยมีความบกพร่องในด้านหนึ่งแล้ว ก็สามารถบกพร่องด้านอื่นๆ ได้เพิ่มอีกในภายหลัง และยังเพิ่มระดับความรุนแรงของการถดถอยได้ตลอดเวลา หากไม่ทำการรักษาและบำบัดอย่างถูกวิธี หลายคนมีอาการถดถอยทางสมรรถภาพของสมองโดยไม่รู้ตัว เพราะยังออกไปทำงานต่างๆ ได้เหมือนปกติ เพียงแค่บางครั้งทำอะไรที่ซับซ้อนมากไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็มักจะคิดว่าความสามารถของตัวเองไม่ถึงหรือไม่เคยทำจึงทำไม่เป็นเท่านั้น เช่น นักบัญชีที่คิดเลขได้คล่องแคล่วมาตลอด แล้วอยู่ๆ วันหนึ่งก็ไม่สามารถทำได้แบบเดิมหรือทำได้ช้าลง อีกตัวอย่างคือครูที่สอนได้ตามปกติแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาจำนวนข้อสอบกับจำนวนนักเรียนที่ไม่เท่ากันได้ และนี่ก็เป็นสัญญาณที่อาจจะเล็กน้อยจนเกิดการมองข้ามไป ถือเป็นการปล่อยให้ความถดถอยนั้นเพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ทำการรักษาเลย
ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจะแบ่งระยะเป็น 3 ช่วง คือ ระยะที่มีผลต่องานและสังคม ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และระยะที่เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง
ระยะที่มีผลต่องานและสังคม : เมื่อเกิดภาวะโรคสมองเสื่อมขึ้นและเริ่มมีความถดถอย ระยะแรกสุดจะเกิดความบกพร่องกับการเข้าสังคมและส่งผลต่ออาชีพการงานที่ทำอยู่ หากเป็นในผู้สูงอายุคงไม่เท่าไร แต่มีคนมากถึงร้อยละ 15 ที่ต้องพบเจอปัญหานี้ในช่วงวัยทำงาน หรือที่เรารู้จักกันดีในโรค “ สมองเสื่อมก่อนวัย ” ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มสมองกลีบหน้าและกลับขมับฝ่อ ดังนั้นจึงมีปัญหาทั้งเรื่องของเนื้องาน เพื่อนร่วมงานและสังคมที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วย จากที่ทำงานได้ง่ายๆ สบายๆ ก็จะรู้สึกยากขึ้น เป็นต้น
ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง : ระยะนี้เน้นไปที่การทำกิจวัตรประจำวันที่ควรทำได้ตามปกติ แต่ก็เกิดทำไม่สะดวกหรือทำไม่ได้ขึ้นมา โดยเรื่องของกิจวัตรประจำวันยังแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและกิจวัตรประจำวันขั้นสูง ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในลำดับถัดไป ช่วงนี้คนใกล้ชิดจะเริ่มมองเห็นความผิดปกติแล้ว แต่จะจับสัญญาณได้หรือไม่ก็อยู่ที่ความใส่ใจและระดับความสนิทสนมของคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย
กิจวัตรประจำวัน 2 ประเภท
กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ( Basic Activities of Daily Living ) เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนมากนัก เช่น การเดิน กิน นั่ง ลุกขึ้นยืน อาบน้ำ ขับถ่าย...
ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ ( MCI )
เอ็มซีไอ ( MCI )
ภาวะถดถอยทางสมอง หรือ Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่มากกว่าภาวะปกติ ได้แก่ อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสมอง เนื้องอก การขาดวิตามินและสารอาหาร
>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
>> สมองเสื่อมมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยอย่างไร ตามมาดูกันค่ะ
การติดสุรา หรือการใช้ยาบางชนิดที่มากเกินไป ภาวะ MCI เป็นอาการเบื้องต้นก่อนจะลุกลามกลายเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) โดยถ้าสามารถสังเกตภาวะ MCI ได้ก่อนก็จะช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) ได้ ความชุกของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกอยู่ที่ 2-4 เปอร์เซ็นต์ที่ช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกามีการบันทึกสถิติเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่ามีการป่วยแบบทวีคูณมากขึ้นในทุกช่วงอายุ 5 ปี เช่น ช่วงอายุ 60-64 ปีมีการป่วยอยู่ที่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอายุ 70-74 ปี เป็น 12 เปอร์เซ็นต์ และช่วงอายุ 80-84 ปีพบ 31 เปอร์เซ็นต์ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งค่าดูแลรักษาค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณวันละ 200-300 บาทซึ่งถ้าคิดเป็นรายปีแล้วถือว่าค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการเฝ้าระวังอาการเบื้องต้นจึงเป็นการช่วยชะลอการเกิดโรค รวมถึงลดความรุนแรงของการเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำมีหลายรูปแบบดังต่อไปนี้
Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย
ความรุนแรงของโรคสมองเสื่อมทำให้ความจำหายไป
ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น เมื่อวานนี้ไปทานอาหารเย็นที่ไหน วันหยุดยาวเมื่อต้นปีที่แล้วไปเที่ยวไหนมา หรือสองวันก่อนไปซื้อของที่ห้างไหน โดยผู้ป่วยที่มีการสูญเสียความจำในด้านนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์มากกว่าการสูญเสียความจำแบบอื่นๆ โดยการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คือสมองกลีบขมับในส่วนกลาง รวมถึงสมองส่วน Hippocampus และ Parahippocampus
ความจำเกี่ยวกับความหมาย เช่น การจำความรู้ทั่วไป นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ชื่อเมืองหลวงของประเทศต่างๆ สีประจำชาติ ประจำวัน หรือสัญลักษณ์ประจำเมือง
ความจำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม เช่น การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาต่างๆ โดยการทำงานของสมองส่วนนี้คือสมองกลีบขมับใน สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และปมประสาทในการมองเห็น ( Supplementary Motor Areas, Basal Ganglia and Cerebellum ) การสูญเสียความสามารถของสมองส่วนนี้มักพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
สุดท้ายคือความจำระดับใช้งาน ซึ่งเกี่ยวกับสมองกลีบขมับในส่วนหน้าทั้ง 2 ข้าง ( Prefrontal Cortex ) โดยความจำรูปแบบนี้ได้แก่ การจำหมายเลขโทรศัพท์ได้แม้ไม่ได้จดไว้ การจำแผนที่ ถนนเส้นต่างๆ ที่จะขับรถไป เมื่อจำได้แล้วไม่ได้ใช้ต่ออีกก็จะจำไม่ได้ในเวลาต่อมา
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสมองทำงานเกี่ยวกับความจำหลากหลายรูปแบบ และในแต่ละส่วนพื้นที่สมองก็ทำงานต่างกัน สำหรับผู้ป่วยโรคภาวะถดถอยทางสมอง ( MCI ) คือผู้ที่มีความบกพร่องทางสมองเกี่ยวกับความจำ ความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวกับความจำที่ต่างกันก็มาจากความผิดปกติของพื้นที่สมองที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกแยะอาการผิดปกติ หรือผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน ภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ ( MCI ) สามารถพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) หรืออาจจะเป็นเพียงแค่อาการเสื่อมทางสมองในภาวะปกติก็ได้ ซึ่งในทางการแพทย์มีกระบวนการวินิจฉัยดังต่อไปนี้
จากแผนภูมินี้สามารถอธิบายได้ถึงวิธีการวินิจฉัยแยกว่าผู้ป่วยมีภาวะการสูญเสียความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำหรือไม่ และอาการบกพร่องเกี่ยวกับด้านความจำเพียงอย่างเดียวหรือมีอาการผิดปกติด้านอื่นร่วมด้วย ซึ่งมีผลในการพิจารณาวิธีรักษาและให้คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยต่อไป
แผนภูมินี้แสดงถึงพัฒนาการของอาการผิดปกติต่างๆ ไปสู่อาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าอาการเริ่มต้นที่แตกต่างกันจะพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมที่แตกต่างกัน
อาการของผู้ที่เป็นโรคสมองบกพร่องความสามารถในการจำ ( MCI ) สามารถเริ่มต้นสังเกตได้ด้วยตนเองหรือคนรอบข้าง...
มาเริ่มดูแลสมองของคุณ ป้องกันโรคสมองเสื่อมตั้งแต่วันนี้
สมองเสื่อม
สมองเสื่อม (Dementia) เกิดจากความผิดปกติของสมองทำให้สูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดไป อาการของโรคสมองเสื่อม โดยทั่วไปแล้วมักพบการสูญเสียความทรงจำช่วงสั้นๆ รู้สึกหงุดหงิด โมโห ซึมเศร้าและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ หากคนในครอบครัวมีอาการบ่งชี้ถึงโรคสมองเสื่องควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคให้แน่ชัดอีกที อย่างไรก็ตามการรักษาโรคสมองเสื่อมต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว
ปกติโรคอัลไซเมอร์จะเกิดกับผู้สูงอายุ เพราะเซลล์สมองเสื่อม ตามธรรมชาติของสังขารร่างกาย แต่ก็มีไม่น้อยเหมือนกันที่เกิดในกลุ่มวัยกลางคน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วกว่าผู้สูงอายุมาก เพียงไม่นานอาการจากโรคอัลไซเมอร์ก็จะรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน เริ่มจากมีปัญหาต่อหน้าที่การงาน มีปัญหากับคนรอบข้าง และมีปัญหาต่อตัวเองในที่สุด
โรคเกี่ยวกับสมองเกือบทั้งหมดมีต้นเหตุของโรคที่หลากหลาย และมีการดูแลรักษาที่แตกต่างไปในรายบุคคล โดยจะเป็นไปในลักษณะของการรักษาร่วมไปกับการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หากรูปแบบการรักษาเดิมไม่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจก็จะเปลี่ยนการรักษาไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม หรือแม้แต่การรักษาเดิมให้ผลดีมากก็ยังต้องพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการรักษาไปสู่ขั้นต่อไปอยู่ดี เพราะสมองเริ่มมีภาวะที่ต่างไปจากเดิมแล้วนั่นเอง
การรักษาและบำบัดผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมองส่วนใหญ่ จะเป็นการรักษาระดับของโรคให้คงที่หรือชะลอความเสื่อมให้ช้าลงเท่านั้น ไม่อาจย้อนกลับให้มีสมองที่มีศักยภาพเท่าเดิมได้
ตัวช่วยหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างสารพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม หรือ Epigenetics เป็นการศึกษาการทำปฏิกิริยาของ DNA กับสารโมเลกุลเล็กๆ ในเซลล์ ทำให้เกิดการทำหรือไม่ทำบางอย่างขึ้น การแสดงออกของยีนจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมที่มากระทบอยู่เสมอ แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนลำดับหรือรหัสของพันธุกรรม ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็คือ เมื่อต้นไม้ได้รับแสงแดดและน้ำมากขึ้น นั่นหมายถึงสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ต้นไม้ก็เติบโตได้เร็วขึ้น ออกดอก ออกผลมากขึ้น เป็นการแสดงออกของยีนที่มีผลมาจากสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมเดิม หมายถึง ต้นไม้ไม่ได้เกิดการกลายพันธุ์ไปเป็นต้นไม้ชนิดอื่นนั่นเอง และทฤษฎีนี้ก็มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมถึงมนุษย์ด้วย เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เซลล์และระบบร่างกายของมนุษย์ก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่แพทย์นำมาใช้เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมร่วมกับการรักษาด้านอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยทางสมองอยู่เสมอ หัวใจสำคัญก็คือเราสามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ดูแลสมองของเราให้แข็งแรงสมบูรณ์ได้ตั้งแต่ต้น ไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บป่วยก่อนแต่อย่างใด
>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> อาหารที่มีสารช่วยในการปรับสมดุลสมองคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดูแลสมอง
สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ต้องดูแลให้แข็งแรงและพร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจะเรียกว่าเป็นการดูแลสมองอย่างถูกต้อง ต่อไปนี้คือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดูแลสมอง
1. น้ำสะอาดคือสิ่งสำคัญ : ส่วนประกอบของสมองมีน้ำอยู่มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ เซลล์สมองเป็นส่วนที่ต้องการน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ไม่มีวันขาดน้ำได้เลย หากสมองได้รับน้ำไม่เพียงพอ เซลล์สมองก็เหี่ยว ของเหลวที่เป็นสาระสำคัญต่างๆ ก็หนืดข้นจนไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบให้สมองทำงานได้ช้าลงมาก จะกลายเป็นคนคิดอ่านช้า หรือไม่มีความคิด ไม่มีไอเดียในการทำงานต่างๆ จึงต้องดื่มน้ำสะอาดให้มากพอในแต่ละวัน
2. ไขมันก็จำเป็น : นอกจากส่วนของน้ำแล้ว สมองก็ยังประกอบไปด้วยไขมัน เพราะหากจะมองดีๆ สมองก็คือก้อนไขมันที่มีเส้นประสาทจำนวนมากนั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่ไขมันทั้งหมดบนโลกที่จะดีต่อสมอง จำเป็นต้องเลือกไขมันดีเท่านั้น เช่น ไขมันปลา นมถั่วเหลือง น้ำมันพริมโรส เป็นต้น เหล่านี้จะช่วยให้สมองชุ่มชื้นและมีการทดแทนไขมันส่วนที่สึกหรอด้วยไขมันดีๆ อยู่เสมอ เซลล์สมองจึงไม่เสื่อมสภาพ
3. ระวังน้ำตาล : น้ำตาลเป็นสารอันตรายที่ร้ายแรงมากกว่าสารพิษบางตัวเสียอีก แต่เรารับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายกันไม่น้อยเลยในแต่ละวัน ถ้าถึงจุดที่น้ำตาลในเลือดสูงมากก็จะมีผลต่อสมองทันที เพราะเลือดที่อุดมไปด้วยน้ำตาลนั้นจะต้องถูกส่งไปหล่อเลี้ยงสมอง สารแอมีลอยด์ ( Amyloid ) ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเซลล์ก็จะพากันสะสมในสมองมากขึ้น
4. ออกกำลังกาย : นี่คือยาวิเศษสำหรับทุกโรคอยู่แล้ว แต่หากเจาะจงไปที่สมอง การออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเพียงพอจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเลี้ยงสมองที่เรียกว่า Brain-derived Growth Factor ( BDGF ) ออกมาจำนวนมาก เป็นสารที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเร่งให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์สมองมากขึ้นด้วย ไม่เพียงเท่านี้เมื่อการออกกำลังกายนั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จะมีการหลั่งสาร Brain-derived neurotrophic factor ( BDNF ) ออกมาด้วย ตัวนี้เป็นกลุ่มโปรตีนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแตกแขนงของเซลล์ประสาทและเส้นทางเชื่อมต่อ จึงส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการจดจำ
5. ทำสมาธิเป็นประจำ : ระหว่างวันที่เราทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ คลื่นในสมองจะเต้นเร็วและแรงมาก เมื่อนอนจนเข้าสู่ช่วงของการหลับลึกจึงจะมีคลื่นสมองที่นิ่งสงบ เราเรียกช่วงคลื่นนี้ว่า Theta เป็นคลื่นที่ผ่อนคลายที่สุด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมากในช่วงนี้ รวมทั้งระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุล สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่าในแต่ละคืนที่เรานอน ไม่ใช่ว่าจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกได้เสมอไป หากวันไหนตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลีย นั่นแสดงว่าไม่ได้ผ่านช่วงหลับลึกเลย สมองจึงไม่ได้ผ่อนคลายและร่างกายไม่ได้ฟื้นตัว...
ความคิดผิดหลงผิดจากโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร
โรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่มีความลับซับซ้อนซ่อนอยู่อีกมากมาย ถึงแม้ว่าวิวัฒนาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปมากจนทำให้เราได้เข้าใจส่วนประกอบและความเปลี่ยนแปลงของสมองมากขึ้นแล้ว
แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าทั้งหมดนั่นได้สักครึ่งหนึ่งของความลับในสมองหรือยัง ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมมากขึ้นหลายคนไม่รู้สึกว่าโรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่แปลกใหม่หรือหาได้ยากอีกแล้ว แต่กลับมีคนจำนวนไม่มากเท่าไรที่เข้าใจถึงรูปแบบของโรคสมองเสื่อมอย่างแท้จริง เพราะสัญญาณหรืออาการที่แสดงออกของผู้ป่วยไม่แน่นอน แถมยังทับซ้อนกับโรคอื่นๆ อย่างเช่น อัลไซเมอร์ จิตเภท พาร์กินสัน เป็นต้น ต้องเป็นคนที่ศึกษาด้วยความสนใจหรือคลุกคลีอยู่ในวงการแพทย์เท่านั้นเองถึงจะแยกแยะได้จริงๆ ว่าอาการของผู้ป่วยนั้นอยู่ในกลุ่มของโรคไหน
อาการของความคิดผิดหลงผิด ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างโรคสมองเสื่อมและจิตเภท หลายคนเข้าใจว่ามันคือโรคเดียวกันด้วยซ้ำ
ซึ่งในสมัยก่อนก็ต้องยอมรับว่าการดูแลรักษาหรือการวินิจฉัยนั้นสองโรคนี้แทบจะไม่ต่างกันเลย แต่ตอนนี้เรามีองค์ความรู้ทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นแล้ว จึงได้รู้ว่าที่แท้โรคสมองเสื่อมกับโรคจิตเภทนั้นต่างกันมาก และยังต้องมีรายละเอียดในการรักษาที่แตกต่างกันอีกด้วย
อาการความคิดผิดหลงผิดในโรคจิตเภท
โรคจิตเภท ( Schizophrenia ) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางความคิด ส่งผลให้การรับรู้ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงและก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งโรคจิตเภทนั้นมีสาเหตุการเกิดได้ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ ทางร่างกายได้แก่ พันธุกรรม สารเคมีในสมองผิดปกติ เป็นต้น ในทางจิตใจส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดหรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ความคิดผิดหลงผิดในกลุ่มโรคจิตเภทจึงเป็นไปในลักษณะที่มีความเชื่ออย่างสนิทใจในเรื่องที่ผิดไปจากความจริง ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขกันด้วยเหตุผลได้ด้วย เช่น คิดไปเองว่าจะมีคนอื่นมาทำร้าย คิดว่าตนเองกำลังจะถูกวางยาพิษ คิดว่าตนเองมีอำนาจหรือพลังพิเศษ
>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> สมองเสื่อมมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยอย่างไร มาดูกันค่ะ
อาการความคิดผิดหลงผิดในโรคจิตเภทยังสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะของอาการได้อีก 5 กลุ่ม คือ
1. Erotomanic Type คือ กลุ่มที่คิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนเอง หรือคิดว่าคนอื่นที่ไม่ได้รู้จักนั้นเป็นคนรักของตนเอง โดยที่ผู้ป่วยจะ ปิดบังไว้หรือเปิดเผยออกมาก็ได้
2. Grandiose Type คือ กลุ่มที่คิดว่ามีพลังความสามารถเกินความเป็นจริง เช่น คิดว่ามีทรัพย์สินมากมายล้นฟ้า คิดว่ามีความรู้ในระดับที่สูงมากๆ เป็นต้น
3. Jealous Type คือ กลุ่มที่ระแวงว่าคนรักนอกใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นกลุ่มที่แยกได้ยากเสียด้วยว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเป็นอาการป่วยกันแน่
4. Persecutory Type คือ กลุ่มที่คิดว่าถูกปองร้าย หรือคนใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัวกำลังอยู่ในอันตราย
5. Somatic Type คือ กลุ่มที่คิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง หรือคิดว่าอวัยวะของตนไม่ปกติ เช่น ใหญ่หรือเล็กเกินไป เป็นต้น
อาการความคิดผิดหลงผิดในโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมเกิดจากมีความเสียหายบางอย่างในเนื้อเยื่อสมอง ผู้ที่มีอาการความคิดผิดหลงผิดสำหรับกรณีที่เกิดจากภาวะสมองเสื่อม มีที่มาจากเกิดพยาธิสภาพที่ส่วนของสมองอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง เช่น บริเวณสมองกลีบหน้า บริเวณของปมประสาท บริเวณสมองกลีบขมับ บริเวณเนื้อสมองส่วนอมิกดาลา เป็นต้น ซึ่งอาการที่แสดงออกมาก็มีหลายหลายเช่นเดียวกัน และมักจะพบในผู้ป่วยสมองเสื่อมที่อยู่ในระยะกลางเท่านั้นขึ้นไปเท่านั้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม
มีความกลัวว่าสมบัติที่มีจะถูกขโมยไปด้วยวิธีการต่างๆ ( Delusion of Theft )
มีความกลัวว่าคู่รักของตนนอกใจไปกับคนอื่น ( Delusion of Infidelity )
มีความกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายอยู่ตลอดเวลา ( Persecutory Delusion )
อาการความคิดผิดหลงผิดในโรคสมองเสื่อมยังเชื่อมโยงกับการเห็นภาพหลอน เช่น มองเห็นปีศาจที่ไม่มีอยู่จริง มองเห็นสัตว์ป่าจะเข้ามาทำร้าย เป็นต้น และหูแว่ว เช่น ได้ยินเสียงผิดปกติแบบเดิมซ้ำๆ หรือได้ยินเสียงที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย เป็นต้น ทำให้เกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงและไม่สามารถควบคุมระดับอารมณ์ของตนเองได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการของความคิดผิดหลงผิดในโรคสมองเสื่อมนี้จึงมักมีความก้าวร้าวรุนแรงร่วมด้วยเสมอ
นอกจากนี้ยังมีอาการความคิดผิดหลงผิดในโรคเกี่ยวกับสมองที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคสมองเสื่อมด้วย นั่นก็คือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนเหมารวมให้กลายเป็นโรคสมองเสื่อมไปเรียบร้อย ทั้งที่ความจริงนั้นไม่ใช่เลย อัลไซเมอร์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงที่จะต่อยอดไปเป็นโรคสมองเสื่อมเท่านั้น
สำหรับอาการความคิดผิดหลงผิดในอัลไซเมอร์ จะเป็นกลุ่มของการแยกแยะที่ผิดพลาด ( Misidentification Syndrome ) คือ มีอาการ Picture Sign แยกแยะไม่ได้ว่าสิ่งที่มองเห็นเป็นจริงเท็จอย่างไร เช่น กรณีที่ดูโทรทัศน์อยู่ ผู้ป่วยก็อาจเข้าใจผิดว่าสิ่งที่มองเห็นในโทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่จริงๆ ในจุดที่ตัวเองอยู่ ถ้าเห็นเป็นคนไล่ยิงกัน ก็จะเข้าใจว่ามีคนไล่ยิงกันอยู่ในบ้านของตัวเองจนเกิดความหวาดกลัว เป็นต้น และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของการระบุบุคคลที่ผิดพลาด ( Capgras Syndrome ) ผู้ป่วยจะสามารถจดจำใบหน้าบุคคลใกล้ชิดหรือคนที่รู้จักคุ้นเคยได้ทั้งหมด ไม่ได้หลงลืม แต่กลับเข้าใจว่าคนเหล่านั้นเป็นตัวปลอม...
สาเหตุและอาการสำคัญของโรคสมองเสื่อม
อาการสมองเสื่อม
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจนล่วงเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ นอกจากโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดัน และอาการเจ็บปวดตามข้อต่อต่างๆ แล้ว ก็เห็นจะมีโรคสมองเสื่อมนี่แหละที่หลายคนวิตกกังวลกันมากพอสมควร เพราะหากมีอาการสมองเสื่อมไม่ว่าทางใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น ถ้าโชคดีหน่อยอาจจะมีแค่อาการหลงๆ ลืม ความทรงจำเลอะเลือนไปบ้าง แต่ถ้าโชคร้ายก็มีสิทธิเป็นอัมพาตเดินเหินไม่ได้อีกเลย พอเริ่มแก่ตัวลงหลายคนจึงเริ่มกลัวว่าตัวเองนั้นเสี่ยงจะเข้าใกล้โรคสมองเสื่อมมากไปทุกที ในขณะที่ความจริงช่วงอายุเป็นเพียงแค่ปัจจัยเดียวเท่านั้นเองที่จะเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น ยังมีต้นเหตุอย่างอื่นอีกตั้งมากมาย นั่นจึงทำให้โรคสมองเสื่อมเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ในช่วงวัยไหนก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงวัยเท่านั้น
>> ยาที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ
>> วัคซีนที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมหรือเสียหายของสมอง จำแนกกลุ่มอาการได้ตามตำแหน่งที่สมองมีความผิดปกติเกิดขึ้น เพราะสมองแต่ละส่วนมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันไป เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เราสามารถใช้ในการจำกัดขอบเขตของการวินิจฉัยว่า พฤติกรรมการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเกิดมาจากความบกพร่องของสมองส่วนใดได้บ้าง ส่วนใหญ่โรคสมองเสื่อมมากกว่าร้อยละ 90 จะเกิดกับกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังมีภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยในคนที่อายุน้อยๆ ด้วย ที่พบบ่อยจะเป็นช่วงอายุ 45-55 ปี นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของพันธุกรรมหรืออุบัติเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงของอาการสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมมีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งแบบที่สามารถป้องกันได้และแบบที่ป้องกันไม่ได้ ตัวอย่างของความเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่
อายุ : ช่วงอายุที่มากก็ย่อมมีความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ และส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนที่ยังอายุน้อยอยู่ด้วย
ประวัติอาการป่วยของครอบครัว : แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการส่งต่อทางพันธุกรรมแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จากสถิติก็จะพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เคยมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมมาก่อนมากกว่าครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติเลย
ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดเรื้อรัง : แน่นอนว่าของเหล่านี้ทำลายระบบในร่างกายอย่างรุนแรงอยู่แล้ว รวมถึงส่วนของสมองด้วย
ได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมอง : อย่างเช่นภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเคยเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ : สมองต้องการเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ ถึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หากหลอดเลือดหัวใจมีปัญหาก็จะส่งผลต่อสมองด้วย
มีอาการเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท
ติดเชื้อ HIV
อย่างไรก็ตามเราก็ไม่อาจระบุแน่ชัดว่าสมองเสื่อมจะเกิดจากจุดไหนได้แบบชัดเจนจริงๆ คนที่ดูเหมือนมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่นก็อาจจะไม่เป็นโรคสมองเสื่อมเลยก็ได้ เพราะสมองเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องไขความลับกันต่อไปอีก
อาการสมองเสื่อมมีกี่ระยะ ?
โดยปกติแล้วระยะของโรคสมองเสื่อมสามารถแบ่งได้หลายแบบ และอาจแบ่งได้มากถึง 7 ระยะตามอาการที่ใช้เป็นจุดสังเกต แต่ครั้งนี้เราจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ให้พอมองเห็นภาพเพียงแค่ 4 ระยะเท่านั้น ได้แก่ ระยะต้น ระยะกลาง ระยะรุนแรง และระยะติดเตียง โดยในแต่ละระยะจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อาการสมองเสื่อมระยะต้น ( Mild ) ระยะนี้เป็นช่วงที่สังเกตได้ยากมากผู้ป่วยมักมีอาการเพียงเล็กน้อยจนญาติผู้ดูแล หรือแม้แต่ตัวผู้ป่วยเองไม่สังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเลย หลายครั้งอาการเหล่านั้นถูกมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของแต่ละช่วงวัยไปแทน ทำให้คนส่วนมากไม่ได้รับการรักษาในจุดเริ่มต้นนี้ แต่หากจะบอกว่าไม่มีอะไรที่เป็นจุดสังเกตเสียเลยก็คงไม่ใช่ เพียงแต่ต้องใช้ความละเอียดในการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยสักหน่อย ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่อง่าย ชอบเก็บตัวทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มหลงๆ ลืมๆ แบบที่ไม่ได้รุนแรงนัก เช่น ลืมว่าคนที่เคยรู้จักแต่ไม่เจอกันนานนั้นชื่ออะไร ลืมว่าเมื่อวานมื้อเช้าทานอะไรเข้าไป เป็นต้น บางรายอยู่ในรูปของการย้ำคิดย้ำทำ และเริ่มหงุดหงิดอารมณ์เสียที่ตัวเองทำไม่ได้อย่างที่ใจต้องการเหมือนแต่ก่อน โรคสมองเสื่อมในระยะต้นนี้อาจกินเวลายาวนานถึง 5 ปีก่อนจะเข้าสู่ระยะกลาง
2. อาการสมองเสื่อมระยะกลาง ( Moderate ) จังหวะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีการแสดงออกที่ผิดแปลกออกไปจากเดิมค่อนข้างชัดเจนแล้ว ต่อให้ไม่สังเกตเลยคนรอบข้างก็จะรู้สึกได้อยู่ดี มักจะเป็นระยะที่ญาติพาผู้ป่วยมาหาหมอ เพราะผู้ป่วยจะเริ่มหลงลืมมากขึ้น มีอารมฉุนเฉียวรุนแรง ก้าวร้าว มีปัญหาในการใช้ภาษาและการสื่อสาร และอาจได้เห็นความบกพร่องในการเคลื่อนไหวร่วมด้วย เช่น ก้าวเดินไม่สมดุล กลับตัวช้า เป็นต้น แต่ก็มีเหมือนกันที่ผู้ป่วยแสดงอาการออกมาในรูปแบบของการเห็นภาพหลอน อีกทั้งญาติผู้ดูแลก็เห็นคล้อยตามไปในทางเดียวกันจนกลายเป็นหันไปพึ่งความเชื่อทางไสยศาสตร์แทนที่จะเข้ามารับการรักษาอย่างถูกต้อง
3. อาการสมองเสื่อมระยะรุนแรง ( Severe ) หากยังไม่ได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะกลาง ช่วงนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการดำเนินชีวิตแล้ว บางรายสูญเสียความทรงจำบางส่วนไปเลย การคิดคำนวณและการตัดสินใจไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม สับสนเรื่องเวลาและสถานที่ เริ่มหลงทางในเส้นทางที่ใช้เป็นประจำ เริ่มผิดนัดหมายด้วยความหลงลืมที่เกิดขึ้น คนที่ไม่ได้พบหน้าก็มักจะลืมเลือนไป แต่ส่วนใหญ่จะยังคงจดจำคนในครอบครัวและคนที่อยู่ใกล้ชิดได้อยู่ ภาวะอารมณ์ก็ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา ก้าวร้าวมากขึ้น หงุดหงิดง่ายขึ้น และในบางครั้งกลับซึมเศร้าอย่างหนัก
4. อาการสมองเสื่อมระยะติดเตียง ( Profound ) ทักษะการเคลื่อนไหวเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดที่สุดในช่วงนี้ ผู้ป่วยเริ่มเคลื่อนไหวไม่ได้แม้แต่การลุกขึ้นมานั่งเฉยๆ เพราะสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสียหายไป...
วัคซีนรักษาสมองเสื่อมมีอะไรบ้าง
วัคซีน ( Vaccine )
ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุและมีลักษณะของอาการหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่ความจำเสื่อมหรือเกิดความผิดปกติในระบบควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างที่คนส่วนมากเข้าใจ ไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางยีนส์มาแต่กำเนิด ขอบข่ายของสมองเสื่อมนั้นกว้างมากๆ และเรายังค้นพบข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา การรักษาจึงมีหลายวิธีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล มีตั้งแต่การใช้ยา ใช้วัคซีน การผ่าตัด การบำบัด เป็นต้น และครั้งนี้จะเจาะประเด็นของโรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease ) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างมากของโรคสมองเสื่อมและวัคซีนที่ใช้ในการรักษา
ลักษณะสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ที่ชัดมากๆ ก็คงหนีไม่พ้นอาการหลงๆ ลืมๆ และมีช่วงความทรงจำที่ขาดหายไปอย่างไม่มีนัยสำคัญ นั่นคือบางครั้งอาการก็ปกติ สามารถจดจำทุกอย่างได้ดีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่บางครั้งก็มีอาการหนักมากจนต้องทวนซ้ำๆ อยู่ในเรื่องเดิมๆ ไปจนถึงไม่สามารถจดจำสิ่งนั้นได้อีกเลย แต่นี่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดของโรคอัลไซเมอร์ เพราะโรคนี้เป็นโรคทางระบบประสาทสมองที่ซับซ้อนมากและเป็นต้นเหตุใหญ่ในการเกิดภาวะสมองเสื่อมด้วย การรักษาส่วนใหญ่ก็จะปรับเปลี่ยนไปตามระดับอาการที่แสดงออกมา เน้นควบคุมและชะลออาการมากกว่าจะรักษาที่ต้นตอให้หายขาด แม้จะมีงานวิจัยตัวยาและวัคซีนที่ใช้เพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีตัวไหนที่ตอบโจทย์ได้จริงๆ ยังคงต้องศึกษาถึงผลกระทบและความเสี่ยงในการใช้ต่อไปอีก ดังนั้นหากจะถามว่าการรักษาอัลไซเมอร์ให้หายเป็นปลิดทิ้งต้องใช้วิธีไหน ก็ต้องตอบว่าตอนนี้ยังไม่มี>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ยาที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อม
วัคซีน คืออะไร
วัคซีน คือสารชีววัตถุหรือแอนติเจน ( Antigen ) ที่ผลิตมาจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรค ซึ่งถูกทำให้ไม่มีคุณสมบัติในการก่อให้เกิดโรคอีกแล้ว แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างตัวแอนติบอดี้ ( Antibody ) หรือภูมิคุ้มกันได้อยู่ ดังนั้นในการผลิตวัคซีนสำหรับรักษาแต่ละโรคจึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และตรวจสอบวัดผลให้แน่ใจจริงๆ ก่อนว่าสามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่เป็นอันตราย หากปล่อยปละละเลยในจุดนี้จะทำให้การใช้วัคซีนกลายเป็นการใส่สารพิษเข้าไปในร่างกายแทนที่จะเป็นการรักษาให้หายจากโรคที่เป็นอยู่
การทดลองวัคซีนเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ก็เริ่มทำการทดลองในหนูทดลอง โดยเจาะจงไปที่การศึกษาเรื่องภูมิคุ้มกันเกิดเอง ( Active immunization ) หมายถึงภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากการฉีดตัวต้นเหตุของเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย โดยมีการลดระดับความรุนแรงของเชื้อโรคนั้นให้น้อยลงก่อน เพื่อให้ร่างกายสามารถจัดการได้ง่าย เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว ระบบภายในจะเริ่มเรียนรู้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายเข้ามาและหาวิธีจัดการ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อโรคตัวนั้น ตัวอย่างของวัคซีนรักษาโรคอื่นๆ ที่ทำด้วยวิธีนี้ก็คือ โรคไอกรน โรคคอตีบ โรคอหิวาตกโรค โรคไข้รากสาดน้อย เป็นต้น การทดลองนี้หวังผลเพื่อป้องกันการรวมกลุ่มของสารแอมีลอยด์เบต้า ( Beta amyloid หรือ AB ) ที่เป็นตัวการสำคัญในโรคอัลไซเมอร์
การทำงานของวัคซีน
หนูทดลองที่มีลักษณะของโรคอัลไซเมอร์อยู่ก่อนแล้ว ได้รับการฉีดวัคซีนแอมีลอยด์เบต้าแล้วเฝ้าสังเกตการณ์ ผลการทดลองพบว่าปริมาณแผ่นแอมีลอยด์ในสมองของหนูลดจำนวนลง และค่อยๆ เกิดภูมิคุ้มกันที่สามารถต่อต้านสารแอมีลอยด์เบต้าในกระแสเลือดได้ จึงสามารถสรุปประเด็นการทำงานของวัคซีนทดสอบได้ว่า
1. วัคซีนเข้าไปกระตุ้นส่วนไมโครเกลียเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ที่อยู่ในระบบประสาทแต่ไม่ใช่เซลล์ระบบประสาท ทำให้ไมโครเกลียเซลล์กลืนกินสารแอมีลอยด์เบต้าในสมองเข้าไป ส่งผลให้แผ่นแอมีลอยด์เบต้าลดปริมาณลง
2. สารภูมิต้านทานแอมีลอยด์ที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน ทำหน้าที่ป้องกันการรวมกลุ่มกันของสารแอมีลอยด์เบต้า
3. สารแอมีลอยด์เบต้าบางส่วนไหลผ่านทำนบกั้นระหว่างเลือดกับสมองเข้าสู่น้ำไขสันหลัง แล้วไหลต่อไปยังกลุ่มเลือดดำ ตามสมมติฐานอ่างล้างจานรอบข้าง ( Peripheral Sink Hypothesix )
จะเห็นว่าวัคซีนที่ทดลองใช้ได้ผลดีมากในหนูทดลอง กลายเป็นเรื่องน่าสนใจและคุ้มค่าที่จะทดลองใช้ในคนเพื่อให้ได้วัคซีนเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นมาตรฐานในท้ายที่สุด แต่เมื่อศาสตราจารย์ นายแพทย์คริสโตเฟอร์ฮอกค์ ( Prof.Dr.Christopher Kock ) และคณะ ได้ทดลองแอมีลอยด์เบต้าวัคซีนในคนเมื่อปี 2546 กลับพบว่าอาสาสมัครจำนวน 18 คนจากทั้งหมด 298 คน คิดเป็นร้อยละ 6 ของอาสาสมัครทั้งหมด มีอาการเยื่อหุ้มสมองและบางส่วนของสมองเกิดอาการอับเสบขึ้นในช่วง 6 เดือนแรก จึงทำให้การศึกษาต้องหยุดชะงักลงในทันที และข้อมูลจากการทดลองที่ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดหยุดโครงการ ก็พบว่าอาสาสมัครบางคนมีความจำและกระบวนการคิดที่ดีขึ้นจริง แต่ก็มีบางคนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการศึกษาครั้งนี้ด้วย ความเสี่ยงของการใช้วัคซีนชนิดนี้จึงมากเกินกว่าจะนำมาใช้งานเพื่อการรักษาอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยจริงๆ
เมื่อการยกประเด็นของภูมิคุ้มกันเกิดเอง ( Active immunization ) มาศึกษาและยังไม่ได้ผลแบบที่พึงพอใจ จึงมีการหยิบเอากรณีของการก่อภูมิคุ้มกันรับมา ( Passive immunization ) มาใช้ในการศึกษาต่อยอดแทน ภูมิคุ้มกันรับมา ( Passive immunization ) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดผลผลิตจากเลือดของสัตว์หรือมนุษย์ก็ได้ ซึ่งรู้แน่ชัดว่ามีภูมิคุ้มกันของโรคนั้นๆ อยู่แล้ว เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจึงเหมือนว่าได้รับภูมิคุ้มกันโรคนั้นเลยในทันที...
โรคสมองเสื่อมรักษาด้วยยาอะไรบ้าง
ยารักษาโรคสมองเสื่อม
เคยมีประเด็นที่ถกเถียงกันว่า ยารักษาโรคสมองเสื่อม ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของโรคหรือแค่บรรเทาและควบคุมอาการที่เกิดขึ้นกันแน่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องใส่ใจให้คำตอบอย่างจริงจังมากนัก เพราะสุดท้ายแล้วผลลัพธ์ที่ต้องการมีเพียงแค่ให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีอาการดีขึ้นมากเท่าที่จะมากได้ ยาหลายตัวยังต้องวิจัยและพัฒนาต่อไปอีก ยาหลายตัวยังคงถูกจัดอยู่ในประเภทวัคซีน และยาบางตัวก็มีผลข้างเคียงรุนแรงเกินกว่าจะเหมาะแก่การใช้งานหากไม่สุดวิสัยจริงๆ อย่างไรก็ตามเราก็มีกลุ่มยาที่ได้การรับรองเป็นยามาตรฐานที่ใช้กันแล้วในปัจจุบัน คือ ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีนเอสเตอเรส ( Acetylcholinesterase Inhibitor )
สมองเป็นอวัยวะส่วนที่มีรายละเอียดและมีความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกาย เรายังต้องใช้เวลาและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากกว่านี้อีกหลายเท่าถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานของสมองได้ในทุกมิติ ดังนั้นโรคทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสมองจึงยังเป็นเรื่องที่เราต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติมอีกมากเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะเป็นโรคที่เกือบจะพูดได้ว่า นี่เป็นอีกโรคหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันแล้ว เพราะได้ยินและได้เห็นกรณีศึกษากันบ่อยมากขึ้น แต่เราก็ยังไม่ได้ไปถึงจุดที่สามารถตอบคำถามได้ในทุกประเด็นที่เกิดขึ้นจริงๆ รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษาด้วย
โดยปกติเมื่อมีสัญญาณของอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้น ก็ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อนว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็ต้องลงลึกไปอีกว่าเกิดจากสาเหตุไหน เพราะสาเหตุของโรคสมองเสื่อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน หลังจากนั้นจึงเริ่มการรักษาตามอาการที่แสดงออกมาหรือตรวจพบได้ ซึ่งมีหลายระดับไล่ตั้งแต่การให้ยา การใช้วัคซีน การผ่าตัด การบำบัด เป็นต้น แต่ที่ดูมีน้ำหนักและถูกนำมาใช้มากที่สุดก็คือ การให้ยาสำหรับรักษาโรคสมองเสื่อม
กลุ่มยาที่ได้การรับรองเป็นยามาตรฐานที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อมแล้วในปัจจุบัน คือ ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีนเอสเตอเรส ( Acetylcholinesterase Inhibitor )
ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีนเอสเตอเรส ( acetylcholinesterase inhibitor ) เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในสมองที่ชื่อว่า อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสเอนไซม์ ( Acetylcholinesterase Enzyme ) เอนไซม์ตัวสำคัญที่ควบคุมให้สารสื่อประสาทในสมองออกฤทธิ์ ยากลุ่มนี้อาจเรียกได้อีกอย่างว่า เอซีเอชอีไอ ( AChEI ) หรือ Anticholinesterase Drug ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งแบบผันกลับได้ ( Reversible Inhibitor ) : กลุ่มนี้มีประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด ไม่ใช่แค่รักษาโรคสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบางประเภท เป็นต้น
2. กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งแบบไม่สามารถผักกลับได้ ( Irreversible Inhibitor ) : กลุ่มนี้ใช้สำหรับผลิตยาฆ่าแมลงหรือผลิตอาวุธเคมีให้กับกองทัพ
นั่นหมายความว่า เมื่อเรากล่าวถึงตัวยากลุ่มเอซีเอชอีไอ ( AChEI ) กับโรคสมองเสื่อม จึงเป็นเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มยาซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งแบบผันกลับได้ ( Reversible Inhibitor ) เท่านั้น
ก่อนจะลงรายละเอียดในประเด็นของยากลุ่ม Reversible Inhibitor นี้ เรามาดูกันก่อนว่ากลุ่มอาการของโรคสมองเสื่อมแบบไหนบ้างที่รักษาด้วยยา
อาการเกี่ยวกับความคิดและการจดจำทั้งหมด อาจเรียกรวมได้ว่า การรู้คิด ( Cognition )
อาการเกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อารมณ์สวิงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เลย หงุดหงิดตลอดเวลา เป็นต้น
อาการฟุ้งซ่านทางจิตประสาทและพฤติกรรมที่เกิดจากปัญหาของสมองกลีบหน้า
อาการเกี่ยวกับการนอนที่เป็นผลกระทบมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยากมากหรือนอนหลับไม่สนิทจนกลายเป็นพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับมากเกินไปในช่วงกลางวัน เป็นต้น
>> วัคซีนที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ
>> อาหารที่มีสารช่วยในการปรับสมดุลสมองเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
กลุ่มยา เอซีเอชอีไอ ( AChEI ) ที่เป็นแบบ Reversible Inhibitor ที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อม
ความจริงแล้วกลุ่มยา เอซีเอชอีไอ ( AChEI ) ที่เป็นแบบ Reversible Inhibitor จะมีตัวยาที่บำบัดรักษาโรคได้หลากหลาย แต่เมื่อตีกรอบไว้แค่โรคเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมจึงคงเหลือตัวเด่นๆ ที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ อยู่แค่ 3 ตัวเท่านั้น ได้แก่
1. ยาโดนีพีซิล ( Donepezil ) :...
กระตุ้นความจำบำรุงสมองทำได้อย่างไร
สมอง คือ
สมอง ( Brain ) คือ อวัยวะส่วนสำคัญของมนุษย์และในสัตว์ต่างๆ เป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นซึ่งมีความมหัศจรรย์ที่ถูกวิวัฒนาการมาเพื่อความอยู่รอด การมีสมองดี ความจำที่ดี สมองปลอดโปร่ง มีความกระฉับกระเฉง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ซึ่งสมองมีความสามารถในการจำต่างๆ โดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เมื่อได้ระบบการเชื่อมต่อของความทรงจำ แต่ละความทรงจำแล้วเก็บไว้เป็นหมวดหมู่เรียกว่า เอ็นแกรม ซึ่งจะเก็บไว้ตามกลีบสมองเมื่อมีการกระตุ้นความทรงจำนั้นๆก็จะระลึกได้ว่าเคยผ่านประสบการณ์นั้นมา
>> วัคซีนที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ
>> อาหารที่มีสารช่วยในการปรับสมดุลสมองเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
การทำงานของสมองนั้นสลับซับซ้อนมาก ถึงแม้ว่าเราจะมีการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และส่วนประกอบของสมองจนทำให้เราได้รู้จักกับสมองมากยิ่งขึ้นแล้ว แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความลับที่ซ่อนอยู่ของสมอง โดยเฉพาะเรื่องของความจำ เรายังไม่สามารถกำหนดเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานได้เลยว่า จะต้องกระตุ้นอย่างไร คนๆ หนึ่งถึงจะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ หรือเมื่อความทรงจำสูญหายไปเราจะต้องทำอย่างไรถึงจะเรียกความจำทั้งหมดให้กลับคืนมาได้ ข้อมูลที่มีจึงออกมาในรูปแบบของการให้แนวทางโดยรวมเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความจำกับสมองก็ต้องศึกษาว่าสมองแต่ละส่วนทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อใช้ต่อยอดในการศึกษาเชิงลึกต่อไป
สมอง มีหน้าที่อะไรบ้าง
สมองทุกส่วนจะทำงานสัมพันธ์กันในลักษณะเครือข่าย ต่อให้แต่ละส่วนมีหน้าที่หลักต่างกัน แต่การทำงานก็ไม่ได้แยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง สมองของมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. สมองส่วนหน้า ( Forebrain )
สมองส่วนหน้าเป็นส่วนของก้อนสมองที่ใหญ่ที่สุด และมีรอยหยักมากที่สุดด้วย มีหน่วยย่อยที่ทำหน้าที่หลายอย่างรวมกันอยู่ในส่วนนี้ หน่วยย่อยเหล่านั้น ได้แก่
ออลเฟกทอรีบัลบ์ ( Olfactory Bulb ) : เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของก้อนสมอง มีหน้าที่หลักในการดมกลิ่นต่างๆ สมองส่วนนี้ไม่มีการพัฒนามากนักในมนุษย์ แต่เราใช้เยื่อบุในโพรงจมูกช่วยในการดมกลิ่นแทน
ซีรีบรัม ( Cerebrum ) : นี่คือส่วนสำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และการเพิ่มพูนความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์กลางการทำงานด้านประสาทสัมผัสของร่างกาย ส่วนนี้ยังแยกย่อยได้อีก 4 ส่วนคือ
สมองกลีบหน้า ( Frontal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด การตัดสินใจ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก ความประทับใจ การมีเหตุผลคิดอย่างเป็นนามธรรม ( Abstract Thinking ) การพูด การใช้ภาษาและการออกเสียง
สมองกลีบขมับ ( Temporal Lobe ) ซีกซ้ายจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าใจภาษา ส่วนซีกขวาจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใจเสียงสูงต่ำในประโยค หรือในบทเพลง
สมองกลีบข้างขม่อม/กระหม่อม ( Parietal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ การสัมผัส การรับรส ความเข้าใจในมิติสัมพันธ์ของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
สมองกลีบท้ายทอย ( Occipital Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นภาพ ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อม ( parietal lobe ) คือเมื่อมองเห็นแล้วก็รับรู้ได้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร หรือสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น
ทาลามัส ( Thalamus ) : เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาทที่ผ่านเข้า-ออกทั้งหมด พูดให้เข้าใจง่ายก็คือเป็นสถานีถ่ายทอดที่ทำหน้าที่กระจายคำสั่งไปยังส่วนต่างๆ ทาลามัสเป็นอีกส่วนหนึ่งของสมองที่มีรายละเอียดเยอะมาก และร่างกายจะเจ็บปวดอย่างรุนแรงหากส่วนนี้ถูกทำลายไป
ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) : ศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกที เกี่ยวเนื่องกับการปรับอุณหภูมิของร่ายกาย อารมณ์ ความรู้สึก และวงจรชีวิตเกือบทั้งหมด เช่น การนอนหลับและตื่น อาการหิวและอิ่ม เป็นต้น
2. สมองส่วนกลาง ( Midbrain )
ส่วนนี้ต่อเนื่องมาจากสมองส่วนหน้า และมี ออพติกโลบ ( Optic Lobe ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด...
โรคสมองเสื่อมวัยกลางคน ( Early Onsel Dementia )
ภาวะสมองเสื่อม
เมื่อนวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) ก็กลายเป็นโรคที่คนพูดถึงให้ได้ยินกันหนาหูมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากยังไม่รู้จักโรคสมองเสื่อมดีพอ และเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมกันอยู่มากเหมือนกัน เช่น การเข้าใจว่าโรคอัลไซเมอร์คือโรคสมองเสื่อม ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่ แต่อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคสมองเสื่อมในเวลาต่อมา หรือการเข้าใจว่าคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมก็คือคนที่ความจำเสื่อมบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอันนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นอิทธิพลของสื่อประเภทของหนังและละครด้วยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเกิดความไม่เข้าใจก็จะมีความกลัวต่อภาวะสมองเสื่อมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้ไม่รู้ว่าการป้องกันตัวที่ถูกต้องเป็นอย่างไรอีกด้วย
โรคสมองเสื่อม เป็นคำที่ใช้เรียกอาการผิดปกติหลากหลายประเภทที่เกิดจากความเสื่อมสภาพหรือความเสียหายของสมอง ไม่ใช่แค่เรื่องของความจำ แต่รวมทั้งหมดที่สมองมีหน้าที่ควบคุมดูแล ไล่ตั้งแต่อารมณ์และพฤติกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย การตัดสินใจ บุคลิกภาพ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไปจนถึงความคิดและการเรียนรู้ทั้งหมด ส่วนมากเราจะพบโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าวัยเด็กจะไม่มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมเลยเพราะสามารถเป็นกันได้ทุกช่วงวัย เพียงแค่การเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในวัยเด็กนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ยกเว้นจะเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบันก็คือเราพบจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในวัยกลางคนมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าผู้คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าเมื่อก่อน อาจจะเป็นเพียงแค่เดิมทีเรายังไม่เข้าใจหรือยังไม่รู้ว่าอาการที่แสดงออกมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรคสมองเสื่อมเท่านั้นเอง>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ
>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
ภาวะสมองเสื่อมวัยกลางคน ( Early Onsel Dementia )
จะเกิดกับคนที่อายุไม่เกิน 65 ปี ส่วนใหญ่เป็นช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปี ไปจนถึง 55 ปี ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เป็นความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย แต่มักเกิดจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แล้วส่งผลให้กลายเป็นโรคสมองเสื่อมในที่สุด บางรายเริ่มจากโรคหลอดเลือดในสมอง มาเป็นอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมตามลำดับ บางรายเริ่มจากโรคสมองอักเสบจากภูมิต้านทางต่อตนเองหรือโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ และเปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยที่มีสถิติในการตรวจพบมากที่สุดจะเป็นกลุ่มหลัง คือ โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) เรียกง่ายๆ ว่าโรคเอฟทีดี เป็นลักษณะของภาวะสมองเสื่อมที่เกิดในวัยกลางคนสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และเจอบ้างในผู้สูงอายุอีก 20 เปอร์เซ็นต์
โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) มีความหมายตรงตัวก็คือส่วนของสมองกลีบหน้าและสมองกลีบขมับฝ่อตัวหรือยุบตัวลง โดยที่หลอดเลือดสมองยังปกติดีทั้งหมด เป็นอาการเริ่มต้นที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยจิตเวชหรือที่เราเรียกกันตามประสาชาวบ้านว่าคนบ้า การเปลี่ยนแปลงของก้อนสมองในลักษณะนี้จะไม่ค่อยกระทบกระเทือนต่อการคิดวิเคราะห์ แต่เจาะจงไปที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา มันจะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากทีเดียว โรคนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ และทำให้ผู้ป่วยมีอายุสั้นลงด้วย เราสามารถแบ่งย่อย
โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อหรือโรคเอฟทีดี ( Frontotemporal Dementia : FTD ) มี 3 ประเภท
1. สมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่โดดเด่นด้านพฤติกรรม (ฺ Behavioral Variant )
สรุปเป็นนิยามสั้นๆ ได้ว่า “ มีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม ” คือ มีอาการหงุดหงิด ดื้อเงียบ ย้ำคิดย้ำทำ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ความคิดอ่านเกี่ยวกับการบริหารจัดการผิดเพี้ยน บางครั้งก็หุนหันพลันแล่น ใจร้อน เพียงไม่นานก็กลับนิ่งเฉยหรือซึมเศร้าไปได้ นี่คือลักษณะเด่นของโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่โดดเด่นด้านพฤติกรรม ซึ่งพอพิจารณาดูให้ดีแล้ว ก็ดูคล้ายกับอารมณ์ปกติของคนทั่วไป หากไม่ได้เป็นคนใกล้ชิดก็ยากที่จะตัดสินได้ว่ามีอาการป่วยหรือไม่ อีกทั้งยังใกล้เคียงกับโรคอัลไซเมอร์อย่างมากอีกด้วย แพทย์ผู้ดูแลจึงต้องวินิจฉัยอย่างละเอียดทั้งการซักประวัติและการตรวจวัดด้วยเทคนิคทางการแพทย์
2. สมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่สูญเสียทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ( Primary Progressive Aphasia )
ผู้ป่วยจะมีอาการถดถอยทางด้านภาษาและการสื่อสารอย่างชัดเจน อาจเริ่มจากมีปัญหาในการเรียกชื่อคนและสิ่งของ มีปัญหาในการเรียงประโยคตามหลักไวยกรณ์ที่เคยใช้ตามปกติ ต้องทวนซ้ำบ่อยๆ ก่อนที่จะตอบคำถาม ทักษะในการสื่อสารจะแย่ลงเรื่อยๆ และกลายเป็นกระตุ้นให้ไม่อยากพูดในที่สุด เรายังสามารถแบ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีก 2 แบบ คือ
กลุ่มพูดช้า : จังหวะการพูดจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด พูดตะกุกตะกัก ติดขัด หลายคำที่เคยใช้จะหายไป เหมือนกับว่าสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไปนั้นมีความเข้าใจเพียงส่วนตัวภายในสมอง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำที่ผู้อื่นเข้าใจด้วยได้ เราจึงได้เห็นการสร้างคำขึ้นใหม่ในแบบของตัวเองกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย
กลุ่มพูดเร็ว :...
สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )
โดยปกติแล้วสมองจะสามารถทำงานได้ดีหากไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหาย นั่นคือเนื้อสมองต้องไม่ถูกทำลาย มีเลือดวิ่งมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในเวลาต่อมา ทีนี้อาการสมองเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทั้งวงการแพทย์และผู้รักสุขภาพให้ความสนใจกันมาก เพราะยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เราต้องค้นหาเกี่ยวกับสมอง และก็มีหลายปัจจัยเหลือเกินที่จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมขึ้นได้ หนึ่งในนั้นก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง
>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) คือความผิดปกติของหลอดเลือดที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายคือสมองจะตกอยู่ในสภาวะขาดเลือดและนำไปสู่การถูกทำลายของเนื้อเยื่อสมองในที่สุด เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วสมองก็หยุดการทำงาน อาจจะทั้งหมดของก้อนสมองหรือแค่บางส่วนก็ได้ และแสดงอาการออกมาเป็นภาวะสมองเสื่อม โดยมากแล้วความผิดปกติของหลอดเลือดสมองก็จะแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ๆ คือ หลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดปริแตก นอกจากนี้หากจะเจาะลึกลงรายละเอียดกันอีกหน่อยก็จะพูดถึงประเด็นของจุดที่เกิดความผิดปกติ เช่น เกิดกับหลอดเลือดใหญ่หรือเล็ก เกิดที่สมองส่วนไหน เป็นต้น และทั้งหมดเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อระดับความรุนแรงและวิธีการรักษาของภาวะสมองเสื่อมด้วยกันทั้งสิ้น
ประเภทของภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
ความผิดปกติของหลอดเลือดที่มีผลต่อความเสียหายของสมองแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.หลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบทำให้สมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke )
ส่วนของหลอดเลือดอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายไหลไปกองสะสมที่หลอดเลือดสมอง หรือเป็นการก่อตัวของลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดสมองเองแล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้ ในขณะที่ส่วนของหลอดเลือดตีบ มักจะเป็นสาเหตุเดียวกันกับเส้นเลือดบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย นั่นก็คือเรื่องของไขมันสะสมนั่นเอง ทั้งแบบอุดตันและแบบตีบ ต่างให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน คือช่องทางในการส่งต่อเลือดไปยังสมองมีขนาดเล็กลงมาก ไปจนถึงอุดตันปิดกั้นการลำเลียงเลือด เมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงก็จะหยุดทำงานและเริ่มเกิดความเสียหาย แต่ในบางครั้งลิ่มเลือดก็ถูกกระแสเลือดดันออกไปอย่างรวดเร็ว แบบนี้จะทำให้สมองขาดเลือดเพียงชั่วขณะเท่านั้นซึ่งไม่เป็นอันตรายใดๆ
2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดทำให้เลือดออกในสมอง ( Hemorrhagic Stroke )
เป็นเรื่องของผนังหลอดเลือดที่เปราะบางเกินไปและยืดหยุ่นไม่เพียงพอ อาจจะด้วยกรรมพันธุ์หรือการขาดสารอาหารที่จำเป็นก็ได้ ทำให้เวลาเส้นเลือดบีบตัวส่งน้ำเลือดไปด้วยแรงดัน ผนังเส้นเลือดส่วนที่ทนแรงดันไม่ได้ก็จะปริแตกหรือฉีกขาด เมื่อเส้นเลือดแตกแล้วก็จะมีอาการเลือดออกในสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองส่วนนั้นถูกทำลาย
ถึงแม้ว่ารูปแบบความผิดปกติของหลอดเลือดจะมีอยู่ 2 แบบ แต่เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบ อาจเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เกิดจากเส้นเลือดสมองปริแตก และโรคหลอดเลือดสมองนี้ก็มีทั้งปัจจัยการเกิดที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถตีกรอบที่ชัดเจนได้ว่าคนกลุ่มไหนจะมีความเสี่ยงในการเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากัน อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจก็คือ ภาวะสมองเสื่อมบางประเภทสามารถรักษาให้หายขาดได้ อยู่ที่ว่าความเสียหายของเนื้อเยื่อสมองนั้นเกิดบริเวณไหน และรุนแรงมากแค่ไหน อย่างเช่น ถ้าสมองขาดเลือดเป็นส่วนสีเทาใต้ฐานสมองที่เราเรียกว่า ทาลามัส ( thalamus ) ก็สามารถให้ยาต้าน acetylcholinesterase ซึ่งเป็นยาตัวกลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ในระยะเวลาไม่นานนักผู้ป่วยก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน
อาการของผู้ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
ความจริงแล้วเราแยกผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองออกจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือพาร์กินสันได้ค่อนข้างยาก และจำเป็นต้องใช้เวลานาน นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ป่วยหลายรายไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็วเพียงพอ เมื่อไม่มีอาการผิดปกติที่รุนแรง คนใกล้ชิดก็เข้าใจผิดว่าเป็นอาการของผู้สูงอายุทั่วไป เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดแผกไปจากเดิม ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องกำชับคนดูแลให้มากว่าอย่าชะล่าใจเด็ดขาด ทางที่ดีก็คือเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่า อาการที่สามารถใช้เพื่อสังเกตความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่คงที่ บุคลิคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตัวเกร็ง เคลื่อนไหวช้า เห็นภาพหลอน อัมพฤกษ์อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความสามารถของสมองถดถอยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น สิ่งสำคัญคืออาการที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลด้วย หมายถึงไม่จำเป็นต้องมีลำดับอาการที่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องมีอาการครบถ้วนทุกประเด็นที่กล่าวไป เพราะความเสียหายในส่วนของสมองที่ต่างกันจะแสดงอาการแตกต่างกันไปด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการทรุดๆ ทรงๆ อยู่ได้เป็นปีๆ หรือทรุดหนักรวดเดียวเลยก็ได้ใน
กรณีที่เนื้อเยื่อสมองเสียหายอย่างรุนแรง การหมั่นสังเกตความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ จึงสำคัญมากกับผู้ป่วยกลุ่มนี้
การรักษาภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
ก่อนอื่นก็ต้องผ่านการวินิจฉัยของแพทย์ก่อนว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมแบบไหน แบบโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือโรคหลอดเลือดสมองปริแตก เพราะการรักษาจะแตกต่างกันออกไปดังนี้
1.หลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบทำให้สมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke )
โดยมากจะเป็นการใช้ยาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนาน ยาที่ใช้ได้แก่
ยาละลายลิ่มเลือด : ใช้กับผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงของอาการเลือดออกในสมองเลย และต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 4 ชั่วโมง
ยาต้านเกล็ดเลือด : เน้นลดการก่อตัวของเกล็ดเลือด และช่วยให้การอุดตันค่อยๆ ลดน้อยลงได้
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด : เป็นการป้องกันการเพิ่มขึ้นของลิ่มเลือด
ยาลดไขมันในเลือด : ใช้กับผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันเส้นเลือดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ก็จะเป็นการผ่าตัดเพื่อขยายหลอดเลือดหรือเพื่อกำจัดลิ่มเลือด สำหรับกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากๆ และยาไม่สามารถรักษาได้แล้ว
2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดทำให้เลือดออกในสมอง ( Hemorrhagic Stroke )
การรักษากรณีเลือดออกในสมองจะยุ่งยากกว่าเส้นเลือดอุดตันพอสมควร...
พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ ( Genetics of Alzheimer Disease )
โรคอัลไซเมอร์
รหัสแห่งชีวิตที่เรียกว่า พันธุกรรม มีผลต่อลักษณะหรือเอกลักษณ์ของบุคคล ตลอดจนประเด็นของสุขภาพร่างกายด้วย หลายคนดูแลตัวเองดีมาก ถูกต้องตามหลักโภชนาการและหลักสุขภาพทุกอย่าง แต่ก็ยังเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะปัญหาบางอย่างในรหัสพันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดโดยตรงจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นพ่อแม่ที่ทำให้ความบกพร่องของรหัสพันธุกรรมกลายเป็นลักษณะเด่นก็ย่อมส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตาบอดสี ดาวน์ซินโดรม ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น โรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ก็เช่นเดียวกัน หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน >> โรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร มาหาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ
>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
เพียงแต่ว่าสาเหตุในการเกิดจะแตกต่างออกไป ผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือมีส่วนเสียหายของสมอง แต่อัลไซเมอร์ในวัยรุ่น่หรือวัยกลางคนจะเกิดจากรหัสพันธุกรรมเป็นหลัก โดยคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้จะมีพ่อแม่ที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ ชนิดเกิดก่อนวัย และค่าความเสี่ยงจะสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องให้แน่ใจว่ารุ่นพ่อแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นเป็นการเกิดแบบก่อนวัยจริงๆ ไม่ใช่การเป็นเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว เพราะถ้าเป็นแบบนั้น รุ่นลูกก็จะมีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป
สารพันธุกรรมสำคัญ 3 ตัวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคอัลไซเมอร์ เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 14 คู่ที่ 1 และคู่ที่ 21 เราเรียกว่า พรีซีนิลิน ได้แก่ PS-1, PS-2 และ APP ( Amyloid Precursor Protein ) เพียงแค่พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสารพันธุกรรมที่ว่านี้ รุ่นลูกก็จะมีโอกาสได้รับการส่งต่ออยู่ที่ร้อยละ 50 อีกตัวหนึ่งเป็นสารพันธุกรรม ริสก์ยีน ( Risk Gene ) เช่น ApoE 4 อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 19 ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงถึง 4 เท่า แต่ความเสี่ยงนี้ก็ลดลงได้หากเรามีสารพันธุกรรม E2 อยู่ด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายละเอียดเกี่ยวกับอัลไซเมอร์เท่านั้นเอง
หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน
วิธีตรวจแบบอื่นๆ
การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ นอกจากการซักประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อวัดค่าเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงแล้ว แพทย์ก็ยังสามารถใช้วิธีตรวจแบบอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่
ทดสอบด้วยหลักการทางจิตวิทยา อาจเป็นแบบสอบถาม เป็นปัญหาเชาว์ หรือการขีดเขียนอย่างอิสระแล้วประเมินผลโดยแพทย์เฉพาะทาง
ใช้นวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยง
เจาะไขสันหลังเพื่อนำของเหลวไปทดสอบ
เอกซเรย์ความสมบูรณ์ของสมองด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลได้เลยว่ารุ่นพ่อแม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนวัยหรือไม่ ก็มักจะไม่มีการตรวจหาสารพันธุกรรม PS-1 และ PS-2 เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นอัลไซเมอร์ แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการดูแลให้อย่างเหมาะสม เพราะถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.
Lin MT, Beal MF. Alzheimer’s APP mangles mitochondria. Nat Med. 2006;12(11):1241–1243.
Walter J, Kaether C, Steiner H, Haass C. The cell biology of Alzheimer’s disease: uncovering the secrets of secretases. Curr...
ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร
โรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นแสดงออกอย่างไรแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปมาก แต่โรคเกี่ยวกับสมองก็ยังจัดเป็นโรคพิเศษที่มีความละเอียดอ่อน ผู้ป่วยทางสมองต้องได้รับการดูแลและต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงลึกและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าการพึ่งพาเพียงแค่เทคโนโลยีอยู่ดี โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้น ผู้ป่วยทางสมองยังตรวจอาการพบได้บางครั้งอาการที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย แต่ผู้ป่วยทางสมองไม่ได้รับการวินิจฉัยซ้ำอย่างถี่ถ้วนครบทุกด้าน ก็ทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนไปได้เช่นเดียวกัน อย่างที่เราได้เห็นเป็นกรณีศึกษากันอยู่บ่อยๆ
โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นจากอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นของโรคเกี่ยวกับสมองที่น่าสนใจ เพราะมีผู้ป่วยทางสมองหลายรายหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ตามที เกิดความเข้าใจผิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม เหตุผลก็คือก้อนสมองทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก กล่าวให้ชัดลงไปอีกก็คือ ผู้ป่วยทางสทองไม่ว่าส่วนใดของสมองเสียหายก็มักจะส่งผลกระทบต่อสมองกลีบหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมพฤติกรรมของเราทั้งนั้น และนั่นไม่ใช่พฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม
หากมีผู้ป่วยทางสมองสักคนมีอาการเหม่อลอย โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัว ถึงจะดูคล้ายว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ จำเป็นต้องตรวจสอบถึงสารเสพติด เนื้องอก หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเด็นอื่นๆ ก่อน สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยทางสมองจะต้องมีร่องรอยของโรคกระจายทั่วก้อนสมอง ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมก็คือ กลุ่มคนที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะกลาง กลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมวัยกลางคน และกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม อันที่จริงก็ต้องตรวจสอบโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอ เพื่อให้รู้แน่ชัดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล และนั่นส่งผลต่อการดูแลรักษาในภายหลังด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับถัดไปได้ อาการของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมมีดังนี้>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
>> สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคสมองเสื่อมคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
อาการของผู้ป่วยทางสมองที่สมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม
เฉยเมยและเฉื่อยชา : ผู้ป่วยทางสมองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะแรกสุดก็คือความเฉื่อยชาและเฉยเมยกับสิ่งรอบตัว เริ่มท้อ เริ่มเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับชีวิตที่เป็นอยู่ หลายครั้งรุนแรงถึงขั้นหมดกำลังใจและมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นอาการที่ค่อนข้างคล้ายกับโรคซึมเศร้ามาก และบางกรณีก็เกิดการเป็นแบบทับซ้อนร่วมกันไป การรักษายังคงเป็นการให้ยาตามอาการและติดตามผลอย่างใกล้ชิด
หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว : ผู้ป่วยทางสมองจากเดิมที่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมได้ดี ก็กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด กระสับกระส่าย อาจเกิดจากสภาวะทางอารมณ์และจิตใจเพียงอย่างเดียว เช่น จิตใจไม่สงบ ไม่สบายใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ยึดติดและหมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างจนเกิดความตึงเครียด เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสภาวะทางร่างกายร่วมด้วย มีอาการเจ็บปวดหรือความไม่สบายกายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปวดท้องบ่อยๆ หิวบ่อยๆ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นประจำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็กระตุ้นให้มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและก้าวร้าวได้เช่นเดียวกัน
อาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ : ผู้ป่วยทางสมองจะว่าง่ายๆคือการควบคุม “ความอยาก” ทั้งจากความต้องการภายในจิตใจและจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น อยากกิน อยากใช้จ่าย อยากมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นความอยากพื้นฐานที่เราจะควบคุมจังหวะและปริมาณที่เหมาะสมได้ แต่พอมีอาการป่วยที่ทำให้ส่วนของการควบคุมความอยากเสียหาย มันจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก และประเด็นนี้ก็ต้องให้ความเข้าใจมากกว่าการห้ามแบบเด็ดขาดด้วย
ยับยั้งใจไม่ได้ : เมื่อมองผิวเพินอาการนี้อาการผู้ป่วยทางสมองแทบจะซ้อนทับกับอาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อมองให้ละเอียดลงไป การยับยั้งชั่งใจไม่ได้นั้นรุนแรงและลึกซึ้งกว่า เพราะผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากกรอบความดีงามของสังคม และบางอย่างมันเป็นมากกว่าแค่ “ ความอยาก ” ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับผู้อื่นและตัวผู้ป่วยเอง
เมื่อพิจารณาดูกันชัดๆแล้ว อาการสมองเสื่อมจากของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยอาการสมองจะว่าสังเกตง่ายก็ง่าย จะว่าสังเกตยากก็ยากเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน เพราะหลายอย่างดูคล้ายกับพฤติกรรมธรรมดาทั่วไป หากไม่รุนแรงมากก็แทบจะจับความผิดปกติไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเจ้าตัวไม่ยอมรับหรือญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดไม่ใส่ใจสังเกตมากพอ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษาไม่น้อย และต่อให้มองเห็นความผิดปกติแล้ว ก็ยังต้องตรวจเช็คอีกหลายขั้นตอนก่อนสรุปผล จึงต้องมีส่วนร่วมในการรักษาไปด้วยกันทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแล
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.
"Brain Cells for Socializing". Smithsonian. Retrieved 30 October 2015.
Cardarelli R, Kertesz A, Knebl JA (December 2010). "Frontotemporal dementia: a review for primary care...
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )
อัลไซเมอร์ หรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมส่งผลโดยตรงต่อสมองส่วนควบคุมควมทรงจำ ความคิด อารมณ์ โรคอัลไซเมอร์จะพบมากในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่
1.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ 2.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด
โรคอัลไซเมอร์จะพบว่าผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย จากอายุเฉลี่ยของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า คนไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตามข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 254-2556 ชี้ให้เห็นว่า อัลไซเมอร์จะเกิดในคนอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ปี เมื่อดูข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ. 2556 จะพบว่า เพศหญิงมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 78 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ยถึงจะน้อยกว่าผู้หญิงแต่ก็สูงถึง 71 ปี ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลมาจากการพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการรักษาและการดูแลสุขภาพ และคนไทยในปัจจุบนเมื่อเทียบกับคนสมัยก่อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะมากขึ้นกว่าคนสมัยก่อน แต่เมื่อเทียบกับคนต่างชาติแล้ว คนไทยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าคนต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่คนไทยพบน้อยกว่าคนต่างชาติเช่นกัน
เมื่อดูสัดส่วนการเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม กับการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ของคนไทยกับคนต่างชาติ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุคนไทยจำนวน 10 ที่เป็นโรคสมองเสื่อม จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 5-6 คน ส่วนผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 10 คน เป็นโรคอัลไซเมอร์สูงถึง 8 คน ถือว่ามีเปอร์เซ็นสูงมากจนน่าตกใจ และนอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางสถิติว่า คนไทยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะมีโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าชาวต่างชาติที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สูงถึงร้อยละ 30-70 ของคนที่มีปัญหาหลอดเหลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน
ความจำ ปัญหาหนักของโรคอัลไซเมอร์
อาการอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมหรือหลงๆลืมๆ จำอะไรไม่ค่อยได้ เป็นอาการที่พบในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการความจำระยะสั้นหาย อาการอัลไซเมอร์จะจำสภาพแวดล้อมตัวเองอยู่ไม่ได้ จึงมักจะได้ยินได้เห็นข่าวที่ตามหาผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไปแล้วหาทางกลับไม่ถูก เมื่อมีคนถามว่าบ้านอยู่ไหนก็จะตอบไม่ถูก ซึ่งเราจะพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักจะถามคำถามซ้ำๆเดิมๆบ่อยๆ แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะจำเรื่องราวในอดีตได้ จึงมักจะพูดถึงแต่เรื่องในอดีต เช่น สมัยเรียนชั้นประถม เรียนที่ไหน ความประทับใจมีอะไรบ้าง สามารถเล่าออกมาได้ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า ความทรงจำเก่าๆในอดีตได้ฝังรากลึกลงในสมองหลายส่วนก็เลยทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถจำเรื่องราวในอดีตได้
>> วัคซีนที่ใช้รักษาโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ
>> โรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
ในการทดสอบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในความจำใหม่ๆที่ป้อนเข้าไปจะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถจำความจำใหม่ๆได้ เช่น ทดสอบให้ผู้ป่วยอ่านคำ 5 คำ แล้วให้จำเอาไว้ ให้ท่องและพูดตาม หลังจากนั้นก็ไปทดสอบเรื่องอื่นต่อ เช่น ให้ ดูรูปภาพ บรรยายรูป ให้แปลสุภาษิต ให้บวก ลบ คูณ หาร จากนั้นสักพักกลับมาย้อนถามเรื่องคำ 5 คำที่ให้ท่องไว้ ว่ามีคำอะไรบ้าง และมีตัวช่วยเพื่อให้ผู้ป่วยจำได้ แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยจำไม่ได้ นั่นคือ อาการของโรคอัลไซเมอร์
มีการค้นพบถึงสาเหตุของความจำระยะสั้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ พบว่าสาเหตุเพราะสมองส่วนกลีบขมับด้านใกล้กลาง ( Medial Temporal Lobe ) มีผลเกี่ยวกับความจำใหม่ หรือความจำระยะสั้น ที่ต้องจดจำนั้นมีพยาธิสภาพฝ่อลงจึงทำให้สูญเสียความจำระยะสั้น หรือความจำใหม่ไป ดังนั้นผู้ที่อยู่ดูแลจึงควรเข้าใจและอย่าไปโมโหหรือโกรธเวลาผู้ป่วยหลงลืมหรือจำอะไรไม่ถึงแม้เราจะบอกซ้ำๆแล้วก็ตาม
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีพยาธิกำเนิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พบว่า สารแอมีลอยด์ ( Amyoid ) และโปรตีนที่เรียกว่า เทา ( Tau ) ซึ่งทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่คล้ายกันกับนั่งร้านของเซลล์ ถ้าหากว่านั่งร้านของเซลล์เกิดความผิดปกติ จะทำให้เซลล์สมองฝ่อลง ทำให้ความจำเสื่อม
สารแอมีลอยด์จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมทันทีเมื่อยู่นอกเซลล์ ทำให้สมองเกิดการอักเสบและบวมในเนื้อสมอง พอสมองเกิดการอักเสบเซลล์เกลีย ( Glia ) จะเข้ามาทำลายหรือขจัดสารแอมีลอยด์ออกไป เม็ดเลือดขาวก็จะเข้ามาแทน ทำให้เกิดปฏิกิริยา และ การหลั่งสารหลั่งในสมองที่ชี้ว่าเป็นอาการสมองอักเสบ (...
โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร
โรคสมองเสื่อมเร็ว
โรคสมองเสื่อมเร็ว ไม่ได้หมายถึง ความจำเสื่อมเท่านั้น แต่หมายรวมถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด
โรคสมองเสื่อมเร็ว ( Rapidly Progressive Dementia ) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่เป็นจนถึงอาการสมองเสื่อม ใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นเร็วมากๆ
>> โรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> อาหารที่มีสารช่วยในการปรับสมดุลสมองเป็นอย่างไรมาดูกันค่ะ
สาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมเร็ว
โรคสมองเสื่อมเร็ว เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. โรคสมองเสื่อเร็วที่เกิดจากโรคระบบประสาทเสื่อม อย่างโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าแลกลีบขมับฝ่อ โรคเหนือนิวเคลียร์อัมพาตต่อเนื่อง ( Progressive Supranuclear Palsy )
2. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคภูมิต้านทานต่อตัวเอง อย่างเช่น โรคปลอกเส้นประสาทสมองอักเสบ พยาธิภาวะที่สมองจากภูมิต้านทาง VGKC, NMDAR พยาธิภาวะที่สมองฮาชิโมโต ( Hashimoto’s encephalopathy )
3. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคติดเชื้อ อย่างเช่น โรคพรีออน ( Prion Disease ) โรคซิฟิลิส โรคเอชไอวี โรคครอยท์ซเฟลตท์-จาคอบ
4. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคจิตเวช
5. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเนื้องอก หรือ มะเร็ง
6. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคเมแทบอลิซึม และโรคเนื่องจากสิ่งที่ก่อพิษ อย่างเช่น โรคจากพิษสุราเรื้อรัง โรคจากพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ โรคจากพิษยาบางชนิด
7. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิภาวะที่สมองจากไมโทคอนเดรีย
8. โรคสมองเสื่อมเร็วที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
โรคสมองเสื่อมเร็ว ที่แสดงอาการชัดเจนที่สุด คือ โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ( HIV ) อาการที่แสดงออกมาคือ ไม่พูดไม่คิดไม่ทำอะไร อยากอยู่นิ่งๆ ต่อเนื่องกันประมาณสองสัปดาห์ หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเคลื่อนไหวช้า สิ่งที่สังเกตเห็นชัดเจนเลยคือ ร่างกาย แขนขา เกร็ง มีอาการเซ อาการสั่น ส่วนการแสดงอาการทางอารมณ์ผู้ป่วย จะมีอาการเชื่องช้า หงุดหงิด ไม่ค่อยมีความสุข
โรคสมองเสื่อมเร็ว หมายถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด
การรักษาโรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการสมองเสื่อมได้บ่อย แต่ในการรักษาโรคเอชไอวีต้องใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสนี้ทำให้อาการสมองเสื่อมหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า เชื้อไวรัสมีผลต่อสมองและเซลล์ประสาท ดังนั้น การทำให้ไวรัสแบ่งตัวน้อยลงในระบบประสาท ก็จะทำให้อาการสมองเสื่อมไม่ปรากฏออกมา
กรมอนามัยโลกยอมรับว่า หากผู้ป่วยเอชไอวีกลุ่มโรคสมองเสื่อมเร็วเกิดอุบัติเหตุทางสมอง การรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ทำให้โรคสมองเสื่อมน้อยลง เมื่อใช้ยาต้านไวรัสทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสที่มีการแบ่งตัวผิดปกติของไวรัสหัด ( Measles ) ที่พันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลง แล้วมาติดเชื้อในคน จนทำให้มีอาการสมองเสื่อมเร็ว จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผู้ป่วยจะไม่รับรู้อะไรเลย มีการพูดช้าและเนิบๆ มีอาการแขนขาเกร็ง กระตุก สั่น เมื่อมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะผิดปกติเด่น ตรวจน้ำไขสันหลังมีภูมิต้านทานชนิด IgG ต่อเชื้อหัด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เช่น โรค...
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี ( Dementia with Lewy Body )
สมองเสื่อม ( Dementia )
ช่วงหลายปีที่ผ่านมาหากพูดถึง โรคสมองเสื่อม ( Dementia ) เป็นคำที่เราคุ้นหูได้ยินกันบ่อย แต่หากพูดถึงโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body ) หลายท่านคงอุทานว่า “ อะไรนะ ” “ โรคใหม่หรือไม่เคยได้ยิน ” คำตอบคือโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ไม่ได้เป็นโรคใหม่เลยถูกค้นพบมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ. 2455
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body ) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบ คุณ ฟรีดริชไฮน์ริชเลวี่ มวลเลวี่ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการทำงานของสมอง ทั้งด้าน ความคิด ความจำ การวางแผน การประมวลผลข้อมูล การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงความผิดปกติด้านพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ
โรคสมองเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยสูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease ) โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease ) หลอดเลือดในสมองผิดปกติ ( VascularNeurocognitive Disorder ) มวลเลวี่ ( Lewy Body ) โรคสมองขาดเลือด ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 3 วิตามินบี 12 เป็นต้น
งานการศึกษาวิจัยของประเทศสหราชอาณาจักรพบว่า จำนวนป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีสูงเป็นอันดับสองรองจากป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ โดยพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าผู้ป่วยเพศหญิง สำหรับการศึกษาในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีน้อยกว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) จากหลอดเลือดในสมองผิดปกติ
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body )
สาเหตุของโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่
1.โปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid )
เกิดการสะสมที่ผิดปกติของโปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid ) ระหว่างเซลล์สมองเช่นเดียวกับที่พบระหว่างเซลล์สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
2.โปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin )
การสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) เรียกว่า มวลเลวี่ (...
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสัน พบมากในผู้สูงอายุ เชื่อไหมว่า 1 ใน 100 คนของคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ฟังดูเหมือนน้อย แต่ถ้าลองคิดให้เห็นภาพง่ายๆว่า ในโรงเรียน 1 แห่ง ถ้ามีนักเรียน 1,000 คน เมื่อนักเรียนเหล่านี้อายุ 60 ปี จะมีคนที่เป็นโรคพาร์กินสันถึง 10 คน ถือว่าเยอะมากซึ่งความผิดปกติของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว เช่น ทำอะไรช้า ทรงตัวผิดปกติ สั่น เกร็ง แข็ง
โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease )
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 25-30 มีโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพ และมีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น 2 เท่า ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ต้องมีคนคอยดูแลประจำ ทำให้เป็นภาระของครอบครัว ยิ่งถ้าครอบครัวไหนฐานะยากจน ยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้น ในอดีตจะเรียกโรคพาร์กินสันว่า โรคอัมพาตแบบสั่น ( Shaking Palsy ) เพราะว่ามีอาการสั่น เกร็ง จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันพบว่า นอกเหนือจากอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้า หลงผิด เห็นภาพหลอน ภาวะสมองเสื่อม อาการจากระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Nervous System ) ทำงานผิดปกติ เช่น น้ำลายไหลมาก ท้องผูกเรื้อรัง
โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน หรือที่เรารู้จักในชื่อ ยาบ้า และผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากศรีษะอย่างรุนแรง และยังพบว่า 20% ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเกิดจากกรรมพันธุ์ หากใครที่พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคพาร์กินสัน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันได้
ความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมและการใช้สารเสพติด
การลดความเสี่ยงจากโรคพาร์กินสัน
ถึงแม้ว่าโรคพาร์กินสัน จะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า การออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน ได้ เนื่องจาก การออกกำลังกาย จะทำมีสาร Brain-Deried Neurotrophic Factor ( BDNF ) ตรงสมองส่วนฮิปโปแคมปัสปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีผลทำให้รักษาเซลล์สมองและช่วยให้เส้นประสาทใหม่เติบโต คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดี และมีความจำที่ดี
>> การดูแลสมองตนเองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
>> โรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
นอกจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุและกรรมพันธุ์แล้ว โรคพาร์กินสัน ยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อมและตายของสมองส่วนหน้า ( Forebrain ) และถ้าหากมีการเสื่อมและตายของก้านสมองซับสแตนเชียไนกรา ( Substantia Nigra ) ยิ่งทำให้การสร้างสารสื่อประสาทโดพามีนลดน้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนคอร์ปัสสไตรเอตัม ( Corpus Striatum ) ในสมองส่วนหน้า ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้ดี แต่ถ้าเซลล์สมองส่วนซับสแตนเชียในกราตาย ภายใน 4-10 ปี...