การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ใหญ่

การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี

การจัดการรายกรณีสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

1. กระบวนการดูแล

1.ทำแบบประเมินความเสี่ยงให้กับประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต พร้อมเตรียมป้องกันและรับมือกับโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ
2.ผู้ที่พบว่ามีความเสี่ยงจะต้องเข้าทำการคัดกรองทันที เพื่อจะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยจะทำการตรวจด้วยด้วยการตรวจพลาสมากลูโคสขณะอดอาหา ( fasting plasma glucose, FPG ) ถ้าไม่สามารถตรวจ FPG ให้ตรวจ Fasting Capillary Blood Glucose ได้
3. ผู้ที่มีผลการตรวจ FPG หรือ Fasting Capillary Blood Glucose มีค่า ≥ 126 มก./ดล. จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำการลงทะเบียนผู้ป่วยและส่งเข้ารับการรักษาในทันที
4. ผู้ที่มีระดับ FPG 100-125 มก./ดล. วินิจฉัยเป็น IFG คือมีความเสี่ยงเป็นหวาน ซึ่งจะต้องได้รับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากเบาหวาน รวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญจะต้องมีการ ติดตาม FPG ซ้ำทุกๆ 1-3 ปี ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มี ไม่มีการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลและในชุมชน จัดให้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขทำการค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน อัตราความชุก ( Prevalence ) และ อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ( Incidence ) ลดลง 

2. การให้ความรู้และกระตุ้นผู้ป่วยและครอบครัวในการป้องกันและเกิดโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

1.การจัดการรายบุคคล
1.1 ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในเรื่อง Life style modification ด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ ( ปฏิบัติได้ทั้งรายบุคคล/รายกลุ่ม ) โดยจะทำทุก 3 เดือน
1.2 ได้รับการตรวจประเมิน BMI รอบเอว ความดันโลหิต (ใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน) ทุก 1 เดือน
1.3 ทำการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL ทุก 6 เดือน
1.4 จะต้องมีสมุดบันทึกสุขภาพ ( Record book ) ประจำตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกน้ำหนักตัว BMI รอบเอว ระดับความดันโลหิต ผลการตรวจเลือดและบันทึกพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อติดตามและประเมินผลต่อไป

2. การจัดการกับชุมชน
2.1 กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ทำการรณรงค์เรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในชุมชนทุก 6 เดือน ไม่สามารถควบคุมภาวะ Metabolic syndrome ได้ ภายใน 6 เดือน

: ระดับความดันโลหิต > 130/85 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
: BMI สูงเกินเกณฑ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด
: ระดับTriglyceride, HDL สูงเกินมาตรฐานมาตลอดและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 1. จัดโปรแกรมเพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล

 

3. ประสานรพ.ชุมชน/รพ.จังหวัดเพื่อส่งผู้ป่วยไปรับความรู้และคำปรึกษาเรื่อง Life style modification

ทุก 3 เดือน รวมทั้งตรวจประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HD ทุก 6 เดือน

4. นัดผู้ป่วยพบแพทย์อายุรกรรมในโรงพยาบาล

อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง Impaired Fasting Glucose ( IFG )ลดลง

5. เตรียมผู้นำทางสุขภาพในชุมชน

เพิ่มบทบาทของ อสม.โดยจัดอบรมผู้นำทางสุขภาพในชุมชนทุก 1 ปี เพื่อให้ผู้นำสุขภาพได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้คนในชุมชนต่อไป 2. ไม่ได้รับการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL หากผลการตรวจเลือดวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน
การดูแลรักษา

3. การดูแลต่อเนื่อง

1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะต้องทำการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตของตนเองก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงพิจารณาให้ยาต่อไป หรืออาจให้ยาพร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลยก็ได้
2. สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การเริ่มยากิน ควรเริ่มขนานเดียว โดยจะเริ่มด้วยซัลโฟนีลยูเรียสำหรับผ็ป่วยที่ขาดอินซูลิน และเริ่มด้วยยาเม็ทฟอร์มินสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดื้ออินซูลิน
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และเข้าใจมากขึ้น โดยจะต้องเน้นย้ำเรื่องการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกรายในทุกขั้นตอนของการรักษา

4. ต้องติดตามการรักษาและปรับขนาดยาทุก 1-4 สัปดาห์จนได้ระดับน้ำตาลในเลือดตามเป้าหมาย ในระยะยาว เป้าหมายการักษาใช้ระดับ HbA1c เป็นหลักโดยติดตามทุก 2-6 เดือนหรือโดยเฉลี่ยทุก 3 เดือน

4. ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้โดยพิจารณาจาก

– HbA1c < 7%
– BP < 130/80 mmHg
– TC < 170 mg/dl.
LDL < 100 mg/dl.
– TG < 150 mg/dl.
– HDL ≥ 40 mg/dl. (ช)
≥ 50 mg/dl. (ญ)

 

ผู้ป่วยได้รับการตรวจจอประสาทตาการทำงานของไตและตรวจเท้าปีละ 1 ครั้ง

การให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัว

1. ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ป่วย โดยอาจให้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ โดยให้ตรงกับปัญหาในแต่ละ Visit ทุก 2-3 เดือนดังนี้

1.1 ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

1.2 ยารักษาเบาหวาน

1.3 บำบัดและการออกกำลังกาย

1.4 การดูแลเปิดเองในภาวะปกติและไม่สบาย

1.5 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแปลผล

1.6 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติและวิธีป้องกันแก้ไข

1.7 การสังเกตอาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

1.8 การดูแลรักษาเท้า 

2. ได้รับคำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ( Life style modification )โดยจะเน้นในด้านของการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมต่างๆ ทางกายที่เหมาะสมและพฤติกรรมอื่นๆ เช่น งดสูบบุหรี่ โดยตั้งเป้าหมายระดับ การควบคุมให้เหมาะสมกับอายุและภาวะของผู้ป่วย

3.กระตุ้นและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตได้สำเร็จ โดยจะใช้กิจกรรมการกระตุ้นดังนี้ เช่น จัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายเบาหวาน ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น หลังจากได้รับความรู้และคำแนะนำแล้ว ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้

ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

จัดโปรแกรมให้ความรู้รายบุคคลอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องทุก 3 เดือน

การประสานการดูแลต่อเนื่อง
1. ทำการติดตามประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายภายใน 3-6 เดือน
2. ทำการติดตามประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง ที่บ้านว่ามีการปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่ รวมถึงมีอุปสรรคในการรักษาอย่างไรบ้าง จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด ขาดการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานไม่ได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรังจากเบาหวานสูงขึ้น 1. จัดระบบพยาบาลเจ้าของไข้ โดยควรให้พยาบาลคนเดิมเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยไปตลอด จะได้ช่วยให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างสำเร็จมากขึ้น
2. ทำแบบบันทึกการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในแต่ละ visit และบันทึกสรุปประจำปีเพื่อใช้ในการประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วย

การเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทำการค้นหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่มีการค้นหาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยเมื่อได้รับการปรับแผนการรักษาอย่างเหมาะสม จัดระบบการค้นหาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อจัดส่งต่อผู้ป่วย ให้รับการรักษาที่เหมาะสมจากอายุรแพทย์ด้านโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ อายุรกรรมด้านโรคเบาหวาน 

การประเมินและการเข้าสู่การยืนยันการวิจัยโรค ทำการประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ โดยพิจารณาจาก

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก : HbA1c > 9% หรือ PFG 250 มก.ดล.
  • ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด 2 ชนิดในขนาดสูงสุด แล้วแต่ระดับของน้ำตาลในเลือดก็ยังสูงเหมือนเดิม ไม่มีเกณฑ์ประเมินภาวะการควบคุมเบาหวานไม่ได้ จัดทำเกณฑ์ประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ พร้อมกับให้พยาบาล 1คนทำหน้าที่ เพื่อจัดการส่งต่อผู้ป่วยให้พบแพทย์อายุรกรรมและทำการการประเมินอย่างละเอียดพร้อมวินิจฉัยภาวะควบคุมเบาหวานไม่ได้ ภายใน 1 สัปดาห์

การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้

1.รักษาโดยยากิน 2 ขนาน เริ่มด้วยซัลโฟนีลยูเรียและ เม็ทฟอร์มิน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบางรายด้วย เพราะบางรายอาจต้องใช้ยาหลายขนานร่วมกัน เช่น ใช้ยา 3 ขนาดร่วมกันหรือยากิน 2 ขนาดร่วมกับการฉีดอินซูลิน

2. ประเมินการรักษาโดยการซักถามอาการทั่วไป และเน้นการสอบถามอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน การใช้ยา ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

3. ผู้ป่วยจะต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง และการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับการออกฤทธิ์ของยาลดน้ำตาล

4. ประเมินปัจจัยเสี่ยงและตรวจหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ดังนี้
4.1 ตรวจทุก 3-6 เดือน : HbA1c ไขมันในเลือด การทำงานของไต
4.2 ตรวจทุก 1ปี : ตรวจเท้า จอประสาทและ microalbuminuria

5. ทำการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานทันทีที่พบร่องรอยของอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

6. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดอินซูลิน ควรมีการตรวจระดับน้ำตาลที่บ้านด้วย

ทำการประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ โดยพิจารณาจาก

1. ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ภายใน 2-3 เดือนภายหลังได้รับการรักษา:HbA1c>11% FPG>350 มก.ดล.

2. ไม่มีการส่งตรวจระดับ HbA1c ไขมันในเลือด การทำงานของไต การตรวจเท้า ตรวจจอประสาท และ microalbuminuria 

3. ไม่ได้ทำการส่งตัวผู้ป่วยไปพบกับแพทย์เฉพาะทางในทันที

4. เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

กระบวนการดูแลการให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัว ให้ความรู้และเสริมพลังผู้ให้กับป่วยและครอบครัว แบบรายบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม รวมถึงครอบครัวก็สามารถช่วยดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องด้วย 
1. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินด้วยตนเอง จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการฉีดยา ให้ผู้ป่วยได้ลองฝึกทำ บอกถึงการออกฤทธิ์ของอินซูลินว่าเป็นอย่างไร รวมถึงวิธีการเก็บรักษา และความสัมพันธ์ระหว่างอินซูลิน อาหารและการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยและครอบครัวควรรู้ด้วย
2. ให้คำปรึกษาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทานอาหารหรือกิจกรรมทางกาย เพื่อให้ผู้ป่วยทำควบคู่ไปกับการทานยาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานโดยจะให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อน ครอบครัวและครู กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก เพื่อจะได้มีความเข้าใจและช่วยกันดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และจุดสังเกตที่จะต้องคอยสังเกตเสมอ เมื่อมีความผิดปกติ จะได้ไปพบแพทย์ได้ทันนั่นเอง
4. ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถเจาะเลือดและประเมินผลการควบคุมเบาหวานได้ด้วยตัวเอง ( SMBG ) โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดวันละ 3-4 ครั้ง และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีด Basal Insulin ก่อนนอน จะต้องตรวจน้ำตาลตอนเช้าขณะอดอาหารอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ถ้าฉีด RI ก่อนอาหารทุกมื้อร่วมกับการให้ Basal Insulin หรือ Pre-Mixed Insulin วันละ 1-2 ครั้ง และต้องทำการตรวจน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
5. ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและคนในครอบครัว เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงเน้นในเรื่องความปลอดภัยของการออกกำลังกายเป็นหลัก นอกจากนี้จะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำการตรวจตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกําลังกายเสมอ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่มีภาวะ Ketosis และรู้สึกสบายดี สามารถออกกำลังหนักปานกลางได้ และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่มีภาวะ Ketosis ถ้าระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย < 100 มก./ดล. ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติมก่อนออกกําลังกาย ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ หรือทำแล้วแต่ไม่ได้ผล ทำให้ผู้ป่วยการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือมาพบแพทย์ก่อนนัดหมาย และตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมากเกินไป   

6.จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญโดยตรง เป็นผู้ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะด้านของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคำแนะนำในการดูแลตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยต้องฉีดอินซูลินด้วยตนเองที่บ้าน

7. จัดหาสื่อการสอนและอุปกรณ์ต่างๆที่จะช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น

8. ระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน โทรศัพท์เยี่ยมบ้าน ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกข้อมูลผู้ป่วยภายหลังให้คำแนะนำ
9. ต้องมีการติดตามผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อดูผลหลังจากได้ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยไปแล้ว พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยในด้าน

  • การรับประทานอาหาร
  • การออกกำลังกาย
  • การใช้ยา
  • การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
  • การป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและแก้ไขเมื่อมีอาการ

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ จะต้องได้รับการติดตามและประมวลผลการรักษาอยู่เสมอ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคด้วย โดยในระยะแรกอาจจะต้องนัดผู้ป่วยทุก 1-4 สัปดาห์ เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และปรับขนาดของยาให้มีความเหมาะสม จนกว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายภายใน 3-6 เดือน ระยะต่อไปก็จะนัดห่างขึ้น โดยจะติดตามทุก 1-3 เดือนเพื่อประเมินการควบคุมว่ายังคงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
และให้คำแนะนำผู้ป่วยในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านทั้งก่อนและหลัง เพื่อทำการประเมินการควบคุมเบาหวานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพที่สุด ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามและประเมินความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้าน โดยจะดูว่าผู้ป่วยมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอและมีความถูกต้องหรือไม่ รวมถึงมีอุปสรรคใดที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้หรือเปล่า โดยทั้งนี้ทางทีมแพทย์อาจมีการโทรศัพท์ไปเยี่ยม หรือเดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านโดยตรง ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง เป็นผลให้ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจากเบาหวานอีกด้วย 

สรุปการจัดการรายกรณี

จากผลส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงประมาณ 7 ปี มักจะไม่สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลและความดันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ ทั้งยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งได้แก่ EKG, CXR, V/A Fundus Camera และ ABI และอาจมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอัตรกริยาต่อกันของยา Simvastatin กับ Gemfibrozil ซึ่งการจัดการที่ผู้ป่วยได้รับคือ การรักษาภาวะแทรกซ้อนอย่างเร่งด่วนทันทีที่ตรวจพบ การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ปรับพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารให้เหมาะสมที่สุด พร้อมกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมการออกกำลังกาย การค้นหาร่องรอยการทำลายของหลอดเลือด และการหาแนวทางเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วย DM & HT ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการจัดการโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณีทั้งหมด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.