ส้ม คุณค่าสารอาหารและประโยชน์ของส้ม (Orange)
ส้มเป็นผลไม้รสเปรี้ยวอมหวานเต็มไปด้วยวิตามินต่างๆโดยเฉพาะวิตามินซีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ส้ม

ส้ม ( Orange ) เป็นผลไม้ที่ชาวไทยชอบรับประทาน หาง่าย ราคาถูก และมีให้รับประทานตลอดทั้งปี ส้มมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus คือ ผลไม้ที่ให้รสชาติเปรี้ยวนำและตามด้วยอมหวาน สรรพคุณของส้มมีกลิ่นหอมของเปลือกซึ่งนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ ส้มเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกทั่วโลก ส้มมีหลากหลายสายพันธุ์ ส้มเป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ใช้ชื่อเรียกชื่อเดียวกับสีในภาษาอังกฤษ คือ Orange ซึ่งมีการบัญญัติคำนี้เรียกกันมาตั้งแต่ในปี คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยในภายหลังจึงมีคำเรียกเฉดสีส้มที่นิยมใช้ เกิดขึ้นมาอีกหนึ่งคำคือคำว่า แทงเจอร์รีน ( Tangerine ) หรือ ส้มเขียวหวานนั่นเอง

คำว่า “ Orange ” ที่แปลว่าส้มในภาษาอังกฤษ มีรากมาจากคำภาษาสันสกฤต Naranga ที่แปลว่า “ ซ่อนกลิ่น ” หรือ Perfume Within เนื่องจาก ในส้มจะมีกลิ่นที่หอมสมชื่น ชวนให้อยากกิน โดยเฉพาะดอกของต้นส้มจะมีสีขาวบริสุทธิ์จะให้กลิ่นที่หอมชวนให้น่าดมมาก ทำให้ดอกและผลของส้มจึงเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน

ส้ม ( Orange ) ผลไม้ที่ให้รสชาติเปรี้ยวนำและตามด้วยอมหวาน กลิ่นหอมของเปลือกนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกทั่วโลก และมีหลากหลายสายพันธุ์

สรรพคุณของส้ม

สรรพคุณของส้ม การปลูกส้มมีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ นานหลายพันปีแล้ว  ส้ม เป็นพันธุ์ไม้ในสกุลซิตรัส ( Citras ) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อนของทวีปเอเชียและกลุ่มเกาะมลายู พืชตระกูลส้มออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้  6 ชนิด คือ

1 ส้ม ( Orange )
2 ส้มเขียวหวาน ( Mandarin หรือ Tangerines )
3 ส้มโอ ( Pomelo )
4 เกรฟฟรุ๊ต ( Grapefruits )
5 มะนาว ( Lemon or Lime )
6 มะงั่ว ( Citron )

 

โดยส่วนมากมักมีการสับสนระหว่างกลุ่มของส้มและส้มเขียวหวาน สามารถอธิบายความแตกต่างได้ คือ ส้มเขียวหวาน ( Mandarin หรือ Tangerines ) นั้นจะมีเปลือกล่อนทำให้สามารถปอกออกได้ง่ายกว่าส้ม นักวิชาการด้านเกษตรของไทยมีการเรียกส้ม เป็น “ ส้มเกลี้ยง ” ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ เนื่องจากแท้จริงแล้วส้มเกลี้ยงเป็นเพียงสายพันธุ์ย่อยอย่างหนึ่งในตระกูลส้มเท่านั้น  จึงเรียกเพียงสั้นๆว่า “ส้ม” จึงจะถูกต้อง และในส่วนของส้มเขียวหวานจะเรียกแยกออกไปเลยให้เห็นความต่างคือ Mandarin หรือ Tangerines แต่ในกรณีที่ใช้คำว่าส้มในความหมายทั่วไป ก็อนุโลมให้หมายถึงทั้งส้มและส้มเขียวหวานได้เช่นกัน

นอกจากสกุลซิตรัส แล้ว ส้มยังมีชนิดที่มาจาก ไม้ในวงศ์ Rutaceae เช่น คัมควอท ( Kumquat ) หรือ “ ส้มกินทั้งเปลือก ” ซึ่งอยู่ในสกุลของ Fortunella sp. ส้มพันธุ์นี้ มีถิ่นกำเนิดจากในประเทศจีนแล้วแพร่หลายเข้าไปในญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน  คัมควอท คือ ส้มพันธุ์เล็กมีรูปทรงรี  ขนาดเล็กกว่าลูกปิงปองเล็กน้อย มีสีเหลืองทอง สามารถกินได้ทั้งเนื้อทั้งเปลือก รวมถึงชานด้วย โดยชื่อของส้มคัมควอทเพี้ยนมาจากภาษากวางตุ้งในคำว่า Camquit ชาวตะวันตกเพิ่งรู้จักส้มชนิดนี้ในศตวรรษที่ 17 เป็นพันธุ์ส้มที่สามารถดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลกได้เป็นอย่างดีเนื่องจากผลของส้มพันธุ์นี้มีรูปทรงสวยน่ารับประทาน อีกทั้งยังมีความแปลกกว่าส้มชนิดอื่นๆที่สามารถกินได้ทั้งลูกอีกด้วยนั้นเอง

ส้ม เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างมีความหลากหลายทางพันธุกรรม มีทั้งการผสมในพันธุ์เดียวกัน ผสมข้ามสายพันธุ์กัน หรือแม้กะทั่งผสมข้ามสกุลก็ยังมีจึงเกิดการพันธุ์ผสมแบบ ( Hybrid ) กันมากมาย เช่น ส้มจี๊ด อาจเป็นการไฮบริดของส้มเขียวหวานและคัมควอทหรือในส้มแทงจีโล ( Tangelo ) เป็นไฮบริดของส้มเขียวหวานและส้มโอ เป็นต้น

นอกจากนี้ ส้มยังเป็นผลไม้ที่สามารถกลายพันธุ์ได้ง่ายมาก หากเปลี่ยนสภาพดินและอากาศ รสชาติและสีก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้ก็คือ ส้มเป็นพืชที่มีการพัฒนาพันธุ์ไปได้หลากหลายมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ส้มเขียวหวานในเมืองไทย แต่เดิมมีแต่สายพันธุ์บางมดเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ส้มเขียวหวานมีด้วยกันมากมายหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ส้มโชกุน ส้มฟรีมองต์ ส้มสีทอง ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น ถึงแม้ ส้ม จะเป็นไม่ที่มีหลากหลายสายพันธุ์แต่ ก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้คือ

1. ส้มชนิดที่มีรสหวาน ( Sweet Orange ) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Citras Sinensis เช่น ส้มวาเลนเซีย ที่รู้จักในนามซันควิก ส้มนาเวล ( Navels ) ส้มเกลี้ยง และส้มเช้งของไทย เป็นต้น

2.ส้มชนิดที่มีรสเปรี้ยว หรือขม ( Sour or Bitter Orange ) ปัจจุบันมีปลูกน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ทำแยมผิวส้ม ( Marmalade ) เท่านั้น

ประโยชน์ของส้ม

ประโยชน์ของส้ม ส้มถือว่าเป็นผลไม้สุขภาพชนิดหนึ่ง ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ที่ดีมากมาย โดยสามารถใช้ได้ทั้งเนื้อส้มและน้ำมันละเลยจากในส่วนของเปลือกส้ม เช่น

ส่วนต่างๆของส้ม ประโยชน์ที่ได้
เนื้อส้ม  • ช่วยให้เจริญอาหาร
• มีวิตามินซีป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
• รักษาเหงือก
• ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอในร่างกาย
เปลือกส้ม • เป็นยาบำรุงใช้ทาใบหน้าใช้ป้องกันและรักษาสิวฝ้า
ชานของส้ม • ช่วยการขับถ่าย
• ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ และปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้

ประโยชน์ของส้ม เนื้อส้ม มีรสชาติหวาน อร่อย รับประทานแล้วสดชื่น ประโยชน์ของส้มยังมีอีกมากมาย สารอาหารในส้มมีหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็ก เกลือแร่ โซเดียม ส้มมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่ามะนาวในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณของวิตามินซีในส้มจะสูงกว่าในมะนาวเป็นอย่างมากโดยส้มเกลี้ยงจะมีปริมาณของวิตามินซี ที่สูงกว่าส้มเขียวหวานเล็กน้อย

ตารางแสดงปริมาณสารอาหารประโยชน์ของ ส้ม และมะนาว

ประเภท  น้ำมะนาว น้ำส้มเกลี้ยงคั้นสด น้ำส้มเขียวหวานคั้นสด
แคลเซียม 1 mg. 27 mg.  44 mg.
ฟอสฟอรัส 2 mg. 42 mg.  35 mg.
โปแตสเซียม 16 mg. 400 mg. 440 mg.
วิตามินซี 5 mg. 124 mg. 124 mg.
เหล็ก 0.5 mg. 0.5 mg.
โซเดียม 2 mg. 2 mg.
วิตามินเอ 500 I.U. 1040 I.U.

 

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าปริมาณของวิตามินในส้มจะสูงกว่ามะนาวมาก ซึ่งวิตามินซีจะทำหน้าที่เป็นประโยชน์ของส้มมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ป้องกันและรักษามะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีในร่างกายกับสารพิษก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม

โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรามีความต้องการวิตามินซีประมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการทานเพียงน้ำส้มคั้นหนึ่งแก้วก็เพียงพอแล้วแต่ถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณของวิตามินซีมากเพียงพอถึงในระดับ 2,000 – 4,000  มิลลิกรัม ก็จะช่วยให้สามารถเป็นพลังเสริมในการต้านทานโรคมะเร็งได้ ดังนั้นควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงอย่างส้มให้เป็นประจำ และทานในปริมาณที่มากเพียงพอ นอกจากช่วยป้องการอาการจากโรคหวัดได้แล้วยังช่วยในเรื่องการป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย นอกจากวิตามินซีแล้ว ส้มยังมีวิตามินบี ซึ่งเป็นโฟเลท มีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อีกด้วยดังนั้นเมื่อรู้แบบนี้แล้วอย่าลืมซื้อส้มติดบ้านไว้บ้างก็จะดีไม่น้อยเลยทีเดียว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Citrus phylogeny and genetic origin of important species as investigated by molecular markers”. TAG Theoretical and Applied Genetics. 100 (8): 1155–1166.

พืชผลไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส้มเขียวหวาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fruit.htm.