เจลาติน
เจลาติน (Gelatin) คือ ส่วนประกอบในอาหารไร้สีไร้รสได้มาจากคอลลาเจนเป็นโปรตีนเกือบทั้งหมดคล้ายอัลบูมินที่ละลายน้ำได้ ซึ่งได้มาจากการต้มหนังเนื้อเยื่อของสัตว์ กระดูก ผิวหนัง และเส้นเอ็นของสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ หมู และปลา ในเจลาตินมีกรดอะมิโนอยู่สองชนิดเป็นสารที่ร่างกายมนุษย์ใช้สร้างคอลลาเจน จากข้อมูลพบว่าในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ใช้สารเพิ่มความข้นจากเจลาตินที่มนุษย์ใช้อยู่นั้นประมาณ 9,590 จาก 10,586 รายการในเกรดอาหาร และเกรดยา ในรูปแบบแคปซูลเจลาตินคิดเป็นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ สำหรับขนมหวานบางชนิด เช่น ขนมเหนียว ๆ ลูกอมเหนียวหนึบ มาร์ชเมลโลว์ เค้ก พาย เยลลี่ โยเกิร์ตข้น ลูกอมเยลลี่ ฯลฯ
เจลาตินทำอย่างไร
นำกระดูก เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น หนังแห้งจากสัตว์ รวมถึงเกล็ดปลาสามารถใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำเจลาตินได้ ขั้นตอนต่อไปหั่นวัตถุดิบทั้งหมดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่ด้วยน้ำล้างให้สะอาด และนำไปแช่ต่อในสารเคมีประมาณสองวัน
เมื่อครบ 2 วันแล้วก็นำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการไฮโดรไลซิส ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายตัวของวัตถุดิบด้วยปฏิกิริยาจากน้ำร้อนและสารเคมี เมื่อเสร็จแล้วเอาวัตถุดิบที่ได้พักทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้นกรองแยกน้ำแยกกากเสร็จแล้วเป็นขั้นตอนการทำให้กระจ่างน้ำระเหยเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เจลาตินมีความเข้มข้นสูง มาถึงขั้นตอนการฆ่าเชื้อแล้วรอให้เย็นแล้วฆ่าเชื้อซ้ำอีกครั้ง โดยนำไปผ่านกระบวนการที่เปลี่ยนของเหลวให้เป็นเจล จากนั้นนำไปเข้าเตาอบเพื่อบดให้เป็นผงขนาดสม่ำเสมอ คัดแยก และบรรจุ
ประเภทของเจลาติน
1. เจลาตินแบบแผ่น
2. ผงเจลาติน
3. แคปซูลเจลาติน (แคปซูลยา)
ประโยชน์ของเจลาตินต่อสุขภาพ
- เจลาตินช่วยสร้างและรักษาเนื้อเยื่อของร่างการให้แข็งแรง
- เจลาตินช่วยเพิ่มคอลลาเจนให้ผิวดูอ่อนเยาว์ ลดริ้วรอย ร่องลึกต่างๆ
- อุดมไปด้วยกรดกลูตามิกช่วยย่อยอาหารโดยกระตุ้นการผลิตน้ำย่อย
- ช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหาร
- คอลลาเจนในเจลาตินสามารถลดอาการปวดข้อที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ
- ไลซีนในเจลาตินช่วยเสริมสร้างกระดูก และป้องกันการสูญเสียกระดูก
- ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม
- ช่วยให้กระดูกแข็งแรงไกลซีนในเจลาติน
- ช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดียิ่งขึ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของเจลาติน คืออะไร
- เจลาตินละลายที่อุณหภูมิร่างกายทำให้รู้สึกสบายปากจึงเหมาะสำหรับทำขนม เช่น กัมมี่ มาร์ชเมลโลว์ ลูกอมเคี้ยวหนึบ และผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ และของหวานอื่นๆ อีกมากมาย
- เป็นโปรตีนจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัย เมื่อรับประทานเข้าไปจึงทำให้เกิดอาการแพ้ในร่างกายมนุษย์น้อยมาก ดังนั้น เจลาตินจึงเหมาะสำหรับการใช้งานด้านเภสัชกรรมและการแพทย์
- เจลาตินเป็นส่วนประกอบในอาหารทั่วไปในซุป ซอส ลูกอมเหนียวหนึบ และเจลาตินไม่ได้ใช้ในอาหารเท่านั้น แต่ยังใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหรือเครื่องสำอางเท่าและเจลาตินยังถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ ฟิล์มถ่ายภาพกระดาษ หัวไม้ขีด กระดาษทราย กระดาษพิมพ์เคลือบเงา หมวกว่ายน้ำ
- แผ่นจำลองทางการแพทย์สำหรับเย็บแผลผ่าตัด
- การตรวจลักษณะบาดแผลที่เกิดจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืน
- เพื่อระบุบาดแผลทางเข้าและบาดแผลทางออกของกระสุนปืนใช้ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
กรดอะมิโนในเจลาตินจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีมากที่สุด
- ไกลซีน 27%
- โพรลีน 16%
- วาลีน 14%
- ไฮดรอกซีโพรลีน 14%
- กรดกลูตามิก 11%
ผลข้างเคียงของเจลาตินคืออะไร?
นอกจากจะใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพแล้ว เจลาตินยังใช้ทำการเคลือบแคปซูลสำหรับยาหลายชนิดอีกด้วย แม้ว่าจะพบได้ยาก แต่บุคคลบางคนอาจแพ้ผลิตภัณฑ์เจลาตินจากวัว ดังนั้น หากคุณรู้ว่าคุณมีอาการแพ้ หรือแพ้ง่ายควรศึกษาข้อมูลบนฉลากสินค้าก่อนทุกครั้ง เมื่อกินอาหารหรือขนมหวานที่มีส่วนผสมของเจลาตินในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงหลังการบริโภคเจลาตินเพราะเจลาตินสามารถทำให้เกิดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้รู้สึกหนักในกระเพาะอาหาร ท้องอืด หรือเรอมากกว่าปกตินั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม