แอลคาร์นิทีน
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) คือสารธรรมชาติที่พบในอาหาร และร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากกรดอะมิโนไลซีนและเมไทโอนีน มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกายจะพบว่าแอลคาร์นิทีนความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบ ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในแอลคาร์นิทีนในร่างกายจะลดลงเลื่อยๆอย่างรวดเร็วในระหว่างการออกกำลังกายเบาๆ หรือออกกำลังกายอย่างหนักการทำงานของหัวใจ สมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และกระบวนการอื่นๆ ของร่างกาย
รูปแบบของแอลคาร์นิทีน
- D – carnitine คือ รูปแบบที่ไม่ได้ใช้งานนี้อาจทำให้เกิดการขาดแอลคาร์นิทีนในร่างกายของคุณ โดยการยับยั้งการดูดซึมของรูปแบบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากขึ้น
- Acetyl – L- carnitine คือ ช่วยเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันระบบประสาทเพิ่มการทำงานของสมองด้านความจำ
- Propionyl – L- carnitine คือ เป็นสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานของหัวใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและกระบวนการอื่นๆ ของร่างกาย รวมทั้งใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อาการเจ็บหน้าอก และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- L- carnitine fumarate คือ เป็นกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งช่วยลำเลียงกรดไขมันเข้าไปในเซลล์ของไมโทคอนเดรีย ซึ่งไขมันส่วนเกินสามารถสลายตัวและเปลี่ยนเป็นพลังงาน กรดอะมิโนที่สำคัญนี้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการเช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดภาวะโรคหัวใจและเพิ่มการทำงานของสมอง
- L- carnitine L-tartrate คือ เป็นสารสำคัญที่มีบทบาทในการเผาผลาญอาหารที่โดดเด่นที่สุดในการขนส่งกรดไขมันสายโซ่ยาวเข้าสู่เมทริกซ์ยลสำหรับการเกิดออกซิเดชันแอลคาร์นิทีน ซึ่งได้มาจากแหล่งอาหารหรือจากการเผาผลาญไลซีนและเมทไธโอนีน
- D – Carnitine คือ เป็นแอนะล็อกของ L- carnitine ที่อยู่ในช่วง 0.25-1 mM ยับยั้งการดูดซึมของ L- carnitine จากเซลล์
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบ
แหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีแอลคาร์นิทีนสูง
แอลคาร์นิทีนพบมากในเนื้อแดงนอกจากนี้ยังพบได้จากแหล่งธรรมชาติในอาหารหลาย ๆ ชนิด เช่น เนื้อแดง ปลา ไก่ นม เมล็ดพืชตระกูลถั่ว ธัญพืชและผัก เช่น งาดำ อาร์ติโชค บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม กระเจี๊ยบ แอปริคอต ข้าวโพด ข้าวโอ๊ด ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสาลี ลูกเดือย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแขก ถั่วลิสง ปริมาณแอลคาร์นิทีนที่ร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหาร ดังนี้
- สเต็กเนื้อสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 56 – 162 มิลลิกรัม
- เนื้อดินสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 87 – 99 มิลลิกรัม
- นมสด 8 ออนซ์ เท่ากับ 227 มิลลิกรัม
- ปลาคอดสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 4 – 7 มิลลิกรัม
- อกไก่สุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 3 – 5 กรัม
- ไอศกรีม 1/2 ถ้วย เท่ากับ 3 มิลลิกรัม
- เชดดาร์ชีส 2 ออนซ์ เท่ากับ 2 มิลลิกรัม
- ขนมปังโฮลวีต 2 ชิ้น เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม
- หน่อไม้ฝรั่งสุก 1/2 ถ้วย เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม
จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมและการเผาผลาญในผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารผสมที่มีเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ จะได้รับแอลคาร์นิทีนประมาณ 60 – 180 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในคนทานมังสวิรัติได้รับน้อยกว่ามากประมาณ 10 – 12 มิลลิกรัม เนื่องจากชาวมังสวิรัติหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด ดังนั้น L- carnitine 54 – 86% จะดูดซึมไปยังลำไส้เล็กและเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าการ เมื่อเทียบกับการทานแบบอาหารเสริมใช้ได้เพียง 14-18% เท่านั้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากแอลคาร์นิทีน
1. ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกายและเพิ่มพลังงานให้แก่นักกีฬา เช่น นักวิ่งทางไกล นักว่ายน้ำ หรือนักปั่นจักรยาน
2. ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว ควรต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สูงสุด
3. ช่วยฟื้นฟูกระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อ และป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และนักกีฬาได้เช่นกัน
4. ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดการสะสมของไขมัน
5. ช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง และป้องกันความเสียหายของเซลล์สมองในผู้สูงอายุ
6. ช่วยควบคุมอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2
7. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยลดภาวะหัวใจล้มเหลว
9. ช่วยลดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
10. ช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
11. ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง
12. ช่วยลดความเครียด
13. ช่วยลดความเหนื่อยล้าของร่างกายหลังการออกกำลังกาย
14. ช่วยขยายหลอดเลือด
15. ช่วยลดการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อ
16. ช่วยเพิ่มการจัดเก็บออกซิเจน
17. ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ปริมาณในการรับประทานแอลคาร์นิทีนที่เหมาะสมต่อร่างกาย
การรับประทานแอลคาร์นิทีนเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ 2 กรัมต่อวัน จะช่วยเพิ่งพละกำลังในนักกีฬา และยังช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อึด ทนทานต่อการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ผลข้างเคียงในการรับประทานแอลคาร์นิทีน
โดยทั่วไปแล้วเมื่อรับประทานแอลคาร์นิทีนตามคำแนะนำในปริมาณ 2 กรัมต่อวันถือว่าปลอดภัย มีผลข้างเคียงในเชิงลบเล็กน้อย อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียนและท้องเสีย เมื่อทานในปริมาณมากเกินไป ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะและอาการชักในผู้ที่มีประวัติเคยชักมาก่อน
การขาดแอลคาร์นิทีนจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย
ภาวะขาดแอลคาร์นิทีนมีอยู่ 2 ประเภท การขาดแอลคาร์นิทีนในระดับปฐมภูมิเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งมักจะปรากฏเมื่ออายุ 5 ปี ด้วยอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การขาดแอลคาร์นิทีนอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ไตวายเรื้อรัง หรือเงื่อนไขอื่นร่วมด้วยอาจเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางอย่างที่ลดการดูดซึมแอลคาร์นิทีน
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
L-CARNITINE – IS IT GOOD OR BAD FOR YOUR HEART? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.hammernutrition.com [18 มีนาคม 2563].
Carnitine (ออนไลน์).สืบค้นจาก :https://ods.od.nih.gov [18 มีนาคม 2563].
Your Expert Guide To L-Carnitine (ออนไลน์).สืบค้นจาก :https://www.bodybuilding.com [18 มีนาคม 2563].