เพศสัมพันธ์ ( Sex ) สายใยแห่งรัก
เพศสัมพันธ์ของชายและหญิงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของชีวิตคู่ ซึ่งก่อให้เกิดความรักและความผูกพันกันและเป็นต้นกำเนิดของครอบครัว

เพศสัมพันธ์ หรือ เซ็กส์ สำคัญไฉน

เพศสัมพันธ์ ( Sex ) ของชายและหญิงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของชีวิตคู่ ซึ่งก่อให้เกิดความรักและความผูกพันกันและเป็นต้นกำเนิดของครอบครัว และในความเป็นจริงเซ็กส์ก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เสริมสร้างคุณภาพชีวิตไปจนถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วย

เพศสัมพันธ์หรือเซ็กส์มักใช้เป็นคำย่อ ซึ่งก็คือกิจกรรมเพศสัมพันธ์นั่นเอง มี 2 รูปแบบคือ

  • เพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ ( Sexual Intercourse ) หมายถึง กิจกรรมเพื่อความสุขทางเพศหรือเพื่อสืบพันธุ์หรือทั้งสองอย่าง โดยขณะการมีเพศสัมพันธ์อวัยวะเพศชายจะแข็งตัวและสอดใส่องคชาตเข้าไปยังช่องคลอดของเพศหญิงและมีโอกาสที่จะสร้างบุตร ร่วมถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่สอดใส่เข้าทางช่องปาก ทางทวารหนัก การใช้นิ้วสอดใส่ ( Fingering ) เข้าไปยังช่องคลอดของเพศหญิง หรือการใช้ดิลโดและการใช้ไวเบรเตอร์สอดใส่ด้วย ( Dildo,Vibrator คือ องคชาตเทียมและอุปกรณ์เทียมในรูปแบบต่าง ๆ ใช้สอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ )
  • เพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ ( Sexual Outercourse ) หมายถึง กิจกรรมเพศสัมพันธ์ภายนอก เช่น การเล้าโลม ( Foreplay ) การสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน ( Mutual Masturbation ) และการทำออรัลเซ็กส์ ( Oral Sex ) โดยใช้ปากเล้าโลมที่อวัยวะเพศ ส่วนการเล้าโลมด้วยปากกับส่วนอื่นของร่างกายโดยการจูบหรือเลียนั้นไม่ถือว่าเป็นออรัลเซ็กส์

ประโยชน์ที่ดีของเพศสัมพันธ์ต่อร่างกาย

  • ลดความเครียดและลดความดันโลหิตสูง ร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ( Endorphins ) และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ช่วยทำให้มีความสุขในขณะมีเพศสัมพันธ์ เซ็กส์จะช่วยลดความเครียดลงจึงสามารถป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้
  • นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ถึงจุดสุดยอดร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินและสารออกซิโทซิน ( Oxytocin ) หรือฮอร์โมนแห่งความรักและความผูกพันออกมา ทำให้จิตใจสงบและนอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันได้ดีขึ้น
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง การมีเพศสัมพันธ์จะช่วยเพิ่มระดับภูมิต้านทานโรคหรือแอนติบอดี้ ( Antibody ) จึงป้องกันเชื้อโรค ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ได้ดีขึ้น จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีเซ็กส์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจะมีระดับแอนติบอดี้บางชนิดสูงกว่าผู้ที่มีเซ็กส์น้อยครั้ง
  • บรรเทาอาการปวดศีรษะ การมีเพศสัมพันธ์ช่วยลดอาการปวดศีรษะบางชนิดได้ดีกว่าการใช้ยาแก้ปวด เนื่องจากเซ็กส์จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา ซึ่งเป็นสารระงับความเจ็บปวดที่ร่างกายผลิตขึ้นตามธรรมชาติ จากงานวิจัยพบว่า จำนวนผู้ที่มีเซ็กส์ขณะปวดศีรษะมีอาการทุเลาลงมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
  • บำรุงสุขภาพหัวใจ การมีเพศสัมพันธ์ส่งผลดีต่อหัวใจเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย จากการวิจัยพบว่าชายที่มีเซ็กส์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังพบว่า ระหว่างที่มีเซ็กส์เป็นเวลาประมาณ 25 นาทีนั้นผู้ชายสามารถเผาผลาญพลังงานได้ประมาณ 4 แคลอรี่ / นาที ส่วนผู้หญิงก็เผาผลาญพลังงานได้ประมาณ 3 แคลอรี่ / นาที     
  • ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก จากงานวิจัยพบว่า ชายที่ถึงจุดสุดยอดมากกว่า 21 ครั้ง / เดือน มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าชายที่ถึงจุดสุดยอดเพียง 4-7 ครั้ง / เดือน
  • ช่วยให้ใบหน้าอ่อนเยาว์ขึ้น เซ็กส์ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดและช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินจนส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งกระจ่างใส นอกจากนี้ ยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตออกมาด้วย ซึ่งช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่นและป้องกันการเกิดริ้วรอยได้

เพศสัมพันธ์สมบูรณ์แบบ 5 ขั้น

1. สร้างบรรยากาศ ( Desire Phase )

จุดเริ่มต้นของอารมณ์ทางเพศ เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างฮอร์โมนเพศและปัจจัยสิ่งเร้าทางสายตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ปรุงแต่งเป็นอารมณ์ทางเพศขึ้นมา อุปสรรค์ที่ขัดขวาง คือภาวะตรึงเครียด ( Sympathetic nervous system ) ทำให้การตื่นตัวเกิดขึ้นได้ยาก เช่น การที่ทั้งสองฝ่ายกำลังตกอยู่ในสภาพเครียด หงุดหงิด หวาดผวา อดนอน หรือป่วย แต่หากร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ( Parasympathetic nervous system ) ก็ไม่เป็นการยากสำหรับการตื่นตัวของอารมณ์ ดังนั้นหากต้องฝืนมีเซ็กส์ในวันที่เหน็ดเหนื่อย เราอาจเลือกที่จะพักผ่อนเต็มที่ก่อน และตื่นขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นเวลาที่ดีกว่า

2. เล้าโลม ( Excitement Phase )

เพศหญิงและเพศชายมีอารมณ์ทางเพศเร็วช้าต่างกัน เพศชายตื่นตัวง่ายเหมือนเตาแก๊ส ส่วนเพศหญิงตื่นตัวช้าเหมือนเตาถ่าน เมื่อเพศชายตื่นตัวแล้วก็มิได้แปลว่าเพศหญิงจะพร้อมเสมอไป เพศหญิงอาจต้องการเวลาอีกสักเล็กน้อยเพื่อให้มีอารมณ์ทางเพศทัดเทียมกับเพศชาย
การเล้าโลมของฝ่ายชายจึงเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศให้กับฝ่ายหญิง ซึ่งรองจากสิ่งเร้าทางตาก็จะเป็นทางผิวหนังตามส่วนที่ไวต่อการกระตุ้น ( Emgenous zone ) โดยเฉพาะบริเวณริมฝีปาก ติ่งหู ซอกคอ สีข้าง และแผ่นหลัง

3. ท่วงท่าลีลา ( Plateau Phase )

ความสำคัญของเพศสัมพันธ์ในขั้นตอนนี้คือ ท่วงท่าลีลารัก ( Sexual position ) ซึ่งมีหลากหลาย ความสำคัญของท่วงท่าในการมีเพศสัมพันธ์ ก็เพื่อความเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ยังเป็นการช่วยเพิ่มรสชาติของเพศสัมพันธ์ และช่วยลดความเบื่อหน่ายจำเจในการมีเพศสัมพันธ์ในระยะยาว 

4. จุดสุดยอด ( Orgasmic Phase )

จุดสุดยอดของเพศชาย คือ การหลั่งน้ำอสุจิ ส่วนจุดสุดยอดของเพศหญิงจะเป็นการบีบรัดตัวของช่องคลอดเป็นจังหวะ ๆ รวมทั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั้งตัว ช่วงถึงจุดสุดยอดนั้นสมองจะมีการหลั่งสารแห่งความสุข คือ เอนดอร์ฟิน ซึ่งทำให้ลดความเครียด เป็นช่วงที่ความเครียดจางหายไปได้ชั่วขณะที่มีเซ็กส์
ความแตกต่างของชายหญิงในเรื่องจุดสุดยอด คือ เพศชายถึงจุดสุดยอดได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็เป็นระยะตื้อ ( Refractory period ) ต้องใช้เวลาพักระยะหนึ่งจึงสามารถมีการทำกิจกรรมรักได้อีกซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของชายแต่ละคน ในขณะที่เพศหญิงสามารถึงจุดสุดยอดได้หลาย ๆ ครั้ง ( Multiple orgasm ) ซึ่งต่างจากเพศชาย

5. ผ่อนคลาย ( Resolution Phase )

หลังจุดสุดยอด คือ การผ่อนคลายทั้งชายและหญิง ร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุลย์อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นเกิดความสุขกายสุขใจร่วมกันระหว่างสามีภรรยา เพศสัมพันธ์ก็เหมือนการปรับความเข้าใจกันด้วยภาษากาย เกิดความสุขทางจิตใจ สัมผัสกันด้วยความทะนุถนอม ใส่ใจกันและกัน นำไปสู่ความปรองดองของชีวิตคู่

ถึงอย่างไรเซ็กส์ ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตคู่ให้มีความสุขและสมดุล แต่ความรักความเข้าใจความเอาใจใส่ซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ต้องมีควบคู่กันไปหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งความสุขก็จะไม่เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์

ปัญหาเพศสัมพันธ์ในชีวิตคู่

ปัญหาเพศสัมพันธ์ หรือ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ( โรคเซ็กส์เสื่อม ) คือภาวะที่ร่างกายและจิตใจไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศได้ตามปกติ มีผลกระทบมากในชีวิตคู่ เสียสุขภาพจิต ไม่มีความสุข ครอบครัวมีปัญหา และกระทบต่อการทำงานได้ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้เกิดเฉพาะในเพศชายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในเพศหญิงที่ยังไม่ถึงวัยทองจำนวนไม่น้อยก็เกิดภาวะนี้เช่นกัน

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ( Impotence )

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายเกิดได้ 3 ลักษณะ คือ 

  • ไม่มีความรู้สึกหรือความต้องการทางเพศ
  • ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถคงสภาพการแข็งตัวเป็น เวลานานพอ ( Erectile Dysfunction หรือ ED ) ที่จะมีเพศสัมพันธ์ตามปกติได้
  • ภาวะหลั่งเร็ว ปวดเวลาหลั่ง ทำให้มีเซ็กส์ไม่สำเร็จในบางครั้งจนถึงไม่สามารถที่จะมีเซ็กส์ได้เลย

สาเหตุของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายมี 2 สาเหตุใหญ่ คือ

  • ทางกาย เกิดจากโรค หรือภาวะทางกายที่มีผลต่อระบบประสาท หรือระบบหลอดเลือดของอวัยวะเพศ หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะเพศเอง สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมา เช่น เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ปอด ไต โรคตับ โรคมะเร็ง ภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง เนื้องอกสมอง โรคลมชัก อัมพาต สาเหตุทางกายมักพบในคนอายุมาก และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย อุบัติเหตุ การฉายแสง และยาบางชนิดที่ทำให้เกิดกามตายด้าน บางชนิดทำให้ความสนใจทางเพศลดลง แต่โปรดจำไว้ว่ามีเพียงส่วนน้อยที่มีผลข้างเคียงจากยา
  • ทางจิตใจ เกิดจากโรค หรือภาวะทางจิตที่มีผลกระทบต่อการกระตุ้นทางเพศจากสมอง หรือประสาทสัมผัสเป็นสำคัญ เช่น เกิดจากโรคซึมเศร้า มีภาวะความเครียด ความวิตกกังวลเกี่ยวกับงาน ครอบครัว ความกลัวความล้มเหลวทางเพศสัมพันธ์ หรือถูกตำหนิจากคู่รักทำให้หมดความมั่นใจ มักพบในคนหนุ่ม แต่อย่างไรก็ตามเหตุทางกายและใจมักเกิดร่วมกันได้เสมอ
ตาราง ยาที่ทำให้เกิดกามตายด้าน หรือทำให้ความสนใจทางเพศลดลง
ชื่อยา ใช้รักษาโรค ผลข้างเคียง
nifedipine ยาลดความดันโลหิต กามตายด้าน
doxepin ความต้องการทางเพศลดลงและมีปัญหาในการหลั่ง
spironolactone ยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง ความต้องการทางเพศลดลงและมีปัญหาในการแข็งตัว
methyldopa ยาลดความดันโลหิตสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัว (พบน้อย)
ramipril ยาลดความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคไตจากโรคเบาหวาน มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการทางเพศ มีปัญหาเกี่ยวกับการถึงจุดสุดยอดและการหลั่ง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (20%)
clomipramine ยารักษา อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
naproxen ยาแก้ปวดลดการอักเสบของข้อ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย)
hydralazine ยาลดความดันโลหิต อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
trihexyphenidyl ยารักษาโรคพาร์กินสัน อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
amoxapine อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ความต้องการทางเพศลดลง
lorazepam ยาคลายเครียด ความต้องการทางเพศลดลง
nortriptyline ยารักษาโรคซึมเศร้า อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ความต้องการทางเพศลดลง
nizatadine อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
dicyclorriine อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
timolol อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย) ความต้องการทางเพศลดลง
bumetanide หลั่งเร็ว
buspirone ผลข้างเคียงไม่มาก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงความต้องการทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
verapamil ยาลดความดันโลหิต อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย)
captopril ยาลดความดันโลหิต อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย)
nicardipine ยาลดความดันโลหิต อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย)
diltiazem ยาลดความดันโลหิต อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (พบน้อย) ความต้องการทางเพศลดลง
doxazosin ยาลดความดันโลหิต sexual difficulty

การรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

  • การรักษาเบื้องต้น คือเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่มีกากอาหาร อาหารที่มีไขมันต่ำ ลดเกลือ งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่
  • การรักษาทางด้านจิตใจ ( Psychotherapy ) หากปัญหาเกิดจากทางด้านจิตใจแพทย์จะช่วยลดความกังวล
  • การใช้ยาในการรักษา ( Drug Therapy ) มีทั้งยารับประทาน ยาฉีด หรือยาสอด
    1. Sildenafil citrate หรือ Viagra เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยต้องรับประทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ยาจะออกฤทธิ์นาน 4-5 ชั่วโมง ยานี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ใช้ต้องมีความต้อง การทางเพศ ยาจะเพิ่มเลือดให้ไปเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้น ปริมาณที่ใช้ ต้องเหมาะสมตามที่แพทย์สั่ง ข้อห้าม ผู้ที่เป็นโรคหัวใจได้รับยาNitrateไม่ควรใช้ยานี้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เป็นลมและเกิดอันตราย
    2. ยาในกลุ่ม Alpha Blocker แต่เดิมเป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ ปัจจุบันยานี้ออกฤทธิ์ที่สมองและขยายหลอดเลือดที่ส่วนปลายรวมทั้งองคชาตทำให้แข็งตัวได้ ปริมาณที่ใช้ต้องเหมาะสมตามที่แพทย์สั่ง แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ปัสสาวะบ่อย
    3. Apomorphine ใช้อมใต้ลิ้นออกฤทธิ์ใน 10-25 นาที ผลข้างเคียงของยาต่ำมีเพียงคลื่นไส้อาเจียน
    4. ยาฮอร์โมน Testosterone เหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมน Testosterone ในเลือดต่ำ
    5. การฉีดยาเข้าอวัยวะเพศ ยาที่นิยมใช้ คือ Papaverine Hydrochloride, Phentolamine และ Alprostadil ยาเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดขยาย เริ่มออกฤทธิ์หลังจากฉีดไปแล้ว 5-20 นาที และออกฤทธิ์ได้นาน 1 ชั่วโมง ผลข้างเคียงของยาอาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ โด่ไม่รู้ล้ม ” จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่ฉีดและเลือดออก
    6. การใส่ยาเข้าทางท่อปัสสาวะ จะเริ่มออกฤทธิ์ในเวลา 8-10 นาที และอยู่ได้นาน 30-60 นาทีและต้องใช้ยางรัดไว้เพื่อให้อวัยวะเพศแข็งตัวนาน ผลข้างเคียงมีการระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ อัณฑะ และอาจมีเลือดออกจากท่อปัสสาวะ
  • การใช้เครื่องสูญญากาศ ( Vacuum Devices ) ครอบที่อวัยวะเพศ หลังจากนั้นก็สูบอากาศให้ออกจากท่อทำให้เลือดเข้าไปในอวัยวะเพศจนอวัยวะเพศแข็งตัวได้ดีจึงใช้ยางรัด
  • การผ่าตัด ( Surgery )

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิง ( Female Sexual Dysfunction หรือ FSD )

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิงมีลักษณะ คือ 

  • ไม่มีความต้องการทางเพศ ไม่มีอารมณ์ทางเพศ เบื่อและไม่สนใจในการมีเพศสัมพันธ์
  • ได้รับการกระตุ้นก็ไม่สามารถมีความตื่นเต้นทางเพศได้
  • รังเกียจ หรือ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

สาเหตุของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิงสรุปได้ 6 สาเหตุ คือ

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการต้องการทางเพศ ( Disorders of Desire ) ไม่มีความต้องการทางเพศ ไม่สนใจในการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยหลายอย่างที่อาจจะทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง และโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การผ่าตัดในช่องเชิงกราน วัยทอง หรือโรคทางระบบประสาท
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับอารมณ์เมื่อถูกกระตุ้น ( Arousal Disorders ) ไม่มีอารมณ์ตื่นตัวเวลาถูกกระตุ้นทางเพศ ปุ่มคลิตอรีสไม่ไวต่อการถูกกระตุ้น ช่องคลอดฝ่อเนื่องจากหมดประจำเดือน วัยทองขาดฮอร์โมนทำให้ความต้องการทางเพศลดลง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการถึงจุดสุดยอด ( Orgasmic Disorders ) เกิดจากการที่ไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอ ฝ่ายชายไม่มีความรู้หรือประสบการณ์มากพอที่จะกระตุ้นให้ฝ่ายหญิงมีอารมณ์ทางเพศ ซึ่งทำให้ฝ่ายหญิงผิดหวัง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นกลัวการมีเพศสัมพันธ์
  • เกิดอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ( Sex Pain Disorders ) หลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้ช่องคลอดแห้ง กล้ามเนื้อช่องคลอดมีอาการหดเกร็งเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำให้การมีเซ็กส์เต็มไปด้วยความลำบาก
  • ภาวะรังเกียจ หรือ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ( Aversion Disorders ) มักจะเกิดจากเหตุการณ์รุนแรงทางเพศ เช่นถูกทำร้าย หรือถูกกระทำชำเรา
  • ยาบางชนิด
ตาราง ยาที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง
ยาจิตเวช ฮอร์โมน
ยารักษาโรคจิต Danazol
ยากลุ่ม phenobarb Oral contraceptives ยาคุมกำเนิด
ยาคลายเครียด bezodiazepine ยาอื่น ๆ
ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors Indomethacin ยาแก้อักเสบ
Lithium Ketoconazole ยารักษาเชื้อรา
Tricyclic antidepressants Phenytoin sodium ยากันชัก
ยารักษาโรคความดันและโรคหัวใจ Histamine H2-receptor blockers ยารักษากระเพาะ
ยาลดไขมัน
ยาลดความดันกลุ่ม betablock
clonidine ( ยาลดความดันโลหิต )
digoxin ( ยารักษาโรคหัวใจ )
Spironolactone ( ยาขับปัสสาวะ )
ยาที่ลดการตื่นตัวทางเพศ ยาที่มีผลต่อการถึงจุดสุดยอด
Anticholinergics Methyldopa ( Aldomet ) ยาลดความดันโลหิต
Antihistamines Amphetamines and related anorexic drugs ยาบ้าและยาลดน้ำหนัก
Antihypertensives Antipsychotics ยารักษาจิตเวช
ยาจิตเวช ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors
ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors ยาคลายเครียด bezodiazepine
ยาคลายเครียด bezodiazepine Narcotics
Tricyclic antidepressants
ยาคลายความซึมเศร้า
Tricyclic antidepressants

การรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิง

  • การรักษาทางจิตใจ ( Psychotherapy ) เป็นการประคับประคองจิตใจของทั้งสามีภรรยา พูดคุย สื่อสารต่อกัน ให้กำลังใจกันและกัน มองโลกในแง่ดีการรักษาโรคเซ็กส์เสื่อมในผู้หญิงที่ดีที่สุดต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างสามีภรรยาเป็นสำคัญ จัดระเบียบชีวิตในแต่ละวันใหม่ พักผ่อนให้เพียงพอเข้านอนแต่หัวค่ำ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ที่สำคัญต้องหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทำให้มีการตอบสนองทางเพศได้ดีขึ้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะแร่ธาตุจำพวกสังกะสี ( Zinc ) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนทางเพศให้มากขึ้น
  • การรักษาโดยใช้ยา ( Drug Therapy ) ปัจจุบันที่ใช้อยู่มี 2 ตัว คือ
    1. ฮอร์โมนเพศหญิง ( Estrogen ) ทดแทนในกรณีที่ระดับฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลง เนื่องจากใกล้หมดหรือหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงนี้จะทำให้ช่องคลอดและอวัยวะเพศไม่แห้ง
    2. ฮอร์โมนเพศชาย ( Testosterone ) ชนิดแปะผิวหนัง จะทำให้ความต้องการทางเพศของผู้หญิงมากขึ้น

สมุนไพรช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

สมุนไพรมากมายเชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ ซึ่งก็มีงานวิจัยบางส่วนที่ศึกษาว่าสมุนไพรบางชนิดรักษาภาวะนี้ได้จริง โดยสมุนไพรที่ได้รับความสนใจและนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง มีดังนี้
1. ตังถั่งเช่า หรือถั่งเช่า ( Cordyceps )
2. กระชายดำ ( Black galingale )
3. เห็ดหลินจือ ( Lingzhi หรือ Reishi )
4. โสม ( Ginseng )
5. เมล็ดองุ่นสกัด ( Grape seed extract )
6. เปลือกสน มาริไทม์ฝรั่งเศส ( French Maritime Pine Bark Extract )
7. โกจิเบอร์รี่ ( Goji berry )

บริโภคสมุนไพรอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ?

แม้ผลการค้นคว้ามากมายจะแสดงถึงสรรพคุณของสมุนไพรต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ แต่เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคผู้ที่ต้องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) เพื่อป้องกันส่วนประกอบหรือสารแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ในด้านส่วนประกอบต่าง ๆ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ให้ดีก่อน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ รศ. นพ. อนุพันธ์ ตันติวงศ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.siamhealth.net

สตรีเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.siamhealth.net