Home Blog Page 186

มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้

เซลล์มะเร็งที่กระจายอยู่ปะปนกับเม็ดเลือดแดงเกิดการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง
เซลล์มะเร็งที่กระจายอยู่ปะปนกับเม็ดเลือดแดงเกิดการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง

มะเร็ง 

มะเร็ง ( cancer ) คือ เมื่อใดที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งทำให้เกิดความผิดปกติทางสารพันธุกรรม ( DNA ) ของเซลล์ของร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากเกินปกติ จนกระจายแทรกตัวไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ติดกันและอาจแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกายโดยเดินทางผ่านกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง [adinserter name=”มะเร็ง”]

เมื่อเซลล์มะเร็งรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใดก็ตามจะทำให้เซลล์ปกติของบริเวณนั้นตายลง เนื่องจากเซลล์มะเร็งจะสร้างเส้นเลือดเพื่อลำเลียงลือดและสารอาหารเข้าเลี้ยงเซลล์มะเร็งให้เติบโต เมื่อเซลล์ปกติถูกแย่งทรัพยากรเหล่านี้ก็จะตายลงในที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งขั้นรุนแรงจะมี

อวัยวะหลายส่วนเต็มไปด้วยเนื้อเยื่อที่ตายไปแล้วจึงไม่สามารถทำหน้าที่ทางชีวภาพอันสำคัญต่อการอยู่รอดได้อีกต่อไป เช่น สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเม็ดเลือด รักษาสมดุลย์ของระบบสารเคมีในร่างกาย  อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเวลาต่อมา

มะเร็ง เกิดจากอะไร?

สาเหตุของมะเร็ง คืออะไร มะเร็งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากสิ่งแวดล้อม ( Environment ) และพันธุกรรม ( Genetics ) ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายชนิดประกอบกัน เช่น สูบบุหรี่จัด เป็นมะเร็งปอด เคร่งเครียด นอนหลับไม่เพียงพอ ชอบกินอาหารอาหารแปรรูปใส่ดินประสิวเช่นไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งได้แก่

อายุ เมื่ออายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เซลล์ปกติเริ่มเสื่อมสภาพจากการทำงานเป็นเวลานานรวมทั้งการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) เนื่องจากการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายและเสื่อมสภาพเป็นจำนวนมากนั้น มักเกิดความผิดพลาดในกระบวนการมากกว่า จึงทำให้เซลล์บางส่วนกลายพันธุ์ ( Mutation ) เป็นเซลล์มะเร็ง

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยมะเร็งมักรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ( Carcinogen ) เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม ปลาส้ม ซึ่งใส่ดินประสิว  หรือ โซเดียมไนเตรต โซเดียมไนไตรท์ ( Nitrate/Nitrite ) เป็นสารกันบูด จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งที่สำคัญประการหนึ่ง รวมถึงยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในปักผลไม้ วัตถุกันเสียและสิ่งเจือปนที่เป็นพิษในอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารทอดไขมันสูง ไม่มีกากใยอาหาร ( Fiber ) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้

[adinserter name=”มะเร็ง”]

บุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เป็นแค่เพียงสาเหตุของมะเร็งปอดเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น กล่องเสียง หลอดลม ช่องปากและลำคอ ไต เม็ดเลือดขาว เป็นต้น ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ได้แก่นิโคติน ( Nicotine ), สารหนู ( Arsenic ), ทาร์ ( Tar ), และคาร์บอนมอนออกไซด์ ( Carbon Monoxide ) ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าไปทางกระแสเลือดและไหลเวียนไปยังอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ทำลายภูมิต้านทาน และกระตุ้นการก่อต่อของเซลล์มะเร็ง

การติดเชื้อและพยาธิ การติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งได้เช่นกัน เช่น ไวรัสเอชพีวี ( HPV Virus หรือ Human Papilloma Virus ) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และแบคทีเรียเอชไพโลไร ( H.Pylori ) ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน นอกจากนี้พยาธิใบไม้ในตับ ( Opisthorchis Viverrini ) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากพยาธิจะหลั่งสารกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว

ความเครียด ความเครียด ( Stress ) เป็นสาเหตุของมะเร็งที่เรามักมองข้าม ทั้งนี้เมื่อเกิดความเครียดเพิ่มมากหรือเครียดเรื้องรังจะทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มชนิดต่างๆลดลง รวมถึงเม็ดเลือดขาว และสารต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) ที่มีปริมาณลดลงด้วย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง 

โรคอ้วน ในปี ค.. 2016 องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ( International Agency for Research on Cancer หรือ IARC ) ขององค์การอนามัยโลก ( World Health Organization หรือ WHO) ได้ระบุว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง 7 ชนิด คือ  กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ตับอ่อน รังไข่ ต่อมไทรอยด์ เยื่อหุ้มสมอง และ ไขกระดูก นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม เนื่องจากเซลล์ไขมันจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนแอสโตรเจน ( Estrogen ) ในปริมาณมากขึ้นและเต้านมเป็นอวัยวะที่ตอบสนองกับปริมาณฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติ [adinserter name=”มะเร็ง”]

พันธุกรรม มะเร็งเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มาสู่ลูกได้ โดยมักเกิดจากความผิดปกติของยีน ( Gene ) อย่างไรก็ตามอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรมพบในอัตราที่ไม่สูงมาก คิดเป็น 5-10% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดเท่านั้น โดยผู้ป่วยมะเร็งอันเป็นผลจากพันธุกรรมมักแสดงอาการของโรคตั้งแต่ในวัยเด็ก ทั้งนี้การมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่ายีนเหล่านี้จะถูกกระตุ้นให้แสดงผลหรือไม่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

ระยะต่างๆของมะเร็ง

ระยะต่างๆของมะเร็งพอแบ่งได้ดังนี้  ตามขนาดของก้อนมะเร็งการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากเซลล์ปกติ เป็นต้น ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีเกณฑ์ในการแบ่งระยะและระดับแตกต่างกันไป อาทิเช่นมะเร็งเต้านมจะแบ่งตามขนาดและการแพร่กระจาย แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะแบ่งระยะโดยดูว่ามะเร็งเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ซ้ายหรือขวา ) หรือเกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านแล้ว

ทั้งนี้ ระยะของโรคมะเร็งที่นิยมใช้กันตามความเข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่ คือการแบ่งตามความรุนแรงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งกล่าวโดยสังเขปดังนี้

ระยะที่ ลักษณะของมะเร็ง อัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี
0 ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง โดยเซลล์มะเร็งเริ่มแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่ยังไม่มีการออกจากบริเวณที่เกิดไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 90-99%
1 เกิดเป็นก้อนมะเร็งขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 70-90%
2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง 70-80%
3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงรวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีเซลล์มะเร็ง 20-60%
4 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางกระแสเลือด ระบบน้ำเหลือง 0-15%

 

อาการของมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งจะมีอาการผิดปกติตามอวัยวะที่เป็นต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง เช่น คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม ปวดบริเวณตับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมะเร็งบางชนิดจะไม่แสดงอาการชัดเจนโดยเฉพาะมะเร็งรังไข่ ซึ่งถือว่าเป็น “ มะเร็งเงียบ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิง เนื่องจากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อเซลล์มะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว ทั้งนี้มะเร็งรังไข่มีอาการระยะแรกคล้ายกับโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด จุกเสียด ลงพุงใต้สะดือ ท้องผูก จึงทำให้ผู้ป่วยคาดเดาว่าตัวเองป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน หรือโรคอ้วน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเกือบ 400 ราย พบว่าอาการทางร่างกายที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ

1.อาการปวด ( 64% )
2.เบื่ออาหาร ( 34% )
3.ท้องผูก ( 32% )
4.ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ( 32% )
5.หายใจลำบาก ติดขัดเหมือนไม่เต็มปอด ( 31% )

ดังนั้น นอกจากลักษณะขั้นต้นของมะเร็งแต่ละชนิดแล้ว เราควรสังเกตุ

อาการขั้นต้นของมะเร็งทุกชนิด

1. เหนื่อยง่าย ง่วง อ่อนเพลียอย่างไม่มีสาเหตุ ทั้งที่พักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งสาร TNF ( หรือ Tumor Necrosis Factor ) ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง โดย TNF จะส่งสัญญาณเรียกเม็ดเลือดขาวให้มายังบริเวณที่เกิดเซลล์มะเร็ง เกิดการต่อสู้กันระหว่างระบบภูมิต้านทาน เม็ดเลือดขาว ) และสิ่งแปลกปลอม มะเร็ง ) ซึ่งผลที่ตามมาคือการอักเสบและการเหนื่อยล้า ( Fatigue ) เนื่องจากมีการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้นในระดับเซลล์ จึงทำให้พลังงานที่สะสมไว้ในร่างกายสูญเสียไปจำนวนมาก ซึ่งการสูญเสียพลังงานระดับเซลล์จำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงซึม ทั้งที่ไม่ได้ออกแรงใดๆ อีกทั้งรู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนทั้งที่ได้นอนหลับเพียงพอแล้ว โดยมักมีอาการน้ำหนักลด เบื่ออาหารร่วมด้วย ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าคนส่วนใหญ่มักมองข้ามอาการเหล่านี้ไป โดยคิดว่าเป็นเพราะการทำงานหนัก นอนน้อย วิตกกังวลเรื่องต่างๆ เป็นต้น

2. อาการปวดตามร่างกาย ลักษณะการปวดที่พบมากในผู้ป่วยมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1.อาการปวดจากการบาดเจ็บหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ( Nociceptive Pain )

มักพบเมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนว่าปวดบริเวณไหน โดยจะมีการปวดร้าว ( Aching ), ปวดตื้อ ( Dull ), หรือปวดตุ๊บๆ ( Throbbing ) และอาจมีอาการปวดร้าวแผ่กระจายไปยังขึ้นในตำแหน่งที่ไม่ได้เกิดโรค ซึ่งเรียกอาการปวดชนิดนี้ว่า “Referred Pain”

2.อาการปวดจากระบบประสาท ( Neuropathic Pain ) พบในกรณีที่ก้อนมะเร็งกดทับเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือเซลล์/อวัยวะของระบบประสาท  ซึ่งจะมีลักษณะของการปวดหลายรูปแบบเช่น ปวดแสบร้อน (Burning) เจ็บเสียว (Tingling) หรือ เจ็บแปล๊บๆเหมือนไฟช๊อต (Lancinating)

3. อาการไข้เรื้อรังเป็นประจำ ผู้ที่มีอาการไข้เรื้อรังติดกันเป็นเวลา 7-10 วันเป็นประจำทุกๆ 1-2 เดือนอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อเซลล์มะเร็ง ทำให้มีสภาวะผิดปกติในระบบการรักษาสมดุลของร่างกาย ( Homeostasis ) ซึ่งควบคุมระดับอุณหภูมิ ระดับน้ำและเกลือแร่ และความเข้มข้นของเลือด ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้เรื้อรังเป็นประจำจึงควรพบแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุ

การตรวจหามะเร็ง

การตรวจหามะเร็งหรือ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ( Cancer Screening ) เป็นการตรวจสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ ในผู้ที่ยังไม่เป็นมะเร็ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากมะเร็งและนำไปสู่การรักษาในกรณีที่ตรวจเจอโรค ซึ่งมะเร็งในระยะแรกเริ่ม เช่นระยะที่ 0 และ 1 จะมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า 90%

การตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถทำได้ 3 แนวทางคือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination ) แพทย์จะทำการตรวจพื้นฐานเช่น วัดไข้ วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจดูช่องปากลำคอ คลำเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ทวารหนัก และกดบริเวณต่างๆ เช่นช่องท้อง ต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ โดยจะทำควบคู่กับการสอบถามประวัติของผู้ป่วยแล้ว เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว ประวัติการแพ้ยาหรือ แพ้อาหาร ประวัติการตั้งครรภ์ ประจำเดือน เพศสัมพันธ์ ซึ่งหลังจากแพทย์ได้ข้อมูลจากคนไข้แล้วก็จะทำการประเมิณอาการต่อไป

2. การตรวจทางแลป ( Laboratory Test ) เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างจากร่างกายคนไข้ เช่น เลือด อุจจาระ ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ และของเหลวภายในร่างกายมาทำการวิเคราะห์

3. การตรวจด้วยเทคนิคภาพถ่าย ( Imaging Technique ) เป็นการตรวจโดยอุปกรณ์ที่สามารถแสดงภาพถ่ายอวัยวะภายในร่างกายเช่น

  • เอ็กซ์เรย์ ( X-Ray )
  • เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( Computerized Tomography หรือ CT scan )
  • เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ ( Magnetic Resonance Imaging, MRI )
  • อัลตร้าซาวด์ ( Ultrasound )

การรักษามะเร็ง

เมื่อแพทย์ตรวจพบโรคมะเร็ง จะทำการประเมิณเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้แก่คนไข้ ซึ่งวิธีการรักษาที่นิยมใช้ได้แก่การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา

1. การผ่าตัด มักใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก เช่นระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยอาจใช้ร่วมกับการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา โดยแพทย์จะผ่าเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกให้มากที่สุด ในบางกรณีอาจจะต้องตัดบางส่วนของอวัยวะหรือต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วย โดยการพิจารณาว่าควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่นั้น ต้องประเมิณจากสุขภาพผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น โรคประจำตัว สภาวะโลหิตจาง ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการวางยาสลบ ได้แก่

1.โรคหัวใจ
2.โรคเบาหวาน
3.โรคลมชัก
4.ไตวาย
5.ตับอักเสบ
6.ความดันโลหิตสูง
7.ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
8.หอบหืด

ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งจึงควรแจ้งประวัติการใช้ยาและโรคประจำให้แพทย์ได้รับทราบ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2. เคมีบำบัด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ ยาคีโม หรือ “ คีโมบำบัด คือการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งโดยยาจะแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกายผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งจะแตกต่างจากการผ่าตัดและรังสีรักษา ที่จะอยู่แฉพาะบริเวณที่ทำการตัดชิ้นเนื้อออกและที่ฉายรังสีลงไปโดนเท่านั้น มีข้อดีคือสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและเข้า ถึงเซลล์มะเร็งได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มีข้อเสียคือเซลล์ปกติในร่างกายก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะเซลล์ปกติที่แบ่งตัวได้เร็ว ซึ่งคล้ายกับคุณสมบัติเด่นของเซลล์มะเร็ง ) อันส่งผลข้างเคียงดังนี้

1.เม็ดเลือด: ยาคีโมจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยจะมีปริมาณเม็ดเลือดลดต่ำลงกว่าปกติในช่วงเข้ารับเคมีบำบัด

2.ผมและเล็บ: เซลล์ที่บริเวณก้านขนและโคนเล็บจะชะลอการแบ่งตัว ทำให้ผมร่วง โคนเล็บมือและเท้ามีสีคล้ำ โดยอาจมีลักษณะของเล็บหงอกงอหรือเปลี่ยนไป

3.เยื่อบุทางเดินอาหาร: เคมีบำบัดจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อบุเหล่านี้ทำหน้าที่สร้างเมือกเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นภายในอวัยวะเหล่านี้เมื่อมีการลำเลียงอาหารและช่วยในการหลั่งน้ำย่อย ดังนั้นเมื่อเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารถูกทำลายลง  อาจทำให้เกิดแผลและอาหารระคายเคืองในทางเดินอาหาร รวมถึงการแปรปรวนของระบบขับถ่ายเช่นท้องผูก ท้องเสีย เป็นต้น โดยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์กับสมองในส่วนที่ควบคุมการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาบรรเทาอาการดังกล่าวได้

4.ระบบสืบพันธุ์: การแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์จะถูกขัดขวางทำให้เกิดอาการเป็นหมันชั่วคราวในเพศชาย และประจำเดือนไม่ปกติในเพศหญิง [adinserter name=”มะเร็ง”]

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อยุติการรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้วร่างกายจะค่อยๆเริ่มปรับเข้าสู่สภาวะปกติและเซลล์ต่างๆจะกลับมาทำหน้าที่ได้ตามเดิม ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ควรกังวลกับการเข้ารับเคมีบำบัดมากจนเกินไป การเข้ารับเคมีบำบัดจะประมาณ 5-12 ครั้ง โดยจะเว้นช่วงแต่ละครั้งประมาณ 3-4 สัปดาห์ โดยรวมระยะเวลาการรักษาเป็นเวลาหลายเดือน ผู้ที่เข้ารับการรักษาจึงควรวางวางแผนการดำเนินชีวิตระหว่างเข้ารับการรักษาเช่น ตารางลางาน การหาคนมาร่วมอยู่อาศัยเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ เป็นต้น  

3. รังสีรักษา รังสีรักษา บางครั้งเรียกว่า “ ฉายรังสี หรือ “ ฉายแสง หมายถึงการใช้รังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง เช่นรังสีเอ็กซ์ ( x-ray ) และรังสีแกมม่า ( gamma ray ) ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงอาจจะได้รับรังสีไปด้วย อย่างไรก็ตามผลกระทบมักไม่รุนแรงนัก เนื่องจากแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งให้รังสีตกลงบนเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้เซลล์ปกติมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง จึงสามารถ กลับมาสู่สภาพปกติได้ในเวลาไม่นาน การฉายรังสีจะทำครั้งละสั้นๆ เพียงครั้งละ 5-15 นาที แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเช่นทำทุกวันจนกว่าจะครบ 20-40 ครั้ง จึงควรเลือกที่พักอาศัยซึ่งสะดวกต่อการเดินทางไปโรงพยาบาลระหว่างที่ทำการรักษา เนื่องจากโดยมากเป็นลักษณะการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ( Out Patient Department หรือ OPD ) ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และต้องเดินทางไปกลับทุกวัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Loomis, D; Grosse, Y; Bianchini, F; Straif, K (2016) . “Body Fatness and Cancer — Viewpoint of the IARC Working Group”. N Engl J Med. 375:794-798. doi:10.1056/NEJMsr1606602. 

โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้

โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็ง, มะเร็งคืออะไร

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร ? มะเร็ง เป็นโรคภัยที่ใกล้ตัวเราชนิดหนึ่ง ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนสูงมากในแต่ละปี คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 8 ล้านคนต่อปี  โดยในประเทศไทยเองจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 120,000 คน ในทุกๆปี และจะกลายเป็นผู้เสียชีวิตสูงถึง 60,000 คนต่อปีเลยทีเดียว  จากข้อมูลมีสถิติที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มะเร็ง ( Cancer ) กลายไปเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งโดยมากกว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุเสียอีก

” มะเร็ง ” คืออะไร ?

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราลองมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งดังนี้

1. ปัจจัยด้านอาหาร  อาหารก่อมะเร็งเคยสังเกตกันไหมว่า อาหารหลายๆอย่างที่เราทานกันด้วยความอร่อยอยู่ในทุกๆวันนี้  ส่วนมากมักจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันที่สูงเช่น ไก่ทอด หมูทอด ครีมเทียม เนื้อสัตว์ที่ติดหนัง อาหารฟาสฟู้ดต่างๆ เป็นต้น หรือจะเป็นอาหารของหมักดอง อาหารเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหากทานเข้าไปในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ใช้น้ำมันในการทอดซ้ำๆ และยังรวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหารในส่วนที่ไหม้เกรียม จากการทอด การย่าง อีกด้วย

2. ปัจจัยด้านมลภาวะ เสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมต่างๆมักจะได้รับผลกระทบจากข้อนี้มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากต้องเผชิญกับมลพิษต่างๆมากมาย เช่น ควันท่อไอเสียรถมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม  ควันบุหรี่ สิ่งเหล่านี้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากจะเข้าไปสะสมในร่างกายและนอกจากนี้การที่ทำงานกลางแจ้ง จนได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เหมือนกัน

3. ปัจจัยด้านสารเคมีและรังสี โรคมะเร็งจากเคมีรอบตัว ในแต่ละวันเราเองอาจจะได้รับสารเคมีและรังสีต่างๆเข้าไปสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัวเช่นการกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างจากยาค่าแมลง การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะน้ำฝนในปัจจุบันควรต้มก่อนดื่มเสมอ และหากใครที่ทำงานในส่วนที่ ต้องสัมผัสหรือสูดดม สารจำพวกโลหะหนักเป็นประจำ เช่น เบนซิน นิกเกิล แคดเมียม ก็ควรหาเครื่องมือในการป้องกันและควรหมั่นไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำด้วย

4. พฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การใช้ชีวิตของคนเราเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงในการทำให้เกิดมะเร็งต่างๆได้ เช่น ความเครียด ความกดดัน การทำงานที่หนักจนเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ  ขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทานยาคุมกำเนิด ติดต่อกันนานๆเกินกว่า 5 ปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย

5. ความผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับข้อนี้คงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากเช่น พันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปลูก การมีร่างกายพิการตั้งแต่กำเนิดการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือพยาธิใบไม้ในตับ การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งเหล่าล้วนเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้เหมือนกัน

มะเร็งมาจากคำว่า Carcinus หรือ Karkinos ในภาษากรีก ที่แปลเป็นไทยว่า ปู เนื่องจากลักษณะการเติบโตของสารมะเร็งนั้นเป็นไปแบบไม่มีระเบียบ สามารถลุกลามไปที่อื่นได้ ก็คล้ายกับพฤติกรรมการเดินของปู ที่เวลาเดินจะไร้ทิศทางไม่มีระเบียบ และเซลล์มะเร็งก็มีส่วนคล้ายกับขาของปูดังนั้น เครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นสัญลักษณ์เสมอ

มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย โดยจะไปทำให้ DNA ภายในเซลล์กลายพันธุ์เกิดการไปทำลายข้อมูลของยีนส์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดหน้าที่ของเซลล์และยังไปทำลายการควบคุมความปกติของการแบ่งตัวของเซลล์อีกด้วยโดยปกติแล้วร่างกายคนเรา จะมีเซลล์อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกันออกไป  เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มในทุกๆวันอยู่แล้ว เพื่อไปซ่อมแซมทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป มีการทำงานที่เป็นระบบมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่เมื่อเซลล์พวกนี้ทำงานบกพร่อง ก็จะไปทำให้ เซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมากเกินกว่าปกติ จนทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อ หรือที่เรียกว่า เนื้องอก ( Tumor ) หากเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตรายจะเรียกว่า ( Benign Tumor ) แต่หากเป็นเนื้องอกที่มีความอันตรายหรือก้อนเนื้อร้าย เราจะเรียกมันว่า “ มะเร็ง ” ( Malignant Tumor ) นั้นเองสำหรับการเลือกชื่อชนิดของโรคมะเร็งที่พบ จะเรียกตามอวัยวะที่ผู้ป่วยเป็น เช่น หากเป็นที่ตับ ก็จะเรียกว่า มะเร็งตับ หรือ หากเป็นที่เต้านม ก็จะเรียกว่ามะเร็งเต้านม เป็นต้น ปกติคนเราจะเป็นมะเร็งได้มากกว่า 1 ชนิด โดยอาจเกิดจากการลุกลามจากที่แรกไปอีกที่หนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นแบบไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก และที่พบบ่อยสุดในเด็ก คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เซลล์มะเร็งจะมีคุณลักษณะ 5 ข้อต่อไปนี้ คือ  เจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง มีศักยภาพในการแบ่งตัวไร้ขีดจำกัด ไม่สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตได้ มีความสามารถในการแพร่กระจาย และรุกรานเนื้อเยื่ออื่น มีกลไกการสร้างเส้นเลือดใหม่จากเส้นเลือดเก่า ( Angiogenesis ) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับโรคมะเร็งว่า หากเป็นแล้วจะต้องตายทุกคน ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

“ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง ในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตจำนวน 3,455 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 10.5 ราย โดยผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน”

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งจะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.อวัยวะที่เป็นมะเร็ง หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในอวัยวะที่ไม่อันตรายมากเช่นมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ เป็นต้นก็สามารถรักษาให้หายได้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง

2. ระยะของมะเร็ง การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ส่วนถ้าผู้ป่วยรายใดพบมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้ว ก็มีโอกาสรักษาก็จะน้อยตามไปด้วย

3. อายุของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งที่เป็น โดยมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุน้อยจะไม่ดี รักษาได้ยาก เช่น มะเร็งเต้านมส่วนมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุมากไม่ดี เช่น มะเร็งสมอง ยิ่งอายุมากกว่า 60 ยิ่งอันตราย เป็นต้น

4. สภาพร่างกายของผู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็ง โอกาสที่จะหายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่สภาพของร่างกายผู้ป่วยด้วย โดยคนที่มีร่างกายแข็งแรงก็ย่อมมีโอกาสหายได้มากกว่าคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งแนวทางการรักษาก็จะไม่เหมือนกัน โดยหมอจะดูว่าผู้ป่วยทนต่อการรักษาแบบไหนได้บ้าง ควรรักษาเพื่อให้หายขาด ( Curative Care ) หรือแค่รักษาเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care )

5. ความเก่งของหมอและสถานพยาบาล ปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาอีกอย่างก็คือ การที่โรงพยาบาลนั้นๆมีหมอเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งหรือมีอุปกรณ์เครื่องมือในการรักษาครบถ้วน ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสรักษาให้หายมากตามไปด้วย6.จิตใจของผู้ป่วยเอง หากสภาพจิตใจของผู้ป่วยรายใด ที่มีกำลังใจดี เข้มแข็ง ก็ย่อมทำให้มีโอกาสรักษาให้หายได้มากกว่า ผู้ป่วยที่หมดกำลังใจ ซึมเศร้า มีแต่ความหดหู่ ดังนั้นผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 แล้ว แต่ถ้าเราตรวจพบโรคได้ไว และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ และในขณะเดียวกัน แม้จะรักษามะเร็งจนหายแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกาย สักวันคุณก็อาจจะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกได้ ใครจะไปรู้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.