Home Blog Page 185

อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง

อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
โรคมะเร็งและโรคมะเร็งชนิดต่างๆในร่างกาย

อัลตร้าซาวด์ มะเร็ง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็ง? ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อสายเกินไป เมื่อ อัลตร้าซาวด์ พบเจอก้อน มะเร็ง ก็ลุกลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว ทำให้ยากต่อการรักษาให้หายขาด แพทย์จึงแนะนำให้บุคคลทั่วไปตรวจสุขภาพทุกปีเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ทั้งนี้เทคนิคที่ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเพื่อทราบผู้ป่วยมะเร็งก็มีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ อัลตร้าซาวด์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสสาวะ อุจจาระ การตรวจทางพยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ เช่น การขูดเซลล์จากเยื่อบุปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก การตรวจด้วยเครื่องมือเอ๊กซเรย์ แมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์ เช่นการเอ๊กซเรย์ปอดกับทางเดินอาหาร การทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ที่เต้านม การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษ

เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การตรวจด้วยเครื่องมือ MRI, CT scan, PET scan เพื่อดูอวัยวะในกระโหลกศรีษะ หลอดเลือดในสมอง กระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก อาการเบื้องต้นของ โรคมะเร็ง ที่ต้องเฝ้าระวัง เราสามารถสังเกตุอาการโรคมะเร็งได้ด้วยตัวเราเอง เพราะเราในฐานะเจ้าของร่างกายย่อมต้องรู้ถึงความผิดปกติได้ก่อนผู้อื่น สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปเช่นการขับถ่ายเปลี่ยนไป คลำพบก้อนเนื้อ น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มผิดสังเกตุ มีเลือดออกที่อวัยวะต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก่อตัวของโรคมะเร็งได้ โดยควรสังเกตุอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

อาการผิดปกติของมะเร็งต่างๆ

1. มะเร็งเต้านม : ผู้ป่วยมะเร็ง อัลตราซาวด์ พบก้อนที่เต้านมหรือรักแร้เมื่อลองคลำดูรู้สึกเจ็บ ขนาดและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป หัวนมปกติเริ่มเป็นหัวนมบอด มีของเหลวหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม คือ มะเร็งเต้านม

2. มะเร็งปากมดลูก : ผู้ป่วยมะเร็งจะมีประจำเดือนผิดปกติโดยอาจมามากเกินไปหรือน้อยกะปริบกะปรอย มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและมีสีน้ำตาล ปวดช่องคลอดและมีเลือดออกหลังเพศสัมพันธ์ 

3. มะเร็งรังไข่ : ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ถือเป็น “ มะเร็งเงียบ ” ชนิดหนึ่งเพราะเป็น มะเร็ง ที่ตรวจพบยาก เนื่องจากไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่ชัดเจนเหมือนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังมีอาการคล้ายกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและขับถ่าย เช่น ปวดหน่วงๆบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา จุกเสียดอึดอัดแน่นท้อง ท้องผูก คลำเจอก้อนเนื้อแถวท้องน้อย ท้องโตขึ้นรวดเร็ว ปวดท้องกระทันหัน มีพุงห้อยย้อยระดับต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มักตรวจพบในระยะท้ายๆ ซึ่งมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายมะเร็งปากมดลูก คือประจำเดือนผิดปกติและมีเลือดออกกะปริบกะปรอยทั้งที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ ควรปรึกษาแพทย์และขอตรวจ อัลตร้าซาวด์ ผ่านช่องคลอดเพื่อดูรูปร่างและขนาดของรังไข่

4. มะเร็งตับ : ผู้ป่วย มะเร็ง ตับจะมีอาการเบื้องต้น ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบนและอาจปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ตัวเหลือง ตาขาวเป็นสีเหลือง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาหารท้องมาน ตับโตขึ้นจนท้องเปลี่ยนรูปร่างไป

5. มะเร็งปอด : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งปอด มีปัญหาเรื่องการหายใจเช่นหายใจมีเสียงหวีดๆหรือหายใจสั้นถี่ๆ เหนื่อยหอบ เหนื่อยง่ายและเหนื่อยเป็นประจำ หายใจไม่ทั่วท้อง เจ็บหน้าอก ไอบ่อย ไอเป็นเลือดออก เสียงแหบ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

6. มะเร็งกระเพาะอาหาร : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหารปวดท้องส่วนบนตรงกลาง ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนโดยอาจะมีเลือดปนมาด้วยและอาจะพบเลือดในอุจจาระ อุจจาระเป็นสีดำ น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะติดขัดและปวดแสบหลังปัสสาวะ มีอาการซีด อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดหลังตอนล่าง

8. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : ผู้ป่วย มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่มักมีความแปรปรวนในระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีอาการปวดหน่วงๆที่ลำไส้ซ้ายหรือขวาตามตำแหน่งก้อนมะเร็ง คลื่นไส้และอยากอาเจียนเป็นประจำ เบื่ออาหาร สำหรับมะเร็งลำไส้ตรงหรือทวารหนัก มักอุจจาระมีเลือดปน ปวดทวารหนักอย่างรุนแรง รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด

9. มะเร็งต่อมลูกหมาก : ปัสสาวะติดขัดและมีอาการปวด ปัสสาวะอ่อนไม่พุ่งแรง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวยาก เมื่อถึงจุดสุดยอดระหว่างร่วมเพศจะมีอาการเจ็บตอนหลั่งน้ำอสุจิ

10. มะเร็งเม็ดเลือดขาว : มักรู้จักในชื่อ ลูคิวเมีย ( Leukemia ) มักพบในคนไข้อายุน้อยแต่ก็เป็นได้ในทุกวัย อาการที่สังเกตุได้คือ เลือดออกง่าย เช่น เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ฟกช้ำดำเขียวง่าย เนื้อตัวเป็นจ้ำๆ เลือดจาง ซีด ร่างกายอ่อนแอเหนื่อยง่าย เป็นไข้ ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย น้ำหนักลด

11. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : พบก้อนที่บริเวณต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ผู้ป่วย มะเร็ง อาจยังไม่มีอาการเจ็บในช่วงแรกมีแค่มีขนาดโตผิดปกติ ต่อมทอนซิลโตขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้เป็นระยะ มักเหงื่อออกมากเวลากลางคืน

12. มะเร็งสมอง : ผู้ป่วยมะเร็งปวดศีรษะร่วมกับอาหารคลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรงจนไม่สามารถนอนหลับได้ มีปัญญาด้านการมองเห็น เช่น ตาพร่า เห็นแสงเป็นจุดๆลอยไปมา มีอาการชาที่แขน ขา ปลายนิ้ว มีทักษะในการรับรู้ การพูดสื่อสารไม่เหมือนเดิม สูญเสียการทรงตัว รู้สึกชาที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งและมีปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า หากตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็ง ควรติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองโดยด่วน เพราะการตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns. Palliat Med. 321

การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ

วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพ เป็นสิ่งที่ควรทำประจำทุกปี เพื่อรู้และหาวิธีป้องกันรักษาโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ

การตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพ เป็นสิ่งที่ควรทำประจำทุกปี เพื่อรู้และหาวิธีป้องกันรักษาโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีอ่านผลการตรวจสุขภาพ อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมีการตรวจหลากหลายวิธี และมุ่งเน้นไปยังโรคแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ดังนี้

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

เซลล์ที่หมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือดของร่างกาย มีด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ( Erythrocytes ) เม็ดเลือดขาว ( Leukocytes ) และเกล็ดเลือด ( Thrombocytes ) ซึ่งปกติเซลล์ทั้ง 3 กลุ่มจะมีสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นหากจำนวนเซลล์ที่นับได้มีมากหรือน้อย หรือมีลักษณะที่ผิดปกติออกไป จะสามารถบ่งชี้อาการของโรคต่างๆ ได้ การตรวจนับเซลล์ในเลือดจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากในทางการแพทย์ เพราะให้ ข้อมูลกว้างๆ เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยได้ ในหลายโรงพยาบาลมักจะบรรจุ การตรวจนับเม็ดเลือด เป็นส่วนหนึ่งของ การตรวจสุขภาพ ประจำปีด้วย เช่น

1. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )

2. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC )

3. การตรวจคุณสมบัติพิเศษของเลือด

การตรวจสุขภาพเพื่อหาสารมะเร็งจากเลือด

การเจาะเลือดหาโรคมะเร็ง คือ การเจาะเลือดเพื่อหาสารที่จะพบได้ในคนที่เป็นมะเร็ง ( Tumor marker ) หรือเรียกว่า การเจาะเลือดเพื่อตรวจหา ” สารบ่งชี้มะเร็ง ” ซึ่งการตรวจมะเร็งด้วยการเจาะเลือดนี้ มักทำเมื่อแพทย์สั่ง หรือผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเท่านั้น อีกทั้งควรตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะการจะวินิจฉัยมะเร็ง จะต้องทำการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจหลายๆแบบ จะไม่มีการวินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยการเจาะเลือดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ การตรวจมะเร็งจากเลือด ไม่ได้เหมาะสำหรับการตรวจหามะเร็งทุกชนิด วิธีที่มักทำกัน คือ CEA, PSA, AFP และ CA-125 ซึ่งใช้ตรวจหามะเร็งได้บางชนิด ได้แก่

1. การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

2. การตรวจมะเร็งตับ

3. การตรวจมะเร็งรังไข่

4. การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

5. การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

6. การตรวจมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การตรวจสุขภาพเพื่อหาสารชีวเคมีในเลือด

สารชีวเคมีในเลือด สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ค่าปกติในช่วงตํ่า ( Lower Normal Levels ) และค่าปกติในช่วงสูง ( Upper Normal Levels ) โดยค่า Upper Normal Levels มีนัยสำคัญต่อการเกิดความผิดปกติของอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บ่งชี้ภาวะเบาหวาน ความผิดปกติของไต ตับ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้น การนำค่าของสารชีวเคมีในเลือดระดับ Upper Normal Levels มาใช้ในการประเมินผลตรวจสุขภาพ จะแสดงให้เห็นแนวโน้มของความผิดปกติในแต่ละบุคคลได้ดี และอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการป้องกันสุขภาพก่อนเกิดความผิดปกติได้ หากสามารถควบคุมระดับสารชีวเคมีให้อยู่ในระดับ Lower Normal Levels อยู่เสมอ การตรวจสุขภาพ ด้วยสารชีวเคมีในเลือด ได้แก่

1. น้ำตาลและสารพิเศษ

2. การตรวจไขมันในเลือด

3. การตรวจการทำงานของตับ ( Liver Function Test )

4. การตรวจแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย ( Electrolyte )

5. การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Health Check approval misleading consumers, Canadian doctor alleges”. Global News. Corus Entertainment. Retrieved 18 November 2016.

การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker

การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
การตรวจหาสารมะเร็ง เป็นการตรวจวิเคราะห์ว่ามีระดับหรือค่าความเสี่ยงมะเร็งมากแค่ไหน หรือตรวจว่าเป็นมะเร็งชนิดใด

สารวัดค่ามะเร็ง ( Tumor Marker )

สารวัดค่ามะเร็ง ( Tumor Marker ) คือ สารประกอบต่างๆ ที่อาจสร้างได้จากทั้งเซลล์ปกติ เซลล์อักเสบ และเซลล์โรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งเมื่อเป็นมะเร็งชนิดที่สร้างสารนี้ได้ เซลล์มะเร็งชนิดนั้นๆ จะสร้างสารนี้มากเกินปกติ แพทย์จึงใช้เป็นการตรวจเพื่อประเมินผลการรักษา ติดตามการย้อนกลับ เป็นซ้ำ และ หรือ การแพร่กระจายของโรค แต่ไม่นิยมใช้เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพราะให้ผลตรวจไม่แน่นอน ยกเว้นในโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากเซลล์ตับ ( HCC ) และโรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ ( Germ Cell Tumor ) ที่ใช้ tumor marker ตรวจพบได้ทันที

โรคมะเร็งที่ยอมรับการตรวจค่าสารมะเร็ง เป็นการตรวจมาตรฐานสารวัดค่ามะเร็ง เพื่อติดตามผลการรักษา เช่น โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งระบบทางเดินน้ำดี โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ทูเมอร์ Tumor Marker โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และ โรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ส่วนในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ มักขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

สารมะเร็ง อาจเป็นได้ทั้งสารเคมี เอนไซม์ สารที่เคยมีในขณะเป็นตัวอ่อน สารกรรมพันธุ์ หรือ ยีนส์ หรือ ฮอร์โมน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง

สารวัดค่ามะเร็ง อาจตรวจพบได้ในเลือด ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง หรือ ของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำในช่องท้อง หรือในเนื้อเยื่อที่เกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งการเกิดโรคมะเร็ง แต่โดยทั่วไปมักตรวจได้จากเลือด

การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง

สารวัดค่ามะเร็ง คือ สารสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง ด้วยตัวมันเองอาจจะเป็น

1. โปรตีน หรือ

2. สารประกอบชีวเคมี

3. เอนไซม์ใดๆที่ผลิตขึ้นมาโดยเซลล์มะเร็งเอง

โดยอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการบุกรุกทำลายของเซลล์มะเร็งโดยไม่ว่าจะเป็นสารใดก็ได้ทำให้สารวัดค่ามะเร็งหรือสารบ่งชี้มะเร็งที่ผลิตขึ้นมานั้น มีปริมาณมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะค่อยๆเริ่มรั่วไหล ( Leak ) เข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น

ดังนั้น การตรวจเลือดวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณ Tumor Marker จึงเปรียบเสมือนการสืบสวนย้อนรอยหาเบาะแสว่าพวกมันไปแอบซ่องสุมให้แก๊งพวกมันใช้ที่พักพิงเป็นฐานปฏิบัติการ ณ อวัยวะแห่งใด

ฝ่ายสืบสวน จำเป็นต้องตั้งชื่อแก๊งบรรดามะเร็งเป็นชื่อเฉพาะ แยกแยะในแต่ละอวัยวะ เพื่อใช้สื่อความเข้าใจในระหว่างผู้ปราบปรามและผู้เสียหายต่อไป

คำศัพท์เกี่ยวกับมะเร็ง

Tumor Marker ใช้ตรวจค่า มะเร็งทุกชนิด คำว่า ” มะเร็ง ( Cancer ) ” ตรงกับคำในภาษากรีกว่า “ Karkinos ” ที่มีความหมายว่า “ ปู ” ( Carb ) กล่าวคือ ก้อนมะเร็งมันจะมีลักษณะบวมนูนและเห็นร่องรอยกระจายออกไปรอบด้านคล้ายกับ “ ขาปู ”

การแพทย์แผนปัจจุบันท่านได้ทราบนานมาแล้วว่า มะเร็ง คือ เซลล์เกิดใหม่ที่มีลักษณะกลายพันธุ์ และพ้นจากการควบคุมของร่างกาย หรือร่างกายควบคุมการเจริญเติบโตของมันไม่ได้ โดยได้บัญญัติศัพท์เรียกกันทั่วไปว่า “ เนื้องอกมะเร็ง ” ซึ่งแปลจากศัพท์แพทย์ว่า Neoplasia หรือ Neoplasm, Neo = ใหม่ Plasia, Plasm = เซลล์ หรือ เนื้อเยื่อ

แต่ส่วนที่งอกหรือเซลล์เกิดใหม่อื่นๆที่ มิใช่เซลล์มะเร็ง แต่มีชื่อคล้ายกัน ซึ่งสมควรกล่าวถึงให้ทราบความหมายและเห็นความแตกต่างของศัพท์แพทย์ที่ท่านใช้ สำหรับที่ มิใช่เซลล์มะเร็ง ดังนี้

Hyperplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ ที่มีจำนวนเซลล์มากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้บวมขึ้น เช่น สภาวะต่อมไทรอยด์โต ( Thyroid Hyperplasia ) สภาวะต่อมลูกหมากโต ( Benign Prostate Hyperplasia, BPH )
Hypertrophy คือ เซลล์เกิดใหม่มีจำนวนเซลล์ไม่มากกว่าเดิม แต่มีขนาดรูปร่างของเซลล์ใหญ่กว่าเดิม จึงทำให้บวมโตขึ้น เช่น สภาวะหัวใจโต ( Cardiac Hypertrophy )

Metaplasia คือ เซลล์เกิดใหม่มีจำนวนและขนาดไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นเซลล์ตัวใหม่ที่งอกขึ้นมาแทนตัวเดิม เช่น เซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนัง ( Squamous Metaplasia ) ที่ปรากฏแทนที่ผิวหนังเดิมที่ลอกทิ้งไป

Dyplasia  คือ เซลล์เกิดใหม่ซึ่งผลิตขึ้นมาแทนที่เซลล์เก่า ด้วยวัยที่โตยังไม่เต็มที่เหมือนกับเซลล์เก่า เช่น เซลล์ผนังด้านในโพรงมดลูก ( Dysplasia of the Cervix Epithelium ) ซึ่งกว่าจะโตเต็มที่ก็คือ 28 วัน แล้วก็ได้เวลาหลุดออกมาเป็นประจำเดือนของสตรีในทุกๆเดือน

สารวัดค่ามะเร็งใช้แกะร่องรอยของมะเร็ง

ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง อาจเห็นได้โดยง่ายหรือไม่เห็นง่ายก็ได้ กล่าวคือ

ชนิดไม่บวม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ไหลเวียนในหลอดน้ำเหลือง เป็นชนิดที่ไม่อาจเห็นได้โดยง่าย

ชนิดบวม เรียกว่า Tumor คือ ก้อนเนื้อที่บวมนูน ซึ่งเห็นได้โดยง่าย ทั้งนี้ Tumor อาจเกิดจากเซลล์มะเร็ง หรือมิใช่เซลล์มะเร็งก็ได้ มี 2 ชนิดคือ

Benign Tumor ก้อนเนื้อบวมนูน คล้ายมะเร็งแต่มิใช่มะเร็งหรือมักเรียกกันว่า เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ถุงไขมัน ( Cyst ) ถุงเนื้อเยื่อที่หุ้มไขมันในเต้านม ( Fibrocystic Breast Disease ) เนื้อเยื่อที่บวมในเต้านม ( Fibroadenoma )

Malignant Tumor คือ ก้อนเนื้อบวมนูนอันเกิดจากเซลล์มะเร็ง ( Malignant มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน คือ คำว่า “ Mal ” ซึ่งแปลว่า เลว ร้าย และคำว่า “ Genus ” แปลว่า กำเนิด ) ทั้งนี้ คำว่า Malignant จึงอาจใช้แทนคำว่า มะเร็ง ได้อีกคำหนึ่ง

สรุปศัพท์แพทย์เกี่ยวกับมะเร็ง ที่มักพบเห็นบ่อย

Neoplasia หรือ Neoplasm มีความหมายในเชิงชี้เห็นว่าเป็น เนื้องอกมะเร็ง

คำที่ลงท้าย “ …oma ” เช่น Hepatoma ( มะเร็งเซลล์ตับ ) หรือคำลงท้ายด้วย “ …sarcoma ” เช่น Osteosarcoma (มะเร็งเซลล์กระดูก)

คำที่ขึ้นต้นด้วย  “ Onco… ” เช่น Oncology ( วิชาว่าด้วยโรคมะเร็ง, มาจากภาษากรีก onkos = bulk, mass คือ ก้อนเนื้อ, ology = study คือการศึกษา, วิชา )

Tumor โดยธรรมดามีความหมายว่า บวมหรือนูน แม้จะเกิดจากมิใช่โรคมะเร็ง หรือเกิดจากโรคมะเร็งก็ตาม แต่โดยนัยที่นิยมกัน คำว่า Tumor เพียงตัวเดียวเดี่ยวๆ มักต้องใช้เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็งเสมอ ซึ่งถ้าหากเป็นการบวมนูนที่มิใช่เกิดจากโรคมะเร็ง ก็ต้องระบุให้ชัดเจนลงไป เช่น Benign Tumor ซึ่งแปลว่า บวมนูนปลอมหรือบวมนูนอย่างเมตตา ( Benign = เมตตา, กรุณา )

การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง

ในทางการแพทย์ท่านได้ใช้ศัพท์ว่า Tumor Maker ในการตรวจวิเคราะห์เลือด เพื่อให้ทราบถึงระดับหรือค่าของการบ่งชี้ว่า เป็นโรคมะเร็งชนิดใด

ความก้าวหน้าขอวิทยาการแพทย์ปัจจุบันนั้น อาจตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็งต่ออวัยวะได้หลากหลายชนิดสัญญาณ

วัตถุประสงค์ทั่วไปในการตรวจเลือดหาสัญญาณมะเร็ง

Tumor Marker ใช้เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีสุขภาพปกติด้วยการตรวจโรคตามระยะเวลา เช่น การตรวจโรคประจำปี ประจำหกเดือน หรือประจำสามเดือน ว่าจะมีสัญญาณโรคมะเร็งชนิดใดเริ่มเกิดขึ้นและแอบซ่อนอยู่บ้างหรือไม่
ใช้ติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ว่าได้ผลหรือไม่เพียงใด
ใช้ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเจาะจงบางชนิด ที่ไม่อาจตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ (ฺ Biopsy ) ได้ เช่น มะเร็งเซลล์สมอง
อาจใช้พยากรณ์ความร้ายแรงขแงโรคมะเร็งบางชนิด

วิธีตรวจหาสัญญาณมะเร็งจากการเจาะเลือดตรวจ

วิธีที่ 1 ตรวจด้วยการระบุชื่อสัญญาณมะเร็ง ( Cancer – Specific Marker ) หมายถึง การเจาะจงชื่อของ Tumor Maker ที่สัมพันธ์กับอวัยวะซึ่งสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ตามตารางที่ 5 เช่น ระบุว่า

ต้องตรวจค่า AFP เพราะทราบจากตารางดังกล่าวว่า AFP นั้นสามารถแสดงสัญญาณมะเร็งของโรคมะเร็งตับ ได้ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงต้องการทราบเพียงเจาะจงอวัยวะที่ตับว่าจะมีสัญญาณมะเร็งใดๆหรือไม่ แต่การตรวจ AFP ก็พลอยทำให้ทราบสัญญาณโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นแถมมาด้วย กล่าวคือ  รังไข่ (ในกรณีเป็นสตรี) หรือลูกอัณฑะ (ในกรณีเป็นบุรุษ)

วิธีที่ 2 ตรวจด้วยการระบุอวัยวะ ( Tissue -Specific Marker ) หมายถึง การตรวจด้วยเหตุมีความสงสับว่า อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในร่างกายซึ่งมีความผิดปกติว่าอาจจะเป็นมะเร็งหรือไม่ เช่น มีอาการเหมือนท้องผูกเป็นประจำทุกวัน จึงสงสัยว่า ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จะเป็นมะเร็งหรือไม่ ในกรณีนี้ก็จำเป็นต้องระบุอวัยวะลงไปก่อนว่า “ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย” 

สัญญาณมะเร็งที่อาจบ่งชี้ต่อสภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย

1) CEA
2) CA 19-9
3) CA 125

สารวัดค่ามะเร็งควรพึงระมัดระวังในการใช้

การตรวจสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง จากการเจาะเลือดออกมาวิเคราะห์นั้น มิใช่จะเป็นข้อมูลแน่นอนที่ถูกต้อง 100% เสมอไป ท่านผู้เชียวชาญทางโลหิตวิทยาจึงให้คำแนะนำในการใช้ไว้ ดังนี้

อย่าได้ปลงใจเชื่อผลตรวจเลือด ซึ่งปรากฏสัญญาณโรคมะเร็งจากค่าตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว
หากต้องการตรวจเลือดในการหาสารวัดค่ามะเร็งสัญญาณโรคมะเร็งหลายครั้งต่อเนื่องกันเพื่อทราบการดำเนินโรค หรือเพื่อติดตามผลการรักษา ก็จะต้องใช้ห้องปฏิบัติการ ( Laboratory ) ตรวจเลือด ณ แหล่งใดแหล่งหนึงเพียงแหล่งเดียวหรือแม้แต่อุปกรณ์ หรือน้ำยาวิเคราะห์เลือดก็ควรจะต้องเป็นชนิดเดียวกันเสมอไปทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า มีข้อมูลตัวเลขประวัติจากการตรวจเลือดแล้วพบว่าสัญญาณมะเร็งของอวัยวะใดนั้น สูงมาก่อนการรักษาอยู่แล้ว ต้องรู้จักพิจารณาเลือกใช้สัญญาณมะเร็งหลายๆตัวที่ครอบคลุมและสัมพันธ์กับการตรวจและบ่งชี้มะเร็งของอวัยวะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายให้พิจารณาเลือกใช้สัญญาณมะเร็งที่ไม่เจาะจงอวัยวะมากนักแต่มีคุณสมบัติความไว ( Sensitivity ในการบ่งชี้มะเร็ง )

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Correlation of serum CA125 with stage, grade and survival of patients with epithelial ovarian cancer at a single centre”. Ir Med J. 101

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้

เซลล์มะเร็งที่กระจายอยู่ปะปนกับเม็ดเลือดแดงเกิดการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง
เซลล์มะเร็งที่กระจายอยู่ปะปนกับเม็ดเลือดแดงเกิดการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง

มะเร็ง 

มะเร็ง ( cancer ) คือ เมื่อใดที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งทำให้เกิดความผิดปกติทางสารพันธุกรรม ( DNA ) ของเซลล์ของร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากเกินปกติ จนกระจายแทรกตัวไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ติดกันและอาจแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกายโดยเดินทางผ่านกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง [adinserter name=”มะเร็ง”]

เมื่อเซลล์มะเร็งรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใดก็ตามจะทำให้เซลล์ปกติของบริเวณนั้นตายลง เนื่องจากเซลล์มะเร็งจะสร้างเส้นเลือดเพื่อลำเลียงลือดและสารอาหารเข้าเลี้ยงเซลล์มะเร็งให้เติบโต เมื่อเซลล์ปกติถูกแย่งทรัพยากรเหล่านี้ก็จะตายลงในที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งขั้นรุนแรงจะมี

อวัยวะหลายส่วนเต็มไปด้วยเนื้อเยื่อที่ตายไปแล้วจึงไม่สามารถทำหน้าที่ทางชีวภาพอันสำคัญต่อการอยู่รอดได้อีกต่อไป เช่น สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเม็ดเลือด รักษาสมดุลย์ของระบบสารเคมีในร่างกาย  อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเวลาต่อมา

มะเร็ง เกิดจากอะไร?

สาเหตุของมะเร็ง คืออะไร มะเร็งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากสิ่งแวดล้อม ( Environment ) และพันธุกรรม ( Genetics ) ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายชนิดประกอบกัน เช่น สูบบุหรี่จัด เป็นมะเร็งปอด เคร่งเครียด นอนหลับไม่เพียงพอ ชอบกินอาหารอาหารแปรรูปใส่ดินประสิวเช่นไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งได้แก่

อายุ เมื่ออายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เซลล์ปกติเริ่มเสื่อมสภาพจากการทำงานเป็นเวลานานรวมทั้งการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) เนื่องจากการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายและเสื่อมสภาพเป็นจำนวนมากนั้น มักเกิดความผิดพลาดในกระบวนการมากกว่า จึงทำให้เซลล์บางส่วนกลายพันธุ์ ( Mutation ) เป็นเซลล์มะเร็ง

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยมะเร็งมักรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ( Carcinogen ) เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม ปลาส้ม ซึ่งใส่ดินประสิว  หรือ โซเดียมไนเตรต โซเดียมไนไตรท์ ( Nitrate/Nitrite ) เป็นสารกันบูด จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งที่สำคัญประการหนึ่ง รวมถึงยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในปักผลไม้ วัตถุกันเสียและสิ่งเจือปนที่เป็นพิษในอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารทอดไขมันสูง ไม่มีกากใยอาหาร ( Fiber ) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้

[adinserter name=”มะเร็ง”]

บุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เป็นแค่เพียงสาเหตุของมะเร็งปอดเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น กล่องเสียง หลอดลม ช่องปากและลำคอ ไต เม็ดเลือดขาว เป็นต้น ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ได้แก่นิโคติน ( Nicotine ), สารหนู ( Arsenic ), ทาร์ ( Tar ), และคาร์บอนมอนออกไซด์ ( Carbon Monoxide ) ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าไปทางกระแสเลือดและไหลเวียนไปยังอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ทำลายภูมิต้านทาน และกระตุ้นการก่อต่อของเซลล์มะเร็ง

การติดเชื้อและพยาธิ การติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งได้เช่นกัน เช่น ไวรัสเอชพีวี ( HPV Virus หรือ Human Papilloma Virus ) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และแบคทีเรียเอชไพโลไร ( H.Pylori ) ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน นอกจากนี้พยาธิใบไม้ในตับ ( Opisthorchis Viverrini ) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากพยาธิจะหลั่งสารกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว

ความเครียด ความเครียด ( Stress ) เป็นสาเหตุของมะเร็งที่เรามักมองข้าม ทั้งนี้เมื่อเกิดความเครียดเพิ่มมากหรือเครียดเรื้องรังจะทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มชนิดต่างๆลดลง รวมถึงเม็ดเลือดขาว และสารต้านการอักเสบ ( Anti-Inflammatory ) ที่มีปริมาณลดลงด้วย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง 

โรคอ้วน ในปี ค.. 2016 องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ( International Agency for Research on Cancer หรือ IARC ) ขององค์การอนามัยโลก ( World Health Organization หรือ WHO) ได้ระบุว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง 7 ชนิด คือ  กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ตับอ่อน รังไข่ ต่อมไทรอยด์ เยื่อหุ้มสมอง และ ไขกระดูก นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม เนื่องจากเซลล์ไขมันจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนแอสโตรเจน ( Estrogen ) ในปริมาณมากขึ้นและเต้านมเป็นอวัยวะที่ตอบสนองกับปริมาณฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติ [adinserter name=”มะเร็ง”]

พันธุกรรม มะเร็งเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มาสู่ลูกได้ โดยมักเกิดจากความผิดปกติของยีน ( Gene ) อย่างไรก็ตามอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรมพบในอัตราที่ไม่สูงมาก คิดเป็น 5-10% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดเท่านั้น โดยผู้ป่วยมะเร็งอันเป็นผลจากพันธุกรรมมักแสดงอาการของโรคตั้งแต่ในวัยเด็ก ทั้งนี้การมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่ายีนเหล่านี้จะถูกกระตุ้นให้แสดงผลหรือไม่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

ระยะต่างๆของมะเร็ง

ระยะต่างๆของมะเร็งพอแบ่งได้ดังนี้  ตามขนาดของก้อนมะเร็งการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากเซลล์ปกติ เป็นต้น ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีเกณฑ์ในการแบ่งระยะและระดับแตกต่างกันไป อาทิเช่นมะเร็งเต้านมจะแบ่งตามขนาดและการแพร่กระจาย แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะแบ่งระยะโดยดูว่ามะเร็งเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ซ้ายหรือขวา ) หรือเกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านแล้ว

ทั้งนี้ ระยะของโรคมะเร็งที่นิยมใช้กันตามความเข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่ คือการแบ่งตามความรุนแรงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งกล่าวโดยสังเขปดังนี้

ระยะที่ ลักษณะของมะเร็ง อัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี
0 ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง โดยเซลล์มะเร็งเริ่มแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่ยังไม่มีการออกจากบริเวณที่เกิดไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 90-99%
1 เกิดเป็นก้อนมะเร็งขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 70-90%
2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง 70-80%
3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงรวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีเซลล์มะเร็ง 20-60%
4 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางกระแสเลือด ระบบน้ำเหลือง 0-15%

 

อาการของมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งจะมีอาการผิดปกติตามอวัยวะที่เป็นต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง เช่น คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม ปวดบริเวณตับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมะเร็งบางชนิดจะไม่แสดงอาการชัดเจนโดยเฉพาะมะเร็งรังไข่ ซึ่งถือว่าเป็น “ มะเร็งเงียบ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิง เนื่องจากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อเซลล์มะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว ทั้งนี้มะเร็งรังไข่มีอาการระยะแรกคล้ายกับโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด จุกเสียด ลงพุงใต้สะดือ ท้องผูก จึงทำให้ผู้ป่วยคาดเดาว่าตัวเองป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน หรือโรคอ้วน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเกือบ 400 ราย พบว่าอาการทางร่างกายที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ

1.อาการปวด ( 64% )
2.เบื่ออาหาร ( 34% )
3.ท้องผูก ( 32% )
4.ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ( 32% )
5.หายใจลำบาก ติดขัดเหมือนไม่เต็มปอด ( 31% )

ดังนั้น นอกจากลักษณะขั้นต้นของมะเร็งแต่ละชนิดแล้ว เราควรสังเกตุ

อาการขั้นต้นของมะเร็งทุกชนิด

1. เหนื่อยง่าย ง่วง อ่อนเพลียอย่างไม่มีสาเหตุ ทั้งที่พักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งสาร TNF ( หรือ Tumor Necrosis Factor ) ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง โดย TNF จะส่งสัญญาณเรียกเม็ดเลือดขาวให้มายังบริเวณที่เกิดเซลล์มะเร็ง เกิดการต่อสู้กันระหว่างระบบภูมิต้านทาน เม็ดเลือดขาว ) และสิ่งแปลกปลอม มะเร็ง ) ซึ่งผลที่ตามมาคือการอักเสบและการเหนื่อยล้า ( Fatigue ) เนื่องจากมีการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้นในระดับเซลล์ จึงทำให้พลังงานที่สะสมไว้ในร่างกายสูญเสียไปจำนวนมาก ซึ่งการสูญเสียพลังงานระดับเซลล์จำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงซึม ทั้งที่ไม่ได้ออกแรงใดๆ อีกทั้งรู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนทั้งที่ได้นอนหลับเพียงพอแล้ว โดยมักมีอาการน้ำหนักลด เบื่ออาหารร่วมด้วย ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าคนส่วนใหญ่มักมองข้ามอาการเหล่านี้ไป โดยคิดว่าเป็นเพราะการทำงานหนัก นอนน้อย วิตกกังวลเรื่องต่างๆ เป็นต้น

2. อาการปวดตามร่างกาย ลักษณะการปวดที่พบมากในผู้ป่วยมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1.อาการปวดจากการบาดเจ็บหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ( Nociceptive Pain )

มักพบเมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนว่าปวดบริเวณไหน โดยจะมีการปวดร้าว ( Aching ), ปวดตื้อ ( Dull ), หรือปวดตุ๊บๆ ( Throbbing ) และอาจมีอาการปวดร้าวแผ่กระจายไปยังขึ้นในตำแหน่งที่ไม่ได้เกิดโรค ซึ่งเรียกอาการปวดชนิดนี้ว่า “Referred Pain”

2.อาการปวดจากระบบประสาท ( Neuropathic Pain ) พบในกรณีที่ก้อนมะเร็งกดทับเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือเซลล์/อวัยวะของระบบประสาท  ซึ่งจะมีลักษณะของการปวดหลายรูปแบบเช่น ปวดแสบร้อน (Burning) เจ็บเสียว (Tingling) หรือ เจ็บแปล๊บๆเหมือนไฟช๊อต (Lancinating)

3. อาการไข้เรื้อรังเป็นประจำ ผู้ที่มีอาการไข้เรื้อรังติดกันเป็นเวลา 7-10 วันเป็นประจำทุกๆ 1-2 เดือนอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อเซลล์มะเร็ง ทำให้มีสภาวะผิดปกติในระบบการรักษาสมดุลของร่างกาย ( Homeostasis ) ซึ่งควบคุมระดับอุณหภูมิ ระดับน้ำและเกลือแร่ และความเข้มข้นของเลือด ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้เรื้อรังเป็นประจำจึงควรพบแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุ

การตรวจหามะเร็ง

การตรวจหามะเร็งหรือ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ( Cancer Screening ) เป็นการตรวจสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ ในผู้ที่ยังไม่เป็นมะเร็ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากมะเร็งและนำไปสู่การรักษาในกรณีที่ตรวจเจอโรค ซึ่งมะเร็งในระยะแรกเริ่ม เช่นระยะที่ 0 และ 1 จะมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า 90%

การตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถทำได้ 3 แนวทางคือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination ) แพทย์จะทำการตรวจพื้นฐานเช่น วัดไข้ วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจดูช่องปากลำคอ คลำเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ทวารหนัก และกดบริเวณต่างๆ เช่นช่องท้อง ต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ โดยจะทำควบคู่กับการสอบถามประวัติของผู้ป่วยแล้ว เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว ประวัติการแพ้ยาหรือ แพ้อาหาร ประวัติการตั้งครรภ์ ประจำเดือน เพศสัมพันธ์ ซึ่งหลังจากแพทย์ได้ข้อมูลจากคนไข้แล้วก็จะทำการประเมิณอาการต่อไป

2. การตรวจทางแลป ( Laboratory Test ) เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างจากร่างกายคนไข้ เช่น เลือด อุจจาระ ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ และของเหลวภายในร่างกายมาทำการวิเคราะห์

3. การตรวจด้วยเทคนิคภาพถ่าย ( Imaging Technique ) เป็นการตรวจโดยอุปกรณ์ที่สามารถแสดงภาพถ่ายอวัยวะภายในร่างกายเช่น

  • เอ็กซ์เรย์ ( X-Ray )
  • เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( Computerized Tomography หรือ CT scan )
  • เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ ( Magnetic Resonance Imaging, MRI )
  • อัลตร้าซาวด์ ( Ultrasound )

การรักษามะเร็ง

เมื่อแพทย์ตรวจพบโรคมะเร็ง จะทำการประเมิณเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้แก่คนไข้ ซึ่งวิธีการรักษาที่นิยมใช้ได้แก่การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา

1. การผ่าตัด มักใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก เช่นระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยอาจใช้ร่วมกับการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา โดยแพทย์จะผ่าเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกให้มากที่สุด ในบางกรณีอาจจะต้องตัดบางส่วนของอวัยวะหรือต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วย โดยการพิจารณาว่าควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่นั้น ต้องประเมิณจากสุขภาพผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น โรคประจำตัว สภาวะโลหิตจาง ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการวางยาสลบ ได้แก่

1.โรคหัวใจ
2.โรคเบาหวาน
3.โรคลมชัก
4.ไตวาย
5.ตับอักเสบ
6.ความดันโลหิตสูง
7.ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
8.หอบหืด

ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งจึงควรแจ้งประวัติการใช้ยาและโรคประจำให้แพทย์ได้รับทราบ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2. เคมีบำบัด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ ยาคีโม หรือ “ คีโมบำบัด คือการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งโดยยาจะแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกายผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งจะแตกต่างจากการผ่าตัดและรังสีรักษา ที่จะอยู่แฉพาะบริเวณที่ทำการตัดชิ้นเนื้อออกและที่ฉายรังสีลงไปโดนเท่านั้น มีข้อดีคือสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและเข้า ถึงเซลล์มะเร็งได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มีข้อเสียคือเซลล์ปกติในร่างกายก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะเซลล์ปกติที่แบ่งตัวได้เร็ว ซึ่งคล้ายกับคุณสมบัติเด่นของเซลล์มะเร็ง ) อันส่งผลข้างเคียงดังนี้

1.เม็ดเลือด: ยาคีโมจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยจะมีปริมาณเม็ดเลือดลดต่ำลงกว่าปกติในช่วงเข้ารับเคมีบำบัด

2.ผมและเล็บ: เซลล์ที่บริเวณก้านขนและโคนเล็บจะชะลอการแบ่งตัว ทำให้ผมร่วง โคนเล็บมือและเท้ามีสีคล้ำ โดยอาจมีลักษณะของเล็บหงอกงอหรือเปลี่ยนไป

3.เยื่อบุทางเดินอาหาร: เคมีบำบัดจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อบุเหล่านี้ทำหน้าที่สร้างเมือกเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นภายในอวัยวะเหล่านี้เมื่อมีการลำเลียงอาหารและช่วยในการหลั่งน้ำย่อย ดังนั้นเมื่อเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารถูกทำลายลง  อาจทำให้เกิดแผลและอาหารระคายเคืองในทางเดินอาหาร รวมถึงการแปรปรวนของระบบขับถ่ายเช่นท้องผูก ท้องเสีย เป็นต้น โดยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์กับสมองในส่วนที่ควบคุมการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาบรรเทาอาการดังกล่าวได้

4.ระบบสืบพันธุ์: การแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์จะถูกขัดขวางทำให้เกิดอาการเป็นหมันชั่วคราวในเพศชาย และประจำเดือนไม่ปกติในเพศหญิง [adinserter name=”มะเร็ง”]

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อยุติการรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้วร่างกายจะค่อยๆเริ่มปรับเข้าสู่สภาวะปกติและเซลล์ต่างๆจะกลับมาทำหน้าที่ได้ตามเดิม ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ควรกังวลกับการเข้ารับเคมีบำบัดมากจนเกินไป การเข้ารับเคมีบำบัดจะประมาณ 5-12 ครั้ง โดยจะเว้นช่วงแต่ละครั้งประมาณ 3-4 สัปดาห์ โดยรวมระยะเวลาการรักษาเป็นเวลาหลายเดือน ผู้ที่เข้ารับการรักษาจึงควรวางวางแผนการดำเนินชีวิตระหว่างเข้ารับการรักษาเช่น ตารางลางาน การหาคนมาร่วมอยู่อาศัยเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ เป็นต้น  

3. รังสีรักษา รังสีรักษา บางครั้งเรียกว่า “ ฉายรังสี หรือ “ ฉายแสง หมายถึงการใช้รังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง เช่นรังสีเอ็กซ์ ( x-ray ) และรังสีแกมม่า ( gamma ray ) ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงอาจจะได้รับรังสีไปด้วย อย่างไรก็ตามผลกระทบมักไม่รุนแรงนัก เนื่องจากแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งให้รังสีตกลงบนเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้เซลล์ปกติมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง จึงสามารถ กลับมาสู่สภาพปกติได้ในเวลาไม่นาน การฉายรังสีจะทำครั้งละสั้นๆ เพียงครั้งละ 5-15 นาที แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเช่นทำทุกวันจนกว่าจะครบ 20-40 ครั้ง จึงควรเลือกที่พักอาศัยซึ่งสะดวกต่อการเดินทางไปโรงพยาบาลระหว่างที่ทำการรักษา เนื่องจากโดยมากเป็นลักษณะการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ( Out Patient Department หรือ OPD ) ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และต้องเดินทางไปกลับทุกวัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Loomis, D; Grosse, Y; Bianchini, F; Straif, K (2016) . “Body Fatness and Cancer — Viewpoint of the IARC Working Group”. N Engl J Med. 375:794-798. doi:10.1056/NEJMsr1606602. 

โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้

โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็ง, มะเร็งคืออะไร

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร ? มะเร็ง เป็นโรคภัยที่ใกล้ตัวเราชนิดหนึ่ง ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนสูงมากในแต่ละปี คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 8 ล้านคนต่อปี  โดยในประเทศไทยเองจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 120,000 คน ในทุกๆปี และจะกลายเป็นผู้เสียชีวิตสูงถึง 60,000 คนต่อปีเลยทีเดียว  จากข้อมูลมีสถิติที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มะเร็ง ( Cancer ) กลายไปเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งโดยมากกว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุเสียอีก

” มะเร็ง ” คืออะไร ?

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราลองมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งดังนี้

1. ปัจจัยด้านอาหาร  อาหารก่อมะเร็งเคยสังเกตกันไหมว่า อาหารหลายๆอย่างที่เราทานกันด้วยความอร่อยอยู่ในทุกๆวันนี้  ส่วนมากมักจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันที่สูงเช่น ไก่ทอด หมูทอด ครีมเทียม เนื้อสัตว์ที่ติดหนัง อาหารฟาสฟู้ดต่างๆ เป็นต้น หรือจะเป็นอาหารของหมักดอง อาหารเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหากทานเข้าไปในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ใช้น้ำมันในการทอดซ้ำๆ และยังรวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหารในส่วนที่ไหม้เกรียม จากการทอด การย่าง อีกด้วย

2. ปัจจัยด้านมลภาวะ เสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมต่างๆมักจะได้รับผลกระทบจากข้อนี้มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากต้องเผชิญกับมลพิษต่างๆมากมาย เช่น ควันท่อไอเสียรถมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม  ควันบุหรี่ สิ่งเหล่านี้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากจะเข้าไปสะสมในร่างกายและนอกจากนี้การที่ทำงานกลางแจ้ง จนได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เหมือนกัน

3. ปัจจัยด้านสารเคมีและรังสี โรคมะเร็งจากเคมีรอบตัว ในแต่ละวันเราเองอาจจะได้รับสารเคมีและรังสีต่างๆเข้าไปสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัวเช่นการกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างจากยาค่าแมลง การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะน้ำฝนในปัจจุบันควรต้มก่อนดื่มเสมอ และหากใครที่ทำงานในส่วนที่ ต้องสัมผัสหรือสูดดม สารจำพวกโลหะหนักเป็นประจำ เช่น เบนซิน นิกเกิล แคดเมียม ก็ควรหาเครื่องมือในการป้องกันและควรหมั่นไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำด้วย

4. พฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การใช้ชีวิตของคนเราเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงในการทำให้เกิดมะเร็งต่างๆได้ เช่น ความเครียด ความกดดัน การทำงานที่หนักจนเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ  ขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทานยาคุมกำเนิด ติดต่อกันนานๆเกินกว่า 5 ปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย

5. ความผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับข้อนี้คงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากเช่น พันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปลูก การมีร่างกายพิการตั้งแต่กำเนิดการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือพยาธิใบไม้ในตับ การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งเหล่าล้วนเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้เหมือนกัน

มะเร็งมาจากคำว่า Carcinus หรือ Karkinos ในภาษากรีก ที่แปลเป็นไทยว่า ปู เนื่องจากลักษณะการเติบโตของสารมะเร็งนั้นเป็นไปแบบไม่มีระเบียบ สามารถลุกลามไปที่อื่นได้ ก็คล้ายกับพฤติกรรมการเดินของปู ที่เวลาเดินจะไร้ทิศทางไม่มีระเบียบ และเซลล์มะเร็งก็มีส่วนคล้ายกับขาของปูดังนั้น เครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นสัญลักษณ์เสมอ

มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย โดยจะไปทำให้ DNA ภายในเซลล์กลายพันธุ์เกิดการไปทำลายข้อมูลของยีนส์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดหน้าที่ของเซลล์และยังไปทำลายการควบคุมความปกติของการแบ่งตัวของเซลล์อีกด้วยโดยปกติแล้วร่างกายคนเรา จะมีเซลล์อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกันออกไป  เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มในทุกๆวันอยู่แล้ว เพื่อไปซ่อมแซมทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป มีการทำงานที่เป็นระบบมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่เมื่อเซลล์พวกนี้ทำงานบกพร่อง ก็จะไปทำให้ เซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมากเกินกว่าปกติ จนทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อ หรือที่เรียกว่า เนื้องอก ( Tumor ) หากเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตรายจะเรียกว่า ( Benign Tumor ) แต่หากเป็นเนื้องอกที่มีความอันตรายหรือก้อนเนื้อร้าย เราจะเรียกมันว่า “ มะเร็ง ” ( Malignant Tumor ) นั้นเองสำหรับการเลือกชื่อชนิดของโรคมะเร็งที่พบ จะเรียกตามอวัยวะที่ผู้ป่วยเป็น เช่น หากเป็นที่ตับ ก็จะเรียกว่า มะเร็งตับ หรือ หากเป็นที่เต้านม ก็จะเรียกว่ามะเร็งเต้านม เป็นต้น ปกติคนเราจะเป็นมะเร็งได้มากกว่า 1 ชนิด โดยอาจเกิดจากการลุกลามจากที่แรกไปอีกที่หนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นแบบไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก และที่พบบ่อยสุดในเด็ก คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เซลล์มะเร็งจะมีคุณลักษณะ 5 ข้อต่อไปนี้ คือ  เจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง มีศักยภาพในการแบ่งตัวไร้ขีดจำกัด ไม่สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตได้ มีความสามารถในการแพร่กระจาย และรุกรานเนื้อเยื่ออื่น มีกลไกการสร้างเส้นเลือดใหม่จากเส้นเลือดเก่า ( Angiogenesis ) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับโรคมะเร็งว่า หากเป็นแล้วจะต้องตายทุกคน ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

“ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง ในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตจำนวน 3,455 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 10.5 ราย โดยผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน”

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งจะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.อวัยวะที่เป็นมะเร็ง หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในอวัยวะที่ไม่อันตรายมากเช่นมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ เป็นต้นก็สามารถรักษาให้หายได้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง

2. ระยะของมะเร็ง การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ส่วนถ้าผู้ป่วยรายใดพบมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้ว ก็มีโอกาสรักษาก็จะน้อยตามไปด้วย

3. อายุของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งที่เป็น โดยมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุน้อยจะไม่ดี รักษาได้ยาก เช่น มะเร็งเต้านมส่วนมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุมากไม่ดี เช่น มะเร็งสมอง ยิ่งอายุมากกว่า 60 ยิ่งอันตราย เป็นต้น

4. สภาพร่างกายของผู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็ง โอกาสที่จะหายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่สภาพของร่างกายผู้ป่วยด้วย โดยคนที่มีร่างกายแข็งแรงก็ย่อมมีโอกาสหายได้มากกว่าคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งแนวทางการรักษาก็จะไม่เหมือนกัน โดยหมอจะดูว่าผู้ป่วยทนต่อการรักษาแบบไหนได้บ้าง ควรรักษาเพื่อให้หายขาด ( Curative Care ) หรือแค่รักษาเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care )

5. ความเก่งของหมอและสถานพยาบาล ปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาอีกอย่างก็คือ การที่โรงพยาบาลนั้นๆมีหมอเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งหรือมีอุปกรณ์เครื่องมือในการรักษาครบถ้วน ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสรักษาให้หายมากตามไปด้วย6.จิตใจของผู้ป่วยเอง หากสภาพจิตใจของผู้ป่วยรายใด ที่มีกำลังใจดี เข้มแข็ง ก็ย่อมทำให้มีโอกาสรักษาให้หายได้มากกว่า ผู้ป่วยที่หมดกำลังใจ ซึมเศร้า มีแต่ความหดหู่ ดังนั้นผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 แล้ว แต่ถ้าเราตรวจพบโรคได้ไว และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ และในขณะเดียวกัน แม้จะรักษามะเร็งจนหายแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกาย สักวันคุณก็อาจจะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกได้ ใครจะไปรู้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.