Home Blog Page 33

ต้นว่านพญาท้าวเอว แก้อาการโลหิตเป็นพิษ

ต้นว่านพญาท้าวเอว
ต้นว่านพญาท้าวเอว แก้อาการโลหิตเป็นพิษ เป็นพรรณไม้ประเภทไม้พุ่มที่พาดพันไปบนต้นไม้ ออกดอกเป็นช่อสีขาว และดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นพวงรูปทรงกลม
ต้นว่านพญาท้าวเอว
เป็นพรรณไม้ประเภทไม้พุ่มที่พาดพันไปบนต้นไม้ ออกดอกเป็นช่อสีขาว และดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นพวงรูปทรงกลม

ว่านพญาท้าวเอว

ว่านพญาท้าวเอวเป็นไม้ป่าของประเทศไทย[1] จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros bispinosus (Griff.) Tirveng. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Randia bispinosa (Griff.) Craib) ชื่ออื่น ๆ พญาท้าวเอว (ภาคตะวันตกเฉียงใต้), ขบเขี้ยว สลักเขี้ยว (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นว่านพญาท้าวเอว

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทไม้พุ่มที่พาดพันไปบนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ
    – ลำต้นจะมีหนามแหลมโค้งขึ้นทั่วลำต้น เมื่อต้นแก่แล้วหนามจะโค้งไปหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกกับตัวลำต้นไว้
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบมีเส้นแขนงใบอยู่ที่ประมาณ 6-9 คู่ และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
    – แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอกอยู่ภายใน
    – กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มีสีเป็นสีขาว และดอกมีกลิ่นหอม [1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสด ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปทรงกลม โดยจะออกผลในลักษณะที่เป็นพวง ๆ [1]

สรรพคุณของต้นว่านพญาท้าวเอว

1. ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำลำต้นพญาท้าวเอวมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)[1]
2. ลำต้นนำมาฝนผสมกับเหล้าใช้สำหรับทารักษาแผลในปาก (ลำต้น)[1]
3. ลำต้นนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใสใช้สำหรับทานเป็นยาแก้งูสวัด และโรคไฟลามทุ่ง (ลำต้น)[1]
4. ตำรับยาพื้นบ้านจะนำลำต้นมาฝนผสมกับน้ำปูนใสใช้ทานเป็นยาแก้อาการท้องเดิน (ลำต้น)[1]
5. นำน้ำมะนาวหรือน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย จากนั้นนำเอามาฝนเข้าด้วยกันกับน้ำกระสาย แล้วเอาไปปิดบริเวณที่เป็นแผล โดยจะออกฤทธิ์แก้พิษจากสัตว์กัดต่อย และขบได้ (ลำต้น)[2]
6. นำเอามาฝนผสมกับน้ำเหล้าที่เป็นกระสาย จากนั้นนำมาทาบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันจากโรครำมะนาดได้ (ลำต้น)[2]
7. ในบางข้อมูลระบุเอาไว้ว่าให้นำต้นไปแช่ในน้ำให้เปียกชุ่มก่อน จะทำให้ตัวยาของไม้ซึมออกมาได้ จากนั้นจึงค่อยนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยไม่นานนักอาการปวดเมื่อยก็จะหายไป

ประโยชน์ของต้นว่านพญาท้าวเอว

1. ในด้านของความเชื่อเป็นไม้มงคล โดยถือกันว่าเป็นว่านเมตตามหานิยมทางแคล้วคลาด ทางเขี้ยวงา ฯลฯ มีไว้สำหรับใช้ป้องกันตัว เชื่อกันว่าสามารถป้องกันสัตว์ร้าย (งู ตะขาบ แมงป่อง ปลาดุกยักษ์แทง ) และอสรพิษกัดได้ รวมถึงคนที่จะมาลอบทำร้าย [3]
2. สามารถนำมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้ จะทำให้ดูสวยและแปลกตา เนื่องจากต้นมีหนามล็อกลำต้นเอาไว้อยู่

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พญาท้าวเอว”. หน้า 160.
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 20 คอลัมน์ : การรักษาพื้นบ้าน. (บุญชู ธรรมทัศนานนท์). “ว่านรักษาโรค : ว่านพญาเท้าเอวกายสิทธิ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [03 ก.ย. 2014].
3. ตลาดพระ. “ว่านพญาท้าวเอวกายสิทธิ์ ของดีจากเมืองใต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.taradpra.com. [03 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.phytoimages.siu.edu/
2.https://www.flickr.com/

ว่านสิงหโมรา เป็นยาฟอกเลือด บำรุงโลหิตในสตรี

ว่านสิงหโมรา
ว่านสิงหโมรา เป็นยาฟอกเลือด บำรุงโลหิตในสตรี เป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวก้านใบมีหนามแหลมคม ดอกออกเป็นช่อแท่งกลมและยาว ผลขนาดเล็ก เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
ว่านสิงหโมรา
เป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวก้านใบมีหนามแหลมคม ดอกออกเป็นช่อแท่งกลมและยาว ผลขนาดเล็ก เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

ว่านสิงหโมรา

ว่านสิงมโหรา เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดกลางลำต้นสั้นแตกหน่อเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวก้านใบมีหนามแหลมคมเรียงตัวเป็นวงโค้งตามก้านใบและดอกออกเป็นช่อ จัดอยู่วงศ์บอน (ARACEAE) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cyrtosperma johnstonii (N.E.Br.) N.E.Br. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Alocasia johnstonii N.E.Br.) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ผักหนามฝรั่ง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), ว่านสิงหโมรา (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น[1]

ลักษณะว่านสิงหโมรา

  • ลักษณะของต้น ลำต้นจะมีลักษณะเป็นสีชมพูอ่อน ขยายพันธุ์โดยการแยกหัว การเพาะเมล็ด จะเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี มีความชื้น ชอบแสงแดดรำไร ตอนปลูกให้กลบดินแค่พอมิดหัว ควรเพาะในกระถางให้ต้นโตพอสมควร แล้วจึงค่อยนำไปปลูกในดินโคลน ดินเลน หรือดินร่วน ๆ คลุกใบพืชผุพัง รดน้ำอย่าให้น้ำท่วมขัง มักจะพบเจอขึ้นที่ตามบริเวณลำธารที่พื้นเป็นดินโคลนเลนตามป่าดิบชื้นที่มีแสงแดดรำไร[1],[3],[4],[6]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเป็นกระจุกใกล้กับราก แทงออกจากหัวใต้ดิน ใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอกถึงรูปหัวลูกศร สามารถมีความยาวได้ถึงประมาณ 60 เซนติเมตร ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะเป็นรูปเงี่ยงลูกศร ที่ขอบใบเรียบ ท้องใบมีลักษณะเรียบ ส่วนที่หลังใบก็เรียบเช่นกัน ก้านใบมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร จะมีจุดประเป็นสีน้ำตาล สีขาว สีชมพู สีเขียว ที่ขอบก้านใบจะมีหนามทู่ ลักษณะเส้นใบของใบอ่อนจะเป็นสีชมพูสด ที่แผ่นใบจะมีแต้มสีน้ำตาลแดง มีเส้นใบเป็นสีเขียวถึงสีน้ำตาล ที่โคนใบจะเป็นพูยาว ที่กาบใบมีลักษณะเป็นรูปเรือ ที่ด้านนอกจะเป็นสีม่วงเข้ม ส่วนที่ด้านในจะเป็นสีเขียวแกมเหลือง[1],[2],[3]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อเป็นแท่งกลมและยาว จะแทงออกจากกาบใบ ส่วนใหญ่ดอกย่อยเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ใบประดับมีลักษณะคล้ายกับกาบสีน้ำตาลหุ้มไว้หนึ่งด้าน มีขนาดใหญ่[1]
  • ลักษณะของผล มีขนาดเล็ก เป็นผลสด มีเนื้อนุ่มหุ้มข้างนอกไว้ มีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมาก[1],[4]

สรรพคุณว่านสิงหโมรา

1. สามารถนำก้านใบมาปรุงเป็นยาดูดพิษ กำจัดสารพิษต่าง ๆ ในร่างกายได้ (ก้านใบ)[4]
2. มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ด้วยการปรุงเป็นยานำต้นมาหั่นละเอียด (รวมใบ ลำต้น เหง้า) มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดให้แห้งเป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน แล้วเอามาต้มกับน้ำ แล้วก็นำน้ำที่ได้มาดื่มเป็นประจำ หรือใช้ดื่มแทนน้ำเปล่า (ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่มีรายงานทางเภสัชวิทยายืนยันว่ามีฤทธิ์ดังกล่าวหรือไม่)
3. ใบ มีรสร้อน สามารถนำมาตำพอกผสมเหล้า ใช้เป็นยาพอกฝีที่ไม่เป็นหนองให้แห้งหายได้ (ใบ)[5]
4. สามารถนำก้านใบมาดองกับเหล้าใช้ทานเป็นยาแก้โรคอยู่ไฟไม่ได้ หรือโดนเลือดลมกระทำ ที่เป็นเหตุทำให้ผอมแห้งแรงถอย ให้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ก้านใบ[3], ทั้งต้น[4])
5. ดอก มีสรรพคุณที่ช่วยทำให้ประจำเดือนมาปกติ โดยนำดอกมาปิ้งกับไฟให้เหลืองแล้วนำมาดองเหล้า ทานเป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรี (ดอก)[3],[5]
6. เหง้า ก้านใบ กาบต้น สามารถช่วยในการย่อยอาหารได้ (เหง้า,ก้านใบ,กาบต้น)[3]
7. ก้านใบสามารถช่วยบำรุงกำลังได้ (ก้านใบ)[4]
8. ต้นกับใบของต้น มีรสร้อน สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะได้ (ต้น, ใบ)[4]
9. นำก้านใบมาหั่นชิ้นเล็กมาดองกับเหล้า สามารถทานเป็นยาช่วยฟอกเลือดบำรุงโลหิต ช่วยเจริญอาหารได้ เหมาะกับสตรี ให้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ก้านใบ)[1],[2],[3] ยังสามารถใช้ส่วนของเหง้า กาบต้น ทั้งต้นมาดองกับเหล้าทาน จะมีสรรพคุณที่บำรุงโลหิตได้ (เหง้า,กาบต้น,ทั้งต้น)[3],[4],[5]
10. ก้านใบสามารถช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อได้ (ก้านใบ)[4]
11. เหง้า มีรสร้อน สามารถนำมาฝนกับน้ำหรือนำมาฝนกับเหล้า ใช้ปิดปากแผลที่โดนแมงป่อง ตะขาบกัดต่อย สามารถบรรเทาอาการปวดได้ (เหง้า)[3],[4]
12. สามารถนำช่อดอกมาปิ้งไฟดองกับเหล้า ทานเป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวารได้ (ช่อดอก)[1],[2]
13. ต้นกับใบ มีรสร้อน มีสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษามดลูกสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรใหม่ได้ (ต้นและใบ)[4]
14. ทั้งต้นจะมีรสร้อน สามารถนำมาดองกับเหล้าใช้ดื่มเป็นยาช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีได้ (เหง้า,ก้านใบ,กาบต้น,ทั้งต้น)[3],[4]
15. ต้นกับใบสามารถใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียนบ่อย หน้ามืด ซูบซีดได้ โดยนำต้นกับใบมาหั่นชิ้นบางผสมมะตูมอ่อน กล้วยน้ำว้าห่าม แล้วเอามาดองกับเหล้าเป็นเวลา 15 วัน หรือจะบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา เช้าเย็น (ต้น, ใบ)[4]
16. สามารถนำทั้งต้นมาดองกับเหล้าใช้ทานเป็นยาช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (ทั้งต้น)[4],[5]
17. ก้านใบ ต้น ใบ สามารถช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ (ก้านใบ,ต้น, ใบ)[4]

ประโยชน์ว่านสิงหโมรา

  • เชื่อกันว่ามีอานุภาพด้านป้องกันภูตผีปีศาจ และเชื่อว่าเป็นว่านที่คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติไม่ให้เข้ามา นิยมปลูกตามริมคลอง หน้าบ้าน ที่พักอาศัย เมื่อว่านออกดอกให้หาผ้าขาวบริสุทธิ์มาผูกไว้รอบกระถาง ให้ดีควรปลูกวันอังคารหรือวันพฤหัสบดีข้างขึ้น ให้รดน้ำด้วยน้ำที่เสกด้วยคาถา อิติปิโสฯ หรือ นะโมพุทธายะ 3 จบตลอด ผู้ปลูกจะสมใจปองในสิ่งที่พึงประสงค์เอาไว้ (สามารถใช้หนามเป็นเครื่องกันภูตผีปีศาจได้)[6]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เมื่อเจ็บไข้ก็สามารถนำมาทำเป็นยาได้[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. อภัยภูเบศรสาร ฉบับที่ 40 ประจำเดือนตุลาคม 2549. “สิงหโมรา”. หน้า 3.
2. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ว่านสิงหโมรา” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [13 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สิงหโมรา (Singha Mora)”. หน้า 304.
4. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่านสิงหะโมรา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [13 มิ.ย. 2014].
5. สมุนไพรดอทคอม. “สิงหโมรา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [13 มิ.ย. 2014].
6. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “
สิงหโมรา”. หน้า 98.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://davesgarden.com/

ว่านสี่ทิศ ช่วยรักษาฝีประเภทต่าง ๆ

ว่านสี่ทิศ
ว่านสี่ทิศ ช่วยรักษาฝีประเภทต่าง ๆ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุสั้นดอกพุ่ม หัวคล้ายหัวหอมใหญ่ ใบคล้ายกับรูปหอกเรียวยาว ดอกคล้ายกับรูปถ้วยออกเป็นช่อหันไป 4 ทิศ
ว่านสี่ทิศ
เป็นพรรณไม้ที่มีอายุสั้นดอกพุ่ม หัวคล้ายหัวหอมใหญ่ ใบคล้ายกับรูปหอกเรียวยาว ดอกคล้ายกับรูปถ้วยออกเป็นช่อหันไป 4 ทิศ

ว่านสี่ทิศ

ว่านสี่ทิศ จัดเป็นพรรณไม้ที่มีอายุสั้นที่ต้องการน้ำกับความชื้นปานกลาง เมื่อปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีโพแทสเซียม เนื่องจากจะช่วยบำรุงหัวให้โตได้ เวลาดอกโรยจะรดน้ำเลี้ยงต่อ ให้หัวสะสมอาหารไว้ถึงต้นฤดูหนาว ไม้หัวมักพักตัวซึ่งควรงดให้น้ำช่วงฤดูนี้ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Hippeastrum johnsonii Bury อยู่วงศ์ AMARYLLIDACEAE

ลักษณะว่านสี่ทิศ

  • ลักษณะของต้น จัดเป็นไม้ดอกพุ่ม มีความสูงประมาณ 35-60 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ในดิน ที่โผล่ขึ้นจะเป็นส่วนก้านกับใบ หัวคล้ายหัวหอมใหญ่
  • ลักษณะของใบ ใบคล้ายกับรูปหอกเรียวยาว เป็นสีเขียวสดและมัน ใบมีลักษณะค่อนข้างหนา ที่ขอบใบจะเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่บริเวณปลายก้านประมาณ 4-8 ดอก หันไป 4 ทิศ ดอกมีลักษณะคล้ายกับรูปถ้วย ดอกมีขนาดประมาณ 8-15 เซนติเมตร มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ ดอกมีอยู่ 3 สี คือ สีขาว สีแดง สีชมพู ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหัวในทรายหรือดินปลูก แล้วก็กลบดินตื้นเพียงคอหัว

สรรพคุณว่านสี่ทิศ

  • สามารถช่วยรักษาฝีประเภทต่าง ๆ ได้ อย่างเช่น ฝีหัวเดือย ฝีประคำร้อย ฝีมะม่วง ฝีมะตอย ลำมะลอก โดยนำหัวมาโขลกผสมเหล้าโรง 40 ดีกรี ใช้พอกตรงบริเวณที่เป็นฝี
  • แก้อาการกระสับกระส่าย ขับลม ขับปัสสาวะ

ประโยชน์ว่านสี่ทิศ

  • ตามความเชื่อจะเปรียบเหมือนต้นไม้เสี่ยงทาย ถ้าปลูกให้ออกดอกทั้งสี่ดอกพร้อมกันได้ เชื่อกันว่าทำให้ผู้ปลูกต้นมีโชคมีลาภ ช่วงที่กำลังออกดอกทั้งสี่ ผู้ปลูกกำลังคิดอะไรก็จะประสบความสำเร็จ สมดั่งคาดหมาย ถ้าหากออกดอกไม่ครบสี่ดอกหรือออกแค่ 2-3 ดอก จะเหมือนเป็นลางบอกเหตุว่ามีสิ่งไม่ดีเกิดกับผู้ปลูก ดวงชะตาตก
  • สามารถใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ และการขึ้นบ้านใหม่คนไทยนิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน จะปลูกไว้ที่ทางทิศเหนือ เชื่อว่าช่วยเสริมดวงให้ช่วยปกป้องคุ้มครองภัย เจริญก้าวหน้า มีวาสนาบารมี
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์เดอะแดนดอตคอม, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิงรูปจาก
1.https://ravallirepublic.com/
2.https://www.gardenia.net/

ต้นสกุณี สรรพคุณใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้

ต้นสกุณี
ต้นสกุณี สรรพคุณใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้ เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบกลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อเชิงลดมีขนขึ้นปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง มีกลิ่นที่เหม็น ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อน
ต้นสกุณี
เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบกลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อเชิงลดมีขนขึ้นปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง มีกลิ่นที่เหม็น ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อน

สกุณี

ต้นสกุณี เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ขึ้นได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงแถบฟิลิปปินส์และนิวกินี ประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ เจริญเติบโตในพื้นที่ระดับต่ำที่มีความสูงไม่เกิน 200 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2],[3],[4] เจริญเติบโตได้ดีในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ชื่อสามัญ Philippine almond, Yellow terminalia[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia calamansanay Rolfe จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[2],[4] ชื่ออื่น ๆ แหนแดง (ภาคเหนือ), ประคำขี้ควาย (ภาคใต้), ตาโหลน (จังหวัดสตูล), แฮ้น (จังหวัดนครสวรรค์และชุมพร), สัตคุณี (จังหวัดราชบุรี), ตีนนก (จังหวัดจันทบุรีและตราด), ขี้มอด (จังหวัดนครปฐม), เปียแคร้ (เขมร-จันทบุรี) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นสกุณี

  • ต้น
    – จัดให้เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางจนถึงไปขนาดใหญ่
    – ต้นมีความสูง: ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 8-30 เมตร
    – ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น โดยจะแผ่กิ่งเป็นวงกว้างแบนและมักจะมีพูพอนขนาดเล็กที่โคนต้น
    – เปลือกต้นภายนอกมีสีน้ำตาลอมเทา และมีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว ส่วนเปลือกต้นด้านในจะเป็นสีน้ำตาล
    – กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุมหรือบางกิ่งอาจจะไม่มีขน และต้นจะทิ้งใบในช่วงเวลาสั้น ๆ
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนและการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับกันที่บริเวณตามข้อต้นอัดเรียงกันแน่นใกล้กับปลายกิ่ง
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบสอบแคบ
    – แผ่นใบมีผิวค่อนข้างหนาคล้ายกับแผ่นหนัง มีขนนุ่มขึ้นปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน หลังใบด้านบนมีผิวเป็นมันเงาและมีตุ่มขนาดเล็กขึ้นอยู่บนผิวใบ ส่วนท้องใบด้านล่างผิวนวลมีสีน้ำตาลเทา
    – เส้นกลางใบจะนูนขึ้นด้านบน ใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น โค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ ส่วนเส้นใบย่อยนั้นจะเป็นแบบขั้นบันได และมักจะมีต่อมหนึ่งคู่อยู่บริเวณที่ตรงกึ่งกลางก้านใบหรือบริเวณที่ใกล้กับโคนใบ
    – ก่อนที่ใบจะร่วงหล่นจากต้นจนหมด ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง[1],[2],[4]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-8 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 9-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบเรียวมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-4 เซนติเมตร และต่อมมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นแกนช่อตามบริเวณที่ซอกใบและที่ปลายยอด โดยดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2],[3],[4]
    – ช่อดอกเป็นลักษณะแบบช่อเชิงลด และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ด้วย มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-16 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง ดอกมีกลิ่นที่เหม็น ไม่มีกลีบดอก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงที่โคนจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ รูปร่างของกลีบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ด้านในมีขนยาวขึ้นอยู่ประปราย ปลายกลีบโค้งเข้าหาแกนกลาง ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร ไม่มีสันตามยาว
    – ดอกเพศผู้จะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายช่อ มีใบประดับรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร โดยใบประดับนี้สามารถหลุดร่วงได้ง่าย ภายในดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีอับเรณูติดอยู่ จานฐานดอกมีลักษณะแยกเป็นแฉก
    – รังไข่จะอยู่ใต้วงกลีบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปพีระมิด มี 1 ช่อง ภายในมีออวุล 2-3 เม็ด จานฐานรองดอกรวมรังไข่ มีความยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และก้านเกสรเพศเมียมีขนขึ้นปกคลุม มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร
  • ผล
    – ผลลักษณะรูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผล  ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อนขึ้นปกคลุมอยู่รอบนอก และผลแห้งจะไม่แตก
    – ผลจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-8 เซนติเมตร (ขนาดของผลนั้นอาจแตกต่างกันได้)
    – ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด และจะติดผลในช่วงเดือนธันวาคมถึงช่วงเดือนเมษายน[1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นสกุณี

1. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้ (เปลือกต้น)[1]
2. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาบำรุงหัวใจได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
3. ตำรายาของไทยจะนำเปลือกต้นใช้ทำเป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)[1],[2]
4. เปลือกต้นนำมาใช้ผสมกับรากต้นรักดอกขาว นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ตานซางในเด็ก (เปลือกต้น)[1]

ประโยชน์ของต้นสกุณี

เนื้อไม้ ไม่ค่อยทนทานมากนัก แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้สร้างทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ หรือนำมาใช้ในการก่อสร้างภายในตัวอาคารหรือในพื้นที่ร่มที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก[3],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารในกลุ่ม ellagitannins ที่แยกมาจากต้น (Terminalia calamansanai (Blanco) Rolfe) ได้แก่ 1-α-O -galloylpunicalagin, 2-O -galloylpunicalin, punicalagin, sanguiin H-4 ความเข้มข้น 100 ไมโครโมล เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็ง HL-60 ได้ผลลัพธ์พบว่าสารที่สกัดมาจากต้นมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 65.2, 74.8, 42.2, และ 38.0 ไมโครโมล ตามลำดับ และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งในรูปแบบ apoptosis โดยสารเหล่านี้จะเข้ามาทำให้เกิดการแตกหักของ DNA (DNA fragmentation) และเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase 3 แต่จะไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ แสดงว่าสาร ellagitannins ในต้นอาจนำมาพัฒนาเป็นยาป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้[5]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “ส กุ ณี”.  หน้า 172.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ส กุ ณี”.  หน้า 739-740.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ส กุ ณี”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [22 ต.ค. 2014].
4. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สกุณี”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [22 ต.ค. 2014].
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งของสาร ellagitannins จากต้นสกุณี”.  เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th.  [22 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.plantsofasia.com/

สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี

สนสามใบ
สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี ใบออกเป็นกระจุก ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม
สนสามใบ
ใบออกเป็นกระจุก3 ใบ ใบเล็กยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม

สนสามใบ

ต้นสนสามใบ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นสูงประมาณ 10-30 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 30-40 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียถึงอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มักจะพบขึ้นเป็นกลุ่ม ตามบนเขา ตามเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000-1,600 เมตร สำหรับประเทศไทยสามารถเจอพบได้เป็นกลุ่มที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ที่ตามป่าสนเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,600 เมตร[3],[4] ชื่อสามัญ Khasiya Pine[7] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon อยู่วงศ์สนเขา (PINACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สนเขา (ภาคกลาง), เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), แปกลม (จังหวัดชัยภูมิ), เชียงบั้ง (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เกี๊ยเปลือกบาง (จังหวัดเชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), แปก (ฉานแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเพชรบูรณ์) [1],[2],[4]

ลักษณะสนสามใบ

  • ลำต้น มีลักษณะเปลาตรง เรือนยอดจะแตกเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น เป็นรูปตาข่าย เป็นสีน้ำตาลแกมชมพู ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนปนทราย[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ จะออกเป็นกระจุก มีกระจุกละ 3 ใบ ใบเล็กยาวเรียว เป็นรูปเข็ม ใบจะออกเรียงสลับ ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก จะออกดอกใกล้ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีลักษณะเป็นเดี่ยวหรือจะออกไม่เกิน 3 ดอก ออกดอกที่ตามกิ่ง[1],[3] ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[3]
  • ลักษณะของผล ผลเป็นโคน เป็นก้อนแข็ง ที่ปลายจะสอบ ส่วนที่โคนจะป้อม กว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผลแก่จะแยกเป็นกลีบแข็ง ที่โคนกลีบจะติดกับแกนกลางผล มีเมล็ดรูปรีอยู่ในผล และมีครีบบางอยู่ในผลด้วย ครีบมีความยาวกว่าเมล็ดถึงสี่เท่า ก้านผลมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร[1],[2],[3] ติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม[3]

สรรพคุณสนสามใบ

1. น้ำมันสนจะมีรสเผ็ดร้อน สามารถนำมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบบวม และเคล็ดขัดยอกได้ (น้ำมันสน)[5],[6]
2. ยาง ผสมกับยาสามารถใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยได้ (ยาง)[4]
3. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (แก่น)[2]
4. นำน้ำมันสนสามารถใบมาหยดในน้ำร้อนใช้ประคบท้องช่วยแก้มดลูกอักเสบ แก้ท้องบวม แก้ลำไส้พิการได้ (น้ำมันสน)[6]
5. ในตำรายาไทยนำแก่นของต้นต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องเดิน แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วงได้ (แก่น)[2],[5]
6. แก่นสามารถช่วยแก้เสมหะได้ (แก่น)[5]
7. แก่น ต้มหรือฝนใช้ทานเป็นยาแก้ไข้ได้ (แก่น)[5]
8. ชัน สามารถใช้เป็นยาปิดธาตุได้ (ชันสน)[5],[6]
9. ชาวเขาเผ่าแม้วนำแก่น ผสมใบสับปะรด ก้านและใบขี้เหล็กอเมริกัน ใบคว่ำตายหงายเป็น มาต้มอบไอน้ำ สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังสำหรับคนที่ติดฝิ่นได้ (แก่น)[2]
10. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงไขกระดูก บำรุงไขข้อได้ (แก่น)[5]
11. ยาง มีสรรพคุณที่เป็นยาสมานแผล (ยาง)[5]
12. สามารถนำเปลือกต้นกับใบ มาต้มกับน้ำใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันตามผิวหนังที่ตามร่างกายได้ (ใบ, เปลือก)[1]
13. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ชันสน)[5],[6]
14. แก่นต้น ช่วยกระจายลมได้ (แก่น)[5]
15. แก่นต้น ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ (แก่น)[5]
16. กระพี้จะมีรสขมเผ็ดและมัน สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาตได้ (กระพี้)[4]
17. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยาแก้เหงือกบวม (แก่น)[2]
18. แก่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)[5]
19. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาระงับประสาท แก้ฟุ้งซ่าน (แก่น)[5],[6]

ประโยชน์สนสามใบ

1. สามารถใช้ชันสนผสมกับยารักษาโรค หรือใช้ทำน้ำมันวานิช กาว ยางสังเคราะห์กระดาษ หรือจะใช้ถูคันชักเครื่องดนตรีบางชนิด อย่างเช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง และสามารถใช้ทำน้ำมันชักเงา สีย้อมผ้าได้ ชันที่กลั่นจากน้ำมันสนดิบสามารถใช้ย้อมสีผ้า ผ้าดอกได้ [4]
2. เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างที่อาศัยใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในร่มได้ อย่างเช่น เสากระโดงเรือ ลังไว้ใส่ของ เครื่องเรือน กระดานดำ รอด ทำฝา โต๊ะ ทำเชื้อเพลิง จุดไฟ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ไม้บุผนัง ตู้ ตง พื้น เตียง และเนื้อไม้มีคุณสมบัติที่เหมาะใช้เยื่อหรือทำกระดาษ [3],[4]
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี [4]
4. มีประโยชน์เชิงอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
5. ยางสามารถนำมากลั่นทำเป็นน้ำมัน ชันสน น้ำมันผสมกับยาสามารถใช้ทำการบูรเทียม น้ำมันชักเงา ทำบู่ ใช้ผสมสีได้ [3],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดได้จากกิ่ง จะมีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยจะมีศักยภาพที่ทำให้เซลล์มะเร็งสลายตัวจากการทำลายตัวเองจากด้านใน กระบวนการนี้เป็นผลดีมากกับการรักษาโรคมะเร็ง เพราะมีเพียงเซลล์มะเร็งอย่างเดียวที่ตาย จะไม่มีผลกับการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง ทำให้ร่างกายไม่เกิดอาการอักเสบขึ้น ไม่มีผลข้างเคียงจากยา (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร หัวหน้าทีมวิจัย) (กิ่ง)[9]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สน สาม ใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [05 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. (สมพร ณ นคร). “สน สาม ใบ”.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “สน สาม ใบ”. หน้า 139.
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สนสามใบ”. อ้างอิงใน: . หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [05 มิ.ย. 2014].
5. ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร). “แสงซินโครตรอนยืนยัน ติ้วขน-สนสามใบ ทำเซลล์มะเร็งทำลายตัวเองได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [05 มิ.ย. 2014].
6. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สนสามใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [05 มิ.ย. 2014].
7. “เครื่องยาไทย-น้ำกระสายยา”. (ผศ.ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร , ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, ศ.ดร.วิเชียร จีรวงส์).
8. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สนสามใบ”. หน้า 166.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://writer.dek-d.com/
2.https://www.phakhaolao.la/
3.http://rspg.mfu.ac.th/

ต้นสร้อยทองทราย ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย

สร้อยทองทราย
ต้นสร้อยทองทราย ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามริมทาง ดอกมีสีเงินมีขนขึ้นปกคลุมประปราย มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก
สร้อยทองทราย
เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามริมทาง ดอกมีสีเงินมีขนขึ้นปกคลุมประปราย มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก

สร้อยทองทราย

ต้นสร้อยทองทรายจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มักจะขึ้นอยู่ตามริมสองข้างทาง ขึ้นตามไร่สวน และตามป่าเต็งรัง มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกา[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Polycarpaea corymbosa (L.) Lam. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ไม่ระบุ  จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ CARYOPHYLLACEAE[1] ชื่ออื่น ๆ สร้อยทองทราย (ภาคกลาง), หญ้าปุยขาว (จังหวัดขอนแก่น) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นสร้อยทองทราย

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีอายุหนึ่งปีโดยประมาณ
    – ต้นมีความสูงลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-30 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตรงโคนต้นมีรอยแตกแขนง ตามลำต้นจะแตกกิ่งก้านหลากหลายสาขา และกิ่งก้านจะมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวที่มีขนาดเล็กมาก ๆ โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันหรือเรียงใบกันตรงบริเวณรอบข้อของลำต้น
    – ใบออกมาตามข้อของลำต้นรวมกันเป็นกระจุก
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปแถบ ปลายใบแหลม
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว และมีผิวที่บางแห้ง[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยดอกจะออกที่บริเวณตรงส่วนยอดของลำต้น
    – ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ
    – ดอกจะอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดอกมีสีเงิน กลีบดอกมีเนื้อผิวเบาบาง และอาจจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่บ้างเป็นประปราย
    – ดอกมีกลีบดอกอยู่ทั้งสิ้น 5 กลีบ ปลายกลีบมีรูปร่างเป็นมนหรือเว้าเป็นแอ่ง และมีกลีบรองดอกอยู่ 5 กลีบห่อหุ้มเอาไว้อยู่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน[1]
  • ผล
    – ผล เป็นผลแห้ง มีพูอยู่ 3 พู ผลมีเมล็ดอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก[1]

สรรพคุณของต้นสร้อยทองทราย

1. ทั้งต้น นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับทาภายนอกหรือนำมาใช้รับประทานเป็นยารักษาอาการเมื่อถูกงูพิษกัด [1]
2. ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ไข้ [2]
3. ตำรายาพื้นบ้านของอีสานจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ และใช้ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ทั้งต้น) [2]
1. ใบ นำมาตำใช้เป็นยาสำหรับพอกรักษาฝี แผลจากการถูกสัตว์กัด และใช้พอกแผลบรรเทาอาการอักเสบบวม [1]
2. ใบ นำมาผสมกับน้ำตาลใช้สำหรับทำเป็นยารักษาโรคดีซ่าน [1]
1. ดอก นำมาใช้ทำเป็นยาสมาน [1]
2. ดอก มีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการปวด และอาการบวมของร่างกาย [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “สร้อยทองทราย”.  หน้า 758-759.
2. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1677 คอลัมน์ : สมุนไพร : สร้อยทองทราย Polycarpaea corymbosa (L.) Lam. CARYOPHYLLACEAE. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.northqueenslandplants.com/

สะแกแสง สรรพคุณทางยาใช้รักษาบาดแผลเรื้อรัง

สะแกแสง สรรพคุณทางยาใช้รักษาบาดแผลเรื้อรัง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งใบเดี่ยว ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองมีกลิ่นหอม
สะแกแสง
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งใบเดี่ยว ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองมีกลิ่นหอม

สะแกแสง

ต้นสะแกแสง จะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นโดยทั่วไป เติบโตที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-300 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล พบได้ในประเทศไทย พม่า และแถบอินโดจีน[1],[2],[4],[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga latifolia (Hook.f. & Thomson) Finet & Gagnep. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Canangium latifolium (Hook.f. & Thomson) Pierre ex Ridl. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)[3] ชื่ออื่น ๆ เนา (ภาคเหนือ), สะแกแสง (ภาคกลาง), เก้าโป้ง งุ้นสะบันนา งุ้น สะบานงา (จังหวัดเชียงใหม่), แคแสง (จังหวัดจันทบุรี), ราบ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), แกนแซง (จังหวัดอุตรดิตถ์), เฝิง (จังหวัดเพชรบูรณ์), แตงแซง (จังหวัดขอนแก่น, ชัยภูมิ), ส้มกลีบ หำฮอก หำอาว (จังหวัดนครราชสีมา) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นสะแกแสง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินร่วนซุยที่มีความชื้นปานกลาง และเติบโตอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้เช่นกัน
    – ต้นมีความสูงลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 15-20 เมตร
    – ต้น มีเรือนยอดโปร่ง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น
    – ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกลำต้นมีผิวเรียบหรืออาจจะมีรอยแตกแบบรอยไถ เปลือกมีสีเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา ส่วนด้านในเปลือกนั้นจะมีสีเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นที่เหม็นเขียว
    – กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม และตามกิ่งก้านจะมีรอยแผลของก้านใบที่ร่วงหลุดไปแล้ว ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปมนหรือค่อนข้างกลม ปลายใบมนและมีติ่งแหลมสั้น ๆ ส่วนโคนใบเป็นมนหรือมีรอยหยัก หรือเว้าเป็นรูปหัวใจที่ไม่ค่อยสมมาตรกัน ส่วนขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ส่วนหลังใบมีสีที่เข้มกว่าท้องใบ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย แต่บริเวณท้องใบจะมีขนปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น
    – ใบมีเส้นกลางใบหลังใบเป็นร่องและท้องใบเป็นสัน ใบมีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 8-12 คู่ ปลายเส้นไม่จรดกัน และจะผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง[1],[2],[4]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกระจุกที่บริเวณใต้โคนก้านใบ จะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2],[4],[5]
    – ดอกมีลักษณะที่ห้อยลงมา ในหนึ่งช่อมีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก
    – ดอก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว เมื่อดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลือง ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2 เซนติเมตร
    – ใบประดับมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปรี มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 7 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะติดอยู่ที่โคนก้านดอก
    – กลีบดอกมีอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปหอก และแบ่งแยกออกเป็นอีก 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบดอกด้านนอก โคนกลีบคอดเรียงกันเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบดอกจะมีขนาดเท่ากัน โดยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่นทั้งสองด้าน
    – กลีบเลี้ยงมีอยู่ด้วยกัน 3 กลีบ ลักษณะรูปร่างของกลีบเลี้ยงจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดความกว้างและความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะที่กระดกขึ้น
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเกสรเหล่านี้จะกระจุกตัวกันอยู่ที่กลางดอก
  • ผล
    – ออกผลในลักษณะที่เป็นกลุ่ม ๆ ก้านช่อผลมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 เซนติเมตร
    – มีผลย่อยอยู่ที่ประมาณ 20-25 ผล ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปกลมรี ผิวผลย่น
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ
    – ผลจะเริ่มแก่ลงหลังจากที่ดอกบานได้เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน[1],[2],[4],[5]
    สัดส่วนของผล
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-1.3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 นิ้ว
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดมีรูปร่างเป็นทรงกลมแบนเรียงซ้อนกัน

สรรพคุณของต้นสะแกแสง

1. ทั้งต้นมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษไข้ (ทั้งต้น)[3]
2. ใบมีรสเบื่อเมา จะนำมาสุมกับไฟใช้รมฆ่าพยาธิผิวหนังเรื้อรัง (ใบ)[2]
3. ตำรายาของไทยจะนำใบมาสุมกับไฟจากนั้นเอาควันมาใช้รม มีฤทธิ์ในการรักษาบาดแผลเรื้อรัง (ใบ)[3]
4. เนื้อไม้และราก นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรับประทานแก้โรคผิวหนังผื่นคัน กลากเกลื้อน โรคเรื้อน หูด และโรคน้ำเหลืองเสีย (เนื้อไม้และราก, แก่น)[2],[3]
5. เนื้อไม้และราก นำมาขูดให้เป็นฝอย จากนั้นนำมามวนรวมกับใบยาสูบ ใช้สำหรับสูบแก้โรคริดสีดวงทางจมูกได้ (เนื้อไม้และราก, แก่นและราก)[2],[3]
6. เนื้อไม้และราก มีพิษเบื่อเมาอยู่ จึงมักจะนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษทั้งปวง พิษกาฬต่าง ๆ และแก้พิษไข้เซื่องซึม (เนื้อไม้และราก)[1],[2]

ประโยชน์ของต้นสะแกแสง

1. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปภายในบ้านเรือน หรือตามอาคารได้ โดยจุดเด่นของพรรณไม้ชนิดนี้ก็คือเป็นไม้ที่เติบโตได้เร็ว และดอกมีกลิ่นหอมเย็น[5]
2. เนื้อไม้ของต้นมีสีเป็นสีเทา มีเสี้ยนตรง เนื้อไม้มีความหยาบปานกลาง ไม้เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งได้ง่าย โดยมักจะนิยมนำมาทำเป็นหีบ ของเล่นไว้สำหรับเด็ก ลังใส่ของ รองเท้าไม้ เสาเข็ม ใช้สำหรับประกอบการก่อสร้างชั่วคราว ที่อยู่อาศัย เป็นแม่แบบเทคอนกรีต ใช้ทำเป็นกระดานแม่แบบ เครื่องประดับ เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ เป็นต้น[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะแกแสง”. หน้า 763-764.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “สะ แก แสง”. หน้า 179.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. “สะแกแสง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [17 ต.ค. 2014].
4. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สะ แก แสง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [17 ต.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สะ แก แสง”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [17 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/

สะอึกดอกขาว สรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ

สะอึกดอกขาว สรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อย ออกดอกเป็นช่อ สีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว กลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม
สะอึกดอกขาว
เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อย ออกดอกเป็นช่อ สีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว กลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม

สะอึกดอกขาว

สะอึกดอกขาว Ipomoea sagittifolia เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ถิ่นกำเนิดของสะอึกสายพันธุ์นี้พบได้ในแถบแอฟริกาเขตร้อน เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนและเติบโตในชีวนิเวศเขตร้อนที่แห้งแล้ง ซึ่งพืชสมุนไพรชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของสะอึก พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ : Ipomoea sagittifolia ไม่ระบุชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea maxima Don ex Sweet ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์: ไม่ระบุ จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

หมายเหตุ
ต้นสะอึกสายพันธุ์นี้เป็นคนละสายพันธุ์กับสะอึกเกล็ดหอย (Merremia emarginata (Burm. f.) Hallier f.), เถาสะอึก (Merremia hederacea (Burm. f.) Hallier f.) และโตงวะ (Ipomoea obscura (L.) Ker Gawl.) เพียงแต่บางท้องถิ่นมีชื่อเรียกเฉพาะท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “สะอึก“

ลักษณะของต้นสะอึก

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก
    – เถามีความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร
    – ลำต้นมีการเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือเลื้อยนอนทอดไปตามพื้นดิน ตามลำต้นหรือลำเถาจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ ขนมีลักษณะค่อนข้างแข็ง และรากมีลักษณะแข็ง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และต้นสะอึกจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย เช่น แถวชายทะเลหรือตามชายหาด[1]
  • ใบ
    – ใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน
    – ใบจะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบไร้ขนและมักจะมีสีม่วงหรือจุดเล็ก ๆ สีม่วง
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-3 นิ้ว
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกดอกบริเวณตามง่ามใบ
    – ภายในช่อหนึ่งช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก หรือบางดอกอาจมีมากกว่านี้
    – ลักษณะรูปร่างของดอกจะเป็นรูปแตร มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก
    – ดอกมีสีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว ส่วนตรงกลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม[1]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงวงกลม แบน ผิวผลเกลี้ยงเกลาไม่มีขน และแบ่งออกเป็น 2 ช่อง
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด ผิวเมล็ดมีขนสั้นสีเทาหรือสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1]

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสะอึก

  • ใบของต้นสะอึกนำมาตำผสมกับเมล็ดของต้นเทียนแดง (Nigella sativa Linn.) ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอก มีฤทธิ์แก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[1]
  • ยอดอ่อนของต้นสะอึกสามารถนำมารับประทานได้ [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะอึก”. หน้า 767-768.
2. ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะอึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:269715-1

สังกรณีดง พืชสมุนไพรดอกสีขาวแก้อาการจุกเสียดท้อง

สังกรณีดง พืชสมุนไพรดอกสีขาวแก้อาการจุกเสียดท้อง ไม้ล้มลุกมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น ดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย
สังกรณีดง
ไม้ล้มลุกมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น ดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย

สังกรณีดง

ไม้ล้มลุกทอดนอน ลำต้นตั้งตรง เป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidagathis fasciculata (Retz.) Nees ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ruellia fasciculata Retz. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1]

ลักษณะของต้นสังกรณีดง

  • ต้น
    – ถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร[1]
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก
    – แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกบริเวณตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – กลีบดอกมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย
    – ดอก มีใบประดับเป็นรูปไข่ มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-12 มิลลิเมตร[1]
  • ผล
    – รูปร่างของผลเป็นรูปทรงขอบขนานแคบ ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง และผลสามารถแตกได้ [1]

สรรพคุณต้นสังกรณีดง

  • นำทั้งต้นมาผสมกับสมุนไพรชนิด ๆ อื่น ได้แก่ ต้นหรือรากของต้นหนาดคำ ต้นตรีชวาทั้งต้น ต้นหรือรากของต้นผักอีหลืน และหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำวัตถุดิบทั้งหมดมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)[1]
  • ตำรายาพื้นบ้านของทางล้านนาจะนำรากจำนวน 3 ราก มาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการจุกเสียดท้อง (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สังกรณีดง”. หน้า 143.

ต้นสายหยุด ใช้ดอกสดเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

ต้นสายหยุด
สายหยุด ใช้ดอกสดเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวสีเหลืองถึงส้มอ่อนมีกลิ่นหอม ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด
สายหยุด
เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวสีเหลืองถึงส้มอ่อนมีกลิ่นหอม ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด

ต้นสายหยุด

ต้นสายหยุด Desmos, Chinese Desmos เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยทรงพุ่ม กิ่งก้านและเนื้อกิ่งก้านแข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้สูงถึง 4 เมตร ใบสีเขียวชอุ่มตลอดทั้งปีดอกสีเหลืองอมเขียวลักษณะคล้ายกับดอกกระดังงา จะมีถิ่นกำเนิดที่ทางประเทศจีนตอนใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และลงจนถึงแหลมมลายู รวมถึงในประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นกระจายทั่วประเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Desmos chinensis Lour. อยู่วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เสลาเพชร (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เครือเขาแกลบ (จังหวัดเลย), สาวหยุด (ภาคกลาง, ภาคใต้), กล้วยเครือ (จังหวัดสระบุรี)

ลักษณะของต้นสายหยุด

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเถามีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ที่ตามกิ่งอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาลขึ้นหนา จะมีรูระบายอากาศอยู่ ถ้ากิ่งแก่เกลี้ยงจะเป็นสีดำ มีช่องอากาศเยอะ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด การตอนกิ่ง สามารถใช้ดินทั่วไปปลูกได้ จะเติบโตได้ดีในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ เก็บความชื้นดี และน้ำท่วมไม่ถึง ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน สามารถเจอได้ที่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 600 เมตร[1],[2],[3],[4]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะเรียวและแหลมหรืออาจเป็นติ่งแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนหรือจะเว้านิดหน่อย ขอบใบจะเรียบหรือจะเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร หลังใบมีลักษณะเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน ท้องใบมีลักษณะเรียบและเป็นสีเขียวนวล เนื้อใบบางเหนียว จะมีขนขึ้นกระจายอยู่ทั้งหลังใบและท้องใบ จะเจอเยอะที่ใบอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ใบอ่อนจะเป็นสีแดง มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 8-10 คู่ ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ลักษณะของดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกที่ด้านล่างตรงข้ามใบ ตอนที่เริ่มเป็นสีเขียวต่อดอกจะเป็นสีเหลืองถึงส้มอ่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ แบ่งเป็นชั้น 2 ชั้น กลีบดอกชั้นนอกจะแยกกันเป็น 3 กลีบ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.3-1.8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร กลีบจะบิดและงอ ที่โคนกลีบดอกจะมีรอยคอดใกล้ฐานดอก ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ที่ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น จะมีขนนุ่มขึ้นกระจายทั้งสองด้าน มีกลีบดอกด้านในอยู่ 3 กลีบ จะเรียงจรดและแยกกัน กลีบดอกด้านในเล็กและสั้นกว่าชั้นนอก เป็นรูปหอก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ที่เหนือโคนกลีบนิดนึงมักจะคอดเว้า ขอบเรียบ จะมีขนสั้นนุ่มขึ้นอยู่ทั้งสองด้าน มีเกสรเพศผู้ประมาณ 150-240 อัน เกสรเพศผู้เป็นรูปคล้ายกับทรงกระบอก มีความยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร อับเรณูมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นสีเหลือง อาจจะมีขนขึ้นที่โคนนิดหน่อย เกสรเพศเมียจะแยกกันมีประมาณ 30-50 อัน แต่ละอันจะมี 5-7 ออวุล เป็นรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จะเป็นสีน้ำตาลหรือเหลือง มีขนขึ้นหนาที่ตามก้านเกสรเพศเมีย มีกลีบเลี้ยงเล็กเป็นสีเขียวมีลักษณะเรียงห่างกันนิดหน่อย มีอยู่ 3 กลีบ เป็นรูปค่อนข้างสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบกระดกขึ้น ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ขอบเรียบ มีขนขึ้นกระจายอยู่สองด้าน ดอกมีกลิ่นหอม บานนาน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร จะมีขนกระจายขึ้นอยู่ทั่วไป ออกดอกเยอะช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม[1],[2]
  • ลักษณะของผล ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยอยู่ประมาณ 5-35 ผล ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด จะคอดเป็นข้อระหว่างช่วงเมล็ด ได้ 7 ข้อ ผลกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นมัน ผลสดจะเป็นสีเขียว ผลสุกแล้วเป็นสีดำและเป็นมัน จะห้อยลง ก้านผลย่อยมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านช่อผลมีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร จะมีขนกระจายที่ตามก้านผล ก้านผลย่อย มีเมล็ดอยู่ในผลย่อย 1 ผล ประมาณ 2-5 เมล็ด จะมีรอยคอดที่ระหว่างเมล็ดชัด เมล็ดเป็นรูปรี รูปทรงกลม ผิวเมล็ดมีลักษณะเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาล กว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]

สรรพคุณสายหยุด

1. ในตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานนำรากมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ (ราก)[2]
2. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ท้องเดิน (ราก)[2]
3. มีการใช้ดอกสดเข้ายาหอม บำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[2],[3]
4. ราก ดอก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ (ราก,ดอก)[3]
5. มีการใช้ต้น ราก เข้ายาหอม หรือเข้ายาอาบอบ สามารถรักษาอาการติดยาเสพติดได้ (ต้นและราก)[1],[2]
6. รากสามารถใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ราก)[3]
7. ในตำรายาไทยจะนำราก มาใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง (ราก)[2]
8. ดอก สามารถช่วยแก้ลมวิงเวียนได้ (ดอก)[3]

ประโยชน์สายหยุด

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เหมาะกับการมาปลูกไว้ในสวนดอกไม้ ปลูกเป็นต้นเดี่ยวแต่งทรงพุ่ม ปลูกที่ริมทางเดิน ปลูกเป็นซุ้มบริเวณบ้าน หรือจะทำนั่งร้านให้ต้นเลื้อยไปปกคลุมด้านบน ปลูกง่ายและยังบำรุงง่ายอีกด้วย โตเร็ว เพาะกล้าโดยการตอนกิ่ง การใช้เมล็ด และการปักชำ ออกได้ตลอดปี ขึ้นอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ ความสมบูรณ์ของต้น มักจะออกดอกเยอะช่วงฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ดอกจะเริ่มส่งกลิ่นหอมแรงขึ้นยามพลบค่ำ มีกลิ่นหอมมากที่สุดช่วงเช้ามืด แล้วกลิ่นของดอกก็จะจะค่อย ๆ จางลงตอนกลางวัน เป็นที่มาของชื่อ [5]
  • สามารถใช้ดอกมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้[2] ด้วยการนำดอกสดมากลั่นเอาน้ำมันหอมระเหย โดยการต้มกลั่นจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.005[3] อาจใช้น้ำมันหอมระเหยในทางสุคนธบำบัด (Aromatherapy) และสามารถใช้ทำเป็นน้ำหอมสำหรับเครื่องสำอางได้ [5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในน้ำมันที่ได้จากดอกจะมีสาร Linalool เป็นสารหลัก โดยจะมีฤทธิ์ที่สามารถสงบประสาท ฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราได้[3]
  • สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากใบ จะมีฤทธิ์ที่สามารถต้านการชักในสัตว์ทดลองได้ดี และสามารถต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้อยู่บ้าง สารสกัดนี้จะมีพิษเฉียบพลันระดับปานกลาง (LD50 = 500 มก./กก.)[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “สายหยุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/essentialoils/. [12 มิ.ย. 2014].
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 266 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “สายหยุด เสน่ห์ยามเช้าของความหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [12 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สายหยุด (Sai Yud)”. หน้า 300.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สายหยุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 มิ.ย. 2014].
5. ความเหมือนที่แตกต่างแห่งพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส า ย ห ยุ ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [12 มิ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.picturethisai.com/