Home Blog Page 32

ดอกยี่หุบสีขาวนวล พืชสมุนไพรมีกลิ่นหอมน้ำมันหอมระเหย

ดอกยี่หุบ
ดอกยี่หุบสีขาวนวล พืชสมุนไพรมีกลิ่นหอมน้ำมันหอมระเหย ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ใบเดี่ยว สีเหลืองอ่อนนวล หรือเป็นสีขาวนวล กลิ่นหอม
ดอกยี่หุบ
พืชสมุนไพรมีกลิ่นหอมน้ำมันหอมระเหย ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ใบเดี่ยว สีเหลืองอ่อนนวล หรือเป็นสีขาวนวล 

ดอกยี่หุบ

ชื่อสามัญของยี่หุบ คือ Yee hoob[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของยี่หุบ คือ Magnolia coco (Lour.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Talauma coco (Lour.) Merr., Gwillimia indica Rottler ex DC., Lirianthe coco (Lour.) N.H.Xia & C.Y.Wu, Liriodendron coco Lour., Liriopsis pumila Spach ex Baill.) อยู่วงศ์จำปา (MAGNOLIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ยี่หุบน้อย (จังหวัดเชียงใหม่), ยี่หุบหนู (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) [1]

ลักษณะของต้นยี่หุบ

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือเป็นไม้ยืนที่ต้นขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร จะแตกกิ่งก้านเป็นลักษณะพุ่มแหลม เปลือกต้นมีลักษณะเกลี้ยงและเรียบ เป็นสีน้ำตาลปนเทา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอน เติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุย ทนสภาพดินที่แฉะได้ ไม่ชอบแสงแดด เหมาะกับการปลูกที่มีแสงแดดรำไร การปลูกที่พื้นที่สูง ทำให้ดอกดก ขนาดที่ใหญ่ มีกลีบดอกหนากว่า สามารถพบเจอได้เยอะในประเทศอินเดีย ยี่หุบมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศจีน บ้างก็ว่าต้นยี่หุบนั้นมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศไทย อินเดีย หมู่เกาะสุมาตรา [1],[2],[3],[4],[5]
  • ลักษณะของใบ ใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี รูปรีแกมใบหอก ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะแหลมหรือจะเป็นรูปลิ่ม ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะสีเขียวสด มีเนื้อใบที่แข็งกระด้าง ที่ด้านท้องใบจะเรียบ ส่วนที่ด้านหลังใบจะเรียบและเป็นมัน ก้านใบยี่หุบมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร [1]
  • ลักษณะของดอก เป็นดอกเดี่ยว บางครั้งจะออกเป็นช่อสั้น ช่อนึงมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกที่ตามซอกใบที่ใกล้ปลายกิ่ง ดอกจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนนวล หรือเป็นสีขาวนวล ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีกลีบดอกที่ใหญ่ จะงองุ้ม แข็งและหนา ดอกจะตูมโค้งลงนิดหน่อย ดอกบานจะคล้ายกับโดม กลีบดอกมีอยู่ประมาณ 6-12 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ จะเรียงซ้อนกันประมาณ 2-4 ชั้น มีชั้นละ 3 กลีบ กลีบมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีความหนาและอวบน้ำ ร่วงง่าย จะมีกาบหุ้มหรือมีกลีบรองดอกเป็นสีขาวนวล สีเขียวนวล มีกลีบรองดอกอยู่ 3 กลีบ หนาแข็ง เมื่อบานเต็มที่มีลักษณะคล้ายกับกลีบดอกชั้นนอก ดอกมีรูปทรงกลมเหมือนผอบ ดอกมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเยอะ [1],[2],[4]
  • ลักษณะของผลยี่หุบ จะออกผลเป็นกลุ่ม ผลเป็นรูปรี ผลกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะขรุขระ เปลือกมีความหนาแข็ง ผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดสีแดงอยู่ในผล [1]

สรรพคุณ และประโยชน์ดอกยี่หุบ

  • ดอกสดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เพราะมีน้ำมันหอมระเหย (ดอก) [1]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับสวนทั่วไปได้ ดอกจะบานไม่นานแล้วก็จะหุบ ทำให้ถูกเรียกว่า ยี่หุบ [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว). กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “ยี่หุบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/pharma/. [22 พ.ค. 2014].
2. หนังสือพจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย. “ยี่หุบ”. (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ยี่หุบ (Yihup)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 255.
4. ทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “ยี่หุบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [22 พ.ค. 2014].
5. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “ยี่หุบ”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/
2.https://www.rayagarden.com/

ต้นระกำป่า สมุนไพรฝักโค้งบิดช่วยแก้กระษัย

ต้นระกำป่า
ต้นระกำป่า สมุนไพรฝักโค้งบิดช่วยแก้กระษัย ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น ผลเป็นฝักแบนคอดเป็นข้อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม
ต้นระกำป่า
ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น ผลเป็นฝักแบนคอดเป็นข้อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

ต้นระกำป่า

ต้นระกำป่า เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กฝักมีลักษณะบิดหรือโค้ง เว้าตามจำนวนเมล็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. แก่นนำมาฝนกับเหล้าใช้รับประทานเป็นยาแก้เลือดลม แก้กระษัย จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) ซึ่งถิ่นกำเนิดพบได้ตั้งแต่ประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี มักจะขึ้นตามโขดหิน หน้าผาสูงชันที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร
ชื่ออื่น ๆ มะขามแขก (จังหวัดราชบุรี), ระกำป่า (นครสวรรค์)[1]

ลักษณะของต้นระกำป่า

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร
    – แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 4-8 เมตร
    – ต้นแตกกิ่งก้านแผ่กว้างออกมาจากลำต้น
    – เปลือกของต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามขึ้นทั่วลำต้นและตามกิ่งก้าน ตรงบริเวณกิ่งมีขนขึ้นประปราย
    – ต้นเติบโตบริเวณตามซอกหินของผา ลำต้นจะมีลักษณะที่แคระแกร็น กิ่งและก้านจะแผ่ไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนต้นและเหง้าจะใหญ่แข็งแรง ยึดเกาะซอกหินได้อย่างมั่นคง[1],[2]
  • ใบ
    – ใบของต้นระกำป่าจะออกใบในลักษณะที่เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น โดยใบจะออกเรียงสลับกัน ใบมีต่อมบุ๋มตรงกลาง ตามแกนใบและระหว่างใบประกอบย่อย
    – ใบประกอบย่อยมีประมาณ 2-4 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน ส่วนใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 5-13 คู่
    – ลักษณะของใบจะมีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน ไม่สมมาตรกัน ตรงปลายใบกลมและมีติ่ง ส่วนโคนใบตัดหรือเบี้ยว
    – ใบย่อยจะเป็นแผ่นใบเกลี้ยง มีเส้นใบออกจากโคนอยู่ประมาณ 3-4 เส้น จรดกันเป็นร่างแห และใบไม่มีก้านใบ[1],[2]
    – แกนกลางใบมีความยาวอยู่ที่ 4-7 เซนติเมตร มีต่อมบุ๋มตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
    – ใบประกอบย่อยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร ใบย่อยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกแน่นเป็นจำนวนมาก โดยจะออกดอกตามซอกใบบริเวณที่ปลายยอด
    – ดอกที่อยู่ด้านนอกจะยาวกว่าดอกที่อยู่ด้านในเล็กน้อย
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น กลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ 0.3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนครุยขึ้นปกคลุม กลีบดอกมีรูปร่างเป็นรูปกรวย มีความยาวอยู่ที่ 0.7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะดอกเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ตรงขอบมีขนครุยขึ้นปกคลุม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก หลอดเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนรังไข่จะไม่มีก้าน มีผิวเกลี้ยง[1],[2]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน คอดเป็นข้อต่อเรียงต่อกัน โดยฝักจะมีลักษณะรูปร่างที่บิดหรือโค้ง ซึ่งจะเว้าไปตามจำนวนเมล็ด
    – ฝักตอนอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อฝักแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม
    – ฝักมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-20 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-13 เมล็ด
    – เมล็ด มีลักษณะรูปร่างที่แบนเกือบกลมหรือเป็นรูปไข่กลีบ เมล็ดมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นร่างแห[1],[2]

สรรพคุณของต้นระกำป่า

  • แก่น นำมาใช้ฝนกับเหล้า ใช้สำหรับรับประทานเป็นยาแก้เลือดลม และแก้กษัย (แก่น)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “ระกำป่า”.  หน้า 168.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “มะขามแขก”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [29 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://apps.lucidcentral.org/

ต้นระย่อมหลวง มีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้นอนหลับ

ต้นระย่อมหลวง มีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้นอนหลับ เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจุกเป็นรูปเข็ม กลีบดอกสีขาว ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ผลแก่สีเลือดหมูหรือสีเทาดำ มีความฉ่ำน้ำ
ต้นระย่อมหลวง
เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจุกเป็นรูปเข็ม กลีบดอกสีขาว ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ผลแก่สีเลือดหมูหรือสีเทาดำ มีความฉ่ำน้ำ

ระย่อมหลวง

ต้นระย่อมหลวง มีถิ่นกำเนิดในเขตการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างแคบ โดยสามารถพบได้ในแถบประเทศเวียดนามและกัมพูชาประเทศไทยสามารถพบกระจายได้ห่าง ๆ กันทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้ โดยจะสามารถพบได้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงประมาณ 800 เมตร จะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ชื่อวิทยาศาสตร์ Rauvolfia cambodiana Pierre ex Pit. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ระย่อม (จังหวัดตราด), นางแย้ม (จังหวัดนครราชสีมา), ขะย่อมตีนหมา ขะย่อมหลวง (ภาคเหนือ), ย่อมตีนหมา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ระย่อมใหญ่ ขะย่อมหลวง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นระย่อมหลวง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่ม
    – ต้นมีความสูง: ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 0.3-1 เมตร และอาจจะมีความสูงได้ถึง 2 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างเล็ก โดยจะเห็นได้ชัดตรงความสูงของลำต้น
    – ลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ภายในมีน้ำยางสีขาว
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงกันบริเวณรอบข้อ ข้อละ 3 ใบ
    – รูปร่างของใบจะเป็นรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมรูปใบหอก รูปวงรี หรือรูปหอกกลับ ปลายใบและโคนใบมีความเรียวแหลมหรืออาจมีรูปร่างเป็นหางยาว ส่วนปลายสุดของใบนั้นจะแหลมหรือบางใบก็จะมน
    – แผ่นใบผิวจะบาง และใบมีเส้นใบอยู่ประมาณ 12-25 คู่ [1],[2],[3]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12-30 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อกระจุก โดยจะออกดอกเดี่ยวตามซอกใบบริเวณที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงไม่มีขน และก้านดอกย่อยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.8-6.5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกจะมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะรูปร่างของกลีบจะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ปลายมน มีขนาดความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ตรงโคนกลีบดอกมีรูปร่างเป็นหลอดมีสีม่วงหรือแดง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ภายในมีขนรอบปากหลอดกลีบดอกและอีกจุดที่ใต้เกสรเพศผู้
    – เมื่อดอกยังตูมอยู่กลีบดอกจะบิดไปเป็นเกลียว ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ติดอยู่ด้านในกึ่งกลางหลอดหรือเหนือกว่าเล็กน้อย ก้านเกสรมีขนาดสั้นมาก โดยวัดความยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – อับเรณูมีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตรงปลายเป็นติ่งแหลม จานรองดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-8 มิลลิเมตร
    – รังไข่มีอยู่ 2 ช่อง แยกออกจากกัน มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร ท่อเกสรเพศเมียจะมีลักษณะเรียวเล็ก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร รวมกับปลายเกสรเพศเมีย[1],[2],[3]
  • ผล
    – ผล มีลักษณะเป็นผลแฝดแต่ไม่ติดกันเป็นผลสด ผลมีความฉ่ำน้ำมาก
    – ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปรีหรือรูปไข่ หัวและท้ายของผลแหลม
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีเลือดหมูหรือสีเทาดำ
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 5-6 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-11 มิลลิเมตร
  • เมล็ด
    – มีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน โดยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร[1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นระย่อมหลวง

1. ตำรายาพื้นบ้านจะนำรากมาทำเป็นยาสำหรับใช้แก้ไข้ (ราก)[1],[2]
2. ราก มีสารอัลคาลอยด์อยู่หลากหลายชนิด จึงนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับบำรุงประสาท [2]
3. ต้น มีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้นอนหลับ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
4. ต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ระ ย่อม หลวง”. หน้า 176.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขะย่อมหลวง”. หน้า 100-101.
3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ระ ย่อม หลวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [28 ต.ค. 2014].
4. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ระย่อมหลวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaibiodiversity.org. [28 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. http://www.epharmacognosy.com/

ต้นระย่อมใหญ่ สมุนไพรแผนโบราณช่วยลดความดันโลหิตสูง

ต้นระย่อมใหญ่
ต้นระย่อมใหญ่ สมุนไพรแผนโบราณช่วยลดความดันโลหิตสูง เป็นพันธุ์ไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกรูปเข็มสีขาว สีเหลืองแกมเขียว หรือสีแดงขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงเข้ม
ต้นระย่อมใหญ่
เป็นพันธุ์ไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกรูปเข็มสีขาว สีเหลืองแกมเขียว หรือสีแดงขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงเข้ม

ระย่อมใหญ่

ต้นระย่อมใหญ่ เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็กพบได้ตามภูเขา ป่าดิบ และป่าเต็งรังสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1600 เมตร ถิ่นกำเนิดอยู่ทั้งในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย ภูฏาน พม่า จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงฟิลิปปินส์ ซึ่งต้นจัดอยู่ในวงศ์วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE) ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Rauvolfia verticillata (Lour.) Baillon ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของสมุนไพรแผนโบราณนี้คือรากนำมาต้มเป็นยาช่วยลดความดันโลหิตสูง และใช้รากบดผสมกับมะนาวใช้เป็นยาขับพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย สมุนไพรชนิดนี้มีสารสำคัญทางเคมี เช่น อัลคาลอยด์ รีเซอร์พีน อะจามาลีน เวลโลซิมีน สเปกาทรีน เวอร์ทิซิลลาทีน ไดเพกาทรีนจากราก และสารสกัดเมทานอลจากใบมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชื่ออื่น ๆ พุดน้อย (จังหวัดลำปาง), ขะย่อมใหญ่ (จังหวัดเพชรบูรณ์), ยาแก้ฮากขม สลัก (จังหวัดเชียงใหม่), ติ๊ซิหน่อโพ (ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), จี้ปุก (ในภาคเหนือ), แฉก (ในภาคใต้), เป็นต้น

ลักษณะต้นระย่อมใหญ่

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 2-5 เมตร
    – ลำต้นที่ตั้งตรง และภายในลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงรอบข้อ ข้อละประมาณ 3-5 ใบ
    – รูปร่างของใบจะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลีบ หรือเป็นรูปหอกกลับแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมยาว ส่วนโคนใบเป็นรูปลิ่ม
    – แผ่นใบมีผิวที่ค่อนข้างบางเป็นสีเขียวอ่อน ใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 9-18 คู่ [1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12-24 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ก้านช่อมีความยาวอยู่ที่ 10 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ส่วนก้านดอกย่อยจะยาวประมาณ 3.5-7.5 เซนติเมตร
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว สีเหลืองแกมเขียว หรือสีแดงขาว ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกเข็ม หลอดกลีบมีความยาวประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร ด้านในดอกมีขนรอบปากหลอดกลีบดอกและใต้เกสรเพศผู้ กลีบดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศผู้ติดอยู่ใกล้กับปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-8 มิลลิเมตร อับเรณูมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จานรองดอกมีความยาวประมาณ 4-10 มิลลิเมตร
    – รังไข่มี 2 ช่อง แยกออกจากกัน มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 4-10 มิลลิเมตร รวมกับปลายเกสรเพศเมีย[1],[2]
  • ผล
    – ผลสด โดยจะออกผลเป็นคู่ ๆ แยกออกจากกัน
    – รูปร่างของผลเป็นรูปทรงรี มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.4 เซนติเมตร
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงเข้ม[1],[2]
  • เมล็ด
    – เมล็ดที่มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน ซึ่งมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7.5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของต้นระย่อมใหญ่

1. รากนำมาทำเป็นยารักษาโรคนิ่วได้ (ราก)[3]
2. ตำรายาพื้นบ้านของล้านนาจะนำราก มาทำเป็นยาลดความดันโลหิต (ราก)[1],[3]
3. รากนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ได้ (ราก)[1],[3]
4. รากมีฤทธิ์เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจ (ราก)[1],[3]
5. รากนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการหนาวสั่นได้ (ราก)[4]
6. ใบนำมาตำจากนั้นนำไปพอกใช้สำหรับแก้สัตว์มีพิษต่อย (ใบ)[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดจากราก มีสารอัลคาลอยด์อยู่ ซึ่งจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า สารอัลคาลอยด์นี้จะมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยขยายหลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจในสัตว์ทดลองได้[1]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ขะย่อมใหญ่”.  หน้า 184.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ระย่อมใหญ่”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [28 ต.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ขะย่อมใหญ่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  www.qsbg.org.  [28 ต.ค. 2014].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ขะย่อมใหญ่, ระย่อมน้อย”.  อ้างอิงใน :  หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., ศูนย์ข้อมูลพืช สำนักวิชาการวิจัย องค์การสวนพฤกษศาสตร์.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [28 ต.ค. 2014].

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

อ้างอิงรูปจาก
1.https://tropical.theferns.info/
2.https://indiabiodiversity.org/

ต้นลิ้นควาย ใบมีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ

ต้นลิ้นควาย
ต้นลิ้นควาย ใบมีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย ใบเดี่ยวสีเขียวผิวเนื้อใบหนา ดอกสีชมพูอมม่วง มีฝักเป็นคู่ เมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาว
ต้นลิ้นควาย
ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย ใบเดี่ยวสีเขียวผิวเนื้อใบหนา ดอกสีชมพูอมม่วง มีฝักเป็นคู่ เมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาว

ต้นลิ้นควาย

ต้นลิ้นควาย มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบพม่า คาบสมุทรอินโดจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้ของประเทศ โดยมักจะขึ้นกระจัดกระจายอยู่บนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ภายในป่าดงดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าชายเลน ตลอดจนเติบโตตามสวนผลไม้หรือตามริมแม่น้ำ[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Hoya diversifolia Blume จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ลิ้นควาย (จังหวัดสงขลา), กล้วยปิ้ง สังวาลย์พระอุมา (ภาคกลาง), ต้าง, สลิท, ย่านลิ้นควาย เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นลิ้นควาย

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย
    – ลำต้นมีความยาวอยู่ที่ 20 เมตร
    – ลำต้นจะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง
    – มีรากงอกออกมาสำหรับยึดเกาะกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ และลำต้นมีน้ำยางสีขาว
    – ชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ระยะห่างระหว่างคู่ของใบค่อนข้างจะมีระยะห่างกันประมาณ 9-20 เซนติเมตร
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบและโคนใบมีลักษณะแหลมหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ แต่ถ้า อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งขอบใบจะม้วนลง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากทางด้านล่างใบ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ผิวเนื้อใบหนา [1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-4 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-8 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-15 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม เรียงกันแบบซี่ร่ม โดยจะออกดอกที่บริเวณตามง่ามใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนมิถุนายน[1],[2]
    – ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ 4-8 เซนติเมตร ก้านช่อดอกที่มีขนาดใหญ่และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ ภายในช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 12-20 ดอก
    – ดอกจะเริ่มบานจากรอบนอกเข้าไปหาที่กลางช่อ เมื่อดอกบานออกจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 8-12 มิลลิเมตร โดยดอกจะออกที่ปลายแกนช่อเดิมได้หลายครั้ง ส่งผลทำให้แกนช่อดอกยืดยาวออกไป 2 เซนติเมตร
    – ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปกงล้อ ดอกมีสีเป็นสีขาวอมเขียว สีนวลอมชมพู สีชมพูอมม่วง หรือมีสีแดงอมชมพู ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ กลีบส่วนโคนจะเชื่อมติดกันประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบ ตรงปลายของกลีบจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบมีลักษณะแหลมม้วนลง กลีบจะมีขนสีขาวค่อนข้างนุ่มและสั้นปกคลุมอยู่
    – กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบเช่นเดียวกันกับกลีบดอก มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก
    – กึ่งกลางของดอกมีเส้าเกสรรูปแท่น ตรงด้านบนมีลักษณะเว้าเล็กน้อย ประกอบไปด้วยรยางค์ 5 แฉก เกสรเพศผู้จะอยู่ที่ใต้แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ส่วนรังไข่มี 2 อัน แยกออกจากกัน แต่ก้านเกสรเพศผู้กับเมียและยอดเกสรเพศเมียจะอยู่ติดกัน มีแผ่นบางใส ๆ ปกคลุมอยู่
  • ผล
    – ผล เป็นฝัก โดยจะออกฝักเป็นคู่ ๆ
    – ฝักมีลักษณะรูปร่างโค้งเป็นรูปเคียว มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6 นิ้ว เปลือกฝักมีผิวค่อนข้างหนา เมื่อฝักแก่ตัวแล้วจะแตกออกเป็นแนวเดียวกัน
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6 มิลลิเมตร และตรงปลายของเมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาวขึ้นปกคลุมอยู่[1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์งต้นลิ้นควาย

  • ใบ นำมาตำสำหรับพอกหรือต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบ มีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการปวดข้อได้ (ใบ)[1]
  • ต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งภายในบ้าน หรือภายในอาคารได้ เป็นต้น[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ลิ้นควาย”. หน้า 698-699.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “สลิท”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://vermonthoyas.com/
2.https://efloraofindia.com/

ต้นลีลาวดี สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน

ต้นลีลาวดี
ต้นลีลาวดี สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน เป็นไม้สลัดใบในฤดูแล้ง พุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น กิ่งเปราะหักง่าย ดอกมีสีสันสวยงามมีหลายสี กลิ่นหอม
ต้นลีลาวดี
เป็นไม้สลัดใบในฤดูแล้ง พุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น กิ่งเปราะหักง่าย ดอกมีสีสันสวยงามมีหลายสี กลิ่นหอม

ต้นลีลาวดี

ลีลาวดี หรือ ลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในวงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นพุ่มไม้ผลัดใบหรือต้นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่เม็กซิโก อเมริกากลาง และหมู่เกาะแคริบเบียน ไปจนถึงภาคใต้ของบราซิลและฟลอริดา เป็นไม้ดอกที่มีสีสันสวยงามมีหลายสี เช่น ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ  บางดอกก็มีมากกว่า 1 สี และมีกลิ่นหอม มีชื่อสามัญว่า คือ Plumeria, Frangipani, Temple tree ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คือ Plumeria spp. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ จำปา, จงป่า (กาญจนบุรี), จำปาลาว (ภาคเหนือ), จำปาขาว (ภาคอีสาน), จำปาขอม (ภาคใต้), ไม้จีน (ยะลา), มอยอ (นราธิวาส), จำไป (เขมร)

ตำนานความเชื่อของลั่นทม

ในสมัยก่อนนั้นต้นลั่นทมเป็นไม้ที่ถูกนำเข้ามาจากเขมร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ต้นขอม” เมื่อครั้งที่ไปตีนครธมจนได้รับชัยชนะ จึงได้มีการนำต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูก ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” คำว่า ลั่น แปลว่า ตีฆ้อง ลั่นฆ้อง หรือลั่นกลอง คำว่า ธม มาจากคำว่า “นครธม” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อลั่นธม และเพี้ยนจนกลายมาเป็น “ลั่นทม” ในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่ออัปมงคล เพราะคำว่า “ลั่นทม” ไปพ้องกับคำว่า “ระทม” ซึ่งแปลว่า ความทุกข์ใจ เศร้าโศก ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ก็คือ “ลีลาวดี” เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความหมายว่า “ดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามและอ่อนช้อย” ในปัจจุบันได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลาย พันธุ์ที่นิยมในการปลูกคือ “พันธุ์ขาวพวง” หรือพันธุ์ดั้งเดิม

ลักษณะของลีลาวดี

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้สลัดใบในฤดูแล้ง กิ่งที่ยังไม่แก่จะมีสีเขียวอ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ ส่วนกิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งเปราะหักง่าย เปลือกลำต้นหนาต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไปใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
  • ดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบบางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10–30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ โดยจะออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี เช่น พันะุขาวพวง ลักษณะของ ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ
  • ผล ฝักกคู่รูปยาวรี ยาวประมาณ 15 ซม. ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย บริเวณขั้วและปลายแหลม ผิวเปลือกเรียบสีเขียว ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง และสีน้ำตาลปนดำ เมื่อฝักแก่จนแห้งจะแตกเป็นสองซีก
  • เมล็ด แบนรูปรี มีปีกติดด้านหนึ่ง สามารถปลิวไปตามลมได้
  • ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งแก่ หรือเพาะเมล็ดในกรณีการผสมสายพันธุ์ชนิดใหม่

สายพันธุ์ต้นลีลาวดี

  • Belle Vista มีชื่อไทยว่า สุปราณี พิงค์ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกง่าย ดอกมีสีชมพูหวาน ขนาดดอกกลาง ๆ ไม่ใหญ่มาก ลักษณะกลีบดอกหน้านอกเป็นสีชมพูเข้มไล่อ่อน กลีบดอกด้านในเป็นสีเหลือง ส่วนลำต้นจะไม่ใหญ่มาก ความสูงไม่เกิน 1-2 เมตร
  • Puu Kahea มีชื่ออื่นอีก คือ O Sullivan และ Fiesta เกิดจากการผสมเกสรโดยธรรมชาติของพันธุ์สีแดง 2 สายพันธุ์ คือ Plumeris robra forma acuminata กับ Plumeria rubra เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มแน่น ใบรูปหอกกลับปลายเรียวแหลม แผ่นใบแข็งสีเขียวขอบแดง ก้านใบสีเขียวเหลือบแดง ดอกใหญ่กลิ่นหอมอ่อน ๆ ไม่แรงมาก
  • Madam Poni เป็นลูกผสมที่ลักษณะดอกแปลกกว่าทั่วไป ดอกต้นเดียวกันบานพร้อมกันก็ยังไม่ค่อยเหมือนกัน บางทีเรียกกันว่าค็อกสกรู (Cockscrew) หรือสตาร์ (Star) ตามลักษณะกลีบดอกที่บิดและเป็นแฉกปลายแหลม 5 แฉกคล้ายดาว ดอกมีกลิ่นหอมมาก
  • Aztec Gold เป็นพันธุ์ที่ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะคล้ายกลิ่นลูกท้อสุก ใบมีลักษณะรูปหอก ปลายแหลมสีเขียวมะกอด ก้านใบสีเขียวเหลือบแดง เมื่อตอนบานใหม่ ๆ จะเป็นสีทองเข้ม มีแถมชมพูแซมจากด้านหลัง แต่พอนานไป ขอบกลีบจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีขาว
  • Pink Pansy เป็นไม้นอกพันธุ์แท้ สีขาว-ชมพู ดอกขนาดกลาง-ใหญ่ ดอกกลม ทรงดอกเป็นรูปถ้วย ออกดอกดกตลอดทั้งปี ช่อใหญ่ มีกลิ่นหอมมาก ๆ หอมโชยแบบหอมหวาน ขนาดต้นสูงพอประมาณ ขนาด 1.5 เมตร
  • Moonlight เป็นพันธุ์สีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ก้านดอกมีความแข็งแรง ทรงต้นไม่ใหญ่มาก สามารถปลูกในพื้นที่ไม่มากได้ จัดเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยม
  • India เป็นพันธุ์สีแดง (Plumeria ruba) เป็นลูกผสมที่สวยทั้งดอกและใบ ดอกใหญ่สีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอมเหมือนผลไม้ ใบมันเงาเล็กน้อย แตกกิ่งในแนวตั้ง ช่วงกิ่งยาว
  • Kimi Moragne ในประเทศไทยเรียกว่า เกรนนี่โรรอง เป็นพันธุ์สีชมพูอมสีม่วง มีกลิ่นหอมและช่อดอกขนาดใหญ่ ประมาณ 4 นิ้ว เป็นลูกผสมระหว่าง เกสรตัวผู้ Scott Pratt กับเกสรตัวเมีย Daisy Willcox เป็นลีลาวดีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีกลิ่นหอม และมีดอกติดต้นประมาณ 8 เดือนในหนึ่งปี
  • My Valentine เป็นพันธุ์ที่มีกลีบดอกโต กลีบดอกมีขาว-ชมพู กลิ่นหอมหวานคล้ายดอกกุหลาบ
  • ขาวพวงแคระ เป็นไม้พุ่มเตี้ย ต้นสูงไม่เกิน 1.5- 2 เมตร กลีบดอกเป็นรูปรีสีขาวสะอาด ตรงกลางมีสีเหลืองสดอย่างเห็นได้ชัด ขนาดดอก 3 นิ้ว ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า 40-50 ดอก ช่อดอกตั้งขึ้นปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกันเล็กน้อย
  • พวงหยก เป็นพันธุ์ที่มีสีเหลืองอมส้มอ่อน กลีบดอกกลมใหญ่ ขอบกลีบสีแดงเข้ม หลังดอกมีสีแดง กลิ่นหอมอ่อน บานเป็นช่อ
  • เพชรพัชราภรณ์ เป็นพันธุ์ที่มีไม้สีเนื้อ หรือสีน้ำตาล มีช่อดอกแน่นเป็นกระจุก ทรงต้นคอมแพ็ค เหมาะสำหรับคนพื้นที่ไม่มากด้วย พอออกดอกแรก ๆ จะสีมีน้ำตาลอ่อน ๆ แล้วค่อยจางเป็นสีเนื้อ มีกลิ่นหอม ส่วนใบจะสีเส้นสีแดงพาดอยู่
  • เหลืองศิริมงคล เป็นพันธุ์ที่พบในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง มีสีเหลืองสด กลิ่นหอมจาง ๆ ลักษณะกลีบดอกจะเล็ก ๆ เมื่อบานแล้วมองดูคล้ายรูปดาว
  • สังวาลย์ทับทิม เป็นพันธุ์ลูกไม้ใหม่มาแรง กลีบดอกเป็นสีชมพูออกเป็นบานเย็น ฟอร์มดอกกลมมีขนาดดอกใหญ่ ช่อดอกดกพอสมควร
  • พันธุ์ขาวพวง เป็นพันธุ์โบราณดั้งเดิมที่มีในประเทศไทยแรก ๆ จะเห็นตามวังเก่า ๆ หรือวัดทั่ว ๆ ไป ออกดอกดกมาก ช่อดอกใหญ่มี 10-15 ดอก มีกลิ่นหอมเย็น ๆ

ข้อควรระวัง

  • ทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งจะเป็นพิษ
  • สารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric acid
  • หากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
  • ต้น กิ่ง มีความเปราะและหักง่าย
  • อาจจะไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่

สรรพคุณของต้นลีลาวดี

  • ราก ช่วยรักษาไข้หวัด
  • ราก ช่วยขับเหงื่อ แก้ร้อนใน
  • เปลือกราก ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • เปลือกราก ใช้เปลือกรากปรุงเป็นยารักษาโรคหนองใน
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ท้องเดิน
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้น ช่วยขับระดู
  • เปลือกต้น ช่วยรักษาโรคโกโนเรียหรือโรคหนองในแท้
  • ดอกและเปลือกต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้และไข้มาลาเรียได้
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอได้
  • ยางและแก่น ช่วยถ่ายเสมหะและโลหิต
  • ใบแห้ง ช่วยรักษาโรคหืดหอบ
  • ยางจากต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการปวดฟันได้
  • ต้น สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้าได้
  • เนื้อไม้ ยางจากต้น เปลือกราก และเปลือกต้น สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาถ่ายได้
  • ฝัก สามารถนำมาใช้ฝนเพื่อนำมาใช้ทาแก้ริดสีดวงทวารได้
  • เปลือกต้น ช่วยขับระดู
  • เนื้อไม้ ช่วยในการขับพยาธิ
  • ยางและแก่น ช่วยรักษากามโรค
  • ยางจากต้นและเปลือกราก ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ
  • ใบสด สามารถนำมาใช้ชงกับน้ำร้อนรักษาหิดได้
  • ใบสด สามารถนำมาลนไฟประคบร้อนช่วยแก้อาการปวดบวมได้
  • ยางและแก่น สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษทั้งปวงได้
  • ดอก สามารถนำมาใช้ทำธูปได้
  • ยางจากต้น สามารถนำมาใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรทำเป็นยาแก้คันได้

ประโยชน์ของต้นลีลาวดี

  • กลิ่นของดอก จะช่วยทำให้นอนหลับได้สบาย
  • มีความเชื่อที่ว่ากลิ่นของดอก ช่วยลดความรู้สึกทางเพศ ซึ่งเหมาะสำหรับนักบวชและผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามอารมณ์มากวนใจ
  • นิยมนำมาใช้ในการจัดสวนเพื่อตกแต่งภูมิทัศน์

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.plantsrescue.com/
2. https://gardenerspath.com/
3. https://www.flickr.com/

สมอดีงู สรรพคุณใช้ทำยาทารักษาโรคตะคริว

สมอดีงู
สมอดีงู สรรพคุณใช้ทำยาทารักษาโรคตะคริว พันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกเป็นช่อ ผลมีผิวเกลี้ยงไร้ขนหัวและท้ายแหลม ผลสุกสีแดงเข้ม ส่วนผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ผลมีรสชาติขมฝาด
สมอดีงู
พันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกเป็นช่อ ผลมีผิวเกลี้ยงไร้ขนหัวและท้ายแหลม ผลสุกสีแดงเข้ม ส่วนผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ผลมีรสชาติขมฝาด

สมอดีงู

สมอดีงู เป็นพรรณไม้ประเภทกลางแจ้ง โดยพรรณไม้ชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น พบขึ้นได้ในประเทศตามชายป่า โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย[1] ชื่อสามัญ Yellow myrobalan [3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia citrina Roxb. ex Fleming ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Myrobalanus citrina Gaertn., Terminalia manii King จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[3] ชื่ออื่น ๆ สมอเหลี่ยม (จังหวัดชุมพร), สมอหมึก (จังหวัดพัทลุง) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นสมอดีงู

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดกลาง
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 20-30 เมตร
    – ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 150-200 เซนติเมตร เปลือกต้นมีผิวเรียบมีสีเป็นสีน้ำตาลแกมเทา
    – ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาที่บริเวณเรือนยอดของต้นโดยจะแผ่กว้างออกไปจากตัวลำต้น โคนต้นมีลักษณะเป็นพูพอนที่มีขนาดเล็ก
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบหรือมน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีขน
    – แผ่นใบค่อนข้างหนา และผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว ใบมีต่อมขึ้นบริเวณใกล้โคนใบอยู่ 1-2 คู่ [1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-6 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-14 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกลักษณะเป็นช่อ โดยจะออกดอกบริเวณตามง่ามใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้น
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-6 เซนติเมตร และดอกไม่มีกลีบดอก
    – ลักษณะของดอกย่อยนั้น ที่โคนกลีบรองดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนที่ปลายกลีบจะแยกออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ และดอกย่อยไม่มีก้าน
    – กลีบมีอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ กลีบมีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านนอกกลีบมีผิวเกลี้ยงเกลา ส่วนด้านในจะมีขนขึ้นปกคลุม
    – ดอกมีเกสรอยู่ 10 อัน[1]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงมนรีหรือเป็นรูปกระสวย ผลมีผิวเกลี้ยงไร้ขน แต่จะมีสันตื้น ๆ อยู่ 5 สัน ด้านหัวและท้ายของผลแหลม
    – ผลสดมีสีเป็นสีแดงเข้ม ส่วนผลแห้งจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเข้ม และผลมีรสชาติขมฝาด
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร เมื่อดูจากสัดส่วนของผลคร่าว ๆ ผลจะมีขนาดเล็กและเรียว
  • เมล็ด
    – ผลจะมีเมล็ดเป็นรูปทรงรี ลักษณะผิวเมล็ดเป็นผิวขรุขระ และมีสันอยู่ 5 สัน เช่นเดียวกับผล[1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์ต้นสมอดีงู

1. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม (ผล)[1]
2. ตำรับยาสมุนไพรของล้านนา จะนำ มารวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิด อย่างละเท่า ๆ กัน โดยจะนำมาใช้ทำเป็นทั้งยาสำหรับรับประทานและยาสำหรับทารักษาโรคตะคริวที่ไม่มีไข้และไม่รู้สึกหนาว (ผล)[2]
3. ผลนำมาใช้เป็นยาถ่ายอุจจาระธาตุ (ผล มีสรรพคุณเป็นยาระบายอุจจาระที่มีฤทธิ์แรงกว่าสมุนไพรสมอไทยและสมออื่น ๆ อีกด้วย) (ผล)[1],[2]
4. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาแก้โลหิตที่เป็นพิษ แก้พิษดี และพิษเสมหะ (ผล)[1],[2]
5. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการไอ และแก้เจ็บคอได้ (ผล)[1],[2]
6. นำผลมารวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร คือ “ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง” โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาในการรักษาอาการท้องผูก (จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผล) (ผล)[2]
7. ผล มีสารในกลุ่มแทนนินที่มาก จึงนำมาใช้ทำเป็นยาฝาดสมาน ยาที่รักษาโรคเกี่ยวกับช่องท้อง และรักษาโรคท้องร่วงอย่างแรง โดยใช้ผลดิบปริมาณ 5-10 ผล นำมาทุบให้พอแตกจากนั้นนำไปต้มกับน้ำสะอาด 500 ซีซี เป็นเวลาประมาณ 10 นาที พอครบเวลาก็ให้กรองเอาแต่น้ำมาใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว (ผล)[1],[2] (บางข้อมูลระบุไว้ว่าผลดิบมีสารแทนนินที่มาก จึงสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียเรื้อรังได้อีกด้วย)
8. ผล นำมาใช้ฟอกหนังสัตว์และทำเป็นสีย้อมได้อีกด้วย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สมอดีงู”. หน้า 752-753.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สมอดีงู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [17 ต.ค. 2014].
3. MULTILINGUAL MULTISCRIPT PLANT NAME DATABASE. “Terminalia citrina (Gaertn) Roxb. ex Fleming”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.plantnames.unimelb.edu.au. [17 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/

เลือดควายใบใหญ่ สรรพคุณรักษาสิว

เลือดควายใบใหญ่
เลือดควายใบใหญ่ สรรพคุณรักษาสิว ไม้ยืนต้นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อสั้นขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ผลมีขนสีน้ำตาล เยื่อหุ้มของเมล็ดสีแดงหรือสีแดงแกมสีส้ม
เลือดควายใบใหญ่
ไม้ยืนต้นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อสั้นขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ผลมีขนสีน้ำตาล เยื่อหุ้มของเมล็ดสีแดงหรือสีแดงแกมสีส้ม

เลือดควายใบใหญ่

ต้นเลือดควายใบใหญ่ พบได้ในป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศจะสามารถพบได้ที่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย[1],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Knema furfuracea (Hook. f. & Thomson) Warb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ไม่ระบุ จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ (จังหวัดนครศรีธรรมราช), เลือดควาย (จังหวัดตรัง), จันทร์ดง (จังหวัดยะลา), สานแดง แปงู (ชาวมลายู-นราธิวาส), ลำเลือด (ชาวลั้วะ), ด่งฉาง (ชาวม้ง), ตุ๊ดไลมาม (ชาวขมุ), เดี่ยงหย้าม (เมี่ยน) [1],[2],[3]

ลักษณะต้นเลือดควายใบใหญ่

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร หรืออาจจะมากกว่า ตรงบริเวณโคนต้นมีรากค้ำยันมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 1-2 เมตร
    – ใบใหญ่มีเรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม
    – ลำต้นแผ่กิ่งก้านขนานกับพื้นดิน ตรงยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ภายในมียางสีแดง
    – เปลือกลำต้นมีสีเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของลำต้นจะมีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว เปลือกชั้นในจะมีสีเป็นสีส้ม
    – โคนของต้นมีรากค้ำยันสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณรอบโคนต้นจะมีรากลักษณะรูปร่างคล้ายกับบ่วงครึ่งวงกลมโผล่ขึ้นมา
  • ใบ
    – มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน ใบทู่ หรือมีรอยหยักเว้าเล็กน้อย ตรงบริเวณโคนใบมนหรือสอบ ใบมีเส้นแขนงประมาณ 10-12 คู่
    – แผ่นใบมีผิวที่หนา ผิวใบด้านบนจะเกลี้ยงมีสีเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนผิวใบด้านล่างหรือตรงท้องใบจะมีขุยสีขาว ๆ ปกคลุมอยู่[1],[3]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-14 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-50 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.4-2 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ บริเวณตามซอกใบด้านหลัง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงช่วงเดือนมิถุนายน[1],[3]
    – ดอกมีขนาดเล็กมีสีเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน
    – ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศ โดยดอกเพศผู้จะมีกาบที่ก้าน เป็นกาบที่มีขนาดเล็ก ส่วนดอกเพศเมียมีจุดสังเกตที่กลีบดอกด้านนอกจะมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ต่างจากกลีบดอกของเกสรเพศผู้ และภายในดอกจะมีสีแดงสด มีขนปกคลุมอยู่ภายใน
  • ผล
    – ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่ ปลายผลมน มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 3.4-4.5 เซนติเมตร
    – บริเวณผิวผลมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
    – ผลจะแก่ตัวลงในช่วงเดือนสิงหาคมถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน[1],[3]
  • เมล็ด
    – เมล็ดเดี่ยวอยู่ภายใน เยื่อหุ้มของเมล็ดมีสีเป็นสีแดงหรือสีแดงแกมสีส้ม

สรรพคุณ และประโยชน์เลือดควายใบใหญ่

1. ใบ นำมาทำเป็นยาใช้สำหรับในการรักษาสิวได้ (ใบ)[1]
2. ลำต้นและกิ่งก้าน นำเอามาใช้ทำเป็นฟืนได้[2]
3. เนื้อไม้ นิยมนำมาใช้สำหรับก่อสร้างอาคารบ้านเรือนไว้สำหรับอยู่อาศัย นำมาใช้ทำเป็นคอกหมู หรือนำมาใช้สำหรับทำหน้าไม้ เป็นต้น[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “เลือด ควาย ใบ ใหญ่”.  หน้า 171.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “เลือด ควาย ใบ ใหญ่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [26 ต.ค. 2014].
3. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “เลือด ควาย ใบ ใหญ่”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/.  [26 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.dieutri.vn/
3.https://www.inaturalist.org/

ต้นว่านผักบุ้ง สรรพคุณเป็นยารักษาโรคบิด

ต้นว่านผักบุ้ง สรรพคุณเป็นยารักษาโรคบิด เป็นไม้เถาล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ผลลักษณะแห้งแบบแคปซูล เมล็ดสามเหลี่ยมสีดำขนนุ่มละเอียดสีเทา
ต้นว่านผักบุ้ง
เป็นไม้เถาล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบสีม่วงอ่อนหรือเข้ม สีฟ้าอ่อน หรือสีฟ้าสด

ว่านผักบุ้ง

ต้นว่านผักบุ้งนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยพรรณไม้ชนิดนี้มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชหรือปลูกเป็นไม้ประดับทั่วโลก ประเทศไทยจะพบเจอกระจายอยู่ทั่วทุกภาค เติบโตในระดับความสูงประมาณ 700 เมตร มักขึ้นตามริมสองข้างทาง ตามทุ่งหญ้ากว้าง หรือตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า [1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea nil (L.) Roth จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ว่านผักบุ้ง (กรุงเทพฯ), ว่านตำเคย ว่านตาเคย (ปราจีนบุรี)[1]

ลักษณะของต้นว่านผักบุ้ง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถาล้มลุก
    – เถามีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-5 เมตร
    – ลำต้นมีลักษณะที่เลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
    – ลำต้นมีขนแข็ง ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วลำต้น
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – มีใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่ไม่มีแฉกหรืออาจจะมีแฉก โดยจะมี 3 แฉกตื้น ๆ ตรงปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบเป็นรูปหัวใจ บริเวณขอบใบเรียบหรืออาจมีรอยจักเป็น 3 แฉก
    – แผ่นใบทั้งสองด้านจะมีขนหยาบราบขึ้นปกคลุมอยู่
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-12 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-14 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-16 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะออกบริเวณตามซอกใบ
    – กลีบดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปลำโพง มีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกมีสีเป็นสีขาว ส่วนกลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงอ่อนหรือเข้ม สีฟ้าอ่อน หรือสีฟ้าสด ส่วนด้านนอกของดอกจะมีสีเป็นสีอ่อนกว่า แล้วจึงจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีแดง หรือสีม่วงอมแดง และดอกที่มีสีขาวล้วนเป็นสีที่พบเจอได้ยาก
    – ก้านดอกย่อยจะมีขนขึ้นปกคลุม มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีกลีบอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และกลีบมีขนยาวขึ้นปกคลุมที่ด้านนอกดอก
    – ก้านช่อมีความยาวประมาณ 1-7 เซนติเมตร ใบประดับมีลักษณะรูปร่างใบเป็นรูปแถบหรือเป็นรูปเส้นด้าย มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน มีความยาวที่ไม่เท่ากัน โดยเกสรเหล่านี้จะอยู่ภายในหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้มีลักษณะโค้งและมีขนขึ้นปกคลุม ตรงอับเรณูไม่บิดงอ
    – ผิวรังไข่เรียบเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นรูปเส้นด้าย โดยจะอยู่ภายในหลอดกลีบดอก ตรงบริเวณยอดเกสรมี 3 พู[1],[2]
  • ผล
    – ผลที่มีลักษณะแห้งแบบแคปซูล
    – ผลมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่หรือรูปกลม ผลมีติ่งแหลม โดยผลจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – เมล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปไข่สามเหลี่ยมสีดำ และผิวของเมล็ดจะมีขนนุ่มละเอียดสีเทาขึ้นปกคลุม โดยเมล็ดจะมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[2]

ข้อควรรู้

ดอกจะบานได้ในช่วงเวลากลางวันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่ในช่วงที่มีอากาศเย็นดอกจะบานได้นานกว่า คาดว่าดอกจะบานในตอนกลางคืนเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าตอนกลางวัน[2]

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นว่านผักบุ้ง

1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาขับปัสสาวะ และยาขับพยาธิได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง มีผลข้างเคียงทำให้สตรีที่ตั้งครรภ์แท้งบุตรได้ (ทั้งต้น)[1]
3. ทั้งต้นมีฤทธิ์ทำให้รอบเดือนของสตรีมาตามปกติ (ทั้งต้น)[1]
4. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคบิด (ทั้งต้น)[1]
5. ใบ นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน และทาตามบาดแผล จะช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้ (ใบ)[1]
6. เมล็ด นำมาใช้ทำเป็นยาบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำดี และอาการเฉื่อยชาของร่างกายได้ (เมล็ด)[1]
7. นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับไว้ตามบ้าน[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านผักบุ้ง”. หน้า 723-724. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ว่านผักบุ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [23 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://identify.plantnet.org/
2. https://bazrco.ir/

ต้นว่านเขียวหมื่นปี สรรพคุณรักษาอาการไขข้ออักเสบ

ต้นว่านเขียวหมื่นปี
ต้นว่านเขียวหมื่นปี สรรพคุณรักษาอาการไขข้ออักเสบ เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก คล้ายกับต้นอ้อย ใบเป็นสีเขียวจุดสีขาว ดอกเป็นช่อแท่งยาวและมีกาบหุ้ม ผลสีส้มหรือสีแดง
ต้นว่านเขียวหมื่นปี
เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก คล้ายกับต้นอ้อย ใบเป็นสีเขียวจุดสีขาว ดอกเป็นช่อแท่งยาวและมีกาบหุ้ม ผลสีส้มหรือสีแดง

ว่านเขียวหมื่นปี

ต้นว่านเขียวหมื่นปี จัดเป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน[1] ชื่อสามัญ Dumb cane ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia seguine (Jacq.) Schott  ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia picta Schott จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์บอน (ARACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ว่านหมื่นปี สาวน้อยประแป้ง (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ช้างเผือก ว่านพญาค่าง อ้ายใบ้ก้านขาว อ้ายใบ้ ว่านอ้ายใบ้ ว่านหมื่นปี (กรุงเทพฯ), บ้วนญี่แซ บ้วนนี้แซ (ประเทศจีน) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นว่านเขียวหมื่นปี

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 70 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายกับต้นอ้อย
    – ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง โคนต้นมีลักษณะบาง และอาจจะมีโคนต้นบางส่วนนอนราบกับพื้นดิน
    – ต้นมีน้ำยางใสอยู่ภายใน เมื่อน้ำยางใสนี้ถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบแหลมหรือกลม ส่วนขอบใบจะเรียบ
    – ใบมีสีเป็นสีเขียวล้วน ผิวใบเรียบไม่มีขน แต่บางสายพันธุ์จะมีแผ่นใบเป็นสีเขียวจุดสีขาวหรือแผ่นใบขาวมีจุดสีเขียว
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 12-20 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 35-75 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ 40 เซนติเมตร[1]
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ มีรูปร่างเป็นแท่งยาวและมีกาบหุ้ม
    – ดอกอัดแน่นกันอยู่บนแกนช่อดอก
    – กาบจะผายออก ส่วนตอนล่างของกาบจะมีลักษณะม้วนโอบช่อดอกเอาไว้
    – ดอกเพศผู้จะอยู่ช่วงบน เกสรเพศผู้จะอยู่ติดกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละประมาณ 4-5 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ช่วงล่าง และจะมีดอกที่ไม่มีเพศแซมอยู่บ้างบางส่วน[1]
  • ผล
    – ผลมีสีเป็นสีส้มหรือสีแดง
    – ผลสดจะมีเนื้อที่นุ่ม
  • เมล็ด
    – ผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมากอัดเรียงกันแน่น และมีกาบห่อหุ้มเอาไว้อยู่[1]

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นว่านเขียวหมื่นปี

1. น้ำที่คั้นได้จากต้น นำมารักษาโรคที่เกี่ยวกับไขข้ออักเสบได้ โดยจะทำให้เลือดมาหล่อเลี้ยงได้ดียิ่งขึ้น แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าโดนผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ใบนำมาบดใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกรักษาฝี (ใบ)[1]
3. ใบนำมาบดใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกรักษาอาการเคล็ด บวม ตามร่างกาย และนำมารักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)[1]
4. ปลูกเป็นไม้ประดับในสวน ในพื้นที่ร่มหรือใต้ร่มเงาไม้ หรืออาจจะนำมาปลูกเป็นไม้กระถางสำหรับตกแต่งภายในอาคาร

ข้อควรระวัง

ลำต้นและใบ จะมีผลึกรูปเข็มหัวและท้ายแหลมของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) อยู่มาก เมื่อสัมผัสโดนอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรงได้ ทำให้เกิดอาการทรมานเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเคี้ยวหรือกลืนเข้าไป บริเวณปากและลิ้นอาจจะบวมจนพูดไม่ได้ จึงมีชื่อเรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “อ้ายใบ้“[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านเขียวหมื่นปี”.  หน้า 710-711.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://houseplantcentral.com/
3.https://www.decorchamp.com/