Home Blog Page 34

สำมะงา สรรพคุณรากช่วยแก้อาการบวมตามร่างกาย

สำมะงา
สำมะงา สรรพคุณรากช่วยแก้อาการบวมตามร่างกาย ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลกลมยาว ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ
สำมะงา
ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลกลมยาว ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ

สำมะงา

ชื่อสามัญของสำมะงา คือ Seaside Clerodendron, Garden Quinine, Petit Fever Leaves [3],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสำมะงา คือ Volkameria inermis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.)[1],[4] อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE) สำมะงา มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สุ่ยหูหม่าน (จีนกลาง), โฮวหลั่งเช่า (จีน), คากี (ภาคใต้), ลำมะลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สาบแร้งสาบกา (จังหวัดภูเก็ต), สักขรีย่าน (จังหวัดชุมพร), เขี้ยวงู (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สามพันหว่า, ขู่เจี๋ยซู่ (จีนกลาง), จุยหู่มั้ว (จีน), สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สำลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สำปันงา (จังหวัดสตูล), สำมะลิงา (จังหวัดชัยภูมิ), สัมเนรา (จังหวัดระนอง) [1],[4],[5],[7]

ลักษณะของต้นสำมะงา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา เลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยว ต้นสูงได้ถึงประมาณ 1-2 เมตร จะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ กิ่งก้านมีลักษณะเป็นสีเทา สีขาวมน ๆ ออกเป็นสีน้ำตาลนิดหน่อย เปลือกลำต้นสำมะงาจะเรียบ เป็นสีขาวอมน้ำตาล ที่ตามกิ่งอ่อนจะเป็นสีเขียวอมสีม่วง จะมีขนขึ้น ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นแฉะ ต้นสำมะงาจะชอบแสงแดดเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ที่ตามชายป่าใกล้ลำห้วย ตามป่าชายหาด (ปัจจุบันเริ่มหายาก)[1],[2],[4],[6]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกันคู่ ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร พื้นใบจะมีลักษณะเป็นสีเขียว เป็นมัน ถ้าขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียวออกมา ที่หลังใบจะเรียบ ส่วนที่ท้องใบก็เรียบเช่นกัน เนื้อใบมีลักษณะบางนิ่ม มีก้านใบสีม่วงแดง มีความยาวได้ถึงประมาณ 1-2 เซนติเมตร[1],[2],[4]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบที่ปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 3-7 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะมีขนาดที่เล็กเป็นสีขาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดมีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนที่ปลายจะแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ เป็นสีขาว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียว เป็นรูปถ้วย มีเกสรเพศผู้มี ลักษณะเป็นเส้นยาวและเป็นสีม่วง มีอยู่ 5 เส้น ดอกจะร่วงกลายเป็นผล[1],[2],[4]
  • ลักษณะของผล เป็นรูปกลมยาว รูปทรงกลม เป็นรูปไข่กลับ ที่ก้นมีลักษณะตัด แบ่งเป็น 4 พู ผลมีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีเนื้อที่นิ่ม ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นมันลื่น ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ ผลเมื่อแก่จะแห้งและแตกเป็นซีก 4 ซีก มีเมล็ดอยู่ในผลแต่ละพูจะมี1 เมล็ด [1],[2],[4,[5]

สรรพคุณสำมะงา

1. ใบจะมีรสเย็นเฝื่อน ในตำรายาไทยนำใบเป็นยาทาภายนอก ด้วยการนำมาพอก ต้มกับน้ำ ใช้อาบหรือชะล้างที่ตามร่างกาย หรือจะนำไอน้ำอบมาร่างกายใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน ผดผื่นคันตามตัว แก้หัด แก้ฝี ผื่นคันมีน้ำเหลือง อีสุกอีใส ประดง (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5],[7]
2. รากสามารถช่วยรักษาไขข้ออักเสบที่เกิดจากลมชื้น แก้อาการปวดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดเอว ปวดขา (ราก)[5]
3. ใบ สามารถช่วยรักษาแผลฟกช้ำดำเขียวบวม ที่เกิดจากการถูกกระทบกระแทก เอวเคล็ด เคล็ดขัดยอก โดยนำใบสดมาตำผสมเหล้า แล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ใบ)[4],[5]
4. ราก มีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการบวมตามร่างกายบางส่วน แผลบวมเจ็บที่อันเนื่องมาจากการกระทบกระแทกได้ (ราก)[4]
5. นำใบตากแห้งมาบดเป็นผงใช้โรยบนแผล ช่วยสมานแผลสด สามารถช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[4],[5]
6. มีสรรพคุณที่เป็นยาฆ่าพยาธิได้ (ใบ)[4]
7. ราก มีรสขม เป็นยาเย็น จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับลมชื้น มีพิษ และมีกลิ่นที่เหม็น (ราก)[5]
8. ราก มีรสขม นำรากแห้ง 30-60 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ด้วยไฟอ่อน สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดได้ (ราก)[4]
9. ราก สามารถช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดประสาทที่ก้นกบได้ โดยนำรากแห้ง 30-60 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ด้วยไฟอ่อน (ราก)[4]
10. ทั้งต้นจะมีรสเย็นเฝื่อน นำมาสับเป็นชิ้นประมาณ 3-4 ชิ้น เอามาต้มกับน้ำใช้อาบหรือชะล้างแผล สามารถช่วยรักษาน้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนังพุพองได้ (ทั้งต้น)[1],[2]
11. ใบ ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยได้ โดยนำใบมาตำพอกหรือต้มกับน้ำชะล้าง หรือตากให้แห้งแล้วเอามาบดให้เป็นผงใช้ทา โรยในบริเวณที่เป็น (ใบ)[4]
13. ราก ช่วยแก้ตับโต แก้ม้ามโต แก้ตับอักเสบได้ (ราก)[4],[5]
14. ราก ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะได้ (ราก)[5]
15. ใบ มีรสขมเย็น มีพิษ สามารถใช้รักษาโรคมาลาเรียได้ (ใบ)[4]
16. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้หวัด ตัวร้อนได้ (ราก)[5]

วิธีใช้สำมะงา

  • การใช้ตาม [5] รากให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำแช่จาหรือทำยาประคบ ไม่ควรนำใบกับก้านไม่มาต้มเป็นยาทาน เพราะมีพิษ ควรใช้เป็นยาภายนอกเท่านั้น ขนาดที่ใช้ให้กะตามความเหมาะสม[5]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ที่ก้านกับใบจะมีพิษ ใบมีพิษมากกว่าราก ห้ามทานเด็ดขาด ควรใช้แบบระมัดระวัง[4],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดจากใบที่มีรสขมด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่กำลังท้อง จากการที่สกัดแยกสารจำพวก Sterols ไม่พบฮอร์โมนเพศหญิง ไม่พบฮอร์โมนเพศชาย และไม่พบต่อมเพศอื่น[4],[5]
  • ใบมีสารที่ทำให้มีรสขมและละลายน้ำได้ เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ (Alkaloids) หลายชนิด ก็คือ higher fatty alcohols, unsaponified matters, pectolinarigenin, steroids, cholesterol, 4-methylscutellarein และยังมีพวก resin, gum สารสีน้ำตาล เถาจากใบจะมีเกลือแดง (Sodium chloride) 24.01% ของเถ้าทั้งหมด [4],[5]
  • น้ำที่สกัดได้จากใบ มีฤทธิ์ที่กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกออกจากตัว และยังมีฤทธิ์ที่เพิ่มความดันโลหิตของสุนัขที่จะทำให้สลบชั่วคราว ถ้าให้ปริมาณน้อยจะมีฤทธิ์ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้[4],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สำ มะ งา”. หน้า 556.
2. สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สำ มะ งา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/49320567/. [12 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สำ มะ งา (Samma Nga)”. หน้า 302.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สำมะงา Garden Quinine”. หน้า 87.
5. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. “สํามะงา”.
6. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สํามะงา”. หน้า 782-784.
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “สํามะงา”. หน้า 182.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://plantingman.com/volkameria-inermis/
2.https://identify.plantnet.org/

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง หัวมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง
ว่านเสน่ห์จันทน์แดง หัวมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น ผลขนาดเล็กผิวสัมผัสนุ่ม
ว่านเสน่ห์จันทน์แดง
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น ผลขนาดเล็กผิวสัมผัสนุ่ม

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง

ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชียและอเมริกา ชื่อสามัญ King of Heart [2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์บอน (ARACEAE)[1]

ลักษณะต้นเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร
    – ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามลำต้นจะประกอบไปด้วยก้านใบอยู่หลาย ๆ ก้าน แต่ลำต้นจะไม่แตกกิ่งก้านสาขา
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว ต้นเสน่ห์จันทน์แดงเป็นพรรณไม้ที่อาศัยอยู่ในที่ร่มหรือพื้นที่แดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง[1],[2]
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยจะแตกใบออกที่ตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น มีก้านใบเป็นสีแดง โดยก้านจะยาวมากกว่าแผ่นใบ โคนของก้านใบจะมีลักษณะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น
    – ลักษณะ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียวสด เส้นใบมีสีแดง (หากใบต้นเสน่ห์จันทน์แดงโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสีได้) และก้านใบมีลักษณะที่กลมยาว มีสีเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงดูได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูไปตลอดทั้งก้านใบ[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และมีความยาวประมาณ 6-12 นิ้ว
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น
    – ดอกจะเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกมีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มช่อดอกเอาไว้ ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-4 นิ้ว [1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสดที่มีขนาดเล็ก เมื่อจับผลจะมีผิวสัมผัสที่นุ่ม [1]

สรรพคุณต้นเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ จึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาพิษได้ (ทั้งต้น)[1]
  • หัวหรือเหง้าของต้นเสน่ห์จันทน์นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับทาเฉพาะภายนอกได้ โดยจะมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ (หัว)[1]
  • ใบเสน่ห์จันทน์นำมาทำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยมีสรรพคุณเป็นยารักษาแผล (ใบ)[1]

ประโยชน์ต้นเสน่ห์จันทน์แดง

1. ในด้านของความเชื่อ จัดเป็นไม้มงคลในเรื่องมหานิยม หากทำการปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะส่งผลเป็นศรีมีเสน่ห์แก่ครอบครัว และหากผู้ใดคิดเข้ามาทำร้าย ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะจะทำให้คนที่คิดร้ายผู้นั้นกลับมีจิตใจที่มีเมตตาขึ้นมาแทน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกด้วยว่าหากปลูกไว้แล้วจะมีความโชคดี ถ้านำมาตั้งในร้านค้าจะช่วยให้ค้าขายดีมีกำไร เป็นพรรณไม้เมตตามหานิยมแก่คนทั่วไป[2] และหัวของต้นสามารถนำมาใช้แกะสลักเป็นรูปนางกวักได้เช่นเดียวกันกับต้นว่านเสน่ห์จันทน์เขียว วิธีการปลูกให้นำอิฐมาทุบให้แหลกละเอียดตากน้ำค้างเอาไว้เป็นเวลา 1 คืน จากนั้นให้เอามาปนกับดินที่ปลูกด้วยหัวว่าน โดยให้ทำการปลูกในวันจันทร์ และเวลารดน้ำให้ท่องด้วยคาถานะโม พุทธายะ 3 จบ (ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นว่านคู่กันกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว หากนำมาปลูกไว้คู่กันจะทำให้เกิดความขลังมากล้นเลยทีเดียว)[3]

2. ต้นเสน่ห์จันทน์แดงจัดเป็นไม้ประดับที่นอกจากจะมีสีสันสวยงามแล้ว ยังมีความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศได้ในปริมาณปานกลางอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษจำพวกแอมโมเนีย[2]

3. ต้นเสน่ห์จันทน์แดงมักจะนำมาใช้ปลูกเป็นไม้กระถางไว้สำหรับประดับภายในบริเวณบ้าน หรือจะนำไปปลูกตามแนวต้นไม้ใหญ่ก็ได้เช่นกัน โดยเสน่ห์จันทน์แดงถือว่าเป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงาม เนื่องจากมีแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจ และใบมีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มของก้านใบจึงทำให้มีความโดดเด่น และว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดที่เจริญเติบโตได้ในพื้นที่ร่มและในพื้นที่มีแสงแดดจัด แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยทนทานนัก จึงต้องการการดูแลรักษาอยู่พอสมควร โดยควรจะปลูกต้นเสน่ห์จันทน์แดงไว้ในดินร่วนหรือดินทราย และควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาทั้งเช้าและเย็น[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • เมื่อใช้ไอน้ำกลั่นต้นเสน่ห์จันทน์แดงจะได้น้ำมันหอมระเหย ที่มีสารประกอบจำพวก linalyl acetate, -terpineol-l-linalool 60%[1]
    3.4)ข้อควรระวัง
  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบ จะมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ถ้าจะนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง)”. หน้า 786-787.
2. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่าน เสน่ห์ จันทน์ แดง”., “เสน่ห์จันทน์แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.panmai.com. [07 ต.ค. 2014].
3. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ความเชื่อเกี่ยวกับว่านเสน่ห์จันทน์แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.m-culture.in.th. [07 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ต้นเสี้ยวป่า สรรพคุณใช้ใบต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด

ต้นเสี้ยวป่า สรรพคุณใช้ใบต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจะ สีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน ฝักรูปดาบผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดแบน
ต้นเสี้ยวป่า
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจะ สีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน ฝักรูปดาบผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดแบน

ต้นเสี้ยวป่า

ต้นเสี้ยวป่า เป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ในทุกสภาพดิน โดยต้นจะมีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคแถบอินโดจีนประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่โล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า ป่าเต็งรัง และตามป่าผลัดใบผสมเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นจะเจริญเติบโตที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 800 เมตร[2],[4] ชื่อสามัญ Orchid Tree, Purple Bauhinia[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia saccocalyx Pierre จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ชงโค (จังหวัดนครราชสีมา, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี, จันทบุรี), ส้มเสี้ยว (จังหวัดนครสวรรค์, อุดรธานี), ส้มเสี้ยวโพะ เสี้ยวดอกขาว (จังหวัดเลย), คิงโค (จังหวัดนครราชสีมา), ชงโคป่า เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นเสี้ยวป่า

  • ลำต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 10 เมตร
    – ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย ผิวลำต้นขรุขระ เปลือกลำต้นมีสีเป็นสีเทาปนสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งก็พบว่าร่อนเป็นแผ่นบาง[1]
    – กิ่งก้านจะมีลักษณะคดงอ โดยกิ่งก้านจะแตกออกจากลำต้นในรูปแบบที่ไม่เป็นระเบียบมากนัก เนื้อไม้มีความเปราะบางและสามารถทำการหักได้ง่าย ลายไม้ไม่เป็นระเบียบ
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีงอกต้นใหม่ขึ้นจากรากที่กระจายไปตามบริเวณพื้นดินรอบ ๆ ต้นมากกว่าการงอกจากเมล็ด โดยมีรากแก้วหยั่งลึกลงไปใต้ดินและมีรากแขนงแตกออกไปโดยรอบแผ่กว้างออกไปตามพื้นดิน จึงมักขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มากกว่าพบเห็นเป็นต้นเดี่ยว ๆ
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบเว้าลึกถึงครึ่งใบ เป็นพู 2 พู ตรงปลายแตกเป็นแฉกแหลม ส่วนโคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ
    – แผ่นใบมีผิวใบบางคล้ายกระดาษ ด้านหลังของใบเกลี้ยงไม่มีขน แต่บริเวณท้องใบจะมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาลขึ้นอยู่เป็นประปราย เส้นแขนงใบจะออกมาจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น และใบมีหูใบขนาดเล็กที่หลุดร่วงได้ง่าย[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 5-9 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อแบบกระจะ โดยจะออกดอกบริเวณตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง
    – ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนพฤษภาคม[1],[2]
    – ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้นกัน มีดอกย่อยกระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นเป็นพวง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7 เซนติเมตร เมื่อดอกย่อยบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-1.4 เซนติเมตร
    – ดอก สีเป็นสีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน มีกลีบดอกอยู่ทั้งหมด 5 กลีบ กลีบดอกลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมน
    – กลีบเลี้ยงมีลักษณะคล้ายกาบ ตรงปลายแยกออกเป็น 2 แฉก
    – ดอกเพศผู้ที่ไม่เป็นหมันจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน ยื่นออกมาจากภายนอกของดอก 5 อัน และอีก 5 อันที่เหลือนั้นจะอยู่ภายในดอก ดอกไม่มีเกสรเพศเมีย และดอกเพศเมียจะมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมีลักษณะคล้ายเส้นด้าย 10 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน อยู่บริเวณเหนือวงกลีบ ส่วนรังไข่มีขนขึ้นปกคลุม
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปดาบ ผิวผลเรียบไม่มีขน ตรงบริเวณช่วงปลายจะกว้างและโค้งงอ ปลายผลแหลม ฝักมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-14 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่เต็มที่แล้วฝักจะแตกออก
    – ติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม[1],[2]
  • เมล็ด
    – ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรูปร่างที่แบน

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นเสี้ยวป่า

  • ใบ นำมาผสมกับลำต้นของต้นกำแพงเจ็ดชั้น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาฟอกโลหิต ดื่มวันละ 3 ครั้ง (ใบ)[1]
  • ลำต้นหรือกิ่งของต้น นำมาใช้ทำเป็นเสาค้ำยันให้แก่บางส่วนของบ้านได้ แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก หรืออาจจะนำมาใช้ทำเป็นเสาสำหรับพืชผักที่เป็นไม้รอเลื้อย หรือจะนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงก็ได้เช่นกัน[3],[4]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมทางได้ โดยจะออกดอกได้ดกดีมาก ดอกมีสีขาวดูสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย สามารถนำต้นมาตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ แต่ยังไม่ค่อยนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านมากเท่าไรนัก[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “เสี้ยว ป่า”. หน้า 184.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. “เสี้ยว ป่า”.
3. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เสี้ยวป่า, ชงโคป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [07 ต.ค. 2014].
4. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม. “เสี้ยวป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.ndk.ac.th. [07 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://commons.wikimedia.org/

ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้

หญ้าขมใบย่น
ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล
หญ้าขมใบย่น
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล

หญ้าขมใบย่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Teucrium viscidum Blume จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่ออื่น ๆ ซัวคักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), ซานฮั่วเซียง โจ้วเมี่ยนขู่เฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นหญ้าขมใบย่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกที่มีอายุนานหลายปี
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร
    – ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณปลายกิ่ง ตามลำต้นและใบจะมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม[1]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่กัน
    – ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบมีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ผิวใบมีน้ำเมือกเหนียวติดอยู่ ด้านหลังใบย่นเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียวอ่อน ใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจนและใบมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.7-3 เซนติเมตร[1]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อและเรียงกันเป็นคู่ โดยจะออกดอกบริเวณตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน กลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรอยหยัก กลีบดอกจะเรียงตัวกันเป็นรูประฆังซ้อนทับกัน ด้านบนมี 2 กลีบ ส่วนด้านล่างมี 3 กลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน เกสรมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย[1]
  • ผล
    – ผล เป็นรูปไข่มีขนาดเล็ก เป็นทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร[1]
    – ผล มีสีเป็นสีเหลืองน้ำตาล และผลมีผิวย่น

สรรพคุณของต้นหญ้าขมใบย่น

1. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้าหรืองูกัดได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว และปวดข้อเข่าได้ (ทั้งต้น)[1]
3. ทั้งต้นมีรสชาติเฝื่อน มีความขมและเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะ จึงนำมาใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น ช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยกระจายเลือด (ทั้งต้น)[1]
4. ทั้งต้นนำมาใช้แก้อาการร้อนใน (ทั้งต้น)[1]
5. นำต้นสดปริมาณประมาณ 35 กรัม นำมาตำผสมกับเหล้าจากนั้นนำไปพอก จะช่วยแก้อาการเจ็บเต้านม (ทั้งต้น)[1]
6. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งใช้สำหรับรับประทาน รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด (ทั้งต้น)[1]
7. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาอาการริดสีดวงในลำไส้ได้ (ทั้งต้น)[1]
8. ทั้งต้นใช้ช่วยแก้อาการเลือดกำเดา และอาเจียนเป็นเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]
9. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-50 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน ใช้เป็นยาสำหรับแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)[1]
10. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาฝีหนองปวดบวมอักเสบ (ทั้งต้น)[1]
11. ทั้งต้นนำมาใช้ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1]
12. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับห้ามเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]

วิธีการใช้สมุนไพรต้นหญ้าขมใบย่น

ใช้ต้นแห้งครั้งละ 20-35 กรัม ส่วนต้นสดใช้ครั้งละ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

ต้นมีสารจำพวก Amino acid, Glucolin, Phenols, Carboxylic acid เป็นต้น[1]
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า ขม ใบ ย่น”.  หน้า 578.

ต้นหญ้าลูกข้าว พืชสมุนไพรดอกขาว

ต้นหญ้าลูกข้าว พืชสมุนไพรดอกขาว ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียว เส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลเป็นรูปทรงกลม
หญ้าลูกข้าว
ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียว เส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลเป็นรูปทรงกลม

หญ้าลูกข้าว

ต้นหญ้าลูกข้าว สามารถพบขึ้นได้ในพื้นที่เปิดโล่ง ตามพื้นที่มีน้ำขัง และพื้นที่ชื้นแฉะ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Spermacoce ocymoides Burm.f.  ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Borreria laevicaulis (Miq.) Ridl.
จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

ลักษณะต้นหญ้าลูกข้าว

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
    – ใบ เป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ส่วนเส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนขึ้นอยู่เล็กน้อยเป็นประปรายทั้งสองด้าน และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก ออกเป็นช่อ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม[1]
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก เรียงตัวอัดแน่นกันเป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม
    – ดอกย่อยมีใบรองรับอยู่ 2 ใบ ดอกย่อยมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ
  • ผล
    – ผลเป็นผลสดมีขนาดเล็ก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกลม และผลจะแตกตามขวาง[1]

สรรพคุณต้นหญ้าลูกข้าว

ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น ในปริมาณประมาณ 2 กิโลกรัม มาผสมกับต้นผักเป็ดแดงทั้งต้นเป็นปริมาณ 2 กิโลกรัม, ต้นแก่นสลัดไดปริมาณ 0.5 กิโลกรัม, มะกรูดจำนวน 30 ผล, มะนาวจำนวน 30 ผล, และเกลือในปริมาณพอประมาณ จากนั้นนำวัตถุทั้งหมดดังที่กล่าวมาดองกับน้ำซาวข้าว ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง (ทั้งต้น)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หญ้าลูกข้าว”.  หน้า 51.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Spermacoce_ocymoides
2.https://karakodan.blogspot.com/2014/11/spermacoce-ocymoides.html

ต้นหญ้าเหลี่ยม สรรพคุณ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวก

ต้นหญ้าเหลี่ยม สรรพคุณ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวก เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน สีเข้มช่วงปลายกลีบ
ต้นหญ้าเหลี่ยม
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน สีเข้มช่วงปลายกลีบ

หญ้าเหลี่ยม

ต้นหญ้าเหลี่ยม มีเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยสามารถพบได้ตั้งแต่แถบอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยสามารถพบได้กระจายห่าง ๆ กันในทั่วทุกภาคของประเทศ โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง ตามป่าสน และชายป่า จนไปถึงระดับความสูงประมาณ 900 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Exacum tetragonum Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Exacum bicolor Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ดอกหรีดเขา (GENTIANACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ หญ้าเหลี่ยม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), นางอั้วโคก (จังหวัดนครราชสีมา), ไส้ปลาไหล (จังหวัดนครพนม), หญ้าหูกระต่าย (จังหวัดเลย), แมลงหวี่ (จังหวัดเพชรบูรณ์), เทียนป่า (จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นหญ้าเหลี่ยม

  • ต้น
    – จัดเป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก ที่มีอายุเพียงหนึ่งฤดู
    – ต้นมีความสูงประมาณ 40-100 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามลำต้นมีสันเป็นสันสี่เหลี่ยม มองเห็นได้ชัดเจน[1]
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีขนาดความยาวอยู่ประมาณ 5 มิลลิเมตร หรือบางก้านก็สั้นมากกว่านั้น หรือบางใบก็ไม่มีก้าน[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อแยกแขนงชัดเจน โดยดอกจะออกที่บริเวณตามซอกและปลายกิ่ง
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงช่วงเดือนมกราคม
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ 1 เซนติเมตร มีใบประดับที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอกหรือรูปแถบ ซึ่งมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยมีขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปแถบ มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ โดยกลีบเลี้ยงจะมีรูปร่างลักษณะเป็นรูปใบหอก มีความยาวได้อยู่ที่ประมาณ 6 มิลลิเมตร ปลายกลีบดอกเรียวแหลม มีครีบเป็นปีกกว้างอยู่ที่ประมาณ 1 มิลลิเมตร หลอดกลีบดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน มีความยาวอยู่ที่ 1.3 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกแหลมหรือเรียวแหลม กลีบดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน และมีสีเข้มช่วงปลายกลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน มีก้านชูอับเรณูที่มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ตรงอับเรณูโค้ง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปทรงกลมมีขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร และตรงปลายยอดเกสรมีลักษณะเป็นตุ่ม[1],[2]
  • ผล
    ผลแห้งและสามารถแตกได้ ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงไข่แกมกระสวยหรือเป็นรูปทรงรีเกือบกลม ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 3.5 มิลลิเมตร[1]

สรรพคุณต้นหญ้าเหลี่ยม

  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำใบมาขยี้ให้แหลก จากนั้นนำมาอุดหูเป็นเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวกในเด็กได้ (ใบ)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หญ้าเหลี่ยม”.  หน้า 110.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “หญ้าเหลี่ยม”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [02 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://ayurwiki.org/Ayurwiki/Exacum_bicolor_-_Akshipushpi

ต้นหนาดดอย พืชสมุนไพรใช้พอกรักษาอาการฝีหนอง

ต้นหนาดดอย พืชสมุนไพรใช้พอกรักษาอาการฝีหนอง ไม้ล้มลุก ก้านสีเขียวและมีขนละเอียด ใบออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นสีม่วง
ต้นหนาดดอย
ไม้ล้มลุก ก้านสีเขียวและมีขนละเอียด ใบออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นสีม่วง

หนาดดอย

หนาดดอย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ บ้านเราพบมากที่ภาคเหนือ ชื่อสามัญ Winged Spermatowit[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Laggera pterodonta (DC.) Sch.Bip. ex Oliv. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Blumea pterodonta DC., Conyza ctenoptera Kunth, Laggera pterodonta (DC.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่ออื่น ๆ หนาดดอย (จังหวัดเชียงใหม่), หนาดเหลี่ยม (จังหวัดน่าน) [1]

ลักษณะต้นหนาดดอย

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทล้มลุก มีอายุเพียงหนึ่งฤดูกาล
    – ต้นมีความสูงประมาณ 2 เมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเป็นสันรูปทรงสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นปีกบาง ๆ กิ่งก้านจะมีสีเขียว และมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่[1]
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ
    – แผ่นใบมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบมีสีเป็นสีเขียวหม่นถึงสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
    สัดส่วนขนาดของใบ: ใบที่บริเวณโคนต้นจะมีขนาดความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 14-26 เซนติเมตร
    – ใบที่บริเวณปลายกิ่งจะมีขนาดความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อกระจุกแน่นแยกแขนงหรือเชิงหลั่น โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
    – กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงเข้ม โดยจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว และดอกมีชั้นใบประดับ [1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะที่เป็นผลแห้ง ไม่แตก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงเส้นยาว ตรงขอบผลเป็นสัน และผิวผลจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วผล[1]

สรรพคุณต้นหนาดดอย

  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้นมาผสมกับต้นเหง้าไพล ต้นตำหมกไฟ ต้นเหง้าขมิ้น ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกรักษาอาการฝีหนอง และอาการปวดบวม (ทั้งต้น) [1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดที่ได้จากทั้งต้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้ และอีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อไวรัสได้อีกด้วย (ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป) [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาดดอย”. หน้า 138.

ต้นหนามแน่ขาว สรรพคุณมีฤทธิ์ในการลดอาการชัก

ต้นหนามแน่ขาว
ต้นหนามแน่ขาว สรรพคุณมีฤทธิ์ในการลดอาการชัก ไม้ล้มลุกเลื้อยพันขนาดเล็ก ต้นมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุม ดอกสีขาวกลิ่นหอม ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ
ต้นหนามแน่ขาว
ไม้ล้มลุกเลื้อยพันขนาดเล็ก ต้นมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุม ดอกสีขาวกลิ่นหอม ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ

ต้นหนามแน่ขาว

ต้นหนามแน่ขาว สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างโปร่ง โดยสามารถพบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-1,500 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2] เมื่อกล่าวถึงพืชสมุนไพรแล้วนั้น พืชสมุนไพรก็ต่างมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของหนามแน่ขาว พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ Sweet clock vine[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia fragrans Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Meyenia longiflora Benth., Roxburghia rostrata Russell ex Nees, Thunbergia volubilis Pers. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ หนามแน่ขาว (ภาคเหนือ), ทองหูปากกา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), จิงจ้อ จิงจ้อเขาตาแป้น (จังหวัดสระบุรี), ช่องหูปากกา หูปากกา (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), รางจืดดอกขาว เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะต้นหนามแน่ขาว

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกเลื้อยพันที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความยาว: ประมาณ 1-3 เมตร
    – ลำต้นมักจะทอดเลื้อยหรือเลื้อยพันไปกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ลำต้นมีลักษณะรูปร่างเป็นเหลี่ยม และทุกส่วนของลำต้นจะมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปใบหอกแคบหรือรูปรี
    – แผ่นใบมีผิวใบลักษณะคล้ายกระดาษ และผิวใบทั้งสองด้านจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.8 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะออกกันเป็นกระจุก 2-3 ดอก โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว และดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
    – ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีผิวบาง โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบอยู่ 5 กลีบ
    – ตรงบริเวณโคนดอกจะมีกลีบเลี้ยงแผ่เป็นประกับมีสีเป็นสีเขียวอ่อน
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน โดยจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ และดอกมีรังไข่อยู่บริเวณเหนือวงกลีบ[1]
    – ออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้
    – ผลเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ปลายผลจะมีเป็นจะงอยแข็ง 1 คู่ ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด
    – ติดผลในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2]

สรรพคุณต้นหนามแน่ขาว

  • ทั้งต้นนำมาผสมกับต้นจันตาปะขาว นำเอามาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ (ทั้งต้น)[3],[4]
  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น อย่างเช่น รากของต้นพญาดง (Persicaria chinensis) จากนั้นก็นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค (ราก)[1]

ประโยชน์ของต้นหนามแน่ขาว

  • ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบ้านทั่วไปได้ เนื่องจากดอกที่มีขาวสวยงาม มองแล้วเพลินตา และดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดจากบริเวณส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยแอลกอฮอล์ พบผลลัพธ์ว่าไม่มีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่มีฤทธิ์ในการลดอาการชัก หรือลดอาการบีบตัวของลำไส้ได้[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หนามแน่ขาว”.  หน้า 211.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “หูปากกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [29 ก.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “หูปากกา”.  หน้า 193.
4. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หูปากกา”.  หน้า 210.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.flickr.com/

โหราบอน ใช้เป็นยารักษาอาการอัมพฤกษ์

โหราบอน ใช้เป็นยารักษาอาการอัมพฤกษ์ เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายกับหัวเผือก ก้านใบยาวและอวบน้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวกลมและยาว สีม่วง ผลอยู่ในดอกสุกแล้วเป็นสีแดง
โหราบอน
เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายกับหัวเผือก ก้านใบยาวและอวบน้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวกลมและยาว สีม่วง ผลอยู่ในดอกสุกแล้วเป็นสีแดง

โหราบอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Typhonium giganteum Engl. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)[1] มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นโหราบอน

  • ลักษณะของต้น [1]
    – เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน
    – มีอายุได้หลายปี
    – เป็นพืชที่ไม่มีลำต้น
    – มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก
    – เป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก
    – มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน
    – เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา
    – บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
  • ลักษณะของใบ [1]
    – มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น
    – ก้านใบยาวและอวบน้ำ
    – ก้านใบตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย
    – ในต้นหนึ่งจะมีใบ 2-4 ใบ
    – ในระยะเวลา 1-2 ปี
    – มีการแตกใบ 1 ใบ
    – ใบอ่อนมักจะม้วนงอ
    – ใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเป็นคลื่น
  • ลักษณะของดอก [1]
    – ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว
    – แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน
    – ดอกจะกลมและยาวคล้ายรูปทรงกระบอก
    – มีเนื้อนิ่ม
    – ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง
    – มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่
    – ภายในดอกจะมีผล
  • ลักษณะของผล [1]
    – ผลจะอยู่ภายในดอก
    – ผลเมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง

ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ได้[1]
  • ไม่ควรนำหัวสด ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน

หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin[1]

สรรพคุณของโหราบอน

  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก[1]
  • หัว ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้[1]
  • หัว มีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน[1]
  • หัว ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้นได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรคได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยวได้[1]

ขนาดและวิธีใช้โหราบอน

  • ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น
  • ให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม
  • นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
  • หากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม

กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน[1]

  • ให้นำหัวมาล้างน้ำให้สะอาด
  • แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์
  • ให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • แช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวมาแช่กับน้ำสารส้ม ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 1 วัน
  • หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป
  • แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด
  • แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12
  • ในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย
  • หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ
  • นำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราบอน”. หน้า 638.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.etsy.com/
2.https://garden.org/

อวบดำ ลำต้นใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้

อวบดำ ลำต้นใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้ ไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ๆ ผลอ่อนสีเขียวเนื้อบาง ผลสุกสีม่วงดำ
อวบดำ
ไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ๆ ผลอ่อนสีเขียวเนื้อบาง ผลสุกสีม่วงดำ

อวบดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Chionanthus ramiflorus Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Linociera ramiflora (Roxb.) Wall. ex G. Don จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี), ตาไชใบใหญ่ (ตรัง), อวบดํา (ชุมพร), พลู่มะลี (เขมร-สุรินทร์), โว่โพ้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), “ปริศนา”, “หว้าชั้น”[1],[2]

ลักษณะอวบดำ

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ขนาดเล็ก
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 5-10 เมตร
    – เปลือกต้นเรียบเป็นสีขาวอมน้ำตาล
    – เกลี้ยงหรือแตกระแหงเล็กน้อย
    – กิ่งก้านเรียวเล็กและลู่ลงเล็กน้อย
    – กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาล
    – เขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย
    – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบได้ทุกภาค
    – ตามป่าดิบและป่าผลัดใบ
    – พบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 450-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร และยาว 8-18 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบเกลี้ยงทั้งหลังใบและท้องใบ
    – เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง
    – หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม
    – มีเส้นใบข้าง 8-12 คู่
    – ก้านใบเกลี้ยง มีความยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงหลวม ๆ
    – จะออกตามซอกใบหรือกิ่งก้าน
    – ช่อดอกยาวได้ถึง 3-15 เซนติเมตร
    – แขนงข้างของช่อด้านล่างยาวครึ่งหนึ่งของความยาวของช่อหลัก
    – ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
    – ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ๆ
    – มีดอกย่อย 40-100 ดอก
    – ดอกย่อยจะมีขนาด 0.3-0.7 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน
    – กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มี 4 กลีบ มีขนาด 1-1.5 มิลลิเมตร
    – พูกลีบลึก
    – โคนกลีบติดกัน
    – ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน มีขนาดสั้นกว่าหลอดกลีบ
    – อับเรณูมีขนาด 1 มิลลิเมตร เป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน
    – ไม่มีก้านชู กลม มีติ่งที่ปลาย
    – ปลายเกสรเพศเมีย เป็น 2 พู จาง ๆ
    – ก้านชูสั้น
    – ก้านดอกย่อยนั้นยาว 1-2 มิลลิเมตร
  • ลักษณะของผล
    – ผลเป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่กลับ
    – มีความกว้าง 0.5-2.2 เซนติเมตร และยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – ผิวผลเรียบ
    – มีชั้นกลีบเลี้ยงรองรับ
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – เนื้อผลบาง
    – เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
    – ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง
    – ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – ออกดอกและออกผลพร้อมกันในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สรรพคุณของอวบดำ

  • ราก สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้บ้วนปาก จะช่วยทำให้ฟันแข็งแรงได้[1],[2]
  • ตำรับยาสมุนไพร โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จะนำลำต้นมาผสมกับเนื้อไม้ตะแบกป่า ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็น
  • ลำต้น สามารถใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้[2]
  • ลำต้น สามารถช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติได้[2]

ประโยชน์ของอวบดำ

  • ราก สามารถนำมาใช้เคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่ได้[1],[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือนได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “อวบ ดำ (Aup Dam)”. หน้า 339.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พลู่มะลี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “อวบ ดำ”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [22 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.http://www.northqueenslandplants.com/