ต้นพิษนาศน์ สรรพคุณช่วยรักษาโรคคางทูม

0
ต้นพิษนาศน์
ต้นพิษนาศน์ สรรพคุณช่วยรักษาโรคคางทูม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจะรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงเข้ม ฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม
ต้นพิษนาศน์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจะรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงเข้ม ฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม

ต้นพิษนาศน์

ต้นพิษนาศน์ถูกจัดให้เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่มที่มีขนาดเล็กลำต้นสั้นจัดอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว ใช้รากต้มกับน้ำดื่มเป็นยากระตุ้นน้ำนมแม่ลูกอ่อนช่วงให้นมบุตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sophora violacea var. pilosa Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ แผ่นดินเย็น (จังหวัดอุบลราชธานี), นมราชสีห์ พิษนาท (จังหวัดฉะเชิงเทรา), ถั่วดินโคก (จังหวัดเลย), นมฤาษี เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นพิษนาศน์

  • ต้น
    – เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสั้น มีความสูงเพียง 15-30 เซนติเมตร[1]
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก โดยออกเรียงสลับกัน แนบไปกับพื้นดินในแนวรัศมี มีใบย่อยประมาณ 9-13 ใบ
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปวงรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปวงรี ปลายใบเป็นรูปไข่กลับ
    – ผิวใบมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วใบ[1]
    – ใบย่อยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อกระจะ โดยจะออกดอกที่บริเวณปลายยอด
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงเข้ม ส่วนก้านช่อดอกยาว[1]
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน ตามฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด[1]
    – ขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด

สรรพคุณของต้นพิษนาศน์

1. ยาพื้นบ้านของอีสานจะนำรากมาฝนกับน้ำใช้สำหรับทาแก้ฝี[1],[2]
2. มีบางข้อมูลระบุเอาไว้ว่า ชาวบ้านจะใช้ส่วนของรากมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาขับพิษภายใน แก้โรคคางทูม ช่วยขับน้ำค้างที่ขังตามที่ต่าง ๆ แก้อาการฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ และนำส่วนของต้นใช้ทำเป็นยาแก้ไข้เซื่องซึม และช่วยดับพิษกาฬที่ทำให้หมดสติได้อีกด้วย (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)

3. ยาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี จะนำรากมาฝนกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาช่วยลดไข้ในเด็ก ใช้ฝนทาแก้พิษงู (ต้องกล่าวคาถาระหว่างทาด้วย) หรือจะนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนมของสตรี (ดื่มมากเกินไปจะส่งผลเสียได้) และใช้ส่วนของลำต้น ราก เหง้า และใบนำมาฝนทาเป็นยาแก้ฝี[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พิษนาศน์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [05 ต.ค. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ถั่วดินโคก”.  อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 208.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [05 ต.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

ต้นโพธิ์ศรี สรรพคุณของยางเป็นยารักษาโรคเท้าช้าง

0
ต้นโพธิ์ศรี
ต้นโพธิ์ศรี สรรพคุณของยางเป็นยารักษาโรคเท้าช้าง เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีน้ำยางสีขาว ดอกเป็นช่อเขียวดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลกลมแป้นก้นงผลบุ๋ม เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า
ต้นโพธิ์ศรี
เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีน้ำยางสีขาว ดอกเป็นช่อเขียวดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลกลมแป้นก้นงผลบุ๋ม เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า

ต้นโพธิ์ศรี

ต้นโพธิ์ศรี เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในแถบพื้นที่อเมริกากลาง แถบพื้นที่อเมริกาใต้ และในพื้นที่ของประเทศนิการากัวจนไปถึงประเทศเปรู ชื่อสามัญ Portia tree, Umbrella tree, Monkey pistol, Monkey’s dinner bell,[1],[2],[3] ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ Hura crepitans L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ โพธิ์ทะเล โพธิ์ฝรั่ง โพทะเล โพธิ์ศรี โพฝรั่ง โพศรี (จังหวัดบุรีรัมย์), โพศรีมหาโพ โพธิ์ศรีมหาโพธิ์ (ประเทศไทย), ทองหลางฝรั่ง (จังหวัดกรุงเทพฯ) และโพธิ์อินเดียหรือโพธิ์หนาม เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นโพธิ์ศรี

  • ต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15 เมตร แต่ถ้าในพื้นที่ถิ่นกำเนิดลำต้นอาจจะมีความสูงได้ถึง 45 เมตร
    – ลำต้นจะมีหนามเล็ก ๆ แหลม บนเต้าที่มีความแบน ๆ ขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่ว
    – กิ่งมีขนาดใหญ่ โดยกิ่งก้านจะแตกแขนงแผ่กว้างออกไปจากตัวลำต้น
    – ต้นโพธิ์ศรีภายในจะมีน้ำยางสีขาว
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด[1],[2],[3]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปหัวใจคล้ายกับใบโพธิ์ ปลายใบมีลักษณะแหลมยาว ตรงโคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจะหยักเป็นซี่ฟันลักษณะห่าง ๆ กัน
    – แผ่นใบมีผิวเกลี้ยง มีขนขึ้นปกคลุมตามเส้นตรงกลางใบด้านล่าง เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 11-16 เส้น มีลักษณะโค้งจรดกัน
    – หูใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปใบหอก
    – ใบต้นโพธิ์ศรีสามารถหลุดร่วงได้ง่าย[1],[2]
    – ใบมีขนาดความยาวอยู่ที่ 7-21 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวอยู่ที่ 6-22 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะเป็นช่อ ช่อมีสีเขียวแล้วดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
    – ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
    – ดอกเพศผู้จะมีสีเป็นสีแดงเข้มเป็นช่อดอกยาว ช่อดอกเพศผู้มีความยาวอยู่ที่ 1.5-4.5 เซนติเมตร และก้านช่อดอกจะมีผิวหนา และมีความยาวได้อยู่ที่ 1.2-8 เซนติเมตร ดอกเพศผู้มีดอกเป็นจำนวนมาก ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร ส่วนของเกสรเพศผู้มีอยู่ 10-20 อัน เรียงกันเป็น 2-3 วง อับเรณูมีขนาดเล็ก โดยจะมีความยาวอยู่ที่ 0.5 มิลลิเมตร
    – ดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียจะมีลักษณะรูปร่างที่กลมแบนเป็นรูปเห็ดขนาดเล็ก ดอกเพศเมียจะมีดอกเดียวอยู่ที่โคนก้าน โดยดอกเพศเมียจะมีก้านดอกยาวอยู่ที่ 1.2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีรูปร่างเป็นรูปถ้วย มีความยาวอยู่ 5-8 มิลลิเมตร รังไข่มีความยาวเท่ากันกับกลีบเลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวอยู่ที่ 2-3.5 เซนติเมตร บริเวณยอดของเกสรแยกเป็นแฉก โดยจะแผ่ออกมา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1.4-2.6 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล
    – ผลมีรูปทรงเป็นแบบแคปซูลมีลักษณะค่อนข้างกลมแป้น
    – ผลจะแบ่งออกเป็นกลีบเท่า ๆ กัน ประมาณ 14-16 กลีบ โดยจะมีรูปทรงคล้ายกับฟักทอง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความสูงอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตร
    – ก้นของผลจะบุ๋มทั้งสองด้าน เปลือกผลมีผิวแข็งและหนา เมื่อผลแก่จะมีเมล็ด ถ้าลองเขย่าดูจะมีเสียงคล้ายกับบรรจุทรายไว้ และถ้าผลแก่เต็มที่แล้วก็จะแตกออกมาตามยาวของผลเป็นซี่ ๆ
    -เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 2 เซนติเมตร[1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นโพธิ์ศรี

1. ส่วนของเปลือก ยาง และเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (เปลือก, ยาง, เมล็ด)[1]
2. เปลือก ยาง และเมล็ดมีฤทธิ์ทำให้ขับอาเจียนออกมา (เปลือก, ยาง, เมล็ด)[1]
3. ยางนำมาทำเป็นยารักษาโรคเท้าช้างได้ (ยาง)[1]

ประโยชน์ของต้นโพธิ์ศรี

1. ในสมัยก่อนจะนำผลที่ยังไม่สุกมาต้ม จากนั้นนำผลมาเจาะรูแล้วนำมาตากให้แห้ง บรรจุทรายเอาไว้ในผล ใช้สำหรับซับหมึกจากปากกา (เป็นที่มาของชื่อ sand box tree)[3]
2. ยางนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลา หรือใช้สำหรับอาบลูกดอก [1]
3. ผลและเมล็ดมีฤทธิ์ในการนำมาฆ่าแมลง[1]
4. เนื้อไม้เป็นเนื้อไม้ที่มีคุณภาพดี แต่ก็ไม่มีความทนทานมากนัก โดยจะนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์[2]
5. ในประเทศไทยมักจะนิยมปลูกเป็นไม้ร่ม ปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ และตามวัดวาอาราม[1],[2]

พิษของต้นโพธิ์ศรี

เมล็ดและยางของต้นโพธิ์นั้นจะมีพิษอยู่ โดยสารพิษที่พบ จะได้แก่ สารกลุ่ม huratoxin, hurin, crepitin และ lectin (ปริมาณของสาร crepitin ที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 187 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)[3]

อาการเป็นพิษ

– เมื่อรับประทานเมล็ดเข้าไปในปริมาณประมาณ 1-2 เมล็ด จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ เกิดอาการตาพร่า ปวดท้อง ท้องร่วง และอาจจะมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
– ในกรณีที่ได้รับสารพิษในปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิตได้
– ส่วนน้ำยางจะมีฤทธิ์กัดมาก เพราะน้ำยางประกอบไปด้วยสาร hurin และมีน้ำย่อย hurain ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน โดยเอนไซม์ตัวนี้สามารถย่อยเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการแพ้ได้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง โดยจะทำให้เกิดอาการเป็นผื่นแดงแบบไฟลามทุ่งและพุพองขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสได้ หรือถ้าเข้าตาก็อาจจะทำให้ตาบอดได้[1],[3]

ตัวอย่างผู้ป่วย

– ผู้ป่วยจำนวน 23 ราย ที่ได้รับประทานเมล็ดเข้าไป (มีผู้รับประทานสูงสุดคือ 3 เมล็ด) แล้วเกิดมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เกิดตาแดง มีอาการแสบร้อนในคอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว และง่วงนอนอ่อนเพลีย
– กรณีที่ 2 คือ เด็กชายจำนวน 18 ราย มีอายุระหว่าง 12-15 ปี ได้ทำการรับประทานเมล็ดแห้งเข้าไป และเริ่มมีอาการตั้งแต่ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง โดยมีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่มีอาการเมื่อผ่านไปแล้ว 6 ชั่วโมง
โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดอาการแสบร้อนในคอ มีความกระหายน้ำ และในบางรายพบว่ามีอาการปวดท้องและอุจจาระร่วงอีกด้วย แต่วันรุ่งขึ้นอาการก็ดีขึ้น
– กรณีผู้ป่วยมีอาการบวมแดงที่บริเวณผิวหนังและมีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูกและตาตลอดปี โดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดมากนัก ตลอดจนการตรวจสอบด้วยวิธี scratch test ก็ได้ผลลัพธ์ที่พบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้เนื่องจากการสัมผัสยาง [3]

การรักษา

ก่อนจะนำส่งโรงพยาบาลควรให้ดื่มนมหรือผงถ่านเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษก่อน แล้วจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องในทันที และให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันอาการหมดสติและอาการช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ส่วนในกรณีอื่น ๆ นี้ก็ให้รักษาตามอาการ เช่น การให้ morphine sulfate ในปริมาณ 2-10 มิลลิกรัม เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องให้ทุเลาลงได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โพธิ์ฝรั่ง”. หน้า 577-578.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โพฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [08 พ.ย. 2014].
3. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “โพธิ์ศรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [08 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ต้นพวงตุ้มหู สรรพคุณตำรายาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ

0
ต้นพวงตุ้มหู
ต้นพวงตุ้มหู สรรพคุณตำรายาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ เป็นพรรณไม้พุ่ม เปลือกต้นและก้านใบสีแดงผิวเรียบไม่มีขน ออกดอกเป็นช่อมีสีชมพูอมม่วง ผลกลมสีเขียว ผลสุกสีแดง
ต้นพวงตุ้มหู
พรรณไม้พุ่ม เปลือกต้นและก้านใบสีแดงผิวเรียบไม่มีขน ออกดอกเป็นช่อมีสีชมพูอมม่วง ผลกลมสีเขียว ผลสุกสีแดง

ต้นพวงตุ้มหู

ต้นพวงตุ้มหู เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีดอกตูมสีชมพูผลคล้ายเบอร์รี่สีแดง จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia pilosa H.R.Fletcher  มีถิ่นกำเนิดถิ่นอาศัยในป่าดิบชื้นใกล้ลำธาร ลำคลองธรรมชาติ และแพร่กระจายอยู่หลายประเทศทั้งจีน อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา ลาว รวมถึงประเทศไทย ชื่ออื่น ๆ เข้าพรรษา (จังหวัดน่าน), ตุ้มไก่ (จังหวัดเลย), ตีนเป็ด[1] เป็นต้น

ลักษณะของต้นพวงตุ้มหู

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่ม
    – ต้นมีความสูง: ประมาณ 0.5-1.5 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านน้อยในช่วงบริเวณปลายยอด เปลือกต้นและก้านใบมีสีเป็นสีแดง และมีผิวเรียบไม่มีขน
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปรี ค่อนข้างอวบน้ำ ปลายใบกลมมน ตรงโคนใบสอบหรือมน ส่วนขอบใบหยักตื้น
    – ผิวใบด้านบนมีจุดขึ้นอยู่เป็นประปรายตามแผ่นใบ ส่วนด้านหลังใบและท้องใบมีผิวเรียบไร้ขน และก้านใบมีขนขึ้นปกคลุม
    – มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-10 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ ช่อละหลายดอก โดนดอกจะออกที่บริเวณตามซอกใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงช่วงเดือนกันยายน[1],[2]
    – ก้านช่อดอกมีขนาดความยาวที่เกือบเท่า ๆ กัน ลักษณะของช่อดอกคล้ายกับซี่ร่มแต่หัวห้อยลง
    – กลีบดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ กลีบดอกมีสีชมพูอมม่วง มีกลีบอยู่ 4-5 กลีบ ที่บริเวณโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน และกลีบดอกจะเรียงซ้อนกันและมักจะบิดเวียน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
    – กลีบรองกลีบดอกจะมีรูปร่างเป็นรูปไข่กว้าง มีกลีบอยู่ 4-5 กลีบ
    – เกสรเพศผู้มีก้านเกสรที่สั้น เกสรมีอยู่ 5 อันโดยจะเรียงชิดติด ส่วนรังไข่มีลักษณะกลม ตรงปลายเป็นท่อยาว
  • ผล
    – ผลกลม ผิวผลเป็นมัน และตามผิวจะมีจุดขึ้นเป็นประปราย
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงสด
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร[1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นพวงตุ้มหู

  • ตำรายาของไทยจะนำราก ใช้ทำเป็นยาแก้ไข้
  • ตำรายาของไทยจะนำใบ ใช้ทำเป็นยาแก้ไอ[1]
  • ต้น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบริเวณตามบ้านเรือนได้[2]
  • ลำต้น ใช้ทำเป็นเครื่องจักสาน[1]
  • ผล เป็นอาหารของสัตว์ป่าและนก[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. ใบและกิ่ง มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ลดปริมาณการสร้างสารอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ได้ จากผลการทดลองในหลอดทดลอง[1]

2. ใบและกิ่ง มีสาร catechin, gallic acid, quercetin, protocatechuic acid และ p-coumarinic acid อยู่ [1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พวง ตุ้ม หู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [03 ต.ค. 2015].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “พวง ตุ้ม หู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [03 ต.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/

หิ่งเม่นน้อย สมุนไพรตำรับยาพื้นบ้านล้านนา

0
หิ่งเม่นน้อย สมุนไพรตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะสั้นสีเหลืองสด ฝักรูปทรงกระบอกโป่งพองสีดำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน
หิ่งเม่นน้อย
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะสั้นสีเหลืองสด ฝักรูปทรงกระบอกโป่งพองสีดำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน

หิ่งเม่นน้อย

ชื่อสามัญ คือ Rattlebox ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata D.Don ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata H.Lev., Crotalaria alata H. Lév., Crotalaria bidiei Gamble จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หิ่งห้อย (เลย), หิ่งเม่น หิ่งเม่นดอย มะหิ่งเม้นน้อย มะหิ่งเม่นดอย (เชียงใหม่)[1],[2]

ลักษณะต้นหิ่งเม่นน้อย

  • ต้น [1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงฤดูเดียว
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1 เมตร
    – กิ่งก้านชูขึ้น
    – ลำต้นและกิ่งก้านมีรยางค์ แผ่เป็นปีกแคบ ๆ
    – สามารถพบขึ้นได้ตามพื้นที่โล่ง ในป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ
  • ใบ [1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่ รูปวงรี รูปใบหอก หรือรูปใบหอกกลับ
    – ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม
    – โคนใบเป็นรูปลิ่ม และมน
    – ใบมีความกว้าง 0.5-5 เซนติเมตร และยาว 3-9 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน
    – หูใบแผ่ยาวตามกิ่ง มีความกว้างประมาณ 4-10 มิลลิเมตร
    – ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยมรูปเคียว
  • ดอก [2]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ
    – จะออกดอกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – มีดอกย่อยอยู่ 2-3 ดอก
    – ก้านช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปกึ่งหัวใจถึงรูปใบหอก
    – มีขนาดยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – ก้านดอกยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงเป็นรูปากเปิด
    – ยาวประมาณ 11 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีเหลืองสด
    – มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
    – รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง
  • ผล [2]
    – ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอกหรือรูปขอบขนาน โป่งพอง และมีสีดำ
    – มีความกว้าง 0.8 เซนติเมตร และยาว 3-4 เซนติเมตร
    – ผิวผลเกลี้ยง ไม่มีขน
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตก
    – มีเมล็ดขนาดเล็ก

สรรพคุณ และประโยชน์ของหิ่งเม่นน้อย

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานั้นจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกช้ำ บวม[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่นน้อย”. หน้า 80.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หิ่ง เม่น น้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หิ่งเม่นดอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [24 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/
2.https://www.ipmimages.org/

หิ่งเม่น สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน

0
หิ่งเม่น
หิ่งเม่น สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน ไม้ล้มลุก ใบประกอบเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีเหลืองลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกมีขนปกคลุม ฝักอ่อนเป็นสีแดงฝักแก่สีน้ำตาล
หิ่งเม่น
ไม้ล้มลุก ใบประกอบเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีเหลืองลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกมีขนปกคลุม ฝักอ่อนเป็นสีแดงฝักแก่สีน้ำตาล

หิ่งเม่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria pallida Aiton ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria mucronata Desv.
จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ฮ่งหาย (ชุมพร)[1]

ลักษณะของต้นหิ่งเม่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุอยู่ได้หลายปี
    – มีลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1-1.5 เมตร
    – แตกกิ่งก้านย่อย
    – ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม
    – ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.06-17.4 มิลลิเมตร
    – สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียเขตร้อน ตามป่าหญ้าข้างทาง ชายป่าดิบเขา หรือตามป่าผลัดใบ
    – ขึ้นในที่ระดับความสูงถึง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบ
    – มีใบย่อย 3 ใบ
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ก้านช่อใบยาว 3-5 เซนติเมตร
    – ก้านใบข้างยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยด้านปลายเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ
    – ปลายใบมนทู่หรือโค้งเว้า
    – ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบหยักแบบขนครุย
    – ใบมีความกว้าง 2-4.5 เซนติเมตร และยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร
    – หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ไม่มีขน
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวขึ้นอยู่หนาแน่น
    – ผิวใบค่อนข้างนุ่ม
    – เส้นใบปลายโค้งจรดกัน
    – ใบย่อยด้านข้างจะมีความกว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร และยาว 3.5-7.5 เซนติเมตร
    – หูใบแหลม เล็กและสั้น เป็นสีม่วงแดง
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ช่อดอกมีดอกย่อย 27-44 ดอก
    – เป็นดอกเดี่ยว
    – ออกดอกเรียงตรงข้ามกัน
    – ออกดอกบนแกนช่อดอก
    – มีก้านยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยเป็นรูปถั่ว มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – กลีบบนเป็นรูปไข่ปลายมน
    – กลีบด้านข้างจะคล้ายปีก รูปขอบขนาน
    – กลีบล่างเชื่อมกันเป็นรูปท้องเรือ
    – ปลายแหลมโค้ง
    – กลีบดอกด้านในเป็นสีเหลืองเข้ม
    – กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเหลือง มีลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว
    – ดอกเมื่อบานจะมีขนาดกว้าง 1.4-1.6 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นมัด 10 อัน
    – มีอับเรณูเป็นสีส้ม
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
    – มีฝัก 7-16 ฝักต่อช่อ
    – ฝักจะโค้งงอเล็กน้อย
    – มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 3-9.5 เซนติเมตร
    – ปลายยอดฝักมีติ่งเป็นเส้นยาว 7 มิลลิเมตร
    – ฝักจะมีขนขึ้นปกคลุม
    – เส้นกลางฝักด้านนอกเป็นแนวยาวลึกลง
    – ฝักอ่อนเป็นสีแดง
    – ฝักเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็นฝา
    – ฝักจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีถึง 56-58 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นรูปไต สีน้ำตาล
    – เมล็ดมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร
    – จะออกฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของรากหิ่งเม่น

  • ช่วยทำให้มีบุตรง่าย[1]
  • ช่วยกระตุ้นกำหนัด[1]
  • ช่วยแก้อาการอาเจียน[1],[3]
  • ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ[1],[3]
  • ช่วยรักษาอาการร้อนใน
  • ช่วยแก้โรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ( ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ )

– รากเจตพังคี
– รากเจตมูลเพลิงแดง
– รากละหุ่งแดง
– รากมหาก่าน
– รากหิงหายผี
– เปลือกต้นหรือรากเดื่อหว้า
– ต้นพิศนาด
หัวกระชาย
– หัวกำบัง
เหง้าว่านน้ำ
– ผลยี่หร่า
เมล็ดพริกไทย
– เมล็ดเทียนคำหลวง
วุ้นว่านหางจระเข้
– เทียนทั้งห้า
ให้ใช้ในปริมาณที่เท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำมะนาวและใส่เกลืออีกเล็กน้อย ใช้สำหรับรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ประโยชน์ของหิ่งเม่น

  • ตัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[2]
  • เป็นแหล่งของอาหารตามธรรมชาติของโคกระบือ

ปริมาณสารอาหาร

ยอดอ่อน ใบ และก้านใบ ในระยะที่เริ่มมีดอก
– โปรตีน 23.94%
– ไขมัน 2.65%
– เถ้า 2.65%
– เยื่อใย 21.01%
– เยื่อใยส่วน ADF 38.6%
– NDF 47.67%
– ลิกนิน 15.11%[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค  คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่น”. หน้า 84.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “หิ่ ง เ ม่ น”.
3. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “หิ่งเม่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [24 ก.ย. 2014].

โหราข้าวโพด สมุนไพรมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

0
โหราข้าวโพด
โหราข้าวโพด สมุนไพรมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ผลรูปไข่กลมรีสีขาว ผลสุกเป็นสีแดง
โหราข้าวโพด
เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ผลรูปไข่กลมรีสีขาว ผลสุกเป็นสีแดง

โหราข้าวโพด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinellia ternata (Thunb.) Makino (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pinellia ternata (Thunb.) Ten. ex Breitenb., Pinellia tuberifera Ten.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE) ชื่อเรียกอื่นว่า ปั้นเซี่ย ซันเยี้ยะปั้นเซี้ย (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโหราข้าวโพด

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก ความสูงโดยเฉลี่ย 15-30 เซนติเมตร หัวจะอยู่ใต้ดินลักษณะเหมือนรูปไข่แบนนิดหน่อย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ส่วนหัวใต้ดินจะมีรากฝอยเป็นจำนวนมากมาย
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว จะมีก้านใบแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ตอนแรกๆจะแตกใบเพียง 1 ใบ ตอนโตเต็มที่ ก้านหนึ่งจะแตกถึง 3 ใบ ใบตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ ใบจะมีลักษณะรูปไข่วงรี ส่วนใบปลายแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ด้านหลังใบและท้องใบเป็นมันเงา ขนาด 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-23 เซนติเมตร มีเส้นใบแบบขนนก ทางก้านใบมีปุ่มงอกออกมามีสีขาว เหมือนไข่ไก่
  • ดอก เป็นช่อบริเวณปลายยอด ขนาดยาว 30 เซนติเมตร จะมีกาบใบสีเขียวหุ้มยาว 6-7 เซนติเมตร ช่อดอกจะยาวกว่าก้านใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะอยู่ด้านบนและดอกตัวเมียจะอยู่ด้านล่าง ช่วงห่าง 3-5 มิลลิเมตร ดอกจะมีรูปกลมยาวทรงกระบอก ด้านในเป็นสีม่วงดำ ด้านนอกเป็นดอกสีเขียว
  • ผล ภายในดอกจะมีผลลักษณะเป็นรูปไข่กลมรีสีขาว ขนาดยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

สรรพคุณของโหราข้าวโพด

  • หัว จะมีรสเผ็ด มีพิษเป็นยาร้อนใช้เป็นยาแก้ปวดหัววิงเวียน นอนไม่หลับ ช่วยสงบประสาท ช่วยในเรื่องแก้เสมหะข้น ละลายเสมหะ แก้ไอ คลื่นไส้อาเจียน ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หูน้ำหนวก แก้คออักเสบ ช่วยบรรเทาแก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด แน่นหน้าอก ขับน้ำขึ้นในกระเพาะ ท้องอืดท้องเฟ้อ แพ้ท้อง แก้ฝีหนอง ปวดบวม เต้านมอักเสบ

ข้อควรระวัง

  • เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้เป็นยาที่มีพิษ จึงไม่ควรรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด หรือรับประทานยาที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษ

กรรมวิธีกำจัดพิษ

  • นำหัวล้างให้สะอาด นำไปแช่น้ำสะอาดประมาณ 1-2 อาทิตย์ ให้เปลี่ยนน้ำวันละ 2 ครั้ง ตอนเปลี่ยนน้ำให้กวนน้ำไปด้วย เสร็จแล้วให้ไปแช่ในน้ำสารส้มจนกว่าจะไม่เห็นฟองสีขาวหรือจนกว่าหัวจะเริ่มมีสีชมพูแล้วนำน้ำทิ้ง ต่อจากนั้นให้แช่ในน้ำสะอาดอีก 1 วัน แล้วนำหัวที่ได้มาต้มน้ำสารส้มแล้วใส่ขิงลงไปต้มด้วยจนสุกเนื้อในจะมีสีเหลืองอ่อน แล้วเอามาตากแห้ง ก่อนจะนำมาทำยา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อให้คนสูดดม จะมีอาการหืดและเยื่อจมูกอักเสบ แต่ไม่พบความเป็นพิษต่อหนูขาวทดลองที่ได้รับตำรับอาหารซึ่งมียาผสมอยู่ 10% ของอาหาร
  • รายงานผลการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1989 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากเหง้าในหนูขาวทดลอง ผลการทดลองพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูขาวทดลองได้
  • น้ำที่ต้มได้จากหัวความเข้มข้น 20% เมื่อนำมาให้แมวทดลองกินในปริมาณ 0.6 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถช่วยแก้อาการไอของแมวทดลองได้
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มกับหัวในความเข้มข้น 20% หรือใช้ยาแห้ง 3 กรัม ต้มเป็นน้ำ ให้แมวทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยระงับอาการอาเจียนของแมวได้
  • มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้แท้ง ป้องกันการเกิดแผลที่กระเพาะ บรรเทาอาการปวด ลดไข้ ระงับประสาท เพิ่มความจำ ต้านการชัก
  • ในหัวหรือเหง้าจะพบน้ำมันระเหยและในน้ำมันระเหยจะพบสาร B-aminobutyricacid, Glutamicacid, Arginine, Aspartic acid และยังพบสาร B-sitosteryl-D-glucoside, Glucose, Glucolin, Amino acid, Alkaloid (ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับ Conine) เป็นต้น[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า สารสำคัญที่พบ ได้แก่ amylose BX-W, anethole, campesterol, choline, daucosterol, fluoride, flavone, pinellia lectin, pinellia ternata trypsin inhibitor, pinellian G, β-sitosterol, stigmasterol, tridecanoic acid

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราข้าวโพด”. หน้า 632.
2 หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โหราข้าวโพด” หน้า 155-156

โหราน้ำเต้า สรรพคุณจากหัวช่วยแก้บาดทะยัก

0
โหราน้ำเต้า สรรพคุณจากหัวช่วยแก้บาดทะยัก เป็นไม้ล้มลุก โคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วง ดอกเป็นช่อทรงกระบอกสีม่วงดำ ผลเป็นสีแดง
โหราน้ำเต้า
เป็นไม้ล้มลุก โคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วง ดอกเป็นช่อทรงกระบอกสีม่วงดำ ผลเป็นสีแดง

โหราน้ำเต้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Arisaema consanguineum Schott ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Arisaema erubescens var. consanguineum (Schott) Engl. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ เทียนหนานซิง หนานซิง (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นโหราน้ำเต้า

  • ต้น [1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ต้นมีความสูง 40-90 เซนติเมตร
    – มีหัวอยู่ใต้ดิน เป็นรูปกลมและแบน
    – มีรากฝอยมาก
    – เปลือกหัวเป็นสีเหลืองเข้ม
    – หัวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4-5.5 เซนติเมตร
  • ใบ [1]
    – ก้านใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน
    – ก้านใบกลมตั้งตรง เนื้อนิ่ม
    – มีร่องคล้ายกับก้านกล้วย
    – บริเวณโคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วงหุ้มอยู่
    – ก้านใบยาว 40-85 เซนติเมตร
    – ใบเป็นใบรวมแตกออกเป็นแฉก เรียงเป็นวงกลม มีประมาณ 7-23 แฉก เป็นรูปรียาว
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบอยู่ในจุดเดียวกัน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาว 13-19 เซนติเมตร
    – เนื้อใบไม่มีขนปกคลุม
    – หลังใบเป็นสีเขียว
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบเรียงแบบขนนก
  • ดอก [1]
    – ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากโคนต้น
    – ก้านช่อดอกยาว 30-70 เซนติเมตร
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกออกเป็นแต่ละกลุ่ม
    – ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก
    – อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีเนื้อนิ่ม
    – ดอกเป็นสีม่วงดำ
    – มีกาบใบหุ้มช่อดอก 1 ใบ เป็นสีเขียว มีความยาว 11-16 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก
  • ผล [1]
    – ผล จะอยู่ข้างในดอก
    – ผล เป็นสีแดง

ข้อควรระวังในการใช้โหราน้ำเต้า

– สมุนไพรชนิดนี้มีพิษ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด[1]
– สำหรับผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการลิ้นชา เวียนศีรษะ เจ็บคอ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

– พบสาร Alkalod (ที่ออกฤทธิ์เหมือนกับ Conine), Amino acid, Benzoic acid, Saponina, Treterpenoid และยังพบแป้งอีก ส่วนผล Coniine เป็นต้น[1]
– เมื่อนำน้ำที่ต้มจากหัวมาให้แมวหรือสุนัขทดลองกิน พบว่า จะทำให้สัตว์ทดลองมีอาการอาเจียนและเกิดการกระตุ้นหลอดลมให้ขับเสมหะออกมามากขึ้น[1]
– เมื่อนำน้ำที่ต้มจากหัวมาให้หนูทดลองกิน พบว่าจะมีฤทธิ์แก้ปวดในหนูทดลอง และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหนูที่มีเนื้องอกได้อีกด้วย[1]

สรรพคุณของโหราน้ำเต้า

  • หัว สามารถใช้เป็นยาแก้ลมบ้าหมูได้[1]
  • หัว สามารถใช้แก้อาการตกใจง่ายชักกระตุกได้[1]
  • หัว สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้สูงลมชักของเด็กได้[1]
  • หัว สามารถใช้เป็นยาขับลมได้[1]
  • หัว ช่วยแก้บาดทะยัก[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้แก้ตาและปากเบี้ยวที่ใบหน้าหรือใบหน้ามีอาการชาได้[1]
  • หัว ช่วยกระจายและละลายการอุดตันของเสมหะในลำคอ แก้คอตีบ[1]
  • หัว ช่วยแก้อัมพาตจากเสมหะติดหลอดลมทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการวิงเวียน[1]
  • หัว มีรสขมเผ็ด มีพิษ เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม สามารถใช้เป็นยาสงบประสาทได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาพิษฝีหนองปวดบวม แก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการฟกช้ำบวม และฆ่าแมลงวันได้[1]

ขนาดและวิธีใช้[1]

  • ให้ใช้เฉพาะยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษแล้วเท่านั้น
  • ให้ใช้เพียงครั้งละ 2-5 กรัม
  • นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น
  • การนำมาใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ

กรรมวิธีการกำจัดพิษ[1]

  • นำหัวมาล้างให้สะอาด
  • นำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าน้ำที่แช่จะมีฟองขึ้นมา
  • ให้เปลี่ยนน้ำวันละ 1-2 ครั้ง
  • หลังจากนั้นให้นำมาแช่กับน้ำสารส้ม ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม
  • แช่นาน 1 เดือน หรือแช่จนกว่าหัวโหราจะไม่มีรสเผ็ดเมา
  • นำมาแช่กับสารส้มและขิงอีกรอบหนึ่ง ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 6.5 กิโลกรัม ต่อขิง 12.5 กิโลกรัม
  • ให้แช่นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • นำหัวมาต้มให้สุก
  • แล้วนำไปผึ่งให้แห้งหรืออบแห้ง
  • จากนั้นให้นำหัวมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วเก็บไว้ใช้เป็นยาต่อไป

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราน้ำเต้า”. หน้า 636.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.phakhaolao.la/
2.https://www.gardenia.net/
3.https://plants.ces.ncsu.edu/

แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ

0
แฟรงกูล่า
แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
แฟรงกูล่า
เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ

แฟรงกูล่า

จัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ตามลำต้นไม่มีหนาม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชื่อสามัญ Alder Buckthorn, Buckthorn Bark ชื่อวิทยาศาสตร์ Frangula alnus Mill. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhamnus frangula L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]

ลักษณะของต้นแฟรงกูล่า

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทกลางแจ้ง
    – ต้นมีความสูงประมาณความสูง 3-5 เมตร
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่สามารถแตกกิ่งก้านสาขาออกมาได้โดยรอบของตัวต้น
    – ตามลำต้นไม่มีหนาม[1]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ แผ่นใบกว้างและแผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ และจะออกดอกจากเฉพาะทางด้านข้างเท่านั้น โดยในกลุ่ม ๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ที่ประมาณ 2-3 ดอก[1]
    – ดอกรูประฆัง ดอกมีสีเป็นสีขาว ปลายดอกเป็นรอยหยักเล็กน้อย ส่วนโคนดอกเป็นมน
    – ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวไล่จากโคนกลีบขึ้นไปยังส่วนของปลายกลีบจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และดอกมีก้านสีเขียวค่อนข้างยาว
  • ผล
    – ผล มีลักษณะของเนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง เมื่อผลแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงเข้ม
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นแฟรงกูล่า

1. เปลือกต้นแบบสดนำมารับประทานเพื่อขับอาเจียน (เปลือกต้นสด)[1]
2. สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้นำเปลือกตากแห้งแล้วและเก็บเอาไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี นำมาใช้ทำเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูกได้ (เปลือกต้นแห้ง)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นแฟรงกูล่า

  • มีสารสำคัญที่พบได้ ซึ่งได้แก่ gluco-flangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside-8-gulcoside) และ frangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แฟรงกูล่า”. หน้า 588.

ต้นมะกา ช่วยแก้เหน็บชาและขับระดู

0
ต้นมะกา
ต้นมะกา ช่วยแก้เหน็บชาและขับระดู เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกสีเขียวอ่อนเกสรสีแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ
ต้นมะกา
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกสีเขียวอ่อนเกสรสีแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ

ต้นมะกา

ต้นมะกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนระบายน้ำดี ชอบความชื้น ที่มีแสงแดดเต็มวัน สามารถพบเจอได้ที่ตามป่าโปร่งทุกภาคของประเทศไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะกา คือ Bridelia ovata Decne. อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ส่าเหล้า (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กอง (ภาคเหนือ), มัดกา (จังหวัดหนองคาย), ซำซา (จังหวัดเลย), ก้องแกบ (จังหวัดเชียงใหม่), สิวาลา (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กองแกบ (ภาคเหนือ), มาดกา (จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย), มะกาต้น (จังหวัดเลย), ขี้เหล้ามาดกา (จังหวัดขอนแก่น) [1],[2]

ลักษณะต้นมะกา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมน ขอบใบจะเรียบหรือจะเป็นคลื่น ที่ขอบใบอ่อนกับยอดอ่อนจะเป็นสีแดง ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านหลังมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นสีเขียวเข้ม ที่ท้องใบจะมีลักษณะเป็นคราบสีขาว มีเนื้อใบที่บาง หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบก็เรียบเช่นกัน ก้านใบจะสั้น[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกที่ตามซอกใบ ดอกมะกาจะเป็นดอกแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ที่ปลายกลีบดอกจะแหลม ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีเกสรสีแดง[1],[2]
  • ลักษณะของผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ เมล็ดเป็นรูปไข่และมีขนาดที่เล็ก[1],[2]
  • ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง

สรรพคุณต้นมะกา

1. สามารถช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย และช่วยบำรุงน้ำเหลืองได้ (ใบ)[7]
2. สามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ (ใบ)[7]
3. สามารถช่วยแก้ไตพิการได้ (แก่น)[1],[2]
4. สามารถช่วยระบายอุจจาระธาตุได้ (แก่น)[1],[2]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทานใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
6. ใบและทั้งห้าสามารถช่วยขับลมได้ (ใบ, ทั้งห้า)[7]
7. เมล็ดสามารถช่วยทำให้ฟันแน่นได้ (เมล็ด)[5]
8. สามารถนำใบที่ตายแล้วมานึ่งใช้มวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือเอาไปต้มใช้ดื่มเป็นยาขับเสมหะได้ (ใบ)[2],[5]
9. เป็นยาขับเสมหะ (แก่น)[1],[2]
10. ใบมะกาจะมีรสขมขื่น มีสรรพคุณที่เป็นยาถ่ายพิษไข้ และถ่ายพิษตานซางในเด็กได้ (ใบ)[1],[2]
11. แก่นสามารถช่วยฟอกโลหิตได้ (แก่น)[1],[2]
12. ใบมะกาสามารถช่วยแก้โลหิตเป็นพิษได้ (ใบ)[7]
13. เป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)[7]
14. แก่นจะมีรสชาติขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น)[1],[2]
15. เปลือก มีรสฝาดขม สามารถใช้เป็นยาแก้พิษกระษัย และแก้กระษัยได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
16. มีข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคกระษัย โดยนำใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด รากต้นเสาให้ อย่างละเท่า ๆ กัน มาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำ แล้วก็ใส่เกลือทะเล 1 กำมือ นำน้ำยามาทาน (ใบ)[4]
17. สามารถใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เปลือกต้น)[6]
18. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงน้ำดีได้ (ใบ)[7]
19. สามารถช่วยแก้มุตกิดของสตรี ช่วยคุมกำเนิด และช่วยขับระดูได้ (ใบ)[7]
20. นำใบมะกาสดมาปิ้งไฟ สามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนได้ (ใบ)[1],[7] โดยนำใบมะกาแห้งมาปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที เอามาดื่มก่อนนอนเป็นยาระบายได้ (ใบ)[5]
21. ใบมะกาสามารถช่วยในการย่อยอาหารได้ (ใบ)[7]
22. ใบมะกาสามารถช่วยชักลมที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ (ใบ)[1],[2]
23. ใบมะกาสามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้ (ใบ)[7]
24. สามารถนำใบมะกามาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิตได้ (ใบ)[1],[2]
25. สามารถใช้รากมะกากับใบมะกามาเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ)[5] ใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)[7]
26. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงธาตุไฟได้ (ใบ)[7]
27. ใบมะกาสามารถช่วยแก้ตานขโมยได้ (ใบ)[7]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีฤทธิ์ที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ[7]
  • จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยที่ท้องผูก โดยนำใบมะกาแห้งประมาณ 1.5-2 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลานาน 10-20 นาที นำมาดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลที่ดี จะมีอาการข้างเคียงก็คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง [3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก), งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn/. [13 พ.ค. 2014].
2. การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเขาตายิ้ม อ.เมือง จ.ตราด, สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ พ.ศ. 2549. “มัดกา, มะกา”. (ชูจิตร อนันตโชค, ทรรศนีย์ พัฒนเสร, วจีรัตน์ บุญญะปฏิภาค). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: forprod.forest.go.th/forprod/chemistry/pdf/1.66.pdf. [13 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะกา (Maka)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 213.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะกา”. หน้า 66.
5. คมชัดลึกออนไลน์. “มะกา ใบขับเสมหะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [13 พ.ค. 2014].
6. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. เขต 29. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ict2.warin.ac.th/botany/. [13 พ.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะกา”. หน้า 148. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/1816036

ต้นมะคังแดง รากใช้เป็นยารักษาโรคหัด

0
ต้นมะคังแดง รากใช้เป็นยารักษาโรคหัด เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดงเข้ม และขนนุ่ม ดอกเป็นช่อสั้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผลกลมสีเขียวผิวเรียบ
ต้นมะคังแดง
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดงเข้ม และขนนุ่ม ดอกเป็นช่อสั้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผลกลมสีเขียวผิวเรียบ

ต้นมะคังแดง

ต้นมะคังแดง ขึ้นตามพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และตามป่าเบญจพรรณ[1],[2],[3] เป็นไม้ยืนต้นกึ่งไม้พุ่มลำต้นมีหนามแหลมเปลือกไม้มีสีน้ำตาลแดง พืชสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เข็ม Rubiaceae และสมุนไพรชนิดนี้ใช้รากนำมาต้มเป็นกษาโรคหัด สามารถพบได้แถบอินเดีย อินโดจีน พม่า และในยารัไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia erythroclada Kurz ชื่ออื่น ๆ มะคังป่า (ในภาคเหนือ), ตุมกาแดง (ในภาคกลาง), มุยแดง ลุมปุกแดง ลุมพุกแดง (จังหวัดนครราชสีมา), มะคัง (จังหวัดเชียงใหม่), จงก่าขาว จิ้งก่าขาว ชันยอด (จังหวัดราชบุรี), จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (จังหวัดกาญจนบุรี), โรคแดง เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นมะคังแดง

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีความของสูงอยู่ที่ประมาณ 6-12 เมตร
    – เปลือกลำต้นและกิ่งก้าน เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม และมีขนนุ่มคล้ายกับกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมอยู่ทั่ว
    – ตามบริเวณโคนต้น ลำต้น และกิ่งจะมีหนามขนาดใหญ่ขึ้นอยู่โดยรอบลำต้น พุ่งตรงออกมาเป็นระยะ ๆ และตามกิ่งก้านอ่อนจะมีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบในรูปแบบที่เรียงตรงข้ามกัน
    – ใบขึ้นดกหนาทึบ และใบสามารถหลุดร่วงได้ง่าย
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ตรงปลายใบและโคนใบ ส่วนขอบใบเรียบ บริเวณหลังใบด้านบนมีผิวเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างจะมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ หรือใบอาจจะมีขนทั้งสองด้าน
    – ก้านใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และใบมีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม[1],[2]
    – ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยช่อจะมีขนาดเล็ก และดอกจะออกตามบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
    – ดอกย่อยมีสีเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีทั้งสิ้น 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน
    – ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกจะเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกันกับกลีบดอกวางอยู่ระหว่างกลีบดอก[1]
    – ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม[1],[3]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีสีเขียว ผิวผลเรียบ
    – ผลมีสันนูนขึ้นอยู่ประมาณ 5-6 สัน ตรงปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
    – ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม(ช่วงเดียวกันกับช่วงที่ต้นออกดอก)[1],[3]

สรรพคุณของต้นมะคังแดง

1. เปลือกต้นนำมาใช้เข้ายากับต้นมุ่ยขาว นำมาทำเป็นยาลูกกลอน ไว้ใช้สำหรับแก้อาการปวดเส้นเอ็น แก้โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และแก้โรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)[2]
2. เปลือกต้นนำมาตำใช้สำหรับพอกแผลสดเพื่อใช้ห้ามเลือดจากบาดแผลได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
3. เนื้อไม้นำมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้กษัยไตพิการได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
4. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
5. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการเลือดลมเดินไม่สะดวก และแก้พิษโลหิตหรือพิษน้ำเหลืองได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
6. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย (แก่น)[2]
7. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการมีรอบเดือนของสตรีได้ (แก่น)[2]
8. แก่นนำมาใช้ผสมกับต้นมุ่ยขาว มุ่ยแดง ต้นหนามแท่ง ต้นเล็บแมว และต้นเงี่ยงปลาดุก มาทำเป็นยาสำหรับการรักษามะเร็ง และโรคกระเพาะอาหาร (แก่น)[2]
9. รากนำมาใช้ทำเป็นยาถ่ายได้ (ราก)[2]
10. มีสรรพคุณในการนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]

ประโยชน์ของต้นมะคังแดง

  • เนื้อไม้ นำมาใช้ทำหน้าไม้ใช้สำหรับล่าสัตว์ได้ และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้อีกด้วย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “มะ คัง แดง (Ma Khang Daeng)”.  หน้า 217.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “มะ คัง แดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [04 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “มะ คัง แดง”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [04 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/
2.https://khmer-medicinalplants.blogspot.com/