Home Blog Page 71

หูเสือ ต้นและใบมีกลิ่นหอม ดีต่อการลดไข้และแก้ไอ

0
หูเสือ ต้นและใบมีกลิ่นหอม ดีต่อการลดไข้และแก้ไอ
หูเสือ หรือเนียมหูเสือ ไม้ล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่ม ใบนูนและเส้นใบลึก ใบกลิ่นหอม
หูเสือ ต้นและใบมีกลิ่นหอม ดีต่อการลดไข้และแก้ไอ
หูเสือ หรือเนียมหูเสือ ไม้ล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่ม ใบนูนและเส้นใบลึก ใบกลิ่นหอม

หูเสือ

หูเสือ (Indian borage) หรือเนียมหูเสือ เป็นไม้ล้มลุกที่พบได้มากทางภาคเหนือ เป็นดอกสีม่วงขาวที่มีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นผักที่มีน้ำมันหอมระเหยสูงจึงช่วยย่อยและดับกลิ่นคาวได้ดีมาก และที่สำคัญต้นและใบมีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นนั้นจะมีกลิ่นคล้ายกับเครื่องเทศ “ออริกาโน” ที่เอาไว้ใช้โรยหน้าพิซซ่า ด้วยความที่มีรสเผ็ดร้อนจึงมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งชาวบ้านในแถบทางภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอโดยเฉพาะ

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหูเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Indian borage” “Country borage” “Oreille” Oregano”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “หอมด่วนหูเสือ หอมด่วนหลวง” ภาคอีสานเรียกว่า “เนียนหูเสือ” ไทใหญ่เรียกว่า “ผักฮ่านใหญ่” คนไทยเรียกว่า “ผักหูเสือ” คนจีนเรียกว่า “เนียมอีไหลหลึง โฮว้หีเช่า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่อพ้อง : Coleus amboinicus Lour., Coleus aromaticus Benth.

ลักษณะของต้นหูเสือ

หูเสือ เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 – 3 ปี มักจะพบตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศแต่พบได้มากทางภาคเหนือ
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำและหักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น เมื่อแก่แล้วจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ขอบใบจักเป็นคลื่นมนรอบใบ ใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ แผ่นใบนูนและเส้นใบลึก เมื่อนำมาขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือยอด ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 6 – 8 ดอก จะทยอยบานทีละ 1 – 2 ดอก ดอกย่อยติดกันหนาแน่นเป็นวงรอบแกนผลเป็นระยะและมีขน มีกลีบดอก 5 กลีบเป็นสีม่วงขาว ลักษณะเป็นรูปเรือ ปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ กลีบบนสั้น ตั้งตรงและมีขน กลีบล่างมีลักษณะยาวและเว้า ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ตอนโคนล้อมก้านเกสรเพศเมียไว้ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง มีขนและมีต่อม ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกบนเป็นรูปไข่กว้างและปลายแหลม ส่วนแฉกข้างเป็นรูปหอกแคบ ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง
ผล : ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นน้ำตาลอ่อน เปลือกผลแข็ง

สรรพคุณของหูเสือ

  • สรรพคุณจากต้นและใบ ช่วยทำให้เจริญอาหาร
    – ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวกและแก้พิษฝีในหู ด้วยการนำต้นและใบมาคั้นเอาน้ำหยอดหู
    – ช่วยลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็ก ด้วยการนำต้นและใบตำแล้วโปะหน้าผากหรือกระหม่อมเด็กเล็ก
    – ช่วยแก้โรคหืดหอบ ทำให้หายใจโล่ง ช่วยแก้ไอและแก้หวัด ด้วยการนำใบสดมาทานร่วมกับน้ำพริก แจ่ว
    – แก้อาการท้องอืด ด้วยการนำต้นและใบมาขยี้ใช้ทาท้องเด็ก
    – ห้ามเลือด ด้วยการนำต้นและใบมาขยี้ใช้เป็นยาปิด
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้ลมชักบางประเภท ช่วยบำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี
    – แก้อาการปวดและลดไข้ ด้วยการนำใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะ
    – ช่วยแก้อาการหวัดและคัดจมูก ด้วยการนำใบมาขยี้ดม
    – แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – ช่วยขับน้ำคาวปลา ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำกินหลังคลอด
    – รักษาแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบมาล้างให้สะอาด ตำแล้วนำมาโปะตรงที่เป็นแผล
    – รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลที่มีน้ำเหลือง รักษาน้ำหนองหรือเป็นตุ่มพุพอง ด้วยการนำใบมาคั้นใช้เป็นยาทา
    – รักษาหิด ด้วยการนำใบมาขยี้ทา
    – แก้แมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด ด้วยการนำใบมาขยี้ทาหรือใช้เป็นยาพอก
    – ช่วยรักษาอาการบวมและแก้ปวดข้อ ด้วยการนำมาตำแล้วพอก
    – ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา
    – ช่วยลดเสมหะ ด้วยการนำใบสดมาต้มใส่ใบกระวานและกานพลูเล็กน้อยผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ดื่มวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาบำรุงเลือดลม ช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำกิน
    – ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการนำรากมาแช่กับน้ำธรรมดาแล้วนำมากินและอมบ่อย ๆ
    – แก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการนำใบสดประมาณ 4 – 5 ใบ มาฉีกเป็นชิ้นเล็กแล้วนำไปต้มกับน้ำ 1 ลิตร กินครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 เวลาก่อนหรือหลังอาหาร หรือนำใบประมาณ 4 – 5 ใบมาสับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียดแล้วต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น โดยให้กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้าและเย็น
    – ตำรับยาแก้ไอในเด็ก จะนำใบมานวดกับเกลือคั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือดแล้วนำมาให้เด็กกิน
  • สรรพคุณจากยางจากใบ
    – ช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง แก้อาหารไม่ย่อย ด้วยการนำยางจากใบมาผสมกับน้ำตาลกิน

ประโยชน์ของหูเสือ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบทุกชนิด ก้อย แจ่วป่น ซุบหน่อไม้ ซุบมะเขือ ใช้ใส่ในแกง ทานสดเป็นผักแกล้มกับอาหารอื่นหรือใช้กินกับหมาก และยังนำมาใช้แทนใบกะเพราในแกงกบ แกงปลาไหลและผัดหมูสับได้ ช่วยย่อยและดับกลิ่นคาวได้ดีมาก
2. ใช้แทนเครื่องเทศออริกาโน กลิ่นหอมของใบหูเสือคล้ายกับเครื่องเทศออริกาโนที่ใช้โรยหน้าพิซซ่า สามารถนำใบหูเสือมาตากให้แห้งสนิทในที่ร่มแล้วบดให้ละเอียดใช้แทนออริกาโนได้
3. ใช้ทำความสะอาด ต้นนำมาตำหรือบดใช้ซักผ้าหรือสระผมได้
4. ใช้ทำเป็นยา ใบทำเป็นยานัตถุ์ได้เพราะมีกลิ่นหอม ชาวบ้านในแถบภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ
5. ไล่แมลง ใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลงได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหูเสือ

สารที่พบในหูเสือ พบสารน้ำมันหอมระเหย carvacrol, cyperene, thymol, γ – terpinene
ฤทธิ์ของหูเสือ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้งยีสต์ ช่วยฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่นและยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV

หูเสือ เป็นต้นที่มีน้ำมันหอมระเหยและมีกลิ่นหอมจนสามารถนำมาใช้ไล่แมลง ใช้ดับกลิ่นคาวอาหารได้ดี เป็นต้นที่มีรสเผ็ดร้อนและนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลากหลาย ส่วนมากจะพบได้ทางภาคเหนือของประเทศไทย หูเสือมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ลดไข้ บำรุงร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ แก้ไอและดับกลิ่นปากได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณได้มากมายมากกว่าที่คิดและยังเป็นยาร้อนที่ดีต่อการแก้หวัด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หูเสือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ก.ย. 2014].
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หูเสือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [23 ก.ย. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ใบหูเสือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [23 ก.ย. 2014].
กรุงเทพธุรกิจ. “หูเสือ แก้ไอ บำรุงเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangkokbiznews.com. [23 ก.ย. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. (นายสวีสอง). “หูเสือ ต้นสระผมได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net. [23 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ว่านกีบแรด มีหัวคล้ายกีบเท้าแรด อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาสมุนไพร

0
ว่านกีบแรด มีหัวคล้ายกีบเท้าแรด อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาสมุนไพร
ว่านกีบแรด เป็นไม้พวกเฟิร์น หัวคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ ภายในจะเป็นสีเหลืองคล้ายขมิ้น มีรสเย็นฝาด
ว่านกีบแรด มีหัวคล้ายกีบเท้าแรด อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาสมุนไพร
ว่านกีบแรด เป็นไม้พวกเฟิร์น หัวคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ ภายในจะเป็นสีเหลืองคล้ายขมิ้น มีรสเย็นฝาด

ว่านกีบแรด

ว่านกีบแรด (Giant fern) เป็นไม้จำพวกเฟิร์นที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีลักษณะเด่นอยู่ที่หัวคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือและเป็นสีน้ำตาลแก่ หัวและรากมีรสจืดเย็นฝาดและเป็นยา ใบมีรสเฝื่อนสามารถนำมารับประทานได้ ว่านกีบแรดเป็นส่วนหนึ่งของยาพื้นบ้านในสามจังหวัดภาคใต้ ตำรับยาแก้อาการนอนไม่หลับ หมอยาจังหวัดเลย (ตาเพ็ง สุขนำ) ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนและตำรับยาเขียวหอม

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของว่านกีบแรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Giant fern” “Mule’s – foot fern”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ว่านกีบม้า” ภาคเหนือเรียกว่า “กีบม้าลม” ภาคใต้เรียกว่า “ปากูดาฆิง” จังหวัดแพร่เรียกว่า “กีบแรด” จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “ปากูปีเละ ปียา” ภาคใต้มลายูเรียกว่า “ดูกู” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “โด่คเว่โข่” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “เฟิร์นกีบแรด กูดกีบม้า ผักกูดยักษ์”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ MARATTIACEAE
ชื่อพ้อง : Polypodium evectum G. Forst.

ลักษณะของว่านกีบแรด

ว่านกีบแรด เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์นที่มักจะพบตามสภาพของเขา ตามป่าชื้น ป่าดิบเขาที่มีความร่มเงาและมีความชื้นสูง ใกล้แหล่งน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไปหรือภายในสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะตามห้วยต่าง ๆ
ต้น : โคนต้นพองอยู่ติดกับพื้นผิวดิน
หัว : มีหัวลักษณะเป็นกีบอยู่ใต้ดิน หัวมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ เป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อนำมาหักดูภายในจะเป็นสีเหลืองคล้ายขมิ้นและมีรสเย็นฝาด
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนไม่เท่ากันหรือเป็นรูปหัวใจตื้นและเบี้ยว ขอบใบจักมน จักเป็นฟันเลื่อยหรือจักถี่ตลอดทั้งขอบใบ หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนาและอวบน้ำ มีเมล็ดสีน้ำตาล หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบอิสระแยกสาขาเป็นคู่จำนวนมาก ก้านใบย่อยบวม ก้านใบร่วมมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบกลม ตามใบแก่จะมีอับสปอร์สีน้ำตาลเรียงติดกันเป็นแถวอยู่ใกล้กับขอบใบตรงด้านท้องใบ กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปวงรีประกอบด้วย 7 – 12 อับสปอร์ ผนังเชื่อมติดกัน ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณของว่านกีบแรด

  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้พิษตานซางในเด็ก ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้ตาเจ็บ ช่วยแก้น้ำลายเหนียว แก้อาเจียน เป็นยาฝาดสมาน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ฝีหัวคว่ำ เป็นยาลดบวม แก้อาการปวดเมื่อย บรรเทาอาการไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด แก้พิษอีสุกอีใส
    – เป็นยาบำรุงกำลัง โดยคนเมืองนำหัวมาสับแล้วตากให้แห้ง แล้วนำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า ดีปลีและพริกไทย ปั้นเป็นลูกกลอนกินเป็นยา
    – บำรุงเลือดและบำรุงกำลัง แก้อาการปวดหลังและปวดเอว ด้วยการนำหัวมาหั่นตากดองกับเหล้าหรือต้มกับน้ำกิน
    – รักษาโรคมะเร็งและโรคหัวใจ โดยหมอยาพื้นบ้านในสามจังหวัดภาคใต้นำหัวและหัวกระทือมาหั่นตากแห้ง แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม
    – รักษาโรคมะเร็ง โดยแบนุหมอยาปัตตานีนำหัวมาต้มกับแก่นขี้เหล็กแล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มกินเป็นประจำ
    – ช่วยควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวาน โดยหมอยาภาคใต้นำหัวตากแห้งมาต้มกับน้ำดื่มเป็นประจำ
    – เป็นยาลดความดัน ด้วยการนำหัวมาหั่นตากแห้งแล้วต้มกับน้ำกิน
    – แก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการนำว่านกีบแรด รากหญ้าคา รากย่านางและเนระพูสีมาต้มให้เดือดแล้วดื่มก่อนนอน 1 แก้ว
    – แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้กำเดา ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – แก้แผลในปากและในคอ ด้วยการนำหัวมาฝนกับน้ำหรือต้มเคี่ยวใช้เป็นยาทาหรืออมไว้ให้ตัวยาสัมผัสกับแผล
    – แก้ท้องร่วง ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบแก่
    แก้ไอ ด้วยการนำใบแก่มาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาห้ามเลือด
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้ผื่นคัน ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มหรือแช่กับน้ำไว้ครึ่งวันแล้วใช้อาบ
  • สรรพคุณจากโคนก้านใบ
    – แก้อาการตัวบวม โดยชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนนำโคนก้านใบที่อยู่ใต้ดินมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบอ่อน
    – แก้อาการปวด ด้วยการนำใบอ่อนมาทุบแล้วนำไปต้มใช้ประคบหัวเข่า

ประโยชน์ของว่านกีบแรด

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนนำมารับประทานเป็นผักลวกกินกับน้ำพริก ลาบ ป่น แจ่วได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป
3. เป็นส่วนประกอบในยา อยู่ในตำรับยาเขียวหอม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านกีบแรด

จากการทดลองพบว่า สารในว่านกีบแรดมีฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งแต่มีฤทธิ์น้อย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ HIV (HIV-1reverse transcriptase) อีกด้วย

ว่านกีบแรด เป็นชื่อที่มาจากหัวของต้นที่มีลักษณะคล้ายกับกีบแรด จึงทำให้มีชื่อว่า “ว่านกีบแรด” เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาสมุนไพร นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในตำรายามากมาย ว่านกีบแรดมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงเลือดและบำรุงกำลัง รักษาโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวานและลดความดัน นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยรักษาในเรื่องอื่นได้อีกมากมาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ว่านกีบแรด (Wan Kip Raet)”. หน้า 273.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ว่านกีบแรด”. หน้า 51.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านกีบแรด”. หน้า 706-707.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ว่านกีบแรด, กีบม้าลม, เฟิร์นกีบแรด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 6. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [25 ต.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ว่านกีบแรด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [25 ต.ค. 2014].
กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “กูดกีบม้า…ยาม้าปนแรด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rakkhaoyai.com. [25 ต.ค. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักกูดยักษ์”. อ้างอิงใน : หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [25 ต.ค. 2014].
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ว่านกลีบแรด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [25 ต.ค. 2014].
สันยาสี. (หมอเมือง สันยาสี). “ตำรับยารักษาโรคเรื้อรัง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.sanyasi.org. [25 ต.ค. 2014].
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล). “ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก…”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [25 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ผักบุ้งรั้ว ดอกสีม่วงอ่อนสวยงาม ต้นมีพิษไซยาไนด์ เป็นยาต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะ

0
ผักบุ้งรั้ว ดอกสีม่วงอ่อนสวยงาม ต้นมีพิษไซยาไนด์ เป็นยาต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ผักบุ้งรั้ว เป็นวัชพืชไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นรูปแตร เป็นสีม่วง สีม่วงอ่อน สีม่วงแดง สีชมพูหรือสีขาวอมเขียว
ผักบุ้งรั้ว ดอกสีม่วงอ่อนสวยงาม ต้นมีพิษไซยาไนด์ เป็นยาต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ผักบุ้งรั้ว เป็นวัชพืชไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นรูปแตร เป็นสีม่วง สีม่วงอ่อน สีม่วงแดง สีชมพูหรือสีขาวอมเขียว

ผักบุ้งรั้ว

ผักบุ้งรั้ว (Railway Creeper) เป็นไม้เถาเลื้อยที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีดอกเป็นรูปแตรสีม่วงอ่อนหรือสีชมพูทำให้ดูสวยงามจึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ ผักบุ้งรั้วมีทั้งต้นรสหว่านชุ่มและขม ทำให้มีฤทธิ์เป็นยาเย็น นิยมนำมาใช้เป็นยาในประเทศอินเดียและในตำรับยาแก้นิ่ว ทว่าผักบุ้งรั้วเองนั้นก็มีส่วนของใบและรากมีสารพิษไซยาไนด์อยู่ซึ่งเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกายอย่างมากจึงควรนำมาปรุงก่อนทาน ผักบุ้งรั้วค่อนข้างนิยมในฮาวายซึ่งจะนำรากมาบริโภคเป็นอาหารแม้ว่ามันจะมีรสขมก็ตาม

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักบุ้งรั้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea cairica (L.) Sweet
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Railway Creeper”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ผักบุ้งฝรั่ง” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “โหงวเหยียวเล้ง” จีนกลางเรียกว่า “อู่จ่าวหลง อู๋จว่าหลง อู๋จว่าจินหลง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
ชื่อพ้อง : Convolvulus cairicus L., Ipomoea palmata Forssk.

ลักษณะของผักบุ้งรั้ว

ผักบุ้งรั้ว เป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาล้มลุก มักจะพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไปในประเทศไทย
ลำต้น : ลำต้นสามารถเลื้อยไปได้ยาวและไกล มีลักษณะเป็นปล้องสีเขียวหรือสีเขียวอมเทา ตามลำต้นจะมีตุ่มเล็ก ๆ ติดอยู่
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือแยกออกเป็น 5 แฉก แฉกลึกถึงโคน แฉกกลางมีขนาดใหญ่กว่า แต่ละแฉกมีลักษณะเป็นรูปวงรี รูปไข่หรือรูปแกมใบหอก ปลายใบแต่ละแฉกมีลักษณะแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ ใบที่โคนมักแยกออกเป็นแฉก ก้านใบมีตุ่มเล็ก ๆ
ดอก : มีทั้งดอกเดี่ยวและออกเป็นช่อตามซอกใบหรือยอดต้น มีดอกประมาณ 1 – 3 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปแตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีลักษณะติดทน ขยายในผล กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปแตรหรือรูปลำโพง เป็นสีม่วง สีม่วงอ่อน สีม่วงแดง สีชมพูหรือสีขาวอมเขียว แต่ใจกลางดอกจะมีสีเข้มกว่า กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูไม่บิดงอ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเป็นรูปเส้นด้ายอยู่ภายในหลอดกลีบดอก ยอดเกสรมี 2 พู
ผล : พบผลได้ในดอก เมื่อดอกร่วงโรยไปก็จะติดผล ผลเป็นแบบแคปซูลลักษณะกลม เมื่อแก่จะแห้งและแตกออก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1 – 4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมและสั้น ด้านหนึ่งเป็นแง่ง เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีดำ มีขนนุ่มสีขาวหนาแน่น ตรงขอบมีขนยาว

สรรพคุณของผักบุ้งรั้ว

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ดีต่อปอด ตับ ไตและกระเพาะปัสสาวะ เป็นยาแก้ไอ แก้ไอร้อนในปอด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย
    – แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ด้วยการนำต้นสดประมาณ 30 – 35 กรัมมาต้มกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยแล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม
    – แก้ฝีบวม แก้ฝีหนองภายนอกหรือผดผื่นคัน ด้วยการนำต้นสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาถ่าย เป็นยาแก้ฟกช้ำ
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำพอกหรือทา

ประโยชน์ของผักบุ้งรั้ว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร บางท้องถิ่นนำผักบุ้งรั้วมาใช้ปรุงเป็นอาหาร ในฮาวายนำรากมาบริโภคเป็นอาหาร
2. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักบุ้งรั้ว

สารที่พบในผักบุ้งรั้ว

  • ใบและรากผักบุ้งรั้วมีสาร cyanogenetic glycoside ผสมอยู่เล็กน้อย
  • เมล็ดมีสารจำพวก muricatin A, muricatin B, fatty acid (arachidic, bebenic, oleic, palmitic, linolenic acid, linoleic, stearic), β – Sitosterol
    ผลการทดลอง ฉีดสาร muricatin A ที่สกัดได้จากเมล็ดผักบุ้งรั้วเข้าไปในหลอดเลือดของสุนัขในขนาดประมาณ 5 – 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งจะไม่มีผลต่อความดันโลหิต แต่ถ้าใช้ในขนาดมากหรือประมาณ 20 – 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงชั่วคราว
  • เมื่อนำสาร muricatin A มาใช้ทดลองกับหนู โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 0.5 กรัม พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาถ่ายได้

ข้อควรระวังของผักบุ้งรั้ว

ใบและรากมีสารพิษไซยาไนด์ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อระบบหายใจได้ มีข้อมูลระบุว่าต้น รากและใบมีสารพิษ ส่วนเถาหากนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ จึงต้องนำมาให้ความร้อนด้วยการต้มหรือคั่วให้เกรียมก่อนจึงจะนำมารับประทานได้

ผักบุ้งรั้ว เป็นผักที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้งซึ่งเป็นต้นที่ค่อนข้างมีสารพิษรุนแรงและไม่ค่อยนิยมทานกันในประเทศไทยสักเท่าไหร่ แต่กลับนิยมในฮาวาย ทว่าเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาโดยเฉพาะในอินเดียจะนำมาใช้ และยังเป็นไม้ปลูกประดับที่สวยงามได้ด้วย ผักบุ้งรั้วมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาถ่าย ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ เป็นยาขับปัสสาวะและแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักบุ้งรั้ว”. หน้า 496-497.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ผักบุ้งรั้ว”. หน้า 348.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ผักบุ้งรั้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [18 พ.ย. 2014]. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. “ผักบุ้งรั้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.skn.ac.th. [18 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ตำแยแมว ช่วยถอนพิษแก้ไข้ให้แมว มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนได้

0
ตำแยแมว ช่วยถอนพิษแก้ไข้ให้แมว มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนได้
ตำแยแมว เป็นไม้ล้มลุก ต้นเป็นยาถอนพิษของโรคแมว ใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน
ตำแยแมว ช่วยถอนพิษแก้ไข้ให้แมว มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนได้
ตำแยแมว เป็นไม้ล้มลุก ต้นเป็นยาถอนพิษของโรคแมว ใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน

ตำแยแมว

ตำแยแมว (Acalypha indica) เป็นพืชในวงศ์ยางพาราที่มีชื่อมาจากการที่ต้นเป็นยาถอนพิษของโรคแมวและยังมีรากที่มีกลิ่นดึงดูดแมวได้ ทำให้คนเรียกพืชชนิดนี้ว่า “ตำแยแมว” นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อแมวแล้วนั้นยังสามารถนำใบสดมาปรุงเป็นอาหารมนุษย์ได้ และยังเป็นยาสมุนไพรในตำราแพทย์แผนไทยบางพื้นที่ ทว่าก็เป็นต้นที่ไม่ควรทานในปริมาณมากเพราะจะทำให้อาเจียนได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตำแยแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha indica L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Indian acalypha” “Indian nettle” “Indian copperleaf” “Tree – seeded mercury”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “หานแมว” คนไทยเรียกว่า “ตำแยตัวผู้ ตำแยป่า หญ้าแมว หญ้ายาแมว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

ลักษณะของตำแยแมว

ตำแยแมว เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มักจะพบตามดินที่มีความเย็น พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไปและตามที่มีอิฐปูนเก่า
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านจากโคนต้น เนื้อภายในอ่อนและไม่แข็งแรง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนวงรี รูปไข่หรือรูปกลมโต ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบ ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ด้านบนมีขนขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบรอบลำต้น ยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย ลักษณะของดอกจะคล้ายกับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่เมื่อบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังคงติดอยู่และไม่ร่วง มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับจะหุ้มห่อดอก 2 – 6 ดอก

สรรพคุณของตำแยแมว

  • สรรพคุณจากตำแยแมว ช่วยแก้อาการไอ
  • สรรพคุณจากต้น ทำให้อาเจียน
    – ทำความสะอาดทางเดินอาหาร ด้วยการนำลำต้นอ่อนใช้เป็นยาล้างเมือกในท้อง
    – เป็นยาระบาย ด้วยการนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ
  • สรรพคุณจากต้น ราก ใบและทั้งต้น
    – ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะในโรคหอบหืด ด้วยการนำใบสดมาสับเป็นชิ้นเล็กแล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว จนเหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย ในเวลาเช้าและเย็น
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ ด้วยการถอนทั้งต้นและรากมาต้มกับน้ำดื่ม 1 แก้ว ใช้ดื่มเมื่อมีอาการหรือนำมาโขลกผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วกรองใส่ผ้าขาวบางให้ได้น้ำข้น 1 แก้ว แล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากต้น รากและใบ เป็นยาถ่ายหรือยาระบาย
  • สรรพคุณจากต้นและใบ
    – เป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำใบสดมาทำเป็นอาหาร สำหรับเด็กนำมาต้มกินหรือจะนำใบสดมาคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียม
    – ถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร ด้วยการนำต้นหรือใบมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาทาแก้โรคปวดตามข้อ
    – รักษาโรคผิวหนัง ด้วยการนำใบสดมาตำผสมกับเกลือแกงใช้ทาบริเวณที่มีอาการ
    – รักษาแผลเนื่องจากนอนมาก ด้วยการนำใบแห้งมาป่นให้ละเอียดใช้โรย
    – ช่วยทำให้หายจากอาการคัน ด้วยการนำใบสดมาตีหรือฟาดเบา ๆ ตามตัวหรือบริเวณที่ถูกพิษคันจากต้นตำแยตัวเมีย
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยกระจายเลือดลม แก้อาการปวดเมื่อย ช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น โดยแพทย์แผนไทยบางพื้นที่นำรากเพียงเล็กน้อยมาต้มกับน้ำ 3 – 4 แก้วจนเดือด ดื่มก่อนอาหารมื้อไหนก็ได้วันละ 1 แก้ว

ประโยชน์ของตำแยแมว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบสดใช้ปรุงเป็นอาหารอย่างแกงเลียงได้
2. เป็นยาถอนพิษแมวและดึงดูดแมว ทั้งต้นเป็นยาถอนพิษแมว ด้วยการเคี้ยวลำต้นของตำแยแมว ช่วยแก้ไข้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไปแล้วมันก็จะอาเจียนออกมา รากของตำแยแมวน่าจะมีกลิ่นที่ดึงดูดแมว เมื่อแมวเห็นเข้าก็จะรีบตรงเข้ามากลิ้งเกลือกบนต้นตำแยแมวอย่างเคลิบเคลิ้มและมีความสุข จากนั้นก็จะกินรากจนหมด แต่บางตัวก็อาจจะไม่ชอบก็ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตำแยแมว

สารที่พบในต้นสดและต้นแห้งของตำแยแมว พบสาร alkaloid, acalyphine, tannin, vestin, volatile oil วัตถุดิบที่ส่งมาจากทางแอฟริกาใต้ พบสาร Cyanoginitie glucoside, Quibrachitol และ Triacetonamine

ข้อควรระวังของตำแยแมว

หากรับประทานในปริมาณมากจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียนและทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร

ตำแยแมว เป็นต้นที่ดีต่อแมวเพราะนอกจากจะช่วยถอนพิษหรือแก้ไข้ให้แมวแล้วนั้นยังทำให้แมวมีความสุขได้อีกด้วย สามารถนำสรรพคุณนี้มาใช้กับคนได้เช่นเดียวกัน ตำแยแมวมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของต้นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบาย รักษาโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้และเป็นยาบำรุงกำลัง ทว่าพืชชนิดนี้ก็ไม่ควรใช้มากจนเกินไปเพราะมีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและระคายระเคืองทางเดินอาหารได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ตำแยตัวผู้”. หน้า 313-314.
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “ตำแยตัวผู้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [16 ธ.ค. 2014].
YAHOO!. “ตำแยแมว มันคืออะไร ?”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.answers.yahoo.com. [16 ธ.ค. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ตำแยแมว คนกินได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [16 ธ.ค. 2014].
จำรัส เซ็นนิล. “โรคหอบหืด-ภูมิแพ้ บำบัดด้วยตำแยแมว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.jamrat.net. [16 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ปอกระเจา สรรพมีประโยชน์ต่อร่างกายคุณมากมาย ที่คุณต้องรู้

0
ปอกระเจา สรรพมีประโยชน์ต่อร่างกายคุณมากมาย ที่คุณต้องรู้
ปอกระเจา ส่วนของใบมากสรรพคุณ ช่วยลดความดันเลือด แก้บิด กระตุ้นหัวใจ
ปอกระเจา เป็นพรรณไม้ล้มลุก ดอกเป็นสีเหลืองขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนหรือแดงเข้ม

ปอกระเจา

ปอกระเจา (White Jute) เป็นพืชในวงศ์ชบาที่มักขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ พบได้มากในบางจังหวัดของประเทศไทย โดยมีดอกสีเหลืองขนาดเล็กที่ดูน่ารักและสวยงาม ปัจจุบันมีการปลูกปอกระเจา 2 ชนิดหลัก คือ ปอกระเจาฝักกลม (Corchorus capsularis L.) ที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียหรือพม่า และปอกระเจาฝักยาว (Corchorus olitorius L.) ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา ซึ่งใบของปอกระเจามีวิตามินและแร่ธาตุสูง นิยมนำมารับประทานเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของปอกระเจา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corchorus capsularis L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Jute” “Nalta Jute” “Tossa Jute” “White Jute” “Jew’s Mallow”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กาเจา กระเจา ปอกระเจา ประกระเจาฝักกลม” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “ปอเส้ง เส้ง” ภาคตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่า “ปอ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)

ลักษณะของปอกระเจา

ลักษณะของปอกระเจาปอกระเจา เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุ 1 ปี ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น พม่า เวียดนาม มลายูภาคใต้ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มักจะพบตามบริเวณที่ชื้นแฉะและทนทานน้ำท่วมได้ดี
ลำต้น : ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนหรือแดงเข้ม แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม เป็นไม้เนื้ออ่อน
ราก : มีระบบรากเป็นแบบรากแก้วที่ประกอบไปด้วยรากแก้วและรากแขนง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปยาวเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบอ่อนบาง ที่โคนใบมีเส้นเล็กสีแดงอยู่ 2 เส้น
ดอก : ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 2 – 3 ดอก โดยจะออกบริเวณระหว่างซอกใบกับกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองมีขนาดเล็ก ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
ผล : เป็นผลแบบแคปซูล ลักษณะของผลเป็นรูปค่อนข้างกลมเป็นพู 5 พู ผิวผลขรุขระ เมื่อผลแก่เต็มที่ผลจะอ้าหรือแตกออกเป็นซีก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปไข่มี 4 – 5 เหลี่ยม ด้านหนึ่งค่อนข้างเว้า มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของปอกระเจา

  • สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้อุจจาระเป็นเลือด ช่วยแก้โรคหนองใน
    – เป็นยาบำรุง ช่วยบำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาระบาย เป็นยาขับลม ขับปัสสาวะ ด้วยการนำใบแห้งมาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วนำมาชงหรือละลายในน้ำกิน
    – เป็นยาธาตุและยาบำรุง ด้วยการนำใบผสมกับลูกผักชีและเทียนเยาวพาณีดื่มเป็นยาชง
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ด้วยการนำใบมาลวกกับน้ำร้อนแล้วนำมาผัดกับกระเทียม พริกไทย รับประทานกับข้าวต้มหรือข้าวสวยหรือใช้ใบที่ตากจนแห้งแล้วประมาณ 1 กำมือ ชงกับน้ำร้อนมาดื่มแทนน้ำทั้งวัน
    – แก้ร้อนใน ทำให้เลือดเย็น แก้อาการเจ็บคอ ด้วยการนำใบต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – แก้ไอ โดยชาวมาเลเซียนำใบมาต้มชงกับน้ำกินเป็นยา
    – ช่วยรักษาโรคบิดหรืออาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อบิดที่ไม่รุนแรง ด้วยการนำใบมาบดผสมกับขมิ้นทานเป็นยา
    – แก้ตับพิการ โดยในเบงกอลนำใบแห้งชงกับน้ำกินเป็นยา
    – รักษาแผล เป็นยาระงับพิษ พอกแก้พิษ แก้บวม ทาแก้ผิวหน้าแดงบวม แก้พิษปลาปักเป้า ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากเปลือกและผล เป็นยาแก้ไข้
  • สรรพคุณจากราก กระตุ้นหัวใจ
  • สรรพคุณจากรากและผล
    – แก้โรคท้องเดิน ด้วยการนำรากและผลมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาระบาย
    – แก้ท้องร่วง ด้วยการนำเมล็ดมาบดผสมกับขิงและน้ำผึ้งให้ละเอียดทานเป็นยา
  • สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาแก้บิด
  • สรรพคุณจากผลสุก ลดอาการอักเสบ ใช้ในโรคหายใจไม่สะดวก

ประโยชน์ของปอกระเจา

ประโยชน์ของปอกระเจา1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบทำให้สุกใช้รับประทานได้
2. เป็นยาเบื่อสุนัข เมล็ดมีสารพิษและมีความเป็นพิษต่อสุนัขจึงมีการนำเมล็ดไปใช้เป็นยาเบื่อสุนัข
3. ใช้ในการเกษตร เส้นใยจากเปลือกต้นทำทอกระสอบเพื่อใส่ผลิตผลทางการเกษตรได้ เช่น ข้าวสาร ข้าวโพด น้ำตาลหรือนำมาใช้ทอเป็นผ้า พรม ทำเยื่อกระดาษ ทำเชือก เป็นต้น ลำต้นและแกนปอก็สามารถนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษได้

คุณค่าทางโภชนาการของใบปอกระเจา 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบปอกระเจา 100 กรัม ให้วิตามินบี3 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 164 มิลลิกรัม และแคลเซียม ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนและวิตามินสูง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของปอกระเจา

สารที่พบในปอกระเจา พบสาร agglutinin, lympho, campesterol, capsin, capsugenin, capsugenin – 30 – O – β – glucopyranoside, cardenolides, corchoroside A, Corchorus capsularis triterpene glucoside, corchoside B, corchoside C, corosin, corosolic acid, daucostent, erysimoside, helveticoside, hexadecanoic acid ethyl ester, linoleic acid, oleic acid, olitoriside, olitoriside, palmitic acid, polysaccharide, β – sitosterol, stigmasterol, strophanthidin, ursolic acid
การทดลอง เมื่อปี พ.ศ. 2530 ณ ประเทศไทยในการประชุมสัมมนาได้มีรายงานผลการทดลองพบว่าสมุนไพรปอกระเจามีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

ข้อควรระวังของปอกระเจา

เมล็ดมีสารออกฤทธิ์คล้ายยาดิจิตาลิสซึ่งกระตุ้นหัวใจจึงไม่แนะนำให้รับประทานเมล็ดเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานเป็นอันขาด

ปอกระเจา เป็นต้นที่มีประโยชน์อยู่ที่ส่วนของใบซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังนำเส้นใยจากเปลือกต้น ลำต้นมาใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษได้ ทว่าส่วนเมล็ดของปอกระเจานั้นเป็นพิษ จึงไม่แนะนำสักเท่าไหร่ในการนำมารับประทานแม้ว่าจะมีฤทธิ์เป็นยาระบายก็ตาม ปอกระเจามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต แก้อุจจาระเป็นเลือด เป็นยาธาตุและยาบำรุง กระตุ้นหัวใจ แก้ตับพิการและแก้บิด เป็นต้นที่มีสรรพคุณที่น่าสนใจมากเพราะช่วยในเรื่องของอาการพื้นฐานอย่างความดันเลือด น้ำตาลในเลือดและอื่น ๆ อีกมากมาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ปอกระเจา”. หน้า 452-453.
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ปอกระเจา”. หน้า 102.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ปอกระเจาฝักกลม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [27 พ.ย. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. “ปอกระเจา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/index.php. [27 พ.ย. 2014].
เดอะแดนดอทคอม. “ใบปอ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.the-than.com. [27 พ.ย. 2014].
ไทยเกษตรศาสตร์. “ปอกระเจามีสรรพคุณดังนี้”. อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [27 พ.ย. 2014].
สงขลาพอร์ทัล. (เวสท์สงขลา). “ปอกระเจา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.songkhlaportal.com. [27 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ทำความรู้จัก เชื้อ HIV กับโรคเอดส์ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

0
ทำความรู้จัก เชื้อ HIV กับโรคเอดส์ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
เอชไอวี โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ได้มาจากการติดเชื้อไวรัส HIV ส่วนเอดส์ เป็นระยะที่ร้ายแรงที่สุดของการติดเชื้อเอชไอวี
ทำความรู้จัก เชื้อ HIV กับโรคเอดส์ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
เอชไอวี โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ได้มาจากการติดเชื้อไวรัส HIV ส่วนเอดส์ เป็นระยะที่ร้ายแรงที่สุดของการติดเชื้อเอชไอวี

HIV / AIDS

เอชไอวี (human immunodeficiency virus) คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ได้มาจากการติดเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสนี้จะไปทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ HIV จะมีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกทำลายจนระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถป้องกันการลุกลามของโรคได้นั่นเอง และไม่สามารถกำจัดเชื้อ HIV ออกไปจากร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ติดเชื้อจะมีเชื้อนี้ไปตลอดชีวิตสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ หากสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่งโดยตรงจากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งได้ 4 ระยะ

1) ระยะที่ 1 การติดเชื้อเอชไอวีแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อเอชไอวี และโดยทั่วไปจะพัฒนาภายใน 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงเวลานี้ บางคนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ และมีผื่นขึ้น

2) ระยะที่ 2 การติดเชื้อเอชไอวีเรื้อรัง หรือระยะไม่ปรากฏอาการ
การติดเชื้อเอชไอวีในระยะนี้ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ HIV หากไม่มียารักษาเอชไอวีในช่วง ระยะที่ 2 อาจอยู่ได้นานถึงสิบปีหรือนานกว่านั้นในผู้ป่วยบางราย แต่สามารถติดต่อได้ในระยะนี้ ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าเราติดเชื้อเอชไอวีหรือไหมต้องทำการตรวจเลือดเท่านั้น

3) ระยะที่ 3 เป็นระยะที่แสดงอาการ
ในระยะนี้จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เริ่มมีฝ้าขาวในปาก มีตุ่มคันขึ้นตามแขนขา มีไข้เรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 เป็นต้น ทำให้เป็นระยะที่ผู้ติดเชื้ออาจสงสัยว่าตนเองมีความผิดปกติ และอาจจะมาพบแพทย์

4) ระยะที่ 4 หรือระยะเอดส์
โรคเอดส์ (AIDS) ระยะนี้มีความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยจะสามารถทราบได้จากการตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลงต่ำกว่า 200 เซลล์/มม. หรือหากผู้ป่วยมีการติดเชื้ออาจจะมาพบแพทย์ด้วยโรควัณโรค โรคงูสวัด เชื้อราในปอด เชื้อราขึ้นสมอง หรือที่รวมเรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ซึ่งผู้ป่วยจะมีปริมาณเชื้อไวรัสสูงและสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีไปยังผู้อื่นได้ง่ายมาก หากไม่มีการรักษา ผู้ป่วยเอดส์มักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 ปี

อาการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด

เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อไวรัชอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นและอยู่ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้น หลังการติดเชื้อ 2-6 สัปดาห์

  • มีไข้สูงขึ้น
  • หนาวสั่น
  • เจ็บคอ
  • ผื่นตามร่างกาย
  • ปวดข้อ
  • แผลในปาก
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

อาการของโรคเอดส์ระยะสุดท้าย

  • ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
  • เป็นไข้ซ้ำๆ หรือเหงื่อออกตอนกลางคืนมาก
  • เหน็ดเหนื่อยสุดขีดและอธิบายไม่ได้
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรือคอบวมเป็นเวลานาน
  • ท้องเสียที่กินเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • แผลในปาก ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ
  • โรคปอดอักเสบ
  • จุดสีแดง น้ำตาล หรือภายในปาก จมูก หรือใต้ผิวหนัง
  • ความจำเสื่อม ซึมเศร้า และความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ

การวินิจฉัยตรวจหาเชื้อเอชไอวี

เอชไอวีสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดหรือน้ำลาย เป็นการทดสอบแอนติเจน หรือแอนติบอดี การทดสอบเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับการเจาะเลือดเพื่อตรวจแอนติเจนเป็นสารในไวรัสเอชไอวี ซึ่งมักจะตรวจพบได้เป็นผลตรวจที่เป็นบวก (+) ในเลือดภายใน 2 -3 สัปดาห์หลังจากสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี

โรคเอดส์

AIDS ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome เอดส์เป็นระยะที่ร้ายแรงที่สุดของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแทรกซ้อนร้ายแรงอีกจำนวนมาก

เอชไอวีติดต่อได้อย่างไร?

การแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีจากคนสู่คนผู้ติดเชื้อสามารถรับหรือแพร่เชื้อเอชไอวี โดยผ่านพฤติกรรมบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV เช่น การใช้ยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกันสามารถติดต่อจากของเหลวหรือสารคัดหลั่ง ได้แก่

  • สัมผัสกับเลือดผู้ติดเชื้อ
  • ทางเลือดจากแม่สู่ลูก
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักกับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
  • การมีเพศสัมพันธ์หลายคนโดยไม่ป้องกัน

การดูแลตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

  • รับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติก เวย์โปรตีน และกรดอะมิโนบางชนิดสามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ
  • หากิจกรรมเพื่อบำบัดความเครียด ลดภาวะซึมเศร้า
  • เลิกสูบบุหรี่
  • เลิกดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกใช้สารเสพติดทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น
  • พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ HIV

ในปัจจุบันโรคเอดส์ยังไม่มียาตัวไหนที่รักษาให้หายขาดได้ แต่มียาที่สามารถใช้ทานเพื่อป้องกันการติด HIV ได้ 2 ชนิดดังนี้

1. PrEP

ยาต้านไวรัส Pre-Exposure Prophylaxis หรือที่เรียกกันว่ายา PrEP ซึ่งการรับยาต้านไวรัสชนิดนี้เป็นยาต้านสำหรับคนที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะมีการสัมผัสเชื้อ โดยยาต้าน PrEP มีประสิทธิภาพมากถึง 99% หากมีการใช้ยาอย่างถูกวิธี ผลข้างเคียงในยาต้านไวรัส PrEP เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น อาจจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะในช่วงแรกที่ทานยา และคนที่ใช้ยา PrEP ควรจะเข้ารับการตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือน

PrEP เหมาะสำหรับใครบ้าง

ยาต้านไวรัส หรือ PrEP ชนิดนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน หากใครที่ต้องการใช้ยาต้านไวรัสจะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน ยาชนิดนี้เหมาะสำหรับ

  • คู่นอนมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหลายคนโดยไม่ใช้ถุง
  • ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหนองในแท้ – เทียม, ซิฟิลิส
  • คนที่ทำอาชีพขายบริการ

2. PEP

Post Exposure Prophylaxis หรือมีชื่อย่อว่า PEP เป็นยาที่ใช้เพื่อช่วยลดการเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งยาชนิดนี้เป็นยาที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังจากที่มีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยต้องทานยาภายใน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน กินเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งการจะรับยา PEP ได้นั้นจะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีก่อนเสมอ

PEP เหมาะสำหรับใครบ้าง

เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นยาที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และใช้ได้สำหรับคนที่สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 3 วันเท่านั้น

  • คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ขณะร่วมเพศถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาด
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
    อย่างไรก็ตามการใช้ ยา PEP เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น หากจะให้ปลอดภัยและลดความ เสี่ยงของการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการป้องกันอย่างถูกวิธีนะคะ

หลาย ๆ คนคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับ HIV และเอดส์ กันมากขึ้น โดยจะเห็นว่าโรคนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และปัจจุบันก็มีทั้งยาต้าน และยาลดความเสี่ยง แต่เพื่อความปลอดภัยควรช่วยกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยกา รสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนร่วมเพศ อย่าใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ว่านมหากาฬ เป็นยาเย็นในการดับพิษร้อน ดีต่อระบบไหลเวียนเลือด

0
ว่านมหากาฬ เป็นยาเย็นในการดับพิษร้อน ดีต่อระบบไหลเวียนเลือด
ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกสีส้มเหลืองและมีหนามขนาดเล็ก เป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง
ว่านมหากาฬ เป็นยาเย็นในการดับพิษร้อน ดีต่อระบบไหลเวียนเลือด
ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกสีส้มเหลืองและมีหนามขนาดเล็ก เป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง

ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ (Gynura pseudochina) เป็นพืชในวงศ์ทานตะวันที่มีดอกเป็นสีส้มเหลืองและมีหนามขนาดเล็ก เป็นอาหารยอดนิยมของชาวลัวะในการนำมาประกอบอาหารและชาวเมี่ยนในการนำใบสดมาทานในรูปแบบของผัก นอกจากนั้นยังเป็นต้นไม้มงคลที่มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจอีกด้วย แถมยังมีดอกสวยงามจนนำมาใช้เป็นไม้ปลูกประดับได้ ว่านมหากาฬมีรสขมและเป็นยาเย็นจึงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ดาวเรือง” จังหวัดขอนแก่นและเลยเรียกว่า “คำโคก” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ว่านมหากาฬ” จังหวัดเพชรบูรณ์และเพชรบุรีเรียกว่า “ผักกาดกบ” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “หนาดแห้ง” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ผักกาดนกเขา” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “แจะออเมีย” ชาวม้งเรียกว่า “ชั่วจ่อ” ชาวลัวะเรียกว่า “เครือผักปั๋ง” จีนกลางเรียกว่า “หนิวเสอซันฉิ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ชื่อพ้อง : Gynura bodinieri Levl.

ลักษณะของว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน มักจะพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ไม้ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้มและสีแดงเรื่อ
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงและอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน
ราก : รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลืองและฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบหยัก ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไปและผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ก้านใบสั้น เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดซึ่งแทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก เป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตก เมล็ดล่อนตรงปลายและมีขน

สรรพคุณของว่านมหากาฬ

  • สรรพคุณจากทั้งต้นและราก เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น ช่วยฟอกเลือด ออกฤทธิ์ต่อตับ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นยาคลายเส้น
  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาดับพิษร้อน แก้พิษกาฬ แก้พิษอักเสบ แก้พิษเซื่องซึม แก้ไข้ แก้กระสับกระส่าย แก้โรคบิด รักษาแผลอักเสบ รักษามดลูกของสตรี ช่วยแก้เริม
    – ช่วยขับประจำเดือน ด้วยการนำหัวมาบดให้เป็นผงชงกับชาให้สตรีหลังคลอดดื่ม
    – รักษาแผลพุพองและฝี ด้วยการนำหัวมาตำพอกหรือฝนกับน้ำปูนใสใช้ทาวันละ 3 – 4 ครั้ง
  • สรรพคุณจากรากและหัว
    แก้ไข้ โดยตำรายาไทยนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นต่างน้ำชา
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยขับระดูของสตรี
    – แก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบมาคั้นเอาน้ำกินหรืออมกลั้วคอ
    – รักษางูสวัดหรือเริม ด้วยการนำใบสดประมาณ 5 – 6 ใบ มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วตำในภาชนะที่สะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อยหรือใช้ใบโขลกผสมกับเหล้าใช้ทาหรือพอกบริเวณที่มีอาการ
    – พอกฝีหรือหัวลำมะลอก ด้วยการนำใบสดมาโขลกผสมกับเหล้าใช้เป็นยา
    – ช่วยถอนพิษและแก้อาการปวดแสบปวดร้อนจากสัตว์ที่มีพิษกัด ด้วยการนำใบสดมาตำพอกเป็นยา
    – บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิตของสตรีที่อยู่ไฟ โดยชาวเมี่ยนนำใบมาต้มใส่ไก่ใช้ทานเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาแก้โรคไฟลามทุ่ง เป็นยาพอกเนื้องอกที่เต้านม บรรเทาอาการปวด แก้อาการบวม
    – ช่วยแก้เลือดกำเดา ด้วยการนำทั้งต้น รากบัวหลวงและหญ้าคาอย่างละ 15 กรัม มาต้มกับน้ำทานเป็นยาแห้ง
  • สรรพคุณจากใบ หัวและทั้งต้น เป็นยาห้ามเลือดจากบาดแผล
  • สรรพคุณจากต้น
    – รักษาฝีหรือฝีมีหนอง ช่วยถอนพิษฝีหนอง ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการนำต้นสดมาตำให้พอแหลกแล้วใช้พอก
    – ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยการนำต้นสดมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้าใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ
  • สรรพคุณจากรากและใบ
    แก้ปวดบวม ช่วยถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของว่านมหากาฬ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวลัวะนำใบมาประกอบอาหารอย่างต้มใส่หมูหรือไก่ ชาวเมี่ยนนำใบสดมาทานร่วมกับลาบ
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกลงแปลงประดับในสวนเพราะใบมีลวดลายสวยงามหรือปลูกคลุมดิน
3. เป็นความเชื่อ มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจ หากนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านจะสามารถช่วยป้องกันอันตรายและทำให้ผู้ปลูกมีอำนาจบารมี
4. ใช้ในการเกษตร ดร.วรนันต์ นาคบรรพต กล่าวว่า ว่านมหากาฬเป็นพืชที่สามารถสะสมโลหะหนัก สังกะสีและแคดเมียมได้สูงจึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองแร่หรือฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านมหากาฬ

การทดลองของว่านมหากาฬ จากการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมและงูสวัด พบว่า สารสกัดจากใบว่านมหากาฬสามารถทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหม่ของโรคลดลง

ข้อควรระวังในการใช้ว่านมหากาฬ

1. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
2. เป็นยาที่มีพิษเล็กน้อย ดังนั้นห้ามรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดและไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน

ว่านมหากาฬ เป็นพืชที่มีสรรพคุณและประโยชน์มากมายแต่ก็เป็นพืชที่มีพิษอยู่ด้วย เป็นยาเย็นที่ช่วยดับพิษร้อนในร่างกายได้ดี ว่านมหากาฬเป็นอาหารของชาวเมี่ยนและชาวลัวะ นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่มีประโยชน์ในการคลุมดินและฟื้นฟูสภาพดินได้ด้วย ว่านมหากาฬมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของทั้งต้นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้หรือดับร้อน ช่วยฟอกเลือด แก้ปวดบวมและฟกช้ำ ช่วยถอนพิษได้ดี เป็นต้นที่ดีต่อระบบไหลเวียนเลือดและการดับพิษร้อนในร่างกายเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 275.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 726-727.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 138.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 116.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มหากาฬ”. หน้า 416.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ว่านมหากาฬ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [04 มิ.ย. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ว่านมหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [04 มิ.ย. 2014].
โลกแห่งสมุนไพร. (รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์). “ว่านมหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/rangsan/. [04 มิ.ย. 2014].
ว่าน…พืชมหัศจรรย์, โรงเรียนอุดมศึกษา. “มหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.udomsuksa.ac.th. [04 มิ.ย. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ว่านมหากาฬ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด (สุนทรี สิงหบุตรา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [04 มิ.ย. 2014].
วารสารเคหการเกษตร. “นักวิจัย มมส.เจ๋งค้นพบว่าน มหากาฬพืชมหัศจรรย์ช่วยฟื้นสภาพดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kehakaset.com. [04 มิ.ย. 2014].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักกาดกบ”. หน้า 462-463.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

มะเขือขื่น ยาบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้อาการปวด

0
มะเขือขื่น ยาบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้อาการปวด
มะเขือขื่น เป็นไม้ล้มลุก มีดอกสีม่วงและผลสุกเป็นสีเหลืองสด เปลือกเหนียว รสขื่น ช่วยลดความเค็มในอาหาร
มะเขือขื่น ยาบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้อาการปวด
มะเขือขื่น เป็นไม้ล้มลุก มีดอกสีม่วงและผลสุกเป็นสีเหลืองสด เปลือกเหนียว รสขื่น ช่วยลดความเค็มในอาหาร

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น (Cock roach berry) เป็นพืชวงศ์มะเขือชนิดหนึ่ง มีดอกสีม่วงและผลสุกเป็นสีเหลืองสด ซึ่งมีรสขื่นทำให้ช่วยลดความเค็มในอาหารได้ คนไทยจึงนิยมนำผลมะเขือขื่นที่แก่แล้วมาใช้ปรุงเป็นอาหารเฉพาะส่วนเปลือกและเนื้อเท่านั้น ภาคกลางจะใช้เนื้อนำมาทำแกง มีความเชื่อกันว่ามะเขือขื่นทำให้มีความรู้สึกทางเพศสูง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์นั้นจะเชื่อว่าทำให้ครรภ์โตมากและคลอดบุตรได้ยาก มะเขือขื่นเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเขือขื่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum aculeatissimum Jacq.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Cock roach berry” “Dutch eggplant” “Indian Nightshade”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง” ภาคใต้เรียกว่า “เขือหิน” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “เขือเพา” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “มังคิเก่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
ชื่อพ้อง : Solanum cavaleriei H. Lév. & Vaniot, Solanum khasianum C.B. Clarke

ลักษณะของมะเขือขื่น

มะเขือขื่น เป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็กที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย มักจะพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ป่าเปิด ป่าละเมิดและทุ่งหญ้า
ลำต้น : ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไปและยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้ง โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของแผ่นใบมีหลายรูปร่าง แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ฐานใบทั้งสองด้านจะเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้นประมาณ 5 – 7 พู หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน มีหนามแหลมตามเส้นกลางใบ ก้านใบอ้วนสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยประมาณ 4 – 6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกมี 5 กลีบเป็นสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอก กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ติดอยู่จนติดผล แต่ละแฉกเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน วงกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูประฆัง ดอกมีเกสรสีเหลือง 5 อัน อับเรณูเป็นรูปหอกเรียวแหลม รังไข่เกลี้ยง มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผิวผลเรียบเป็นมัน เปลือกเหนียว ผลอ่อนผิวจะเรียบลื่นเป็นสีเขียวเข้มและมีลายขาวแทรก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองสด ชั้นเนื้อผลบางและมีสีเขียวอ่อนอมสีเหลืองใส มีกลิ่นเฉพาะ มีรสขื่น
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มักจะติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะเขือขื่น

  • สรรพคุณจากมะเขือขื่น ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการปวดบวมและปวดหลัง แก้ฟกช้ำดำเขียว เป็นยาขับน้ำชื้น
  • สรรพคุณจากผล เป็นยาบำรุงร่างกาย เป็นยากัดเสมหะ
    – ช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ แก้มือเท้าชา ด้วยการนำผลสดประมาณ 70 – 100 กรัมมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน
  • สรรพคุณจากรากและผล เป็นยาแก้ไข้สันนิบาต เป็นยาแก้ไอ ช่วยแก้น้ำลายเหนียว
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาขับเสมหะและน้ำลาย ช่วยล้างเสมหะในลำคอและทำให้น้ำลายน้อยลง ทำให้น้ำลายแห้ง
    – แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ช่วยกระทุ้งพิษไข้ โดยตำรายาไทยนำรากเป็นยา
    – แก้อาการปวดฟัน ด้วยการนำราก 15 กรัม มาต้มเอาน้ำอมในปาก
    – แก้เด็กเป็นโรคซางหรือชัก ด้วยการนำรากมาฝนเป็นกระสายยา
    – แก้กามตายด้านและบำรุงความกำหนัด ด้วยการนำรากมาปรุงร่วมกับยาอื่น
    – เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการนำราก 15 กรัมผสมกับหญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบสด
    – แก้พิษ แก้ฝีหนอง ด้วยการนำใบสดมาตำพอก
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยารักษามะเร็งเพลิง
  • สรรพคุณจากเนื้อผล
    – เป็นยาหยอดตา แก้พยาธิในตา ด้วยการนำมะเขือขื่นสีเขียวมาคั้นเอาแต่น้ำใช้

ประโยชน์ของมะเขือขื่น

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร คนไทยนำผลที่แก่แล้วมาใช้ปรุงเป็นอาหารซึ่งจะใช้เฉพาะส่วนเปลือกและเนื้อเท่านั้น มีการนำมากินเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกหรือปลาร้า บางครั้งใช้เนื้อผลในการปรุงเครื่องจิ้มหรือจะนำมาใช้ปรุงรสอาหารบางชนิด ทำการฝานเปลือกจะช่วยลดความเค็มของปลาร้า ภาคกลางจะใช้เนื้อมาทำแกง เช่น แกงส้มมะเขือขื่น ส่วนชาวล้านนาจะใช้ผลอ่อนนำมารับประทานทั้งผล ใช้ใส่ในน้ำพริกอี่เก๋หรือน้ำพริกบ่าเขือแจ้
2. เป็นส่วนประกอบของยา มะเขือขื่นมีสารอัลคาลอยด์ต่าง ๆ ในทางเภสัชกรรมล้านนาจึงใช้ในตำรับยาบำรุงกำลัง ยาเสลด ยายางเหลืองมักเป็นขางเขี้ยนขาว ยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้อาเจียน รักษาแผลเป็นหนองและหืด ชนบททางภาคกลางในไทยจะใช้ใบปรุงเป็นยาร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่น ต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่น ต่อ 100 กรัม ให้วิตามินซี 63 มิลลิกรัม แคลเซียม 55 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม

มะเขือขื่น เป็นมะเขือที่นิยมชนิดหนึ่งในการนำมาปรุงรสอาหารหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายเมนู อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นยาสมุนไพรในหลายตำรับยา มะเขือขื่นมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้อัณฑะอักเสบ บำรุงร่างกาย ขับเสมหะและน้ำลาย ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหารได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะเขือขื่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [03 ก.ย. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 237 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “มะเขือขื่น : ความเขียวขื่นที่เปี่ยมรสชาติและคุณประโยชน์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [03 ก.ย. 2014].
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “มะเขือขื่น (Ma Khuea Kuen)”. หน้า 215.
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “มะเขือขื่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaibiodiversity.org. [03 ก.ย. 2014].
อาหารพื้นบ้านล้านนา, สำนักหอสมุด และสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “มะเขือขื่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/. [03 ก.ย. 2014].
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะเขือขื่น”. หน้า 430.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

อุตพิต ดอกมีกลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ ยางมีพิษแต่มากสรรพคุณ

0
อุตพิต ดอกมีกลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ ยางมีพิษแต่มากสรรพคุณ
อุตพิต หรือบอนแบ้ว เป็นไม้ล้มลุกมีหัวขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ดอกเป็นสีเลือดนกปนสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้ม กลิ่นเหม็น
อุตพิต ดอกมีกลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ ยางมีพิษแต่มากสรรพคุณ
อุตพิต หรือบอนแบ้ว เป็นไม้ล้มลุกมีหัวขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ดอกเป็นสีเลือดนกปนสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้ม กลิ่นเหม็น

อุตพิต

อุตพิต (Typhonium trilobatum) เป็นไม้ล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทยซึ่งชาวเชียงใหม่เรียกกันว่า “บอนแบ้ว” เป็นต้นที่มีดอกแทงออกมาจากใต้ดินเป็นสีเลือดนกปนสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้มทำให้ดูสวยงามและโดดเด่น แต่เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ จึงไม่นิยมนำมาปลูกตามบ้านทั่วไปจนคนอีสานเรียกกันว่า “ว่านขี้” แต่ว่าอุตพิตเป็นยาสมุนไพรที่ชาวอินโดนีเซีย บังกลาเทศและตำรายาพื้นบ้านใช้ในการรักษาได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของอุตพิต

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium trilobatum (L.) Schott
ชื่อท้องถิ่น : ภาคอีสานเรียกว่า “ขี้ผู้เฒ่า” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “บอนแบ้ว” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “มะโหรา” คนไทยเรียกว่า “อุตพิษ อุตตพิษ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของอุตพิต

อุตพิต เป็นไม้ล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย มักจะพบขึ้นทั่วไปตามที่ร่มเย็น สามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทย
หัว : หัวขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน เมื่อถึงฤดูฝนก็จะงอกขึ้นมาใหม่ ลักษณะของหัวค่อนข้างกลมหรือแป้นเล็กน้อย ในหัวเป็นสีขาวหรือสีนวล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นวงบริเวณผิวดิน แผ่นใบแผ่ย่นเป็นลอนเล็กน้อย ใบเป็นรูปไข่ปลายแหลมหรือเป็นรูปลูกศรแกมรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าแบ่งออกเป็นแฉก 3 แฉก โคนใบเว้าลึกเข้าหาก้านใบ แผ่นใบเป็นสีเขียวมัน มีลายหรือมีจุดประสีม่วงขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพื้นที่ ก้านใบจะเป็นสีน้ำตาลอมแดงหรือเป็นสีแดงอมม่วง บางพันธุ์จะมีลายเป็นประจุดต่าง ๆ ทั่วทั้งก้านคล้ายกับก้านต้นบุก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแทงมาจากหัวใต้ดินขึ้นมาเป็นแท่งยาว ก้านช่อดอกเป็นสีเลือดนกปนสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้ม กาบมีสีแดงเข้ม เมื่อดอกบานแล้วจะเห็นดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศเมียจะอยู่ตรงโคนแท่ง เหนือดอกเพศเมียเป็นดอกฝ่อสีขาว ถัดไปเป็นที่ว่าง เหนือที่ว่างจะเป็นดอกเพศผู้สีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่ดอกจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายอาจมหรืออุจจาระ พบขึ้นเป็นกลุ่มจำนวนมากทำให้เวลามีดอกจะส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วบริเวณใกล้เคียง มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝนและดอกจะบานในช่วงเย็น
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของอุตพิต

  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาแก้ไอ แก้หอบหืดและวิงเวียน
    – เป็นยาแก้อาการแข็งเป็นลำในท้อง ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – เป็นยากัดฝ้าหนองและสมานแผล ด้วยการนำหัวมาหุงเป็นน้ำมันใส่แผลและใช้ปิ้งกับไฟกิน
  • สรรพคุณจากราก เป็นยากระตุ้น เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร เป็นยาทาภายนอกและกินรักษาพิษงูกัด
    – รักษาโรคปวดท้อง ด้วยการนำรากมากินกับกล้วย
  • สรรพคุณจากใบ แก้โรคเกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้ แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ แก้บิดมีตัว
    – ทำให้หัวฝีหลุด โดยตำรายาพื้นบ้านนำใบ ใบหญ้าขัดมอนและข้าวสวยอย่างละเท่ากันมาหมกกับไฟให้สุกแล้วนำมาตำรวมกัน ใช้เป็นยาพอกที่ปากฝี ทำให้หัวฝีหลุดออกภายใน 1 คืน
    – บรรเทาแผลน้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบมาอังกับไฟนำมาประคบแผล

ประโยชน์ของอุตพิต

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและก้านใบเมื่อนำมาเผาไฟแล้วสามารถนำไปทำแกงกะทิได้ กาบใบนำมาหั่นให้เป็นฝอยละเอียดใช้ดองกินเป็นผักหรือเครื่องเคียงได้ ก้านใบนำมาลอกเปลือกออกใช้ทำแกงส้มแบบเดียวกับแกงบอนหรือนำไปทำแกงคั่วก็ได้ หัวนำมาปิ้งไฟกินได้
2. ใช้ในการเกษตร ใบเป็นอาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ในต่างประเทศมีการซื้อขายเพื่อนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ

วิธีการทำแกงคั่วอุตพิต

1. เตรียมเครื่องกะปิ กระเทียม ขมิ้น ข่า ตะไคร้ พริก มะกรูดและเกลือ จากนั้นนำมาตำรวมกันให้ละเอียด
2. นำอุตพิตมาลอกเปลือกชั้นนอกออกล้างให้สะอาดแล้วหั่นให้เป็นฝอย จากนั้นนำไปคั่วให้แห้งสนิท
3. นำเครื่องแกงลงผัดกับน้ำกะทิให้หอมแล้วใส่อุตพิตลงไปผัดให้เข้ากัน ใส่ปลาย่างตามลงไปแล้วปรุงรส ใส่หัวกะทิตามลงไป ฉีกใบมะกรูดใส่ตามลงไปอีกที
4. ระหว่างแกงห้ามปิดฝาและห้ามเติมน้ำเพราะจะทำให้เกิดอาการคันได้

ข้อควรระวังในการใช้อุตพิต

1. ควรระวังอย่าให้โดนยางหรือของเหลวจากต้นเพราะจะทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบและพองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้าหากเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้
2. ก่อนนำมารับประทานควรทำให้สุกเสียก่อน

อุตพิต เป็นต้นที่มีกาบหรือใบกลิ่นเหม็นแต่มีลักษณะและรูปร่างโดดเด่นเพราะดอกมีสีสัน ทว่าก็เป็นต้นที่มีพิษชนิดหนึ่งเช่นกัน โดยพิษจะมาจากของเหลวจากต้นซึ่งจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ อุตพิตสามารถนำมาใช้ทำแกงคั่วอุตพิตหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารได้หลากหลาย และที่สำคัญยังเป็นยาสมุนไพรในตำรายาพื้นบ้านด้วย อุตพิตมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัวและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้โรคเกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้ แก้ฝีและแก้ไอได้ เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “อุตพิต”. หน้า 153.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “อุตพิต”. หน้า 844-845.
มูลนิธิสุขภาพไทย. “มุมมองใหม่ อุตพิดสรรพคุณหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihof.org. [20 ก.ย. 2014].
หนังสือ Prosea ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9 : พืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด (พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ). “อุตพิด”. หน้า 257-258.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ว่านพระฉิม หัวใต้ดินเป็นยา สรรพคุณต้านเบาหวาน ต้านมะเร็ง

0
ว่านพระฉิม หัวใต้ดินเป็นยา สรรพคุณต้านเบาหวาน ต้านมะเร็ง
ว่านพระฉิม ไม้เถาเลื้อยที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ใบรูปหัวใจ หัวมีทั้งแบบหัวอากาศและหัวใต้ดิน รับประทานได้
ว่านพระฉิม หัวใต้ดินเป็นยา สรรพคุณต้านเบาหวาน ต้านมะเร็ง
ว่านพระฉิม ไม้เถาเลื้อยที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ใบรูปหัวใจ หัวมีทั้งแบบหัวอากาศและหัวใต้ดิน รับประทานได้

ว่านพระฉิม

ว่านพระฉิม (Aerial yam) เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีใบเป็นรูปหัวใจสวยงามและมีหัวที่เป็นส่วนสำคัญในการนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพร ซึ่งส่วนของหัวนั้นจะมีทั้งแบบหัวอากาศและหัวใต้ดิน สามารถนำใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสดได้ เป็นต้นยอดนิยมของชาวเมี่ยนที่นำมาใช้รับประทานหรือเป็นยาใส่แผลให้กับสุนัข ว่านพระฉิมถือว่าเป็นต้นที่คนไทยในสมัยใหม่ไม่ค่อยนำมาใช้กันนัก แถมบางคนอาจจะยังไม่รู้จักว่ามีว่านชนิดนี้อยู่ในป่า

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของว่านพระฉิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dioscorea bulbifera L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Air potato” “Aerial yam” “Bulbilbearing yam” “Potato yam”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “มันขมิ้น ว่านสามพันตึง” ภาคเหนือเรียกว่า “มะมู หำเป้า” จังหวัดสุโขทัยเรียกว่า “มันอีโม้” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “มันอีลุ้ม” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “อีรุมปุมเป้า” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “มันกะทาด” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “มันหลวง” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “มันเสิน มันตกเลือด” ชาวลัวะเรียกว่า “ไคว้เคียว โค่ยเมี่ยน มันงูเห่า สะมีโค่ยม่า” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “ด่อยจู๊” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “เล่าะแจ๊มือ ละสามี มะมู เดะควา”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กลอย (DIOSCOREACEAE)
ชื่อพ้อง : Dioscorea anthropophagorum A.Chev., Dioscorea crispata Roxb., Dioscorea heterophylla Roxb., Dioscorea hoffa Cordem., Dioscorea pulchella Roxb., Dioscorea sativa f. domestica Makino, Dioscorea sylvestris De Wild., Helmia bulbifera (L.) Kunth, Polynome bulbifera (L.) Salisb.

ลักษณะของว่านพระฉิม

ว่านพระฉิม เป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น
เถา : เถาเลื้อยแบบหมุนเวียนซ้าย ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเป็นเหลี่ยมคล้ายปีกหรือคล้ายหนามปราศจากขน มีหัวอยู่ใต้ดินขนาดใหญ่ มีลักษณะโป่งนูนเป็นลูก ๆ โดยเชื่อมติดกันที่โคนต้น
หัวอากาศ : หัวย่อยหรือหัวอากาศที่เกิดตามซอกใบนั้นบางครั้งเกิดขึ้นแทนดอกเพศผู้ตามง่ามช่อดอก หัวมีขนาดเล็กและมักเป็นปมตะปุ่มตะป่ำ หัวโตมักจะมีสีผิวเป็นมัน ลักษณะของหัวเป็นรูปทรงกลมหรือมีรูปคล้ายไต แบนเล็กน้อย เป็นสีน้ำตาลถึงสีเทา อาจมีน้ำหนักถึงครึ่งกิโลกรัมหรือ 2 กิโลกรัม เนื้อในหัวเป็นสีเหลืองซีด มีจุดสีม่วงกระจายอยู่ จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อถูกอากาศและมีลักษณะเป็นเมือก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลมบ้างเป็นจะงอย โคนใบเว้ามนหรือเว้าลึก ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบบาง หลังใบเป็นสีเขียวมัน แต่หยิกย่นน้อยเล็กน้อยระหว่างเส้นใบ ส่วนท้องใบเป็นสีอ่อนกว่า เส้นใบหลักออกมาจากจุดเดียวกันจากฐานใบ มีเส้นใบข้างประมาณ 5 – 8 คู่ เส้นย่อยเรียงตัวกันตามขวางแบบขั้นบันได ก้านใบเป็นเหลี่ยมคล้ายปีก
ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น โดยจะออกดอกเป็นช่อยาวตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้จะเป็นช่อเชิงลดห้อยลง ออกเป็นกลุ่มบนแกน บางครั้งอาจพบเป็นช่อแยกแขนง เกสรเพศผู้มี 6 อัน เป็นหมันทั้งหมดหรือเป็นครึ่งหนึ่ง ดอกมีกลิ่นหอมเป็นสีขาวออกเขียวอ่อน กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็นชั้น 2 ชั้น ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นช่อเชิงลด มีลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่ดอกเพศเมียจะมีดอกน้อยกว่าและเมื่อดอกบานออกจะมีขนาดกว้างกว่า มักจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
ผล : เป็นแบบแคปซูลหรือเป็นฝักทรงวงรี ลักษณะเป็นรูปขอบขนานโค้งพับลง มีปีกสีน้ำตาลเป็นมัน ส่วนเมล็ดมีขอบคล้ายปีกที่ฐาน

สรรพคุณของว่านพระฉิม

  • สรรพคุณจากว่านพระฉิม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านเบาหวาน ต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านมะเร็ง ทำให้หลอดเลือดหดตัว ขับปัสสาวะ ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง ต้านฮอร์โมน LH เป็นพิษต่อตับ
  • สรรพคุณจากหัวใต้ดิน ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยขับน้ำนมของสตรี
    – บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้บิด แก้อาการปวดท้อง แก้ท้องย้อย แก้ลำไส้อักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการนำหัวใต้ดินมาทำให้สุกทานเป็นยา
    – ปิดแผลและแก้อักเสบ ด้วยการนำหัวใต้ดินมาหั่นเป็นแผ่นบางใช้ปิดแผล
  • สรรพคุณจากหัวหรือเหง้า
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านเบาหวาน ด้วยการนำเหง้าแห้งขนาด 10 – 20 กรัม มาบดให้ละเอียดชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น
    – รักษาโรคกระเพาะ ด้วยการนำหัวมาฝานตากแห้งแล้วปรุงเป็นอาหารแป้ง ทำการกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาสิว ฝ้าและไฝ ด้วยการนำรากมาตำใช้เป็นยาพอก

ประโยชน์ของว่านพระฉิม
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมาทานเป็นผักสด ผักลวกหรือนึ่งกินกับน้ำพริกได้ หัวย่อยนำมาเผาไฟหรือนึ่งกินเนื้อเป็นอาหารว่างได้ ชาวเมี่ยนนำหัวใต้ดินมาขูดเป็นเส้นแล้วนึ่งรับประทานแทนข้าวได้
2. เป็นยารักษาแผลให้สุนัข ชาวเมี่ยนนำหัวว่านพระฉิมมาทุบใส่แผลให้สุนัข
3. เป็นความเชื่อ หัวนำมากินหรือใช้ติดตัวเชื่อว่าจะคงกระพันชาตรี

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านพระฉิม

สารสำคัญที่พบในว่านพระฉิม พบสาร acetophenone, batatasin, diosbulbin, diosbulbinoside D, dioscorine, diosgenin, phenanthrene, sorbitol, trillin การทดลอง เมื่อปี ค.ศ. 1992 ณ ประเทศจีน ได้ทดลองใช้สารสกัดจากเหง้าของว่านพระฉิมในหนูทดลอง โดยผลการทดลองพบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ข้อควรระวังของว่านพระฉิม

ก่อนที่จะนำหัวใต้ดินมารับประทานต้องนำมาแช่น้ำหรือทำให้สุกเพื่อกำจัดสารพิษก่อนจึงจะสามารถนำมารับประทานหรือใช้ประกอบอาหารได้

ว่านพระฉิม เป็นต้นที่มีส่วนหัวใต้ดินเป็นยาขมหรือยาเย็น จึงสามารถนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากนั้นยังนิยมนำมาทานทั้งใบอ่อนและหัว เป็นต้นที่มีใบรูปหัวใจเลื้อยพันตามต้นไม้ทั่วไปทำให้มองเห็นได้ง่าย ว่านพระฉิมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัวใต้ดิน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านเบาหวาน ต้านมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะและแก้น้ำเหลืองเสียได้ ถือเป็นต้นที่ช่วยป้องกันโรคยอดนิยมที่คนทั่วไปมักจะเป็นกันได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ว่านพระฉิม”. หน้า 140.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่านพระฉิม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [17 ส.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ว่านพระฉิม”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 5 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์)., หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [17 ส.ค. 2014].
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดแพร่, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ว่านพระฉิม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phrae.mju.ac.th/cms/rspg/. [17 ส.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/