Home Blog Page 70

เห็ดหูหนู สุดยอดสรรพคุณทางยา ป้องกันโรคอันตราย บำรุงอวัยวะสำคัญ

0
เห็ดหูหนู สุดยอดสรรพคุณทางยา ป้องกันโรคอันตราย บำรุงอวัยวะสำคัญ
เห็ดหูหนู หรือ เห็ดหูหนูดำ เป็นแผ่นเหมือนกับหูหนูหรือหูคน แผ่นคล้ายวุ้น เนื้อนิ่มและเหนียว มีสีออกน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลอ่อน
เห็ดหูหนู สุดยอดสรรพคุณทางยา ป้องกันโรคอันตราย บำรุงอวัยวะสำคัญ
เห็ดหูหนู หรือ เห็ดหูหนูดำ เป็นแผ่นเหมือนกับหูหนูหรือหูคน แผ่นคล้ายวุ้น เนื้อนิ่มและเหนียว มีสีออกน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลอ่อน

เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู (Jelly ear) หรือ เห็ดหูหนูดำ เป็นพืชในกลุ่มเห็ดราของเห็ดฟันไจ มีรสจืดชุ่มและเป็นยาสุขุม เป็นเห็ดที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง จึงเป็นเห็ดที่คนนิยมนำมาบริโภคกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในอาหารเจ ถือเป็นเห็ดที่พบได้ทั่วไปในเมนูต่าง ๆ เป็นที่รู้กันดีว่าเห็ดหูหนูมีประโยชน์ต่อร่างกายและมีคุณค่าทางโภชนาการ ดีอย่างมากต่ออวัยวะภายในและป้องกันโรคอันตรายได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเห็ดหูหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Auricularia auricula – judae (Bull.) J.Schröt.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Jew’s ear” “Wood ear” “Jelly ear”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูแมว เห็ดหูลัวะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ AURICULARIACEAE

ลักษณะของเห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู มักจะพบตามลำต้นของต้นใหญ่ที่เน่าเปื่อยหรือซากไม้ที่ผุสลาย มีลักษณะเป็นแผ่นเหมือนกับหูหนูหรือหูคน แผ่นคล้ายวุ้นใส เนื้อนิ่มอ่อนและเหนียว มีสีออกน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลอ่อน แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมันเงา ส่วนขอบแผ่นมีรอยจีบหรือเป็นลอน ด้านใต้ใบมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ถ้าใบแห้งจะมีความแข็งและเหนียว ก้านใบเห็ดหูหนูนั้นสั้นมาก โดยจะอยู่กลางดอกหรือไปข้างใดด้านหนึ่งยึดติดกับลำต้นไม้หรือท่อนไม้ที่เน่าเปื่อย ส่วนสปอร์ของเห็ดหูหนูจะมีลักษณะเป็นรูปไส้หรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสีเทาม่วงอ่อน

สรรพคุณของเห็ดหูหนู

  • ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ กระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ เป็นยาบำรุงร่างกาย เป็นยาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย เป็นยาฟอกเลือด ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่น ช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาไหล เป็นยาห้ามเลือด ช่วยแก้มือเท้าเย็นชา ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ลดไขมันในเลือดสูง ลดความดันเลือดสูง ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันหลอดเลือดตีบ ป้องกันเลือดจาง แก้อาการอ่อนเพลีย รักษาวัณโรค แก้หอบหืด แก้ไอแห้ง แก้ไอเป็นเลือด แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน แก้นิ่วในถุงน้ำดี แก้นิ่วในทางเดินกระเพาะปัสสาวะ แก้นิ่วในไต แก้อุจจาระเป็นเลือด ป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อนภายหลังจากการฉายรังสี ช่วยหยุดเลือด เป็นยาระบายและขับของเสียในลำไส้ ทำให้หัวใจแข็งแรง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงตับ ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดให้คลายตัว บำรุงผิวพรรณ
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดแข็งตัว ด้วยการนำเห็ดหูหนู 3 กรัม มาแช่ในน้ำ 1 คืน จากนั้นนำมานึ่งประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ใส่น้ำตาลกรวดลงผสมกันทานวันละครั้งก่อนนอน
  • รักษาอาการท้องผูก ช่วยรักษาริดสีดวงทวารมีเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด ด้วยการนำเห็ดหูหนู 3 – 6 กรัม และลูกพลับอบแห้ง 30 กรัม มารวมกันต้มกับน้ำทาน
  • รักษาอาการประจำเดือนมามากหรืออาการตกขาวของสตรี รักษาอาการตกเลือดหรือแก้สตรีตกเลือด ด้วยการนำเห็ดหูหนูอบแห้งมาบดให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำทานครั้งละ 3 – 6 กรัม วันละ 2 ครั้ง

ประโยชน์ของเห็ดหูหนู

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใช้ประกอบอาหารอย่างเมนูผัดเนื้อไก่ใส่ขิงใส่เห็ดหูหนู แกงจืดเห็ดหูหนู ยำเห็ดหูหนู เป็นต้น เป็นอาหารคาวของอาหารเจและยังเป็นสุดยอดของเห็ดอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหูหนู

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหูหนู ต่อ 100 กรัม จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพืชผัก ระบุว่า ให้พลังงาน 321.5 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสรอาหาร
ไขมัน 0.70%
โปรตีน 7.25%
คาร์โบไฮเดรต 71.50%
ความชื้น 85.70%
กากใยอาหาร 18.70%
เถ้า 1.69%
วิตามินบี1 0.008 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 1.173 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.43 มิลลิกรัม
วิตามินซี 0.38 มิลลิกรัม
แคลเซียม 332.60 มิลลิกรัม
เหล็ก 14.30 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 122.10 มิลลิกรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเห็ดหูหนู

พบสาร โปรตีน ไขมันและกลูโคสกลูโคลิน เช่น D – Mannanm Glueuronic acid, Methyl pentose, Licithin, Cephalin, Sphingomyelin, Ergosterol และแร่ธาตุอีกหลายชนิด

ข้อควรระวังของเห็ดหูหนู

1. ผู้ที่มีระบบการย่อยอาหารหรือมีภาวะของร่างกายเย็นมาก ต้องมีอาหารหรือสมุนไพรอื่นที่มีคุณสมบัติร้อนประกอบด้วย
2. ไม่ควรกินมากในช่วงกลางคืน แต่ควรกินในช่วงเวลากลางวันมากกว่า

เห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่อยู่ในอาหารทั่วไปและสามารถพบได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นสุดยอดเห็ดที่ช่วยบำรุงร่างกายได้อย่างดี สามารถป้องกันโรคที่คนทั่วไปมักจะเป็นกันได้ ถือเป็นเห็ดที่ไม่ควรมองข้าม แถมยังมีราคาไม่แพงและซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป เป็นเห็ดที่เหมาะต่อผู้สูงอายุในการซ่อมแซมร่างกายและบำรุงอวัยวะ ส่วนคนหนุ่มสาวก็ควรทานเพื่อป้องกันเช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง บำรุงสายตาและบำรุงตับได้ ไม่ใช่เรื่องดีนักที่จะปฏิเสธการทานเห็ดหูหนูเพราะไม่มีอะไรยากเลยในการซื้อมาทำกินเองหรือไปทานที่ร้าน แถมยังอุดมไปด้วยสรรพคุณมากมายขนาดนี้ ทั้งหมดทั้งมวลมีแต่กำไรต่อชีวิตทั้งสิ้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เห็ดหูหนู”. หน้า 628.
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 300 คอลัมน์ : แพทย์แผนจีน. (นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล). “เห็ดหูหนู : สุดยอดของเห็ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [24 ก.ย. 2014].
อาหารพื้นบ้านล้านนา, สำนักหอสมุด และสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “เห็ดหูหนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/. [24 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

โมกมัน ไม้ดอกหอม แก้บิด ขับเลือดเสียและรักษาโรคไต

0
โมกมัน ไม้ดอกหอม มีสรรพคุณแก้บิด ขับเลือดเสียและรักษาโรคไต
โมกมัน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นมีสีขาวหรือสีเทาอ่อน ดอกมีสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม
โมกมัน ไม้ดอกหอม มีสรรพคุณแก้บิด ขับเลือดเสียและรักษาโรคไต
โมกมัน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นมีสีขาวหรือสีเทาอ่อน ดอกมีสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม

โมกมัน

โมกมัน (Lanete) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มักจะพบตามป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง คนไทยส่วนมากอาจจะรู้จักต้นไม้ต้นนี้เพราะเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี เป็นต้นที่มีดอกสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอมชวนให้น่าปลูกในสวนป่าและเพื่อความร่มเงาได้ นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่สามารถนำส่วนของยอดอ่อนมาใช้รับประทานในรูปแบบของผักได้ ทว่าส่วนที่สำคัญเลยก็คือ ส่วนต่าง ๆ ของต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Ivory” “Darabela” “Karingi” “Lanete”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดน่านเรียกว่า “มูกน้อย มูกมัน” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “โมกมันเหลือง” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “มักมัน” คนทั่วไปเรียกว่า “โมกน้อย” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เส่ทือ แนแก แหน่แก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
ชื่อพ้อง : Wrightia tomentosa Roem. & Schult.

ลักษณะของโมกมัน

โมกมัน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบที่มักจะพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบและป่าโปร่งทั่วไป
เปลือกต้น : เปลือกลำต้นมีสีขาวหรือสีเทาอ่อน เปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและมีขนสีขาวตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อน ที่เปลือกมีรูอากาศมากและด้านในมีน้ำยางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบและที่พื้นผิวบางเหมือนกับกระดาษ ใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 8 – 12 เส้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม มีกลีบดอก 5 กลีบเป็นรูปวงรีและมักจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม
ผล : ออกผลเป็นฝักยาวห้อยลง ลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อฝักแก่และแห้งจะสามารถแตกออกได้
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปวงรีหรือรูปแถบ ปลายด้านหนึ่งจะมีขนปุยสีขาวอยู่เป็นกระจุกซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ปลิวไปตามลมได้

สรรพคุณของโมกมัน

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคไต แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยฆ่าเชื้อโรคคุดทะราดและรำมะนาด
  • สรรพคุณจากผล ช่วยแก้ฟันผุ ช่วยฆ่าเชื้อรำมะนาด
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องมาน ช่วยแก้ตับพิการ ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
  • สรรพคุณจากราก แก้ลม แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง แก้ลมสันดาน รักษางูกัด
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
  • สรรพคุณจากยางของต้น แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • สรรพคุณจากแก่น บำรุงถุงน้ำดี แก้ดีพิการ
  • สรรพคุณจากรากและใบ รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แก้อาการปวดข้อจากโรคข้อรูมาติก
  • สรรพคุณจากรากและเนื้อไม้
    – แก้บิดและแก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด โดยหมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีนำรากและเนื้อไม้มาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้และแก่น ช่วยขับเลือดเสียออกจากร่างกาย

ประโยชน์ของโมกมัน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มทานร่วมกับน้ำพริกหรือนำมาใช้ทำแกงได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า เปลือกของต้นมีเส้นที่สามารถนำมาใช้ทำกระดาษและใช้แทนเส้นใยจากฝ้ายได้ ส่วนเปลือกของต้นสามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมเส้นไหมซึ่งจะให้สีเขียวอ่อน
3. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้ของต้นมีความเหนียวและละเอียดจึงสามารถนำมาใช้ทำในงานแกะสลัก เครื่องเล่นดนตรีไทย เครื่องเล่นสำหรับเด็ก เครื่องเขียนและใช้สร้างบ้านได้
4. ปลูกเป็นไม้ประดับในสวนป่า

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโมกมัน

สารที่พบในโมกมัน พบสาร benzoic acid, 2 – hydroxy – 6 – methyoxy, benzoic acid, 4 – hydroxy, conessidine, conessine, conkurchin, ferulic acid, gentisic acid, hexaconsane – 3, 6 – diol, 12 – oic acid, hexacosan – 3, 6 – diol – 12 – oic acid, quercetin, kaempferol, kurchicine, kurchine, n – tritriacontane – 16 – one, sinapic acid, syringic acid, vanillic acid, wrightiadione

โมกมัน เป็นต้นที่มีดอกสีขาวอมเหลืองและกลิ่นหอมจึงเหมาะอย่างมากที่จะนำมาปลูกเอาไว้ในสวนป่า อีกทั้งส่วนต่าง ๆ ของต้นยังเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย นอกจากนั้นยังสามารถนำเปลือกต้นมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อทดแทนวัตถุดิบชนิดอื่นได้ โมกมันมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้บิด ขับเลือดเสีย รักษาโรคไตและแก้ลม ถือเป็นต้นที่มีประโยชน์มากกว่าที่เห็นในภายนอกทั้งการนำมาใช้เป็นยาและการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมย้อมผ้า

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โมกมัน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 165.
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โมกมัน (Mok Mun)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 248.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โมกมัน”. หน้า 209.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “โมกมัน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 650-651.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โมกมัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [20 พ.ค. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โมก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [20 พ.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โมกมัน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [20 พ.ค. 2014].
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “โมกมัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [20 พ.ค. 2014].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “โมกมัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [20 พ.ค. 2014].
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โมกมัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [20 พ.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “โมกมัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [20 พ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ขวง หรือ สะเดาดิน เป็นผักในตำรับยาทั้งหลาย ช่วยแก้ไข้และบำรุงน้ำดี

0
ขวง หรือ “สะเดาดิน” เป็นผักในตำรับยาทั้งหลาย ช่วยแก้ไข้และบำรุงน้ำดี
ขวง หรือ สะเดาดินเป็นไม้ล้มลุก แตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว
ขวง หรือ “สะเดาดิน” เป็นผักในตำรับยาทั้งหลาย ช่วยแก้ไข้และบำรุงน้ำดี
ขวง หรือ สะเดาดินเป็นไม้ล้มลุก แตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว

ขวง

ขวง (Glinus oppositifolius) เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยไปตามพื้นดินซึ่งสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทยแต่จะพบได้มากทางภาคเหนือ ดอกมีสีขาวอมเขียวขนาดเล็ก เป็นผักที่มีรสขมคล้ายกับสะเดาทำให้บางพื้นที่เรียกผักชนิดนี้ว่า “สะเดาดิน” นิยมนำมาทานในรูปแบบของผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือทานร่วมกับลาบได้ จากภายนอกขวงเหมือนเป็นพืชบนดินทั่วไปที่ไม่มีอะไรและไม่ค่อยมีใครสนใจ แต่ขวงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและยังเป็นส่วนประกอบของตำรับยามากกว่า 7 ตำรับด้วยกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของขวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สะเดาดิน ผักขวง” ภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักขี้ขวง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ขี้ก๋วง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)

ลักษณะของผักขวง

ผักขวง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน มักจะพบมากในภาคเหนือ ขึ้นตามบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นาและตามสนามหญ้าทั่วไป
ต้น : แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก มีการแตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4 – 5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาววงรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4 – 6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปยาววงรี เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน
เมล็ด : เมล็ดมีจำนวนมาก เป็นสีน้ำตาลแดงและมีขนาดเท่ากับเม็ดทราย

สรรพคุณของผักขวง

สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาแก้ไข้หรือแก้ไข้ทั้งปวง เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ
– แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำต้นสดมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก
– แก้อาการปวดหู ด้วยการนำทั้งต้นผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหู
สรรพคุณจากผักขวง
– แก้ไข้ที่เกิดจากดีพิการซึ่งมีอาการปวดศีรษะและไข้สูง โดยตำรับยาในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์นำผักขวง เครือเขาด้วย รากขี้กา รากขัดมอน ต้นผีเสื้อ หญ้าเกล็ดหอยและน้ำผึ้งมาผสมเข้าด้วยกัน
– แก้อาการปวดศีรษะและจมูกตึง โดยตำรับยาในพระคัมภีร์โรคนิทานนำผักขวง ใบหญ้าน้ำดับไฟ ใบหางนกยูง ฆ้องสามย่าน เทียนดำ ไพล หัวหอม ดอกพิกุลและดินประสิวขาวมาบดสุมกระหม่อม

ประโยชน์ของผักขวง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวบ้านนำมาทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่นอย่างแกงแค แกงเมืองหรือแกงกับปลาทูนึ่ง
2. เป็นส่วนประกอบของยา เป็นส่วนประกอบในตำรับพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ พระคัมภีร์โรคนิทานและพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักขวง 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผักขวง 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
น้ำ 90.3%
โปรตีน 3.2 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม
ใยอาหาร 1.1 กรัม
เถ้า 1.7 กรัม
แคลเซียม 94 มิลลิกรัม 
ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม 
วิตามินบี2 0.45 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 2.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

ผักขวง ถือเป็นผักที่นิยมอย่างมากในการเป็นส่วนประกอบของยาพื้นบ้านหรือตำรับยาของคนในอดีต ถือเป็นผักที่คนไทยในยุคใหม่ไม่ค่อยสนใจกันแต่กลับมีประโยชน์ทางโภชนาการและเป็นยาแก้อาการได้ดี ผักขวงมีสรรพคุณทางยาจากส่วนของทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ทั้งปวง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี แก้โรคผิวหนังและอาการปวดหูได้ ถือเป็นต้นที่น่าสนใจชนิดหนึ่งในการนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพรแก้อาการทั้งหลาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักขวง”. หน้า 469-470.
วัชพืช, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ขี้ก๋วง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/crop_2.htm. [22 พ.ย. 2014].
หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 545, วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. (ไพบูลย์ แพงเงิน). “ผักขวง…สมุนไพรบำรุงน้ำดี”.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักขวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [22 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

สันพร้าหอม ต้นกลิ่นหอมละมุน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดและบำรุงหัวใจ

0
สันพร้าหอม ต้นกลิ่นหอมละมุน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดและบำรุงหัวใจ
สันพร้าหอม เป็นต้นที่มีรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม มีดอกสีแดงหรือสีขาวขนาดเล็ก ผลสุกจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ
สันพร้าหอม ต้นกลิ่นหอมละมุน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดและบำรุงหัวใจ
สันพร้าหอม เป็นต้นที่มีรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม มีดอกสีแดงหรือสีขาวขนาดเล็ก ผลสุกจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม (Eupatorium fortunei) เป็นต้นที่มีรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม เป็นยาสุขุมที่หมออีสานนิยมใช้เพราะปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน มีดอกสีแดงหรือสีขาวขนาดเล็กดูสวยงามจึงทำให้นิยมนำมาปลูกลงกระถางขาย นอกจากนั้นยังนำมารับประทานหรือเป็นส่วนผสมของแป้งหอม ทว่าสันพร้าหอมก็มีเรื่องที่ควรระวังเพราะผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้หย่อนไม่มีกำลังห้ามทานเด็ดขาดและมีผลต่อตับและไตได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสันพร้าหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium fortunei Turcz.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เกี๋ยงพาใย” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สันพร้าหอม” จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรีและกาญจนบุรีเรียกว่า “หญ้าเสือมอบ” ชาวเงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ซะเป มอกพา หญ้าลั่งพั้ง” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “พอกี่” จีนกลางเรียกว่า “หลานเฉ่า เพ่ยหลาน”มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักเพี้ยฟาน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ชื่อพ้อง : Eupatorium stoechadosmum Hance

ลักษณะของสันพร้าหอม

สันพร้าหอม เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนอายุหลายปี มักจะขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร ปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง โคนต้นเรียบเป็นมันและเกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่องแต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย
ราก : รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงกันเป็นคู่ตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนวงรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว หลังใบมีขนปกคลุม เส้นใบคล้ายรูปขนนก เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม ใบบริเวณโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและแห้งง่าย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4 – 6 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกมีสีแดงหรือสีขาวขนาดเล็ก ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ผลเป็นสีดำและมีสัน 5 สัน เมื่อสุกผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของสันพร้าหอม

  • สรรพคุณจากทั้งต้น ออกฤทธิ์ต่อม้ามและกระเพาะอาหาร เป็นยาขับน้ำชื้นในร่างกาย เป็นยาบำรุง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อนจัด แก้ไข้แดด ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ปากแห้ง แก้น้ำลายเหนียว แก้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ช่วยแก้ลมขึ้นจุกเสียด แก้ลมขึ้นเบื้องสูง แก้อาการแน่นหน้าอก แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ปวดกระเพาะ แก้กระเพาะลำไส้อักเสบเฉียบพลัน เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ เป็นยากระตุ้นความกำหนัด
    – บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ทำให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยแก้อาการวิงเวียน ด้วยการนำทั้งต้นมาบดให้เป็นผงแล้วชงเป็นชาดื่ม
    – แก้หวัด ด้วยการนำทั้งต้นประมาณ 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร แล้วต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลงแล้วต้มต่ออีกประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา หรือนำมาบดเป็นผงทำเป็นชาชงดื่ม
    แก้ไอ บรรเทาอาการหอบหืดในเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยการนำทั้งต้นมาบดกับน้ำแล้วเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยกินเป็นยา
    – แก้ลมชัก แก้ลมมะเฮ็ดคุด ทำให้สดชื่นรู้สึกปลอดโปร่ง ช่วยกระจายเลือดลมไปเลี้ยงสมอง ช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้อาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะลดลง ด้วยการนำทั้งต้นมาขยี้ดม
    – บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับน้ำออกจากร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ ช่วยทำให้เหงื่อออก เป็นยาขับประจำเดือนในหญิงที่ประจำเดือนผิดปกติ โดยหมอยาอีสานนำทั้งต้นมาใช้กับแม่หลังคลอดในการทำเป็นยาอบต้มกิน
  • สรรพคุณจากใบ แก้พิษเบื่ออาหาร เป็นยาบำรุงหัวใจ
    – แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้แดด ด้วยการนำใบสันพร้าหอม 5 กรัม ใบสะระแหน่ 5 กรัม ใบบัวหลวง 5 กรัม พิมเสนต้น 5 กรัม ปี่แปะเอี๊ยะ 30 กรัม โหล่วกิง 30 กรัมและเปลือกฟัก 60 กรัม มารวมกันต้มกับน้ำทาน
    – เป็นยาปรับธาตุ เป็นยาระบาย แก้อาการท้องร่วง ด้วยการนำใบทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาแก้สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ ใช้จับเลือดเสียหลังการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการนำราก 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร แล้วต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลงต้มต่ออีก 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา
    – แก้พิษ ด้วยการนำรากต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากน้ำมันหอมระเหย ยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่

ประโยชน์ของสันพร้าหอม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบใช้กินกับลาบ น้ำพริกหรืออาหารอื่น ๆ
2. เป็นส่วนผสมในการใช้ความหอม ใช้เป็นส่วนผสมของแป้งหอม ยาสระผมหอมบำรุงผม ธูปหรือเครื่องหอมอื่น ๆ คนปกาเกอะยอนำมาห่อด้วยใบตองที่ทาด้วยน้ำมันมะพร้าวไว้แล้วนำมาย่างไฟจะทำให้กลิ่นหอมมาก จากนั้นจะนิยมนำมาทัดหูหรือนำมาห้อยกับสายสร้อยคล้องคอ
3. เป็นความเชื่อ ปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อดึงดูดผีบ้านผีเรือนให้คอยปกป้องรักษาบ้านที่อยู่อาศัยและผู้อาศัยหรือนำมาใช้ห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ
4. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป พ่อค้านิยมนำมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อขายเป็นการค้า

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสันพร้าหอม

สารที่พบในสันพร้าหอม ทั้งต้นพบน้ำมันระเหยประมาณ 1.5 – 2% ในน้ำมันพบสารหลายชนิด เช่น P – cymene, Neryl acetate, 5 – Methylthymol ether, Nerylacetate และยังพบสาร Coumarin, O – Coumaric acid, Thymohydroquinone ส่วนใบพบสาร Euparin, Eupatolin gxH เป็นต้น
การทดสอบทางพิษของสันพร้าหอม เมื่อนำสันพร้าหอมทั้งต้นมาให้แพะหรือวัวกินติดต่อกันเป็นเวลานาน พบว่าจะเกิดการกระทบที่ตับและไต ทำให้แพะหรือวัวเป็นเบาหวาน หรือถ้าใช้สารที่สกัดได้จากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ มาฉีดเข้าที่หนูทดลอง จะทำให้หนูทดลองมีการหายใจช้าลง การเต้นของหัวใจช้าลง อุณหภูมิในร่างกายของหนูลดลง น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและมีอาการแสดงคล้ายกับเป็นโรคเบาหวาน

ข้อควรระวังของสันพร้าหอม

1. ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้หย่อนไม่มีกำลัง ห้ามรับประทาน
2. ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ตับ ไต หัวใจและน้ำตาลในเลือดได้

สันพร้าหอม เป็นต้นที่ใบมีวิตามินซีสูงและมีสรรพคุณทางยาได้จากทั้งต้น เป็นต้นที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมและเป็นไม้ประดับสวยงาม สามารถนำใบมารับประทานในรูปแบบของผักสดได้ สันพร้าหอมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ไข้และแก้ลมได้ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณแก้อาการต่าง ๆ ได้อีกเยอะ ทั้งนี้ถือเป็นต้นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่ให้ความหอมได้ดีมาก

สันพร้าหอม ต้นกลิ่นหอมละมุน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดและบำรุงหัวใจ
สันพร้าหอม เป็นต้นที่มีรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม มีดอกสีแดงหรือสีขาวขนาดเล็ก ผลสุกจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ
เกี๋ยงพาใย,สันพร้าหอม,หญ้าเสือมอบ,ซะเป,มอกพา,หญ้าลั่งพั้ง,พอกี่,หลานเฉ่า,เพ่ยหลาน,ผักเพี้ยฟาน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สันพร้าหอม”. หน้า 774-775.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สันพร้าหอม”. หน้า 550.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “สันพร้าหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [11 ต.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช กรมวิชาการเกษตร. (สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ). “สันพร้าหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.apoc12.com. [11 ต.ค. 2014].
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. “ต้นสันพร้าหอม”.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

จอก ไม้น้ำในอ่างปลา ทั้งต้นเป็นยา ใบอุดมไปด้วยวิตามิน

0
จอก ไม้น้ำในอ่างปลา ทั้งต้นเป็นยา ใบอุดมไปด้วยวิตามิน
จอก เป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ใบเดี่ยวเขียวเรียงสลับ ดอกเป็นช่ออยู่กลางต้น
จอก ไม้น้ำในอ่างปลา ทั้งต้นเป็นยา ใบอุดมไปด้วยวิตามิน
จอก เป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ใบเดี่ยวเขียวเรียงสลับ ดอกเป็นช่ออยู่กลางต้น

จอก

จอก ( Water lettuec ) เป็นพืชน้ำขนาดเล็กที่ลอยอยู่บนน้ำ สามารถพบได้ตามลำคลองหรือพื้นที่น้ำท่วมขังทั่วไป นิยมนำมาปลูกประดับในอ่างเลี้ยงปลาและใช้ทำปุ๋ยหมัก นอกจากนั้นต้นอ่อนยังนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และที่สำคัญเป็นต้นที่มีวิตามินเอ วิตามินบีและวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายทั้งสิ้น ส่วนต่าง ๆ ของจอกยังสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ถือว่าเป็นต้นที่มีอะไรดีมากกว่าที่เห็นในภายนอก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pistia stratiotes L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Water lettuec”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “กากอก” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ผักกอก” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ไต่ผู้เฟี้ย” จีนกลางเรียกว่า “ต้าฝูผิง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “จอกใหญ่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของต้นจอก

จอก เป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็กที่ลอยเป็นกลุ่มอยู่บนผิวน้ำ มีอายุได้หลายปี มักจะพบตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าวและพื้นที่น้ำขังทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำและมีลักษณะอวบน้ำ ลำต้นมีไหล ซึ่งต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล
ราก : เป็นระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมาก มักจะออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ รากมีสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับกัน รูปร่างของใบมีลักษณะไม่แน่นอนแต่ส่วนมากจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่ปลายใบจะมนเป็นคลื่น บริเวณฐานใบพองออกและมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ต้นสามารถลอยน้ำได้
ดอก : ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้น มีกาบหุ้มดอกอยู่ประมาณ 2 – 3 ใบ จอกเป็นดอกที่ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง
ผล : ผลมีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีกาบหรือใบประดับสีเขียวอ่อนติดอยู่
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2 – 3 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อนลักษณะกลมยาว เปลือกเมล็ดจะมีรอยย่น

สรรพคุณของจอก

  • สรรพคุณจากจอก ช่วยขับเสมหะ แก้หืด แก้บิด รักษาโรคโกโนเรียหรือโรคหนองในแท้
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาฟอกเลือดให้เย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ช่วยขับความชื้นในร่างกาย แก้พิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาขับลม แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน แก้ฝีหนองภายนอก
    – แก้ท้องมานและอาการบวมน้ำ ด้วยการนำใบสดผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาอย่างละ 120 กรัมต่อน้ำ 3 ถ้วย ทำการต้มให้ข้นจนเหลือเพียงถ้วยเดียวแล้วทาน 3 ครั้ง
    – เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องมานและอาการบวมน้ำ ด้วยการนำใบแห้ง 15 – 20 กรัม มาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    แก้หัด แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบสด 100 กรัมมาตากแห้งแล้วบดผสมกับน้ำผึ้งเพื่อทำเป็นยาเม็ด ควรทานให้หมดภายใน 1 วัน หรือนำใบแห้งต้มกับน้ำแล้วอบผิวเพื่อใช้เป็นยาต้มมาล้างบริเวณที่มีอาการ
    – บรรเทาอาการฟกช้ำหรือแก้อาการบอบช้ำ ด้วยการนำใบสดมาผสมกับน้ำตาลกรวดดำ ทำการอุ่นให้ร้อนแล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือนำใบสดมาตำแล้วพอกก็ได้
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของจอก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร คนจีน อินเดียและชาวแอฟริกานำมาใช้เป็นอาหารในเวลาขาดแคลนได้
2. ใช้ในการเกษตร ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู เป็ด ปลา เป็นต้น ทั้งต้นยังนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้ด้วย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ปลูกประดับในอ่างปลาเพื่อให้ลูกปลามีที่กำบัง

คุณค่าทางโภชนาการของใบจอกสด

คุณค่าทางโภชนาการของใบจอกสด ให้วิตามินเอ วิตามินบีและวิตามินซีในปริมาณที่สูง ให้คาร์โบไฮเดรต (2.6%) เส้นใย (0.9%) โปรตีน (1.4%) ไขมัน (0.3%) ความชื้น (92.9%) ธาตุแคลเซียม (0.20%) ธาตุฟอสฟอรัส (0.06%)

ข้อควรระวังของจอก

1. จอกเป็นไม้น้ำที่สามารถดูดพิษได้มาก ดังนั้นหากแม่น้ำลำคลองแห่งนั้นมีสารพิษปนเปื้อนสูง อาจทำให้จอกอุดมไปด้วยพิษได้
2. ต้นจอกที่มีรสขมไม่ควรนำมารับประทานเป็นอันขาด
3. ส่วนของรากจะมีสารพิษเล็กน้อย ดังนั้นก่อนนำมาใช้จะต้องทำการตัดรากออกก่อน ส่วนของใบก็ควรนำมาล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน
4. สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด

จอก เป็นพืชน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการนำมาประดับในอ่างปลาแบบที่คนทั่วไปรู้จักกัน ทั้งนี้การนำพืชน้ำมารับประทานนั้นก็มีความเสี่ยงสูงเพราะขึ้นอยู่กับการปนเปื้อนของลำคลองที่พืชน้ำเติบโต เนื่องจากประเทศไทยจะมีการปล่อยของเสียและยังไม่ค่อยมีการบำบัดน้ำที่ถูกต้องนัก ลำคลองทั่วไปจึงมักจะสกปรกและไม่สะอาดสักเท่าไหร่ จอกมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาขับลม แก้บิดและขับปัสสาวะได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “จอก”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 220-221.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “จอก”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 176.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “จอก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/. [22 ก.พ. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “จอก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [22 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “จอก”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org . [22 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Pistia stratiotes L.”. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน เล่ม 1 (684). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [22 ก.พ. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

โสมซานชี โสมจีนมากสรรพคุณทางยา ดีต่อเลือดและอวัยวะสำคัญ

0
โสมซานชี โสมจีนมากสรรพคุณทางยา ดีต่อเลือดและอวัยวะสำคัญ
โสมซานชี เป็นโสมจีน พืชยืนต้น ใบเป็นสีเขียวเข้ม ดอกเป็นสีขาวอมเขียว ผลมีขนาดเล็กสีแดง
โสมซานชี โสมจีนมากสรรพคุณทางยา ดีต่อเลือดและอวัยวะสำคัญ
โสมซานชี เป็นโสมจีน พืชยืนต้น ใบเป็นสีเขียวเข้ม ดอกเป็นสีขาวอมเขียว ผลมีขนาดเล็กสีแดง

โสมซานชี

โสมซานชี (Sanchi Ginseng) เป็นโสมจีนที่อยู่ในวงศ์เล็บครุฑ มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เหวินซานโจว จังหวัดยูนนานในประเทศจีน มีดอกเป็นสีขาวอมเขียวและมีผลสีแดงทำให้ดูเด่น เป็นยาสมุนไพรที่สำคัญของชาวจีนและมีฤทธิ์ในการต้านโรคอย่างมะเร็ง หัวใจ ตับและปอดได้ ถือเป็นต้นที่ดีต่ออวัยวะในร่างกายเป็นอย่างมาก ทุกส่วนของต้นโสมซานชีสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้ประโยชน์ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโสมซานชี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panax notoginseng (Burkill) F.H.Chen
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sanchi Ginseng”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โสมจีน” “ชั่งชิก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)
ชื่อพ้อง : Aralia quinquefolia var. notoginseng Burkill, Panax pseudoginseng var. notoginseng (Burkill) G.Hoo & C.L.Tseng

ลักษณะของโสมซานชี

โสมซานชี เป็นพืชยืนต้นที่มีแหล่งกำเนิดอยู่จังหวัดยูนนานในประเทศจีน
ต้น : มีกิ่ง 3 กิ่ง ในแต่ละกิ่งมีใบ 7 ใบ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ซานชี” เพราะคำว่า “ซาน” หมายถึง 3 ส่วนคำว่า “ชี” หมายถึง 7
ใบ : แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม
ดอก : เป็นสีขาวอมเขียว มักจะออกรวมกันเป็นกลุ่ม
ผล : ผลมีขนาดเล็กสีแดง ออกรวมกันเป็นกลุ่มอยู่ตรงกลาง

สรรพคุณของโสมซานชี

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย ช่วยคงสภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรค ปรับสมดุลทุกระบบในร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  • สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ช่วยขับล้างสารพิษหรือของเสียออกจากร่างกาย
  • สรรพคุณด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของอวัยวะ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและการทำงานของหัวใจ ช่วยทำให้ตับและปอดแข็งแรง
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวาน
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ช่วยละลายไขมันที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกาะตัวของไขมันในผนังหลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด ป้องกันอาการเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองตีบทำให้สมองตาย ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมน้ำของสมองและการอุดตันของเส้นเลือด ปรับความดันเลือด ทำให้ระบบเลือดสะอาด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สรรพคุณด้านลมในร่างกาย ปรับลมปราณของร่างกาย
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหาร ช่วยระงับการไหลของเลือดและมีเลือดออกจากกระเพาะ
  • สรรพคุณด้านบรรเทาอาการ ช่วยลดอาการปวดบวมและอักเสบ

ประโยชน์ของโสมซานชี

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทุกส่วนของต้นนำมาใช้เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ชา กาแฟ อาหารเสริมได้
2. เป็นน้ำมันหอมระเหย
3. เป็นส่วนประกอบของยา
4. ใช้ทำยาสีฟัน

ข้อควรระวังในการใช้โสมซานชี

1. ผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง ไข้หวัด มีอาการไอปนเลือด เป็นโรคไต นอนไม่หลับ ไม่ควรรับประทาน
2. ห้ามทานกาแฟในขณะกินโสมซานชีเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ความดันเลือดสูงและมีอาการนอนไม่หลับได้
3. หากต้องการทานเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูงหรือมีฤทธิ์เป็นกรดและห้ามกินโสมร่วมกับวิตามินซี เพราะอาหารหรือสารอาหารเหล่านี้จะไปทำลายฤทธิ์ที่ควรจะได้ ควรจะกินหลังการกินโสมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
4. ควรเก็บโสมไว้ในภาชนะที่แห้งสนิทเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา

โสมซานชี เป็นโสมยอดนิยมของคนจีนที่มีสรรพคุณได้อย่างน่าทึ่งจริง ๆ เป็นโสมที่ดีต่อระบบอวัยวะที่สำคัญในร่างกายเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ เป็นพืชที่คนจีนนำมาทานเพื่อสุขภาพและป้องกันโรคภัยโดยเฉพาะ โสมซานชีมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกายได้หลายส่วนโดยเฉพาะระบบการไหลเวียนเลือด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ปรับสมดุลทุกระบบในร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวานและทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ถ้ามีโอกาสและหาซื้อได้ก็ถือเป็นโสมที่คู่ควรแก่การนำมารับประทานเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
“โสมซานชี พืชอาหารเพื่อสุขภาพ”. (รัตนา ไชยมูล เจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา).
นพ.ดร.เซียว กั๋วกัง จากหนังสือวิชาการภาษาญี่ปุ่น.
เภสัชกร นิติ โตชนันท์.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

โพธิ์ ไม้มงคลทางศาสนา ใบมีโปรตีนสูง มีสรรพคุณแก้โรคหัวใจและรักษาโรคเกาต์

0
โพธิ์ ไม้มงคลทางศาสนา ใบมีโปรตีนสูง มีสรรพคุณแก้โรคหัวใจและรักษาโรคเกาต์
โพธิ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหัวใจ ดอกเป็นสีเหลืองนวล ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกเป็นสีชมพูม่วง สีแดงคล้ำหรือม่วงดำ
โพธิ์ ไม้มงคลทางศาสนา ใบมีโปรตีนสูง มีสรรพคุณแก้โรคหัวใจและรักษาโรคเกาต์
โพธิ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหัวใจ ดอกเป็นสีเหลืองนวล ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกเป็นสีชมพูม่วง สีแดงคล้ำหรือม่วงดำ

โพธิ์

โพธิ์ (Sacred fig) เป็นต้นไม้ที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักเพราะเป็นต้นที่อยู่ในศาสนาและเป็นต้นสำคัญสำหรับชาวพุทธ เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มักจะพบตามวัดอาราม ทว่านอกจากจะเป็นต้นไม้มงคลแล้วนั้นต้นโพธิ์ยังสามารถนำใบอ่อนมารับประทานและมีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างน่าทึ่งอีกด้วย และยังเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย ส่วนมาก หากคนไทยพูดถึงต้นโพธิ์ก็มักจะนึกถึงวัดหรือไปในทางศาสนา ทว่าไม่ค่อยมีใครรู้กันนักว่าต้นโพธิ์ก็มีประโยชน์ในด้านอื่นได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโพธิ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sacred tree” “Sacred fig” “Sacred fig Tree” “The peepal tree” “Peepul tree” “Peepul of India” “Pipal tree” “Pipal of India” “Bo tree” “Bodhi Tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โพ โพธิ โพศรีมหาโพ” ภาคเหนือเรียกว่า “สลี” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “สี สะหลี” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ย่อง” เขมรเรียกว่า “ปู” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โพธิใบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขนุน (MORACEAE)

ลักษณะของต้นโพธิ์

โพธิ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เป็นไม้ที่มีอายุยืนยาวมาก
ลำต้น : แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง มีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากมีกิ่งก้านแยกสาขาออกจากลำต้นมากจึงทำให้เกิดเชื้อราที่อาศัยความชุ่มชื้นจากน้ำฝนที่ขังอยู่ตามง่ามไม้ เข้าทำลายเนื้อไม้จนเป็นโพรง มักจะพบได้ในต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่และมีอายุมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน ปลีที่หุ้มส่วนยอดอ่อนมีสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกลมรวมกันเป็นกระจุกภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล โดยจะออกที่ตอนปลายของกิ่ง ดอกย่อยเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกเป็นรูปทรงกลม ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวลและจะเจริญไปเป็นผล
ผล : เป็นผลรวม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง สีแดงคล้ำหรือม่วงดำและร่วงหล่นลงมา

สรรพคุณของต้นโพธิ์

  • สรรพคุณจากต้นโพธิ์ ยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือดสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านเชื้อรา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง รักษาโรคคางทูม รักษาโรคท้องผูกหรือท้องร่วง เป็นยาบำบัดโรคผิวหนัง
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบแก่ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ 3 แก้ว แบ่งกินก่อนอาหารเช้าและเย็น
  • สรรพคุณจากผล เป็นยาแก้โรคหัวใจ เป็นยาช่วยขับพิษ ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคหืด เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อยอาหาร
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาลดไข้ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เป็นยาระบาย แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน รักษารากฟันเป็นหนอง เป็นยาชงกินแก้โรคหนองใน เป็นยาล้างแผล ช่วยรักษาแผลเปื่อย ช่วยสมานบาดแผล ห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ช่วยแก้กล้ามเนื้อช้ำบวม
  • สรรพคุณจากราก รักษาโรคเหงือก เป็นยารักษาโรคเกาต์
  • สรรพคุณจากลำต้นและใบ เป็นยาถ่าย
  • สรรพคุณจากยาง รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยารักษาโรคหูด แก้เท้าเป็นหน่อ แก้เท้าเป็นพยาธิ
  • สรรพคุณจากลำต้น เป็นยาบำบัดโรคผิวหนัง

ประโยชน์ของต้นโพธิ์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนทานเป็นอาหารและใช้เลี้ยงหนอนไหมได้ ซึ่งใบมีปริมาณของโปรตีนและธาตุหินปูนสูง ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นอาหารได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับตามวัดวาอาราม ปลูกเลี้ยงไว้เป็นไม้แคระแกร็นหรือปลูกตามคบไม้หรือปลูกเกาะหิน
3. เป็นไม้มงคล ชาวพุทธหรือฮินดูถือกันว่าต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะมีความเกี่ยวข้องทางศาสนา จึงปลูกกันมากตามวัดวาอาราม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นโพธิ์

  • สารที่พบในต้นโพธิ์ พบสาร amyrin, bergapten, bergaptol, campesterol, fucosterol,28 – iso, n – hentriacontane, hexacosan – 1 – ol, lanosterol, lupen – 3 – one, lupeol, n – nonacosane, octacosan – 1 – ol, oleanolic acid methyl ester, pelargonidin – 5, 7 – dimethyl ether 3 – O – α – L – rhamnoside, β – sitosterol, solanesol, stigmasterol
  • การทดลองของต้นโพธิ์ เมื่อปี ค.ศ. 1963 ณ ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากใบโพธิ์พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้
  • การทดสอบความเป็นพิษ การทดสอบความเป็นพิษ ด้วยการฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 เข้าที่ช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่า ในขนาดสูงสุดที่หนูทนได้คือ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย

โพธิ์ เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาและยังเป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี ภาพจำของคนไทยที่มีต่อต้นโพธิ์คือเป็นต้นทางศาสนาที่อยู่ในวัดอาราม ทว่าใบของต้นสามารถนำมาทานเป็นผักได้และผลยังใช้รับประทานได้ด้วย โพธิ์มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคเกาต์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัวใจ เป็นยาระบายและอื่น ๆ อีกมากมาย น่าตกใจเหมือนกันที่ต้นโพธิ์นั้นก็มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่เรารู้จักกับต้นไม้ชนิดนี้มานาน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โพธิ์ (โพ)”. หน้า 575-576.
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โพธิ์”. หน้า 116-117.
ไม้พุทธประวัติ, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โพธิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/homklindokmai/budhabot/budbot.htm. [27 ส.ค. 2014].
ลานธรรมจักร. “โพธิญาณพฤกษา : ต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dhammajak.net. [27 ส.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ผักขมหิน วัชพืชตามข้างถนน ยาชั้นดีต่อระบบเลือด

0
ผักขมหิน วัชพืชตามข้างถนน ยาชั้นดีต่อระบบเลือด
ผักขมหิน เป็นไม้ล้มลุกทอดตามพื้นดินและชูยอดขึ้น ยอดอ่อนและช่อดอกมีขน ดอกมีทั้งสีขาว สีชมพูและสีแดง
ผักขมหิน วัชพืชตามข้างถนน ยาชั้นดีต่อระบบเลือด
ผักขมหิน เป็นไม้ล้มลุกทอดตามพื้นดินและชูยอดขึ้น ยอดอ่อนและช่อดอกมีขน ดอกมีทั้งสีขาว สีชมพูและสีแดง

ผักขมหิน

ผักขมหิน (Spreading hogweed) หรือ “ผักโขมหิน” เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยไปตามที่รกร้างและข้างถนนในประเทศไทย คนยากจนในบางประเทศมักจะนิยมนำใบมาทานเป็นผักสด ส่วนในประเทศออสเตรเลียนั้นถือเป็นพืชผักชั้นดีที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัวและแกะ นอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ของต้นยังสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จากที่เห็นภายนอกพบว่าผักขมหินนั้นอยู่บนพื้นถนนดูไม่มีค่าหรือประโยชน์อะไร ทว่าหากใครรู้สรรพคุณของวัชพืชชนิดนี้แล้วอาจจะเปลี่ยนมุมมองไปเลยก็ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักขมหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boerhavia diffusa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Pigweed” “Spreading hogweed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักขมหิน” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักเบี้ยหิน ปังแป ผักปังแป” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ผักปั๋งดิน” จังหวัดสุโขทัยเรียกว่า “ผักขมฟ้า” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “นังกู่แซ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักเบี้ยใหญ่ ผักโหมฟ้า ผักโขมหิน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บานเย็น (NYCTAGINACEAE)

ลักษณะของผักขมหิน

ผักขมหิน เป็นไม้ล้มลุกที่พบขึ้นทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคตามที่รกร้างและข้างถนน
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยขนานไปตามพื้นดินและชูยอดขึ้น มีการแตกกิ่งก้านมาก ผิวเรียบหรือมีขนบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะต้นกลมเป็นสีเขียวปนแดง ยอดอ่อนมีขน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบมีขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียวค่อนข้างหนา ท้องใบมักมีสีอ่อนกว่าหลังใบ มีต่อมสีแดงตามแนวขอบใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกคล้ายซี่ร่มรวมกันเป็นช่อแยกแขนง โดยจะออกบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกมีขน ดอกย่อยมีหลายดอก กลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ดอกมีทั้งสีขาว สีชมพูและสีแดง มีกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ตรงปลายแยกออกเป็น 10 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 2 – 3 อัน ยื่นพ้นกลีบรวมเล็กน้อย
ผล : เป็นผลแห้งและมีส่วนโคนกลีบรวมหุ้มอยู่ ลักษณะของผลเป็นรูปกระบอง ขอบผลเป็นสัน 5 สัน มีต่อมทั่วไป ผิวผลมีขนเมื่อจับดูจะรู้สึกเหนียวมือ

สรรพคุณของผักขมหิน

  • สรรพคุณของผักขมหิน มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ต้านการชัก ช่วยขับปัสสาวะ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดบิลิรูบินในพลาสมา อาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้องกับผลของเอสโตรเจน
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยขับโลหิต เป็นยาแก้ลมอัณฑพฤกษ์ ช่วยแก้อาการปวดท้อง เป็นยาขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้คลื่นไส้อาเจียน เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณจากราก ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ฝีซ้อนและตาขาว
  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาฝี โดยตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยแก้ดีพิการ ช่วยแก้ฟกช้ำบวมในท้อง
  • สรรพคุณจากต้น ราก ใบและดอก ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะ
  • สรรพคุณจากต้น ราก ใบและทั้งต้น เป็นยาแก้ลม ขับลม ทำให้เรอ

ประโยชน์ของผักขมหิน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบทานเป็นผักสดลวกจิ้มกับน้ำพริกได้ นิยมเฉพาะคนที่มีฐานะยากจนในหลายประเทศ
2. ใช้ในการเกษตร ในประเทศออสเตรเลียถือว่าเป็นวัชพืชชั้นดีที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัวและแกะ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักขมหิน

สารที่พบในผักขมหิน พบสาร alanine, arachidic acid, aspartic acid, behenic acid, boeravinone A, B, C, D, E, borhavine, flavone, glutamic acid, histidine, leucine, methionine, oleic acid, oxalic acid, palmitic acid, proline, punarnavine, serine, theonine, tyrosine, ursolic acid, valine, xylose

การทดลองของผักขมหิน

  • จากการทดลองโดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำและเอทานอลมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • เมื่อปี ค.ศ. 1996 ณ ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองในกระต่ายที่เป็นเบาหวาน จากการกระตุ้นด้วยสาร alloxan โดยทำการเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน (tolbutamide, glibenclamide) พบว่าภายในเวลา 8 ชั่วโมง สามารถให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เทียบเท่ากับยา tolbutamide
  • จากการศึกษาฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์และฤทธิ์ต้านเอสโตรเจนของผักขมหินในเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF – 7 โดยทดสอบกับสารสกัดเมทานอลของผักขมหิน (BME) ความเข้มข้นตั้งแต่ 20 – 320 ไมโครกรัม/ลิตร สรุปได้ว่าผักขมหินน่าจะมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้องกับผลของเอสโตรเจน
  • การทดสอบความเป็นพิษ ทำการสกัดทั้งต้นด้วยน้ำและเอทานอล พบว่า ในขนาดสูงสุดที่สัตว์ทดลองทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม ถ้าใช้สารสกัดจากรากด้วยน้ำ พบว่า ขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่ง (LD50) คือ 298 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ข้อควรระวังของผักขมหิน

สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้

ผักขมหิน หรือเรียกอีกอย่างว่า “ผักโขมหิน” เป็นวัชพืชบนพื้นดินที่มีความสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ คาดว่าคนทั่วไปคงไม่คาดคิดว่าเจ้าต้นเล็กนี้ที่ขึ้นบนถนนหรือที่รกร้างจะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ไม่เพียงแค่นั้นยังมีประโยชน์ได้อีกมากมาย ผักขมหินมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของดอกและต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงเลือดและบำรุงหัวใจ ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ผักโขมหิน”. หน้า 107-108.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผักขมหิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [20 พ.ย. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “ผักขมหิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [20 พ.ย. 2014].
โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก. “ผักขมหิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.lrp.ac.th. [20 พ.ย. 2014].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านมะเร็งของผักโขมหิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [20 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ควินิน เปลือกของต้นมากสรรพคุณ เป็นยาเย็น ช่วยรักษาไข้มาลาเรียได้

0
ควินิน เป็นไม้ยืนต้นดอกมีสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นรูปทรงกระสวย ผลสุกสีแดงอมน้ำตาล

ควินิน

ควินิน เปลือกของต้นมากสรรพคุณ เป็นยาเย็น ช่วยรักษาไข้มาลาเรียได้
ควินิน เป็นไม้ยืนต้นดอกมีสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นรูปทรงกระสวย ผลสุกสีแดงอมน้ำตาล

ควินิน (Quinine) เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในเอกวาดอร์และเปรู มีดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูและมีผลเป็นรูปทรงกระสวย สามารถนำส่วนของเปลือกต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรและทำเหล้าหรือไวน์ที่มีรสขมได้ มีจุดเด่นอยู่ที่ความสามารถในการรักษาไข้มาลาเรียได้ดีมาก มักจะนิยมนำส่วนของใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบผักสดร่วมกับลาบจะทำให้มีรสชาติดีขึ้น ในประเทศไทยได้มีการปลูกสวนต้นควินินที่ดอยสุเทพ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนนี้ปลูกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำยาเพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของควินิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : (ควินินเปลือกแดง) Cinchona pubescens Vahl, (ควินินเปลือกเหลือง) Cinchona calisaya Wedd.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Quinine”
ชื่อท้องถิ่น : คนทั่วไปเรียกว่า “ซิงโคนา” คนจีนเรียกว่า “กิมโกยนับ กิมโกยเล็ก” จีนกลางเรียกว่า “จินจีเล่อ จินจีน่า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
ชื่อพ้อง : (ควินินเปลือกแดง) Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch (ควินินเปลือกเหลือง) Cinchona ledgeriana (Howard) Bern.Moens ex Trimen

ลักษณะของควินิน

ควินิน เป็นไม้ยืนต้นที่เขียวตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์และเปรู
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงและมีการแตกกิ่งก้าน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันบริเวณปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปวงรี ใบมีสีเขียว ใบอ่อนมีสีแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นหลอดสั้นที่มีตรงปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อันและเกสรเพศเมีย 1 อัน
ผล : ผลเป็นรูปทรงกระสวย เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาล แต่พอแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 25 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นแผ่นบางสีน้ำตาลแดง

สรรพคุณของควินิน

  • สรรพคุณจากควินิน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน รักษาหัวใจเต้นเร็ว แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
    – แก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการนำเปลือกต้นประมาณ 3 – 6 กรัม มาต้มกับน้ำกินหรือบดเป็นผงผสมทาน หรือนำเปลือกแห้งประมาณ 3 กรัม ผสมกับเปลือกอบเชยประมาณ 1.5 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำกิน
    – แก้อาการเมาค้าง ด้วยการนำเปลือกต้นแห้งประมาณ 3 กรัม มาต้มกับน้ำกิน
    – แก้พิษสุราเรื้อรัง ด้วยการนำเปลือกต้นประมาณ 5 – 8 กรัม มาต้มกับน้ำกิน
    – แก้ปากเจ็บ แก้เจ็บคอ ด้วยการนำเปลือกต้นแห้งประมาณ 3 – 6 กรัม มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมบ้วนปากกลั้วคอ ตอนเช้าและเย็น

ประโยชน์ของควินิน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม ใบอ่อนนำมารับประทานในรูปแบบของผักสดร่วมกับลาบจะทำให้มีรสชาติดีขึ้น เปลือกต้นทำเหล้าหรือไวน์ที่มีรสขมได้
2. เป็นส่วนประกอบของยา ในประเทศไทยมีการปลูกทำสวนป่าต้นควินินที่จังหวัดเชียงใหม่บนดอยสุเทพ พบว่า ควินินมีปริมาณของอัลคาลอยด์ในเปลือกสูงจึงสามารถนำมาใช้ทำยาได้โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3. เป็นยาทาภายนอก ชาวอินเดียบางคนนำควินินเป็นยาบำรุง ยาทากันแดดและกันแมลง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของควินิน

  • สารที่พบในควินิน ส่วนของเปลือกต้น รากและเมล็ด พบสาร อัลคาลอยด์ประมาณ 26 ชนิด ซึ่งมีสารที่สำคัญ ได้แก่ ควินิน (Quinine) ถือเป็นสารที่สำคัญมากที่สุด และ Cinchonine, Cinchonidine, Quinidine ส่วน Tataquin ตามมา
  • จากการทดลอง พบว่า ควินินนั้นสามารถฆ่าเชื้อไข้มาลาเรียได้เฉพาะเชื้อที่อยู่ในเลือดเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อที่อยู่ในตับได้ และการรักษาไข้มาลาเรียนั้นจะรักษาอาการที่แสดงอาการวันเว้นวันได้ดีกว่าการรักษาโรคมาลาเรียที่แสดงอาการ 3 – 4 วันแล้วหายไปแล้วก็กำเริบขึ้นมาใหม่

ข้อควรระวังของควินิน

1. ห้ามใช้เป็นยากับคนที่เป็นไข้มาลาเรียที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดหรือปัสสาวะเป็นสีดำ
2. สตรีมีครรภ์และคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรงห้ามใช้เด็ดขาด เพราะควินินมีฤทธิ์กดกล้ามเนื้อหัวใจและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกสตรีมีครรภ์หด
3. ในการใช้รักษาโรคไข้มาลาเรียไม่ควรใช้มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการ “ซิงโคนิซึ่ม (Cinchonism)” ซึ่งเป็นอาการหูอื้อขั้นร้ายแรงถึงขนาดได้ยินเสียงกระดิ่งแบบประสาทหลอน

ควินิน เป็นต้นที่มีส่วนของเปลือกอุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาและประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นอย่างมาก เป็นส่วนที่มีรสขมเผ็ดและเป็นยาเย็น นอกจากจะเป็นยาแล้วยังนำใบอ่อนมารับประทานร่วมกับลาบได้ ควินินมีสรรพคุณทางยาจากส่วนของเปลือกต้นเป็นหลัก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคไข้มาลาเรีย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้ตัวร้อนและแก้อาการปวดเมื่อยได้ ค่อนข้างเป็นต้นที่นิยมสำหรับชาวอินเดียเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ควินิน (Khwi Nin)”. หน้า 76.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ควินิน”. หน้า 189-191.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ควินิน”. หน้า 158.
ไทยเกษตรศาสตร์. “ควินิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [23 ม.ค. 2015].
ผู้จัดการออนไลน์. ( สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท.). “ประวัติความเป็นมาของควินิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [23 ม.ค. 2015].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch”. อ้างอิงใน : สยามไภษัชยพฤกษ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [23 ม.ค. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ทองหลางใบมน ไม้ต้นของทางเหนือ สรรพคุณแก้ปวด แก้ลมพิษ ดับพิษ

0
ทองหลางใบมน ไม้ต้นของทางเหนือ สรรพคุณแก้ปวด แก้ลมพิษ ดับพิษ
ทองหลางใบมน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงเปลือกหนาเป็นร่องลึก ดอกเป็นสีแดงเลือดนกดอกแค ผลเป็นฝักแคบ
ทองหลางใบมน ไม้ต้นของทางเหนือ สรรพคุณแก้ปวด แก้ลมพิษ ดับพิษ
ทองหลางใบมน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงเปลือกหนาเป็นร่องลึก ดอกเป็นสีแดงเลือดนกดอกแค ผลเป็นฝักแคบ

ทองหลางใบมน

ทองหลางใบมน (Erythrina suberosa Roxb) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่พบได้ในทางภาคเหนือเท่านั้น มักจะปลูกไว้ตามบ้านและหัวไร่ปลายนา มีดอกเป็นสีแดงเลือดนกทำให้ต้นดูสวยงาม สามารถนำยอดอ่อนและใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสดได้ และที่สำคัญเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นและยังมีงานวิจัยที่ทดสอบฤทธิ์หรือความเป็นพิษของทองหลางใบมนอีกด้วย เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีประโยชน์มากกว่าที่เห็นได้จากภายนอก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของทองหลางใบมน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina suberosa Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ทองกี ทองแค ทองบก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของทองหลางใบมน

ทองหลางใบมน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปทางภาคเหนือ มักจะพบตามป่าโปร่ง ป่าผลัดใบและมีปลูกไว้ตามบ้านและหัวไร่ปลายนา
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นหนาเป็นร่องลึก ตามกิ่งและก้านมีหนามแหลมคมขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป
ใบ : เป็นใบประกอบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแต่มุมโค้งมน ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเลือดนกลักษณะคล้ายดอกแค
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแคบ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2 – 4 เมล็ด

สรรพคุณของทองหลางใบมน

  • สรรพคุณจากทองหลางใบมน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ยับยั้งเนื้องอก ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  • สรรพคุณจากเปลือกต้นและราก ช่วยทำให้นอนหลับ เป็นยาแก้เสมหะ เป็นยาแก้ดีพิการ
  • สรรพคุณจากแก่น เปลือกต้นและใบ เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาแก้ลมทั้งปวง ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ตาบวม เป็นยาแก้ปวดฟัน เป็นยาแก้นิ่วหรือขับนิ่ว เป็นยาแก้ลมพิษ ช่วยแก้อาการปวดข้อ
    – แก้ลมกองละเอียดหรือเวียนหัวตามัว ด้วยการนำเปลือกต้นมาผสมกับยาอื่นกินเป็นยา
    – พอกฝีแก้ปวดแสบปวดร้อน ด้วยการนำเปลือกต้นมาตำผสมกับข้าวเป็นยาพอก
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาแก้โรคตา เป็นยาแก้ริดสีดวง เป็นยาแก้ลมพิษ เป็นยาแก้พิษหรือดับพิษทั้งปวง
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ริดสีดวง เป็นยาทาแก้ปวดตามข้อ
    – แก้ไข้ ดับพิษไข้ ขับพยาธิไส้เดือน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ด้วยการนำใบมาตำผสมกับยาอื่นสุมกระหม่อมเด็ก
    – แก้ตาแดงและตาแฉะ ด้วยการนำใบสดมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดตา
    – ดับพิษ ด้วยการนำใบมาคั่วให้เกรียมใช้เป็นยาเย็น
    – ดับพิษอักเสบ ด้วยการนำใบสดมาคั้นเอาน้ำใช้เป็นยา
    – แก้อาการปวด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากแก่น เป็นยาแก้ฝีในท้อง
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี
  • สรรพคุณจากฝัก เป็นยาบำรุงน้ำดี
  • สรรพคุณจากใบแก่
    – ช่วยปิดแผลเนื้อร้ายที่กัดกินลามบวมดังจะแตกและช่วยดูดหนองให้ยุบแห้ง ด้วยการนำใบแก่มารมควันชุบกับน้ำเหล้าใช้ปิดแผล
  • สรรพคุณจากแก่นและกระพี้ เป็นยาแก้พิษฝี

ประโยชน์ของทองหลางใบมน

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาทานเป็นผักสดโดยใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นผักแกล้มกับยำ ลาบหมูหรือแกล้มกับตำมะม่วง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของทองหลางใบมน

สารที่พบในทองหลางใบมน พบสาร arachidic acid, behenic acid, campesterol, cyanidin – 3 – 5 – Ii – O – β – D – dlucoside, delphinidin – 3 – 5 – di – O – β – D – glucoside, erythrina suberosa lectin, flavonone, linoleic acid, myristic acid, oleic acid, palmitic acid, pelargonidin – 3 – 5 – di – O – β – D – glucoside, β – sitosterol, stearic acid, stigmasterol
การทดสอบความเป็นพิษของทองหลางใบมน เมื่อฉีดสารสกัดจากใบและเปลือกต้นทองหลางใบมนด้วยเอทานอล 50% เข้าที่ช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่า ขนาดที่ทนได้สูงสุดคือ 1 กรัมต่อกิโลกรัมและ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ ส่วนสาร alkaloid จากใบในขนาด 306.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำให้หนูถีบจักรตายถึง 50%
การทดลองของทองหลางใบมน ปี ค.ศ. 1973 ณ ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองโดยสารสกัดจากเปลือกต้นและใบทองหลางใบมนในสัตว์ทดลอง พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

ทองหลางใบมน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีสรรพคุณได้อย่างเหลือเชื่อ นอกจากนั้นยังสามารถนำใบอ่อนมาใช้เป็นอาหารได้ด้วย ทว่าในประเทศไทยเรานั้นไม่ได้พบได้ง่ายเท่าไหร่เพราะจะขึ้นในทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ ทองหลางใบมนมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้น รากและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงน้ำดี แก้อาการปวด ดับพิษอักเสบ เป็นยาแก้โรคตา แก้ลมพิษ ช่วยทำให้นอนหลับและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ทองหลางใบมน”. หน้า 91-92.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ทองหลางใบมน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [11 ธ.ค. 2014].
สงขลาพอร์ทัล. (เวสท์สงขลา). “ทองหลางใบมน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.songkhlaportal.com. [11 ธ.ค. 2014].
สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย, เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. “ทองหลาง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tungsong.com. [11 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/