วัยทอง วัยหมดประจำเดือน
วัยทอง ( Menopause ) หรือวัยหมดประจำเดือน คือ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของคุณผู้หญิงทางร่างกายและจิตใจ เกิดจากรังไข่หยุดผลิตไข่ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลทำให้ไม่มีประจำเดือนนานกว่า 12 เดือน ซึ่งวัยทองมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 49 – 55 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) วัยหมดประจำเดือน ( menopause ) และวัยหลังหมดประจำเดือน ( postmenopause )
สาเหตุของวัยทอง
วัยทองจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุของวัยทองเกิดจากรังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นตัวควบคุมการตกไข่ทำให้มีประจำเดือนปกติทุกเดือน ซึ่งวัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นจากรังไข่หยุดทำงานไม่ผลิตไข่ และหยุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรส่งผลทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมสภาพลงและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้นตามมาอีกด้วย อาการวัยทองที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ดังนี้
อาการวัยทองในผู้หญิง
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดหา
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตาข้อต่อ กระดูกพรุน
- มีภาวะช่องคลอดแห้ง ขาดความชุ่มชื้น มดลูกหย่อยยาน
- มีอาการวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ ตามร่างกาย
- อารมณ์ทางเพศลดน้อยลง
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย
- มีภาวะซึมเศร้า
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย
- ผิวหนังแห้ง คัน หรือแพ้ง่าย
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- มีอาการนอนไม่หลับ
- ผมร่วงและบางลง
การวินิจฉัยของวัยทอง
แพทย์จะทำการซักประวัติช่วงมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายและการไม่มีประจำเดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี ตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาเพื่อความถูกต้องแม่นยำและยืนยันการเข้าสู่ภาวะวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนนั่นเอง
การรักษา
วัยทองเป็นการบวนการทางธรรมชาติที่แสดงออกได้หลายอย่างแต่ละคนจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไป แพทย์จะรักษาตามอาการของแต่ละคนโดยมีวิธีดังต่อไปนี้
- ใช้ฮอร์โมนทดแทน ( Hormone Replacement Therapy – HRT ) หรือที่เรียกว่ารักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน เพื่อเป็นการทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้อีก ช่วยรักษาและลดอาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย ลดการตกขาว ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม และโรคหัวใจ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
- ใช้ยากลุ่มยาต้านเศร้า ( Antidepressant ) เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความตึงเครียด ลดอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และใช้เจลเพื่อลดอาการช่องคลอดแห้งเพิ่มความชุ่มชื้น
ภาวะแทรกซ้อนในวัยทอง หลังหมดประจำเดือน
เมื่อเข้าสู่วัยทองหลังหมดประจำเดือนสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้หญิงอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น หลังวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงมีความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนพบเห็นบ่อย คือ
- โรคกระดูกพรุน
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
- โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
- ผิวแห้งกร้าน แก่เร็ว เกิดริ้วรอยมากขึ้น
- การเสื่อมสภาพของจอประสาทตา
นอกจากนี้ คุณผู้หญิงเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองควรใส่ใจดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ ทั้งการออกกำลังกาย ด้านสุขภาพจิต การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่เสริมสร้างแคลเซียม ปรับสมดุลให้แก่ร่างกายเน้นอาหารประเภท ผักใบเขียวทุกชนิด ฝักทอง เก๋ากี้ เห็ดหูหนูขาว ถั่วเหลือง ข้าวกล้อง งาขาว งาดำ นม กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น
วัยทอง เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย
10 สัญญาณของการหมดประจำเดือน
วัยหมดประจำเดือนปกติร่างกายผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกสร้างขึ้นจากรังไข่ทำให้มีประจำเดือน แต่เมื่อใดที่รังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนส่งผลทำให้ไข่ไม่ตก และไม่ผลิตประจำเดือนเป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน ผู้หญิงวัยทองพบบ่อยในช่วงอายุ 49 – 55 ปี วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงอายุน้อยประมาณ 30 – 40 ปี หรือที่เรียกว่า “ วัยทองก่อนวัย Premature ovarian insufficiency ( POI ) คือ ภาวะที่รังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ” นั้นเอง ผู้หญิงสามารถสังเกตสัญญาณเตือนจากร่างกายของตัวเองได้ว่ากำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือไม่
1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอนเนื่องจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนโมนเอสโตรเจนเริ่มลดลงส่งผลทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย
2. อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนลดลง ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายบริเวณผิวหนังร้อนขึ้นกว่าปกติ
3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก เกิดจากการขาดฮอร์โมนทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นและมีเหงื่อไหลออกในตอนกลางคืน ปวดเมื่อยตามร่างกาย
4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใจสั่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป และมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไปทำให้ร่างกายเสียสมดุล
5. ปัญหาของช่องคลอดแห้ง และมีความรู้สึกทางเพศลดลง เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตน้ำหล่อลื่นลดลง ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรืออาจมีเลือดออกตามมาได้เช่นกัน
6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ( อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ) ส่วนใหญ่เกิดจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พบบ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้าน เหี่ยวย่น ขาดความชุ่มชื้น และเต่งตึง
8. น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนง่าย เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง เกิดกระสะสมของไขมันส่วนเกินทำให้อ้วนง่าย
9. อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง เนื่องจากร่างกายขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย และสมอง ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ไม่มีแรง อาจมีผลจากการนอนไม่หลับได้ด้วยเช่นกัน
10. ความจำเสื่อม หลงลืมมักเกิดในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ความจำจะค่อยๆลดลงเป็นผลมาจากเซลล์สมองส่วนความจำ เสื่อมตัวลงเรื่อย ๆ
วิธีดูแลตัวเองในช่วงของวัยทอง
ผู้หญิงก่อนเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระยะของวันทองนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) คือ มักเกิดขึ้นประมาณ 3 – 4 ปี ก่อนที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทองอย่างถาวรนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวรังไข่เริ่มลดการผลิตฮอร์โมนลงเลื่อย ๆ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนสามารถตั้งครรภ์ได้
2. วัยหมดประจำเดือน ( menopause ) คือ ช่วงเวลาที่ผู้หญิงสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรหรือที่เราเรียกกันว่า วัยทอง และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป มักจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 49 – 55 ปี เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานหยุดผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งโดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนคืออายุ 51 ปี แต่ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 100 คนจะมีภาวะหมดประจำเดือนก่อนช่วงอายุ 40 ปี เพราะรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนก่อนกำหนด
3. วัยหลังหมดประจำเดือน ( postmenopause ) คือ การเปลี่ยนหลังหมดประจำเดือนโดยคิดคำนวณย้อนหลังไปนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้นผู้หญิงวัยทองควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อาหารมีช่วยบำบัดฮอร์โมนเพศสำหรับคนวัยทอง
- ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่วยต่อรต้านอนุมูลอิสระ และสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย
- ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้
- เห็ดหูหนูขาว อุมดไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
- ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้
- เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยเพิ่มพลังลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
- นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง
- ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดง ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดเครียด ช่วยเพิ่มฮอร์โมนความสุขออกมาทำให้อารมณ์ดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งไร้ริ้วรอย
- เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับในผู้หญิงวัยทอง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงวัยทอง
- อาหารแปรรูป ที่มีส่วนผสมของโซเดียม น้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ส่งผลทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- อาหารรสเผ็ด จะยิ่งไปกระตุ้นทำให้อาการวูบวาบรุนแรงมากขึ้น และทำให้เหงื่อออกมากขึ้น เช่น ในกระเพระ ใบโหระพา ใบยี่หร่า ขมิ้น และขิง เป็นต้น
- อาหารจานด่วน เนื่องจากอาหารทีมีไขมันสูงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอ้วน และเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจ
- แอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยง 1.5 เท่าในการเป็นมะเร็งเต้านม และดื่มหนักสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้หญิงวัยทอง นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนพบว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีอาการวูบวาบมากขึ้นอีกด้วย
- บุหรี่ สารพิษในควันบุหรี่ถูกดูดซึมผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ออกซิเจนในร่างกายคุณลดลง ส่งผลให้แก่เร็ว เล็บไม่แข็งแรง ลอก ฉีกง่าย ยังทำให้เกิดการอักเสบ และอุดตันของเส้นเลือดฝอยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด
คำแนะนำ
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับวัยทอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th [ 2 มีนาคม 2563].
9 อาการ ก่อนหมดประจำเดือน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://goodlifeupdate.com [ 2 มีนาคม 2563].
( Everything You Should Know About Menopause ) ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [ 2 มีนาคม 2563].
สตรี 45 อัพ! รับมือ “วัยทอง” (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://siamrath.co.th [ 5 มีนาคม 2563].