ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน

0
โรคตับแข็ง คือ โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวรใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 15 ถึง 20 ปี ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากความสามารถในการกำจัดเชื้อลดลง>> โรคไขมันพอกตับ เกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> โรคพิษสุราเรื้อรัง สามารถรักษาได้อย่างไร มาดูกันค่ะ สาเหตุของตับแข็ง 1. ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา 2. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง 3. โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน 4. ความผิดปกติของเมตาบอริซึม เช่น ภาวะเหล็กเกิน โรควิลสัน 5. ยาและสารพิษ 6. โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวเรื้อรัง 7. โรคตับอักเสบเหตุไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา 8. โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการของตับแข็ง โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนและระยะของโรค ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยได้แก่ มีไข้ต่ำๆ อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลงน้ำหนักลด ภาวะบวมทั่วร่างกาย ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ ดีซ่าน ( Jaundice ) เช่น อาการตาเหลือง ตัวเหลือง ท้องมาน ( ascites ) ท้องโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นผอมลง มีอาการแน่นใต้ชายโครงขวา หรือคลำก้อนได้ใต้ชายโครงขวา หรือม้ามโต ภาวะเลือดออกผิดปกติ อาการทางสมอง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ไม่ค่อยรู้ตัว การวินิจฉัยตับแข็งโดยแพทย์ 1.การซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เช่น มีประวัติการดื่มสุราเป็นเวลานาน 2.การตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ 3.ตรวจภาพตับด้วยอัลตราซาวด์ 4. เจาะชิ้นเนื้อจากตับ ตรวจทางพยาธิวิทยา ระยะของตับแข็ง ระยะที่ 1 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจไม่พบภาวะท้องมาน และไม่พบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1 ต่อปี ระยะที่ 2 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจพบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง โดยที่ไม่มีภาวะท้องมานและไมมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 3 - 4 ต่อปี หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นอัตราการเสียชีวิตต่อปีก็จะมากขึ้น ระยะที่ 3 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่ตรวจพบภาวะท้องมาน โดยมีหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้แต่ต้องไม่เคยมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วย ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 20 ต่อปี ระยะที่ 4 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง โดยที่อาจพบภาวะท้องมานร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดคือร้อยละ 57 ต่อปีโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งอาจเสียชีวิตภายใน 6 สัปดาห์ หลังการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร ระยะที่ 5 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ระยะนี้เป็นระยะที่เพิ่งถูกกำหนดขึ้นจากข้อสังเกตที่ว่าผู้ป่วยในระยะ decompensated อาจมีการติดเชื้อได้ง่ายจาก ภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ลดลง โดยจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตสูงสุดถึงมากกว่าร้อยละ 60 การรักษาและการป้องกัน การรักษาภาวะตับแข็งมีวัตถุประสงค์ เพื่อหยุดการพัฒนาของเนื้อเยื่อแผลเป็นในตับและเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ งดการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ AและB ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนปกติ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดโอกาสของการเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้นจนนำไปสู่โรคได้ หลีกเลี่ยงหรืองดการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคตับ พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามการเกิดพังผืดในตับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคตับแข็ง ซึ่งเมื่อโรคมีการดำเนินเข้าสู่ระยะแรกผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้ บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง Cirrhosis (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org .
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

โรคไขมันพอกตับ ( Fatty Liver Disease )

0
โรคไขมันพอกตับ โรคไขมันพอกตับ ( Fatty Liver Disease ) คือ การที่ไขมันได้เข้าไปแทรกอยู่ในเซลล์ตับ เมื่อไขมันสะสมในตับเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในตับ ส่งผลให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น ทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอทำให้ตับขจัดสารพิษในร่างกายได้ไม่เต็มที่ โดยปกติคนสุขภาพดีจะมีไขมันที่ตับเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยอัตราส่วน 1 : 3 นั่นเอง ไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) โรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ( Non-Alcoholic Fatty Liver Disease ) เกิดจากการสะสมของไขมันในตับ มักพบในคนที่มีน้ำหนักเกินหรือคนอ้วน พบในพวกน้ำตาลอุสาหกรรม เช่น น้ำตาลไฮฟลุกโตสไซรับ 2) โรคไขมันพอกตับที่มีแอลกอฮอล์ ( Alcoholic Fatty Liver Disease ) เป็นความเสียหายของตับ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำปริมาณมากๆ https://www.youtube.com/watch?v=h4LCqW8THLI อาการโรคไขมันพอกตับ อาการของโรคไขมันพอกตับที่เกิดจากไขมันสะสมในตับ ในหลายกรณีที่ตับไม่แสดงอาการชัดเจน เมื่อร่างกายผลิตไขมันมากเกินไปหรือไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้ จึงทำให้เกิดไขมันส่วนเกินและถูกเก็บไว้ในเซลล์ตับสะสมจนเกิดเป็นโรคไขมันพอกตับ โดยอาการไขมันพอกตับที่พบบ่อยคือ ร่างกายอ่อนเพลีย คลื่นไส้ น้ำหนักลด กระหายน้ำ ตาเหลือง และตัวเหลือง อาการเท้าบวม และท้องบวม อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด >> ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว และ ไขมันชนิดดี เป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ >> ไขมันดี HDL เป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกัน การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจเอนไซม์ตับและการทำงานของตับ การตรวจไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ( ไวรัสตับอักเสบเอ, ไวรัสตับอักเสบซี ) การเจาะชิ้นเนื้อของตับมาตรวจ การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ( Hemoglobin A1c : HbA1c ) การตรวจวัดไขมันในเลือด การป้องกันโรคไขมันพอกตับ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ( 30 นาที / วัน ) ควบคุมน้ำหนัก ( ในคนที่น้ำหนักตัวมาก ) รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืชที่มีประโยชน์ ผู้ป่วยเบาหวาน หมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถนำไปสู่การสะสมของไขมันในตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มต้น บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง Nonalcoholic fatty liver disease (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org . Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.nhs.uk . Alcohol-related liver disease (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.nhs.uk . ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension )

0
โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) คือ การที่ความดันช่วงบน มีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะต้นทาง ( Early Phase ) จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที ส่วนมากจะเริ่มจากกลุ่มผู้ป่วยที่ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่มีความเสี่ยง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ( Risk Factor ) โดยมีเป้าหมายในการแนะแนวทางการศึกษา คือ การค้นหาและทำการคัดกรองปัจจัยเสี่ยง ( Risk Factor ) ของโรคความดันโลหิตสูง และยืนยันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ( Primary Hypertension ) ได้นั่นเอง ซึ่งค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี ( Systolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ และความดันช่วงบนของคนคนเดียวกัน อาจมีค่าที่ต่างกันออกไป ตามท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี ( Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสามารถทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ >> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ สาเหตุที่เกิดโรคความดันสูง พันธุกรรม โอกาสจะสูงมากขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต โรคไตเรื้อรัง เพราะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังที่กล่าวไป น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep apnea ) การขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนและเบาหวาน การรับประทานอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต การดื่มแอกอฮอล์ เพราะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุราทั้งหมด บทบาทผู้จัดการรายกรณีการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1.1 สถานที่ค้นหาคัดกรองผู้ป่วย - บุคคลที่มีอายุ 35 ขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงของวัยทำงานนั่นเอง โดยทั้งนี้อาจอาศัยอยู่ในชุมชน หรืออยู่ในสถานประกอบการอาชีพก็ได้ 1.2 ความจำเป็น-ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need ) - คัดกรองเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและการเกิด CV Risk ซึ่งสิ่งที่ต้องสอบประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดกรอง ก็ประกอบด้วย : ระดับความดันโลหิต : อายุ : มีภาวะไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia ) หรือไม่ : สูบบุหรี่ ( Smoking ) หรือไม่ : อ้วนลงพุงหรือไม่ : มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติหรือไม่ : คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ( CV Disease ) ก่อนวัยอันควรหรือไม่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need ) 1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP ) 2.มีระดับความดันโลหิตปกติ (...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

0
อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งแบบที่ต้องใช้ยาในการรักษา หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อยนั้น ก็คือ การปรับเปลี่ยนลักษณะหรือไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิต ( Life Style Modification ) เพื่อที่การรักษาจะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี รวมไปถึงการลด ปริมาณยาควบคุมความดันให้น้อยลงไปจากเดิม ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับโรคมากนัก และไม่ต้องเสียเงินในการรักษามากในระยะยาว >> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ >> คอเลสเตอรอลคืออะไร อยากรู้หาคำตอบได้จากบทความนี้ค่ะ การดำรงชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สำหรับแนวทางในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิตที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ 1.งดสูบบุหรี่ และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 2.ควรออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการพักผ่อนให้เพียงพอ 3.ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนและน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25กก./ม. ) 4.การลดทานเค็ม และลดปริมาณเกลือที่ปรุงในอาหาร และลดไขมันอิ่มตัว พร้อมกันนี้ก็ควรเพิ่มการทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิม จริง ๆ แล้วการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยยังมีอีกมาก แต่จะขอพูดถึงในเรื่องของการปรับเปลี่ยนอาหารและการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นเท่านั้น เพราะว่าเรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดระดับความดันของเลือด ช่วยควบคุม Metabolic Syndrome และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกี่ยวระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ หลักการรับประทานอาหาร ( Dietary Change ) เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง สำหรับหลักในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะต้องเน้นในเรื่องของการลดความดันโลหิตเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นการประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด หรือเรียกว่างดอาหารเค็มไปเลย จากการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมในร่างกายที่จะมีผลต่อความดันโลหิตของเลือดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง โดยระดับต่ำสุดจะอยู่ที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเป็นระดับที่มีผลต่อการลดความดันโลหิตที่เห็นชัดเจนที่สุด นอกเหนือไปจากเรื่องของการบริโภคเค็มแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการบริโภคอาหารในลักษณะที่ชื่อ “ DASH ” ( Dietary Approach to Stop Hypertension ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด โปรแกรมอาหาร DASH จะมีการเพิ่มผักและผลไม้เข้ามามากถึง 8-10 หน่วยบริโภค ( Serving ) ต่อวัน และด้วยความที่เพิ่มมามากขนาดนี้ ก็จะต้องไปลดการบริโภคไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น หมูและเนื้อติดมัน เบคอน หมูสามชั้น ให้ลดลงไป 2-3 หน่วยบริโภคแทน เน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว อกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาลที่ได้จากเครื่องดื่มและของหวานอีกด้วย จากผลการวิจัยที่ให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้ทานอาหารโปรแกรม DASH ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิต Systolic BP ได้มากถึง 5.5 มม.ปรอท และลด Diastolic BP ได้มากถึง 3.0 มม.ปรอท โดยจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นอกจากโปรแกรมอาหาร DASH จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและ Lipoprotein ได้อย่างเห็นผลแล้ว ยังช่วยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น อาหารที่มีผลต่อกลไกทางพยาธิวิทยาของหัวใจหลอดเลือด จากการวิเคราะห์พบว่า มีกลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะกลไกของระบบพยาธิสรีรวิทยาของโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. อาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลอดเลือด เมื่อระบบหลอดเลือดมีแรงดันที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้การควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่หรือลดลงเป็นไปได้ยาก ก็คือเรื่องปริมาณของไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง เพราะไขมันชนิดนี้ถือว่าเป็นไขมันชั้นเลวสุดที่เรียกกันว่า Visceral Fat กำจัดออกได้ยาก เมื่อมีไขมันชนิดนี้มากๆ ก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

0
การประเมินผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ในการประเมินเคสผู้ป่วยเพื่อที่จะนำเข้าสู่ผลการวินิจฉัยโรคสำคัญอย่างโรคความดันโลหิตนั้น การค้นหาการคัดกรองหาปัจจัยที่ส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้จะเป็นการช่วยในเรื่องของการประเมินว่าทางผู้ป่วยนั้นป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงตามนั้นจริงหรือไม่ สามารถที่จะทำการประเมินได้เลยว่าผู้ป่วยเข้าข่ายป่วยแน่นอนหากพบว่าใช่ก็จะได้ทำการแยกระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้ตั้งแต่ระยะแรกหรือจะเพื่อเป็นการค้นหาเกี่ยวกับสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตที่ยังคงสามารถทำการแก้ไขได้ทันเวลา นั่นก็เป็นสิ่งที่เสมือนกับหน้าด่านแรกที่นำไปสู่ผลของการวินิจฉัยที่ถูกต้องตามเกณฑ์และยังเป็นการนำไปสู่ระดับการเข้าถึงรูปแบบบริการดูแลและการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องที่เหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน DIAGNOSTIC   EVALUATION ได้แก่ เพื่อเป็นการค้นหาสิ่งที่จะเป็นการยืนยันตัวยืนยันว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบจริง ๆ และทำการระบุว่าเป็นโรคความดันประเภท SECONDARY HYPERTENSION การค้นหาส่วนของโรคร่วมหรือทำการค้นหาตัวโรคที่จะมาพร้อมกับโรคความดันโลหิตสูงที่พบเจอ ทำการค้นหาและทำการประเมินสิ่งที่จะเป็นร่องรอยของอวัยวะที่ถูกทำลายมาจากการได้รับผลกระทบของโรคความดันโลหิตสูง การค้นหาและทำการประเมินระดับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนในส่วนของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อทำการวัดหาค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องของตัวบุคคลนั้น ๆ >> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทำได้อย่างไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> อาหารและยาของผู้ป่วยความดันโลหิตเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ วิธีการปฎิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นหากจะให้แม่นยำควรที่จะต้องมีทักษะ มีเรื่องของความรู้ในประเด็นเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่ เรื่องของการตรวจสภาพร่างกาย การวัดระดับความดันโลหิตที่ถูกต้อง การประเมินในห้องปฏิบัติการ, การประเมินเกี่ยวกับประวัติทางด้านครอบครัวและประวัติทางด้านสุขภาพของตัวบุคคลรวมถึงเรื่องของพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพของทางบุคคลนั้นๆ  การประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นทั้งส่วนภายในและส่วนภายนอกเท่าที่ทราบและเพื่อเป็นการระบุถึงระดับของความรุนแรงปัจจัยเสี่ยงแต่ละประเภทเพื่อให้เป็นตัวที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรปฏิบัติ สำหรับการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องตามขั้นตอน จะต้องปฏิบัติตาม 3 ข้อดังนี้ 1. เลือกเครื่องวัดความดันที่เหมาะสม ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีความเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันจะนิยมใช้เครื่องวัดความดันอัตโนมัติมากที่สุด แต่จะต้อง Calibrated เครื่องอยู่เสมอ 2. เลือกขนาดของ Cuff สำหรับขนาดของ Cuff จะต้องสามารถวางอยู่รอบวงแขนของผู้ป่วยที่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของความกว้างวงแขนท่อนบนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้ค่าการตรวจวัดที่มีความถูกต้องที่สุด 3. เตรียมผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 2-3 นาทีโดยที่ตำแหน่งแขนที่พ้น Cuff ต้องวัดความดันโลหิตให้วางอยู่ในระดับเดียวกับตำแหน่งของหัวใจ รวมถึงต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมและมีสภาวะสงบ ผ่อนคลายมากที่สุด นอกจากนี้จะต้องมีการซักถามประวัติผู้ป่วยด้วยว่าในช่วง 1 ชั่วโมงที่ผ่านมาได้ทานอาหารหรือกาแฟมาบ้างหรือไม่ และในช่วง 15 นาทีที่ผ่านมาได้ทำการสูบบุหรี่มาก่อนหรือเปล่า 4. สิ่งที่ควรต้องพิจารณาให้เป็นพิเศษ 4.1 การประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ” เพื่อหาผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตลดต่ำลงขณะอยู่ในท่ายืนมักพบเสมอในผู้ป่วยสูงอายุ Systolic Hypertension ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วม ผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่ม Psychotropic บางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของ Light-Headedness, Dizziness, Weakness, Unsteadiness, Visual Blurring และ Near-Syncope การตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อทำการประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ”  1) วัดความดันโลหิตซ้ำอีกที่ 3 นาที เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน หากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะยืนได้เป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนเป็นท่านั่งแทนได้ โดยค่าความดันโลหิตที่เป็นตัวบ่งชี้ของภาวะ “ Orthostatic / postural hypertension ” จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนลดลง 20 mmHg หรือมากกว่า ค่าความดันโลหิตตัวล่างลดลง 10 mmHg หรือมากกว่า ร้อยละอัตราการเต้นของชีพจรจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า 2) วัดความดันโลหิตครั้งที่ 1และจับชีพจรของผู้ป่วยหลังจากให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายราบ จากนั้นให้ผู้ป่วยยืนขึ้นและวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยซ้ำทันที 4.2 หากพบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตต่ำลงหรือสูงขึ้นอย่างผิดปกติแต่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ จะต้องวัดค่าความดันโลหิตของแขนด้านตรงข้ามของผู้ป่วยเพื่อยืนยันอาการแสดงบ่งชี้เสมอ 4.3 “ White Coat Effect ” ไม่ควรลืมทำเด็ดขาด ตาราง คำจำกัดความและการแบ่งระดับความดันโลหิตสูง ( Definitions and Classification of Blood Pressure ) การจำแนกระดับความดันโลหิต   ( BP ) Systolic Blood Pressure ( SBP ) Diastolic Blood Pressure...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด

0
การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นพิการหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย โดยที่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกให้ได้รู้ล่วงหน้าแต่อย่างใดเลยด้วย อีกทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงยังมีโอกาสที่เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันซีสโตลิกสูงเกิน กว่า 115 มิลลิเมตรปรอทนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 49 เลยทีเดียว >> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ >> ถ้าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะหลอดเลือดสมองตีบควรดูแลอย่างไร มาดูกัน ซึ่งตรงกันกับผลการศึกษาของ Framing Heaet Study ที่พบว่าผู้ที่มีระดับระดับความดันโลหิตระหว่าง 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้ที่มีระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอทถึง 2 เท่า อีกทั้งยังพบด้วยว่าหากผู้ป่วยมีระดับความดันซีสโตลิกทสูงขึ้นทุกๆ 20 มิลลิเมตรปรอท และความดันไดแอสโตลิกสูงขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทจะยิ่งทำให้โอกาสที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดแดงทั้งใหญ่น้อยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้น จะเริ่มมีลักษณะแข็ง คด งอ อ่อนแอ และตีบเล็กลง ส่งผลให้ปริมาณของเลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจลดน้อยลง หากไม่ได้รับการรักษาให้ระดับความดันโลหิตเป็นไปตามปกติ จะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดอุดตันหรือปริแตกได้ และหากหลอดเลือดขนาดเล็กถูกทำลายก็จะส่งผลให้โครงสร้างของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากความดันไดแอสโตลิกอยู่ในระดับสูงก็จะเกิดความเสียหายขึ้นกับผนังชั้นในหลอดเลือด เกิดการสะสมของไฟบริน ซึ่งก็จะทำให้มีอาการเส้นเลือดอุดตันตามมาจนกระทั่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด และถ้าหากมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ อ้วนก็ยิ่งทำให้ลักษณะอาการตามธรรมชาติของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจถือได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้อยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจึงยังมีอาการกำเริบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ภาวะช็อค ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะฉะนั้น การจัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการการค้นหา คัดกรองปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีการประเมินโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดโรค ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้เฝ้าระวังอาการโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเอง และจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ตามลักษณะอาการที่ปรากฏ และหากผู้ป่วยได้มีตรวจพบอาการของตัวเองมีความสงสัยว่าเข้าข่ายเสี่ยงก็จะได้รีบเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดแดงทั้งใหญ่น้อยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้น จะเริ่มมีลักษณะแข็ง คด งอ อ่อนแอ และตีบเล็กลง ส่งผลให้ปริมาณของเลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจลดน้อยลง ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีลักษณะภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคแทรกซ้อน สำหรับการคัดกรองเพื่อการค้นหาบุคคลที่กำลังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องทำแบบเร่งด่วน โรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นโรคที่ที่ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ บุคคลที่ไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องของระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ตามเป้าที่กำหนดก็สามารถที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนที่มีการควบคุมถึงสามเท่าตัวเลยทีเดียวแถมยังจะได้ของแถมเป็นโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจวายตามมาเพิ่มไปอีก 6 เท่าตัวอีกด้วย  การจัดการกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 1.การประสานงานเพื่อการส่งตัวผู้ป่วยและเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 2.เรื่องของการบริหารจัดการผู้ป่วยเพื่อการค้นพบในเรื่องของปัญหาทางด้านสุขภาพที่มีผลเกี่ยวข้องกับโรคหลอเลือดหัวใจโดยจะเริ่มนับตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการเกิดขึ้น 3.การจัดการผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตัวที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเสมอ 4.ทำการประเมินระดับความจำเป็นหรือระดับความเร่งรีบต่อการรักษาพยาบาลโรค 5.ดำเนินการจัดการผู้ป่วยเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยโรคที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจ นอกจากนี้ก็มีในกรณีของการจัดการเพื่อการค้นหาหรือเพื่อการคัดกรองผู้ป่วยที่กำลังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในระดับเริ่มต้นและระดับรุนแรง และการจัดการแบบเจาะลึกลงไปรายเคส เป็นต้น โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระตุ้นโรคเข้ามาร่วมด้วย เช่น มีการป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ มีรูปร่างอ้วนมาก ฯลฯ การคัดกรอง ค้นหา และการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1. การคัดกรอง ค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหากควบคุมระดับความดันให้เป็นไปตามเป้าหมายไม่ได้ก็จะให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 เท่าเลยทีเดียว และจะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงเพิ่มขึ้นไปอีกหลายเท่าหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สูบบุหรี่ เป็นผู้ที่มีรูปร่างอ้วน เป็นต้น ซึ่งถ้าหากจำนวนของปัจจัยเสี่ยงมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากขึ้นเท่านั้น การจัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นที่จะต้องค้นหา คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและวางแผนในการจัดการกับความเสี่ยงเสียตั้งแต่ในระยะแรกที่พบว่าเป็นโรค และไม่ว่าจะเป็นในสถานพยาบาลหรือนอกสถานพยาบาลก็สามารถที่จะทำการคัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้ โดยจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบในการจัดการดูแลตั้งแต่ขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ซึ่งจะมีการประสานความร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หรือชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบแนวทางคัดกรองซึ่งจะประกอบไปด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การคัดกรองกลุ่มกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสำคัญอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ ในกระบวนการของการคัดกรองนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ อันดับแรกคือทำการซักประวัติของบุคคลเพื่อเป็นการค้นหาปัจจัยเสี่ยง ส่วนนี้สำคัญมากคุณจำเป็นต้องทำ การซักประวัติเรื่องของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประวัติการรักษาตัว ประวัติระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ประวัติทางด้านของปัจจัยเสี่ยงที่สามารถส่งผลต่อการเกิดโรค อาทิเช่น ระดับของไขมันที่อยู่ภายในเลือด ( แบบผิดปกติ ) ระยะเวลาที่เคยเป็นรวมถึงส่วนของระดับไขมันที่พบในขณะปัจจุบัน เป็นต้น ประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคคลในครอบครัว โรคนี้เป็นโรคที่พบว่าในเพศชายนั้นค่อนข้างที่จะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ที่สำคัญยิ่งหากเป็นเพศชายที่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปแล้วด้วยยิ่งพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงถึง 6 เท่าเลยทีเดียวแต่สำหรับเพศหญิงมีโอกาสพบได้เมื่อถึงวัยที่ประจำเดือนได้หมดลงแล้ว ในบุคคลที่อายุเพิ่มมากขึ้น ยิ่งหากอายุเพิ่มมากขึ้นเท่าไรก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น อายุกลายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของระดับความเสี่ยง ระดับความรุนแรงต่อการเกิดโรค ( สำหรับเพศชายอายุมากกว่า 55 ปี เพศหญิงอายุมากกว่า 65...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบ

0
โรคหลอดเลือดสมอง การดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งมีภาวะโรคสำคัญอย่างโรคหลอดเลือดสมอง จริง ๆ แล้วในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่สำคัญมากเพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบ  ต่ออัตราการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสามของประเทศ ( ซึ่งรองมาจากโรคมะเร็งและอันตรายจากอุบัติเหตุที่สามารถ ก่อให้เกิดการพิการ ) ยิ่งสมัยนี้หากเป็นกลุ่มอายุน้อยกลับพบว่ายิ่งมีจำนวนยอดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจนน่าผิดสังเกต  การป่วยด้วยโรคนี้สามารถส่งผลกระทบไปยังตัวของผู้ป่วยเอง ต่อตัวครอบครัว ต่อสังคมได้มากเพราะเมื่อป่วยย่อมต้องจำเป็นที่จะเสียเงินมากมายเพื่อการรักษา และเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ การลดจำนวนผู้ป่วยที่คงต้องบอกเลยว่าทางด้านของการพยาบาลนี่ละที่เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับโรคนี้ ( สำคัญมากในระดับการป้องกันด้านปฐมภูมิ ) บทบาทที่สำคัญของตัวพยาบาล คือ เรื่องของการดำเนินการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การดำเนินการเกี่ยวกับการขัดแย้ง การพิทักษ์สิทธิ์ของทางผู้ป่วย การสื่อสารรวมถึงการประสานงานระหว่างกลุ่มทีมสุขภาพกับฝ่ายครอบครัวของตัวผู้ป่วย จะต้องพยายามสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นเพื่อให้การดูแลสามารถเป็นไปได้ภายในชุมชนนั้น ๆ จะต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพราะนั่นจะเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ส่วนในเรื่องของประเด็นสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือ การดำเนินการเพื่อการจัดการบุคคลเป็นรายกรณีไปนั่นก็เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทางด้านของการวินิจฉัย การรักษาให้เป็นไปอย่างทันท่วงทีหากพบว่าผู้ป่วยรายใดเกิดอาการเตือนหรืออาการแสดงที่เป็นตัวบ่งบอกโรคโดยต้องคำนึงอยู่เสมอเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้เพื่อการรักษาเสมอ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงหลักการชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นที่บริเวณสมองก่อนที่จะเข้าไปสู่การรักษาแบบที่เฉพาะลงไป ผลลัพธ์ของการจัดการผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้ทางด้านของผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านทรัพยากร ด้านเวลา เป็นต้น ด้านการจัดการเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง เพื่อการดูแล เพื่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในการจัดการผู้ป่วยแบบที่ตัวบุคลลในครอบครัวได้มีส่วนร่วมด้วยรวมถึงเรื่องของความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อให้สามารถเข้าถึงการวินิจฉัยโรคและการดูแลรักษาแบบที่มีความรวดเร็วมากที่สุด การประสานเกี่ยวกับการ ส่งตัวผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาที่จะเป็นการก้าวไปสู่การดูแลอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากที่สุดแบบที่ไม่กลายเป็นการสูญเปล่าหรือการไร้ประโยชน์ สามารถตั้งระดับของความจำเป็นในปัญหาทางด้านสุขภาพบวกกับความต้องการในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ>> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ >> อาการของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร อยากรู้ดูได้จากบทความนี้ค่ะ ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณี 1 : การคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง คัดกรองผู้ป่วยกรณีเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นอีกโรคที่บอกเลยว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญมากที่อาจนำไปสู่การป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตได้ การที่ผู้ป่วยนั้นมีระดับความดันโลหิตสูงมากถึง 140/90 มิลลิเมตรปรอทจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงเข้าไปอีกหลายเท่าตัวได้เลยทีเดียว ( ยิ่งระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงครั้งละ 20 มิลลิเมตรปริทมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น ) ทราบหรือไม่ว่า จากการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกากลับพบว่าจากจำนวนประชากรทั้งสิ้นกว่าหลายสิบล้านคนนั้นกลับพบว่ามีคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 72 ล้านคนและยังมีร้อยละ 40 ที่กำลังอยู่ในช่วงของการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยิ่งหากใครที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสูงกลับกลายเป็นกลุ่มที่มีอาการความดันโลหิตสูงควบคู่ไปด้วยมากถึงร้อยละ 57.25 ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เมื่อใดก็ตามที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็จะส่งผลทำให้ผนังของหลอดเลือดมีลักษณะหนาตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการตีบแคบกว่าเก่าจนท้ายที่สุดก็จะค่อย ๆ เกิดอาการอุดตันหลอดเลือดหรืออาจกลายเป็นการทำให้ส่วนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณของสมองเกิดสิ่งอันตรายที่สุด  นั่นคือ การโป่งพอง เมื่อเกิดการโป่งมาก ๆ ก็อาจจะแตกได้และแน่นอนนั่นย่อมนำพามาซึ่งอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยอย่างที่สุด ในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับระดับของซิสโทลิคนั้นก็เพื่อใช้ประเมินเรื่องของความเสี่ยงในการเกิดโรคนั่นเอง สำหรับวิธีการก็คือจะนำเอากลุ่มสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ( กลุ่มที่ควบคุมกับกลุ่มไม่ได้ควบคุมระดับความดันโลหิต ) ทั้งนี้จะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ในส่วนของอายุ เพศ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยอาศัยสิ่งสำคัญอย่าง FRAMINGHAM STOKE RISK PROFILE ตาราง Framingham Stroke Risk Profile Points 0 +1 +2 +3 +4 +5 +6 +7 +8 +9 +10 เพศชาย/อายุ 54-56  57-59 60-62 63-65 66-68 69-72 73-75 76-78 79-81 82-84 85 ความดันโลหิตตัวบนที่ไม่ได้รับการรักษา 97- 105 106- 115 116- 125 126- 135 136- 145 146- 155 156- 165 166- 175 176- 158 186- 195 196 -205 ความดันโลหิตตัวบนที่ได้รับการรักษา 97- 105 106- 112 113- 117 118- 123 124- 129 130- 135 136- 142 143- 150 151- 161 162- 176 177- 205 ประวัติโรคเบาหวาน No Yes การสูบบุหรี่ No Yes โรคหลอดเลือดหัวใจ No Yes หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (AF) No Yes หัวใจห้องล่างซ้ายจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ No Yes เพศหญิง/อายุ 54-56 57-59 60-62 63-64 65-67 68-70 71-73 74-76 77-78 79-81 82-84 ความดันโลหิตตัวบนที่ไม่ได้รับการรักษา 0 95- 106 107- 118 119- 130 131- 143 144- 155 156- 167 168- 180 181- 192 193- 204 205- 216 ความดันโลหิตตัวบนที่ได้รับการรักษา 0 95- 106 107- 118 114- 119 120- 125 126- 131 132- 139 140- 148 149- 160 161- 204 205- 216 ประวัติโรคเบาหวาน No Yes การสูบบุหรี่ No Yes โรคหลอดเลือดหัวใจ No Yes หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (AF) No Yes หัวใจห้องล่างซ้ายจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ No Yes   ตาราง การประเมินโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองใน...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure )

0
อาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure ) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยอยู่ในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ แต่ถ้าอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood pressure ) อยู่ในขั้นปานกลางหรือรุนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะบริเวณท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ตามั่วบ้างในบางครั้ง เลือดกำเดาไหล ( Epistaxis ) เกิดเนื่องจากความดันโลหิตทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกแตก เหนื่อยหอบจนนอนราบกับพื้นไม่ได้หรือเหนื่อยเมื่อต้องออกแรงหรือทำงานหนัก ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นๆ หายๆ ซึ่งถ้าอาการของโรคอยู่ในขั้นวิกฤติอาจจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ >> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต้องทำอย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> อาหารและยาที่ผู้ป่วยความดันโลหิตใช้เป็นแบบไหน มาดูกันค่ะ สาเหตุของโรคความดันโลหิต ถึงแม้ว่าสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นกันมากจะยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุ แต่จากการศึกษาและสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่น่าจะมีปัจจัยจาก 1. พันธุกรรม จากสถิติพบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดาหรือทั้งบิดาและมารดา บุตรที่เกิดมานั้นจะมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไปถึงเกือบเท่าตัว 2. ความเครียด ปัจจุบันนี้พบว่าความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมาก จากสภาวะแวดล้อมที่ต้องอยู่ภายใต้ความกดดันจากการดิ้นรนเพื่อดำรงชีวิตในสังคม ทั้งเรื่องการงาน การเงิน ความรัก สุขภาพล้วนสร้างความเครียดทั้งสิ้น เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารแห่งความทุกข์ คือ โดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ซึ่งฮอร์โมนสั้งสองตัวจะทำเข้าไปเพิ่มความดันทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งมากขึ้นเป็นผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อเครียดมากและเครียดบ่อยจากที่ความดันโลหิตสูงเป็นครั้งคราวก็จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง 3. อายุ โรคความดันโลหิตสูงส่วนมากจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหลอดเลือดหัวใจที่ผ่านการใช้งานมานาน 40 ปีนั้นจะเริ่มเสื่อมสภาพ คือ หลอดเลือดเริ่มแข็งตัว มีคอเลสเตอรอลจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลง จึงเป็นเหตุให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นจึงจะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้ 4. พฤติกรรมการกิน จากงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือการบริโภคเกลือในปริมาณมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเกลือจะเข้าไปเพื่อความดันโลหิตในเลือดจากกระบวนการออกซิเดชัน-รีดักชั่นจากการแตกตัวของเกลือ และการกินเค็มจากสารปรุงรสอื่นๆ เช่น น้ำปลา ซอส เป็นต้น จะทำให้ไตต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง 5. รูปร่าง คนที่มีรูปร่างอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนที่มีรูปปกติ เนื่องจากคนอ้วนต้องใช้แรงบีบของหัวใจที่มากกว่าคนผอมในการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดตีบจากการที่ไขมันอุดตันจึงส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงตามไปด้วย 6. เพศ จากสถิติพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโหลิตสูงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เพราะผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะทำให้ร่างกายเกิดการกักเก็บเกลือไว้มากขึ้น คล้ายกับการที่รับประทานเค็มจัดหรือการรับประทานเกลือมากๆ นั่นเอง จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย 7. ขาดการออกกำลังกาย เวลาที่ออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารที่ช่วยลดความเครียดหรือฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ทำให้ร่างกายลดการสร้างสารแห่งความทุกข์ คือโดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ได้ แต่ถ้าร่างกายขาดการออกกำลังกายแล้วร่างกายก็จะมีการสร้างสารแห่งความทุกข์ได้มากขึ้น จึงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงตามมา 8. ความผิดปกติของเอนไซต์เรนิน ( Renin ) เอนไซต์เรนินทำหน้าที่เปลี่ยนทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โดยเอนไซต์เรนินจะเข้าไปช่วยควบคุมการหดตัวของหลอดเลือดให้ทำงานอย่างปกติ แต่ถ้าเอนไซต์เรนินผิดปกติจะทำให้การบีบตัวของหลอดเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุที่ของโรคความดันโลหิตสูง การที่จะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ เราต้องทำการวัดความดันเป็นประจำเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าความดันของเราอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ซึ่งการวัดความดันต้องวัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย จึงจะบ่งบอกได้อย่างแม่นยำว่าเรามีอาการของโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ สัญญาณชีพ คือ สัญญาณที่แสดงออกถึงการมีชีวิตอยู่หรือบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วย 1. ชีพจร ( Pulse ) ซึ่งชีพจรปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที 2. อัตราการหายใจ ( Respiratory ) อัตราการหายใจปกติจะอยู่ที่ 12-18 ครั้งต่อนาที 3. อุณหภูมิของร่างกาย ( Body Temperature ) อุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ที่ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F 4.ความดันโลหิต ( Blood Pressure ) ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผลค่าความดันโลหิตจะรายงานเป็นตัวเลข...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร?

0
โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic heart disease ) สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจขาดเลือดนั้นเกิดจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล แต่ตอนนี้เราได้รับรู้ความจริงที่ได้สร้างความตกตะลึงให้กับ ทุกคนว่า “ สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาหตุของโรคที่แท้จริง ” นั่นหมายความว่าความเชื่อที่วงการแพทย์เชื่อกันมานับ 60 ปี เกี่ยวกับสาเหตุโรคหัวใจ สาเหตุการเกิดของโรคหัวใจขาดเลือดที่ว่ามีต้นเหตุมาจากคอเลสเตอรอลและไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้แนวทางในการรักษา คือ การทานยาลดคอเรสเตอรอลและการให้ผู้ป่วยลดบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่จริง ไม่ควรให้ความเชื่อถือและยังค้นพบอีกว่าสาเหตุที่แท้จริงของการโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและโรคร้ายแรงอีกหลายชนิด คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลอย่างที่เคยเชื่อกัน สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจขาดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาเหตุโรคหัวใจที่แท้จริง >> โรคหัวใจมีอาการอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่บทความนี้ค่ะ >> อาหารและยาที่ผู้ป่วยความดันโลหิตใช้มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ สาเหตุที่อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 1. จากความเชื่อว่าสาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดมาจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน ทำให้คนหันมาบริโภคอาหารที่ Low Far, Fat Free อาหารที่ไม่มีไขมันอิ่มตัว และรับประทานยากลดไขมันกลุ่ม Statin ที่มีราคาสูงมากเพื่อป้องกันการเกิดโรค แต่ทว่าในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาเราพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน 20 ล้านคน และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Pre-Diabetes ) อีกมากกว่า 57 ล้านคนและแนวโน้มผู้ป่วยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จากจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเราพบว่ามีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งที่มีการป้องกันทุกวิถีทางแล้วแต่ทำไมจำนวนผู้ป่วยถึงยังเพิ่มขึ้น    นั่นเป็นเพราะความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้หลักโภชนาการและแนวทางของอุตสาหกรรมอาหารเกิดความผิดพลาด ทำให้ประชากรของโลกอยู่ในสภาวะโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เซื่อมเร็วขึ้น สร้างความสูญเสียทั้งทางทรัพยากรบุคคลและทางเศรษฐกิจอย่างไม่น่าให้อภัย 2. สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงที่ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด คือ การอักเสบที่ผนังเส้นเลือด โดยปกติคอเลสเตอรอลที่เข้าสู่ร่างกายจะไหลไปตามหลอดเลือดได้อย่างอิสระไม่จับเป็นตะกรันบนผนังหลอดเลือด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเป็นแผลแล้ว เมื่อนั้นคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นตะกรันยึดติดอยู่บนผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้น การที่ผนังหลอดเลือดอักเสบเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรค ไวรัสและสารพิษเข้าไป แต่ว่าถ้าร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่เข้าไปได้จนหมด เชื้อโรคที่เหลือเหล่านั้นจะเข้ามาทำลายเซลล์ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบ ในครั้งแรกๆ ร่างกายจะสามารถรักษาแผลอักเสบให้หายได้ ทำให้การอักเสบจะยังไม่มีผลต่อร่างกายเท่าใดนัก แต่ถ้ามีการอักเสบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นแผลเรื้อรังเมื่อนั้นจะทำให้เกิดตะกรันที่เป็นอันตรายร้ายแรง นอกจากเชื้อโรคและไวรัสที่เป็นตัวที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบแล้ว สารพิษจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นก็สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้เป็นอย่างดี สารพิษในอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่สำคัญ ก็คือ ไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ที่เราพบได้มากจากน้ำตาลในแป้งขัดขาวและอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ๆ รวมถึงน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีทางอุตสหกรรม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น รวมถึงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมนำน้ำมันพืชและน้ำตาลเหล่านี้ไปเป็นส่วนผสมและสิ่งเจือปนกันด้วยเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั่นเอง แต่สิ่งที่ทำนั้นกลับให้ผลในทางตรงกันข้ามเพราะแทนที่จะช่วยเพื่อความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดและลดการการอักเสบของหลอดเลือดแล้ว กลับทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบเรื้อรังจนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา การที่ไขมันไม่อิ่มตัวทำให้หลอดเลือดอักเสบก็ได้ นายแพทย์ Dr.Dwight Lundell, M.D. ได้พูดให้เราเห็นภาพง่ายๆ ว่าเหมือนกับการที่เราเอาแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูบริเวณเนื้ออ่อนใต้ท้องแขน เมื่อเราถูไปมาสักพักเราจะพบว่าผิวหนังบริเวณนั้นจะค่อยๆ แดง และมีเลือดซึมออกมาทีละน้อย ภาพที่เราเห็นก็เหมือนกับสภาพของผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบนั่นเอง คือจะมีลักษณะ ช้ำและมีเลือดซึมออกมา ถ้าแผลนี้ยังมีการอักเสบเกิดขึ้นเรื่อยไม่หายก็จะเกิดเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่น้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไปและร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด จนมีน้ำตาลหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด น้ำตาลที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดนี้จะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนกลาย เป็นตัวร้ายที่เข้ามาทำลายผนังหลอดเลือดให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ก็เปรียบเสมือนการนำแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูผนังหลอดเลือดให้เป็นแผลครั้งแล้วครั้งเล่า ต่างกันก็ตรงที่เวลาที่เราถูแปรงสีฟันนั้นใช้เวลาไม่นานก็เป็นแผล แต่น้ำตาลที่จับตัวกับโปรตีนในเลือดจะใช้เวลาหลายปีกว่าผนังหลอดเลือดจะเป็นแผลอักเสบเรื้อรังได้ https://www.youtube.com/watch?v=zHias4-PcT0&t=1s สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงนอกจากน้ำตาลที่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดแล้ว น้ำมันพืชก็มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดหรือแม้แต่น้ำมันดอกทานตะวันก็ตาม ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำมันพืชเป็นไขมันไม่อิ่มตัวและมีโอเมก้า-6 ที่ไม่ทำให้เป็นสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและอุตสาหกรรมอาหารก็ต้องตามกระแสความเชื่อดังกล่าว หันมาใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีที่คุณซื้อมาใช้นั้น เมื่อคุณเปิดฝาเพื่อใช้งานนานเป็นเดือนเป็นปีน้ำมันพืชก็ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนเลยแม้แต่น้อย ทำไมกันล่ะ? ทั้งๆ โอเมก้า-6...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

ตรวจลิพิดโปรไฟล์เพื่ออะไร และค่าปกติควรอยู่ที่เท่าไหร่

0
ลิพิดโปรไฟล์ Lipid Profile คือ ลิพิดโปรไฟล์ ( Lipid Profile ) คือ กระบวนการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อใช้บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคเพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease ) โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ตีบตันก็คือ การมีไขมันในร่างกายปริมาณสูงง และยังใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด การตรวจ lipid profile การตรวจ lipid profile นั้นแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดแล้วนำเลือดมาตรวจหาค่าของไขมันชนิดต่างๆ โดยผู้ป่วยจะต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด (ดื่มน้ำเปล่าได้) >> ไขมันหรือลิปิดมีความสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> คอเลสเตอรอลคืออะไร มีความจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ มาดูกันค่ะ ลิพิดโปรไฟล์สามารตรวจอะไรได้บ้าง 1. cholesterol เป็นไขมันที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ เอนไซม์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ การตรวจวัดระดับคลอเลสเตอรอลจะบ่งชี้ระดับไขมันโดยรวม ทั้ง HDL-cholesterol, LDL-cholesterol และ triglyceride ภายในเลือด ค่าปกติ <200 mg/dL 2. triglycerides เป็นไขมันที่ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเซลล์ไขมัน (adipose Tissue) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ซึ่งจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่นๆ ค่าปกติ <150 mg/dL หากค่าสูงจะทำให้ไขมันในเลือดสูง 3. low density lipoprotein (LDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่นำพา cholesterol เป็นไขมันเลว ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง) อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง(atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง 4. high density lipoprotein (HDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บ cholesterol จากอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ตับซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสลายของไขมัน ซึ่งเป็นไขมันดี ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง 5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) เป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับ ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับไปยังผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ ค่าปกติ lipid profile 1. cholesterol ค่าปกติ <200 mg/dL 2. triglycerides ค่าปกติ <150 mg/dL 3. low density lipoprotein (LDL) ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง) 4. high density lipoprotein (HDL) ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง 5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) ค่าปกติ 7 - 32 mg/dL แปลผล...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

ไขมัน LDL คืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกาย

0
Low Density Lipoprotein ไขมัน LDL หรือที่เรียกกันว่า "ไขมันเลว" เป็นชนิดของคอเลสเตอรอลที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด เมื่อมี LDL ในเลือดมากเกินไป มันจะสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น การเข้าใจถึงผลกระทบของไขมัน LDL และการควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคร้าย >> ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว และ ไขมันชนิดดี คืออะไรและพยได้ที่ไหน มาดูกันค่ะ >> ไขมันดี HDL คืออะไรจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ อยากรู้มาดูกัน การตรวจวัดค่าระดับ LDL ในแต่ละช่วงอายุ การตรวจเลือดสามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลของคุณรวมถึง LDL คุณควรได้รับการทดสอบนี้เมื่อใดและบ่อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยเสี่ยง และประวัติครอบครัวของคุณ คำแนะนำทั่วไป คือ ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ครั้งแรก ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุกๆ 5 ปี ผู้ชายอายุ 45 ถึง 65 ปี และผู้หญิงอายุ 55 ถึง 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุก 1 ถึง 2 ปี การตรวจวัดค่า LDL-c โดยปกติวิธีที่สามารถตรวจหาค่า LDL-c ได้นั้น มี 2 วิธีดังนี้ 1. การตรวจโดยตรง Direct LDL-c การตรวจโดยวิธี Direct LDL-c คือ การตรวจเพื่อหาค่า LDL โดยตรง ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการเจาะเลือดไปตรวจโดยแพทย์ วิธีนี้จะให้ผลที่แม่นยำ 2. การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ LDL ( calc )การตรวจวิธีที่การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ คือ การนำผลตรวจของ Total cholesterol ( TC ), High Density Lipoprotein ( HDL ) และ Triglyceride ( TG ) มาเข้าสูตรเพื่อหาค่า LDL การตรวจ LDL ส่วนมากจะใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยสูตรวิธีนี้ เนื่องจากสะดวกประหยัด และรวดเร็วซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้ LDL = TC – HDL – 20% TG คณะผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เลือด นำโดย ดร.เต วาย วัง ( The Y. Wang, Ph.D. ) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ LDL ทั้ง 2 วิธีว่า ค่าที่ตรวจได้จะมีเท่าหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือ ค่าของ Triglyceride จะต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg / dL...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

High Density Lipoprotein ( HDL ) คืออะไร

0
High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ ในร่างกายมนุษย์เราประกอบไปด้วยไขมันมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีเป็นบวกต่อร่างกาย และชนิดที่ไม่ดีเป็นลบต่อร่างกาย ปะปนกันไป ซึ่งคอเลสเตอรอลชนิดดีที่อยู่ในร่างกายมนุษย์เรา จะถูกเรียกว่า High Density Lipoprotein หรือเรียกสั้นๆว่า HDL เป็นคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันชนิดดี ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับ ช่วยทำหน้าที่ในการขจัดคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด คอเลสเตอรอลไม่สามารถที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้เอง แต่ต้องใช้ตัวชักนำอย่างไลโปโปรตีน ในการพาเข้าไป ซึ่งไลโปโปรตีนก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด โดยจะแบ่งได้ตามความหนาแน่นของ อัตราส่วนไขมันต่อโปรตีน  เมื่อ คอเลสเตอรอลมาจับคู่กับ ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี จะทำให้เกิดเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายที่เรียกว่า  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) นั่นเอง>> ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว และ ไขมันชนิดดี คืออะไรและพบได้ที่ไหนบ้าง มาดูกัน >> คอเลสเตอรอลคืออะไร จำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ อยากรู้มาดูกัน ประโยชน์ของ HDL High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  หรือ High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง เนื่องจากจะคอยป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดที่ไม่ดี อย่าง คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง โดย HDL จะนำไขมันชนิดที่ไม่ดีส่งคืนสู่ตับเพื่อนำไปทำลายทิ้งออกจากร่างกายต่อไป ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆได้เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอล ( Total Cholesterol ) ในร่างกายให้ต่ำลงอีกด้วย hdl คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง วิธีการเพิ่มระดับ HLD ให้มีค่าสูง ตามที่ได้ทราบกันแล้วว่า  HDL มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มาก ยิ่งมี HDL ในร่างกายมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อสุขภาพเท่านั้น ซึ่งได้มีข้อมูลทางวิชาการจาก นายแพทย์ ดร.ปีเตอร์ พี ทอธ แห่งโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐเอมริกา ที่แนะนำการเพิ่ม HDL ให้ร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าปล่อยให้ตนเองอ้วนหรือผอมเกินไป ( ตรวจสอบจากค่า BMI ) 2. งดการสูบบุหรี่อย่างถาวร 3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4. ควบคุมปริมาณการกินอาหารประเภทแป้งทั้งหลายเช่น น้ำตาล ข้าว ขนมต่างๆ เป็นต้น ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป 5. เน้นการบริโภคเนื้อปลาให้มากขึ้น 6. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารในแต่ละวัน โดยให้ความสำคัญกับอาหารประเภท ผักสด ผลไม้ และข้าวไม่ขัดสี ( ข้าวกล้อง , ขนมปังโฮลวีต ) น้ำมันมะกอก...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

รู้จัก ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันที่ต้องใส่ใจเพื่อสุขภาพที่ดี

0
ไตรกลีเซอไรด์ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่เมื่อระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพที่ดี การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการมีไขมันในเลือดสูง >> ไขมันดีคืออะไร พบได้จากที่ไหน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> คอเลสเตอรอลคืออะไร และมีความจำเป็นหรือไม่ มาดูกันบทความนี้ ส่วนต่างๆของร่างกายหากมีปริมาณที่มากเกินไปจะทำการส่งไตรกลีเซอไรด์ไปเก็บที่เนื้อเยื่อไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งสาเหตุนี้เองทำให้เกิดการอ้วนขึ้นได้ ในผู้ที่ทานอาหารมากเกินความจำเป็น ไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กรดไขมันจำนวนสามโมเลกุลที่ยังไม่เสถียร รวมตัวกับกลีเซอรอล จำนวนหนึ่งโมเลกุล จึงรวมตัวกันเป็น ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันที่แท้จริง ( True Fat ) ส่วนบางตำรา ในข้อมูลทางวิชาการอาจจะใช้ชื่อตามโครงสร้างทางเคมีว่า ไตรอะซิลกลีเซอรอล ก็ได้ ไตรกลีเซอร์ไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกัน อย่างไร? เมื่อผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากขึ้น ก็เกิดเป็นกระแสคนรักสุขภาพที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีข้อมูล ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ “ ไขมัน ” เพราะหลายแหล่งข้อมูลต่างโจมตีว่าไขมันนั้นคือตัวอันตราย ต้องลดให้ได้มากที่สุด ความจริงแล้วไขมันก็เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่ากลุ่มโปรตีน วิตามิน หรือคาร์โบไฮเดรต เราจึงควรศึกษาให้เข้าใจดีเสียก่อนว่า อะไรคือไขมันดีที่ร่างกายต้องการ และอะไรคือไขมันเลวที่ต้องตัดทิ้ง ไตรกลีเซอร์ไรด์กับคอเลสเตอรอลเป็นสองตัวแรกที่ถูกพูดถึงมากที่สุด หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเดียวกันเพราะถูกจัดกลุ่มว่าเป็นไขมันที่ทำให้เกิดโรคทั้งคู่ แต่หากลงลึกในรายละเอียดไขมันทั้งสองตัวนี้ไม่เหมือนกันเลย ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) : คือไขมันที่ได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป หรือร่างกายสร้างขึ้นเองได้ด้วยตับและลำไส้เล็ก ให้พลังงานอยู่ที่ 9 แคลอรี่ต่อกรัม ไตรกลีเซอร์ไรด์จะอยู่ในกระแสเลือดด้วยการรวมเข้ากับโปรตีน ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันบางส่วนด้วย คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) : คือสารขี้ผึ้งที่คล้ายไขมัน ไม่ได้ให้พลังงานใดๆ กับร่างกายเลย แต่มีความสำคัญต่อการสร้างผนังเซลล์และฮอร์โมนต่างๆ เรารับคอเลสเตอรอลได้จากอาหารที่กรดไขมันอิ่มตัวสูง และร่างกายก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้เองจากตับ นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังแบ่งย่อยอีกเป็น 2 ประเภท คือ คอเลสเตอรอลที่อันตราย ( LDL ) และคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ ( HDL ) โดยปกติร่างกายแต่ละคนต้องการใช้พลังงานแตกต่างกันไป หลักๆ เรารับพลังงานจากการทานอาหารนั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเลือกทานอะไรก็ได้ตามใจ เพราะระบบร่างกายมีขั้นตอนที่เป็นลำดับชัดเจน โดยเริ่มที่ดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ต่อด้วยไขมัน และโปรตีนเป็นส่วนสุดท้าย ดังนั้นหากเมื่อไรที่เรารับสารประเภทคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงไขมันออกมาใช้ และเมื่อเจาะประเด็นของไตรกลีเซอร์ไรด์กับคอเลสเตอรอลก็พบว่า ส่วนของไตรกลีเซอร์ไรด์ เท่านั้นที่ถูกดึงออกมาเพราะสามารถให้พลังงานกับร่างกายได้ ในขณะที่คอเลสเตอรอลซึ่งมีพลังงาน 0 แคลอรี่จะไม่ถูกแตะต้องเลยแม้แต่น้อย นั่นหมายความว่าโอกาสสะสมของคอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นมีสูงกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ หรือสารอาหารประเภทไหน ต่างก็มีทั้งคุณและโทษ จึงต้องควบคุมดูแลให้ร่างกายได้รับสารอาหารทั้งหมดในปริมาณที่เหมาะสมอยู่เสมอ ไม่มากไปและไม่น้อยไป โดยสรุปแล้ว ข้อแตกต่างระหว่าง ไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอล คือ ไตรกลีเซอไรด์ แตกต่างจากคอเลสเตอรอลเนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ จะเป็นไขมันที่แท้จริงที่มีการให้พลังงาน หรือ มีแคลอรี่ ประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม แต่ คอเลสเตอรอล จะเป็นสารขี้ผึ้งที่คล้ายไขมัน จะไม่มีการให้พลังงานแต่อย่างใด หรือมีค่าพลังงานเท่ากับ 0 แคลอรี่นั่นเอง และในภาวะที่ร่างกายขาดพลังงานจาก กลูโคสในคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะไปดึงพลังงานสำรองที่เก็บไขในรูปของไขมันจาก ไตรกลีเซอไรด์ มาใช้แทน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ตามปกติ https://www.youtube.com/watch?v=SpR--2RosZs ไตรกลีเซอไรด์เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างไร ไตรกลีเซอไรด์ ก็เหมือนกับ คอเลสเตอรอล คือ ไม่สามารถเข้าไปลอยอยู่ในกระแสเลือดในร่างกายได้เอง แต่ต้องมีตัวช่วยในการพาไป...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) ดีหรือไม่ดีต่อร่างกายอย่างไร

0
คอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) คือ สารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลวสามารถ สามารถพบได้ในอาหาร และพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกายโดยปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมาเองได้  จากอวัยวะอย่างเช่น  ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังอาจจะได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไป แม้ว่า คอเลสเตอรอล จะถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มสารไขมันในเลือด ( Lipid Profile ) แต่ในความ เป็นจริง คอเลสเตอรอล เป็นสารคล้ายไขมัน แต่ไม่ใช่ไขมันที่แท้จริงซะทีเดียว เนื่องจาก คอเลสเตอรอล เป็นสารที่ไม่มีค่าพลังงาน หรือไม่มีแคลอรี่ ซึ่งต่างจากไขมันที่จะมีค่าพลังงานประมาณ 9 แคลอรีต่อกรัม ประวัติความเป็นมาของ คอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอล ถูกค้นพบขึ้นในปี ค.ศ. 1769 โดยนักวิจัยชาวฝรั่งเศส ที่วิจัยพบคอเลสเตอรอลในสภาพเป็นของแข็งที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstone ) Cholesterol มาจากภาษากรีก โดยประกอบด้วย Chole  =  Bile คือน้ำดีจากตับ Stereos = Solid คือของแข็ง Ol = Suffix คือแสดงว่าเป็นแอลกอฮอล์ คอเลสเตอรอล เป็นสารตั้งต้นของน้ำดี หรือกรดน้ำดีซึ่งหากน้ำดีอยู่ในถุงน้ำดีจนมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะตกผลึกจับตัวกันเป็นของแข็ง และในที่สุดก็จะกลายเป็นนิ่วในถุงน้ำดีซึ่งก็คือ การเปลี่ยนสภาวะมาเป็นของแข็งได้ ตามรากศัพท์ของชื่อที่ได้ตั้งขึ้นมา คอเลสเตอรอล จัดเป็นลิปิด ( Lipid ) ชนิดหนึ่งในกลุ่มสเตอรอล มีบทบาทสำคัญคือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ (Cell Membrane) และเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมนที่เป็นฮอร์โมนเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง สังเคราะห์กรดน้ำดี เกลือน้ำดี (Bile Salt) และวิตามินดี คอเลสเตอรอลที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น อาหารที่มาจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นเองได้ที่ตับ ซึ่งสังเคราะห์ได้วันละ 80 - 1,500 มิลลิกรัม คอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด ( Atheroscherosis ) ซึ่งเป็นเหตุให้เส้นเลือดตีบ และเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคความดันโลหิตสูง>> ลิปิดคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> ไขมันมีประโยชน์หรือโทษต่อร่างกายมากกว่ากัน อยากรู้มาดูกัน คอเลสเตอรอล มีหน้าที่และความสําคัญอย่างไร ? คอเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะ คอเลสเตอรอลเป็นสารลักษณะเหมือนขี้ผึ้ง ( Waxy Substance ) แต่ละวันมนุษย์จะต้องใช้คอเลสเตอรอลในการดำรงชีวิต โดยคอเลสเตอรอลมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. คอเลสเตอรอลเป็นองค์ประกอบของเยื่อผนังห่อเซลล์ทุกเซลล์ทั่งร่างกาย ( ซึ่งมีประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์) เพื่อสร้างคุณสมบัติความเลื่อนไหลไปมา ( Fluidity ) ทำให้เกิดความสะดวกต่อการผ่านเข้า - ออกเซลล์ ของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น 2. คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี ( Bile ) เนื่องจากน้ำดีเป็นสิ่งที่ร่างกายจะต้องใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน รวมถึงช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายอยู่ในไขมัน เช่น วิตามินเอ  วิตามินดี  วิตามินอี และวิตามินเค เพื่อให้ร่างกายได้นำวิตามินเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป 3. คอเลสเตอรอลเป็นสารเริ่มต้น ( Precursor ) หรือเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายใช้สังเคราะห์วิตามินดี ขึ้นมาใช้เมื่อร่างกายได้รับแสงได้ โดยอาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ บริเวณใต้ผิวหนังของมนุษย์เราที่มี คอเลสเตอรอล จะมีกระบวนการที่จะทำให้แสงยูวีเหล่านี้กลับกลายมาเป็น วิตามินดี ซึ่งจะมีปะโยชน์ต่อร่างกายคือ ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกาย จากการถูกนำไปสร้างเป็นวิตามินดี ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน โดยไม่ต้องไปพึ่งอาหารเสริมต่างๆทำให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ และยังป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย 4. นำไปใช้ผลิตผลิตฮอร์โมนเพศในร่างกาย  คอเลสเตอรอลซึ่งเป็นสารสเตอรอยด์...
- ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต

ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว ( LDL ) ไขมันชนิดดี ( HDL ) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?

0
ไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นหนึ่งในประเภทของไขมันที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทคือ ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาหารที่เรากิน ไขมันทรานส์ประกอบขึ้นจากกระบวนการผลิตที่เติมไฮโดรเจลลงในน้ำมันพืช ซึ่งเปลี่ยนของเหลวให้เป็นไขมันแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไขมันทรานส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น นมเนย เนยแข็งที่ผลิตจากเนื้อสัตว์เป็นต้ ซึ่งการทานปริมาณไขมันที่เหมาะสมควรไม่ให้เกินวันละ 20 – 35 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอาหารทั้งหมด ปริมาณไขมันที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน โดยแยกตามกลุ่มบุคคลได้ดังนี้ เด็ก ควรทานไม่เกินปริมาณ 30-60 กรัม วัยรุ่นที่แอ๊คทีฟ ควรทานไม่เกินปริมาณ 40-80 กรัม ผู้หญิง ควรทานไม่เกินปริมาณ 30-60 กรัม ผู้ชายแอ๊คทีฟ ควรทานไม่เกินปริมาณ 40-80 กรัม ผู้ที่มีกิจกรรมหนัก/นักกีฬา ควรทานไม่เกินปริมาณ 80-120 กรัม >> ไขมันมีประโยชน์ต่องร่างกายหรือโทษอย่างไรมาดูกันค่ะ >> คอเลสเตอรอลคืออะไร มีความจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่  >> ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ซึ่งเราสามารถแบ่งไขมันที่มีผลต่อร่างกายออกได้เป็นสองชนิด  คือ ชนิดที่เป็นไขมันดี และชนิดที่เป็นไขมันไม่ดี โดยไขมันชนิดไม่ดีนั้น จะเป็นสิ่งที่มีผลร้ายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ไขมันชนิดไม่ดีคืออะไร จะอธิบายดังต่อไปนี้ แหล่งที่มาของไขมันทรานส์ แบ่งได้ 2 รูปแบบดังนี้ ไขมันทรานส์ที่ได้จากธรรมชาติ สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไขมันทรานส์ที่ได้จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ไขมันอิ่มตัว คืออะไร? ไขมันอิ่มตัว คือ เป็นไขมันชนิดไม่ดีที่จะพบได้มากใน เนื้อสัตว์ติดมัน สัตว์ปีก น้ำมันหมู เนย ครีม ชีส เป็นต้น นอกจากนี้ไขมันอิ่มตัวยังสามารถพบได้ในพืชบางชนิดอีกด้วย เช่น น้ำมะพร้าว ปาล์ม ครีมเทียม และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น ไขมันไม่อิ่มตัว คืออะไร? ไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะหนึ่งหรือสองครั้งหรือมากกว่าระหว่างโมเลกุล ไขมันเหล่านี้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง พวกเขายังพบในอาหารแข็ง กลุ่มนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทเพิ่มเติมเรียกว่าไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แหล่งอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันอะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันพืช เช่นทานตะวัน ข้าวโพดหรือคาโนลา ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน และปลาแมคเคอเรล ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และเมล็ดงา ไขมันนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดหลักๆ คือ ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ( เชิงเดี่ยว ) และไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ( เชิงซ้อน ) ไขมันทรานส์อันตรายแค่ไหน? เป็นต้นเหตุหลักในการเกิดโรคเรื้อรังและการอักเสบ เช่น โรคอัลไซเมอร์ จอประสาทตาเสื่อมโรคนิ่วในถุงน้ำดี และการอักเสบภายในส่วนของร่างกายซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไร้เชื้อเรื้อรังทั้งหลาย ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจโดยจะไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ( LDL Cholesterol ) และยังไปลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดี ( HDL Cholesterol ) ในร่างกายลงอีกด้วย ไขมันทรานส์กับปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน เนื่องจากไขมันทรานส์ทั้งสองประเภทเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคดันนั้น กระทรวงสาธารณสุขของไทย จึงแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้อง ไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน และแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ชนิดอิ่มตัวไม่ควรเกิน 10% ของค่าพลังงาน ต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัมต่อมื้อ คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดเลว...