มะเร็ง

สาเหตุและลักษณะอาการของมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายลุกลามกระจายไปส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางระบบเลือด ทางเดินน้ำเหลือง กระดูก ซึ่งมะเร็งจะมีหลายชนิดและชื่อต่างกันไปขึ้นอยู่กับจุดที่กำเนิด โรคมะเร็งกลายไปเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง

การเกิดมะเร็งจะมีสาเหตุมากจากปัจจัยภายในนี้มีแค่ 5-10% ของมะเร็งที่พบ คือ ยีนส์พันธุกรรม อายุ นอกนั้นเป็นปัจจัยภายนอก เช่น อาหาร มลภาวะ สารเคมี การใช้ชีวิต เป็นต้น ส่วนระยะของโรคมะเร็งมีการแบ่งตามความรุนแรงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 0 ไปจนถึงระยะ 4 ลุกลามทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็ง

ด้านการรักษามะเร็งนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะที่พบและการวินิจฉัยของแพทย์เป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปที่นิยม การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา ดังนั้นมะเร็งสามารถรักษาหายได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และหลีกเลี่ยงจากการใช้ชีวิตใกล้บัจจัยเสี่ยงต่างๆ

- มะเร็ง

อาหารเสริมทางการแพทย์ ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง

0
อาหารเสริมทางการแพทย์ คือ อาหารเสริมทางการแพทย์ ( Medical Supplements ) คืออะไร? เมื่อร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายต้องการสารอาหารมากกว่าคนปกติ เพื่อที่จะได้นำสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบภายในร่างกายให้กลับมามีสภาพที่แข็งแรงดังเดิม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นผู้ป่วยที่มีความกังวลใจในหลายด้าน ทั้งด้านการรักษาการดูแลตนเองและการเลือกรับประทานอาหาร  ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทำให้เราได้รับข่าวสารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งหรือส่งผลให้มะเร็งเกิดการลุกลามมากขึ้น ดังนั้นเมื่อตนเองเป็นโรคมะเร็งเกิดขึ้นจึงมีความกังวลใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารว่าอาหารบางชนิดอาจจะส่งผลให้มะเร็งที่เป็นอยู่เกิดการแพร่กระจายลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม จึงเลือกที่จะไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารบางชนิดเพียงอย่างเดียวตลอดเวลา เช่น ผัก ผลไม้ และไม่ยอมรับประทานอาหารประเภทอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ เลยแม้แต่น้อย ด้วยความเชื่อที่ว่าการรับประทานผักและผลไม้จะสามารถช่วยให้หายจากโรคมะเร็งได้ ซึ่งการรับประทานแต่เฉพาะผักและผลไม้เพียงอย่างเดียวจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหารที่จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อมะเร็ง บางครั้งอาจจะส่งผลให้ร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งอ่อนแอมากขึ้น หรือเกิดภาวะที่ขาดสารอาหารจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นการเลือกอาหารและการรับประทานอาหารให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการรักษาโรคมะเร็งเลยทีเดียว และหากจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งก็จะสามารถทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ อาหารเสริมทางการแพทย์ ควรทานคู่กับอาหารปกติเพราะการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูและหายจากอาหารป่วยได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้ารับการรักษาในแต่ละขั้นตอนได้อีกด้วย โรคมะเร็งเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ภายในร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ สาเหตุของเซลล์มะเร็งเกิดจากการกลายพันธ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ที่อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งเซลล์มะเร็งจะสามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และยังสามารถแพร่กระจายไปทำลายเซลล์ที่อวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลได้อีกด้วย >> กินอาหารอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง >> การกินอาหารที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษา การรักษามะเร็งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ 1. การรักษาด้วยการผ่าตัด คือ การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อหรือก้อเซลล์มะเร็งออกมาจากร่างกาย เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในร่างกายได้ ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดจะทำในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะในระยะที่ 1 หรือระยะ 2 ที่ยังมีการลุกลามไม่มากเท่านั้น การผ่าตัดไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ ต้องทำการรักษาด้วยการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเท่านั้น 2. การรักษาด้วยการฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การฉายรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า อนุภาคอิเลคตรอน อนุภาคโปรตอน อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น โดยจะทำการฉายรังสีเข้าไปยังตำแหน่งที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น รังสีที่ฉายเข้าสู่เซลล์มะเร็งจะเข้าไปทำลายสารพันธุกรรมที่อยู่ภายในของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้สารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งเกิดความเสียหายจนเซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตและตายลงในที่สุด 3. การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือการทำคีโม คือ การให้ยาเคมีเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถทำการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้และตาย การให้ยาเคมีบำบัดจึงสามารถควบคุมและลดขนาดของก้อนมะเร็งให้มีขนาดคงที่หรือเล็กลงได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย และยังสามารถช่วยบรรเทาปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ด้วย แต่สำหรับการรักษามะเร็งเต้านมยังมีการรักษาด้วย การบำบัดด้วยฮอร์โมน ( Endocrine Therapy ) เป็นการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เพราะว่ามะเร็งเต้านมจะสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ดังนั้นการลดปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้น ซึ่งบางครั้งการรักษาโรคมะเร็งไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียวแล้วจะรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้การรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี จึงจะสามารถทำการมะเร็งให้หายขาดและไม่กลับมาเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งในขณะที่ทำการรักษาแต่ละขั้นตอนผู้ป่วยก็จะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นมากน้อยต่างกันไป ร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องการสารอาหารมากกว่าปกติเป็นอย่างมาก อาหารเสริมทางการแพทย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายทำการผลิตสารโพรอินเฟรมมาทอรี่ไซโตไคน์ ( Proinflamatory Cytokines ) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบนี้จะเข้าไปเพิ่มให้มีเผาผลาญพลังงานเกิดมากขึ้นจนกลายเป็นภาวะไฮเพอร์เมแทบอลิก ( Hypermetabolic ) ที่มีอัตราเร็วของกระบวนการเมแทบอลิซึม ( Metabolism ) ที่สูงกว่าปกติจึงทำให้มีการสลายโปรตีน ไขมันที่มีในร่างกายมากขึ้น จนร่างกายต้องเกิดการสูญเสียไขมันและโปรตีนมากผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีความกังวลและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการรักษาโรคมะเร็ง ความเครียดที่เกิดขึ้นจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างการผลิตฮอร์โมนแห่งความเครียด ( Stress hormones ) เช่น แอดรีนาลิน ( Adrenalin ) และ คอร์ติซอล ( Cortisol ) ส่งผลให้ร่างกายมีอัตราการเมตาบิลิซึมสูงเช่นเดียวกับการเพิ่มของสารโพรอินเฟรมมาทอรี่ไซโตไคน์ ( Proinflamatory Cytokines ) เมื่อร่างกายมีอัตราการเมตาบอลิซึมที่มากกว่าปกติ ร่างกายจำเป็นต้องใช้สารอาหารที่มากขึ้นเพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึมที่เกิดขึ้น แต่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารเท่าเดิมหรือน้อยกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ร่างกายก็จะเกิดภาวะขาดสมดุลของโภชนการหรือเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงเนื่องจากการขาดสารอาหารนี้ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ อาหารเสริมทางการแพทย์ ( Medical...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ

0
หัวใจ คือ หัวใจ เป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเคลื่อนไหวตามการหายใจเข้าออกหรือการเคลื่อนไหวตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการบิดตัวของร่างกายหรือการบิดตัวของหัวใจเองด้วย และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของหัวใจนั้นสามารถทำการกำหนดได้เพราะว่าการที่จะแยกพื้นที่ของหัวใจจากตับและส่วนของกระบังลม แต่ก็ยังมีสิ่งที่ยากกว่าการแยกพื้นที่ของหัวใจออกจากตับและกระบังลมคือ การหาขอบเขตที่อยู่ด้านบนขอเส้นเลือดใหญ่ชนิดต่าง ๆ ที่นำพาเลือดเข้าสู่หัวใจและออกจากหัวใจ นอกจากนั้นเรายังมี Clinical Endoints ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ >> การฉายรังสีมีผลกระทบต่อดวงตาอย่างไร >> โรคหัวใจเกิดขึ้นได้อย่างไร 1.ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ( Pericarditis ) 2.โรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic Heart Disease ) 3. Decreased Myocardial Perfusion / Myocardial Infarction ดังนั้นปริมาณที่เราสามารถนำมาพิจารณา คือ Entire Heart Pericardium และ Left Ventricle ปัจจัยการฉายรังสีที่เสี่ยงต่อหัวใจ 1. ยาเคมีบำบัด Anthercycline พบว่าเมื่อมีการใช้ยาเคมีบำบัด Anthercycline ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกินและมะเร็งเต้านม จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจชนิด Dilated Cardiomyopathy ที่จะนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลว และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นคือ ปริมาณยา Doxorubirin ที่เกิดการสะสมประมาณ 500 mg / m2 และการที่ยา Edpirubicin ที่มีปริมาณสะสม ประมาณ 900 mg / m2 ถ้ามีปริมาณยาเกิดการสะสมตามปริมาณข้างต้นจะส่งผลให้ผู้ป่าวมีความเสี่ยงมากถึงร้อยละ 20 และอันตราความเสี่ยงก็จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีการสะสมของปริมาณยาเพิ่มขึ้น จากการศึกษาที่ทำแบบ Prospective Study ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉาย รังสีรักษา จะส่งผลให้หัวใจของผู้ป่วยมีโอกาสที่จะถูกทำลายมากขึ้น 2. ปัจจัยส่วนบุคคล สภาวะของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงมากหรือน้อย ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ พฤติกรรมประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า โรคประจำตัวที่มาจากการดำรงชีวิตหรือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ระดับไขมันในเส้นเลือด ระดับคอลเลสเตอรอลทั้งชนิดดีและชนิดเลว ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อหัวใจทั้งสิ้น Dose-Volume Limits ที่ทำการแนะนำ ในการรักษามะเร็งเต้านมพบว่าปริมาณแนะนำที่ควรใช้ในการรักษาอย่างได้ผลและมีผลกระทบต่อหัวใจน้อยที่สุด คือ กำหนดให้มีค่า V25 Gy และควรมีปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 10 ถือว่าค่านี้เป็นค่า Fraction มาตรฐาน เมื่อใช้ปริมาณดังกล่าวนี้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉาย รังสีรักษา ให้ลดลงเหลือน้อยเพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น สำหรับการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบันนี้จะให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีรักษา และยาเคมีบำบัดที่นิยมนำมาใช้ต้องมีส่วนผสมของ Doxorubicin ผสมอยู่ด้วย และได้มีการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงปริมาณรังสีรักษาที่ใช้ จนปัจจุบันนี้ปริมาณรังสีรักษาที่ใช้ลดลงเหลือเพียง 15 Gy เท่านั้น และมีการจำกัดขอบเขตที่ในการฉายรังสีให้อยู่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่งสามารถช่วยลดผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีรักษาต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อมีการลดปริมาณ รังสีรักษา ให้เหลือ 15 Gy เราก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดกับเยื่อหุ้มหัวใจที่ถ้าได้รับรังสีที่ปริมาณ 26 Gy และ V30 ที่มากกว่าร้อยละ 46 ให้ลดน้อยลง สรุป QUANTEC:Approximate Dose / Volume / Outcome Data ด้วยวิธีการใช้ Conventional Fractionation อวัยวะ ปริมาตร เทคนิคการฉายรังสี ( Partial organ ) Endpoint Dose ( Gy ), or dose...
- มะเร็ง

การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร

0
มะเร็งรักษาด้วยการฉายรังสีกระทบต่อการมองเห็น การฉายรังสีเพื่อทำการรักษา โรคมะเร็ง ที่บริเวณส่วนศีรษะ ลำคอและสมอง ในการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสายตาและ การมองเห็น เนื่องจากการเกิดเส้นประสาทตาเสื่อมภายหลังการฉายรังสีรักษามะเร็ง ( radiation-induced optic neuropathy / RION ) ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นผลที่มีความรุนแรงค่อยข้างสูงและสามารถเกิดขึ้นได้อย่าง รวดเร็ว ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดนี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม ดังนั้นก่อนที่จะทำการรักษาแพทย์ต้องทำการกำหนดค่าขอบเขต ( Constraint ) ของส่วน Optic Apparatus เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงข้างต้น ความผิดปกติของสายตาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีแล้วประมาณ 2.5 ปีเป็นต้นไป ซึ่งการประเมินการมองเห็นของผู้ป่วยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ >> มะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ >> ผลข้างเคียงจากการฉายรังษีรักษาเป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน 1. การประเมินโดยใช้ค่า Visual Acutiy ( VA ) คือค่าระยะที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ โดยคนทั่วไปจะสามารถมองเห็นได้ที่ระยะ 100 ฟุต ซึ่งในการรายงานจะรายงานเป็นค่าที่สามารถมองเห็นได้ของผู้ป่วย/ค่าที่คนทั่วไปมองเห็น เช่น 20/100 หมายความว่าผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ที่ระยะ 20 ฟุต เป็นต้น 2. การตรวจลานสายตา คือ การตรวจปริมาณหรือระยะที่ผู้ป่วยมะเร็งเห็นได้จริง เทียบกับปริมาณหรือระยะที่ผู้ป่วยมะเร็งควรจะต้องมองเห็นได้ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทตาจะทำให้เกิดสูญเสีย การมองเห็น ของตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ( Monocular ) แต่ถ้าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นอยู่ใกล้เคียงกับส่วนของ Optic Chiasm จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นของตาทั้งสองข้าง เพราะว่าการเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณนี้ที่ตาข้างใดข้างหนึ่งแล้วจะส่งผลกระทบไปสู่ตาอีกข้างหนึ่งได้ด้วยการฉายรังสีรักษามะเร็งแบบ Pitutitary Adenoma จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ส่วนของ Inferior Central Optic chiasm ซึ่งเมื่ออาการบาดเจ็บนี้เกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีการมองเห็นแบบลานตา ( VF ) ซึ่งลักษณะความผิดปกติจะเป็นแบบ Bilateral Upper Outer Quadrant แต่ทว่าถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดกับส่วนของ Proximal Optic Tract จะทำให้ข้างที่เป็น Optic Tract สูญเสีย การมองเห็น ไป แต่ก็จะเกิดขึ้นกับข้างที่เป็น Optic Tract เท่านั้น ส่วนตาอีกข้างจะไม่เกิดผลกระทบนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตาหลังการรักษามะเร็งไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Retina หรือ Optic nerve หรือ Optic หรือ Occipital Lobes ต่างก็สร้างผลกระทบต่อการมองเห็นของดวงตาทั้งสิ้น และการแบ่งระยะของความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสีเข้าสู่บริเวณ Optic Nerve หรือ Chiasm ก็ไม่สามารถแบ่งออกได้อย่างชัดเจน เพราะว่าปัญหา การมองเห็น ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนี้อาจจะเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่นร่วมด้วยได้ เช่น การเป็นต้อกระจก ภาวะตาแห้ง เป็นต้น แต่เราก็ สามารถระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ 1. ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่บริเวณของ Chiasm โดยตรง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ Bilateral Temporal VF 2. ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่บริเวณส่วนหลังของ Chiasm จะส่งผลกระทบต่อลานสายตา (VF) ทั้งสองข้างของผู้ป่วย 3. ตำแหน่งที่มีรอยโรค ( Lesion ) เกิดขึ้นอยู่ที่ส่วนด้านหน้าของ Chiasm จะส่งผลกระทบทำให้ลานสายตาของผู้ป่วยในข้างที่มีอาการเกิดขึ้น มะเร็งกับคำนิยาม Volume ของส่วน Optic Apparatus ตั้งแต่ส่วนหลังของเส้นประสาทตา...
- มะเร็ง

การตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเอง

0
ตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ( Breast Selfexam ) สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจเต้านมตนเองทุกเดือนหลังประจำเดือนหมดไปแล้ว 3-5 วัน หรือลองเลือกวันใดวันหนึ่งของเดือน เช่น วันที่ 1 หรือวันที่เกิดของตัวเอง เพื่อที่จะได้ตรวจเป็นประจำและสม่ำเสมอ เนื่องจากในปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอับดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิง การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ทำให้สามารถ วินิจฉัยมะเร็งเต้านมเบื้องต้นได้ก่อนที่จะมีอาการ>> โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านมมีลักาณะอย่างไร มาดูกันค่ะ >> มะเร็งเต้านม อาการ สาเหตุ และการป้องกันได้อย่างไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ ขั้นตอนการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง การตรวจเต้านม ท่ายืน 1. ดูเต้านม เริ่มจากการถอดเสื้อออกให้หมด ยืนตรงหน้ากระจกใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว สังเกตขนาดและรูปร่างของเต้านมรวมทั้งสีของผิวหนังที่เต้านม ให้สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในภาวะปกติผู้ที่ไม่เคยรับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน เต้านมทั้ง 2 ข้างควรมีขนาดใกล้เคียงกัน ไม่บิดเบี้ยวหรือผิดรูปไม่บวม ไม่มีรอยนูนที่ผิวหนัง หรือรอยบุ๋มของผิวหนังคล้ายเป็นลักยิ้ม สีผิวหนังปกติต้องไม่บวมแดงซึ่ง สังเกตได้จากการเห็นรูขุมขนชัดเจนมากกว่าปกติสังเกตระดับของหัวนมทั้ง 2 ข้าง ควรมีระดับที่ใกล้เคียงกัน หัวนมไม่บุ๋ม ยกเว้น บางคนอาจเป็นมาแต่กำเนิด ไม่มีแผลที่หัวนมหรือฐานหัวนม ถ้าพบว่ามีลักษณะผิดปกติดังกล่าวข้างต้น อาจมีสาเหตุมาจาก มะเร็งเต้านมได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ สังเกตว่ามีน้ำออกจากหัวนมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหรือ ไม่อาจเป็นน้ำสีเหลือง ใสเป็นน้ำปนเลือด หรือสีเหมือนน้ำนม ขยับเอามือไปเท้าเอว แล้วเกร็งหน้าอกขึ้น ลองดูว่าเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ควรขยับให้เห็นด้านข้างทั้งสองข้างด้วย โน้มตัวหรือก้มหัวไปด้านหน้า เพื่อเช็คความผิดปกติอีกครั้ง 2. ขอบเขตในการคลำเต้านม ให้ครอบคลุมบริเวณเต้านม ดังนี้       การคลำในแนวขึ้น-ลง จาใต้เต้านม (ลูบขึ้น-ลง) เริ่มจาคลำใต้เต้านมขึ้นไปถึงกระดูกไหปลาร้า แล้วขยับนิ้วทั้งสามนิ้วคลำในแนวขึ้นลง สลับกันไปเรื่อย ๆ จนทั้วเต้านม การคลำในแนวรูปลิ่ม ( ลูบเข้าหาหัวนม ) เริ่มคลำส่วนบนของเต้านมจนถึงฐานนม แล้วคลำกลับขึ้นสู่ยอด ทำไปเรื่อย ๆ จนทั่วทั้งเต้านม การคลำในแนวก้นหอย ( วนเป็นวงกลม ) เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมตามแนวก้นหอยไปจนถึงฐานนมบริเวณรอบรักแร้ ท่านอน สำหรับการตรวจเต้านมขวา ให้ใช้หมอนหรือผ้าห่มวางไว้ใต้ไหล่ขวา ส่วนมือขวาให้ชูขึ้นเหนือศีรษะหรือประสานไว้ที่ท้ายทอย จากนั้นใช้นิ้วมือซ้ายคลำเต้านมขวาให้ทั่วเหมือนท่ายืน เมื่อเรียบร้อยก็ให้สลับมาทำอีกข้างหนึ่ง การตรวจเต้านม ท่านั่ง การตรวจเต้านมในท่านั่งจะตรวจเต้านมในส่วนบนได้ดี ซึ่งการตรวจจะใช้มือข้างตรงข้ามคลำเต้านม ให้นิ้วชี้นิ้วกลาง และนิ้ว นางชิดกัน ใช้อุ้งนิ้วทั้งสามคลำเป็นวงกลม จากตรงกลางออกสู่ด้าน นอกของเต้านมต่อมาคลำจากด้านบน โดยการลูบจากบริเวณ ใต้กระดูกไหปลาร้าลงมาที่ราวนมในแนวตั้งให้ทั่วทั้งเต้านม และสุดท้ายคลำจากฐานหัวนมออกทางด้านนอกตามแนวรัศมี ให้ทั่ว ทั้งเต้านมตรวจในลักษณะเดียวกันในเต้านมข้างตรงข้าม ปกติเนื้อเต้านมควรเรียบ ไม่มีก้อน ไม่มีผื่น และไม่มีแผล การตรวจเต้านม ท่านอน นอนราบยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ ใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะคลำ และใช้มืออีกข้างตรวจคลำทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง เริ่มคลำจากส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม เวียนไปรอบเต้านม ค่อย ๆ เคลื่อนมือเข้ามาเป็นวงแคบ ๆ จนถึงบริเวณเต้านมให้ทั่วทุกส่วน บีบหัวนมเบา ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติไหลออกมาหรือไม่ https://www.youtube.com/watch?v=9Edv0JNn2sY ลักษณะของก้อนมะเร็งเต้านม สำหรับก้อนที่อาจจะเป็นมะเร็งเต้านมนั้น มีลักษณะ คือ เป็นก้อนหนาๆ ไม่มีขอบ ไม่เคลื่อนที่ เมื่อคลำไปเจอจะรู้สึกได้ทันทีว่ามีความแตกต่างกับเนื้อนมบริเวณรอบ ๆ  หรือเมื่อเทียบกับเต้านมอีกข้าง แต่ถ้าหากเป็นก้อนกลม ๆ กดแล้วกลิ้งไปกลิ้งมาได้ มีขนาดใหญ่เท่าลูกชิ้น อาจเป็นถุงน้ำ พังผืด (...
- มะเร็ง

ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต

0
การฉายรังสีรักษามะเร็งส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต การรักษาโรคมะเร็งด้วย การฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนเลือด ของผู้ป่วยทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดเนื่องจากรังสีสร้างผลเสียกับ parenchyma cell ที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด Mucosal Epithelium, Base Cell Epidermis เป็นต้น โดยรังสีจะปล่อยสารที่มีลักษณะเหมือนกับ Histamine ออกมาทำให้ parenchyma cell เกิดอาการบาดเจ็บส่งผลให้ภายในระบบหมุนเวียนของ  เลือดเกิดภาวะอักเสบขึ้น อาการที่สามารถพบได้ เช่น การขยายตัวของหลอดเลือด ( Vascular dilatation ) และมีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่บริเวณของหลอดเลือดฝอย หรือการเกิด interstital edema เป็นต้น ผลกระทบมะเร็งที่เกิดขึ้นเฉพาะที่กับ ระบบไหลเวียนเลือด จะเป็นชนิดเรื้อรังมากกว่าที่จะเป็นชนิดเฉียบพลัน ซึ่งจะมีความต่างกับการบาดเจ็บของ Parenchyma cell ที่มักจะเกิดผลกระทบชนิดเฉียบพลัน เมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นจะส่งผลให้กระบวนการขนส่งสารอาหารจากเลือดแดงที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดงส่งไปยังเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในเนื้อเยื่อเกิดขึ้นน้อยลงจนทำให้เส้นเลือดฝอยเกิดการฝ่อตัวลง ( Parenchymal Atrophy ) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเส้นเลือดฝอยน้อยลง ( Telangiectasis ) ส่งผลให้เส้นเลือดมีการขยายตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นกับเส้นเลือดทุกส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย>> ผลกระทบจากการฉายรังสี >> ผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉายรังสีร่วมการยาเคมีบำบัดผู้ป่วยที่เคยได้รับ การฉายรังสี ที่บริเวณหัวใจสามารถพบว่ามีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น มะเร็งเต้านม Lymphoma Seminoma มะเร็งปอด ซึ่งผลกระทบชนิดฉับพลันที่พบได้แก่ Pericardditus ซึ่งอาการข้างเคียงชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ว่าอาการข้างเคียงชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเป็นระยะเวลาเป็นปีหรือหลายปี คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเราได้ทำการแบ่งระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทั้งทางคลินิกและ Subclinical ที่จะสามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะ radiotherapy-induced heart disease ได้ดังนี้ 1. อาการทางคลินิกที่พบได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจที่มีความเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการเกิดของโรคได้ดังนี้ 1.1 กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นแบบเฉพาะที่ ( Regional ) โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery disease ( CAD ) โรคลิ้นหัวใจ ( Valvular disease ) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ( Myocardial infarction ( MI ) 1.2 กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นกับทั้งระบบของอวัยวะ ( Global ) อาร์ริทเมียจากการรักษามะเร็ง ( Arrhythmia ) หรือภาวะที่หัวใจมีการเต้นที่ผิดจังหวะ Autonomic Dysfranction หัวใจวายจากการรักษามะเร็ง ( Congestive Heart Failure ( CHF ) คือ การที่หัวใจไม่สามารถทำการสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้หรือการทำงานของหัวใจเกิดล้มเหลวส่งผลให้เนื้อเยื่อต่างๆเกิดภาวะขาดออกซิเจน    ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ Pericarditis/Pericardial Effusion ซึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะเสี่ยงมากถึง 1.5-3.5 เท่าก็ต่อเมื่อมีการได้รับรังสีเข้าสู่ส่วนที่เกิดอาการ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงลักษณะของ Clinical Endpoint ดังนี้ ภาวะหัวใจวายผลกระทบจากการรักษามะเร็ง ( Congestive Heart Failure หรือ CHF ) พบว่าภาวะหัวใจวายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ทำการรักษาด้วย การฉายรังสี มีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ทำการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอด์กิน ( Hodgkin lymphoma ) ที่ใช้...
- มะเร็ง

โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม

0
เต้านม คือ เต้านม ( Breast ) คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เมื่อผู้หญิงมีบุตรเต้านมจะผลิตน้ำนม ประกอบไปด้วยท่อน้ำนมต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม ตรงปลายของต่อมน้ำนมเล็ก ๆ จะมีถุงกระเปาะขนาดเล็กเป็นแหล่งผลิตน้ำนม ทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อถึงกันโดยท่อน้ำนมและจะไปสิ้นสุดที่หัวนม ส่วนบริเวณช่องว่างระหว่างต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมจะเป็นไขมันแทรกตัวอยู่โดยมีกล้ามเนื้อรองรับเต้านมอยู่เหนือกระดูกซี่โครงอีกชั้นหนึ่งเส้นเลือดจากบริเวณกล้ามเนื้อทรวงอกมาหล่อเลี้ยง มีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือเอ็นที่ชื่อคูเปอร์แผ่ยึดระหว่างฐานนมและผิวหนัง ทำหน้าที่ในการพยุงส่วนประกอบของเต้านมให้คงรูป นอกจากนี้เต้านมไม่ใช่เนื้อก้อนใหญ่ ๆ ก้อนหนึ่งแต่แบ่งออกเป็นกลีบ ๆ ไม่ต่างอะไรจากกลีบส้ม มีหัวนมเป็นศูนย์กลางของเต้านม ซึ่งต่อมน้ำนมทุกต่อมมีท่อน้ำนมต่อเชื่อมไปออกที่ปลายหัวนม เป็นทางระบายออกนอกร่างกายให้ทารกดื่มกิน ทั้งหมดถูกหล่อเลี้ยงด้วยเลือดแดงจากผนังอก และท่อน้ำเหลืองที่เชื่อมไปถึงต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ และเหตุผลที่เต้านมสามารถสั่นคลอนและห้อยย้อยได้ก็เพราะว่าเอ็นคูเปอร์ไม่ได้ยึดเอาไว้แน่นนั่นเอง >> อาการเบื้องต้นของมะเร็งเต้านม >> มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) อาการ สาเหตุ และการป้องกัน โครงสร้างของเต้านม เต้านมมีหน้าที่ เป็นอวัยวะสร้างน้ำนม เพื่อเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติสำหรับทารก 1. เส้นเลือดแดงเป็น internal mammary arteries ซึ่งประสานกับ lateral thoracic arteries 2. ท่อน้ำเหลืองติดต่อกับต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และใต้กระดูกไหปลาร้า 3. เส้นประสาทมาจากเส้นที่ 4-6 ของ intercostal nerves ไปเลี้ยง ส่วนใหญ่ที่หัวนมและลานม ส่วนประกอบของเต้านม เต้านมประกอบด้วยต่อมและเนื้อเยื่อไขมันมากมายระหว่างชั้นของผิวหนัง และผนังช่องอก ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันนี่เองที่เป็นตัวกำหนดขนาด และรูปร่างของทรวงอก ขณะที่มีบุตรต่อมดังกล่าวจะผลิตน้ำนมส่งผ่านท่อน้ำนมไปยังหัวนม ดังนั้นช่วงที่ให้นมลูก ต่อมน้ำนม และท่อต่างๆ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เต้านมยังประกอบด้วยเส้นเลือด และน้ำเหลือง โดยน้ำเหลืองจะนำของเสียที่เต้านมขับออกไปยังเนื้อเยื่อขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วที่เรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรอง และทำความสะอาดน้ำเหลือง การเปลี่ยนขนาดของเต้านมจากฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน ช่วงก่อนมีประจำเดือน จะรู้สึกคัดเค้าเต้านมหรือเต้านมขยายใหญ่ขึ้น ช่วงหลังเป็นประจำเดือน ขนาดของเต้านมจะเล็กลง ช่วงตั้งครรภ์เต้านมจะขยายขนาดขึ้น การคุมกำเนิดโดยวิธีต่าง ๆ ซึ่งเป็นการรับฮอร์โมนเพศหญิงจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ก็อาจทำเต้านมขยายใหญ่ขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนชนิดฉีด กิน หรือทา ความผิดปกติที่เกิดกับเต้านม การมีน้ำคัดหลั่งออกมาทางหัวนม ( Nipple Discharge ) ภาวะเช่นนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของท่อน้ำนม มะเร็งเต้านม ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์หากพบว่ามีน้ำคัดหลั่งจากหัวนมไหลออกมาเองโดยไม่ได้อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เต้านมอักเสบ ( Mastitis ) เป็นการอักเสบบริเวณเต้านมที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมจนทำให้น้ำนมสะสมตัวอยู่ภายในจนเกิดการอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบคือมีก้อนที่เต้านม ปวด บวมแดง และรู้สึกเจ็บเมื่อโดนกดเต้านมบริเวณที่อักเสบ ในเบื้องต้นแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา แต่ถ้าพบว่ามีฝีหรือหนองอักเสบอยู่ภายในก็อาจต้องเจาะหนองหรือผ่าตัดออก ท่อน้ำนมโป่งพอง ( Mammary duct ectasia ) เกิดกับผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีสาเหตุมาจากการอักเสบและอุดตันของท่อน้ำนมบริเวณใต้หัวนม ทำให้เกิดการเจ็บปวดและมีน้ำคัดหลั่งที่ข้นเหนียวสีเทาถึงสีเขียวออกมาทางหัวนม วิธีการรักษาคือให้ใช้น้ำร้อนประคบและบีบเค้นเบาๆ ให้น้ำคัดหลั่งไหลออกมาจนหาย ควบคู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะ และหากจำเป็นก็อาจต้องทำการผ่าตัดเอาท่อน้ำนมที่อักเสบออก ภาวะผู้ชายมีนม ( Gynecomastia ) เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายเกิดการขยายตัว ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเกิดจากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมลักษณะความเป็นหญิงที่มากเกินไป ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง ( Benign Breast Lump ) โดยทั่วไปก้อนที่เต้านม มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ • ไฟโบรซิสติค ( Fibrocystic Disease ) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ จนมีก้อนโตขึ้นและเจ็บเต้านมก่อนจะมีรอบเดือน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสองข้างหรือข้างเดียวแต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อรอบเดือนหมด และจะหายไปเองเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา •...
- มะเร็ง

การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง

0
การตรวจหามะเร็ง การหาตรวจมะเร็ง หมายถึง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งในทุกด้านตามวิธีการทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ? การประเมินระยะของโรคมะเร็งที่เป็นในคนไข้ การประเมินสุขภาพผู้ป่วย เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม การประเมินผลในช่วงก่อนการรักษาและหลังการรักษาว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร การติดตามชีวิตของผู้ป่วยเพื่อดูผลการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง รวมไปถึงเรื่องของการแพร่กระจาย การเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 เพื่อนำมาทำบันทึกและศึกษาการคัดกรองโรคมะเร็งที่มักเกิดขึ้นบ่อยในอนาคต >> มะเร็งเมื่อรักษาหายแล้วสามารถกลับมาเป็นได้อีกไหม? >> การตรวจมะเร็งสามารถทำได้อย่างไร  วิธีการตรวจหามะเร็ง วิธีการตรวจวินิจฉัยมีวิธีการทางการแพทย์ดังต่อนี้ 1. การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายสำหรับผู้สงสัยจะเป็นมะเร็ง มี 2 ลักษณะด้วยกันคือ การตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจเฉพาะที่ 1.1 การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจร่างกายทั่วไปมักตรวจเบื้องต้นโดยพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลก่อนพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ และดูสุขภาพโดยรวม ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสัญญาณชีพ (ตรวจจับชีพจร การหายใจ วัดอุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หากเป็นผู้ป่วยที่เคยได้รับยาเคมีบำบัด ต้องนำน้ำหนักและส่วนสูงไปคำนวณปริมาณยาเคมี  บำบัดด้วยจากนั้นจึงส่งผู้ป่วยพร้อมข้อมูลไปให้แพทย์ตรวจอาการ ซึ่งแพทย์จะเริ่มตรวจอวัยวะสำคัญ อย่าง ปอด หัวใจ ช่องท้อง ผิวหนังทั่วไป และตรวจต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น 1.2 การตรวจร่างกายเฉพาะที่ การตรวจร่างกายเฉพาะที่ แพทย์จะเน้นไปที่จุดที่มีอาการสำคัญ และในตำแหน่งอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีอาการ ประกอบกับกับการตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองใกล้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง เช่น หากเป็นก้อนที่คอ ก็จะตรวจคอ ตรวจช่องปาก และต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ซึ่งการตรวจเฉพาะที่มักตรวจคู่กับการตรวจร่างกายทั่วไปเสมอ 1.3 การตรวจร่างกายประเมินการแพร่กระจายของโรค การตรวจร่างกายเพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรค แพทย์จะตรวจร่างกายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ ที่พบบ่อยๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล ตับ และปอด แพทย์จะตรวจคลำช่องท้องเพื่อดูขนาดของตับและก้อนเนื้อผิดปกติต่างๆ ร่วมกับการตรวจฟังการหายใจดูความผิดปกติของปอด เป็นต้น 2. การตรวจเลือด เป็นการเจาะเลือดแล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ/แล็บ ( laboratory ) เพื่อดูค่าต่างๆ ในการวินิจฉัยโรคและดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ แต่โดยทั่วไปมักเจาะในช่วงเช้า ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการตรวจ เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (ตรวจดูค่าเม็ดเลือด) สามารถตรวจได้ทุกเวลา เพราะไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ การงดอาหารและน้ำในการตรวจเลือดมีตั้งแต่ 1-12 ชั่วโมง ถ้าตรวจเลือดตอนเช้า จะต้องงดอาหารตั้งแต่หลังเที่ยงคืน เพื่อให้ได้ค่าการตรวจถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการตรวจเลือดบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือน้ำ โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณเลือดจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่แพทย์ต้องการตรวจ มีตั้งแต่ใช้เป็นหยด ( CBC ) ไปจนถึงประมาณ 15-30 มิลลิลิตรหรือซีซี และทราบผลภายใน 1-24 ชั่วโมง หลังเจาะเลือดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นแพทย์หรือพยาบาลจะมีข้อแนะนำอย่างอื่น  2.1 การตรวจเลือดซีบีซี การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC ) เป็นการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบดูโรคและความแข็งแรงของการทำงานของไขกระดูกว่าเกิดความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ ในร่างกายหรือไม่ วิธีตรวจเหมือนกับการตรวจเลือดทั่วไป ก็คือการเจาะปลายนิ้ว หรือเจาะเข้าที่บริเวณหลอดเลือดดำ ใช้ปริมาณเลือดค่อนข้างน้อย เพียง 1-3 มิลลิลิตรเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องอดน้ำและอาหารก่อนการเจาะเลือด โดยเม็ดเลือดแดงที่จะใช้ในการตรวจสอบ มีดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดเม็ดเลือดแดงหรือไม่ 2. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC ) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 3. การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด ( Platelet Count ) ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด 4. ตรวจสอบลักษณะเม็ดเลือดแดง-ขาว หากเกิดความผิดปกติ จะสามารถวินิจฉัยอาการบางโรคได้ทันที 2.2 การตรวจเลือดดูค่าน้ำตาล ในกรณีที่ต้องมีการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะต้องมีการงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 10-20 ชั่วโมง การตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลถือเป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นโดยรวม 2.3 การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไต และต่อมไทรอยด์ เป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยอย่างหนึ่ง สำหรับการตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไตจำเป็นต้องงดอาหารและน้ำก่อนตรวจอย่างน้อย 10-12...
- มะเร็ง

การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง

0
การพบแพทย์ แพทย์ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งจะประกอบไปด้วยแพทย์มากมายหลายสาขา ซึ่งจะทำงานร่วมกันในการให้การรักษาและจะมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อภายในทีมแพทย์อย่างเป็นระบบซึ่ง ได้แก่ ศัลยแพทย์สาขาต่าง ๆ ทุกสาขา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ทุกชนิดโดยใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก และในบางกรณีอาจใช้วิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน หรือยาตรงเป้าด้วย แพทย์รังสีรักษา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ทุกชนิดด้วยการใช้รังสีในการรักษาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสีและการใส่แร่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาก็จะมีทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ และบางคนก็ใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน และยาตรงเป้าด้วย อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ทำหน้าที่ให้การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน หรือยารักษาตรงเป้าโดยจะทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่เป็นหลัก ซึ่งถ้าหากขาดแพทย์มะเร็งวิทยาเด็กหรือนรีแพทย์มะเร็งวิทยา ( รักษาโรคมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ) แพทย์กลุ่มนี้ก็จะทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาแทน นรีแพทย์มะเร็งวิทยา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งเฉพาะระบบนรีเวชโดยใช้วิธีผ่าตัด ให้ยาเคมียาฮอร์โมน และยารักษาตรงเป้าแต่ในบางกรณีอายุรแพทย์มะเร็งวิทยาหรือแพทย์รังสีรักษาอาจเป็นผู้ที่ให้ยาเหล่านี้แทนก็ได้ แล้วแต่ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะมีระบบเป็นอย่างไร แพทย์รังสีร่วมรักษา คือแพทย์ผู้ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้วิธีทางรังสีร่วมรักษา แพทย์มะเร็งวิทยาเด็ก ทำหน้าที่ให้การรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดและยาต่างๆ >> ถ้าเป็นมะเร็งแล้วจะทราบได้อย่างไรว่ามะเร็งนั้นอยู่ระยะที่เท่าไหร่ >> วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ  แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยมะเร็ง ในการรักษาโรคมะเร็งมักใช้ทีมแพทย์ในการให้การรักษา ( มีแพทย์จำนวนหลายคนหลายสาขา ) และเพื่อเป็นการลดโอกาสการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาผู้ป่วยซ้ำซ้อนกันที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกเฉพาะในระบบการทำงานของแพทย์ ได้แก่ แพทย์เจ้าของไข้ แพทย์ที่ปรึกษา และแพทย์ที่เป็นหลักในการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยมะเร็ง หมายถึง แพทย์ผู้ทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอตลอดไป อีกทั้งยังมีการทำงานร่วมกันกับทีมแพทย์ที่ปรึกษาคนอื่น ๆ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนรับผิดชอบในการดูแลรักษาผู้ป่วย และถึงแม้ว่าแพทย์เจ้าของไข้จะเป็นแพทย์คนแรกที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ เป็นโรคมะเร็ง แต่เมื่อมีการวินิจฉัยแล้วพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคที่แพทย์เจ้าของไข้คนแรกขาดความชำนาญในการรักษา แพทย์เจ้าของไข้คนแรกจะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการดูแลรักษาแทน ซึ่งถ้าแพทย์เจ้าของไข้ยังคงทำการนัดผู้ป่วยมาเข้ารับการตรวจดูแลรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็จะยังคงเป็นแพทย์เจ้าของไข้อยู่ ส่วนแพทย์คนอื่นๆก็จะทำหน้าที่เป็นแพทย์ที่ปรึกษาในเรื่องที่ตนมีความชำนาญ แต่ถ้าแพทย์เจ้าของไข้คนแรกไม่มีความถนัดรักษาหรือความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะทำการมอบหมายให้แพทย์ที่อยู่ในทีมที่ปรึกษาคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นแพทย์เจ้าของไข้แทน และแพทย์ที่รับมอบหมายให้เป็นคนดูแลรักษาผู้ป่วยก็จะทำหน้าที่นี้ต่อไป แพทย์ที่ปรึกษา หมายถึง แพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้ สำหรับการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะทางนั้น หากแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นแพทย์ที่ปรึกษาต้องการตรวจหรือทำการรักษาเพิ่มเติมจากที่ได้รับการศึกษา จะต้องแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ให้ได้รับทราบก่อนเสมอ หรืออาจจะส่งตัวผู้ป่วยกลับคืนไปให้แพทย์เจ้าของไข้เป็นรับหน้าที่ดำเนินการ โดยแพทย์ที่ปรึกษาก็จะยังคงมีหน้าที่นัดตรวจและดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตตามความรู้ทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาของตน ตรวจโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำของโรค ให้คำแนะนำผู้ป่วยในเรื่องของการดูแลสุขภาพโดยรวมร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้ ดูแล ป้องกัน และทำการรักษาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในสาขาเฉพาะทางด้านตนเอง  แพทย์ที่เป็นหลักในการรักษา หมายถึง แพทย์ผู้ให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการหลัก ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิด จะเป็นศัลยแพทย์หรือแพทย์รังสีรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของของการเกิดโรคมะเร็ง อายุและสุขภาพผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก จะใช้วิธีการรักษาหลักโดยวิธีรังสีรักษา เพราะฉะนั้น แพทย์ที่เป็นหลักในการทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยก็คือแพทย์รังสีรักษา ซึ่งจะเป็นหลักสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนั้น ๆ ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการพบแพทย์  ขั้นตอนต่าง ๆ ในการไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง เข้ารับการรักษาและประเมินผลที่เกิดขึ้นในระยะต่างๆ ของการดูแลรักษาผู้ป่วย อาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป้าหมายในการตรวจคัดกรองมะเร็ง และความรู้สึกวิตกกังวลในอาการที่ผิดปกติ จากนั้นการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยตามขั้นตอนต่าง ๆ จะดำเนินไปจนกระทั่งถึงการติดตามโรคในระยะเวลาที่ยาวนานไปจนตลอดชีวิต เริ่มต้นจากการที่ผู้ป่วยแสดงอาการที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคมะเร็ง มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นหรืออาจเกิดความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากมีญาติเป็นมะเร็งและผู้ป่วยก็มีอาการที่คล้ายคลึงกันกับญาติแต่รู้สึกสงสัยหรืออาจเข้ารับการตรวจเพราะกลัวว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือรับการตรวจเพื่อการคัดกรองโรคมะเร็ง แพทย์ที่ผู้ป่วยไปพบเพื่อขอรับการตรวจจะเป็นแพทย์สาขาใดก็ได้ อาจเป็นแพทย์ในคลีนิคหรือแพทย์ในโรงพยาบาลจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ที่อยู่ใกล้บ้าน หรือถ้าหากผู้ป่วยพอมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยอยู่พอสมควร ผู้ป่วยก็สามารถเลือกที่จะไปพบแพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วยได้เลย เช่น มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังควรไปพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท ซึ่งเป็นศัลยแพทย์หรืออายุรแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา หากพบว่ามีเลือดออกมาจากทางช่องคลอดควรเข้าพบแพทย์สูตินรีเวช หรือหากพบว่ามีก้อนที่บริเวณคอควรไปพบแพทย์หูคอจมูก ( เป็นศัลยแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ) หรืออาจเข้าพบพบแพทย์โรคมะเร็งในสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาหรือในสาขาอายุรกรรมมะเร็งวิทยาก็ได้ พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากอาการสำคัญ ๆ ที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบแล้ว หากมีความกังวลสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งก็ควรที่จะแจ้งแพทย์ให้ทราบด้วย ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถตอบข้อสงสัยของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน เพราะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นอาการอย่างหนึ่งเช่นกัน การไปคลินิก เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย หากได้แจ้งอาการให้แพทย์ได้รับทราบและแพทย์ก็จะให้การวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า อาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นมะเร็งหรือสงสัยว่าน่าจะเป็นมะเร็ง แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้ไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสะดวกหรือมีสิทธิ์เข้ารับการรักษาพยาบาล เมื่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยจะสอบถามอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น และส่งตัวผู้ป่วยไปยังแผนกตรวจโรคที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการรักษาต่อไป การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งในเบื้องต้น กระบวนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ทุกสาขาจะเป็นแบบเดียวกัน คือจะเริ่มทำการวินิจฉัยจากอาการสำคัญ ๆ ก่อน จากนั้นจึงนำอาการอื่น ๆ มาวินิจฉัยร่วมด้วย ดูประวัติทางการแพทย์อื่นๆ ของผู้ป่วย...
- มะเร็ง

มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง

0
มะเร็งดวงตา คือ มะเร็งดวงตา ( Eye Cancer ) เป็น มะเร็งชนิดปฐมภูมิกับ Adnexal Tumors ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของตาและเบ้าตา คือ Uveal Malignant Melanoma และ Retanoblastoma ถึงแม้ว่ามะเร็งดวงตาที่ส่วนของตาและเบ้าตาจะโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากก็ตาม นอกจากมะเร็งปฐมภูมิและ Adnexal Tumors ที่สามารถพบมะเร็งได้แล้ว มะเร็งชนิดทุติยภูมิที่เกิดขึ้นบริเวณเบ้าตาและตาก็มีเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดวงตา สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งตา ผู้ที่เป็นมะเร็งตาอาจพบอาการหรือสัญญาณเตือน ซึ่งอาการที่พบบ่อย ต่อไปนี้ พบก้อนเนื้อบนเปลือกตา มีจุดดำบนม่านตา ตาพร่า หรือสูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน เห็นเงา หรือเส้นแสงกระพริบ มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือทั้งหมด สีของดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาการปวดตาพร้อมทั้งมีน้ำตาไหล การมองเห็นจุดเส้นหยัก หรือวัตถุลอย >> วิธีดูแลตาด้วยตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ดังนี้ >> การฉายรังสีรักษามะเร็งที่ดวงตามีผลกระทบต่อการมองเห็นหรือไม่? ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตา 1. อายุ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในลูกตาเบื้องต้น อายุโดยเฉลี่ยของการวินิจฉัยประมาณ 55 ปี ซึ่งพบได้น้อยในเด็กและผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป 2. เชื้อชาติ : เนื้องอกในลูกตาระยะแรกนั้นพบมากในคนผิวขาว แต่จะพบได้น้อยในคนผิวดำ 3. เพศ : เนื้องอกในลูกตามีผลต่อผู้ชายและผู้หญิงจำนวนเท่า ๆ กัน 4. ประวัติส่วนตัว : ผู้ที่มีอาการป่วยมีความเสี่ยงสูงในการเกิดเนื้องอกในลูกตา 5. ปัจจัยอื่น ๆ : การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าแสงแดดหรือสารเคมีบางชนิดอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในลูกตา    งานวิจัยและการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งดวงตา 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า 3 ปี กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีมากกว่า 3 ปี ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งตา ระยะเฉียบพลัน ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสง และการเคมีบำดัดที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรังสีรักษาและส่วนใดของดวงตาผลข้างเคียงที่พบบ่อยบางส่วนมีดังต่อไปนี้ การสูญเสียขนตา รู้สึกเหนื่อยล้า อาการบวมชั่วคราว มีรอยแดงรอบดวงตา เกิดหมอกหรือมีฝ้าจนมองไม่เห็น ดวงตาขาดความชุ่มชื้น ( แห้งกร้าน ) และการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งเป็นการรักษาที่พบบ่อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีที่ได้รับการรักษา หรือเกิดขึ้นภายหลังการรักษาเพียงเล็กน้อย และจะสามารถหายเป็นปกติภายหลังหยุดการฉายรังสีไปแล้วสักระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลกระทบแบบเฉียบพลันที่แบ่งได้ตามอวัยวะที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. เยื่อตาหรือเยื่อบุตา ( Conjunctiva ) เป็นส่วนที่จะแสดงปฏิกิริยาในทันที่หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้ว อาการที่เกิดขึ้น คือ ดวงตาเยื่อจะมีสีแดง ฉ่ำไปด้วยน้ำ ตาแห้ง 2. บริเวณผิวหนัง ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีแดงซึ่งอาการจะแสดงให้เห็นเด่นชัดในวันที่ 8 เมื่อได้รับการฉายรังสี และจะแดงชัดมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากได้รับการฉายรังสี 3. ต่อมน้ำตา ( Lacrimal Glands )  ดังนั้นก่อนที่จะทำการรักษามะเร็งดวงตาแพทย์ต้องทำการอธิบายและบอกถึงผลกระทลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัว เตรียมใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด และผู้ป่วยก็จะสามารถลดอาการข้างเคียงอาจจะเกิดขึ้นให้น้อยลงด้วย ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557. Hirano M.Clinical examination of voice. In:Arnold GE, Winkel F, Wyke BD, editors. Disorders of human communication. NewYork: Springer-Verlag....
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก

0
การฉายรังสีมีผลต่อกระดูก ในปี ค.ศ.1922 Regaud เป็นผู้ที่ให้คำนิยามกับการเกิด Osteoradionecrosis ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมา James Ewing ก็ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดภาวะ Osteoradionecrosis พบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ปริมาณรังสีที่จะรักษาโรคมะเร็ง สร้างความเสียหายต่อกระดูก ( Bones ) และถ้าปริมาณรังสีที่ กระดูก ได้รับมีค่ามากกว่า 5,000 จนถึง 8,000 Gy จะส่งผลให้กระดูกที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเกิดเน่าหรือตายลง  จากการศึกษาของ Roher พร้อมกับคณะเกี่ยวกับ การฉายรังสี ด้วยเครื่อง Cobalt-60 เข้าสู่ร่างกายว่ามีผลกระทบใดเกิดขึ้นบ้าง พบว่าเมื่อทำการทดลองฉายรังสีเข้าสู่บริเวณขากรรไกรล่างของลิงส่งผลให้ปริมารของเยื่อ Lamella ของ กระดูก ( Bones ) ปริมาณของหลอดเลือดในเยื่อหุ้มกระดูก และจำนวนช่องของไขกระดูกมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดของผู้ป่วยเกิดการอักเสบที่จะทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดปัญหา และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่สูงมากขึ้นอีกจะส่งผลให้เกิด Necrosis แก่ Osteoblast และ Osteocyte ที่อยู่ใน Harvesian System ที่อยู่ข้างในส่วนที่ได้รับการฉายรังสี ซึ่งจะทำให้การบวนการ Necrosis ของส่วนของกระดูก ( Bones ) และResorption ของเนื้อเยื่อ Lamella ที่เกิดการตายไปแล้วมีการทำงานที่ลดลง จึงทำให้กระดูก ( Bones ) ทำการซ่อมแซมตัวเองได้น้อยลง ต่อมา Matsubayashi พร้อมกับคณะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การฉายรังสี โดยทำการศึกษาจากศพของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง พบว่าเมื่อเซลล์มะเร็งตายไปและเกิด Necrosis ขึ้นแล้ว พบว่าจะมี Fibrous Tissue เข้ามาแทนที่จนสุดท้ายทั้งหมดจะถูกแทนที่ด้วย Woven bone จนกลายเป็น Lamellar bone ในลำดับสุดท้าย ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาประมาณ 4 เดือน – 13 ปี การที่จะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าได้รับปริมาณรังสีมากก็จะเกิดอาการแทรกซ้อนได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยนั่นเอง ภาวะ Osteoradionecrosis จะส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลงมาก ทำให้ กระดูก ( Bones ) ไม่สามารถรับน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในส่วนของกระดูก Long Bone ดังนั้นในขั้นตอนการทำการรักษาต้องทำการป้องกันส่วนของกระดูก เพื่อให้กระดูก ( Bones ) มีความสามรถในการซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสู่สภาพปกติ เช่น การทำ Internal Fixation การเกิด Osteoradionecrosis ในผู้ป่วยจะมีลักษณะคล้ายกับการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำที่เกิดเนื่องจากการรักษาด้วย การฉายรังสี ซึ่งการแยกอาการทั้งสองอย่างนี้สามารถแยกได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อกระดูกไปทำการตรวจด้วยวิธีการ Precutaneous Needle การเกิด Osteoradionecrosis ในส่วนของ Femoral Head จัดเป็นอาการแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงกับผู้ป่วย ทำให้เกิด Necrosis และหลอดเลือดอักเสบเกิดขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของ Femoral Head ที่มีการเกิด Necrosis ในส่วนของ กระดูก ( Bones )>> ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกสามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้จริงหรือ ? >> การฉายรังสีมีผลกระทบต่อไขกระดูกหรือไม่ อบ่างไร ช่วงแรกหลังจากที่ผู้ป่วยทำการฉายรังสีผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนน่าตกใจ เพราะว่ากระดูกอ่อนบางส่วนได้ถูกทำลายและหลุดออกจาก Subchondral ที่อยู่ภายในข้อต่อกระดูกส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อน ไหวได้หรือเคลื่อนไหวได้อย่างลำบากมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถสังเกตได้จากการทำเอกซเรย์ MRI จะเป็นวิธีที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูงที่จะบอกได้ว่าเป็น...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ

0
มะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ มะเร็งศีรษะ ( Head Cancer ) และ มะเร็งลำคอ ( Throat Cancer ) มีหลายครั้งที่การรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอที่ต้องทำการฉายแสงเข้าสู่บริเวณศีรษะและคอ ซึ่งเมื่อทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของต่อมน้ำลาย ต่อมรับรู้รส กระดูก และส่วนของฟัน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้ >> อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีบริเวณลำคอคือ? >> ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งมีอะไรบ้าง ข้อดีของการฉายรังสีในระยะใกล้ บริเวณรอยโรคจะได้รับรังสีในปริมาณที่สูง เพราะว่าส่วนของรอยโรคอยู่ใกล้กับไอโซโทปของรังสี 2. เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงจะได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำ เพราะว่าเนื้อเยื่อนั้นอยู่ห่างจากไอโซโทปของรังสี การรักษามะเร็งศีรษะและลำคอสามารถทำการรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้ได้ทั้งแบบที่เป็นการฝังเข้าไปในรอยโรคและแบบที่วางในช่องโพรง ผลกระทบจากการฉายรังสีมะเร็งศีรษะ และมะเร็งลำคอ 1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อต่อมน้ำลายจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ แน่นอนว่า น้ำลาย อยู่ในลำคอ มีหน้าที่ในการช่วยหล่อลื่นอาหารให้สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ลำไส้ได้ง่าย ช่วยรักษาสมดุลของแร่ธาตุในฟัน ช่วยทำความสะอาดช่องปาก รักษาความเป็นกรด-ด่างภายในช่องปาก และยังเป็นตัวที่ช่วยย่อยอาการปากชนิดภายในช่องปากอีกด้วย น้ำลายจะสร้างจากต่อมน้ำลาย โดยที่ต่อมน้ำลายแต่ละต่อมจะมีหน้าที่ในการสร้างและหลั่งน้ำลายที่แตกต่างกันออกมา คือ ต่อม Parotid ซึ่งประกอบด้วย Serousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายเป็น Proteinaceous ที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำ 2. ต่อม Submandibular ซึ่งประกอบด้วย Mucous และ Serousacini ที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวไม่มาก 3. ต่อม Sublingual ซึ่งประกอบด้วย Mucousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะเหนียวมากที่สุด ทั้ง 2 ต่อมนี้ต่อมหลักที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายในช่องปาก โดยจะทำการผลิตน้ำลายประมาณ 70-80 % ส่วนที่เหลืออีก 20-30% จะผลิตด้วยต่อมน้ำลายขนาดเล็กอื่น ๆ ในสภาวะปกติละสภาวะที่ได้รับการกระตุ้น เช่น เวลาหิว หรือการเห็นอาหารที่อยากรับประทาน เป็นต้น ต่อม Parotid จะทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายประมาณ 65-75 % และต่อม Submandibular กับต่อม Sublingual จะทำการผลิตน้ำลายออกมาเพียงแค่ 2-5 % เท่านั้น เมื่อต่อมน้ำลายได้รับการฉายรังสีเข้าไปรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในต่อมน้ำลายจะถูกทำลายไป ส่งผลให้ต่อมน้ำลายไม่สามารถหลั่งน้ำลายตามปกติได้ โดยหลังจากที่เนื้อเยื่อในต่อมน้ำลายโดนทำลายไปแล้วส่วนนี้จะถูกแทนที่ด้วย Fibrous Connective Tissue ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ และมี Plasma Cell กับ Lymphocytes แทรกซึมอยู่ด้วย ทำให้ต่อมน้ำลายเกิดเป็น Atrophy ผลกระทบจากมะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอจนกลายเป็นพังผืดในที่สุด ถึงแม้ว่าต่อมน้ำลายจะเป็นอวัยวะส่วนที่มีการแบ่งตัวที่ช้ามากเมื่อเทียบกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ แต่ว่าเซลล์ที่อยู่ในต่อมน้ำลายกลับมีความว่องไวต่อการฉายรังสีสูงมาก โดย Serous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Submandibular จะมีความว่องไวมากว่าที่อยู่ในต่อม Parotid และMucous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Sublingual จะเป็นส่วนที่มีความว่องไวต่อรังสีน้อยที่สุด ผลกระทบจากการฉายแสงรักษา มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ ที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายเมื่อได้รับการฉายรังสีคือ ต่อมน้ำลายจะทำการผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปากแห้ง ซึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 7 วัน และปริมาณของรังสีที่ส่งผลกระทบจะเริ่มตั้งแต่ปริมาณ 2.25 Gy เท่านั้น เรียกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทำการเริ่มฉายรังสีเลยทีเดียว เมื่อน้ำลายมีความเข้มข้นน้อยลงกลับพบว่าความเข้มข้นของแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลายบางชนิดมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยโซเดียม คลอรีน แมกนีเซียมโปรตีนและแคลเซียมจะมีความเข้มข้นที่สูงขึ้น แต่ไบคาร์บอเนตที่อยู่ในน้ำลายกลับมีความเข้มข้นที่ลดลง ส่งผลให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้นด้วย 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสีต่อเยื่อบุ Mucous Membrane จากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ Mucous Membrane เป็นเนื้อเยื่อที่มีความว่องไวต่อรังสีสูงและมีการผลัดเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับ Mucous Membrane จะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น Fractionation ของรังสีที่ใช้ในการรักษา ตำแหน่งที่รังสีทำการฉาย...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก

0
มะเร็งในเด็ก อดีตการรักษามะเร็งในเด็ก ให้หายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 70 เป็นต้นมาได้มีการรักษาผู้ป่วยเด็กด้วยวิธีการรักษาที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูง ซึ่งวิธีการที่นิยมนำ มารักษาโรคมะเร็งในเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ หลังจากที่ทำการรักษาแล้วนอกจากผลกระทบที่เกิดแบบเฉียบพลันแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็ได้รับการศึกษาหลังจากที่ผู้ป่วยเด็กได้ทำการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการรักษาทั้งที่มาจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี และยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากชนิดของโรคด้วย ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยแบ่งตามชนิดของมะเร็งที่ทำการรักษาเป็นหลัก ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว Solid Tumors ชนิดต่างๆ และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึง Secondary Neoplasms ด้วย >> ปัจจัยที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งในเด็กคืออะไร อยากรู้มาดูกัน >> สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในเด็กนั้นคืออะไรมาดูกัน ชนิดของมะเร็งในเด็ก 1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) พบว่าในผู้ป่วยเด็กประมาณ 30% จะป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ซึ่ง 60-70 % ของผู้ป่วยสามารถรักษาให้หาย และจาการศึกษาผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รักษาหายและรอดชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบว่าผู้ป่วย 31 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 77 คนมีความผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปนานแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบางส่วนของร่างกายเท่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย จากการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ Lymphoblastic ( Acute Lymphoblastic Leukemia ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ALL แต่จากการผลการศึกษาที่ได้รับมาก็สามารถนำมาอธิบายหรือปรับใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Non- Lymphocytic หรือ ANLL ได้ด้วย ซึ่งความผิดปกติในระยะยาวที่เกิดขึ้น คือ 1.1 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต จากการศึกษาและเฝ้าสังเกตการณ์พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่กการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดทั้งแบบที่ใช้ยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ไม่ส่งผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก ดังนั้นจึงสามารถสรุกได้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กนั้นเกิดขึ้นจากการรักษา ด้วยการฉายรังสี และผลกระทบจะเกิดขึ้นกับบริเวณที่โดนรังสีโดยเฉพาะกระดูกที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตเท่านั้นไม่ใช่เกิดขึ้นกับอวัยวะทุกส่วน รวมถึงการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะต่อ Hypothalamic Pituiary Axis ที่จะส่งผลให้ร่างกายของเด็กเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone หรือไม่ก็ส่งผลต่อการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์ได้ แต่บางครั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยยาที่มี Steroid นานเกินไปหรือการเกิดอาการป่วยชนิดเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อีกด้วยและพบว่าการฉายรังสีแบบ Craniospinal Irradition มีการรายงานผลกระทบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็กที่รอดชีวิตจากการรักษาได้ แต่ว่าความสูงโดยเฉลี่ยที่ลดลงนั้นมีความน้อยมาก และยังพบว่าโรคมะเร็งในเด็กที่มีอายุน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีอายุมาก และผู้ป่วยเด็กเพศหญิงจะได้รับผลกระทบด้านการเจริญเติบโตมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายคณะ เช่น Kirk, Costin, Blatt, Moell พร้อมทั้งคณะของพวกเขา ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อทำการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะ พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL นั้นส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติของ Growth Hormone เกิดขึ้น ทั้งด้านการสร้างฮอร์โมนที่มีปริมาณน้อย ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อศีรษะได้รับรังสีประมาณ 18-24 Gy และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชายทำให้มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่ช้ากว่าเด็กปกติ การฉายรังสีแบบ Craniospinal ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อความสูงของท่านั่งของผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผลกระทบจากการฉายรังสีส่งผลต่อกระดูกสันหลัง แต่ว่าผลกระทบแบบนี้จะเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตในส่วนที่มีการฉายรังสีโดยตรง นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Growth Hormone แล้ว ผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำก็สามารถส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเด็กที่เตี้ยลงของเด็กได้ โดย Robinson กับคณะพบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 7 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Compensated ส่วนอีกร้อยละ3 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Primary ผลกระทบที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติของผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย Corticosteriod ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน หรือในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคไตและโรคหอบหืดที่ทำการรักษาด้วย Prednisolone ในปริมาณที่น้อยกว่า 3 mg/m²ต่อวัน ถ้ามีการรักษาในระยะเวลาที่น้อยกว่า 6 เดือนผลกระทบด้านการเจริญเติบโตของผู้ป่วยนั้นมีค่าน้อยมาก แต่ถ้าทำการรักษาในระยะเวลาที่นานกว่า 6 เดือนจะพบว่าการเจริญเติบโตของผู้ป่วยมีค่าน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าปริมาณ Corticosteroid ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิด ALL จะมีปริมาณมาก แต่การที่จะใช้...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก

0
ไขกระดูก ไขกระดูก ( Marrow ) กับผลกระทบที่เกิดจากการรักษาด้วยการฉายรังสีต่อ Haemopoieic Tissue จะมีผลโดยตรงกับ ไขกระดูก เลือดและระบบน้ำเหลือง ได้มีการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื้อง และพบว่าการรักษาด้วยรังสีในสัตว์ทดลอง พบว่าการป้องกัน Haemopoieic Tissue หรือการฉีดไขกระดูกใหม่เข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้สัตว์ทดลองช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองมีชีวิตรอดเพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบไขกระดูก อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นได้แทบทุกชนิดที่อยู่ในร่างกาย ( Pluripotent Heamatopoietic System Cells ) ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อชั้น Stroma ที่เป็นหน่วยสำคัญมากในของ Cell Line ที่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ทั้งชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ต้นกำเนิดว่าเซลล์ดังกล่าวจะเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ชนิดใดต่อไป สำหรับผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายเต็มที่แล้วเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดจะอยู่ในกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน กะโหลกศีรษะ กระดูกโคนขา กระดูกสะบัก และส่วนหัวของกระดูกแขนท่อนบน ส่วนในเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตกระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในส่วนของกระดูกยาว เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ง่ายๆ โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกายนั่นเอง ซึ่งปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายไปจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ไขกระดูกได้รับและส่งผลเข้าไปยับยั้งกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด>> การรักษามะเร็งด้วยรังสีส่งผลกับกระดูกหรือไม่ มาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ >> การฉายรังสีรักษามีผลกระทบอย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะเซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่ใน ไขกระดูก ไม่ว่าจะอยู่ตามส่วนใดของร่างกายก็จะมีความหนาแน่นเท่ากันทั้งหมด แต่ทว่าไขกระดูกที่มีเซลล์ต้นกำเนิดจะมีปริมาณลดลงตามอายุที่มีการเพิ่มขึ้นของคนเรา และบริเวณที่เคยเป็นไขกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยไขมัน ในวัยผู้ใหญ่ที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว กระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นมากที่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน และในยามจำเป็นที่กระดูกส่วนที่ถูกแทนที่ด้วยไขมันร่างกายสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับให้ไขมันส่วนดังกล่าวกลายกลับมาเป็นไขกระดูกแดงได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าเซลล์ต้นกำเนิด สเต็มเซลล์ ที่อยู่ในไขกระดูกแดงทุกส่วนจะมีค่าเท่ากัน แต่ภายในกระดูกกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ภายในโครงกระดูกไม่สามารถที่จะกระจายตัวได้เท่ากันทุกส่วน โดยพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้กับผิวด้านในของโครงกระดูกจะพบเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้ แต่ในบริเวณตรงกลางของ Marrow Space กลับพบเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือเซลล์ต้นกำเนิดที่หยุดการแบ่งตัวไปแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในส่วน Marrow Space เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองและฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เซลล์ต้นกำเนิดนี้จะพบได้น้อยในกระแสเลือดแต่ก็สามารถพบและนำมาสกัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้ โดยการสกัดแยกจากเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งการสกัดต้องทำการสกัดหลายครั้งมากจึงจะได้เซลล์ต้นกำเนิดออกมา เซลล์ต้นกำเนิดที่สกัดออกมาได้นี้คือเซลล์ต้นกำเนิดปลูกถ่ายเข้าสู่ตัวเองอีกครั้งได้ ( Autologous Transplantation ) ไขกระดูก ไม่ได้มีหน้าที่ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไขกระดูกยังมีหน้าที่ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย โดยทำหน้าที่สร้าง Lymphocyte Macrophage และ Dendritic Cell ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายระดับปฐมภูมิอีกด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พื้นฐานชนิดต่าง ๆ ได้ ทั้งในชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid และรูป่างของเซลล์เหล่านี้ก็เหมือนกับเซลล์ชนิด Lymphoid ที่อยู่ใน ไขกระดูก ส่งผลให้ไม่สามารถทำการแยกเซลล์เหล่านี้ที่อยู่ในไขกระดูกได้จากรูปร่างของเซลล์ เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถสูงในการซ่อมแซมความเสียหายและฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ทว่าความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ต้นกำเนิดก็ยังขึ้นอยู่กับระยะของเซลล์ต้นกำเนิดด้วย โดยพบว่าเซลล์ที่มีอัตราการฟื้นฟูตัวเองได้ดีที่สุดคือเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือระยะที่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นได้น้อยมาก และโอกาสที่จะพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมมีแค่ 1 ใน 50,000 เซลล์เท่านั้น และจากการศึกษาพบว่า Pluripotent Stem Cell เพียงแค่หนึ่งเดียวก็สามารถที่จะกู้ระบบเลือดของสัตว์ทดลองที่ถูกฉายรังสีให้กลับคืนมาได้ทั้งหมดอีกด้วย เซลล์ต้นกำเนิดที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีความสามารถในการแบ่งเพื่อเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้จะไม่มีการสูญเสียไปเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดสำรองมีอยู่อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการฟื้นฟูและสร้างเซลล์เม็ดเลือดอย่างน้อย 5 รุ่นต่อไป แต่ว่าในการปลูกถ่ายไขกระดูกเข้าไปใหม่นั้น เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่มีเกิดขึ้นให้เห็น ส่งผลให้เซลล์ต้นกำเนิดไม่มีความสามารถในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีได้ระบบสำรองของกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Haemopoietic Reserve ) มีอยู่มากมาย เนื่องจากเซลล์มีความสมารถในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง และจากการ Pluripotent Stem Cell ที่มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ถึงแม้ว่าเซลล์ชนิดนี้จะไม่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองแต่ก็สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้มากมายเพียงพอต่อการผลิตเม็ดเลือดใหม่ ๆ ให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย กระบวนการผลิตเม็ดเลือด เมื่อเราทราบถึงความสำคัญของระบบการผลิตเม็ดเลือดกันแล้ว ที่นี่เรามาดูกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีกระบวนการอย่างไรกันบ้าง 1. เซลล์เริ่มแรกในกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Progenitor Cell ) กระบวนการสร้างเซลล์ ไขกระดูก เริ่มแรกจะเกิดเนื่องมาจาก pluripotent Stem Cell จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์โดยอาศัย Growth Factor ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งแบบเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของร่างกายและแบบที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย โดยที่เซลล์เริ่มแรกที่เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีรูปร่างที่ไม่เด่นชัดเท่าใดนัก และยังมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองที่น้อยมากด้วย...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

0
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการทำลายเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันนี้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี ( Concurrent Chemoradiotherapy ) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายาเคมีบำบัดจะเข้าไปช่วยลดจำนวนและทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการกระจายตัวอย่างจำเพาะ มีผลข้างเคียงยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่มีการฉายรังสีและบริเวณที่ไม่มีการฉายรังสี ดังนั้นการเลือกเอายาเคมีบำบัดมาใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสีนั้น ต้องมีการเลือกขนาดของยากับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่เหมาะสมกันด้วย เพื่อการรักษาด้วย 2 วิธีนี้จะได้มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยอีกด้วย การให้ยาเคมีบำบัดมี การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษา ( Concurrent Therapy ) 2. การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการฉายรังสีในการรักษา ( Induction Chemotherapy ) 3. การให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลังจากการฉายรังสีในการรักษา ( Adjuvant Therapy ) ดังนั้นการเลือกยาเคมีบำบัดที่จะนำมาใช้ร่วมกับการฉายรังสีย่อมมีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักกับยาเคมีบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกัน>> การฉายรังสีรักษามีผลกระทบอย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูบทตวามนี้ค่ะ >> เคมีบำบัดส่งผลกระทบต่อการรักษาหรือไม่อย่างไร มาดูกันค่ะ ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและผลข้างเคียง 1. Antimetabolites ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีการใช้รักษามายาวนานแล้ว โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism หรือและทำตัวคล้ายกับเป็น Nucleoside Analogs ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการฉายรังสี คือ 1.1 5-FU เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines เป็นยาที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนานร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งและยังมีการใช้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ตัวอย่างมะเร็งที่รักษาด้วยยาชนิดนี้พร้อมกับการฉายรังสี คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งศรีษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ซึ่งยาชนิดนี้มีกลไกในการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism ด้วยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Thymidilate Synthetase ที่เป็นเอนไซม์ตัวสำคัญในการสร้างและสบาย DNA พร้อมทั้งเข้าไปจับกับสายของ RNA และ DNA ให้เกิดความเสียหายหรือความผิดปกติจนเซลล์ของมะเร็งไม่สามารถมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้ การให้ยา 5-FU ในการรักษาต้องให้ด้วยวิธีการฉายเข้าเส้นเลือด เนื่องจากยา 5-FU สามารถถูกทำลายได้สูงด้วยเอนไซม์ Dihydro Pyrimidne Dehydrogenase ( DPD ) ซึ่งจะพบมาในบริเวณผนังของลำไส้ เมื่อให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายแล้วมีการหลงเหลืออยู่ในร่างกาย ยา 5-FU ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ยาส่วนที่หลงเหลืออยู่นั้นจะถูกกำจัดโดยเอนไซม์ DPD ออกไปจนหมด สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อได้รับยา 5-FU ก็จะมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นี้แม้ว่าผู้ที่ขาดภาวะเอนไซม์นี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม แต่ทว่าในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยยาชนิดนี้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ DPD บางรายก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้เช่นกัน และจากการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา 5-FU มี ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU โดยการให้ยาเพื่อเสริมประสิทธิภาพพบว่ายา Leucovorin เป็นตัวยาชนิดที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของยา 5-FU ได้ดีที่สุด และพบว่าการให้ยา 5-FU แบบต่อเนื่อง (Continuous Venous Infusion) นั้นส่งผลให้ยานี้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากกว่าการให้ยาแบบระยะสั้น ๆ (Short Bolus) ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU จะทำให้ผลความเสียหายที่เกิดจากวิธีการให้ยานี้ก็มีความต่างกันตามไปด้วย แต่เมื่อนำการรักษาด้วยยา 5-FU ร่วมกับการฉายแสงก็พบว่าการให้ยาแบบต่อเนื่องก็ยังส่งผลต่อการรักษาได้ดีกว่าการให้ยาแบบสั้น ๆ ด้วยเช่นกัน ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ผลข้างเคียงที่พบได้จากการให้ยา 5-FU ในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ท้องเสีย อ้วก Diarrhea และการกดไขกระดูกซึ่งเป็น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นอกจากนั้นยังมีการพบอาการเกี่ยวกับระบบประสาทแบบเฉียบพลันอีกด้วย เช่น การนอนไม่หลับ เป็นต้น แต่ทว่าผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU กับการให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งมีวิธีการที่ยุ่งยากมากจึงไม่เป็นที่นำนิยมนำมาใช้ในประเทศ...
- มะเร็ง

วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค

0
การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ มะเร็งเป็นโรคที่จะต้องมี การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ ที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าโรคทั่วไป เพราะไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดจากการตรวจในครั้งแรกว่า ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและใช้เวลาในการตรวจนานพอสมควรเลยทีเดียว โดยทั้งนี้ในการตรวจและแปลผล จะต้องใช้เวลาเป็นอย่างน้อย 3 วันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์ เลยก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากที่สุดว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งจริงและเป็นมะเร็งชนิดไหน รวมทั้งจะได้ลดความผิดพลาดในการตรวจให้เหลือน้อยที่สุดด้วย นอกจากนี้การรักษาก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนเช่นกัน และอาจเกิดผลข้างเคียงจากอาการแทรกซ้อนได้อีกด้วยก่อนเริ่มรักษาจึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง และที่สำคัญจะต้องใช้เวลาในการรักษานานมาก ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน >> มะเร็งมีระยะของโรคกี่ระยะกันนะ อยากรู้มาดูกันค่ะ >> วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็ง เริ่มแรกจะต้องทำ การตรวจวินิจฉัย โรคดูก่อนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แล้วจึงตามด้วยการประเมินระยะของโรค ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อจะได้หาแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเมื่อเข้าสู่ช่วงการรักษาจนครบการรักษาแล้ว ก็จะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกนั่นเอง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แน่ชัด โดยแบ่งได้ดังนี้ 1. ตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อคัดกรองว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่และวางแผนการรักษาได้อย่างถูกวิธี 2. ตรวจประเมินระยะของโรคว่าอยู่ในระยะไหนแล้ว เพื่อจะได้เตรียมการรักษาอย่างเร่งด่วน และพิจารณาเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด 3. ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม 4. ตรวจประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลการรักษาที่เกิดขึ้นว่าผลที่ได้มีความน่าพอใจมากแค่ไหน หรือหากผลไม่ค่อยน่าพอใจมากนักก็จะได้เปลี่ยนแผนการรักษาใหม่นั่นเอง 5. ติดตามผลระยะยาวของการรักษาไปจนตลอดชีวิต เพื่อระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งอีกครั้งและอาจมีความรุนแรงมากกว่าเดิม 6. ตรวจวินิจฉัยเมื่อพบโรคหลงเหลือหลังจากครบกำหนดในการรักษาแล้ว 7. ตรวจวินิจฉัยกรณีโรคอาจย้อนกลับเป็นซ้ำอีกหรือแพร่กระจายได้ การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในผู้ป่วยใหม่ สำหรับการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยใหม่ว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ จะมีวิธีการตรวจดังนี้ ไปพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญหรือความกังวลว่าตนเองกำลังป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง 2. แพทย์จะทำการสอบถามผู้ป่วยเพิ่มเติมถึงอาการอื่นๆ ที่แพทย์ต้องการทราบเพื่อประกอบการวินิจฉัย 3. สอบถามประวัติการรักษาทางแพทย์ของผู้ป่วย รวมถึงประวัติอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น อาชีพที่ทำ การใช้ยา การเจ็บป่วยที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน จากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจเฉพาะที่ เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดมากขึ้น ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ก็อาจจะมีการตรวจเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งด้วย ซึ่งก็จะมีวิธีการตรวจหลากหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์ต้องการตรวจแบบไหน อย่างไรก็ตาม การจะตรวจหามะเร็งได้อย่างแน่ชัดมากที่สุด ก็คือการตัดเอาชิ้นเนื้อจากแผลหรือก้อนเนื้อมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยา จะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือเป็นโรคอื่นๆ กันแน่ และเมื่อทำการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว แพทย์ก็จะทำการประเมินระยะของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะไหน พร้อมกับประเมินสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีโรคมะเร็งเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่สามารถทำการตรวจคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง ส่วนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องอาศัยการสังเกตความผิดปกติของตัวเองแทน วิธีการประเมินระยะของโรคมะเร็งอย่างไร 1. สำหรับการประเมินระยะของโรค การประเมินระยะ ของโรค ว่าโรคอยู่ในระยะไหน มีการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนไหนแล้วบ้าง เพื่อประเมินวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม แพทย์จะมีขั้นตอนในการรักษาดังนี้ 1.1 ประเมินระยะของโรคมะเร็งในผู้ป่วยใหม่ เพราะเมื่อทราบระยะของอาการป่วยก็จะทำให้วางแผนการรักษาและเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น 1.2 ประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลว่าการรักษาได้ผลดีแค่ไหนหรืออาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาอย่างไรบ้างหรือเปล่า 1.3 ประเมินผลหลังครบการรักษา เพื่อดูว่าหลังการรักษาผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งหรือไม่ หรือมีอาการอย่างไรบ้าง ดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า 1.4 ประเมินผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพราะผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคมะเร็งก็มักจะมีโอกาสที่จะกลับมาป่วยอีกได้ จึงทำให้แพทย์ต้องคอยติดตามประเมินผลผู้ป่วยตลอดเวลา เพราะหากมีแนวโน้มว่าจะกลับมาเป็นอีก ก็จะได้ทำการรักษาได้ทันนั่นเอง 2. การประเมินการลุกลามเฉพาะที่ โดยมี การประเมิน ดังนี้ 1. ประเมินดูขนาดของก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็ง ว่ามีขนาดแค่ไหน เพราะจะเป็นตัวบอกได้ว่า ผู้ป่วยได้มีอาการลุกลามของมะเร็งไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว 2. ประเมินการรุกล้ำเฉพาะที่ของโรคมะเร็ง ซึ่งก็คือการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงนั่นเอง เพื่อจะได้ประเมินวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น 3. ประเมินการลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง 4. ประเมินก้อนเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงตลอดช่วงรับการรักษาและหลังครบการรักษา 5. ประเมินโอกาสที่จะย้อนกลับมาเป็นโรคมะเร็งได้อีก ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาว โดยทั้งนี้ใน การตรวจประเมิน การลุกลามของโรคมะเร็งนั้นมักจะตรวจไปพร้อมกับการประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งด้วย ซึ่งขั้นตอนที่นิยมใช้บ่อยๆ ในการตรวจก็มีดังนี้ การประเมินการแพร่กระจายของมะเร็ง ตรวจภาพเนื้อเยื่อด้วยการเอกซเรย์ธรรมดา การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การอัลตราซาวด์หรือเอ็มอาร์ไอ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรตรวจด้วยวิธีไหนอย่างไร ตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินผลการรักษา      3. การตรวจเพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง โดยจะตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนไหนแล้วบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด สมอง ตับและกระดูกเป็นต้น โดยวิธีการตรวจหากเป็นการตรวจการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด จะตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพราะเป็นวิธีที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสามารถประเมินโรคต่างๆ ของปอดและหัวใจได้และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไปอีกด้วย แต่การตรวจการแพร่กระจายที่เข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นั้น จะตรวจโดยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นแพทย์จึงมักจะเลือกตรวจเฉฑาะกับบางรายเท่านั้น โดย ผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะรักษาในส่วนที่ทำให้เกิดอาการ เข่น ใช้รังสีรักษา เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยหากมะเร็งแพร่เข้าสู่กระดูก หากโรคอยู่ในระยะที่แพร่กระจายไปอย่างมากแล้ว...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด

0
ผลข้างเคียงในการรักษามะเร็งจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด ผลข้างเคียงในผู้ป่วยที่เข้ารักการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ผลข้างเคียงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ดังนั้นผลข้างเคียงจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. เกิดกับอวัยวะเดียวกัน ความเจ็บปวดนี้เกิดเนื่องจากเคมีและรังสีที่ใช้ในการรักษาเข้าไปทำปฏิกิริยากับอวัยวะเดียวกัน แต่แคมีและรังสีนั้นไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกันทั้งสิ้น ส่งผลให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากทั้งเคมีและรังสีเกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะส่วนนั้น 2. เคมีบำบัดเสริมให้รังสีทำงานได้มากขึ้น ความเจ็บปวดกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับการฉายรังสีเข้าไป แล้วมีการให้เคมีบำบัดเข้าไป ซึ่งเคมีบำบัดที่ได้รับเข้าไปนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของรังสีที่ฉายเข้าให้สามารถทำงานได้มากขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายของเนื้อเยื่อเป้าหมายที่ต้องการทำลายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นนั่นเอง 3. การทำงานร่วมกันของเคมีบำบัดและรังสี เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดพร้อมกันหรือต่อเนื่องกันทันที แต่ความเจ็บปวดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพียงอย่างเดียว ซึ่งสันนิฐานว่าเคมีที่ใช้รักษากับรังสีทำปฏิกิริยาแบบเสริมกันส่งผลให้ความรุนแรงในการทำลายเซลล์เพิ่มมากขึ้น 4. รังสีช่วยให้เคมีบำบัดทำงานได้ดีขึ้น เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการให้เคมีและมีการฉายรังสีเข้าไปด้วยเพื่อเข้าไปกระตุ้นให้เคมีสามารถทำงานได้ดีขึ้นในการทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง เพื่อที่จะกำจัดมะเร็งทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่และมะเร็งชนิดที่แพร่กระจายให้หมดไปจากตัวผู้ป่วยอย่างสิ้นเชิง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีบำบัดในอุดมคติที่ทั้งแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยต้องการก็คือ  ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแพร่กระจายได้อย่างสิ้นเชิงและเข้าไปช่วยเสริมประสิทธิภาพของการฉายรังสีให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรังสีที่ฉายก็ต้องทำลายเซลล์มะเร็งในส่วนที่ยาเคมีบำบัดไม่สามารถทำลายได้อย่างหมดสิ้น ปัจจุบันนี้การรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดก็ตาม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยสองวิธีนี้ก็ยังมีอยู่มากทีเดียว ผลกระทบมีทั้งที่เป็นแบบเฉียบพลันและแบบระยะยาวหลังจากการรักษา ซึ่งผลกระทบนี้ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นแบบใดและเมื่อใดได้แต่เป็นการคาดเดาล่วงหน้าเท่านั้น >> การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือไม่ >> การให้คีโมบำบัดมีผลข้างเคียงอย่างไร การทำความเข้าใจอย่างท่องแท้ถึงปฏิกิริยาที่สร้างความเจ็บปวดในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากเพราะว่ามีปัจจัยหลายตัวที่เข้ามามีผลทั้งวิธีการให้เคมี วิธีการฉายรังสี ความเข้มข้นของเคมี ความเข้มข้นของรังสี จำนวนครั้ง ระยะเวลาระหว่างการให้เคมีและการฉายรังสี ทุกอย่างมีผลต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันแพทย์และผู้เชี่ยวชาญกำลังทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อที่จะได้ออกแบบการรักษาที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุดและสร้างผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยน้อยที่สุด ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสี ผลกระทบแบบเฉียบพลัน ผลกระทบแบบเฉียบพลัน คือ ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำการรักษาอยู่หรือว่าเกิดขึ้นทันทีหรือไม่กี่วันภายหลังจากได้รับการรักษา ผลกระทบแบบเฉียบพลันมักเกิดจากการให้เคมีบำบัดเสียมากกว่า ซึ่งผลกระทบแบบนี้สามารถลดหรือทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดของยา สูตรยา ระยะเวลาในการให้มีค่า Tolerance ให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย ผลกระทบแบบเรื้อรัง ผลกระทบแบบเรื้อรัง คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาได้เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นเดือนหรือเป็นปี หรือหลายปี ซึ่งผลกระทบแบบเรื้อรังนี้ส่วนมากจะเป็นผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเสียมากกว่า เพราะว่าผู้ป่วยบางรายก็มีผลกระทบแบบนี้เกิดขึ้นแต่บางรายก็ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น จึงไม่แน่นอนว่าผู้ป่วยทุกคนจะเกิดผลกระทบเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งผลกระทบแบบนี้มักจะเกิดจากการฉายรังสีเพราะว่าการรักษาแต่ละครั้งนั้นใช้ปริมาณรังสีน้อย แต่เมื่อทำการรักษาหลายครั้งจะมีการสะสมของรังสีในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการรักษาด้วยรังสีจึงจะส่งผลในระยะยาว ทั้งผลกระทบเฉียบพลันและผลกระทบเรื้อรังนั้นไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อใด และถึงแม้ว่าในการรักษาจะเกิดผลกระทบเฉียบพลันแต่ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะเกิดผลกระทบในระยะยาว หรือในการรักษาไม่เกิดผลกระทบระยะสั้นก็ใช่ว่าจะไม่เกิดผลกระทบระยะยาว การที่จะรู้ว่าจะเกิดผลกระทบระยะแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการศึกษาแบบ Clinical และแบบ Subclinical การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีล้วนแต่สามารถสร้างผลกระทบกับเซลล์ได้ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีก่อนก่อให้เกิดความเสียหายระดับ Subclinical เมื่อมีการให้เคมีบำบัดในเวลาต่อมาก็จะสามารถแสดงผลทาง Clinical ออกมาให้เห็นได้ เช่น การรักษาเด็กที่เป็น Wilms’tumor ด้วยการให้ฉายรังสีก่อนแล้วจึงให้เคมีบำบัดด้วยยา Dactinomycin เด็กจะมีอาการ Radiation Recall ที่บริเวณผิวหนัง อาการที่ผิวหนังที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วหลายเดือน และเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีโดยตรงเท่านั้น แสดงว่าการให้ฉายรังสีหลังจากการให้เคมีบำบัด จะทำให้อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในระดับ Subclinic นั่นแสดงอาการออกมาให้เห็นหรือแสดงอาการในระดับ Clinic นั่นเอง และอาการที่เกิดขึ้นในระยะยาวอาจจะก็ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เช่น ในการรักษาที่เกิดปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ที่เกิดจาการได้ฉายรังสีหลังจากที่ได้รับยา Dactinomycin หรือ Enteritis หรือ Severe Proctitis เป็นต้น จากผลกระทบที่ได้รับเนื่องจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดจึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติ จึงได้มีการกำหนดค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อว่า “Tolerance Dose” โดยมีค่า TD5/5 และ TD50/5 คือ แนวโน้มการเกิดผลกระทบที่ 5 % และ 50% เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี เมื่อคิดออกมาได้ค่า TD5/5 ควรอยู่ในระดับที่ต่ำจึงถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความว่องไวของอวัยวะที่ได้รับการฉายรังสีด้วย ดังนั้นแนวคิดของ Dose Volume Histogram มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนปริมาณรังสีที่อยู่ในระดับปลอดภัย โดย Philips และ Fu ได้เสนอสูตร Dose Effect Factor (DEF) ว่าการวัดปริมาณ Relative Combine Effect ระหว่างยากับรังสีในเนื้อเยื่อชนิดปกติ วัดได้จากสูตร DEF = ปริมาณรังสีที่ให้โดยไม่มียาเคมีบำบัดที่ส่งผลทางชีวภาพ / ปริมาณรังสีที่ให้รวมกับยาเคมีบำบัดแล้ดส่งผลทางชีวภาพ ในการรักษามะเร็งค่า DEF นั้นควรมีค่ามากกว่า 1 นั่นคือ...
- มะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

0
มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric Cancer ) มักเกิดขึ้นในเซลล์สร้างเมือกที่อยู่ในกระเพาะอาหาร จากสถิติพบว่ามะเร็งกระเพาะมักไม่แสดงอาการในระยะแรกจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงจึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากมากและยังติด 1 ใน 10 อันดับ ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย แต่ในผู้หญิงจะไม่ค่อยพบมากนักมะเร็งชนิดนี้พบมากในผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี พบได้จากหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนี้ สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปจะตรวจพบเนื้องอกเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแบ่งตัวออกไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนในทางเดินอาหารและโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และอาชีพบางอย่าง ชอบกินอาหารที่มีรสเค็ม ชอบกินอาหารประเภทปิ่งย่างเป็นประจำ ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรัง มีติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารก่อนหน้า เนื้องอกในส่วนอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะหลายปี เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารก่อนหน้านี้ โรคโลหิตจาง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาชีพคนงานในอุตสาหกรรมถ่านหินโลหะหนัก >> มะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย >> เลือดออกในกระเพาะอาหารทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือเปล่า อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหารอาการของโรคนี้ไม่มีอาการที่ชี้ชัดหรืออาการเฉพาะ โดยอาการส่วนใหญ่จะคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปนั่นเอง สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ ปวดท้อง และท้องอืด รู้สึกไม่สบายท้องและอาหารไม่ย่อย มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารและกลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีภาวะดีซ่าน (ตาและผิวเหลือง) มีน้ำในช่องท้องผิดปกติ ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ มะเร็งกระเพาะอาหารในระยะที่มีการลุกลาม จะคลำพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณกระเพาะอาหาร ระยะของมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหารมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารและลุกลามเข้าต้อมน้ำเหลือแต่ยังไม่เกิน 2 ต่อม ซึ่งยังไม่อันตรายมาก ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อคุ้มกระเพาะอาหาร และลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมากกว่า 2ต่อมขึ้นไป ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามโดยทะลุออกไปนอกเยื่อหุ้มกระเพาะอาหารและอวัยวะข้างเคียง รวมถึงลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจากตับและปอดนั่นเอง การแพร่กระจายของมะเร็ง สามารถแพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองและเลือด เนื้อเยื่อ : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ ระบบน้ำเหลือง : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือด : มะเร็งแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไหลผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารจะใช้วิธีการผ่าตัด และประเมินระยะของโรคเพื่อพิจารณาการรักษาเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีรักษาและการทำเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการผ่าตัดด้วย แต่ทั้งนี้จะเลือกวิธีไหนดีนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยเช่นกัน แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลักๆ คือ 1. การผ่าตัด โดยการส่องกล้องหากพบรอยโรคผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจได้ หรือพบติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกผ่านทางการส่องกล้องได้ทันที 2. การใช้รังสีรักษาหรือการฉายแสง เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งกระเพาะอาหาร 3. การทำคีโม หรือเคมีบำบัด เป็นการรักษามะเร็งเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารเบื้องต้นด้วยตนเอง กินอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้หลากสีและธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป กำหนดการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของน้ำตาล หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีความรุนแรงแบ่งได้ตามระยะของโรค การรักษาให้หายขาดจึงอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ซึ่งพบว่ามีโอกาสในการรักษาให้หายขาดน้อยมาก โดยจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกไปหมด ร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาพร้อมสำหรับการรักษาในครั้งต่อไปหรือไม่หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำก็ไม่สามารถทำการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารต่อได้ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการรักษา ออรัล อิมแพค ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4....
- มะเร็ง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )

0
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองโดยปกติแล้วจะมีหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายมีความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ มากขึ้น ซึ่งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อกระจายอยู่ทั่วร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ช่องอก อุ้งเชิงกรานช่องท้องและต่อมทอนซิล เป็นต้น โดยทั้งนี้ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดสามารถเกิดเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้นั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังพบได้ที่ลำไส้เล็ก สมองและกระเพาะอาหารได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)และชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยมากแค่ไหน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนมากจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบในผู้ใหญ่มากใน 10 อันดับแรกของโรคร้าย รวมถึงพบได้มากในเด็ก ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเด็กไทยเลยทีเดียว โดยทั้งนี้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีหลายชนิดด้วยกัน และมีความรุนแรงของโรคที่ต่างกันไปตามแต่ละชนิดอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มน็อนฮอดจ์กิน และกลุ่มฮอดจ์กิน ซึ่งชนิดน็อนฮอดจ์กินจะมีความรุนแรงมากกว่า สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สาเหตุของการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่พบแน่ชัด แต่เชื่อว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งก็มีทั้งพันธุกรรมชนิดที่ถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ โดยจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกตินั่นเอง ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด ที่ไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดความบกพร่อง ส่วนใหญ่จะเกิดได้ในคนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือในคนที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ร่างกายได้รับสารเคมีบางชนิดสะสมนานเกินไป จนก่อให้เกิดมะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดในร่างกายสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้ >> อาการของระยะมะเร็งต่างๆเป็นอย่างไร ? >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? อาการของ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองทั่วไป แต่อาการที่พบได้บ่อยก็คือ  อาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่ไม่มีอาการเจ็บ โดยสามารถคลำเจอได้ ในกรณีที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่อวัยวะต่างๆ ก็จะมีอาการแบบเดียวกันกับโรคมะเร็งที่อวัยวะนั้นๆ นั่นเอง มีอาการไข้สูงติดต่อกันหลายวัน มักจะเป็นแบบเป็นๆ หายๆ น้ำหนักลดผิดปกติ มีอาการเหงื่อออกเยอะในตอนกลางคืน ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้พบ อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจไม่มีอาการเหล่านี้ได้เหมือนกัน โดยนั่นแสดงว่าความรุนแรงของโรคต่ำกว่าผู้ที่มีอาการนั่นเอง อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย พบก้อนที่บริเวณต่าง ๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มักไม่เจ็บต่างจากการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน ปวดศีรษะ ไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต อาการคันทั่วร่างกาย อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม ในผู้ป่วยบางราย จะพบอาการปวดที่ต่อมน้ำเหลือง หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะพบอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อยได้ ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือ ปวด ตามแขนขาได้ รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง การจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่นั้น สามารถตรวจได้จากการวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการป่วย ตรวจร่างกายและตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อหาผลการตรวจที่แน่ชัดที่สุด นอกจากนี้ก็จะทราบด้วยว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เท่าไหร่ของโรคแล้ว ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 1 เป็นระยะที่โรคมะเร็งเกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และยังอยู่ในภาคเดียวกันกับกระบังลม มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ก็ยังอยู่ในฝั่งเดียวกันกับกระบังลมอยู่ดี นอกจากนี้ก็ยังอาจจะลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้วอีกด้วย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดกับต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม เกิดขึ้นทั้งสองฟากของกระยังลม และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหลายบริเวณด้วยกัน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก ส่วนใหญ่จะพบการแพร่ไปยังไขสันหลัง สมองและไขกระดูกได้เป็นอันดับแรกๆ การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะใช้วิธีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษา...
- มะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม

0
เคมีบำบัด คือ เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม ปัจจุบันนี้โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตของคนไปเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งอย่างได้ผลออกมาตลอดเวลา ซึ่งทุกวิธีที่ใช้รักษามะเร็งต่างก็มุ่งหวังที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายให้ออกไปจนหมดอย่างถาวรและไม่กลับเข้ามาในร่างกายของผู้ป่วยอีกครั้ง สำหรับมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตจำกัดอยู่เฉพาะที่การรักษาด้วยการผ่าตัดและการฉายรังสีน่าจะเป็นการรักษาที่เหมาะสมกับมะเร็งชนิดนี้แล้ว แต่ทว่าบางครั้งการรักษามะเร็งดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายได้ เนื่องจากมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในระดับที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือการตรวจหาเชื้อมะเร็งบางชนิด ทำให้ผู้ที่ทำการรักษามะเร็งแบบเฉพาะที่นั้นมีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งได้อีก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพยายามทีจะค้นหาวิธีที่จะรักษาทั้งระบบเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่กลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง ในปี ค.ศ.1946 Gilmam และ Philips ได้ทำการรักษาแบบทั้งระบบครั้งแรกกับคนไข้ และในปี ค.ศ. 1947 Farber และคณะได้ทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีการรักษาทั้งระบบที่นับเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาได้ค้นพบว่าฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็งของสารที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบติดเชื้อและโรคปกติ ( Biological Response Modifiers ) และ Immunotherapeutic Agent ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มของสารที่ใช้ในการต่อต้านมะเร็งให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการรักษาทั้งระบบจะมีข้อดีแต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติที่เกิดจากยาเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีหลักการตัดสินใจเลือกวีธีการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดนั้นต้องคำนึกถึงความเป็นพิษที่อาจะเกิดขึ้นในการตัดสินใจด้วย>> การให้คีโมบำบัดมีผลข้างเคียงอย่างไร >> ผู้ป่วยให้คีโมต้องจำเป็นต้องกินอาหารแบบไหน ? เคมีบำบัดกับการรักษามะเร็ง หลักการที่ใช้ในการทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งส่วนมากจะมาจากการสังเกตและประสบการณ์จากผลที่เกิดขึ้นจริงในการรักษาผู้ป่วย ไม่ได้มีเอกสารหรือเหตุผลเชิงวิชาการเข้ามาประกอบในการออกแบบการใช้เคมีบำบัด เช่น การรักษามะเร็งที่ใช้ยาหลายชนิดรวมกัน ( Multiagents Therapy ) ซึ่งจากการสังเกตุพบว่าการใช้ยาชนิดเดียวในการรักษาไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ การรักษาด้วยการใช้ยาหลายชนิดกลับทำให้มะเร็งหายขาดได้ แต่ว่าการที่นำยาหลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการรักษาเพียงครั้งเดียวก็มีข้อจำกัดตามหลักทางเคมีและเภสัชศาสตร์ คือ 1. ชนิดของยาคีโม ยาที่นำมาใช้ร่วมกันในการรักษาแบบเคมีบำบัดมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่สามารถนำมาเลือกใช้ในการรักษาได้ 2. ความเป็นพิษของเคมีบำบัด ยาแต่ละชนิดจะมีความเป็นพิษเฉพาะตัวอยู่ด้วย ดังนั้นการที่จะนำยามาใช้ร่วมกันต้องศึกษาถึงความเป็นพิษของยาแต่ละชนิดและศึกษาความพิษเมื่อนำยามาใช้ร่วมกันได้ ซึ่งความพิษที่รับได้นั้น ได้มีการควบคุมอย่างชัดเจน ในต้นทศวรรษที่ 60 ได้เกิดความสำเร็จครั้งแรกในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Hodgin’s Disease ) ที่รักษาด้วยการใช้ยา MOPP ร่วมกับ Acute Lymphoblastic Leukemia ( All ) จากการรักษาดังกล่าวเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญในการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันจะสามารถช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผลมากขึ้น Goldie และ Coldman ได้มีการเสนอทฤษฏีที่ว่า “ การออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ต้องคำนึกถึงว่ายาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันต้องไม่มีกลไกในการดื้อยาร่วมกัน ” แนวทางในการออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษา 1.ยาที่นำมาใช้แต่ละชนิดต้องสามารถรักษามะเร็งด้วยตัวเองอย่างชัดเจนหรือไม่เป็นยาที่เข้าไปเสริมฤทธิ์ยาของยาตัวอื่นที่อยู่ในสูตรยาให้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้น โดยที่ยาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีกลไกการทำงานหรือกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน แตกต่างกันจึงจะร่วมอยู่ในสูตรยาเดียวกันได้ และมีกลไกการดื้อยาร่วมกัน ยาที่นำมารวมกันต้องมีฤทธิ์ที่เสริมซึ่งกันและกัน ห้ามใช้ยาที่ไม่ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ไม่ชัดเจนในการทำลายมะเร็ง เพราะจะถือว่ายาชนิดดังกล่าวเมื่อเข้าไปอยู่ในสูตรยาแล้ว ยาชนิดนี้จะเข้าไปต้านฤทธิ์ยาตัวอื่นทำให้ผลจากยาที่ทำการรักษาไม่ได้ผลเต็มที่ 2.การออกแบบตารางยา ควรออกแบบให้ยาส่งผลในการรักษาเร็วที่สุดและทำลายเซลล์มะเร็งในได้มากที่สุดไปพร้อม ๆ กัน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปได้ผลไม่ดีต้องเพิ่มปริมาณยาในการรักษา ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วย 3.ควรเลือกยาที่มีความพิษทับซ้อนกันน้อยที่สุดในการออกแบบสูตรยา เพื่อหลีกเลี่ยงการลดขนาดความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาตัวอื่นในสูตรยา เพราะความเป็นพิษของยาบางชนิดจะสามารถเข้าไปลดการออกฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่งได้ ความเป็นพิษของการรักษาด้วยเคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทนความพิษเมื่อได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด คือ ชนิดของยาที่ใช้ ขนาดของยาที่ใช้ การออกแบบสูตรของยาที่ใช้ ตารางการให้ยาในขั้นตอนการรักษา และการทำการรักษารูปแบบอื่นที่มารักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด ซึ่งแต่ละปัจจัยล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อความเป็นพิษของเนื้อเยื่อ " การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ " ดังนั้นในการรักษานอกจากเราจะต้องคิดถึงค่าการออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งของยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว เราต้องคำนึงถึงค่า Therapeutic Index หรือค่าสัดส่วนขนาดของยาที่ทำให้เกิดพิษจนเกิดอันตรายร้ายแรง กับ ปริมาณยาที่ส่งผลต่อการต่อต้านมะเร็ง นั่นคือ ยาที่จะนำมารักษาผู้ป่วยได้ต้องมีค่า Therapeutic Index สูงพอที่จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้และค่าความเป็นพิษที่เกิดขึ้นก็อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกันสำหรับการเลือกใช้ยาเพราะว่ายาบางชนิดที่อยู่ในสูตรยาจะมีค่า Therapeutic Index ที่เปลี่ยนไปเมื่อใช้คู่กับยาตัวอื่น ๆ หรือว่าค่า Therapeutic Index อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาวะของผู้ป่วยที่ส่งผลให้ค่า  Therapeutic Index ของยาเปลี่ยนไป เช่น ค่า Therapeutic Index ของยาเมโธเทรกเซค ( Methotrexate ) อาจจะมีค่าเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ Third Space Fluid อย่างการท้องบวม ( Ascites ) หรือภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดสูง ( Pleural...
- มะเร็ง

ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร

0
ฉายแสง หรือ ฉายรังสี คือ ฉายแสง หรือ ฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การรักษาประเภทหนึ่งของรังสีรักษา ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง ปี ค.ศ.1895 Wilhelm Roentgen ได้สร้างความตกตะลึงครั้งยิ่งใหญ่กับการค้นพบเกี่ยวกับฉายแสงมะเร็งผลทางชีวภาพของการฉายรังสีเอ็กซ์ การใช้รังสีเอ็กซ์เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมในครั้งแรกพบว่ามีผลทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและมีขนหลุดร่วงหลังจากที่มีการฉายรังสีนี้ ทำให้มีการทดลองเพื่อดูผลกระทบทางด้านชีวภาพเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นการดูว่าการ ฉายรังสีนั้นมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการศึกษาทั้งการฉายรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1896 ซึ่งทำให้ค้นพบธาตุโรเดียม ( Radium ) ในเวลาต่อมาอีกด้วย การศึกษาฉายแสงมะเร็งโดยการการให้รังสีชนิด Low Liner Energy Transfer ( LET ) คือ มีการถ่ายโอนพลังงานเชิงเส้นต่ำ เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา อนุภาคเบตา โปรตอน ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์กลับทำให้เกิดการค้นพบสารก่อการกลายพันธุ์ตัวแรกคือ Muller เกิดขึ้นด้วย รังสีเอ็กซ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนและมีการเปลี่ยนแปลงลำดับของยีนที่อยู่ภายในเซลล์เกิดขึ้น ส่งผลให้การเรียกลำดับของยีนภายในเซลล์นั้นเปลี่ยนไปจากเดิม จากการค้นพบดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ หรือการฉายแสงมะเร็งอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์ การฉายรังสีสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกับเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่การที่จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปริมาณในระดับที่จะสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์>> มะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทยมีชนิดไหนบ้าง ? >> การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือไม่ ? ฉายแสงมะเร็งสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่ การกลายพันธุ์ของเซลล์ต่างๆในร่างกายนั้น มีสาเหตุ ดังนี้ 1. ขนาดและปริมาณของรังสี การฉายแสงมะเร็งที่รังสีจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ ปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีต่อหนึ่งหน่วยเวลา คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า จำนวนครั้งที่ได้รับการฉายรังสี คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่เท่ากัน การที่ได้รับการฉายรังสีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าด้วย 2. ชนิดของเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อต่างชนิด ต่างตำแหน่งจะมีโอกาสการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นเซลล์แต่ละที่เมื่อมีการฉายแสงเท่ากันโอกาสที่จะเกิดมะเร็งย่อมแตกต่างกันไปด้วย 3. ปัจจัยอื่น ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสี เช่น สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความแข็งแรงของยีนซ่อมแซม DNA อายุ เพศ ในขณะที่ได้รับการฉายรังสีว่ามีความสามารถในการป้องกันรังสีมากน้อยแค่ไหน ถ้าในขณะที่ได้รับการฉายรังสีมีสภาพภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ หรือมีอายุมากแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าคนที่มีอายุน้อยและมีภูมิต้านทานแข็งแรง ก่อนที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น เซลล์ต้องมีการแบ่งตัวเกิดเป็นเนื้องอกซึ่งเนื้องอกที่เกิดจากการฉายรังสีจะมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นจะแปรผันกับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของผู้ที่ได้รับรังสีด้วย โดยจากการศึกษาจากผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาฉายแสงมะเร็งโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึด ( Ankylosing Spondylitis ) ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีบางส่วนของร่างกาย ( Partial Body Radiotherapy ) จำนวน 14.111 คน ซึ่งหลังจากที่ทำการฉายรังสีเพียงแค่ 1 ครั้งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า นอกจากนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่ถูกฉายรังสีก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งถึง 1.6 เท่า ซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้จะมีค่าสูงสุดในช่วง 3-5 ปีหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะหมดไปเมื่อผ่านการฉายรังสีไปประมาณ 18 ปี แต่ทว่าส่วนบริเวณใกล้เคียงการฉายรังสีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในช่วง 9 ปีแรกจะมีค่าคงที่ซึ่งมีค่าไม่สูงมากนัก แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 10 ค่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกลับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงมากจนถึงปีที่ 18 เลยทีเดียว ผลข้างเคียงของการฉายรังสีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ 1. อายุผู้ป่วยกับการฉายแสงรักษามะเร็ง อายุของผู้ที่เข้ารับการฉายรังสีมีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็ง ฉายแสงมะเร็งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากว่าผู้ที่อายุ 25 ปีเมื่อเข้ารับการฉายรังสีถึง 15 เท่า เป็นต้น ซึ่งการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสีก็มีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับอัตราการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน คือ ผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งนั้นสูงกว่าคนที่มีอายุน้อยที่ได้รับการฉายรังสี เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่าจะมีการสะสมของสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับรังสี รังสีจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีลารตกค้างที่อยู่ภายในร่างกาย ส่วนในผู้ที่มีอายุน้อยจะมีสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายน้อยกว่าจึงทำให้โอกาสที่รังสีจะทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นมะเร็งน้อยตามไปด้วย 2. ความเข้มของรังสีในการรักษามะเร็ง การฉายรังสีในการรักษาจะมีปริมาณรังสีที่ต่างกัน...
- มะเร็ง

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )

0
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือ การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ผิดปกไม่สามารถควบคุมได้และมีการแพร่กระจายอย่างรวมเร็วในกระเพาะปัสสาวะและรุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะที่ระบายออกจากไตผ่านไปยังท่อไตจากไตทั้ง 2 ข้างสามารถเก็บของปัสสาวะได้ประมาณ 400 - 600 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะของคนเราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เยื่อเมือกบุ เส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยเซลล์เหล่านี้ล้วนสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้บ่อยมากที่สุดก็คือโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง และมักจะเกิดจากเซลล์ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีอะไรบ้าง ปวดหลัง น้ำหนักลด เท้าบวม ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย ปวดขณะปัสสาวะ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดกระดูกเชิงกราน สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่พบสาเหตุที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงรวมกัน ซึ่งได้แก่ ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด การสัมผัสกับสารเคมีในสถานที่ทำงานมากเกินไป การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การสูบบุหรี่จัด หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ>> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ?>> มะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่ ? การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะวินิจฉัยอาการเบื้องต้นโดยรวม ซักประวัติผู้ป่วยและซักประวัติของคนในครอบครัวรวมทั้ง การตรวจภายใน โดยนิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนักหรือช่องคลอดเพื่อคลำหาสิ่งผิดปกติ การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ เพื่อวิเคราะห์ปัสสาวะหากมีเลือดปนในปัสสาวะ อาจต้องส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาเชื้อมะเร็ง การสแกนอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาว่ามีก้อนมะเร็งหรือไม่ และถ้ามีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เพียงใด การส่องกล้อง เพื่อตรวจดูเยื่อบุ ซีส ก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งด้านในของกระเพาะปัสสาวะ การเอกซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายที่มีความผิดปกติ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีกี่ระยะ โรคมะเร็งชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไม่มาก โดยจะลุกลามไปเฉพาะที่ชั้นเยื่อบุภายในของกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีความรุนแรงในระดับหนึ่ง ซึ่งระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามออกไปนอกกระเพาะปัสสาวะเข้าเนื้อ เยื่อรอบ ๆ กระเพาะปัสสาวะแล้วนั่นเอง ระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด โดยมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือด ซึ่งก็อยู่ในระยะที่รักษาให้หายได้ยาก    การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สำหรับการรักษาจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้รังสีรังษาและทำเคมีบำบัด ซึ่งยังไม่มียารักษาที่ตรงเป้า โดยในปัจจุบันก็กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยยาอยู่นั่นเอง การป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การป้องกันโรคมะเร็งชนิดนี้ ก็ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจนเช่นกัน ดังนั้นต้องอาศัยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแทน หากหลีกเลี่ยงได้ ก็จะลดโอกาสการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะไปได้เยอะ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงเริ่มต้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะแล้วเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ หากสังเกตเห็นความผิดปกติของสีปัสสาวะ ปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำตรงจุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนก่อนและหลังการรักษาได้นั่นเอง อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). . เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. . โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว. “มะเร็งตับกระเพาะปัสสาวะ”. . เข้าถึงได้จาก : www.moderncancerthai.com. .
- มะเร็ง

มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย

0
มะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โรคมะเร็งนอกจากข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับผู้ป่วย โรคมะเร็ง ทั่วโลกแล้ว ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 10 อันดับโรคมะเร็งที่พบในคนไทย โดยสามารถแบ่งมะเร็งที่พบในเพศหญิงและมะเร็งที่พบในเพศชายได้ดังต่อไปนี้ 10 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ลำดับ เพศชาย เพศหญิง 1 มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก 2 มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ 4 มะเร็งช่องปาก มะเร็งปอด 5 มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ 6 มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งรังไข่ 7 มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก 8 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมธัยรอยด์ 9 มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งกระเพาะอาหาร 10 มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้ชายไทยจากสถิติสูงมากถึง 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเพศหญิงพบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด มะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุด 6 อันดับแรกของโลก คือ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูก >> มะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิงคือมะเร็งอะไร ? >> มะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายคือมะเร็งอะไร ? อาการแสดงของโรคมะเร็ง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆในช่วงแรกอาจมีผลมาจากหลายปัยจัย เช่น เซลล์มะเร็งในร่างกายยังมีไม่มาก ผู้ป่วยมะเร็งมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นต้น มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง โรคมะเร็ง ไม่ใช่โรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายติดจากคนสู่คนได้ แต่โรคมะเร็งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวด้วย ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญ ดังข้อมูลต่อไปนี้ 1. เกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอกร่างกาย จากข้อมูลทางด้านต่างๆพบว่า ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอกร่างกาย เป็นสาเหตุหลักใน ปัจจุบันที่ทำให้เกิด โรคมะเร็ง ชนิดต่างๆในมนุษย์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นตัวการหลักอย่างหนึ่งทำให้ เกิดเชื้อมะเร็งได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายๆสิ่งดังนี้ 1.1 สารปนเปื้อน ในแต่ละวันร่างกายของเราอาจได้รับสารปนเปื้อนชนิดต่างๆ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยถึงทำให้มี ความเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็ง อาจจะมาจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆในแต่ละวัน เช่น สารพิษจากเชื้อราที่มีชื่อว่า อัลฟาทอกซิน ( Alfatoxin ) การทานผักหรือผลไม้ที่มีสารจากยาฆ่าแมลงตกค้าง การทานอาหารปิ้งย่างรวมถึงอาหารที่ไหม้เกรียม ที่มักมีสารไฮโดรคาร์บอน ( Hydrocarbon ) สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการถนอมอาหารชื่อไนโตรซามิน ( Nitosamine ) และในอาหารบางชนิดอาจมีการใช้สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า เป็นต้น ซึ่งสารปนเปื้อนต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสารในการก่อ มะเร็ง ทั้งสิ้น 1.2 รังสี ผลกระทบที่อาจจะได้รับจากรังสีคือ การอยู่ในบริเวณกลางแจ้ง ที่มีแดดจัดๆเป็นเวลานาน ทำให้ ร่างกายได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ปริมาณมากเกินไป จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ หรือ ผู้ที่ใกล้ชิดหรือทำงานในห้อง เอ็กซเรย์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้เช่นกัน    1.3 เชื้อไวรัส ในไวรัสบางชนิดมีผลต่อการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถเป็น ตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในตับได้ 1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในตับ เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งของท่อ น้ำดีได้ โดยพยาธิใบไม้ในตับเกิดได้จากการทานอาหารที่มีปรสิต ที่พบได้มากในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาซิว เป็นต้น เข้าไปปริมาณที่มากจนเกิดการติดเชื้อเกิดขึ้น 1.5 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เกิดจากสิ่งต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การ ทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ อาหารไขมันสูง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งสิ้น 2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ความผิดปกติภายในร่างกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้เกิด โรคมะเร็ง ได้ แต่ก็เป็นในอัตราส่วน น้อยเมื่อเทียบกับสภาวะทางสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด จะมีอัตราเสี่ยงการเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนปกติ หรือ การมีภูมิคุ้นกันที่บกพร่อง เช่น การขาด วิตามินบางชนิด อย่าง วิตามินเอ วิตามินซี ก็เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ไปกระตุ้นให้เกิดโคมะเร็งชนิดต่างๆได้เหมือนกัน ชนิดของมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ฝ่ายชายนั้นมีพฤติกรรมชอบสังสรรค์ ชอบดื่มชอบเที่ยว ซึ่งการดื่มสุราในปริมาณมากๆและเป็นเวลานานติดต่อกัน ย่อมส่งผลเสียไปถึงตับ ทำให้ตับทำงานหนัก จนเป็นโรคตับแข็งได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบต่างๆ ยังจะมีโอกาสเสี่ยงไปเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนธรรมดาอีกด้วย ส่วนโรคมะเร็งปอดก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่จะพบได้มากในผู้ชายวัยสูงอายุ โดยสาเหตุก็มากจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่...
- มะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

0
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิต มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีความรุนแรงของโรคสูงชนิดหนึ่ง ในแต่ละปีจะมีผู้ยอดเสียชีวิตจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆเป็นจำนวนมากในทั่วโลกหลายล้านคน รวมถึงในประเทศไทย มะเร็งก็เป็นโรคที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงมากด้วยเช่นกัน สาเหตุ หลักๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากความรุนแรงของโรคแล้วก็คือ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้ว่าตนเองมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย ก็มักจะเป็นอาการของโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย หรือ มะเร็งในระยะท้ายๆแล้ว ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเราจะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า “ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ” ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย คือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดต่างๆและมีอาการอยู่ในระยะท้ายๆ เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติแล้ว แต่แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต การรู้ว่าป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายก็คงสร้างความตกใจให้ไม่น้อยสำหรับตัวผู้ป่วยเองและญาติพี่น้อง ผู้ป่วยหลายคนทำใจได้ยากที่จะต้องยอมรับกับเรื่องนี้ จนทำให้บางคนอาจคิดสั้นถึงการทำร้ายตนเองได้เลย การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่สำคัญและผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ตลอดจนบุคลกรทางการแพทย์ผู้ให้การรักษา เพราะเป็นผู้ที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากสุดในระหว่างการทำการรักษา และพยาบาลยังเป็นบุคคลที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจและเชื่อใจในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติ กล้าเผชิญกับปัญหาของโรคร้ายหรือการลุกลามของโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยความมั่นใจ ไม่หวาดกลัวใดๆ>> อาการของระยะมะเร็งต่างๆ >> การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีวิธีใดบ้าง ? การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มักต้องการกลับไปอยู่ที่บ้าน ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรค มะเร็งระยะสุดท้าย และสามารถทำใจได้ในเบื้องต้นแล้วก็มักอยากจะกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน มากกว่าการต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลตลอด การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านจึงต้องอาศัยแรงกาย แรงใจอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะนำผู้ป่วยมะเร็งกลับมาอยู่บ้านได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษาว่าสามารถอนุญาตให้รับผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้านได้หรือไม่ ซึ่งหากแพทย์อนุญาตให้ทำได้ ทางผู้ที่เป็นบุคคลในครอบครัวหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นไว้ด้วย ซึ่งวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นสามารถได้ดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติ แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถทำได้ดังนี้ 1. หากิจกรรมให้ผู้ป่วยให้ทำ โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเครียดหรือหงุดหงิดที่ต้องกลับมาบ้านแล้วอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรให้ทำ ได้แต่นั่งๆนอนๆ ดังนั้นเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงควรหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นเกม การฝึกสมาธิ ทำการฝีมือ หรืองานอดิเรกอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบก็ได้ รวมถึงการพาผู้ป่วยไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ไม่แออัด เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง 2. เตรียมพร้อมรองรับสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในช่วงแรกๆที่กลับมารักษาตัวที่บ้าน เมื่อต้องอยู่ที่บ้านเฉยๆ ผู้ป่วยมักจะมีภาวะอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เกิดภาวะการนอนไม่หลับขึ้นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิด ควรพูดให้กำลังใจผู้ป่วย และต้องยอมรับพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ป่วยที่อาจจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างแปรปรวน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรช่วยสนับสนุนหรือหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ จะสามารถช่วยป้องกันความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ และช่วยให้ผู้ป่วยได้มีกำลังใจในการเผชิญกับโรคร้ายต่อไปได้ 3. หมั่นสังเกตอาการความผิดปกติของผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ต้องคอยหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยทันที เช่น หากผู้ป่วยมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานเกิน 2 วัน ให้มาพบแพทย์โดย ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ ที่ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจ ได้แก่ มีแผลอักเสบบวมแดง เกิดแผลเป็นมีหนองน้ำและเหลืองไหลออกจากแผล มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีอาการบวมตามร่างกาย เป็นต้น 4. การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลการผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารีบการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการมะเร็งตามคำสั่งของแพทย์ ซึ่งผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวต้องเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน โดยเฉพาะวิธีในการดูแลทำความสะอาดแผลก็จะแตกต่างกันไป การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งที่ผ่าตัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลแผล หลังจากผ่าตัดใหม่ๆ 5-7 วันแรกไม่ควรให้แผลถูกน้ำและไม่ควรใช้แป้งใดโรยแผล เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลได้ นอกจากนี้ เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอาบน้ำ โดยใช้สบู่ลูบเบาๆ บริเวณแผล และใช้ผ้าเช็ดตัวนุ่มๆ ซับเบาๆ ให้แผลแห้งได้ 5. การทานอาหารของผู้ป่วย หากไม่มีคำสั่งการห้ามใดๆ จากแพทย์เกี่ยวกับอาหาร การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยก็สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกและจัดอาหารที่ดีมีประโยชน์ สารอาหารครบ 5 หมู่ ให้กับผู้ป่วย เลี่ยงการให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีสารกระตุ้นมะเร็งอย่างเช่น อาหารปิ้งย่าง รวมทั้งควรติดตามดูน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐาน 6....
- มะเร็ง

มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังของอวัยวะเพศชายหรือภายในในอวัยวะ เพศชาย มักมีผลต่อผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมะเร็งองคชาตมีปลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งที่พัฒนาขึ้นนั่นเอง >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? >> มะเร็งระยะแพร่กระจายสามารถรักษาได้หายไหม ? ประเภทของมะเร็งองคชาต โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) มีอัตราการเกิดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเซลล์มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นเป็นผิวหนังเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ มะเร็งเซลล์สความัสสามารถเริ่มต้นที่ใดก็ได้บนอวัยวะเพศชาย แต่มักเกิดที่หรือใต้หนังหุ้มปลายลึงค์ เมื่อพบในระยะเริ่มต้นมักจะสามารถรักษามะเร็งเอพิเดอร์มอยด์ให้หายได้ โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal cell Carcinoma) เป็นเซลล์มะเร็งลักษณะกลมอยู่ใต้เซลล์ สความัสเซลล์ในชั้นผิวหนังหรือหนังกำพร้าชั้นล่าง ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งพบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น พบได้บริเวณชั้นหนังกำพร้าที่ลึกที่สุดของอวัยวะเพศชาย ประกอบด้วยเซลล์ที่กระจัดกระจายเรียกว่า เมลาโนไซต์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งองคชาตในผู้ชายมีอะไรบ้าง การติดเชื้อ HPV ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของมะเร็งอวัยวะเพศชาย การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดมะเร็งองคชาตได้โดยเฉพาะในผู้ที่มีเชื้อ HPV อายุ มะเร็งองคชาตพบบ่อยในผู้ชายโดยเฉลี่ยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบหรือหดกลับได้ยาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งองคชาตในเพศชายได้ การดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะเพศในผู้ชายที่ไม่ดีพอก็สามารถเพิ่มโอกาสในการอักเสบเรื้อรัง ซึ่ง อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้เช่นกัน เอดส์ ( HIV ) การติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์บกพร่อง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของ เป็นมะเร็งองคชาต เมื่อคนมีเชื้อเอชไอวีระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงจะต่อสู้กับมะเร็งระยะเริ่มต้นได้น้อยลง การรักษาโรคสะเก็ดเงิน (ยา) ร่วมกับการใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งองคชาตได้อีกด้วย    อาการของมะเร็งองคชาตที่แสดงออกได้เจน รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศโดยเฉพาะที่หนังหุ้มปลายลึงค์ การเปลี่ยนแปลงของสีที่อวัยวะเพศชาย รู้สึกถึงความหนาของผิวหนังบนอวัยวะเพศชาย ผิวหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น มีเลือดออกที่ปลายอวัยวะเพศชาย มีผื่นแดง หรือตุ่มใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองบวมที่ขาหนีบ อาการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศผิดปกติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งองคชาต แพทย์ใช้การทดสอบหลายอย่างเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจน เช่น การซักประวัติผู้ป่วย การซักประวัติครอบครัว การเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจ การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง การเอ็กซเรย์ การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI ) การรักษามะเร็งองคชาตมีวิธีอย่างไร สำหรับวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งองคชาต และตำแหน่งที่พยาธิสภาพ โดยหลักๆ แล้ว แพทย์จะนิยมใช้อยู้ 4 แบบ คือ การผ่าตัด การใช้ยาเคมี การฉายรังสี และเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3 มิติ ซึ่งวิธีนี้ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง เลือดออกน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามหากพบว่าพยาธิสภาพอยู่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ก็จะทำการตัดให้ห่างจากพยาธิสภาพประมาณ 0.5 เซนติเมตร นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาได้อีกด้วย เช่น Topical 5 FU cream ทาเฉพาะที่ Nd YA Glaser เป็นต้น    วิธีการดูแล และการป้องกันความเสี่ยงการเกิดมะเร็งองคชาติ หมั่นดูแลและทำความสะอาดอวัยะเพศชายเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนจำนวนมากๆ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ช่วยลดการติดเชื้อ HPV ที่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งองคชาตในผู้ชายได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วิธีการรักษามะเร็งองคชาต แพทย์ผู้รักษาจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะ สมและความรุนแรงของโรค และความพร้อมของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน กรณีที่มะเร็งในขั้นลุกลาม ซึ่งได้ลุกลามเข้าสู่น้ำเหลืองและกล้ามเนื้อเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีขนาดใหญ่มาก จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกโดยด่วนเป็นต้น ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.
- มะเร็ง

มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด

0
มะเร็ง โรคที่ร้ายแรงที่สุดของคนไทยในขณะนี้คือ โรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณะสุข วิเคราะห์สถิติการเสียชีวิตของคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันถึง 9 ปีซ้อน สถิติล่าสุดปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งสิ้นถึง 55,403 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 32,060 คน และผู้หญิง 23,343 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้สูงวัย (มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ถึงร้อยละ 53 และรองลงมาก็คือ วัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี ร้อยละ 46  เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันจะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งสิ้น 152 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะสุด ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ เป็นต้น เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้หญิง สอดคล้องกับการสำรวจของคณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติแห่ง สหประชาชาติ lARC WHO นำโดย อาจาร์ปีเตอร์ บอยล์ คาดการณ์ว่า มะเร็งกำลังมาแรงและจะแซงโรคหัวใจในปี 2553 เมื่อแยกตามอวัยวะที่เกิดมะเร็งในคนไทย พบว่า อันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ คือมีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 14,084 คน เป็นชาย 9,951 คน หญิง 4,133 คน อันดับ 2 มะเร็งหลอดลม มะเร็งปอด มีผู้ป่วยจำนวน 8,565 คน ชาย 5,801 คน หญิง 2,764 คน ซึ่งทั้งมะเร็งตับและมะเร็งปอดมีผู้เสียชีวิต เป็นชายมากกว่าหญิงถึง 2 เท่าตัว อันดับ 3 มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม จำนวน 2,347 คน อันดับ 4 มะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนัก จำนวน 1,839 คน ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งรวมแล้วเกือบ 8 ล้านคน>> มะเร็งระยะแพร่กระจายสามารถรักษาได้หายไหม ? >> วิธีป้องกันมะเร็งในแบบง่ายๆด้วยตัวเอง รู้จัก มะเร็ง อย่างลึกซึ้ง มะเร็ง คืออะไร? มะเร็ง Cancer ถ้าเป็นศัพท์ทางการแพทย์ เรียกว่า Malignancy มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Latinroots, Mal- = Bad and Genus = Born อันหมายถึงกลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวมเร็วและมากกว่าปกติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ได้ จนอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ Solid Tumor ซึ่งก้อนมะเร็งเหล่านี้ จะหลั่งสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง ดังนั้น อาการแสดงของมะเร็งในระยะท้ายๆ ก็คือการมีเลือดออกผิดปกติ เช่น มะเร็งปากมดลูก อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีเลือดปนมากับอุจจาระ เป็นต้น แต่เนื่องจากก้อนมะเร็งจะโตอย่างรวดเร็วจนในที่สุดเส้นเลือดที่สร้างใหม่ก็ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็งได้ทัน ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง เซลล์มะเร็งเหล่านี้ถ้าเกิดในอวัยวะใด มักจะเรียกชื่อตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด ( Lung...
- มะเร็ง

มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร

0
มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) เป็นภาวะที่เซลล์ของหลอดอาหารมีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวของเซลล์มากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อหรือมีการก่อเชื้อมะเร็งขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในมหันต์ภัยโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง เป็นโรคที่นับวันจะดูมีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น กับการที่อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของเรา ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อโรคมะเร็งขึ้นได้ทั้งหมด  ซึ่งยังรวมไปถึง อวัยวะที่มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกายมนุษย์ อย่างหลอดอาหาร ก็สามารถที่จะมีโอกาสเกิดมะเร็งหลอดอาหารขึ้นได้เช่นเดียวกัน ชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบได้บ่อย มะเร็งหลอดอาหารส่วนใหญ่สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma) เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร มักเกิดที่ส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา (Adenocarcinoma) เกิดจากส่วนที่เป็นต่อมในส่วนปลายของหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหารชนิดที่ 3 เรียกว่า มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก อาจหาได้ยากมากเริ่มต้นในเซลล์ประสาทซึ่งเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่ปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อตอบสนองต่อสัญญาณจากเส้นประสาท >> วิธีป้องกันมะเร็งในแบบง่ายๆด้วยตัวเอง >> อาหารชนิดใดที่ช่วยต้านและลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ? อาการของมะเร็งหลอดอาหาร โรคนี้เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่หากเป็นแล้วจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา ยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ และโรคมะเร็งหลอดอาหารนี้จะไม่มีอาการเฉพาะตัวของโรคที่เด่นชัด โดยอาการทั่วไปที่แสดงออกมา จะมีความคล้ายกับอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยมักทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้เมื่อมีอาการที่หนักแล้ว หรือเป็นระยะที่เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายแล้ว โดยอาการที่จะสามารถพบได้บ่อยๆ คือ กลืนอาหารได้ลำบากมากกว่าปกติ หรือรู้สึกเจ็บขณะกลืนอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เป็นของแข็ง หากเป็นมากขึ้นแล้วจะกลืนไม่ลงทั้งอาหารที่เป็นของแข็งและของเหลว แม้กระทั่งน้ำลายก็ตาม มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือ มีเสมหะปดเลือดออกมาบ่อยครั้ง น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทรายสาเหตุ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยครั้ง รู้สึกปวดที่บริเวณกระดูกซี่โครงส่วนบนหรือในลำคอ เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น อาจมีต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้าโตจนสามารถคลำได้ สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับสาเหตุที่ทำให้เซลล์ของหลอดอาหารมีการเจริญเติบโตมากเกินปกติ จนทำให้เกิดเป็นเชื้อมะเร็งหลอดอาหารได้นั้น ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีการวิเคราะห์กันว่า อาจะเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. การสูบบุหรี่ เป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่นั้น เป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งได้เกือบทุกชนิด เนื่องจากสารประกอบบางอย่างในบุหรี่จะไปกระตุ้นให้เชื้อมะเร็งมีการก่อตัวขึ้นภายในร่างกาย 2. มะเร็งหลอดอาหารความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว และการตายของเซลล์ปกติ ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ 3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ เป็นเวลานานๆติดต่อกัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารมากว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ 4. การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ผู้ที่ทานผลไม้น้อยจะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่ทานผลไม้ปกติ และยังรวมถึงผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ บ่อยๆอีกด้วย และเกิดโรค มะเร็งหลอดอาหาร 5. เชื้อชาติ เนื่องจากคนในบางเชื้อชาติ จะสามารถตรวจพบโรคมะเร็งหลอดอาหารได้มากว่าชาติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติจีน อินเดีย และอิหร่าน เป็นต้น 6. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกณฑ์มาตรฐาน จนถึงระดับการเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ 7. การบริโภคอาหารที่เป็นสารก่อมะเร็งบ่อยๆ เช่นอาหารประเภทปิ้งย่าง อาหารที่ใส่สารกันบูด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูป หรือผ่านการถนอมอาหารบางประเภทด้วย 8. เป็นโรคเรื้องรังเกี่ยวกับหลอดอาหาร ผู้ที่มีภาวะของการเจ็บป่วยเกี่ยวกับหลอดอาหารบ่อยๆ และเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรค มะเร็งหลอดอาหาร มากว่าคนปกติ 9. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากภาวะกรดไหลย้อนจะส่งผลให้ เยื่อบุภายในหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อเนื่องจนอาจนำไปสู่มะเร็งในหลอดอาหารได้ 10. ผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆมาก่อน โดยเฉพาะมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับศีรษะและลำคอจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน 11. การได้รับสารเคมีบางชนิดบ่อยๆ อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เช่น จากอาชีพในการทำงาน การเผลอกลืนสารเคมีบางชนิดเข้าไป ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เข้าไปสะสมจนทำให้เกิดเป็นตัวกระตุ้นมะเร็งนั่นเอง    ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร อายุ : ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 70 ปี อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เพศ : ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้หญิง 3 ถึง 4 เท่า การสูบบุหรี่ : ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารโดยเฉพาะมะเร็งเซลล์สความัส การดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มหนักเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเซลล์สความัสของหลอดอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกับการสูบบุหรี่ โรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง...
- มะเร็ง

มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )

0
มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer ) คือ เนื้องอกร้ายหรือมะเร็งซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน อาการในระยะแรกมักไม่เฉพาะเจาะจงหรือไม่มีอาการแสดงเลย จนกระทั่งเป็นมากจะแสดงอาการ เช่น ปวดท้องหรือปวดหลังเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ตัวเหลือง ตาเหลือง ( ดีซ่าน ) เกิดที่ตับอ่อน ตับอ่อนประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ เซลล์ต่อมมีท่อ (Exocrine Gland) ซึ่งสร้างและปล่อยเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร และเซลล์ต่อมไร้ท่อ (Endocrine cells) ซึ่งผลิตและปล่อยฮอร์โมนที่สำคัญเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง โรคมะเร็งตับอ่อนอาจพบได้ไม่มากเหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่ก็มีปริมาณที่น้อยเช่นกัน ส่วนมากโรคนี้มักจะพบได้ในผู้ใหญ่ ที่มีอายุอยู่ในช่วง 40 ปี ขึ้นไป และพบได้ในเพศชายมากว่าเพศหญิง >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? >> มะเร็งมีกี่ชนิด ? ชนิดของมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับอ่อนมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิดมาก แต่ชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่คือ ชนิดที่ชื่อว่า  อะดีโนคาร์ซิโนมา ( Adenocarcinoma ) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% ของโรคมะเร็งตับอ่อนทั้งหมด โรคมะเร็งตับอ่อนชนิดนี้จะมีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะของตับอ่อน เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ มีลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาวรีคล้ายใบไม้ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนหาง โดยมีลำไส้เล็ก ล้อมอยู่ในส่วนหัวของตับอ่อน อยู่ลึกเข้าไปในช่องท้องด้านหลัง ใกล้กับกระเพราะอาหาร ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย ตับอ่อนจะมีหน้าที่หลักเกี่ยว ข้องกับระบบทางเดินอาหาร คอยสร้างน้ำย่อยมาใช้ในการช่วยย่อยอาหารที่ได้ทานเข้าไป โดยหลั่งน้ำย่อยเข้าไปในลำไส้เล็ก ผ่านทางท่อตับอ่อน และตับอ่อน ยังมีหน้าที่ในส่วนของระบบต่อมไร้ท่อด้วย เป็นผู้สร้างฮอร์โมนต่างๆให้ร่างกาย เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน ฮอร์โมนกลูคาก้อน ที่เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด นอกจากนี้ ยังสร้างฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอีกมากมายด้วย สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน ในปัจจุบันยังทางการแพทย์คงไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจน ของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้  แต่ทั้งนี้ก็เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารบางตัวในสูบบุหรี่จะเป็นตัวไปกระตุ้นการเกิดเชื้อมะเร็งตับอ่อนในร่างกาย 2. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือ โรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคนปกติทั่วไป 3. การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น อาหารทอด หนังสัตว์ อาจก่อมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น 4. มะเร็งตับอ่อนอาจเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมบางชนิด ทั้งชนิดถ่ายทอดได้และชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการแบ่งตัว และการตายของเซลล์ปกติ 5. มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเกี่ยวกับตับอ่อนมาก่อน เช่น การอักเสบเรื้อรังของตับอ่อน 6. การได้รับสารก่อมะเร็งบางชนิดอย่างเป็นประจำและต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคมะเร็งตับอ่อน คือ การที่มีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นกับเซลล์ของตับอ่อน หากไม่มีการรักษาจะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆผู้ป่วยมักจะรู้ตัวเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่แล้ว เนื่องจากมักจะไม่ค่อยแสดงอาการออกมาในช่วงระยะแรก ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปมีอัตราความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน เคยมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเวลานานมีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนเพิ่มขึ้น การอักเสบของตับอ่อนในระยะยาว ส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับอ่อนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด อาการของมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งตับอ่อนนี้ มักจะไม่แสดงอาการออกมาในระยะแรก ผู้ป่วยจะยังคงใช้ชีวิตได้ตามคนปกติทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โรคมะเร็งตับอ่อนจะไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะเป็นอาการเหมือนการอักเสบของตับอ่อนหรือโรคทางเดินอาหารทั่วไป จึงทำให้มักตรวจพบโรคนี้ในระยะที่มะเร็งแพร่กระจายแล้ว โดยอาการทั่วไปที่พบได้ของโรคนี้คือ 1. รู้สึกปวดท้องบ่อย โดยจะเป็นๆ หายๆ  เรื้อรัง 2. น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ 3. มีอาการตาและตัวเหลือง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ก้อนเนื้อมะเร็งไปอุดตันบริเวณท่อน้ำดี 4. มีอาการปวดหลังเรื้อรัง และจะมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รักษาด้วยวิธีปกติไม่หาย 5. อุจาระ มีลักษณะผิดปกติไปจากเดิม มีสีซีด เนื่องจากก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินน้ำดี 6. คลื่นไส้และอาเจียนบ่อยๆ เนื่องจากลำไส้อุดกั้นจากก้อนมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับอ่อนเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่วินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆแสดงออกมาในขณะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็กอยู่ ยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ และผู้ป่วยมักจะทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้เมื่อมีอาการของโรคที่เป็นมากแล้ว ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และเริ่มรุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ  แต่ในทางการแพทย์ก็สามารถที่จะตรวจและวินิจฉัยโรคนี้ได้จาก วิธีต่างๆ ดังนี้ 1. การสอบถามประวัติอาการ และ การตรวจร่างกาย ...
- มะเร็ง

มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา

0
มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) คือ ชนิดของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในไต โดยเกิดจากเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อไตและกรวยไตที่ผิดปกติ มักพบในวัยผู้ใหญ่ ปัจจุบันมะเร็งไตอาจจะมีปริมาณของผู้ป่วยที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่ก็ถือว่ามียอดของผู้ป่วยทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไต เป็นอวัยวะในร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ เนื้อไต และกรวยไต มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ คอยขับกรองของเสีย และเกลือแร่บางชนิด เช่น เกลือโซเดียม ออกจากร่างกาย มะเร็งไต สามารถเกิดได้ทั้ง 2 ข้าง ไตของมนุษย์จะมีทั้งหมด 2 ข้างคือ ไตซีกซ้าย และไตซีกขวา อยู่บริเวณช่องท้องด้านหลังระดับเอว ภายในไตจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ได้แก่ เซลล์ของไตเองผู้ทำหน้าที่กรองของเสีย เซลล์เยื่อเมือกบุภายในกรวยไต เส้นเลือด และเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทุกชนิดสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้หมดทั้งสิ้น>> มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต >> อาการของระยะมะเร็งต่างๆ >> วิธีป้องกันมะเร็งในแบบง่ายๆด้วยตัวเอง สาเหตุมะเร็งไต เกิดจาก มะเร็งไต เกิดจากภาวะของเชื้อมะเร็งขึ้นที่บริเวณเซลล์ของตัวไตเอง ซึ่งโรคมะเร็งไตก็สามารถเกิดขึ้นได้กับไตทั้งสองฝั่ง โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้น แต่ก็สามารถเกิดพร้อมกันได้ทั้งฝั่งเช่นกัน แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้นประมาณร้อยละ 2  โดยอาจจะเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่งเลย หรือเกิดขึ้นทีละฝั่งก็ได้เช่นกัน  ซึ่งผู้ที่เป็นโรคมะเร็งไต ที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ จะมีโอกาสเกิดมะเร็งไตทั้งสองข้างได้สูง มากว่าคนปกติ มะเร็งไต คือ การเกิดภาวะของเชื้อมะเร็งขึ้นที่บริเวณเซลล์ของตัวไตเอง มะเร็งไต จะแตกต่างกัน ระหว่างประเภทที่พบในผู้ใหญ่ กับประเภทที่พบในเด็ก ซึ่งประเภทที่พบในผู้ใหญ่นั้น จะมีโอกาสเกิดสูงใน ผู้ที่อายุอยู่ในช่วงประมาณ  55 – 60  ปี และสามารถพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่าความแตกต่างระหว่างมะเร็งไตและมะเร็งกรวยไต ทั้งไตและกรวยไต ล้วนแต่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกัน และอยู่ในระบบขับถ่ายของเสียด้วยกันทั้งคู่  หลายคนจึงมีความสงสัยว่า โรคมะเร็งไตที่เกิดกับอวัยวะทั้ง 2 ส่วน เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้ว มะเร็งทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้คือ ชนิดของมะเร็งไต 1. ไตจะมีหน้าที่หลักคือ กรองของเสียออกจากร่างกายมาทางปัสสาวะ เชื้อมะเร็งจะเกิดขึ้นที่อวัยวะและเซลล์ของตัวไตเอง มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดรีนัลเซลล์ หรือเรียกย่อๆว่า อาร์ซีซี ( RCC : Renal Cell Carcinoma ) ซึ่งเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงของโรคปานกลาง 2. กรวยไตมีหน้าที่หลักคือ เก็บกักน้ำปัสสาวะในไต ก่อนปล่อยให้ไหลลงไปสู่ท่อไต เชื้อมะเร็งจะเกิดขึ้นที่ส่วนของกรวยไต เป็นมะเร็งของเซลล์เยื่อเมือกบุภายในกรวยไต ชนิดทีซีซี หรือ ทรานซิชันแนล ( TCC : Transitional Cell Carcinoma ) เป็นเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงของโรคปานกลาง สาเหตุการเกิด มะเร็งไต ในทางการแพทย์ปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปหาต้นเหตุที่แท้จริง ของการเกิดมะเร็งไตได้  แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรค ดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งไตและมะเร็งเกือบทุกชนิด พันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้บางชนิด ซึ่งคนที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรมชนิดนี้ มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งไตได้ถึงร้อยละ 45 และมักมีโอกาสเกิดมะเร็งกับไตทั้งสองข้างสูง ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน  และ ผู้ที่มีภาวะมีโรคความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็งบางชนิดในสถานที่ทำงาน เช่น จากการทำเหมืองแร่ เช่น แร่แคดเมียม   ( Cadmium ) หรือแอสเบสตอส ( Asbestos ) เกิดจากอาหารและยาที่ทานเข้าไป...
- มะเร็ง

มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) 

0
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) นอกจากอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด กระเพราะอาหาร เต้านม แล้ว โรคมะเร็งยังสามารถเกิดได้กับ เม็ด เลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งของร่างกายได้อีกด้วย โดยส่วนมากเราจะรู้จัก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในชื่อของ ลูคีเมีย ซึ่งเป็นชนิดมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูงมากประเภทหนึ่ง มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถเป็นได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ ทารกแรกคลอด ตลอดจนวัยผู้สูงอายุ แต่ส่วนมากมักพบได้บ่อยๆในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อย ทั้งในประเทศไทยเองและเด็กในต่างประเทศ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นชนิดโรคมะเร็งที่พบในเด็กมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง  ส่วนที่พบในผู้ใหญ่ก็มีปริมาณมากเช่นเดียวกัน เป็นโรคที่เกิดขึ้นติดอันดับหนึ่งในสิบจากกลุ่มของโรคมะเร็งทั้งหมด>> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? >> เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญอย่างไร ?  เม็ดเลือดประกอบด้วย ปกติแล้ว ไขกระดูก ในร่างกายของมนุษย์จะทำหน้าที่คอยสร้างกลุ่มเม็ดเลือดที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่หลักคือ นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย หากร่างกายขาดเม็ดเลือดแดงจะส่งผลให้มีอาการตัวซีด เหนื่อยง่าย  หากปล่อยทิ้งไว้ระยะยาว จะส่งผลทำให้ระบบอวัยวะอื่นๆในร่างกายทำงานผิดพลาดจนกระทั้งเกิดภาวะล้มเหลวได้ โดยเฉพาะหัวใจ 2. เกล็ดเลือด มีหน้าที่หลักคือ ช่วยทำให้เลือดหยุดไหลเมื่อมีแผลเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือ การเข้ารับการผ่าตัดทางการแพทย์ หากร่างกายมีปริมาณเกล็ดเลือดที่ต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้ มีอาการเลือกออกง่าย หยุดช้าและอาจไหลไม่หยุดเลย ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกายมากหากเกิดบาดแผลขึ้น 3. เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่หลักคือ เปรียบเสมือนทหาร ที่คอยคุ้มป้องกันกันไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ หลุดเข้าไปสู่ในร่าง กาย หากร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดขาวที่ต่ำจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคต่ำตามไปด้วย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย การติดเชื้อ ได้ง่าย และมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง ทำให้อวัยวะต่างๆที่ติดเชื้อเกิดการอักเสบและล้มเหลวในที่สุด สาเหตุการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีสาเหตุหลักมาจาก การที่ไขกระดูกทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดต่างๆผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น สร้างมากเกินกว่าปกติ หรือ สร้างน้อยเกินกว่าปกติ แต่โดยส่วนมากแล้วมักจะพบในลักษณะการสร้างที่มากเกินกว่าปกติ และพบได้ในเม็ดเลือดขาวบ่อยที่สุด เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นมากว่าปกติ จะส่งผลกระทบทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดอาจมีปริมาณในการสร้างลดลงไปด้วย โดยในปัจจุบันยังไม่มีเหตุผลแน่นอนที่ชัดเจน ว่ามีเหตุผลใดที่ทำให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้น แต่อาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้  เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิด ทั้งชนิดถ่ายทอดได้และชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม  เกี่ยวกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ การได้รับรังสีชนิดต่างๆในปริมาณมากและต่อเนื่อง เช่น รังสีเอ็กซ์ การได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้ที่มีภาวะของโรคดาวน์ซินโดรม ( Down’s Syndrom ) จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติ การขาดสารอาหารของมารดาในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลต่อทารกที่กำลังจะเกิดขึ้นมา การได้รับสารก่อมะเร็ง จากสารเคมีบางชนิดบ่อยๆ ส่งผลให้ไปกระตุ้นเชื้อมะเร็งในร่างกายให้เกิดขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งปริมาณสูงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ร่วมทั้งจากการบริโภคสารก่อมะเร็งของมารดาในขณะตั้งครรภ์ ประเภทมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอยู่หลายชนิด แต่ก็สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิดคือ 1. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก ( Lymphocytic Leukemia )   2. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมย์อีโลซิติก หรือนัลลิมโฟซิติก ( Myelocytic Leukemia or Non-Lymphocytic ) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังสามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภทย่อยๆ ได้อีก คือ  มะเร็งชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งชนิดเรื้อรัง  ซึ่งชนิดแบบเฉียบพลัน  เป็นโรคมะเร็งประเภทที่มีความรุนแรงของโรคสูงมาก จะมีอาการรุนแรงตั้งแต่ที่เริ่มเป็น หากเป็นแล้วต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน  ส่วนมะเร็งชนิดเรื้อรังนั้น มีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดเฉียบพลัน ผู้ที่ป่วยจะมีอาการที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ควรได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร่งด่วนโดยเช่นกัน ก่อนที่จะลุกลามไปถึงระยะสุดท้ายของมะเร็งที่ไม่อาจรักษาได้แล้ว อาการมะเร็งเม็ดเลือดขาว สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น  โรคนี้จะไม่มีอาการเฉพาะของโรคเหมือนมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่จะมีอาการจากผลข้างเคียงของไขกระดูกที่ทำงานผิดปกติ  โดยทั่วไปมักจะมีอาการดังต่อไปนี้ เกิดภาวะตัวซีด รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย ง่ายกว่าปกติ เจ็บป่วยบ่อยๆ เช่น มีอาการไข้ขึ้นสูงบ่อยๆ เนื่องจากมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ ...
- มะเร็ง

การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา ในผู้ป่วยมะเร็ง

0
การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา วิธีการรักษามะเร็งต่างๆจะให้ผลที่คล้ายกันคือจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งก็อาจจะมีผลกระทบทำให้เซลล์ส่วนดีจะถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้เกิดปัญหากับการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอาหารที่ควรทานในแต่ละช่วงเวลาก็อาจไม่เหมือนกันเช่น การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา โดยรายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ดูแลคนป่วยต้องศึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยโรคมะเร็ง >> ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งเป็นอย่างไร มาดูค่ะ >> อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องเป็นแบบไหน มาดูกันค่ะ น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ( เพิ่ม-ลด ) มีอาการเบื่ออาหาร เจ็บปากและคอ ปากแห้ง ปัญหาบริเวณฟัน และเหงือก คลื่นไส้ และอาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก แพ้น้ำตาลแลกโตส ( พบได้ในนมวัว ) การจัดเตรียมอาหารผู้ป่วยมะเร็ง 1. การรับประทานอาหารก่อนรักษามะเร็ง ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาจากแพทย์ อาหารผู้ป่วยมะเร็งควรเป็นอาหารที่ดี ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่าง กายที่แข็งแรง มีความพร้อมสำหรับการรักษา และยังช่วยลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษาได้อีกด้วย อาหารที่แนะนำในช่วงก่อนการรักษา อาหารในกลุ่ม ผัก ผลไม้   เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสะสม เนื้อสัตว์หรือนมที่มีไขมันต่ำ งดอาหารประเภทไขมันสูง น้ำตาล เหล้า อาหารเค็มจัด 2. การรับประทานอาหารระหว่างรักษามะเร็ง ในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารีบการรักษาจากแพทย์ ในช่วงนี้ร่างกายผู้ป่วยอาจได้รับ ยา สารเคมีบางตัวที่แพทย์จำเป็นต้องใช้ในการรักษา หรืออาจมีบาดแผลจากการผ่าตัด ซึ่งก็อาจมีผลกระทบทำให้ร่างกายของผู้ป่วยทรุดโทรมได้ ดังนั้นในช่วงนี้ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด และอาหารที่ควรจัดให้ผู้ป่วยทานก็จะต้องขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับด้วย เช่น 2.1 การผ่าตัด ผลกระทบจากการผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยมะเร็งที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด เน้นทานอาหารประเภทมีโปรตีนและให้พลังงานสูง เพื่อให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากหากเข้ารับการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยอาจไม่สามารถกลับมาทานอาหารตามปกติได้ทันทีในช่วงแรกๆ บางรายที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้วิธีการให้อาหารผู้ป่วยมะเร็งทางสายเลือด ผ่านทางจมูก หรือช่องท้อง หากอวัยวะที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของ  ศีรษะ คอ หน้าอก เต้านม อาจทำให้เกิด ปากแห้ง เจ็บปาก เจ็บคอ มีอาการกลืนลำบาก การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป ปัญหาฟันผุ มีเสมหะ หากอวัยวะที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของ  บริเวณกระเพาะอาหาร หรือ กระดูกเชิงกราน อาจทำให้เกิด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร ท้องผูก เจ็บปาก เจ็บคอ การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักลดลงผิดปกติ ปากแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ ผลข้างเคียงจากการรักษาอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและอาการของโรค  และอาการส่วนมากจะหายไปหลังหยุดการรักษาแล้ว  ผลกระทบอีกอย่างที่อาจตามมาคือ ผู้ป่วยอาจทานอาหารลดลง เนื่องมาจากปัญหาสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยเอง  ความเครียดความวิตกกังวลต่างๆ ข้อควรรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัด 1. เมื่อผู้ป่วยรับประทานได้ ควรรับประทานอาหารที่มีพลังงาน และโปรตีนที่เพียงพอ 2. ผู้ป่วยส่วนมากรับประทานอาหารได้ดีช่วงเช้า อาจให้รับประทานอาหารมื้อหลักในช่วงเวลาค่อนไปช่วงเช้า และในอาหารเหลวเสริมในช่วงต่อมาของวัน ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร 3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้อาหารเหลวเสริม เพื่อเพิ่มปริมาณพลังงาน และโปรตีน 4. พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยผู้ใหญ่ แนะนำ ดื่ม 6-8 แก้วต่อวัน 2.2 การฉายรังสี ผลกระทบจากการฉายรังสี สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสีนั้น หลังจากการรักษาแล้ว อาจมีผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกเบื่ออาหาร เจ็บในช่องปาก และบริเวณลำคอน้ำหนักขึ้นๆลงๆ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ข้อแนะนำสำหรับผลกระทบที่ได้จากการฉายรังสี  หากผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร ให้ปฏิบัติดังนี้ ปรับรูปแบบการทานอาหาร โดยให้ทานอาหารในแต่ละมื้อปริมาณที่น้อย  แต่ให้ทานบ่อยๆ หรือเพิ่มจำนวนมื้อขึ้น รับประทานอาหารเหลว หรืออาหารผงสำเร็จรูป ให้ผู้รับประทานอาหารว่างที่ตนเองชอบ รับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และพลังงานที่เพียงพอปรับรูปแบบอาหารที่ทาน เช่น หากมีผลไม้สดอาจเปลี่ยนเป็นเมนูน้ำผลไม้ปั่น เป็นต้น หากผู้ป่วยเริ่มทานอาหารได้มากขึ้น...