มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
9021
มะเร็งปากมดลูก สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว
มะเร็งปากมดลูก สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคต และเป็นโรคมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส ( Human Papiloma Virus ) หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ HPV ซึ่งมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในแต่ละปีเป็นปริมาณมากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก มะเร็งปากมดลูกที่มีความรุนแรงของโรคสูงหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ก็แทบจะไม่รู้เลยว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมักไม่มีอาการป่วยเบื้องต้นใดๆแสดงออกมา  ทำให้กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคชนิดนี้ก็จะอยู่ในช่วงที่อาการเริ่มหนักและรักษาได้ยาก

ปากมดลูก ( Cervix ) เป็น อวัยวะที่อยู่บริเวณตรงกลางของช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน ตรงกับเนินหัวหน่าว โดยด้านหลังจะติดกับลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ส่วนด้านหน้าจะติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปากมดลูกเป็นส่วนปลายของตัวมดลูกและเป็นเนื้อเยื่อในระบบสูตินรีเวช และมดลูกมีหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและประจำเดือน รวมถึงช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกสามารถอยู่ในครรภ์

สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกพบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอชพีวี ( HPV ) โดยเป็นเชื้อที่จะติดต่อกันในขณะมีเพศสัมพันธ์ และนอกจากเชื้อดังกล่าวแล้ว ก็พบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง ซึ่งได้แก่

  • การสำส่อนทางเพศ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • การมีลูกมาก ซึ่งจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนที่มีลูกน้อย
  • สามีมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน ซึ่งอาจนำเชื้อมาติดภรรยาได้
  • เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก
  • อายุ โดยพบว่ามะเร็งปากมดลูกจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุ 45-55 ปี

เชื้อ HPV คืออะไร?

มะเร็งปากมดลูก จากฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส คือ โรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี ( HPV หรือ Human Papillomavirus ) หรือ อาจเรียกว่าไวรัสหูด ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ในตระกูล ( Family ) Papillomavirus  มีหลายสายพันธุ์ย่อยมากมาย เป็นร้อยๆชนิด  มีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งและชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่สายพันธุ์ที่ถือได้ว่ามีความอันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นเชื้อเอชพีวี ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ได้มากถึง 70% เลยทีเดียว   

HPV ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร?

ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรา หากมีความแข็งแรงปกติ ก็สามารถที่จะกำจัดเชื้อของ HPV ที่เข้าสู่ร่างกายได้เอง แต่ถ้าวันที่ร่างกายมีความอ่อนแอเกิดขึ้น และไม่สามารถกำจัดเชื้อ HPV ออกจากร่างกายได้ ก็จะส่งผลให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะต้องใช้เวลานานหลายปี หรือหลายสิบปี  กว่าจะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูกและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ส่วนมากเราจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กได้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอายุที่เกิน 30 ปีขึ้นไป

เราสามารถติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร?

เชื้อเอชพีวี ( HPV ) ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกโดยส่วยใหญ่จะสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง

https://www.youtube.com/watch?v=sfPLe1NliMg

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของมดลูกทั่วไป โดยแพทย์ได้ชี้ถึงอาการป่วยของมะเร็งปากมดลูกที่มักจะพบได้บ่อยๆ จากผู้ป่วยมะเร็งดังนี้

  • มีตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น โดยอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • มีเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ไม่ใช่ประจำเดือน
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยอาจมาน้อย มามาก หรือขาดในบางเดือน
  • มีอาการปวดท้องน้อยและปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว
  • มีอาการท้องผูก
  • มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

การวินิจฉัยและการตรวจคัดกรอง

การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจภายใน เพื่อนำเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจแพปสเมียร์ และอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

การตรวจแปปสเมียร์ (  Papsmear หรือ Papanicolaou Test )

การตรวจแปปสเมียร์ ( Papsmear ) คือ วิธีในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกชนิดหนึ่ง เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งถ้าหากตรวจพบเจอเชื้อของมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ในระยะที่เชื้อยังไม่ลุกลาม ก็จะสามารถทำ การรักษาให้หายขาดได้ง่ายกว่าการตรวจพบเชื้อในระยะที่แพร่กระจายแล้ว การตรวจแปปสเมียร์สามารถทำพร้อมกับการตรวจภายในได้เลย โดยแพทย์จะใช้วิธีนำไม้พายขนาดเล็กเข้าไปขูดเบาๆบนผิวปากมดลูก ป้ายลงแผ่นกระจกเพื่อส่งตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ โดยความผิดปกติของเซลล์ที่พบมีหลายอย่างและมีวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันไป ซึ่งการค้นหาเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็งจะช่วยให้แพทย์สามารถดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ก่อนที่จะลุกลามจนกลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

ผู้ที่ควรจะตรวจแนะนำสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างวัยทำงาน หรือวัยกลางคน อายุประมาณ 30 -35 ขึ้นไป ไม่ว่าจะเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ก็ตาม และควรตรวจซ้ำในทุกๆปี โดยอาจจะตรวจพร้อมกับการเช็คสุขภาพประจำปีไปเลย แต่หากมีผลการตรวจที่ดีติดต่อกันหลายๆปี หรือเป็นผู้หญิงโสดที่ไม่ได้มีเพศสัมพันกับใคร ก็อาจจะลดจำนวนครั้งในการตรวจลงเป็นแบบปีเว้นปี หรือ ตรวจทุก 3–5 ปี ก็ได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เคยฉีด วัคซีนเอชพีวี มาแล้ว เมื่อถึงช่วงอายุที่เหมาะสม ( 30 -35 ขึ้นไป ) ก็ควรจะทำการตรวจแปปสเมียร์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็อาจจะมีความเสี่ยงน้อยในการเกิดโรค แต่ก็ควรทำเพื่อให้เกิดความสบายใจจะดีที่สุด

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีอื่น

การตรวจแปปสเมียร์หามะเร็งปากมดลูก ยังมีข้อจำกัดหลายประการ นอกจากการไม่ยอมรับในการตรวจของผู้หญิงบางคนแล้ว ยังไม่สามารถทราบผลได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาในการย้อมเซลล์บนแผ่นกระจกและใช้เวลาในการอ่านผล ทำให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งไม่ได้ทราบผลตรวจและเสียโอกาสในการดูแลรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้น  นอกจากการตรวจแปปสเมียร์ แล้ว ยังมีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปาดมดลูกอีกหนึ่งวิธี  ที่ทำได้โดยประหยัดค่าใช้จ่ายมากว่าแบบการตรวจแปปสเมียร์  คือ การตรวจ VIA

การตรวจ VIA คือ  การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู มีวิธีการตรวจคือ ใช้น้ำส้มสายชูชนิดเจือจางป้ายที่บริเวณปากมดลูก แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 นาที จากนั้น น้ำส้มสายชูจะไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของปากมดลูก หากมีฝ้าสีขาวเกิดขึ้นที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ก็ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ และจะได้ทำการรักษาต่อไป อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยวิธี VIA นี้ ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ตรวจซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีเสียก่อน และนอกจากนี้การตรวจดังกล่าวก็สามารถทราบระยะของโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ได้เหมือนกัน

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) คือโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ร่างกายมีการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส ( Human Papiloma Virus ) หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ HPV

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

โดยโรคมะเร็งปากมดลูกจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการป่วยมะเร็ง ซึ่งจะยังคงลุกลามอยู่ภายในช่องคลอดจนถึงส่วนล่างของปากช่องคลอดเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามออกมานอกปากมดลูกแล้ว โดยมีความรุนแรงในระดับปานกลาง

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามขึ้นไปถึงผนังของอุ้งเชิงกราน และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับปากมดลูก นอกจากนี้มดลูกก็อาจมีขนาดโตขึ้นจนไปเบียดทับอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้เช่นกัน

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยระยะนี้มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ปอด ตับ กระดูกและช่องท้อง เป็นต้น ซึ่งหากพบอาการป่วยในระยะนี้จะมีโอกาสรักษาให้หายได้ต่ำมาก

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนสำหรับป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือ สารทางชีววิทยาที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีของปากมดลูก จากการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง โดยในปัจจุบัน วัคซีนชนิดนี้จะใช้ฉีดเพื่อป้องกันเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น แต่ก็มีการนำมาฉีดในผู้ชายอยู่บ้าง เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเอชพีวีจากผู้ชายแพร่มาติดผู้หญิงจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้นั่นเอง โดยการผลิตวัคซีนก็มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การผลิตวัคซีนจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะทำให้เชื้อชนิดนั้นมีความอ่อนฤทธิ์ลง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถกระตุ้นร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันได้ดี และการผลิตวัคซีนจากเชื้อที่ตายแล้ว อย่างเช่นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ พัฒนาไปมากจนสามารถ ผลิตคิดค้น วัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี ได้แล้วโดย วัคซีนเอชพีวี เป็นวัคซีนที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มีการผลิตมาจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส วัคซีนชนิดนี้ ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละปีได้มากเลยทีเดียว  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในร่างใช้วัคซีนชนิดนี้ ควรใช้วัคซีนตั้งแต่ในวัยเด็กหรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ จะดีที่สุด

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกแพทย์จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อและฉีดอย่างต่อเนื่องจนครบ 3 เข็มภายใน 6 เดือน เพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสูงสุด ซึ่งก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้นานถึง 4-6 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้ในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสายพันธุ์ต่างๆ ได้มากขึ้น โดยพบว่าวัคซีนที่ใช้อยู่ มีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แค่ 2 สายพันธุ์เท่านั้น ในขณะที่มะเร็งปากมดลูกมีทั้งหมดประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อยเลยทีเดียว

และจากข้อมูลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ถึงแม้จะได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูกสายพันธุ์อื่นๆ ได้อีกประมาณร้อยละ 30 จึงไม่ควรชะล่าใจอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อนและควรดูแลสุขภาพอนามัยของอวัยวะเพศให้ดีอยู่เสมอด้วย และที่สำคัญก็ไม่ควรพลาดการตรวจภายในที่เรียกว่า แปปสเมียร์ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะให้ผลป้องกันอย่างสูงสุดเมื่อใด?

โดยปกติแล้วการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นจะให้ผลการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อได้ฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในชีวิต เนื่องจากยังไม่เคยมีการติดเชื้อเอชพีวีจากการร่วมเพศมาก่อน ดังนั้นใน ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-12 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแน่นอน ส่วนผู้หญิงในวัย 13-26 ปี ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือไม่ก็สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ผลการป้องกันอาจด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าได้เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือไม่นั่นเอง และสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป ยังไม่มีผลการศึกษายืนยันว่าจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงของการศึกษา แต่เชื่อว่าน่าจะให้ผลการป้องกันที่ต่ำกว่าผู้หญิงวัยต่ำกว่า 26 ปี

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจะให้ผลการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อได้ฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในชีวิต

การฉีดวัคซีนมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

จากการศึกษาพบว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อตาย จึงไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้อย่างแน่ชัด แพทย์จึงไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งต้องรอฉีดวัคซีนหลังจากคลอดแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของทารกนั่นเอง ส่วนกรณีที่เป็นช่วงให้นมบุตรก็ยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัดเช่นกัน จึงควรปรึกษากับสูตินรีแพทย์ก่อน ว่าสามารถฉีดวัคซีนได้เลยหรือไม่

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก พบว่าอาจป้องกันมะเร็งอื่นๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) ได้ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนักและมะเร็งคอหอยส่วนปาก เป็นต้น แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะช่วยป้องกันได้จริงหรือไม่และป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน

อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกพบว่าสามารถพบได้น้อยมาก และส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายกับการฉีดวัคซีนทั่วไป เช่น บวมแดง หรือปวดร้อนบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย หรือในบางคนก็อาจมีอาการไข้ คลื่นไส้อาเจียน เกิดผื่นคันและปวดศีรษะร่วมด้วย แต่ไม่เป็นอันตรายแน่นอน นอกจากผู้ที่เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยจะมีอาการช็อกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ไม่ค่อยพบมากนัก ซึ่งแพทย์ก็จะแนะนำโดยทั่วไปว่า หลังจากฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรนอนพักผ่อนประมาณ 15-30 นาทีก่อนกลับบ้าน เพื่อเฝ้าดูอาการความผิดปกติอย่างใกล้ชิดและทำการช่วยเหลือได้ทัน

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถใช้บัตรประกันสุขภาพได้หรือไม่?

ใช้บัตรทองได้หรือไม่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่ถูกรวมอยู่ในบัตรทอง เนื่องจากมีราคาที่สูงมากเกินกว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องฉีดกี่เข็มกันแน่จึงจะสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนก็สามารถทำการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการตรวจคัดกรอง แพปสเมียร์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นการตรวจประจำทุกปีหรือตามแพทย์แนะนำก็ได้ โดยวิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ในระดับหนึ่งเช่นกันโดยในปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาวัคซีนต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ยังมีเพียงวัคซีนแค่ 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถนำมาใช้ได้และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งก็คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับชนิดบีและวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก 

วิธีการง่ายที่สุด ที่เราสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ก็คือ การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนั้นเอง โดยปัจจัยเสี่ยงที่ควรจะหลีกเลี่ยงมีดังนี้   

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การมีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ จนเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • การมีบุตรหลายคน
  • การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
  • การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันพิษจากบุหรี่บ่อยๆ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์รักษาให้หายโดยเร็วจะดีที่สุด
  • การป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นทำได้โดยวิธีการดังนี้ คือ
  • ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV อีกสองสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศได้ถึงร้อยละ 90 โดยแพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือฉีดในรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) โดยแพทย์จะเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์อาจมีโอกาสพลาดถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกแม้จะตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  • ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำอย่างมากคือมีโอกาสพลาดเพียงร้อยละ 5-10 และส่วนใหญ่จะทำร่วมกับการตรวจ ThinPrep โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เพื่อส่งตรวจในคราวเดียว หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็แสดงว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก และสามารถรอได้ถึง 3 ปี กว่าจะเข้ารับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง

สำหรับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีอื่นๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่น้อยกว่าการฉีดวัคซีน และยังคงมีความเสี่ยงในกรณีที่ถุงยางรั่วหรือแตกอีกด้วย ส่วนความเชื่อที่ว่าการขลิบหนังหุ้ม ปลายอวัยวะเพศชายจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงได้ จากการศึกษาพบว่าไม่เป็นความจริง เพราะถึงแม้ว่าจะขลิบออก ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายในผู้หญิงที่พบเป็นอันดับแรกๆ ของโรคมะเร็งทั้งหมด ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะการไม่มีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อนและหมั่นตรวจประจำปีเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เท่านี้ก็จะทำให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นแล้ว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. “ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก”. (รศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์). [ออนไลน์]. www.rtcog.or.th. 

หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 1159-1160.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

Mary-Anne Romano (17 October 2011). “Aboriginal cervical cancer rates parallel health inequity”. Science Network Western Australia. Archived from the original on 14 May 2013.

 Australian Cervical Cancer Foundation. “Vision and Mission”. Australian Cervical Cancer Foundation. Archived from the original on 12 May 2013.