อาหารเสริมทางการแพทย์ คือ
อาหารเสริมทางการแพทย์ ( Medical Supplements ) คืออะไร? เมื่อร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายต้องการสารอาหารมากกว่าคนปกติ เพื่อที่จะได้นำสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบภายในร่างกายให้กลับมามีสภาพที่แข็งแรงดังเดิม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นผู้ป่วยที่มีความกังวลใจในหลายด้าน ทั้งด้านการรักษาการดูแลตนเองและการเลือกรับประทานอาหาร ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทำให้เราได้รับข่าวสารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งหรือส่งผลให้มะเร็งเกิดการลุกลามมากขึ้น ดังนั้นเมื่อตนเองเป็นโรคมะเร็งเกิดขึ้นจึงมีความกังวลใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารว่าอาหารบางชนิดอาจจะส่งผลให้มะเร็งที่เป็นอยู่เกิดการแพร่กระจายลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม จึงเลือกที่จะไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารบางชนิดเพียงอย่างเดียวตลอดเวลา เช่น ผัก ผลไม้ และไม่ยอมรับประทานอาหารประเภทอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ เลยแม้แต่น้อย ด้วยความเชื่อที่ว่าการรับประทานผักและผลไม้จะสามารถช่วยให้หายจากโรคมะเร็งได้ ซึ่งการรับประทานแต่เฉพาะผักและผลไม้เพียงอย่างเดียวจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหารที่จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อมะเร็ง บางครั้งอาจจะส่งผลให้ร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งอ่อนแอมากขึ้น หรือเกิดภาวะที่ขาดสารอาหารจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นการเลือกอาหารและการรับประทานอาหารให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการรักษาโรคมะเร็งเลยทีเดียว และหากจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งก็จะสามารถทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ อาหารเสริมทางการแพทย์ ควรทานคู่กับอาหารปกติเพราะการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูและหายจากอาหารป่วยได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้ารับการรักษาในแต่ละขั้นตอนได้อีกด้วย
โรคมะเร็งเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ภายในร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ สาเหตุของเซลล์มะเร็งเกิดจากการกลายพันธ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ที่อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งเซลล์มะเร็งจะสามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และยังสามารถแพร่กระจายไปทำลายเซลล์ที่อวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลได้อีกด้วย
การรักษามะเร็งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. การรักษาด้วยการผ่าตัด คือ การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อหรือก้อเซลล์มะเร็งออกมาจากร่างกาย เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในร่างกายได้ ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดจะทำในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะในระยะที่ 1 หรือระยะ 2 ที่ยังมีการลุกลามไม่มากเท่านั้น การผ่าตัดไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ ต้องทำการรักษาด้วยการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเท่านั้น
2. การรักษาด้วยการฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การฉายรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า อนุภาคอิเลคตรอน อนุภาคโปรตอน อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น โดยจะทำการฉายรังสีเข้าไปยังตำแหน่งที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น รังสีที่ฉายเข้าสู่เซลล์มะเร็งจะเข้าไปทำลายสารพันธุกรรมที่อยู่ภายในของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้สารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งเกิดความเสียหายจนเซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตและตายลงในที่สุด
3. การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือการทำคีโม คือ การให้ยาเคมีเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถทำการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้และตาย การให้ยาเคมีบำบัดจึงสามารถควบคุมและลดขนาดของก้อนมะเร็งให้มีขนาดคงที่หรือเล็กลงได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย และยังสามารถช่วยบรรเทาปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ด้วย
แต่สำหรับการรักษามะเร็งเต้านมยังมีการรักษาด้วย การบำบัดด้วยฮอร์โมน ( Endocrine Therapy ) เป็นการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เพราะว่ามะเร็งเต้านมจะสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ดังนั้นการลดปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้น ซึ่งบางครั้งการรักษาโรคมะเร็งไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียวแล้วจะรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้การรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี จึงจะสามารถทำการมะเร็งให้หายขาดและไม่กลับมาเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งในขณะที่ทำการรักษาแต่ละขั้นตอนผู้ป่วยก็จะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นมากน้อยต่างกันไป
ร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องการสารอาหารมากกว่าปกติเป็นอย่างมาก อาหารเสริมทางการแพทย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายทำการผลิตสารโพรอินเฟรมมาทอรี่ไซโตไคน์ ( Proinflamatory Cytokines ) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบนี้จะเข้าไปเพิ่มให้มีเผาผลาญพลังงานเกิดมากขึ้นจนกลายเป็นภาวะไฮเพอร์เมแทบอลิก ( Hypermetabolic ) ที่มีอัตราเร็วของกระบวนการเมแทบอลิซึม ( Metabolism ) ที่สูงกว่าปกติจึงทำให้มีการสลายโปรตีน ไขมันที่มีในร่างกายมากขึ้น จนร่างกายต้องเกิดการสูญเสียไขมันและโปรตีนมากผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีความกังวลและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการรักษาโรคมะเร็ง ความเครียดที่เกิดขึ้นจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างการผลิตฮอร์โมนแห่งความเครียด ( Stress hormones ) เช่น แอดรีนาลิน ( Adrenalin ) และ คอร์ติซอล ( Cortisol ) ส่งผลให้ร่างกายมีอัตราการเมตาบิลิซึมสูงเช่นเดียวกับการเพิ่มของสารโพรอินเฟรมมาทอรี่ไซโตไคน์ ( Proinflamatory Cytokines ) เมื่อร่างกายมีอัตราการเมตาบอลิซึมที่มากกว่าปกติ ร่างกายจำเป็นต้องใช้สารอาหารที่มากขึ้นเพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึมที่เกิดขึ้น แต่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารเท่าเดิมหรือน้อยกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ร่างกายก็จะเกิดภาวะขาดสมดุลของโภชนการหรือเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงเนื่องจากการขาดสารอาหารนี้
อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ อาหารเสริมทางการแพทย์ (
Medical Supplements ) ที่มีความบริสุทธิ์และไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
อาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยมะเร็ง คือ
1. อาหารที่มีโปรตีนสูง
อาหารที่มีโปรตีนสูงจะประกอบไปด้วยโปรตีนและกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกายที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี ซึ่งแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ เนื้อปลา ไข่ไก่ โดยเฉพาะโปรตีนจากไข่ขาว นม ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื่องจากอันตราการเมตาบอลิซึมที่เกิดขึ้นสูงกว่าปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยจึงต้องได้รับอาหารที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
2. อาหารที่ให้พลังงานสูง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมากมักจะรับประทานอาหารได้น้อย เนื่องมากจากความเครียดและอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษา เช่น อาการเบื่ออาหาร อาเจียน การรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป แผลในปากทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง จึงรับประทานอาหารได้น้อยลง ดังนั้นอาหารที่รับประทานจึงควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เพื่อที่ว่ารับประทานเพียงเล็กน้อยก็สามารถให้พลังงานได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว
3. กินผักผลไม้ให้ครบ 5 สี
ผักและผลไม้มีสารอาหารในกลุ่ม ไฟโตนิวเทรียนท์สูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ถึงแม้ว่าสารอาหารเหล่านี้จะไม่ได้ให้พลังงานกับร่างกายโดยตรง แต่วิตามินและแร่ธาตุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายมีความสมดุล สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเร่งการเกิดปฏิกิริยาในการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย และวิตามิน แร่ธาตุที่อยู่ในผักผลไม้ยังจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยมที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเพื่อป้องกันการลุกลามและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการรับประทานผักผลไม้ทุกวันก็จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีภูมิต้านทานโรคและป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี การรับประทานผัก ผลไม้ควรเลือกรับประทานให้ครบทุกสีหรืออย่างน้อย 3 สีต่อวันจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผักผลไม้ 5 สีต้านโรค
1. สีแดง บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ป้องกันมะเร็งได้
2. สีเขียว ต้านริ้วรอย ช่วยในการขับถ่าย ต้านโรคมะเร็ง
3. สีส้ม ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ลดไขมันในเลือด
4. สีม่วง ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ช่วยให้เส้นผมเงางาม
5. สีขาว ลดการอักเสบ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด ช่วยลดอาการปวดข้อเข่า
ดังนั้น จึงควรรับประทานผักและผลไม้ที่หลากสีให้ได้ 400-500 กรัมต่อวันจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
4. กินไขมัน
ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนมีความเชื่อว่าไม่ควรรับประทานไขมัน แต่ที่จริงแล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องการไขมันเข้าสู่ร่างกายมากกว่าคนปกติเสียด้วย เพื่อมาทดแทนไขมันที่สูญเสียไปในขณะที่ร่างกายเกิดกระบวนการเมตาบอลิซึมที่เกิดมากขึ้น เพราะไขมันเป็นแหล่งที่ให้พลังงาน เป็นแหล่งสะสมของวิตามินที่ละลายในไขมันและยังให้กรดไขมันที่มีความจำเป็นบางชนิดต่อร่างกายอีกด้วย แต่ว่าไขมันที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเป็นไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว และงดไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานซ์ เช่น มันหมู มันไก่ กะทิ เนย เป็นต้น ซึ่งไขมันที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งมากที่สุด ก็คือ ไขมันที่มาจากเนื้อปลา เพราะว่าในไขมันปลาจะมีกรดโอเมก้า 3 ที่สามารถช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อให้มีการอักเสบน้อยลงในผู้ป่วยมะเร็งที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสงหรือผลอาการข้างเคียงทีเกิดขึ้นจากการให้เคมีบำบัดได้
การรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะที่ไม่มีความอยากอาหาร มีการรับประทานอาหารน้อยลง จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการจะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งแทบทุกคนจะมีร่างกายที่ผายผอมและมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายมีการใช้พลังงานมากขึ้นในการฟื้นฟูและรักษาอาการอักเสบที่เกิดขึ้นของเซลล์ภายในร่างกาย หรือในผู้ป่วยบางรายรู้สึกเบื่ออาหารไม่อยากรับประทานอาหาร หรืออยากรับประทานอาหารบางชนิดแต่อาหารดังกล่าวไม่สามารถที่จะรับประทานได้ในขณะที่เป็นโรคมะเร็งจึงทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยลงหรือบางรายไม่ยอมที่จะรับประทานอาหารเลย จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร แต่การที่จะบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือการจัดอาหารให้มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยก็เป็นไปได้ยาก ทั้งสภาวะร่างกายที่ไม่พร้อมจะรับประทานอาหารและสภาวะจิตใจที่เครียดจากอาการป่วยส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง
การเลือกอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องคำนึกถึงปริมาณโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งร่วมกับการรับประทานอาหารหลักจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี การรับประทานอาหารเสริมก็เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นแม้จะบริโภคอาหารน้อยลงหรือเท่าเดิม โดยการรับประทานอาหารเสริมจะช่วยเสริมสารอาหารให้กับผู้ป่วย ซึ่งอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งจะประกอบไปด้วยสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เมื่อบริโภคตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งอาหารเสริมอาหารที่ทำการผลิตจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
อาหารเสริมสามารถแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ
1. Feed Grade คือ อาหารที่เกรดต่ำที่สุด เป็นเกรดอาหารที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับการผลิตอาหารให้กับสัตว์รับประทาน มีราคาถูกแต่คุณภาพไม่เหมาะสมกับการรับประทานของคนทั่วไป
2. Food Grade คือ อาหารหรืออาหารเสริมที่มีคุณภาพเท่ากับการผลิตอาหารทั่วไป ซึ่งอาหารเสริมที่อยู่ในเกรดนี้จะมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยา ( Food and Drug Administration ) ไม่จำเป็นต้องระบุส่วนผสมของอาหารเสริมทั้งหมดบนฉลากของสินค้า อาหารเสริมชนิดนี้จะมีการปนเปื้อนจากสารเคมีอื่นได้ประมาณร้อยละ 30 เราสามารถนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทานหรือรับประทานเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรงแต่ไม่เกิดโทษกับร่างกาย แต่ว่าสารอาหารที่ได้รับจากอาหารเสริมชนิดนี้ ร่างกายอาจจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ทั้งหมดตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้า ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแตกตัวของสารที่อยู่ในอาหารเสริมนั่นเอง
3. Medical Supplements คือ อาหารเสริมที่มีการคุณภาพสูงที่สุดในบรรดาอาหารเสริมทั้งหมด ซึ่งคุณภาพและขั้นตอนการผลิตอาหารเสริมชนิดนี้จะเหมือนกับการผลิตยาที่ใช้ในการรักษาโรคทุกอย่าง จึงเรียกอาหารเสริมชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “ อาหารเสริมเกรดยา ” ซึ่งอาหารเสริมเกรดยาจะต้องมีความบริสุทธิ์ของสารอาหารมากว่าร้อยละ 90 และต้องไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอื่น เช่น สารพิษ โลหะหนัก ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สารอาหารที่อยู่ในอาหารเสริมเกรดยานี้จะสามารถทำการแตกตัวเพื่อให้ร่างกายสามารถทำการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณที่ทำการระบุไว้ในฉลากของสินค้า นอกจากนั้นบนฉลากของอาหารเสริมเกรดยาจะต้องระบุส่วนผสมทั้งหมดที่อยู่ในอาหารเสริมนี้อย่างละเอียด ซึ่งปริมาณสารอาหารและคุณภาพของสารออกฤทธิ์ที่ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาที่มีอยู่ในอาหารเสริมจะต้องมีปริมาณที่คงที่ตลอดอายุของอาหารเสริมที่ระบุไว้บนฉลากของสินค้า อาหารเสริมเกรดยาจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากความบริสุทธิ์ของสารอาหารและขั้นตอนการผลิตที่เหมือนกับยานั่นเอง เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารสูงและระวังเรื่องสารปนเปื้อนที่อาจจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้
ดังนั้น อาหารเสริมคนป่วยกินข้าวไม่ได้ ควรทานอาหารเสริมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงเป็นอาหารเกรดยา เนื่องจากอาหารเสริมชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนการที่สูงและมีการสารปนเปื้อนที่น้อยมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการได้รับสารพิษบางชนิดได้เป็นอย่างดี
ผลดีของการได้รับอาหารเสริมทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็ง คือ
1. ร่างกายฟื้นตัวได้รวดเร็ว
เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีอัตราการเมตาบอลิซึมที่สูงกว่าคนปกติจึงต้องใช้โปรตีน ไขมันและสารอาหารต่าง ๆ มากกว่าปกติ แต่การรับประทานอาหารหลักเพียงอย่างเดียวบางครั้งร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถ้าต้องการให้ได้รับสารอาหารให้เพียงพอก็อาจจะต้องรับประทานอาหารมากกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในขณะทำการรักษา เนื่องจากผลข้างเคียงในการรักษาผู้ป่วยจะไม่มีความอยากอาหาร จึงสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลงเสียด้วย หรืออาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นภายในช่องปาก ( mucositis ) ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาด้วยการฉายแสง เพราะเมื่อผู้ป่วยเกิดแผลที่ภายในช่องปากแล้ว ผู้ป่วยจะเจ็บปวดและทรมานมากโดยเฉพาะเวลารับประทานอาหาร ทำให้รับประทานอาหารด้วยความยากลำบาก จนรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารเพราะกลัวที่จะเจ็บปวดเวลาที่รับประทานอาหาร ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารและสุขภาพทรุดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าได้รับประทานอาหารเสริมเข้าไปช่วยเพิ่มปริมาณสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากอาหารเสริมเกรดยา ( Pharmaceutical Grade ) มีองค์ประกอบของสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่เข้มข้นสูงเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง นอกจากนั้นสารอาหารที่อยู่ในอาหารเสริมนั้นร่างกายยังสามารถดึงไปใช้ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอนให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อร่างกายมีโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ร่างกายก็จะสามารถนำพลังงานที่ได้มาซ่อมแซมเซลล์และช่วยในการฟื้นฟูร่างกายที่ถูกทำลายไปให้ฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น
2. เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การเข้ารับการให้เคมีบำบัดในแต่ละรอบจะต้องทำกาตรวจวัดปริมาณของเม็ดเลือดขาวก่อนที่จะทำการให้เคมีบำบัดทุกครั้ง ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็จะไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เพราะการที่เม็ดเลือดขาวต่ำทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มาก ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องมีเม็ดเลือดขาวในปริมาณที่เหมาะสมก่อนจึงจะทำการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปได้ แต่การรับประทานอาหารทั่วไปเพียงอย่างเดียวบางครั้งสารอาหารที่ได้รับอาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมจะช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดให้เพิ่มขึ้นในปริมาณที่สามารถเข้ารับการในรอบต่อไปได้ตามที่แพทย์นัด ไม่ต้องเลื่อนไปเพื่อรอให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพิ่มอีก ซึ่งในระหว่างที่ทำการรอนี้เซลล์มะเร็งอาจจะมีการลุกลามมากขึ้นได้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ต้องมีการเพิ่มปริมาณยาและเวลาในการรักษาเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเสียกำลังใจซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการรักษาโรคมะเร็ง
อาหารเสริมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ อาหารเสริมชนิดสำเร็จรูปเกรดการแพทย์ ที่มีความบริสุทธิ์และไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ การเลือกอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องคำนึกถึงปริมาณโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่มากจนเกินไปจนอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายต้องทำงานหนักซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้
นอกจากการดูแลด้านโภชนาการด้วยการเลือกอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรับประทานอาหารและเสริมด้วยอาหารเสริมที่ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะฟื้นตัวและสามารถรักษาตัวให้หายจากโรคมะเร็งได้แล้ว การดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยให้มีกำลังพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งมากขึ้น
สนใจสั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยคลิ๊ก Line: @ amprohealth
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง[/vc_column_text]
เอกสารอ้างอิง
www.nestlehealthscience-th.com/
“EPIC (European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition) Study”. epic.iarc.fr. International Agency for Research on Cancer: World Health Organization.
“Diet, healthy eating and cancer”. info.cancerresearchuk.org. Cancer Research UK.