ตรวจเลือดและตรวจเช็คสุขภาพ

- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ฮีโมโกลบินคืออะไร

0
ฮีโมโกลบินคืออะไร ? ฮีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน ( Hemoglobin ) คือ ส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนเลือด มีโมเลกุลโปรตีนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮีม ( Heme ) ฮีมนี้ทำหน้าที่ดักจับและขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจับธาตุกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ฮีมมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบเกิดจากโมเลกุลโปรตีน 4 ตัวที่เชื่อมต่อกันเรียกว่าสายโกลบูลิน ( Globulin Chains ) โดยปกติโครงสร้างของฮีโมโกลบินในผู้ใหญ่จะประกอบไปด้วยสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และสายโกลบูลินชนิดเบต้า 2 ตัว ส่วนในทารกพบเพียงสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และสายโกลบูลินชนิดแกมมา 2 ตัว ไม่พบสายโกลบูลินชนิดเบต้า แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น สายโกลบูลินชนิดแกมมาจะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยสายโกลบูลินชนิดเบต้า และกลายเป็นโครงสร้างของฮีโมโกลบินแบบผู้ใหญ่ต่อไป >> การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด สามารถบอกอะไรได้ อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง สามารถบอกอะไรบ้างมาดูกันค่ะ  ฮีโมโกลบิน เป็นโครงสร้างแบบใด ฮีโมโกลบิน (hemoglobin หรือคําย่อคือ Hb) มีโครงสร้างโมเลกุลทีประกอบด้วยสายโปลีเป็ปไทด์ (polypeptide) ซึงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน เรียกว่าสายโกลบิน (globin chain) กับหมู่ฮีม (heme group) ซึงฮีม มีโครงสร้างทางเคมีเป็นพอร์ไฟริน (porphyrin) ทีมีโมเลกุลของเหล็ก (iron หรือ Fe) อยู่ตรงกลาง เพือ ทําหน้าทีจับและปล่อยออกซิเจน วัตถุประสงค์ในการตรวจฮีโมโกลบิน เพื่อตรวจวัดปริมาณโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่มีว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ฮีโมโกลบินในเลือดประกอบด้วยอะไรบ้าง ฮีโมโกลบินประกอบไปด้วยโมเลกุลของโปรตีน globin 4 โมเลกุล คือ2 alfa-globulin chains และ 2 beta-globulin chain s และธาตุเหล็ก ฮีโมโกลบินที่พบได้ทั่วไปมี 3 ชนิดคือ ฮีโมโกลบิน เอ ( Hemoglobin A ) พบมากที่สุดในคนวัยผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคธาลัสซีเมียขั้นรุนแรง อาจมีระดับฮีโมโกลบินชนิดนี้ลดลงได้ ฮีโมโกลบิน เอฟ ( Hemoglobin F ) พบในทารกที่อยู่ในครรภ์และเด็กแรกเกิด ซึ่งฮีโมโกลบินชนิดนี้จะถูกแทนที่ด้วยฮีโมโกลบิน เอ ภายในไม่นานหลังจากเกิด หลังจากนั้นร่างกายจะผลิตฮีโมโกลบินเอฟออกมาในปริมาณน้อยมาก แต่หากป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย โรคเลือดจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเลือดจางจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาจพบฮีโมโกลบินชนิดนี้ในปริมาณสูงได้ ฮีโมโกลบิน เอ2 ( Hemoglobin A2 ) เป็นฮีโมโกลบินที่พบในผู้ใหญ่ พบปริมาณเพียงเล็กน้อย ฮีโมโกลบินทำหน้าที่อะไร หน้าที่ของฮีโมโกลบินคือการลำเลียงออกซิเจนจากปอดออกไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อกลับมายังฟอกที่ปอด ช่วยรักษารูปร่างของเม็ดเลือดแดงให้เป็นปกติ คือมีลักษณะเป็นวงกลมและตรงกลางเว้าคล้ายโดนัท แต่ไม่เป็นรู หากโครงสร้างของฮีโมโกลบินผิดปกติจะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างแตกต่างไปจากเดิม และมีภาวะโรคเลือดได้เช่น โรคเลือดจาง โรคเลือดหนืด เป็นต้น เราจะทราบความผิดปกติของฮีโมโกลบินได้อย่างไร ? จะทราบได้โดยการตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ( Complete Blood Count CBC ) เพราะช่วยระบุได้ว่าผู้ป่วยมีระดับฮีโมโกลบินสูงหรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งระดับฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงโรคบางชนิดได้ เช่น โรคติดต่อทางพันธุกรรม โรคเลือดจาง เป็นต้น ค่าปกติของฮีโมโกลบินในเลือดควรมีปริมาณเท่าไร ? ระดับฮีโมโกลบิน ( Hb ) โดยทั่วไปควรมีค่าดังนี้ ...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ไขกระดูกมีความผิดปกติ Myeloproliferative disease ( MPD )

0
ไขกระดูกมีความผิดปกติ Myeloproliferative disease ( MPD ) ไขกระดูกมีความผิดปกติ Myeloproliferative disease ( MPD ) หรือ โรคมัยอีโลโพรลิฟเฟอเรทีฟ ปัจจุบันองค์การอนามัยโรคได้ใช้ชื่อโรคนี้ว่า Myeloproliferative neoplasm ย่อว่า MPN คือ กลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ ประกอบด้วยโรคมะเร็งแบบเรื้อรังชนิดต่างๆ ที่เกิดจากมีการผิดปกติในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากเกินไปของเซลล์ชนิดต่างๆของไขกระดูก ซึ่งโรคนี้สามารถพบในผู้ใหญ่ได้ทั้งชายและหญิง จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง จึงต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตหรืออาจใช้เวลาหลายปี โรค Myeloproliferative เป็นกลุ่มของความผิดปกติที่มีลักษณะโดดเด่นด้วยการเพิ่มจำนวนเซลล์ของเซลล์โลหิตหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเส้นในเลือดส่วนปลายซึ่งแตกต่างจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน >> โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถรักษาได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด สามารถบอกอะไรได้บ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ    การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1. การตรวจ complete blood count ( CBC ) จะพบระดับเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำ ( pancytopenia ) 2. การตรวจไขกระดูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือด้วยการตรวจทางพยาธิวิทยา 3. การตรวจหายีนผิดปกติ การรักษาโรคMPD จะเป็นการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ ยารักษาตรงเป้า ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ ไขกระดูกมีความผิดปกติ คือ เกิดจากมีการผิดปกติในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากเกินไปของเซลล์ชนิดต่างๆของไขกระดูก ประเภทความผิดปกติของ 1. myelofibrosisปฐมภูมิ มีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่เจริญเต็มที่ตามปกติและมีรูปร่างผิดปกติ ทำให้เกิดความหนาหรือแผลเป็นของเส้นใยในไขกระดูกซึ่งสามารถลดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและทำให้เกิดโรคโลหิตจาง 2. polycythemia vera ( PV ) เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูกซึ่งสร้างขึ้นในเลือด บ่อยครั้งที่ม้ามบวมเมื่อเซลล์เม็ดเลือดส่วนเกินมารวมตัวที่นั่นทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความรู้สึกเต็มด้านซ้าย อาการคันทั่วร่างกายเป็นอาการของ PV 3. Essential Thrombocythemia ( ET ) หมายถึงจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดสูงกว่าปกติ ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่น ๆ เป็นปกติ เลือดเหนียวไหลเวียนได้ช้าลง 4. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว eosinophilic leukemia / hypereosinophilic syndrome ( HES ) มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงกว่าจำนวนปกติ อาการคันบวมรอบดวงตาและริมฝีปากหรือมือเท้าบวม ในผู้ป่วยบางรายอาจพัฒนาไปสู่มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 5. Systemic mastocytosis ( SM ) มีผลต่อเซลล์ในผิวหนังเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจส่งผลต่อม้ามไขกระดูกตับหรือลำไส้เล็กในที่สุด ผลข้างเคียงจากโรค MPD ตับโต ม้ามโต โรคเกาต์ ภาวะซีดเลือดออกง่าย ไตวาย ตับวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองติดเชื้อต่างๆได้ง่าย ทั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย มะเร็งในระบบโรคเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันเอเอ็มแอล อาการของโรค ผู้ป่วย MPN อาจมีภาวะโลหิตจางปานกลางหรือรุนแรง ซึ่งเป็นภาวะที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอที่จะรับออกซิเจน ทำให้เกิดอาการดังนี้ 1. หายใจถี่ในช่วงออกแรง 2. ความอ่อนแอและความเหนื่อยล้า 3. ผิวสีซีด 4. สูญเสียความกระหาย 5. มีเลือดออกเป็นเวลานานจากบาดแผลเล็ก ๆ เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำมีค่า 6. เกิดภาวะที่ผิวหนังมีเลือดออกทำให้เกิดจุดด่างดำและน้ำเงินหรือผิวหนัง 7. ไซนัสติดเชื้อที่ผิวหนังหรือทางเดินปัสสาวะเนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวต่ำ แนวทางการรักษา การรักษา MPN นั้นขึ้นอยู่กับชนิดและอาการของโรค โดยทั่วไปการรักษามีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขจำนวนเลือดที่ผิดปกติ ยาเคมีบำบัด    เคมีบำบัดใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์เม็ดเลือดพิเศษในร่างกาย ยาเคมีบำบัดอาจนำมารับประทานในรูปแบบเม็ดหรืออาจได้รับการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ( ผ่าน IV ) เคมีบำบัดเรียกว่าการรักษาแบบระบบเนื่องจากยาเข้าสู่กระแสเลือดเดินทางผ่านร่างกายและสามารถฆ่าเซลล์ทั่วร่างกาย รังสีบำบัด การบำบัดด้วยรังสีช่วยบรรเทาอาการของ MPN สามารถให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำจากไขกระดูก ศัลยกรรม การผ่าตัดเพื่อเอาม้ามออกเรียกว่าม้ามโตอาจดำเนินการได้ถ้าม้ามของผู้ป่วยบวม การบำบัดทางชีวภาพ การบำบัดเพื่อควบคุมหรือฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฮอร์โมน อาจใช้ในบางกรณีเพื่อรักษาผลข้างเคียงของ MPN ในผู้ป่วย อาจได้รับเพื่อเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ฮอร์โมนแอนโดรเจนกระตุ้นไขกระดูกให้ผลิตเซลล์เม็ดเลือดมากขึ้น ซึ่งการฟื้นตัวหรือการตอบสนองของบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ฮีมาโทคริตคือเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนที่แยกออกจากพลาสมา

0
ฮีมาโทคริต ฮีมาโทคริต ( Hematocrit, Ht หรือ HCT ) คือเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนที่แยกออกจากพลาสมา หรือ ปริมาตรเซลล์อัดแน่น Packed cell volume ( PCV ) หรือ erythrocyte volume fraction ( EVF ) ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าค่าเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด ค่าปกติของฮีมาโทคริต ในเพศชายอยู่ที่ 45% และฮีมาโทคริตในเพศหญิงอยู่ที่ 40% ฮีมาโทคริต นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ร่วมกับ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเกล็ดเลือดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า ฮีมาโทคริต จะขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย>> การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน สามารถบอกอะไรได้อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ผลตรวจเลือด ค่าเลือดปกติ แปลผลแลป และวิธีการอ่าน ทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ ค่า packed cell volume ( PCV ) สามารถหาได้โดยการปั่นตกของเลือดที่ใส่สารเฮพารินในหลอด capillary tube ( หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ microhematocrit tube ) ที่ความเร็ว 10,000 RPM เป็นเวลา 5 นาที เพื่อทำให้เลือดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดงนำมาหารด้วยปริมาณทั้งหมดของเลือด คือ ค่า PCV เนื่องจากเราทำการวิเคราะห์โดยใช้หลอดทดลอง ดังนั้น เราจึงสามารถคำนวณโดยอาศัยการวัดความยาวของชั้นได้ วัตถุประสงค์ในการตรวจฮีมาโตคริต เพื่อตรวจหาค่าความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดที่มีอยู่ในน้ำเลือด และนิยมแสดงค่าเป็น % ระดับฮีมาโทคริต เป็นระดับฮีมาโตคริตเป็นเพียงเปอร์เซ็นต์ของเซลล์แดงในเลือดของคุณ ตัวอย่างเช่น ระดับ 38% ถือเป็นระดับต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับการบริจาคโลหิต ทำไมต้องตรวจหาค่าฮีมาโทคริต การตรวจหาค่า ฮีมาโทคริต เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ความผิดปกติที่พบมีได้ทั้งมากเกินไป และน้อยเกินไป ค่าเข้มข้นของเลือดไม่ได้บอกสาเหตุของโรคบอกเพียงแต่มีความผิดปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดง ซึ่งรวมถึงอาการของโรคโลหิตจางได้ด้วย ค่าปกติของ ฮีมาโทคริต ( Hct ) ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบแสดงผลการตรวจเลือด (ถ้ามี) ระดับฮีมาโตคริตปกติจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุและเชื้อชาติ ซึ่งในผู้ใหญ่ เพศชายระดับฮีมาโตคริตปกติมีตั้งแต่ 41 - 50 เปอร์เซ็นต์ เพศหญิงระดับฮีมาโตคริตช่วงปกติจะต่ำกว่าชายเล็กน้อย 36 - 44 เปอร์เซ็นต์ ระดับฮีมาโตคริตต่ำกว่าช่วงปกติซึ่งหมายความว่าบุคคลนั้นมีเม็ดเลือดแดงน้อยเกินไปเรียกว่า โรคโลหิตจาง และระดับฮีมาโตคริตที่สูงกว่าปกติซึ่งหมายถึงเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป อาจบ่งบอกถึงภาวะเลือดหนืด ค่าปกติทั่วไปฮีมาโทคริต ทารก = 44-64% ค่าวิกฤติHct คือ < 15% หรือ มากกว่า > 60% เด็ก อายุ 6-12 ปี = 35 – 45% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 40%) ผู้ชายอายุ 12-18 ปี = 37 – 49% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 43%) ผู้ชายอายุ 18 ปีขึ้นไป = 41 – 50% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia )

0
ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia ) ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia ) โดยทั่วไปภาวะเลือดหนืดในระยะแรกมักไม่มีอาการ ตรวจพบได้จากการตรวจความสมบูรณ์ ของเม็ดเลือด หรือการตรวจซีบีซี CBC จากการตรวจสุขภาพทั่วไปเอา แต่เมื่อเป็นมากขึ้นคือ ปริมาณเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นมาก จะมีอาการมีเม็ดเลือดแดงที่สูงขึ้น ส่งผลให้เลือดข้นหรือเลือดหนืดขึ้น เลือดจึงไหลเวียนได้ช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดช้าลงหรือเลือดติดขัด >> การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด อยากรู้ตามมาดูกันค่ะ >> โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ อาการของเลือดหนืด อาการของภาวะเลือดหนืด ที่พบได้บ่อยได้แก่ วิงเวียน หน้ามืด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก มีจุดแดง ๆ เป็นจ้ำ ๆ ทั่วตัว หน้าแดง ตาแดงที่ไม่ได้เกิดจากลูกตาติดเชื้อ ตาพร่า ปวดเมื่อย บวม เป็นต้น สาเหตุของเลือดหนืด ภาวะเลือดหนืดมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ปัญหาจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือด น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือเป็นผลมาจากโรคต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะเลือดหนืดที่มีสาเหตุจากปริมาณน้ำเลือดหรือพลาสมาลดลง มักมีสาเหตุมาจากการที่มีน้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือเป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย ภาวะเลือดหนืด ที่มีสาเหตุจากไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณที่มากเกินไป แบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะเลือดหนืดที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ ( Primary Polycythemia ) มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมเจเอเคทู ( JAK2 ) ทำให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณที่มากผิดปกติ และผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในปริมาณที่มากผิดปกติด้วยเช่นกัน 2. ภาวะเลือดหนืดที่มีสาเหตุมาจากการผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิติน ( Erythropoietin ) ในปริมาณที่มากเกินไป ( Secondary Polycythemia ) หรืออาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับไต เช่น การตีบของหลอดเลือดแดงในไต หรือ เนื้องอกในไต เป็นต้น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( Chronic Obstructive Pulmonary Disease - COPD ) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep Apnoea ) ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ จึงผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากขึ้น การรักษาโรคเลือดหนืด การลดปริมาณเม็ดเลือดแดง ที่ได้ผลรวดเร็ว ลดอาการต่าง ๆ ได้รวดเร็วคือ การเจาะเลือดออกทิ้งที่เรียกว่า Phlebotomy ซึ่งการเจาะเอาเลือดออกจะทำเป็น ระยะ ๆ ถี่หรือห่างขึ้นกับจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดสูงมากหรือสูงน้อย อาการ และสุขภาพโดย รวมของผู้ป่วย นอกจากนั้นคือ การให้ยาชนิดต่างๆเพื่อลดการทำงานของไขกระดูก เช่น ยาเคมีบำบัด ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ยาน้ำแร่รังสี ซึ่งการจะเลือกยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ โดยดูจากความรุนแรงของอาการ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และการตอบ สนองหรือการดื้อต่อยา ผลการรักษาจากยาชนิดต่าง ๆ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดความดันโลหิตที่สูง การให้ยาลดการแข็งตัวของเลือดหรือลดการเกิดลิ่มเลือดเช่น ยา แอสไพริน เป็นต้น ผลข้างเคียงจากภาวะเลือดหนืด ภาวะเลือดหนืดอาจเกิดจากการล้มเหลวของการไหลเวียนเลือดจากเลือดที่ข้นขึ้นมากและจากภาวะลิ่มเลือด โดยผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาการคันผิวหนังโดยเฉพาะ รวมถึงเกิดแผลต่าง ๆ ได้ง่ายที่บริเวณผิวหนังและที่เยื่อเมือกบุอวัยวะภายในต่าง...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

โลหิตจาง ( Anemia )

0
  โลหิตจาง ( Anemia ) โลหิตจาง ( Anemia ) หรือ เลือดจาง เป็น ภาวะที่ร่างกายซีดขาว หรือ ซีดเหลือง ไม่มีเลือดฝาด เพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้การนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง อาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น การที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายของเราขาดฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงจะสร้างที่ไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงต้นกำเนิด ก่อนเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนและพัฒนาจนเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ในระยะเวลา 120 วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยเข้าสู่หลอดเลือด ก่อนจะถูกกำจัดออกไปโดยไขกระดูก ม้าม และตับ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง เพื่อทดแทนของเก่าที่ถูกกำจัดไปซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ผิวซีดหรือผิวเหลืองไม่สดชื่น หายใจลำบากขณะออกแรง วิงเวียนศีรษะ ปวดหัวบ่อย ๆ สาเหตุของภาวะโลหิตจาง แบ่งเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ร่างกายเสียเลือดมาก มีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย และ มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ สาเหตุจากร่างกายเสียเลือดมาก คือการเสียเลือดแบบเฉียบพลัน หรือเกิดแบบเรื้อรัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การตกเลือดจากการคลอดหรือแท้งบุตร การติดเชื้อพยาธิปากขอ เสียเลือดมากจากการมีประจำเดือน เป็นต้น สาเหตุจากมีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย อาจมีทั้งโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด และโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะขาดฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากไตและกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดฮอร์โมนดังกล่าวอาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด หรือเกิดจากภาวะไตเสื่อมก็ได้ มีความผิดปกติของไขกระดูก เช่น ติดเชื้อในไขกระดูก มะเร็งไขกระดูก เนื่องจากไขกระดูกเป็นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่ มีภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดวิตามินบี12 ขาดโฟเลต และขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง >> รู้หรือไม่ ? การตรวจเลือดสามารถบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็งได้อย่างไร >> ฮอร์โมนในร่างกายมีความสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ สาเหตุจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากกว่าปกตินั้นมีมากมาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่เป็นแต่กำเนิดและปัจจัยที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น โรคธาลัสซีเมีย ( Thalassemia ) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดอาการผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของธาลัสซีเมีย โรคม้ามโต หรือมีความผิดปกติที่ม้าม เพราะม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง โรค Sickle cell anemia ทำให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ เม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถขนส่งออกซิเจนได้สมบูรณ์ และถูกทำลายได้ง่าย ปัจจัยอื่นๆ เช่น เกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ร่างกายขาดเอนไซม์บางตัว หรือเป็นผลข้างเคียงจากการดื้อยาบางชนิด เป็นต้น การป้องกันภาวะโลหิตจาง เราสามารถป้องกันภาวะเลือดจางได้เองง่าย ๆ คือ ต้องเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และสารอาหาร เช่น ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารกและวัยรุ่น รับประทานวิตามินเสริมโดยขอคำปรึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อายุมากก็มีผล ในผู้สูงอายุหรือผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ ควรพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจสอบภาวะเลือดจาง หากมีคนในครอบครัวมีผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะเลือดจาง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งผ่านภาวะโลหิตจางทางพันธุกรรม การรักษาภาวะโลหิตจาง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะเลือดจางบางประเภท เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟเลต รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )

0
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) ในร่างกายของเราทุกคนนั้นมีสารเคมีที่เรียกว่า “ ฮอร์โมน ” ซึ่งถูกสร้างโดยเซลล์ หรือต่อมต่างๆ ทั้งนี้ฮอร์โมนมีส่วนในการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะ หากฮอร์โมนเสียสมดุล มันก็อาจส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือโรคร้ายต่างๆ ถ้าฮอร์โมนขาดความสมดุลแล้วก็สามารถส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) จึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ >> มะเร็งรังไข่มีอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ฮอร์โมนในร่างกายมีความสำคัญอย่างไร มาดูบทความนี้กันค่ะ    ฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย 1. β- HCG ( beta-HCG ) วัตถุประสงค์ของการตรวจ β- HCG ( beta-HCG ) เป็นการตรวจเลือดหาฮอร์โมนตัวนึงที่ใช้เป็นสารบ่งชี้โรคมะเร็งของรกภายในมดลูก หรือโรคมะเร็งลูกอัณฑะ โดยปกติ Human Chorionic Gonadotropin ( HCG ) ซึ่งมี β- HCG ( beta-HCG ) เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งนับเป็นฮอร์โมนที่ถูกใช้มาแต่ดั้งเดิมเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ ค่าปกติของ β- HCG ( beta-HCG ) ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ ) : HCG < 3.0 mIU / mL ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง ) : HCG < 6.0 mIU / mL ผู้ชาย : HCG < 2.0 mIU / mL ค่าผิดปกติของ β- HCG ( beta-HCG ) 1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า ก. ในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ค่าต่ำมากเท่าใดถือว่าไม่ผิดปกติ ข. ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจสงสัยว่าจะแท้ง 2. ในทางมาก อาจแสดงว่า ก. อาจเริ่มมีการตั้งครรภ์ ข. อาจเกิดการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นเนื้องอกคล้ายไข่ปลาโดยไม่ปรากฏตัวทารก ค. อาจมีการตั้งครรภ์นอกมดลูก ง. อาจบ่งชี้โรคมะเร็งของรกภายในมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งตับ หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 2. Prolactin ( PRL) วัตถุประสงค์ของการตรวจ Prolactin ( PRL) เพื่อจะตรวจเลือดหาระดับโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากต่อมใต้สมอง ที่มีบทบาทควบคุมระบบฮอร์โมนสำคัญของร่างกาย ค่าปกติของ Prolactin ( PRL) ผู้หญิง : 3.4 - 24.1 ng / dL ผู้ชาย : 4.1 - 18.4 ng / dL  ค่าผิดปกติของ Prolactin ( PRL) 1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า ก. อาจเกิดมะเร็งที่ต่อมใต้สมอง ข. ต่อมใต้สมองเสียหายจากเหตุหลอดเลือดในสมองขัดข้อง 2. ในทางมาก อาจแสดงว่า ก. อาจเกิดมะเร็งลุกลามไปถึงต่อมใต้สมอง ข. อาจเกิดถุงน้ำมากผิดปกติในรังไข่ ค. อาจเกิดอาการเบื่ออาหาร ง. เกิดจากการกินยาประเภทคลายเครียดหรือยาคุมลดความดันเลือด จ. อาจเกิดโรคหรือเหตุสำคัญที่ไฮโปธาลามัส ฉ. เกิดโรคไต ช. อาจเกิดอาการบวมชนิดไม่ใช่มะเร็งที่บริเวณต่อมใต้สมอง 3. Follicle...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

Platelet Count การวิเคราะห์เพื่อหาความผิดปกติของเลือด

0
เกล็ดเลือด ( Platelet ) Platelet Count (เพลตเล็ท เคานต์) คือ การนับจำนวนเกล็ดเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหยุดการไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล เพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือด (Platelet) หรือ thrombocyte มีต้นกำเนิดจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ โดยในระยะแรกจะเรียกว่า megakaryocyte และอยู่ในไขกระดูก ก่อนที่จะพัฒนาและออกสู่หลอดเลือดในลักษณะแผ่นที่ไม่เป็นระเบียบ ขนาดเล็กกว่ามีเลือดแดง >> รู้หรือไม่ ? การตรวจเลือดสามารถบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็งได้ >> โรคมะเร็งในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีมีลักษณะอย่างไร มาดูกันค่ะ วัตถุประสงค์ในการตรวจ เกล็ดเลือด คือ เพื่อนับจำนวนของ เกล็ดเลือด หากมีน้อยกว่าระดับปกติก็ย่อมมีผลในการห้ามเลือดให้กระทำการได้ช้าเนิ่นนานกว่าที่ควาจะเป็น แต่หากมีมากกว่าระดับปกติ ก็อาจบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังมีโรคสำคัญหรือกำลังมีการอักเสบชนิดรุนแรง หน้าที่ของเกล็ดเลือดภายในร่างกาย เกล็ดเลือดเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ในกลไกการห้ามเลือด ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และการแข็งตัวของเลือด หากผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหายเกล็ดเลือดจะรีบไปที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและสร้างซีโรโทนินทำให้หลอดเลือดหดตัว ปิดรอยฉีกขาด หยุดเลือด และเสริมสร้างความแข็งแรงของเยื่อบุหลอดเลือด หากเกล็ดเลือดต่ำแล้วเกิดได้รับบาดเจ็บจนมีเลือดออกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดไหลไม่หยุดจนไม่สามารถควบคุมได้หรือตั้งใช้เวลาในการห้ามเลือดนานขึ้น เมื่อมีเกล็ดเลือดในเลือดมากเกินไปเรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดสูง เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายในการสร้างเกล็ดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเกล็ดเลือดสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นอันตรายจากเส้นเลือดอุดตันในสมอง เส้นเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ เป็นต้น เกล็ดเลือดที่ดีต่อสุขภาพควรมีปริมาณเท่าไหร่ จำนวนเกล็ดเลือดปกติอยู่ในช่วง 150,000 ถึง 450,000 เกล็ดเลือดต่อไมโครลิตรของเลือด การมีเกล็ดเลือดมากกว่า 450,000 เป็นภาวะที่เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดสูง แต่การมีน้อยกว่า 150,000 เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) เป็นการตรวจเลือดพื้นฐานที่แพทย์นิยมใช้ตรวจในการตรวจสุขภาพประจำปีเนื่องจากการตรวจนี้ทำได้ค่อนข้างง่าย ค่าปกติของ เกล็ดเลือด แต่ละช่วงวัย ได้แก่ ทารก = 200,000 – 475,000 เซลล์ / ลบ.มม. เด็ก = 150,000 – 450,000 เซลล์ / ลบ.มม. ผู้ใหญ่ = 150,000 – 400,000 เซลล์ / ลบ.มม. การมีเกล็ดเลือดน้อยเกินไปหมายความว่าอย่างไร ถ้าศัพท์ทางการแพทย์เรียกการมีเกล็ดเลือดมากเกินไปว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (leukopenia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้จากระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลหรือ absolute neutrophil count (ANC)  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 เม็ดเลือดขาวต่ำเล็กน้อย (1000-1500 cell/mm) ระดับที่ 2 เม็ดเลือดขาวต่ำในระดับปานกลาง (500-1000 cell/mm) ระดับที่ 3 เม็ดเลือดขาวต่ำระดับรุนแรง (<500 cell/mm) จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อจะมากขึ้นตามระดับความรุนแรงของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำที่สุดภายใน 6-12 วันหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด และปริมาณเม็ดเลือดขาวจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 21 วัน อาการที่บ่งชี้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เกิดรอยช้ำ หรือเกิดห้อเลือด มักมีเลือดออกที่เหงือก จมูก หรือทางเดินอาหาร เมื่อเกิดบาดแผล เช่น ของมีคมบาด เลือดหยุดไหลช้ากว่าปกติ ผื่นหรือจุดขนาดเล็กกระจายใต้ผิวหนัง ประจำเดือนมามากผิดปกติ สาเหตุที่จำนวนเกล็ดเลือดของคุณลดลง ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาฆ่าเชื้อ ยาขับปัสสาวะ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง การรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา โรคภูมิต้านทานตนเอง หรือโรคออโตอิมมูน การติดเชื้อไวรัส เช่น เอสไอวี โรคหัด และโรคไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อในไตหรือความผิดปกติ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคโลหิตจาง โรคตับแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสูบบุหรี่มากเกินไป ค่าผิดปกติของ เกล็ดเลือด  1....
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )

0
ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP ) Gamma GT ( GGTP ) เป็น การตรวจเพื่อเช็คการทำงานของเซลล์ตับว่ามีความปกติดีหรือไม่ โดยตรวจหาจากค่าของเอนไซม์ ที่มีชื่อว่า Gamma GT นั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็จะต้องทราบด้วยว่า เซลล์ของตับได้รับความเสียหายจากอะไร พิษของยาหรือพิษของแอลกอฮอล์ เพื่อประเมินค่าการเกิดพิษว่ามากน้อยเพียงใด และเมื่อทำการตรวจร่วมกับค่า ALP ก็จะช่วยยืนยันการเกิดสภาวะโรคกระดูกได้อย่างแน่นอนมากขึ้นอีกด้วย >> คุณสามารถรู้ได้อย่างไรว่าตับทำงานดีอยู่หรือไม่ อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาการของโรคมะเร็งตับเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ    ค่า Gamma GT คือ 1. Gamma GT  เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งโดยมีต้นกำเนิดมาจากกรดอะมิโน ซึ่งจะหลุดผ่านผนังเซลล์ออกมาภายนอกเซลล์ก็ต่อเมื่อได้รับเหตุกระทบบางอย่างเท่านั้น โดยแหล่งที่ทำหน้าที่ในการผลิต Gamma GT ออกมาอย่างหนาแน่นที่สุด ก็คือตับนั่นเอง 2. สำหรับแหล่งที่ผลิต Gamma GT  หนาแน่นรองลงมาจากตับ ได้แก่ สมอง ม้าม หัวใจ ไต ลำไส้เล็กและต่อมลูกหมาก เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ในผู้หญิงมักจะมีค่า Gamma GT ที่ต่ำกว่าผู้ชาย นั่นก็เพราะผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมาก 3. ค่าของ Gamma GT ที่ตรวจพบสามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติของเซลล์ตับได้ เพราะค่าดังกล่าวมีความไวต่อการสะท้อนถึงสภาวะความผิดปกติใดๆ ของตับ และจะมีค่าสูงขึ้นหากมีเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับท่อน้ำดีของตับ ดังนี้ ท่อน้ำดีตีบหรือตัน ทำให้ค่า Gamma GT สูงขึ้น ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบ แต่ยังไม่ถึงขั้นตีบหรือตัน เป็นผลให้ตับต้องหลั่งเอา Gamma GT  ออกมามากกว่าปกติ ถุงน้ำดีอักเสบทำให้ตับมีการปล่อย Gamma GT  ออกมาสูงกว่าปกติ อย่างไม่สามารถควบคุมได้ 4. การกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นต่ออวัยวะต่างๆ ไม่เพียงแต่ทำให้ค่า Gamma GT  สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ค่า ALP สูงขึ้นตามไปอีกด้วย เว้นแต่การเกิดโรคที่กระดูก จะพบว่าเฉพาะค่า ALP เท่านั้นที่สูงขึ้น ส่วนค่าของ Gamma GT  ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ สรุปดังตารางดังต่อไปนี้ สภาวะผิดปกติ Gamma GT ที่อวัยวะใดๆ ALP จะสูงขึ้น สภาวะผิดปกติ Gamma GT จากโรคกระดูก ALP จะสูงขึ้น 5. สำหรับผู้ที่มีการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำทุกวัน มักจะตรวจพบค่า Gamma GT ที่สูงกว่าระดับปกติมากถึงร้อยละ 75 นั่นก็เพราะเซลล์ตับจะถือว่าแอลกอฮอล์เป็นสารพิษเหมือนกับยานั่นเอง 6. ในผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ก็มักจะตรวจพบค่าของ Gamma GT ที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติเช่นกัน โดยจะสูงขึ้นต่อเนื่องจากเวลาที่เกิดภาวะดังกล่าวไปอีกประมาณ 5-10 วันนั่นเอง นั่นก็เพราะว่าขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน จะเกิดการสะดุดการทำงานลง เป็นผลให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ทำให้ตับปล่อยเอนไซม์ Gamma GT ออกมามากขึ้น และต้องใช้เวลาเป็น 10 วันเลยทีเดียวกว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม ค่าปกติของ Gamma GT 1.ค่าความปกติของ Gamma GT ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด ( ถ้ามี ) 2.ค่าปกติโดยทั่วไปมักจะอยู่ที่ ชาย อายุ 16 ปีขึ้นไป Gamma GT : 6 - 38 IU/L หญิง อายุ 16-44...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )

0
เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC ) เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC ) เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่สำคัญในการขนส่งออกซิเจนจากปอดโดยการให้ออกซิเจนจับที่ผิวของเม็ดเลือดแดงแล้วนำไปตามหลอดเลือดเพื่อส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับส่งมาให้ปอดและขับออกนอกร่างกายด้วยการหายใจออก  ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ทำให้สู่โรคโลหิตจาง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงดังนี้ 1. ขนาด เล็กเกินไป ใหญ่เกินไป หรือมีขนาดไม่สม่ำเสมอ 2. รูปร่าง ไม่กลมแบน โดยอาจเป็นรูปทรงกลมหรือรูปเคียว 3. สี สีเลือดไม่แดงสดเพราะขาดธาตุเหล็ก จึงจับออกซิเจนส่งให้เซลล์ต่างๆไม่ได้ 4. จำนวน เม็ดเลือดแดงในน้ำเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรน้อยกว่าระดับมาตรฐาน วัตถุประสงค์ในการตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง   เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และแสดงจำนวนนับเม็ดเลือดแดงในเลือดว่ามีอยู่ระดับปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติแสดงว่าอาจเป็นโรคโลหิตจาง หรือถ้าระดับสูงกว่าปกติแสดงถึงสภาวะของโรคมะเร็งหรือโรคไตหรือโรคเลือดร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่ง >> การอ่านผลตรวจเลือด สามารถบอกอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร ? ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง  จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดแดงมีความแตกต่างตามเกณฑ์อายุและเพศ ชาย = 4.2 - 5.4 106/ µL หญิง = 3.6 - 5.0 106/ µL เด็ก = 4.6 - 4.8 106/ µL ค่าผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง จากผลการตรวจเลือด 1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า ก. เกิดภาวะของโรคโลหิตจาง ข. อาจมีอาการเสียเลือดทั้งที่เห็นด้วยตา และไม่อาจสังเกตเห็น เช่น ตกเลือดในลำไส้ ค. เกิดสภาวะของโรคไตวายเรื้อรัง ง. อาจเกิดโรคที่ไขกระดูก 2. ในทางมาก อาจแสดงว่า ก. อาจอยู่ในที่ที่มีออกซิเจนบางกว่าปกติ เช่น ท้องถิ่นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ข. เกิดภาวะของโรคเม็ดเลือดแดงคับคั่ง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ค. อาจเกิดโรคมะเร็งที่เนื้อเซลล์ของไต ง. ร่างกายอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน จ. อาจเกิดโรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง ฉ. ร่างกายอาจขาดน้ำ หมู่โลหิตและกลุ่มค่าอาร์เอช หมู่โลหิต ( Blood Type หรือ Blood Group ) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 32 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบเอบีโอ ( ABO System ) และ ระบบอาร์เอช ( Rh System ) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บนเม็ดเลือดแดง หมู่โลหิตของมนุษย์จะมีระบบ ABO แล้ว ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือหมู่โลหิตระบบอาร์เอช ( Rh ) ซึ่งในการใช้ระบบเลือดแบบ Rh หรือ Rhesus ( รีซัส ) ซึ่งเป็นได้ 2 แบบคือ Rh+ และ Rh- จึงจำแนกออกได้เป็น 8 หมู่ วัตถุประสงค์ในการตรวจค่าอาร์เอช เพื่อให้ทราบถึงหมู่เลือดของตนเองถ้ามีค่า Rh บวกหรือลบ ประโยชน์ของการตรวจหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชคือ 1.เป็นลักษณะจำเพาะที่พบบนเม็ดโลหิตทำให้แต่ละบุคคลทราบชนิดหมู่เลือดของตนเอง 2. เป็นหมู่เลือดหลักที่ใช้ในการพิจารณาหาเลือดที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดเพื่อการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ( ผลข้างเคียง ) จากการได้รับเลือด 3.การที่สามารถตรวจและทราบชนิดของหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและป้องกันภาวะที่หมู่เลือดแม่และลูกเข้ากันไม่ได้ที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงของลูกถูกทำลายโดยแอนติบอดีจากแม่ได้ 4.หมู่เลือดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยการควบคุมของยีน/จีนจึงใช้เป็นหลักฐาน พิสูจน์ทางนิติเวชถึงความเป็นพ่อแม่ลูกกันได้และใช้ศึกษาการสืบเชื้อสายของเหล่าพันธุ์ได้ ตารางสรุปมาตรฐานการถ่ายเลือดระหว่างผู้ให้เลือด และผู้รับเลือด หมู่เลือดผู้ให้ หมู่เลือดผู้รับ ทุกหมู่เลือด AB+ O- A- B- AB- AB- O- O+ A- A+ A+ O- A- A- O- O+...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

Total Protein บอกอะไรได้บ้าง ค่าที่บ่งบอกสุขภาพของคุณ

0
การตรวจค่า Total Protein หรือโปรตีนรวมในร่างกาย เป็นการวัดปริมาณโปรตีนทั้งหมดในเลือด ซึ่งรวมถึงทั้งอัลบูมินและโกลบูมิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบ่งชี้สุขภาพของร่างกาย ค่า Total Protein ที่สูงหรือต่ำเกินไปอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง, โรคตับ, โรไต, หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อค่า Total Protein ออกนอกเกณฑ์ปกติ อาจช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพร่างกายและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำขึ้น ดังนั้น การตรวจค่า Total Protein จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ Total Protein คือ Total Protein คือ ปริมาณโปรตีนรวมที่อยู่ในกระแสเลือด แต่ถ้าจะขยายความให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นอีกหน่อย โปรตีนรวมที่ว่านี้มีความหลากหลายมาก รวมตัวกันอยู่ในส่วนของพลาสมาหรือส่วนของของเหลวในน้ำเลือด บทบาทหน้าที่ต่อร่างกายจึงค่อนข้างกว้างและครอบคลุม แต่ละชนิดมีหน้าที่อันเฉพาะเจาะจงเป็นของตัวเอง หากมีโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่งที่ขาดหรือเกินไป ก็ถือได้ว่าค่าโปรตีนรวมนั้นบกพร่อง ควรต้องได้รับการแก้ไข เพราะโปรตีนมีความสำคัญมากกับเอ็นไซม์ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน และการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย >> โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร ดูได้จากบทความนี้ค่ะ    การตรวจ Total Protein ในเลือดจำเป็นอย่างไร ปกติเวลาเราพูดถึงการตรวจเลือด เรามักจะนึกถึงการวัดค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ตรวจวัดค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดหรือที่เรียกว่า HCT ( Hematocrit ) สำหรับคนมีโรคประจำตัวก็จะคุ้นชินกับการตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด ดังนั้นหลายคนจึงยังไม่เคยรู้จักการตรวจค่าโปรตีนรวมในเลือด และไม่รู้ด้วยว่าค่าเหล่านี้มีความสำคัญมากแค่ไหน แม้แต่คนที่บริจาคเลือดอยู่เป็นประจำก็อาจเคยได้ยินแพทย์ผู้ตรวจชี้แจงถึงค่าโปรตีน เพียงแค่ “ สมบูรณ์ดี ” หรือ “ ขาดแคลน ” เท่านั้นเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วถ้าเราเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น เราจะเห็นความสำคัญและเรียนรู้ที่จะดูแลโภชนาการของตัวเองได้อย่างถูกต้องแน่นอน Total Protein อาจจำแนกแบ่งกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ Albumin, Globulin และ Prealbumin ในแต่ละกลุ่มก็ยังแบ่งย่อยลงไปอีกหลายชนิด ตัวอย่างของหน้าที่โปรตีนเหล่านี้ได้แก่ ช่วยรักษาสมดุลของปริมาณน้ำภายในร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกจากหลอดเลือดแล้วไปสะสมอยู่ที่ส่วนอื่นๆ ช่วยรักษาสภาวะความเป็นกรด-ด่างของเลือด ช่วยขนส่งสารภายในร่างกายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ช่วยป้องกันการเกิดพิษเนื่องจากสารที่สะสมมากเกินไปในร่างกาย นั่นหมายความว่าเมื่อ Total Protein มีค่าที่ผิดปกติไปจากระดับมาตรฐาน ก็สามารถเชื่อมโยงไปสู่การวินิจฉัยโรคที่แอบแฝงอยู่ได้ด้วย และประเด็นนี้นี่เองที่ทำให้การตรวจวัดค่า Total Protein เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมาก หลักการจำแนกประเภทของ Total Protein ในเมื่อโปรตีนรวมมีองค์ประกอบหลายส่วนและยังแยกย่อยไปอีกมากมาย หากไม่จำกัดประเภทของโปรตีนเสียเลย การตรวจวัดค่า Total Protein จะยุ่งยากมาก และต้องเสียเวลาไปกับการวิเคราะห์หาสาเหตุเมื่อพบความผิดปกติมากเกินความจำเป็นอีกด้วย ในทางการแพทย์จึงมีหลักการที่ใช้จำแนกประเภทของ Total Protein ดังนี้ 1. จำแนกตามภาวะปกติและภาวะที่มีพยาธิสภาพ : โปรตีนบางชนิดพบได้มากในภาวะที่ร่างกายปกติดี ในขณะที่บางชนิดจะพบเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่มีพยาธิสภาพเท่านั้น เพียงแค่จำแนกด้วยหลักการข้อนี้ เราก็จะรู้ได้ทันทีหลังการตรวจวัดค่า Total Protein ว่าร่างกายอยู่ในสภาวะแบบใด แล้วต่อยอดด้วยการตรวจหาสาเหตุแบบเจาะจงเมื่อพบความผิดปกติ 2. จำแนกตามแหล่งผลิตหรือแหล่งสังเคราะห์ : โปรตีนในร่างกายอาจรับได้จากหลายทาง แต่ที่สังเคราะห์ขึ้นเอง สามารถจัดได้เพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือโปรตีนกลุ่มที่สร้างมาจากตับโดยตรง และโปรตีนกลุ่มที่สร้างมาจากเซลล์อื่นๆ 3. จำแนกตามส่วนประกอบ : เมื่อพูดถึงอณูที่เล็กลงไปของโปรตีน ก็ต้องเป็นกรดอะมิโนนั่นเอง แต่ไม่ใช่โปรตีนทุกชนิดที่จะมีเพียงแค่กรดอะมิโนเท่านั้น เราจึงสามารถแบ่งโปรตีนทั้งหมดได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว และโปรตีนที่มีทั้งกรดอะมิโน ทั้งส่วนอื่นที่ไม่ใช่โปรตีน เช่น สารอนินทรีย์ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น 4. จำแนกด้วยอิเล็กโตรโฟรีซิส (...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

รู้ก่อนป้องกันก่อน ทำไมต้องตรวจ Globulin และผลต่อร่างกาย

0
การตรวจระดับ Globulin เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เรารู้ถึงสุขภาพภายในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อต่าง ๆ Globulin คือโปรตีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารอาหารและฮอร์โมน รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การตรวจนี้สามารถช่วยตรวจจับความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้เราสามารถป้องกันและรับมือกับโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มารู้จักกับ Globulin และประโยชน์ของการตรวจนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว Globulin คืออะไร โกลบูลิน ( Globulin ) คือ กลุ่มของโปรตีนทรงกลมที่มีบทบาทสำคัญในกระแสเลือด โดยไม่ละลายในน้ำบริสุทธิ์แต่จะละลายได้ในสารละลายน้ำเกลือเจือจาง บางชนิดถูกสร้างในตับ ขณะที่อีกบางชนิดถูกสร้างโดยระบบภูมิคุ้มกัน และ โกลบูลินยังคงแตกย่อยลงไปได้อีกหลายชนิด แต่เราสามารถจัดกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ α - Globulin ( Alpha globulin ), β - Globulin ( Beta globulin ) และ γ – Globulin ( Gamma globulin ) โดยแต่ละประเภทก็จะมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกายแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ α - Globulin ( Alpha globulin ) : ภายในกลุ่มนี้ก็ยังแตกแขนงออกไปได้อีกหลายอย่าง แต่ก็มีตัวสำคัญๆ ที่ควรทำความเข้าใจอยู่ไม่มากมายนัก ส่วนใหญ่มีประโยชน์ในการตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย Fetoprotein เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากลำไส้ เซลล์ตับ และ York sac ยังไม่รู้แน่ชัดว่าบทบาทและหน้าที่หลักของมันคืออะไรกันแน่ แต่กลับเป็นสารที่เราใช้เพื่อวิเคราะห์และตรวจกรองมะเร็งได้ ถ้ามีค่าสูงกว่าปกติ มักจะเป็นสัญญาณของมะเร็งตับบางชนิด และยังใช้เพื่อตรวจวัดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ด้วย Haptoglobin สังเคราะห์ได้จากตับ ทำหน้าที่เป็นตัวจับกับฮีโมโกบินอิสระในภาวะที่เม็ดเลือดแดงเกิดแตกตัว ความผิดปกติของค่าที่เราตรวจพบจะมีอยู่ 2 กรณี คือ มีค่าต่ำกว่าปกติ หมายความถึงเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัวในหลอดเลือด กับอีกแบบคือมีค่าสูงกว่าปกติ หมายถึงการเกิดภาวะอักเสบเฉียบพลันในระดับเซลล์ Antitrypsin สารนี้มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เอนไซม์บางกลุ่มดำเนินการย่อยสลายโปรตีนที่เป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อ และเป็นสารที่สำคัญซึ่งเราใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของตับอันผิดปกติหรือภาวะตับแข็ง ตลอดจนภาวะถุงลมโป่งพองได้ β - Globulin ( Beta globulin ) : มาถึงกลุ่มที่ 2 ซึ่งแตกย่อยออกไปน้อยกว่าแบบแรก แต่นี่ก็ยังไม่นับรวมตัวที่เราไม่รู้แน่ชัดว่าหน้าที่และประโยชน์ของมันคืออะไร Transferrin ตัวแรกนี้เป็นสารที่สังเคราะห์มาได้จากตับ หน้าที่หลักก็คือการขนส่งธาตุเหล็กในกระแสเลือดนั่นเอง จึงช่วยป้องกันการเกิดพิษจาก free iron และยังป้องกันการสูญเสียธาตุเหล็กผ่านทางปัสสาวะได้ด้วย ถ้าตรวจแล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน หมายความว่าร่างกายมีภาวะขาดแคลนโปรตีน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการสังเคราะห์โปรตีนไม่พอหรือสูญเสียออกจากร่างกายไป รวมไปถึงเป็นสัญญาณของการอักเสบภายในได้ด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้ก็ถือว่าพบได้น้อยมาก อีกแบบหนึ่งคือตรวจแล้วพบว่าค่าสูง ก็เป็นสัญญาณของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก Hemopexin เป็นอีกตัวที่สังเคราะห์ได้ที่ตับเช่นเดียวกัน หน้าที่หลักคือจับกับบรรดาหมู่ฮีมอิสระในเลือด ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกสลายของฮีโมโกลบินนั่นเอง โดยโปรตีนตัวนี้จะจับแล้วนำไปทำลายที่ตับต่อไป Fibrinogen นี่เป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด หากมีภาวะอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย ก็จะมีผลทำให้โปรตีนตัวนี้มีค่าสูงขึ้นด้วย γ – Globulin ( Gamma globulin ) : กลุ่มสุดท้ายนี้โดดเด่นมากในด้านภูมิคุ้มกันร่างกาย สังเคราะห์ได้จากพลาสมาเซลล์ และการสังเคราะห์นั้นต้องได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่เข้าสู่ร่างกายด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าไม่ได้มีแค่ส่วนของ γ – Globulin เท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันได้ มีบางส่วนของ β – Globulin ที่ทำหน้าที่นี้เช่นเดียวกัน เพื่อความเข้าใจง่ายจึงเรียกโปรตีนทุกตัวที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกันว่า...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจ อัลบูมิน ( Albumin ) ในเลือดจำเป็นอย่างไร

0
อัลบูมิน อัลบูมิน ( Albumin ) มาจากคำว่า albus ภาษาละติน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นได้เองจากตับ และพบมากในเลือดส่วนที่เป็นน้ำเลือดหรือที่เรียกว่า พลาสมา ( Plasma ) คิดเป็นอัตราส่วนที่มากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณพลาสมาทั้งหมด มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดีมาก มีอนูขนาดเล็กและเคลื่อนที่ได้ไกลกว่าโปรตีนชนิดอื่นๆ ในพลาสมา Albumin แต่ละรุ่นที่ถูกสังเคราะห์ออกมาจากตับนั้นจะมีครึ่งชีวิตอยู่ราวๆ 20 วัน ในวัยผู้ใหญ่จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35-55 ก. / ดล. ถ้ามีค่าสูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากไป ก็สามารถใช้เป็นข้อสันนิษฐานในการเกิดโรคบางชนิดได้ ซึ่งระดับของค่า Albumin นี้จะบ่งบอกถึงภาวะโภชนาการของร่างกายในช่วงระยะยาว >> อัลบูมิน ( Albumin ) คืออะไร ? >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร ?  บทบาทและหน้าที่หลักของอัลบูมินในร่างกาย 1. รักษาแรงดันออสโมติคของเลือด : โดยเฉพาะในส่วนที่เราเรียกกันว่า Oncotic Pressure เป็นแรงดันที่ทำหน้าที่ดึงดูดน้ำเอาไว้ภายในหลอดเลือด เหตุผลที่อัลบูมินมีผลกระทบต่อแรงดันประเภทนี้มากก็เพราะคุณสมบัติในการอุ้มน้ำที่ดีเยี่ยมของมันนั่นเอง เมื่อไรที่โปรตีน Albumin ลดลง ค่าแรงดัน Oncotic Pressure ก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้น้ำเคลื่อนตัวออกนอกหลอดเลือด เกิดเป็นภาวะบวมน้ำในที่สุด 2. ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ : บัฟเฟอร์ก็คือสารละลายของกรด หรือคู่เบสของกรดอ่อน Albumin ก็ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์คอยจับกับ H+ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทำให้ความเป็นกรดในเลือดลงลดอยู่สภาวะปกติได้ 3. ทำหน้าที่ขนส่งสารต่างๆ ในเลือด : สารต่างๆ ที่ว่านี้ได้แก่ ฮอร์โมน กรดไขมัน แคลเซียม เป็นต้น เส้นทางการขนส่งคือ Albumin จะขนส่งสารจากแหล่งผลิตไปยังพื้นที่เป้าหมายเพื่อออกฤทธิ์ตามต้องการ ซึ่งกระบวนการขนส่งที่ว่านี้ไม่ได้มีข้อดีเพียงแค่การเคลื่อยย้าย แต่เป็นการปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ช่วยลดความเป็นพิษของสารบางชนิดได้ ช่วยส่งเสริมการละลายยาในพลาสมา ช่วยในการละลายกรดไขมันในพลาสมา เป็นต้น ความผิดปกติของ Albumin ในเลือด Analbuminemia : เป็นลักษณะของการตรวจไม่พบอัลบูมินในเลือดเลยหรือพบในปริมาณที่น้อยมากๆ ถือเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่งผลให้คนรุ่นต่อมามีความบกพร่องในการสังเคราะห์ Albumin อย่างไรก็ตาม อาการที่ว่านี้ไม่ได้มีผลร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ Hypoalbuminemia : เป็นลักษณะของการมีปริมาณ Albumin ในเลือดน้อยมาก แต่เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างจากกรณีของความผิดปกติแบบแรก เช่น มีภาวะการทำงานที่ผิดปกติของตับ มีการสูญเสีย Albumin ทางปัสสาวะเนื่องจากโรคไตบางชนิด การสูญเสียผ่านทางผิวหนังจากผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจนเซลล์ผิวหนังเสียหาย เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังพบในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษด้วย Hyperalbuminaemia : เป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับ 2 กลุ่มแรก เพราะนี่เป็นภาวะที่มีระดับ Albumin สูงกว่าปกติมาก หลายครั้งพบว่าเกิดจากร่างกายขาดน้ำ จึงทำให้ความเข้มข้นในกระแสเลือดเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง การตรวจหาค่า  อัลบูมินในเลือดคืออะไร อันที่จริงการตรวจวัดอัลบูมินเป็นข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่แล้ว แต่ที่หลายคนไม่รู้จักอาจจะเป็นเพราะแพทย์ผู้ตรวจไม่เห็นความผิดปกติและไม่ได้ชี้แจงลงลึกขนาดนั้น เราอาจได้รู้จักกับการตรวจนี้ในอีกชื่อหนึ่งคือ ALB TESTภาพรวมของการตรวจก็คือการวัดสถานะทางโภชนาการของร่างกาย รวมไปถึงประเมินสภาพการทำงานของตับและไตไปด้วยในตัว ซึ่งถือเป็นการตรวจที่มีประโยชน์สูงมาก เพราะในผู้ป่วยหลายรายที่มีภาวะโรคตับและไต ไม่แสดงอาการใดๆ เลย เป็นเหมือนโรคร้ายที่แอบแฝงอยู่ จนกระทั่งเข้าขั้นวิกฤติแล้วนั่นเอง การตรวจเจอเร็วจึงช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้เร็วขึ้น และโอกาสที่จะหายเป็นปกติก็มีมากขึ้นด้วย ทำไมเราต้องตรวจค่า อัลบูมิน อย่างที่ได้รู้กันไปคร่าวๆ แล้วว่าอัลบูมินมีความสำคัญต่อระบบในร่างกายของเราอย่างไรบ้าง และในเมื่อมีค่ามาตรฐานที่เหมาะสมอยู่ การตรวจหาค่า Albumin ในเลือดจึงเป็นการเช็คว่าตอนนี้ร่างกายยังมีสภาวะที่เป็นปกติดีอยู่หรือไม่ และสามารถเชื่อมโยงไปยังโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ได้อีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับก็คือ เมื่อรู้แล้วก็จะได้หาทางป้องกันได้อย่างทันท่วงที ทำให้โรคนั้นไม่ลุกลามจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากเจาะจงลงไปให้ละเอียดยิ่งกว่านี้ ผลที่จะได้รับแบบชัดเจนที่สุดจากการตรวจวัด Albumin...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC )

0
เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค เพื่อป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจากจุลชีพก่อโรค ซึ่งได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงเซลล์ดีของร่างกายที่กลายพันธุ์เป็นเซลล์ร้ายอย่างเช่นมะเร็ง แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่ปกป้องโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเก๊าต์ โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ และโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของสภาพร่างกาย >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> การอ่านผลตรวจเลือดสามรถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ วัตถุประสงค์ในการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดขาวว่ามีจำนวนระดับปกติหรือไม่ เพื่อแสดงสภาวะของสุขภาพว่าร่างกายกำลังเกิดโรคใดโรคหนึ่งหรือไม่ วิธีการตรวจ การตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาว จะต้องเจาะเลือดผู้ต้องการตรวจเลือด โดยจะใส่สารกันเลือดแข็งไว้ในหลอดบรรจุเลือดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด จากนั้นส่งห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ทันที เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แบบอัตโนมัติจะแสดงผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ โดยเครื่องอัตโนมัติเลือดนี้จะมีวิธีการเขย่าให้เลือดถูกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน เครื่องอัตโนมัติประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่จะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอในเลือดได้อย่างแม่นยำ เครื่องอัตโนมัติสามารถตรวจนับจำนวนเซลล์และวิเคราะห์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์วินิจฉัยโรคของแพทย์ อาทิ วินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็นโรคโลหิตจาง เป็นต้น วิธีการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์โดยเฉพาะนั้น สามารถทำได้ดีกว่าเครื่องตรวจอัตโนมัติ แต่ผลการนับอาจไม่แม่นยำเท่า ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวควรจะมีจำนวนเท่าไหร่นั้น มีสูตรคำนวณได้ ดังนี้คือ จำนวนนับค่าปกติเซลล์เม็ดเลือดขาว = 5,000-11,000 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร ของน้ำเลือด หรือ ( 5 – 11 x 109 / L ) นั่นเอง ค่าผิดปกติของเม็ดเลือดขาว 1. จากผลการตรวจเลือด หาผลตรวจค่าเม็ดเลือดขาวออกมาในทางน้อย อาจแสดงผลว่า 1.1 ร่างกายกำลังติดเชื้อก่อโรคร้ายแรงบางชนิดเช่น เชื้อโรคชนิดไวรัส 1.2 ร่างกายอัมีภาวะภูมิต้านทานโรคที่กำลังต่ำลง 1.3 ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามินบีต่างๆ 1.4 ไขกระดูกมีความผิดปกติหรือมีโรคสำคัญ 1.5 ได้รับยารักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อการทำลายเม็ดเลือดขาว 2. และหากผลการตรวจเลือด หาผลตรวจค่าเม็ดเลือดขาวออกมาในทางมาก อาจแสดงผลว่า 2.1 ร่างกายอาจกำลังเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บจากการถูกจุลชีพก่อโรค 2.2 เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งซึ่งแอบแฝงซ่อนตัว ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ชนิดใดตรวจได้ในขณะนั้น 2.3 ร่างกายเกิดการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่ร้ายแรงบางชนิดจึงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาต่อสู้ 2.4 อาจเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( leukemia ) 2.5 ต่อมไทรอยด์อาจทำงานหนักผิดปกติ เม็ดเลือดขาวมีกี่ชนิด เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด เกิดมาจากไขกระดูกซึ่งสามารถแยกย่อยได้ 5 ชนิด ดังนี้ 1.เซลล์ชนิดนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) หรือ PMN เป็นเซลล์ชนิดหนึงในเม็ดเลือดขาว เกิดมาจากไขกระดูก มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราและจุลชีพอื่นๆที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย เป็นเหมือนด่านแรกของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันร่างกายเมื่อได้รับเชื้อโรค วัตถุประสงค์ในการตรวจ นิวโตรฟิล ตรวจเพื่อให้ทราบจำนวนหรือปริมาณเซลล์แยกย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีจำนวนเป็นเปอร์เซ็นมากที่สุด ค่าปกติของนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) หรือ PMN จำนวนนับนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) ค่าปกติ = 2,500-8,000 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร ค่าผิดปกติของนิวโตรฟิล จากการตรวจเลือด 1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า 1.1 ร่างกายกำลังขาดแคลนสารอาหารที่สำคัญบางตัว เช่น วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก 1.2 ร่างกายอาจเกิดบาดแผลขนาดใหญ่ หรืออาจได้รับการฉายรังสี หรือรับยาคีโม 1.3 ร่างกายตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคสำคัญ เช่น ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น 2. ในทางมาก อาจแสดงว่า 2.1 ร่างกายกำลังตกอยู่ในสภาวะความเครียด 2.2 ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากโรคสำคัญ 2.3 ร่างกายเกิดการอักเสบจากโรคทั่วไปเช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคปวดข้อ 2.เซลล์ชนิดลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) หรือ Lymph ลิมโฟไซต์เป็นเซลล์ชนิดหนึงในเม็ดเลือดขาวที่เกิดมาจากไขกระดูก ลิมโฟไซต์ตามปกติจะมีอยู่สองขนาด คือ 1. ลิมโฟไซต์แบบใหญ่ แบบนี้จะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ค่า ESR บอกสัญญาณอะไรในร่างกาย เรียนรู้เพื่อการป้องกันโรค

0
ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ค่า ESR (Erythrocyte Sedimentation Rate) เป็นค่าที่ใช้ในการตรวจหาการอักเสบภายในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยบ่งชี้ถึงสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ หรือโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ การตรวจค่า ESR เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประเมินสภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย แม้ว่าจะไม่สามารถบอกสาเหตุของการอักเสบได้โดยตรง แต่การมีค่า ESR ที่สูงหรือผิดปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนให้เราระมัดระวังและตรวจสอบสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง เป็นการตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง ที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการอักเสบ การตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงสามารถตรวจค่าแยกย่อยได้ดังนี้>> การอ่านผลตรวจเลือดทำให้ทราบอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร มาดูกันค่ะการตรวจค่า ESR /mm / hr สำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อทราบเกี่ยวกับอัตราการตกตะกอนของทางเม็ดเลือดแดง ESR ในการทราบผลนั้นจะใช้วิธีการนำเอาส่วนที่เป็นเลือดอันได้มาจากการนำเอาหลอดและเข็มดูดเลือดออกมาแบบทันทีจากนั้นก็ใส่เข้าไปภายในหลอดรับเลือดแล้วทิ้งนับเวลาเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้สังเกตว่ามีส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดงเกิดการตกตะกอนสูงขึ้นมาโดยจะวัดเป็นปริมาณลักษณะมิลลิเมตร สำหรับอัตราของความสูงที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการบ่งชี้ลักษณะความร้ายแรงของโรค ลักษณะอาการอักเสบ ลักษณะอาการขาดเลือดในส่วนของเนื้อเยื่อที่ในบางส่วนอาจเกิดการตายลง ในการสรุปนั้นในส่วนของอัตราค่า ESR นั้นเป็นสิ่งที่แสดงค่าแบบหยาบ ๆ จะไม่มีการเจาะจงเข้าไปที่ส่วนของอวัยวะอันเป็นส่วนเกิดโรคหรือไม่สามารถที่จะนำไปใช้ในการเป็นเครื่องช่วยเพื่อที่จะบ่งชี้ในระดับชั้นขั้นต้นอย่างง่ายต่อขั้นของการเตรียมการในการทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายไม่ให้เกิดความยุ่งยากและทำให้เกิดการประหยัด ส่วนของเม็ดเลือดแดงนั้นตามปกติมักจะมีโปรตีนที่อยู่ภายในส่วนของฮีโมโกลบินอยู่จำนวนหนึ่ง โปรตีนนี้จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นมีระดับของน้ำหนักที่สูงกว่าในส่วนของพลาสมานั่นจึงทำให้เกิดการตกตะกอนเกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าส่วนของการตกตะกอนนั้นค่อย ๆ จมลงไปที่ก้นของหลอดทดลอง ในบุคคลที่มีสุขภาพเป็นปกตินั้นจะมีอัตราความเร็วที่จะส่งผลทำให้เกิดการตกตะกอนได้ส่วนหนึ่งแต่ในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคบางประเภทจะส่งผลทำให้โปรตีนนั้นเกิดการเพิ่มขึ้นได้ภายในกระแสเลือด การนี้จึงทำให้ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ESR นั้นย่อมมีค่าที่สูงมากกว่าตามปกติ ( เมื่อผ่านการเทียบกับส่วนของมาตรฐานผู้ที่สุขภาพเป็นไปตามปกติ ) ค่าปกติทั่วไป ( หน่วย : มม / ชั่วโมง ) ชาย : ค่า ESR ≤ 15 mm / hr หญิง : ค่า ESR ≤ 20 mm / hr เด็ก : ค่า  ESR ≤ 10 mm / hr การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT% การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT% เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะทราบจำนวนของเม็ดเลือดแดง ที่ยังคงไม่เติบโตแบบเต็มที่แต่กลับมีการหลุดเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือด ตรวจออกมาในลักษณะของร้อยละ ( เปอร์เซ็นต์ ) ส่วนของ RETICULOVYTE เป็นส่วนของเม็ดเลือดแดงแบบที่เรียกว่าอยู่ในช่วงของวัยรุ่นเลยก็ว่าได้ เป็นส่วนที่มีร่องรอยของทางนิวเคลียสที่หลงเหลืออยู่เป็นลักษณะของจุดสีม่วงออกปนน้ำเงินติดอยู่ในนั้น ( หากคุณลองนำไปมองผ่านด้วยกล้องขายนั้นคุณจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันกับตาข่าย ) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ยังไม่มีคุณสมบัติพร้อมต่อการเข้าไปทำหน้าที่สำคัญที่เป็นเสมือนกับเม็ดเลือดแดงแบบทั่วไปที่อยู่ภายในกระแสเลือด ส่วนของการที่ RETICULOVYTE นั้นหากเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือดแบบที่สูงเกินไปมากกว่าเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดนั่นย่อมแสดงถึงอาจเป็นการสร้างการเกิดความผิดปกติของส่วนไขกระดูกซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญและเป็นแหล่งในการผลิตเม็ดเลือดแดงหรืออาจจะเป็นการที่ร่างกายนั้นเกิดการสูญเสียเลือดหรืออาจเกิดความต้องการเกี่ยวกับกับออกซิเจนที่สูงผิดปกตินั่นจึงทำให้เกิดการต้องเร่งส่ง RETICULOVYTE ไปยังกระแสเลือด นอกจากนี้ยังรวมถึงการเกิดโรคโลหิตจางได้เช่นกัน สำหรับค่า RETICULOVYTE COUNT ประกอบด้วย - ค่า RETICULOVYTE COUNT นั้นเป็นส่วนที่จะต้องยึดถือให้เป็นไปตามค่าที่ได้มีการระบุเอาไว้ภายในส่วนของรายงานที่ใช้ในการแสดงผลเลือด - ค่าที่เป็นไปตามปกติ RETICULOVYTE COUNT เท่ากับ 0.5 – 2.0 % ของ RBC   หากเป็นกรณีของค่าผิดปกติของทาง RETICULOVYTE COUNT นั้นมีด้วยกันดังนี้ 1. ในกรณีของทางน้อย นั่นอาจจะเป็นการแสดงผลว่า เป็นผลที่อาจเกิดจากเรื่องของการมีพฤติกรรมบริโภคอาหารี่ขาดกรดสำคัญอย่าง “ กรดโฟลิก ” จนส่งผลทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคโลหิตจางประเภทร้ายแรง เป็นสิ่งที่สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เป็นผลมาจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นสิ่งที่อาจเกิดกรได้รับการทำเคมีบำบัด การทำฉายรังสีบำบัด อาจเป็นกำลังเกิดการป่วยเป็นโรคมะเร็ง ...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC )

0
ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจซีบีซี เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการหรือสถานพยาบาล การตรวจเลือดจะกำหนดชื่อการตรวจเลือดมาตรฐานเพื่อหา ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC ) โดยการตรวจค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสุขภาพโดยทั่วไปว่ามีเชื้อโรคเกี่ยวกับเลือดหรือการอักเสบของอวัยวะใดที่ซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เช่นภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เพื่อตรวจหาความโน้มเอียงที่อาจเกิดโรคโลหิตจาง ตรวจตัวบ่งชี้ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย ในกรณีก่อนการผ่าตัดใหญ่ เพื่อความแน่ใจในปริมาณความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดงและในปริมาณของเกล็ดเลือด เพื่อความมั่นใจว่าเลือดจะหยุดไหล เมื่อเกิดบาดแผลจากการผ่าตัด รวมถึงระดับปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่จะช่วยทำอะไรจุลชีพก่อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายในขณะที่ร่างกายอ่อนแอหลังผ่าตัด เฝ้าตรวจและติดตามผลการรักษาโรคโลหิตจางและโรคเลือดต่างๆ ตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยกรณีที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด โดยมีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจผลิตเม็ดเลือดชนิดต่างๆออกมาน้อยหรือมากผิดปกติหรือไม่ >> ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวต้องเป็นอย่างไร อยากรู้มากดูกันค่ะ >> ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงต้องเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ค่ะ องค์ประกอบของเม็ดเลือด เม็ดเลือด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดและยังมีบทบาทที่สำคัญต่อคนและสัตว์ทุกชนิด หากเปรียบเทียบ เม็ดเลือดแดงก็เปรียบเสมืองขบวนรถไฟที่ประกอบไปด้วยตู้โบกี้ หากรถไฟทั้งขบวนมีความสมบูรณ์แบบและได้มาตรฐาน ก็จะสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย 1. พลาสมา ( plasma ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นพร้อมกับเลือด เพื่ออำนวยความสะดวกให้เลือดในการไหลเวียน พลาสมาประกอบด้วย 90 %และอีก 10 %เป็นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารชีวโมเลกุลในการสร้างลิ่มเลือด ฮอร์โมน สารชีวโมเลกุลที่เป็นภูมิต้านทาน และสารของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาและติดปะปนมากับอาหาร 2. เซลล์เม็ดเลือดขาว ( white blood cell , WBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการฆ่าหรือทำลายจุลชีพก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ในร่างกายที่กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งก็อาจถูกทำลายได้ เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเลือดซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้ องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาว จำนวนค่าปกติ ( เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร ) Neutrophil 2,500-8,000 Lymphocyte 1,000 – 4,000 Monocyte 100 – 700 Eosinophil 50 – 500 Basophil 25 – 100 3. เซลล์เม็ดเลือดแดง ( red blood cell , RBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจ คือเม็ดเลือดที่มีสีแดง เนื้อเม็ดเลือดสร้างด้วยโปรตีนมีรูปร่างคล้ายจานกลมเว้าตรงกลางเข้าหากันทั้งสองด้าน เพื่อที่จะมีพื้นที่ผิวให้มากที่สุดในการจับออกซิเจนจากปอดส่งต่อให้ทุกเซลล์ในร่างกายอย่างเพียงพอ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.8 ไมครอน ความหนาขอบประมาณ 2.6 ไมครอนและตรงกลางประมาณ 0.8 ไมครอน ซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้ องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง จำนวนค่าปกติ   Hemoglobin เด็ก อายุ 6-12 ปี = 11.5 - 15.5 g / dL ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 12.0 - 16.0 g / dL อายุ 18 ปีขึ้นไป =: 12.1 - 15.1 g / dL ผู้ชาย อายุ 12 - 18 ปี = 13.0 - 16.0...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง เจาะลึกค่าเลือดและการแปลผลแลป

0
ผลตรวจเลือด ผลตรวจเลือด ( Blood Tests ) สามารถบอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้มากมาย ตั้งแต่การประเมินระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของอวัยวะ เช่น ตับและไต ไปจนถึงการตรวจสอบภาวะโลหิตจางหรือระดับน้ำตาลในเลือด การรู้จักค่าเลือดปกติและวิธีแปลผลแลปจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้เข้าใจสัญญาณสุขภาพและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะเจาะลึกข้อมูลต่างๆ ที่ผลตรวจเลือดบอกได้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการอ่านค่าเลือดหลักๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ประเมินสุขภาพตนเองได้อย่างมั่นใจ   https://www.youtube.com/watch?v=Xz5T9ot-zu0 >> ภาวะโลหิตจางมีอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  >> ภาวะเลือดหนืดเกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ 1. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ( Complete Blood Count : CBC ) คือ การตรวจสุขภาพโดยการนับปริมาณและการดูรูปร่างของเซลล์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเลือด ซึ่งผลของการวัดค่าต่าง ๆ จะบ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมและค่าสภาวะของเลือดของผู้เข้ารับการตรวจว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะแสดงข้อมูลผลเลือดที่สำคัญในมนุษย์ 3 กลุ่ม ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ( Red Blood Cell : RBC ) เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell : WBC ) เกล็ดเลือด ( Platelet : PLT ) การแปลผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าแต่ละชนิดสามารถแปลความความหมายโดยละเอียดได้ดังนี้ 1.1 ฮีโมโกลบิน ฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin : Hb / HGB ) คือ ค่าระดับโปรตีนหรือสารสีแดงในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่จับกับออกซิเจน เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย การตรวจสารฮีโมโกลบินเป็นการตรวจเพื่อบ่งบอกว่าร่างกายมี ภาวะเลือดจาง หรือมี ค่าเลือดจาง หรือไม่ ซึ่งได้มีการกำหนดค่าผลเลือดมาตรฐานไว้ดังนี้ ค่าเลือดปกติของฮีโมโกลบินสำหรับเพศชายและเพศหญิง คือ ค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้ชาย = 13.5-17.5 g/dL ค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้หญิง = 12.0-15.5 g/dL ถ้าค่าฮีโมโกลบินที่ตรวจวัดได้มีค่าน้อยกว่ามาตรฐานในตารางด้านบนแสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะ โลหิตจาง ( Anemia ) เกิดขึ้น ส่งผลให้เลือดไม่สามารถพาออกซิเจนไปเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการ หรือหากค่าฮีโมโกลบินที่ตรวจวัดได้มีค่าสูงกว่ามาตรฐานในตารางด้านบนแสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะ เลือดแดงมาก หรือ ภาวะเลือดหนืด  ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia ) คือ ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในจำนวนที่มากผิดปกติ ส่งผลให้เลือดมีความเข้มข้นสูง ไหลเวียนได้ช้าลง และมีความเสี่ยงที่เม็ดเลือดแดงเกิดการอุดตันที่หลอดเลือดฝอยได้ ซึ่งลักษณะนี้จะพบได้น้อยมาก 1.2 ฮีมาโทคริต ฮีมาโทคริต ( Hematocrit : HCT ) คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งค่านี้จะแสดงโดยการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกสภาวะโลหิตจางเช่นเดียวกับค่าฮีโมโกลบิน ซึ่งได้มีการกำหนดค่าผลเลือดมาตรฐานว่าความเข้มข้นของเลือดปกติเท่าไหร่ดังนี้ ค่าเลือดปกติของฮีมาโทคริตสำหรับเพศชายและเพศหญิง คือ ค่ามาตรฐานสำหรับผู้ชายมีค่าประมาณ = 40-50 % ค่ามาตรฐานสำหรับผู้หญิงมีค่าประมาณ = 35-47% ถ้าค่าฮีมาโทคริตมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานแสดงว่าร่างกายอาจจะอยู่ในสภาวะโลหิตจาง แต่ถ้าค่าฮีมาโทคริตมากกว่ามาตรฐานแสดงว่ามีภาวะเลือดหนืดเช่นเดียวกับค่าของฮีโมโกลบิน ซึ่งในการตรวจเลือดทั่วไปแล้วผลเลือดของฮีโมโกลบินและฮีมาโทคริตจะไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ และค่าฮีมาโทคริตจะมีค่ามากกว่าค่าฮีโมโกลบินประมาณ 3 เท่าเสมอ นอกจากนี้ฮีมาโทคริตยังมีมีชื่อเรียกอื่นอีกได้แก่ Erythrocyte Volume Fraction ( EVF ) หรือ Packed cell volume ( PCV ) 1.3 การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell Count : WBC ) คือ จำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่มีทั้งหมดในเลือดในขณะที่ทำการตรวจ ค่าผลเลือดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ ค่ามาตรฐานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ( ค่า WBC )...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?

0
ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) คุณคิดว่าการ ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) นั้นจำเป็นหรือไม่? บางคนคิดว่าการตรวจสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ร่างกายก็ยังแข็งแรงดีไม่ได้เจ็บป่วยเสียหน่อยจะให้ไปตรวจสุขภาพทำไมกัน ไม่เห็นจำเป็นต้องตรวจสุขภาพให้ยุ่งยากเลย คุณรู้หรือไม่ว่าความคิดแบบนี้ถือเป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยทีเดียว เนื่องจากโรคร้ายแรงหลายชนิดจะแสดงอาการหรือสร้างผล กระทบให้กับร่างกายอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อโรคอยู่ในระยะแพร่กระจายหรือเกิดการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ซึ่งโรคที่อยู่ในระยะแพร่กระจายนั้นจัดเป็นระยะที่อันตรายร้ายแรงยากต่อการรักษา บางครั้งค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาก็สูงมากตามระยะของโรคอีกด้วย ในบางครั้งต่อให้มีเงินมากมายแค่ไหนก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ส่งผลให้ต้องเสียชีวิตในที่สุด แต่ถ้าเราตรวจสุขภาพเป็นประจำเราอาจจะไม่ต้องเป็นโรคร้ายแรงหรือเราอาจจะตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นทำให้เราสามารถรักษาให้หายได้โดยที่เสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เรามีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจสุขภาพนั้นจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชีวิตของเรา จุดประสงค์ของการ ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) 1. ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรค ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรค คือ การตรวจร่างกายเพื่อดูว่าร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงปกติดีหรือไม่ และตรวจหาว่าเรามีความเสี่ยงในการเกิดโรคใดในอนาคตหรือไม่ด้วย ซึ่งการตรวจนี้จะทำการสำรวจและตรวจสอบถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราว่ามีพฤติกรรมใดบ้างสร้างความเสี่ยงในการเกิดโรคได้โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยคุณหมอจะทำการสอบถามประวัติครอบครัว ข้อมูลการทำงานและพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างละเอียด เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเรามีอันตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง และจะทำการตรวจตามความเสี่ยงที่ประเมินได้จากข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งการตรวจแบบนี้เป็นการตรวจเชิงรุกเป็นการตรวจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคต ถ้าคุณหมอตรวจพบว่าเรามีความเสี่ยงต่อโรคแล้ว คุณหมอจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นแนวทางมาให้เราปฏิบัติตามเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค 2. ตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว การตรวจแบบนี้เป็นการตรวจหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วในร่างกาย เพื่อตรวจสอบดูว่าในขณะร่างกายของเราได้เกิดโรคใดขึ้นบ้างแล้วและโรคที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระยะใด เพื่อที่คุณหมอจะได้กำหนดขั้นตอนและแนวทางในการรักษาต่อไป การตรวจแบบนี้ถ้าเราตรวจเป็นประจำจะทำให้เราค้นเจอโรคที่เป็นอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่มีความอันตรายน้อยที่สุดและมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ง่ายและใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) เพื่อเข้าใจพื้นฐานสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรง รู้ก่อนรับมือได้เร็ว ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้ามีเราจะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงทีแต่ถ้าไม่มีโรคเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไรและในการตรวจครั้งต่อไปเราก็ทำการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงเพียงอย่างเดียวก็ได้ เราจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยนั่นเอง https://www.youtube.com/watch?v=UqZt4sbGigs ควรไปตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ ? หลายคนคิดว่าเดี๋ยวแก่ก่อนค่อยไปตรวจสุขภาพก็ได้ ตอนนี้ยังแข็งแรงอยู่ไม่ต้องไปตรวจหรอก ตรวจไปก็ไม่เจอโรคที่เป็นอันตรายหรอก เรียกว่าตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญและเป็นการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นจึงไม่ยอมไปตรวจสุขภาพ อย่างที่รู้กันว่าการตรวจสุขภาพไม่ใช่การตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคเพื่อที่จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคอีกด้วย ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะวัยผู้สูงอายุเท่านั้นที่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ คนอายุน้อยๆ ก็ควรไปตรวจสุขภาพเหมือนกันเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคชนิดใดหรือไม่ เราจะได้รู้ตัวและกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคให้มีน้อยที่สุด บางครั้งการป้องกันที่ดีอาจจะทำให้เราไม่เป็นโรคนั้นเลยก็ได้ เช่น คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจากการตรวจวหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ถ้าเราตรวจพบเชื้อนี้เราสามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ พร้อมทั้งเลิกพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก อย่างเช่น การเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกอีกทางหนึ่ง เป็นต้น ดังนั้น ตรวจสุขภาพจึงสามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย หรือจะเริ่มตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปก็ได้ และควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจดูความเสี่ยงในการเป็นโรคว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร สำหรับคนที่ตรวจเจอภาวะเสี่ยงของโรค แพทย์อาจจะทำการนัดตรวจอย่างละเอียดมากกว่า 1 ครั้งต่อปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์>> การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดมีประโยชน์อย่างไร มาดูกันค่ะ >> ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ เราควรเลือกตรวจอะไรบ้าง ? ปัจจุบันนี้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็มีการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพออกมาเพื่อสนองตอบความต้องการ บางโปรแกรมมีรายการตรวจเกือบร้อยรายการ บางโปรแกรมมีการตรวจเพียงแค่สิบรายการเท่านั้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรใช้โปรแกรมไหนดีในการตรวจสุขภาพหรือโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบบไหนที่เหมาะกับเรา โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ดีที่สุดสำหรับเรา คือ โปรแกรมการตรวจสุขภาพที่แพทย์เป็นคนกำหนดให้เฉพาะตัวบุคคลถึงจะเป็นโปรแกรมที่ดีที่สุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าร่างกายของคนเราแต่ละคนนั้นมีแตกต่างกัน ทั้งเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว กลุ่มเลือด สถานที่ทำงาน ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติครอบครัว ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน โปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลจึงต่างกันไปด้วย ดังนั้นโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมจึงควรมาจากการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยี ตรวจสุขภาพนั้นได้ก้าวล้ำไปมาก บางครั้งการตรวจเพียงอย่างเดียวก็สามารถบอกทุกอย่างทั้งความเสี่ยงและสถานะสุขภาพของเราได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจ Genetic Test การตรวจเลือด เป็นต้น ทำให้เรารู้ถึงสุขภาพในปัจจุบัน แนวทางในการดูแลสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อย่างละเอียด ทั้งโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ตรวจสุขภาพนั้นมีความจำเป็นและสำคัญมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีแต่สารพิษที่เป็นอันตราย สารพิษเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมลพิษในอากาศ สารพิษตกค้างในอาหาร เราไม่มีทางรู้เลยว่าเราจะมีโรคร้ายแรงเกิดขึ้นในร่างกายของเราวันไหน ทางที่ดีเราควรตรวจสุขภาพเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราป่วยแล้วหรือยัง และรู้ว่าเราจะป้องกันไม่ให้ตัวเองป่วยเป็นโรคร้ายได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดตามคำกล่าวที่ว่า “ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ” นั่นเอง ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า....
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน P-Amylase / Lipase

0
ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน การตรวจการทำงานของตับนั้นใช้ในการวินิจฉัยและติดตามโรคตับได้ โดยเป็นการวัดค่าเอนไซม์และโปรตีนในเลือด โดยหากมีระดับเอนไซม์เหล่านี้สูงหรือต่ำกว่าค่าปกตินั้นสามารถบอกปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายในตับได้  การตรวจเลือด หาค่า P-Amylase คือ การตรวจเลือด หาค่า P-Amylase คือ การตรวจเพื่อหาค่าของเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โดยมีชื่อว่า พี-อะมิเลซ ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ก็ได้มาจากการผลิตของตับอ่อนนั่นเอง ดังนั้นค่าความผิดปกติใดที่วัดได้จาก P-Amylase จึงอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ตรวจมีความเสี่ยงเป็นโรคตับอ่อนหรือมีความผิดปกติภายในท่อตับอ่อนที่ออกไปสู่ลำไส้เล็ก และเพื่อให้ได้ผลการตรวจเลือด ที่แน่นอน แม่นยำมากขึ้น แพทย์ก็มักจะตรวจหาค่า Lipase ร่วมด้วยเสมอ >> การอ่านผลตรวจเลือดช่วยให้รู้อะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ตรวจหาค่าความผิดปกติของตับสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ คำอธิบายอย่างสรุปค่า P-Amylase 1. Amylase เป็นเอนไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ 2 แหล่ง ได้แก่ ต่อมน้ำลาย ( Salivary Amylase ) โดยจะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารในช่องปาก ดังนั้นเมื่อทานอาหารทุกครั้ง จึงควรเคี้ยวให้นานและละเอียดขึ้น เพื่อที่ในช่องทางเดินอาหารจะได้ไม่ต้องทำงานหนักกับการย่อยมากเกินไปนั่นเอง เอนไซม์ตับอ่อน ( Pancreatic Amylase / P-Amylase ) เป็นเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ย่อยในลำไส้เล็ก โดยเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อถูกผลิตขึ้นโดยตับอ่อน จะถูกส่งผ่านทางท่อทางเดินของตับอ่อนและท่อน้ำดี ผ่านออกไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้น และเริ่มทำการย่อยอาหารที่ผ่านมาในทันที ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว คนเรามีความเข้าใจผิดมาตลอดว่าการย่อยอาหารแบบจริงจังนั้นเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร แต่ในความเป็นจริงอาหารถูกย่อยตั้งแต่อยู่ในปาก และจะถูกย่อยจริงจังอีกครั้งที่ลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งกระเพาะอาหาร มีหน้าที่เพียงให้อาหารที่ผ่านลงไปได้คลุกเคล้าปนกับสารคัดหลั่งที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารเท่านั้น 2. ตับอ่อน มีหน้าที่ในการผลิตและส่งเอนไซม์หลายตัว เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ก็จะต้องผ่านออกทางท่อตับอ่อน และท่อน้ำดี ก่อนจะไปถึงลำไส้เล็กและเริ่มทำการย่อยอาหารนั่นเอง ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีสุขภาพตับอ่อนดี ก็ย่อมทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย และน้ำย่อยบางส่วนก็จะต้องปนติดไปกับกากอาหารที่ถูกขับทิ้งออกนอกร่างกายในรูปของอุจจาระด้วย ส่วนที่จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดนั้นจะมีปริมาณที่น้อยมาก และสุดท้ายก็ต้องถูกไตกรองออกมาเพื่อขับทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะเช่นกัน ดังนั้นค่าของ P-Amylase ที่ตรวจพบในเลือดจึงควรมีปริมาณที่น้อยมาก  3. โดยธรรมดาค่าของ P-Amylase ที่ตรวจพบในเลือดควรจะอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติเสมอ แต่หากพบความผิดปกติ นั่นอาจสันนิษฐานได้ว่ามีสาเหตุมาจากการเป็นโรคตับอ่อน ท่อตับอ่อนเกิดความเสียหายหรือตัวท่อน้ำดีตัน หรือไตมีปัญหา เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการตรวจหาค่า P-Amylase ในเลือด สามารถบ่งชี้ถึงโรคต่างๆ เหล่านี้ได้ดีนั่นเอง 4. หากเกิดความผิดปกติที่ตับอ่อน ก็มักจะมีอาการปวดช่องท้องน้อยอย่างรุนแรงร่วมด้วย โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจทันที ซึ่งก็จะพบค่า P-Amylase ที่สูงมากผิดปกติภายใน12 ชั่วโมงนับตั้งแต่เกิดความผิดปกติที่ตับอ่อน จากนั้นไตก็จะทำหน้าที่ในการกรองออกมาสู่ปัสสาวะ จึงทำให้ค่าของ P-Amylase ลดลงมาอยู่ในระดับที่ปกติภายใน 2 ชั่วโมงเช่นกัน 5. การเจาะเลือดตรวจหาค่า P-Amylase อาจยืนยันได้ด้วยการตรวจผ่านทางปัสสาวะอีกด้วย ค่าผิดปกติของ P-Amylase 1. หากค่าผิดปกติที่ตรวจพบได้ไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า ตับอ่อนมีความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง ( Chronic pancreatitis ) เป็นผลให้ P-Amylase ถูกผลิตออกมาน้อยเกินไป และการตรวจเลือดอาจพบค่าที่ต่ำได้ เป็นโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ทำให้ตับมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และไม่สามารถผลิตเอนไซม์ใดๆ ออกมาได้ตามปกติ เป็นโรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) จึงเกิดการปิดกั้นช่องทางน้ำดี เป็นผลให้เอนไซม์ไม่สามารถที่จะผ่านออกไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้นได้ เกิดสภาวะตับอักเสบ ( Hepatitis ) จึงก่อให้เกิดการปิดกั้นช่องทางน้ำดีด้วยเช่นกัน กำลังเกิดภาวะเป็นพิษจากการตั้งครรภ์ ( Toxemia of Pregnancy ) 2. หากค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า  ตับอ่อนกำลังเกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน ( Acute Pancreatitis ) ทำให้ไม่สามารถควบคุมการหลั่งเอนไซม์...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ตรวจค่าปัสสาววะ Urine Spot MAU Creatinine Ratio ป้องกันโรคไต

0
การตรวจค่าปัสสาวะ Urine Spot MAU / Creatinine Ratio เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยในการประเมินสุขภาพของไตและป้องกันโรคไตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การตรวจนี้วัดระดับโปรตีนอัลบูมินและคริเอตินีนในปัสสาวะ ซึ่งการมีโปรตีนอัลบูมินมากเกินไปอาจบ่งบอกถึงภาวะผิดปกติของไตได้ การตรวจ Urine Spot MAU / Creatinine Ratio นั้นสะดวกและสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทำให้เราสามารถดูแลสุขภาพไตได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง และช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Spot Urine หรือ Urine Spot MAU คือ Spot MAU / Creatinine Ratioหรือ Spot Urine หรือ Urine Spot MAU คือ การสุ่มตรวจจากตัวอย่างน้ำปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้ เพื่อหาอัตราส่วนของค่าอัลบูมินขนาดเล็กต่อค่าครีเอตินีนซึ่งทั้งนี้การตรวจหาค่าดังกล่าวจะสามารถบ่งชี้ถึงการป่วยด้วย  โรคร้ายบางโรคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะโรคไต >> อาการปัสสาวะเป็นเลือดบงบอกถึงอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> สาเหตุของอาการปัสสาวะน้อยเกิดจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  ความสำคัญของการตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ ปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าว่าผู้ใดจะกลายเป็นโรคไตวาย ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะน้อยโอกาศเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคไตวายจะต่ำ ผู้ที่มีอัลบูมินในปัสสาวะสูงมีโอกาศจะกลายเป็นโรคไตวายสูง นอกจากนั้นปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิต วัตถุประสงค์ในการตรวจหาค่าปัสสาวะ Urine Spot MAU 1.การตรวจ Urine Spot MAU พบค่าที่สูงในน้ำปัสสาวะเพียงอย่างเดียวก็สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพไตได้ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงป่วยโรคไตดังนี้ ป่วยด้วยโรคไตในระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่รุนแรง ป่วยโรคไตที่เนื่องมาจากโรคเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจนำไปสู่การเป็นโรคไตระยะสุดท้าย โรคตาและโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย ป่วยโรคไตที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน โดยทั้งนี้บริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่ก็ได้ใช้ค่าการตรวจดังกล่าวในการทำนายอายุขัยของผู้เอาประกันด้วย เพราะค่าที่ได้มักจะทำนายได้อย่างแม่นยำมากทีเดียว 2.อย่างไรก็ตาม ค่า Urine Spot MAU ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะอาจไม่แน่นอนเสมอไป เพราะมักจะมีการผันแปรเบี่ยงเบนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อความแม่นยำมากขึ้นจึงได้มีการคิดสูตรขึ้นมา เพื่อนำค่าน้ำปัสสาวะที่สุ่มตรวจแล้ว มาคำนวณตัดปัจจัยเรื่องน้ำออกไป โดยมีสูตรดังนี้ Urine Spot MAU , Creatinine Ratio หมายถึงการสุ่มตรวจจากตัวอย่างน้ำปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้ เพื่อหาอัตราส่วนของค่าอัลบูมินขนาดเล็กต่อค่าครีเอตินีน การตรวจหาค่า Spot MAU จะบ่งชี้ถึงการป่วยด้วยโรคร้ายบางโรคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะโรคไต Microalbumin / Creatinine = อัตราส่วน ( ของโปรตีน )   Urine Albumin Creatinine Ratio คือ 1.Albumin คือโปรตีนซึ่งตามปกติแล้วจะมีขนาดของโมเลกุลที่ใหญ่มากและยังเป็นตัวแทนของโปรตีนในหลอดเลือดมากถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย 2.ส่วนใหญ่แล้วหากไตยังคงทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีปัญหาใดๆ มักจะทำหน้าที่ในการกรอง Albumin กลับเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป จะมีหลงไปกับน้ำปัสสาวะก็เพียงแค่อัลบูมินที่มีขนาดเล็กเท่านั้น โดยจะถูกเรียกว่า Spot Urine หรือ MAU นั่นเอง Microalbuminuria, Micro เล็ก Albumin อัลบูมิน Uria น้ำปัสสาวะ   Urine Spot MAU คือ อัลบูมินขนาดเล็ก การกรอง Albumin กลับเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป จะมีหลงไปกับน้ำปัสสาวะก็เพียงแค่อัลบูมินที่มีขนาดเล็กเท่านั้น 3.MAU ที่ตรวจพบในปัสสาวะจะนับเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำปัสสาวะ 1 ลิตร ดังนั้นหากตรวจหาค่า Urine Spot MAU ในขณะที่มีน้ำปัสสาวะน้อยหรือร่างกายกำลังอยู่ในภาวะขาดน้ำก็จะทำให้ตรวจพบค่าที่สูงผิดปกติได้นั่นเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจ MAU ในน้ำปัสสาวะอาจให้ผลตรวจที่ไม่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตามบังเอิญว่าค่า Creatinine ใช้หน่วยการตรวจเป็น mg/dL จึงสามารถแปลงหน่วยเป็น mg/L ได้ไม่ยาก แล้วนำมาเทียบกับค่า MAU ที่ตรวจได้ ก็จะให้ผลลัพธ์ในการตรวจที่มีความแน่นอนและแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง Urine Protein Creatinine Ratio คํานวณจากอะไร ที่มาของอัตราส่วน MAU/creatinine Ratio สูตรคำนวณ แท้จริง คือ อัตราส่วน ( mg / gm )  (...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

Urine Protein คืออะไร เช็กปัสสาวะให้รู้ทันสุขภาพไต

0
โปรตีนในปัสสาวะ Urine Protein ( Random urine ) การตรวจหาค่า Urine Protein (Random Urine) หรือที่รู้จักกันในชื่ออื่น ๆ เช่น Albumin-Urine, Urine Albumin, Proteinuria และ Albuminuria มีวัตถุประสงค์เพื่อดูว่ามีโปรตีนในปัสสาวะมากน้อยเพียงใด และตรวจสอบว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ โดยปกติแล้ว ไตจะทำหน้าที่กรองโปรตีนออกจากเลือดและนำกลับไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย หากไม่มีปัญหากับการทำงานของไต จึงไม่ควรพบโปรตีนในปัสสาวะ แต่ในบางกรณีอาจพบโปรตีนชนิดอัลบูมินที่มีขนาดเล็กในปัสสาวะได้บ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ หากพบโปรตีนในปัสสาวะในปริมาณมาก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางประการที่เกิดขึ้นกับไต ซึ่งการตรวจหาค่านี้จึงสำคัญในการตรวจสอบสุขภาพของไตและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ >> อาการปัสสาวะเป็นเลือดบงบอกถึงอาการอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ การตรวจหาค่า โปรตีนในปัสสาวะ 1.การตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะ หากสุ่มตรวจในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งอาจไม่สามารถได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เพราะการตรวจแต่ละครั้งจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือหากตรวจในเวลากลางวันอาจพบค่าโปรตีนในปัสสาวะ แต่เมื่อตรวจในเวลากลางคืน ก็อาจไม่พบค่าโปรตีนเลยนั่นเอง ดังนั้นการจะตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะได้อย่างชัดเจน ก็ต้องตรวจแบบรอบระยะเวลา 24 ชั่วโมงนั่นเอง 2.การตรวจค่าโปรตีนในปัสสาวะ แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจแสดงได้ว่าผู้ตรวจกำลังมีความผิดปกติที่ไต จึงไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด โดยต้องตรวจหาโรคไตโดยด่วนเพื่อผลการตรวจที่แน่ชัด และจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที 3.หากค่าโปรตีนในปัสสาวะที่ตรวจได้มีการกระเพื่อมสูงขึ้นเป็นครั้งคราว นั่นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีความเครียดอย่างรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การติดเชื้อบางอย่าง การออกกำลังกายที่หักโหมและการกินยารักษาโรคบางชนิดที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกตินี้ได้ 4.สารคัดหลั่ง ( Secretions ) จากต่อมลูกหมากของผู้ชายหรือจากช่องคลอดของผู้หญิง ที่ปนมากับน้ำปัสสาวะก็ถือเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเช่นกัน แต่จะเรียกว่าโปรตีนนูเรีย ( Protein uria ) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกโดยเฉพาะ 5.การพบโปรตีนในปัสสาวะอาจสูงขึ้นเนื่องจากกรณีอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่นการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานจนทำให้ปัสสาวะเข้มข้นเกินกว่าปกติและการทานอาหารที่มีโปรตีนมากเกินไป จึงทำให้โปรตีนในปัสสาวะสูงเกินและหลุดมากับน้ำปัสสาวะได้ในที่สุด ค่าปกติของ Urine Protein ( Random Urine ) 1.ค่าความปกติของ Urine Protein ( Random Urine ) ให้ยึดเอาตามค่าปกติที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี) 2.ค่าปกติโดยทั่วไปของ Urine Protein ( Random Urine ) จะอยู่ที่ Random Urine ( สุ่มตรวจ ) Urine Protein : 0 - 8 mg / dL   ค่าผิดปกติของ Urine Protein ( Random Urine ) 1.หากค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางน้อย ย่อมถือว่าไม่ผิดปกติ เพราะค่าโปรตีนในปัสสาวะ ไม่ควรตรวจพบเลยจะดีที่สุด 2.หากค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางมาก อาจแสดงให้เห็นได้ว่า ท่อไตที่ส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะมีการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นผลให้ไม่สามารถกรองเอาโปรตีนเพื่อดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายได้ โปรตีนจึงหลุดลอยลงมาสู่น้ำปัสสาวะ เป็นผลให้ตรวจพบโปรตีนสูงในที่สุด เป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นผลให้โปรตีนของเนื้อเยื่อหลุดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ และตรวจพบค่า Urine Protein ( Random Urine ) สูงได้ หัวใจวายหรือมีความอ่อนแรงจากการขาดเลือด ( Congestive Heart Failure ) ทำให้หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงกรวยไตได้อย่างเพียงพอ ทำให้กรวยไตไม่สามารถดูดซึมโปรตีนกลับเข้าสู่ร่างกายได้ เป็นผลให้โปรตีนที่หลุดมาปนกับน้ำปัสสาวะมีปริมาณสูงผิดปกติ เป็นโรคไตที่ต่อเนื่องมาจากเบาหวาน ( Diabetic Nephropathy ) นั่นก็เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ จะทำให้กรวยไตเกิดการเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถกรองสารอาหารได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นนอกจากจะมีน้ำตาลกลูโคสหลุดปนมากับน้ำปัสสาวะแล้ว ก็มีโปรตีนหลุดออกมากับน้ำปัสสาวะมากขึ้นเช่นกัน จึงทำให้ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะสูงเกินปกติได้ในที่สุด กลุ่มเลือดแดงฝอยในไตเกิดการอักเสบ ซึ่งมีบทบาทเป็นทางผ่านของเลือดเพื่อรับการฟอกเอาของเสียออกทิ้ง ดังนั้นเมื่อเกิดการอักเสบ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการฟอกและกรองของเสียจากเลือดของไตด้อยลง และมีโปรตีนและเลือดที่เล็ดลอดออกมาปนกับน้ำปัสสาวะได้...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Magnesium

0
Urine Magnesium การตรวจหาค่า Urine Magnesium มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจดูระดับของแมกนีเซียมที่มีอยู่ในปัสสาวะว่ามีมากน้อยเพียงใดและอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ นั่นก็เพราะค่าแมกนีเซียมที่พบในปัสสาวะจะสามารถบอกได้ว่าผู้ ตรวจกำลังอยู่ในสภาวะการขาดแมกนีเซียมหรือได้รับแมกนีเซียมมากเกินจนเป็นอันตรายหรือไม่นั่นเอง โดยการตรวจหาแมกนีเซียมจากปัสสาวะจะให้ผลที่ทราบได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการตรวจจากเลือดซะอีก >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันบทควานี้ค่ะ การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Magnesium 1. แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายรองลงมาจาก แคลเซียม ฟอสฟอรัสและคลอไรด์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาระดับของแคลเซียมให้คงที่อยู่เสมอ และต้องระวังอย่าให้ร่างกายขาดหรือพร่องแคลเซียมเด็ดขาด 2. โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะได้รับแมกนีเซียมจากการดูดซึมจากอาหารที่ทานเข้าไปบริเวณลำไส้เล็ก และจะมีต่อมหมวกไตทำหน้าที่ควบคุมระดับของแมกนีเซียมในเลือดให้เป็นปกติมากที่สุด รวมถึงทำหน้าที่ในการบังคับให้เกิดการปล่อยทิ้งแมกนีเซียมปนไปกับน้ำปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นหากพบว่ามีแมกนีเซียมในน้ำปัสสาวะมากผิดปกติ ก็แสดงได้ว่าอาจเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายนั่นเอง 3. การตรวจหาค่า Urine Magnesium ก็เพื่อเจาะจงจะทราบผลดังต่อไปนี้ เพื่อตรวจดูว่าแมกนีเซียมในร่างกายอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ เพราะหากพบว่าแมกนีเซียมมีระดับที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ อาจบ่งชี้ได้ถึงโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้นั่นเอง เพื่อวินิจฉัยกลุ่มคนที่มีอาการสติฟั่นเฟือน ว่ามาจากสาเหตุการขาดแมกนีเซียมของร่างกายหรือไม่ โดยพิจารณาจากการตรวจหาค่า Urine Magnesium จากผู้ที่มีสติฟั่นเฟือยหลายๆ คน ตรวจเพื่อประเมินดูประสิทธิภาพของหลอดเลือดแดงฝอยในไต เพราะเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการกรองของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ ทั้งยังทำให้ทราบว่าหลอดเลือดแดงฝอยยังคงทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ค่าปกติของ Urine Magnesium ค่าความปกติของ Urine Magnesium ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ 2. ค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่ 24 hr Urine Magnesium : 3 - 5 mEq/24 hr ค่าผิดปกติของ Urine Magnesium 1. ค่าผิดปกติ Urine Magnesium ที่ได้ไปในทางน้อย แสดงได้ว่า การดูดซึมสารอาหารของลำไส้มีความบกพร่อง ( Malabsorption ) จึงทำให้ดูดซึมแมกนีเซียมได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น มีอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้แมกนีเซียมส่วนใหญ่ถูกปล่อยทิ้งไปกับอุจจาระ จึงตรวจพบแมกนีเซียมในปัสสาวะน้อยลง เป็นเบาหวานและเกิดสภาวะเป็นกรดขึ้นมาในเลือด ทำให้ไตมีประสิทธิภาพในการกรองแมกนีเซียมเพื่อผ่านลงสู่ปัสสาวะน้อยลงผิดปกติ ร่างกายมีการขาดน้ำ เป็นผลให้เลือดที่ผ่านการกรองของไตมีปริมาณลดน้อยลง และทำให้แมกนีเซียมที่กรองลงสู่ปัสสาวะได้ อยู่ในระดับที่น้อยกว่าปกติ เป็นผลมาจากภาวะตับอ่อนอักเสบ ที่ทำให้ไม่สามารถผลิตเอนไซม์ไปย่อยอาหารในลำไส้ได้อย่างเพียงพอ ร่างกายจึงดูดซึมแมกนีเซียมจากลำไส้ได้ต่กด้วย เป็นโรคไตวายระยะรุนแรง ( Advanced renal failure ) ทำให้ไตขาดประสิทธิภาพในการกรองแมกนีเซียมออกจากเลือด ค่าของแมกนีเซียมที่ตรวจพบในปัสสาวะจึงน้อยกว่าปกติ มีความผิดปกติของต่อมหมวกไต จึงไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่จะช่วยบังคับให้ไตดูดซึมกลับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนตัวนี้สูงกว่าปกติ จึงทำให้มีการดูดซึมโซเดียมกลับเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณมาก และส่งผลให้มีการขับธาตุโพแทสเซียมออกทิ้งในปริมาณมากเกินแทน อีกทั้งยังมีการรักษาน้ำไว้ในร่างกายมากไปจนเกิดสภาวะบวมน้ำที่ทำให้ร่างกายบวมขึ้นอีกด้วย และเนื่องจากการบวมน้ำนี่เอง จึงมีการปล่อยทิ้งปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้แมกนีเซียมถูกกรองออกมากับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติไปด้วย มีการทานอาหารที่ขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมน้อยเกินไปเป็นระยะเวลา จนทำให้เกิดภาวะการขาดแทกนีเซียมในที่สุด 2. ค่าปกติของ Urine Magnesium ที่ได้ไปในทางมาก แสดงได้ว่า เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ไตจึงไม่สามารถดูดซึมกลับแร่ธาตุสำคัญเข้าสู่ร่างกายได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นแมกนีเซียมจึงหลุดไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากจนดูผิดไปติ ต่อมหมวกไต มีการผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนออกมาน้อยเกิน ทำให้มีการขับโซเดียมทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากและเป็นผลให้แมกนีเซียมก็ถูกขับทิ้งออกไปในปริมาณมากเช่นกัน มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ Urine Magnesium ในตับและไตมีการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากต้องทำงานหนักกับการพยายามขับแอลกอฮอล์ทิ้งลงสู่ปัสสาวะมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อไตและตับไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ก็จะทำให้แมกนีเซียมที่ถูกขับทิ้งออกมา อาจมีปริมาณมากเช่นกัน การกินยารักษาโรคกระเพาะอาหารชนิด Amtacids อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะยาชนิดนี้มีแมกนีเซียมเป็นส่วนผสม จึงอาจทำให้แมกนีเซียมในร่างกายสูงขึ้นได้ ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4. Russell...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

0
Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N คือ เผาผลาญโปรตีนไนโตรเจน ซึ่งเป็นวัฏจักรของการสังเคราะห์ Urea ในตับ และค่าที่ใช้เพื่อวัดหาสารของเสียยูเรียที่ถูกขับทิ้งออกมากับน้ำปัสสาวะ ซึ่งสารตัวนี้มักจะมีอยู่ในน้ำปัสสาวะเสมอเนื่องจากเป็นสารที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีน แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงต้องถูกขับออกมาทิ้งไปกับปัสสาวะเสมอนั่นเอง นอกจากนี้ยูรีนก็สามารถตรวจพบในเลือดได้อีกด้วย แต่หากอยู่ใน ระดับที่ปกติก็ไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะแสดงได้ว่าสุขภาพยังดีอยู่นั่นเอง ชื่อเรียกยูรีนในเลือดและปัสสาวะ ชื่อเรียกของสารของเสียยูรีนที่ตรวจพบในเลือดและในน้ำปัสสาวะ จะมีการเรียกที่ต่างกัน แต่ก็คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง โดยยูรีนที่พบในเลือดจะเรียกย่อๆ ว่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ส่วนยูรีนที่พบในน้ำปัสสาวะก็จะเรียกว่า Urine Urea N ซึ่งค่าของยูรีนที่ตรวจพบได้ในปัสสาวะก็จะใช้เพื่อบ่งชี้สภาวะสุขภาพหรืออาการป่วยต่างๆ ได้>> อาการปัสสาวะเป็นเลือดบงบอกถึงอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ สามารถอธิบายอย่างสรุปได้ ดังนี้ 1.ยูรีนเป็นสารของเสียที่ได้มาจากการย่อยสลายอาหารประเภทโปรตีน Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N คือโปรตีนที่ถูกย่อยจนถึงที่สุด จะแยกออกเป็นสารประกอบ 2 อย่าง คือกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายและสารประกอบแอมโมเนียที่ไม่มีประโยชน์ ต้องกำจัดทิ้งออกไป โดย กรดอะมิโน  ( Amino acids ) เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยตับจะทำการรวบรวมกรดอะมิโนที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีน ไปใช้ประโยชน์กับอวัยวะและเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น และป้องกันการขาดกรดอะมิโนบางชนิดที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้ก็จะช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่มีการสึกหรอได้เหมือนกัน สารประกอบแอมโมเนีย ( Ammonia ) สารตัวนี้จะรวมตัวกันเองจนเกิดเป็นสารประกอบยูเรีย ซึ่งร่างกายไม่มีความต้องการแต่อย่างใด จึงถือเป็นสารของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ที่ต้องมีการกำจัดออกนอกร่างกายเป็นลำดับต่อไป การกำจัดยูเรียจะเริ่มจากการที่ตับส่งยูเรียเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ไตทำการกรองและเอายูเรียไปปล่อยทิ้งกับน้ำปัสสาวะต่อไป ดังนั้นจึงทำให้ตรวจพบค่ายูเรียได้ทั้งในเลือดและน้ำปัสสาวะนั่นเอง โดยหากตรวจพบในเลือดจะเรียกว่า BUN และหากตรวจพบในปัสสาวะจะเรียกว่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N 2.ในกรณีที่มีการกินโปรตีนเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ และไตก็ยังคงอยู่ในสภาพที่ปกติดีอยู่ ปริมาณของยูเรียที่เกิดขึ้น มักจะเท่ากับยูเรียที่ถูกปล่อยทิ้งเสมอ ซึ่งแม้จะมียูเรียที่ค้างอยู่ในเลือดเพื่อรอส่งไปยังไต ก็มักจะมีค่าที่คงที่ ซึ่งค่าปกติของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N จะอยู่ที่ประมาณ 10-20 mg / dL 3.หากมีการตรวจเลือดพบค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ที่สูงกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่ามีความผิดปกติที่เกิดจาก 2 แหล่งกำเนิดด้วยกัน ซึ่งก็คือ ผิดปกติเพราะเหตุก่อนถึงไต ( Prerenal Azotemia ) ซึ่งก็คือก่อนที่ยูเรียจะถูกส่งไปยังไต...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Glucose

0
Urine Glucose Urine Glucose หรือชื่ออื่นๆ คือ Urine Sugar Test และ Glucosuria Test เป็นค่าที่ใช้ตรวจสอบเพื่อหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งค่าตัวเลขที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ ว่าผู้ตรวจเป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตหรือไม่ โดยหากพบว่าเข้าข่ายโรคดังกล่าว ก็จะได้ทำการตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเอง >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> การตรวจเบาหวานต้องทำอย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ    ข้อบ่งชี้ในการตรวจ Urine Glucose 1. กลูโคสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ได้จากการย่อยสลายอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจนได้เป็นน้ำตาลออกมา จากนั้นตับก็จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อเป็นตัวนำพากลูโคสไปส่งยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยผ่านทางกระแสเลือด เพื่อใช้เผาผลาญเป็นพลังงานให้กับร่างกายต่อไป และยังช่วยให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดีควรจะมีระดับของกลูโคสในเลือดขณะที่ไม่ได้ทานอาหารประมาณ 70-110 mg/dL เท่านั้น และจะต้องไม่ตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะเลยหากไตยังคงทำงานได้อย่างปกติ เพราะไตจะทำหน้าที่ในการดูดซึมกลับกลูโคสมาให้ร่างกายได้นำไปใช้ประโยชน์นั่นเอง 2. สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ยังไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ควบคุมโรคให้ดี โดยส่วนใหญ่แล้วจะตรวจพบ Urine Glucose ระดับน้ำตาลในเลือดที่มีค่าสูงมาก แต่หากไตยังคงทำงานได้ปกติก็มักจะไม่ค่อยตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะมากนัก เพราะไตได้ทำการดูดซึมกลับมาใช้งานจนหมด อย่างไรก็ตามหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินจนเข้าสู่ระดับประมาณ 160-180 mg / dL ก็อาจทำให้ไตไม่สามารถดูดซึมกลับกลูโคสจากปัสสาวะได้ทัน เป็นผลให้ตรวจพบค่า Urine Glucose ในปริมาณสูงกว่าปกติได้นั่นเอง ซึ่งภาวะที่ไตไม่สามารถดูดซึมกลับได้ทันนี้ เรียกว่า สภาวะกลูโคสข้ามล้นไป ( RTG ) โดยสภาวะ RTG ก็คือภาวะที่น้ำปัสสาวะมีน้ำตาลอยู่มากจนปรากฏค่าที่ตรวจพบได้ ซึ่งก็เนื่องมาจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป โดยกรณีดังกล่าวนี้ก็ถูกเรียกว่า สภาวะน้ำตาลในปัสสาวะ นั่นเอง นอกจากนี้ก็มีศัพท์อีกตัวหนึ่ง คือ Glycosuria ที่มีความหมายว่าผู้ที่ถูกตรวจพบน้ำตาลสูงในปัสสาวะ ได้ถูกประเมินไว้ก่อนแล้วว่าน่าจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 3. ในบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน หรือมีค่า Urine Glucose ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารเป็นปกติแต่บางครั้งก็มีการตรวจพบค่าระดับน้ำตาลในปัสสาวะอยู่บ้าง จะเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า สภาวะกลูโคสในปัสสาวะ หรือ Glucosuria ดังนั้นคำว่า Glucosuria จึงมีความหมายว่า สภาวะที่ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะจากบุคคลที่ไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อน หรือในบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงดี แต่อย่างไรก็ตามค่าน้ำตาลที่ตรวจพบนั้นก็อาจบ่งชี้ได้ว่า ผู้ถูกตรวจกำลังมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไตอาจมีปัญหาบางอย่าง ที่ส่งผลให้ไม่สามารถดูดซึมกลับน้ำตาลกลูโคสจากปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แม้จะเพียงแค่เล็กน้อยก็ตาม  โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ในปัสสาวะไม่ควรตรวจพบค่าน้ำตาลกลูโคสเลย แม้จะเป็นเพียงแค่น้อยนิดก็ตาม เพราะนั่นอาจบ่งบอกได้ถึงการป่วยด้วยโรคสำคัญ 2 โรค ซึ่งก็คือ โรคไตและโรคเบาหวานนั่นเอง ซึ่งก็ต้องทำการตรวจอย่างละเอียดอีกทีหลังตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ ค่าปกติของ Urine Glucose ค่าปกติของ Urine Glucose ให้ยึดถือเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี) 2. สำหรับค่าปกติของ Urine Glucose โดยทั่วไปจะอยู่ที่ Random Urine Glucose : none 24 hr Urine Glucose : < 0.5 g/day ค่าผิดปกติของ Urine Glucose สำหรับค่าความผิดปกติที่ได้ในการตรวจหาค่า Urine Glucose ถ้าหาก ค่า Urine Glucose ไปในทางน้อย หรือมีค่าต่ำกว่าศูนย์ไปอีก นั่นแสดงได้ว่าอาจมีความไม่ผิดปกติในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย จึงทำให้ตรวจได้ค่าดังกล่าว 2. ค่า Urine Glucose ไปในทางมาก อาจแสดงให้เห็นได้ว่า     มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus ) แต่เพื่อความแน่ชัด จะต้องตรวจหาค่าในขณะงดอาหาร FBS เพื่อความชัดเจนอีกครั้ง อยู่ในสภาวะการตั้งครรภ์...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะ สำคัญแค่ไหนกับร่างกาย

0
การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะเป็นการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารต่างๆ ที่ละลายในปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้เราประเมินภาวะการสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้ การตรวจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสุขภาพของไต การทำงานของฮอร์โมน และการประเมินภาวะขาดน้ำหรือการสะสมของของเหลวที่ผิดปกติในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง เบาหวาน เบาจืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมของเหลว การตรวจ Osmolality จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาที่ตรงจุดและทันเวลาเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย Urine Osmolality คืออะไร Urine Osmolality คือ ความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ มีค่าตั้งแต่ 50-1200 mosm/kg คำแนะนำในการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ Urine Osmolality การเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ มีคำแนะนำเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด ดังนี้ ต้องล้างอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจดก่อน โดยใช้สบู่ในการล้างทำความสะอาดตามด้วยเช็ดด้วยผ้าให้แห้งสนิท 2. ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งลงไปในโถส้วมก่อน จากนั้นกลั้นที่เหลือเอาไว้ แล้วถ่ายลงในภาชนะเก็บปัสสาวะให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งหากยังคงถ่ายไม่สุด ก็ให้ถ่ายทิ้งลงไปในโถส้วมต่อไปจนเสร็จ 3. ปิดฝาภาชนะที่ใส่ปัสสาวะในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปปะปนอยู่ในน้ำปัสสาวะที่จะส่งตรวจ 4. ทั้งสามขั้นตอนข้างต้น จะต้องทำให้รอบคอบและมีความละเอียดมากที่สุด เพราะหากมีสิ่งแปลกปลอมใดตกลงไปเพียงนิด ก็อาจทำให้ค่า osmolarity ที่ได้มีความผิดเพี้ยนไปในทันที ดังนั้นจึงต้องทำให้ละเอียดรอบคอบที่สุด>> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ปัสสาวะมากเกิดมาจากสาเหตุอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolality สามารถอย่างสรุปได้ ดังนี้ 1. ค่า Urine osmolality คือตรวจค่าปัสสาวะ ร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำประกอบอยู่ประมาณ 60% ซึ่งในหนึ่งวันหรือตลอด 24 ชั่วโมง ร่างกายของคนเราจะต้องมีการดื่มน้ำและสูญเสียน้ำผ่านทางปัสสาวะและเหงื่ออยู่เสมอ แถมน้ำที่ดื่มเข้าไปในแต่ละวันอาจมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่สามารถประเมินได้ แต่ร่างกายของมนุษย์ก็สามารถรักษาปริมาณน้ำให้คงอยู่ในร่างกายไว้ที่ประมาณ 60% ตลอดเวลาอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าในร่างกายของคนเรามีกลไกหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการยับยั้งการขับน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป โดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวช่วยในการยับยั้ง ด้วยการสั่งการบังคับไตให้ผลิตน้ำปัสสาวะมากหรือน้อย เพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง 2. ฮอร์โมนยับยั้งการขับ Urine osmolality หรือ น้ำออกจากร่างกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาระดับน้ำให้คงอยู่ที่ 60% โดยตลอดเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการรักษาความเข้มข้นของอนุภาคที่เป็นสารชีวเคมีที่ละลายอยู่ในเลือดให้มีความคงที่ตลอดเวลาอีกด้วย นั่นก็เพราะความเข้มข้นของสารชีวเคมีในน้ำเลือดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ความเข้มข้นต่ำหรือสูงเกินไปเด็ดขาด ซึ่งหากสังเกตจะพบว่า เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัดกลางแจ้ง โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้ง มักจะปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ นั่นก็เพราะได้สูญเสียน้ำออกทางเหงื่อไปมากแล้วนั่นเอง จึงมีน้ำที่จะถูกขับออกทางปัสสาวะเพียงน้อยนิดเท่านั้น เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดหรืออยู่ในห้องแอร์ มักจะปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ นั่นก็เพราะมีการเสียเหงื่อน้อย หรือแทบไม่มีเหงื่อเลย น้ำส่วนใหญ่จึงถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก และตัวการที่ทำหน้าที่ในการบังคับให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะออกมามากหรือน้อยก็คือฮอร์โมน ADH นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามรักษาระดับความเข้มข้นของสารชีวเคมีในเลือดให้คงที่อยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ ADH ก็มีส่วนช่วยในการรักษาระดับน้ำในร่างกายไว้ให้ได้สัดส่วนที่ 60% ตลอดเวลาเช่นกัน  3. อนุภาคของสารชีวเคมีที่มีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มข้นในเลือด ได้แก่ โซเดียม ของเสียจากไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งสารเหล่านี้ไตจำเป็นจะต้องกรองและขับทิ้งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เพื่อให้ความเข้มข้นในเลือดคงอยู่ในระดับที่มีความคงที่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไตจะมีประสิทธิภาพในการกรองสารเหล่านี้ได้ดีเพียงใด แต่ก็อาจมีหลุดลอยปนไปกับน้ำปัสสาวะได้บ้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงไปทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้นจนสามารถตรวจวัดค่าได้ ซึ่งก็ถูกเรียกว่า Urine osmolality นั่นเอง 4. ค่า Urine osmolality ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะ จะถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติในผู้ที่มีสุขภาพดีได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ ค่า Urine Osmolality ที่พบในเลือดจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่ก่อนแล้ว เพราะหากอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติก็จะทำให้ค่า Urine osmolality ที่ได้อยู่ในระดับที่ผิดปกติเช่นกัน ฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยทิ้งน้ำ หรือ ADH จะต้องทำงานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถบังคับไตให้ผลิตน้ำมากหรือน้อยตามความจำเป็นได้ ฮอร์โมนแอนโดสเตอโรน ( Aldosterone Hormone ) จะต้องมีความปกติเช่นกัน เพราะทำหน้าที่ในการบังคับไตให้ดูดซึมกลับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย ไม่ให้ถูกปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะจนหมดหรือเกินจากความจำเป็น ไต ต้องอยู่ในสภาพที่มีความปกติเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าไตมีความสำคัญที่สุดในการผลิตน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกรองของเสียจากเลือดส่งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เป็นผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นและสามารถวัดออกมาเป็นค่า...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine P-Amylase

0
Urine P-Amylase คือ Urine P-Amylase คือ ค่าที่ใช้ตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ โดยมีชื่อว่า P-Amylase ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีการผลิตขึ้นมาโดยตับอ่อน เพื่อใช้ในการย่อยอาหารประเภทแป้งในลำไส้โดย เฉพาะ ดังนั้นเอนไซม์ส่วนหนึ่งจึงถูกขับปนออกไปกับกากอาหารพร้อมกับอุจจาระ และอีกส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมโดยลำไส้พร้อมกับสารอาหารเพื่อส่งเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป และเนื่องจากเอนไซม์ตัวนี้ถูกจัดเป็นเอนไซม์ที่ไร้ประโยชน์ จึงต้องถูกกำจัดทิ้งผ่านการกรองออกไปทางน้ำปัสสาวะ ดังนั้นจึงสามารถตรวจพบ Urine P-Amylase ในน้ำปัสสาวะได้ ซึ่งผลตรวจที่ได้ก็บ่งชี้ได้ถึง การเป็นโรคตับอ่อน ความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ไต ฯลฯ และใช้เพื่อติดตามผลการรักษาโรคได้อีกด้วย >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ >> ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน P-Amylase / Lipase เพื่ออะไร มาดูกันค่ะ    Urine P-Amylase คือ ค่าที่ใช้ตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ ซึ่งผลิตขึ้นมาโดยตับอ่อน เพื่อใช้ย่อยอาหารประเภทแป้งในลำไส้ ข้อบ่งชี้ในการตรวจ Urine P-Amylase คือ 1. ตรวจ Urine P-Amylase เพื่อทำความเข้าใจถึงการผลิตและการนำ P-Amylase มาใช้ประโยชน์ของร่างกาย 2. เอนไซม์ Amylase ที่พบในร่างกายของมนุษย์ ถูกผลิตขึ้นมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน นั่นก็คือ ต่อมน้ำลายในปาก เพื่อใช้ย่อยอาหารในขั้นแรก ชื่อว่า Saliva Amylase แต่จะมีปริมาณไม่มากนัก ตับอ่อน จะผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็กส่วนต้นโดยเฉพาะ และอาศัยท่อของตับในการส่งเอนไซม์ออกไป ซึ่งเอนไซม์ที่ตับอ่อนผลิต มีชื่อว่า Urine P-Amylase โดยเป็นเอนไซม์ส่วนใหญ่ของร่างกายเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมีอาการป่วยด้วยโรคหรือเกิดการกระทบกระทั่งใดๆ กับตับอ่อน ก็อาจมีผลให้เอนไซม์ตัวนี้มีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงได้ 3. สำหรับโรคหรือเหตุสำคัญที่ไม่ใช่ตับอ่อนอักเสบ แต่ทำให้ค่า Urine P-Amylase ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะมีค่าสูงขึ้นมากผิดปกติ มีดังนี้ โรคต่อมน้ำลายหน้าหูอักเสบ หรือโรคคางทูม มีผลต่อค่า Urine P-Amylase ที่สูงขึ้น โรคถุงน้ำดีอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก สภาวะลำไส้รั่วหรือลำไส้ทะลุ สภาวะไตขาดเลือด 4. หากตรวจพบค่า Urine P-Amylase มีค่าที่สูงมากผิดปกติจนสังเกตได้ นั่นอาจการันตรีได้เลยว่าเกิดโรคตับอ่อนอักเสบอย่างแท้จริงแน่นอน เพราะเมื่อเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ จะไม่สามารถควบคุมการผลิตเอนไซม์ชนิดนี้ได้ และเกิดการผลิตออกมามากเกินไปนั่นเอง 5. การกินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ก็อาจเป็นคนให้ค่า Urine P-Amylase สูงผิดปกติจากที่ควรเป็นได้เช่นกัน ซึ่งยาที่มีผล ได้แก่ ยา Aspirin ยาฮอร์โมน Corticosteroids ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิดและยา Morphine เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมียาตัวอื่นๆ ที่อาจส่งผลดังกล่าวได้เหมือนกัน 6. หากต้องการทราบอย่างแน่ชัดว่ากำลังป่วยด้วยโรคตับอ่อนอักเสบอย่างแท้จริงหรือไม่ นอกจากตรวจหาค่า Urine P-Amylase แล้ว จะต้องตรวจเลือดเพื่อหาค่า Amylase และ Lipase ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้ข้อบ่งชี้ที่มีความชัดเจนมากขึ้น ค่าปกติของ Urine P-Amylase  ค่าปกติของ Urine P-Amylase ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี ) 2. ค่าปกติโดยทั่วไปของ Urine P-Amylase จะอยู่ที่ Urine P-Amylase : 0 - 500 units/24 hr   ค่าผิดปกติของ Urine P-Amylase 1. ค่าในทางน้อย...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus

0
Urine Phosphorus Urine Phosphorus หรือชื่ออื่น Urine Phosphate คือค่าที่ใช้ตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากพบค่าที่ผิดไปจากปกติ นั่นอาจแสดงได้ ถึงความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของไต ต่อมพาราไทรอยด์หรือกระดูก เป็นต้น >> การขาดฟอสฟอรัสมีผลต่อร่างกายอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้างมาดูกันค่ะ    การตรวจหาค่า Urine Phosphorus 1.เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์และบทบาทของฟอสฟอรัสที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ 2.สำหรับการตรวจเพื่อหาค่าของฟอสฟอรัส ไม่ว่าจะเป็นการตรวจในเลือดหรือน้ำปัสสาวะจะใช้วิธีที่ง่าย ด้วยการตรวจต่ออนุภาคของเกลือฟอสเฟตนั่นเอง ดังนั้นการตรวจของโรงพยาบาลหลายแห่งจึงมักจะมีชื่อเรียกการตรวจที่ต่างกันไป เช่น “ Urine Phosphate ” หรือ “ Phosphate in Urine ” 3.เพื่อทราบถึงความสำคัญของ Urine Phosphorus ที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ โดยหลักๆ ก็มีดังนี้ ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม โดยใช้เป็นองค์ประกอบหลักร่วมกันนั่นเอง Urine Phosphorus มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมลดการเสื่อมของระบบประสาทอีกด้วย ฟอสฟอรัสช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถยืดและหดตัวได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลดีในด้านอื่นๆ อีกด้วย ช่วยในการสร้างดุลยภาพของประจุไฟฟ้า รวมถึงความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยในการสร้างเยื่อผนังเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์มากกว่าเดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม Niacin พร้อมกระตุ้นให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ไตสามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพมากขึ้น ซึ่งไตก็จะช่วยควบคุมฟอสฟอรัสในร่างกายไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไปเช่นกัน 4.โดยส่วนใหญ่ร่างกายของมนุษย์มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องของการขาดแร่ธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากในอาหารส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสอยู่แล้ว เว้นแต่ 2 กรณีดังต่อไปนี้ เมื่อมีโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ช่องทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงได้รับฟอสฟอรัสน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อกินยาในกลุ่ม Antacids อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะยาตัวนี้จะทำให้ผนังภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กถูกเคลือบจนไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงทำให้ฟอสฟอรัสที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายมีปริมาณน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการนั่นเอง 5.กรณีที่ระดับของฟอสฟอรัสจะมีค่าสูงขึ้นหรือลดลง อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสสูงขึ้น เนื่องมาจาก 1) มีการดูดซึมฟอสฟอรัสจากอาหารมากขึ้น ทำให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบสูงขึ้นกว่าปกติ 2) เพราะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงกว่าปกติเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีการสลายกระดูกเพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในเลือด ซึ่งก็จะทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดออกมาจากกระดูกด้วย และเข้าไปอยู่ในน้ำเลือด จึงตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในเลือดได้สูงนั่นเอง ค่าฟอสฟอรัสลดต่ำลง เนื่องมาจากการที่ไตพบว่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเลือดนั้นเริ่มสูงมากเกินไป จึงต้องพยายามกรองออกมาแล้วขับทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะให้ได้มากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะลดลงเพียงแค่ให้เกิดความสมดุลมากขึ้นนั่นเอง 6.และจากกรณีดังกล่าวในข้อ 5 ก็แสดงให้เห็นได้ว่าจะส่งผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ การกินอาหาร โดยขึ้นอยู่กับว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้นมีฟอสฟอรัสอุดมอยู่มากน้อยแค่ไหน เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์อาจทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป จนส่งผลต่อระดับฟอสฟอรัสได้                ระดับการเผาผลาญแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ ซึ่งหากมีการเผาผลาญมากน้อยเพียงใดก็จะส่งผลกับระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะด้วยเช่นกัน การทำงานของไตมีความผิดปกติหรือไม่  เพราะไตมีหน้าที่ในการขับทิ้งฟอสฟอรัสออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะโดยตรง หากไตทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อค่าที่ขึ้นลงได้เหมือนกัน 7.อายุที่มากขึ้นก็มีผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่พบในเลือดสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติได้ นั่นก็เพราะว่าไตของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมไปตามช่วงอายุ ซึ่งเฉลี่ยแล้วผู้ที่อยู่ในวัย 40 ปีขึ้นไป ไตจะค่อยๆ เสื่อมและมีความสามารถในการขับฟอสฟอรัสออกทางปัสสาวะได้น้อยลง จึงเป็นผลให้ฟอสฟอรัสยังคงสะสมอยู่ในเลือดในปริมาณที่สูงมากด้วยนั่นเอง อย่างไรก็ตามธาตุฟอสฟอรัสกับแคลเซียมนั้น แม้จะต้องทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่เมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็จะกลายเป็นคู่แข่งหรืออริกันไปโดยปริยาย ซึ่งพบว่าหากมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ก็จะทำให้ค่าแคลเซียมในเลือดต่ำลงไปด้วย ดังนั้นพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจึงต้องเร่งสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในกระแสเลือดมากขึ้น เพื่อไม่ให้ต่ำไปกว่าระดับฟอสฟอรัสและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในคนสูงอายุจึงมักจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกมากที่สุด โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนที่พบได้มากในวัย 40 ปีขึ้นไป ดังนั้นนอกจากการตรวจหา Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสในเลือดแล้ว ก็ควรตรวจหาค่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในปัสสาวะไปพร้อมกันด้วย ซึ่งหากพบว่าค่าฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ในขณะที่ค่าฟอสฟอรัสในปัสสาวะอยู่ในระดับปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ก็สรุปได้เลยว่าไตกำลังมีปัญหาแน่นอน และควรรีบทำการรักษาโดยด่วน 8.การกินยาบางชนิดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการตรวจพบค่าฟอสฟอรัสที่มีในปัสสาวะที่เบี่ยงเบนไปจากค่าที่ควรจะเป็น ซึ่งยาเหล่านี้ก็ได้แก่ กลุ่มยา Diltiazem ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันเลือดสูงและโรคหัวใจ กลุ่มยา Diuretics ที่ใช้เพื่อขับน้ำออกจากร่างกายในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง กลุ่มยา Aspirin เพื่อใช้เพื่อบรรเทาสภาวะเลือดข้น และกลุ่มยาฮอร์โมนชนิดต่างๆ...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium

0
Urine Calcium การตรวจหาค่า Urine Calcium หรือ Urinary Calcium มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดค่าแคลเซียม ( Calcium ) ที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจนั้นจะ สามารถบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดี ทั้งยังบอกถึงภาวการณ์เป็นโรคบางอย่างในชั้นต้นได้อีกด้วย เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Glands ) 2. ไต 3. สุขภาพของกระดูก>> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> แคลเซียมมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ    การตรวจหาค่า Urine Calcium สามารถสรุปได้ ดังนี้  1. ในร่างกายของมนุษย์เราจะมี Urine Calcium แคลเซียมประกอบอยู่ประมาณ 1,200 กรัม ซึ่งอาจพบในรูปของกระดูกและฟันประมาณ 99% และที่เหลืออีก 1% ก็จะพบได้ในรูปของสารละลายในของเหลวนั่นเอง 2. สำหรับแคลเซียม 1% ที่พบในรูปสารละลายในของเหลว ก็อาจพบได้จากภายในเซลล์ทั่วร่างกายและบริเวณเซลล์นอกร่างกาย รวมถึงในน้ำเลือดด้วย 3. การเคลื่อนไหวของธาตุแคลเซียมภายในร่างกาย แบ่งออกเป็น หากพบว่าค่า Urine Calcium แคลเซียมในน้ำเลือดมีความต่ำกว่าปกติ ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมน PTH ออกมาอย่างเร่งด่วน เพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาส่งให้กับน้ำเลือด เพื่อปรับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติและสมดุลที่สุด และในขณะเดียวกันนี้เอง ต่อมพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ก็จะรีบส่งสัญญาณให้ไตปล่อยวิตามินดีออกมา เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมเร็วขึ้น เพื่อนำส่งไปยังน้ำเลือดอย่างเร่งด่วนเช่นกัน ดังนั้นจึงมองเห็นถึงความสำคัญได้ว่า วิตามินดีและอาหารที่มีแคลเซียมสูงนั้นถือเป็นองค์ประกอบหลักที่จะขาดไม่ได้เลยทีเดียว ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือการปล่อยฮอร์โมนออกไปเพื่อยับยั้งไม่ให้ไตปล่อยแคลเซียมทิ้งออกทางปัสสาวะมากเกินไป เพื่อดูดซึมแคลเซียมกลับมาใช้ดังเดิมนั่นเอง 4. สืบเนื่องจากข้อ 3 จะเห็นได้ว่าการรักษาดุลยภาพของแคลเซียมในร่างกายนั้น จะมีกลไกการทำงานของร่างกายที่สัมพันธ์ ดังนั้นหากตรวจพบว่าค่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของไตและต่อมพาราไทรอยด์ รวมถึงอาจมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องนี้เช่นกัน 5. สำหรับสภาวะที่ตรวจพบว่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยเกินไป จะมีศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกโดยเฉพาะดังนี้ Hypercalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะสูง Hypocalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะต่ำ Hyper = มาก, สูง Hypo = น้อย, ต่ำ Calci = Calcium = แคลเซียม Uria = Urine = ปัสสาวะ ค่าปกติของ Urine Calcium 1. ค่าความปกติของ Urine Calcium ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี ) 2. สำหรับค่าปกติโดยทั่วไปจะอยู่ที่ Urine Calcium : 100 - 300 mg/24 hr   ค่าปกติของ Urine Calcium 1. เมื่อตรวจพบว่า Urine Calcium น้อยกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่า ต่อมพาราไทรอยด์มีการปล่อยฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไป จึงมีการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ในเลือดได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงและมีการเหลือทิ้งออกทางปัสสาวะน้อยมากเช่นกัน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้อาจเกิดจากมีเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดสภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ก็ได้ ร่างกายขาดวิตามินดี หรือมีวิตามินดีในปริมาณน้อยมาก จึงไม่สามารถเร่งให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมในปริมาณมากขึ้นเพื่อเอามาใช้ในกระแสเลือดได้ และทำให้แคลเซียมถูกปล่อยทิ้งไปกับกากอาหารเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย และด้วยเหตุนี้จึงพบแคลเซียมในเลือดค่อนข้างต่ำมาก และแทบไม่มีแคลเซียมเหลือให้ไตขับทิ้งออกทางปัสสาวะเลยทีเดียว กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อยเกินไป จนทำให้ Urine Calcium ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุนี้ แม้ว่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำงานปกติและมีวิตามินดีอย่างสมบูรณ์ ก็ไม่สามารถหาแคลเซียมมาใช้ได้อย่างเพียงพออยู่ดี และไม่เหลือแคลเซียมให้ถูกขับทิ้งทางปัสสาวะอีกด้วย จึงทำให้ตรวจพบแคลเซียมในปัสสาวะต่ำมากหรือไม่มีเลย การกินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องที่มีผลทำให้แคลเซียมลดน้อยลง เช่น ยาขับปัสสาวะ ( Thiazide diuretics )...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

0
กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid การตรวจหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid มีวัตถุประสงค์เพื่อการหาค่า กรดยูริก ( Uric acid ) ในน้ำปัสสาวะว่ามีสูงหรือต่ำมากน้อยเพียงใด และยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะผิดปกติที่อาจโยงไปถึงการป่วยด้วยโรคร้ายแรงบางอย่างได้อีกด้วย ยก ตัวอย่างเช่น โรคเกาต์ โรคเกี่ยวกับไต โรคมะเร็ง โรคของกล้ามเนื้อ โรคที่เกิดจากพิษของโลหะ ( ที่ร่างกายได้รับสะสมมากเกินไปจนเป็นอันตราย ) >> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรกับเราได้บ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาหารแบบไหนช่วยบำบัดโรคเกาต์ได้ มาดูกันได้ที่บทความนี้ค่ะ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid 1. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับ ซึ่งตับจะทำหน้าที่ในการแยกสลายสารพิวรีนออกมาเมื่อพบว่ามีสารพิวรีนอยู่ในเลือดมากเกินไป โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีการสร้างสารพิวรีนขึ้นมาใช้เองอยู่แล้ว เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลในการสร้าง DNA โดยจะสร้างจากสารชีวโมเลกุล 2 ฐาน คือ 1) Purine Bases และ 2) Pyrimidine Bases ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงจะขาดสารพิวรีนไม่ได้เด็ดขาด แต่หากได้รับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจเป็นผลเสียได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะหากตับ ทำหน้าที่ในการสลายสารพิวรีนจนเพลิน เป็นผลให้พิวรีนถูกสลายออกไปมากเกิน ก็จะทำให้เกิดการขาดวัตถุดิบในการสร้าง DNA ที่สมบูรณ์แบบ และในที่สุดก็เกิดการผิดเพี้ยนจนกลายพันธุ์ไปจากเดิมหรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด 2. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid โดยส่วนมากแล้วตับจะทำการส่งกรดยูริกเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณ 75% เพื่อขับออกทางปัสสาวะต่อไป และส่งออกทางท่อน้ำดีประมาณ 25% เพื่อขับทิ้งผ่านทางลำไส้เล็กโดยปนไปกับกากอาหาร ซึ่งทั้งนี้หากไตทำงานได้อย่างเป็นปกติ การถูกขับทิ้งของกรดยูริกก็จะเป็นดังนี้เสมอ แต่หากไตผิดปกติ ก็จะทำให้ Urine Uric acid ยังคงค้างอยู่ในกระแสเลือดสูง และมีการขับออกในปริมาณที่น้อยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องมีการขับทิ้งกรดยูริกออกไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในรอบ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ซึ่งจะได้ผลการตรวจ Urine Uric Acid ในค่าที่เป็นปกติ 3.หากตรวจพบว่าเลือดมีค่าของกรดยูริกที่สูงเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น แพทย์จะลงความเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเกาต์หรือสภาวะปวดข้ออย่างรุนแรงสูง และยังทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากต้องกรองและขับกรดยูริกออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกตินั่นเอง โดยภาวะที่กรดยูริกในน้ำปัสสาวะเข้มข้นสูงกว่าเกณฑ์ จะมีศัพท์ทางแพทย์เรียกว่า “ Urincosuria ” และด้วยความเข้มข้นที่สูงมากเกินไปนี้ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย ประเภทของนิ่วในระบบปัสสาวะ นิ่วไต ( Nephrolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกกลายเป็นหินปูคริสตัลที่ติดอยู่ในไต และไปปิดกั้นการไหลผ่านเข้า-ออก ของของเหลวภายในไตจนส่งผลให้ไตไม่สามารถผลิตน้ำปัสสาวะออกมาในปริมาณที่ปกติได้ และเกิดการอักเสบตามมาในที่สุด นิ่วท่อไต ( Ureterolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกที่เกิดขึ้นบริเวณท่อไตก่อนจะถึงกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปิดกั้นการไหลของปัสสาวะจากไต ทำให้น้ำปัสสาวะไม่สามารถผ่านไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้ในอัตราปกติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการมี Uric Acid ในเลือดสูงมากกว่าปกติอาจนำไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเกาต์และโรคนิ่วในไต เพราะฉะนั้นหากพบค่าดังกล่าวผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด ค่าปกติของ กรดยูริก ( Uric Acid )...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

ตรวจปัสสาวะหาค่า Creatinine และ Urine Creatinine ช่วยป้องกันโรคไต

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine และ Creatinine การตรวจหาค่า Creatinine และ Urine Creatinine เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเฝ้าระวังสุขภาพของไต โดยค่า Creatinine เป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไต ดังนั้น ระดับของ Creatinine ในเลือดจึงสามารถบ่งชี้ถึงความสามารถในการทำงานของไตได้ หากมีการเพิ่มขึ้นของระดับ Creatinine อาจหมายถึงการทำงานของไตที่ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ควรให้ความสำคัญในการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำไมต้องการตรวจปัสสาวะหาค่ายูรีนครีเอตินีน ( Urine Creatinine และ Creatinine ) เพื่อเป็นการประเมินการทำงานของไต เป็นการตรวจเพื่อหาค่าของสารเคมีครีเอตินีนที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะเนื่องมาจากการที่ไตปล่อยทิ้งออกมา ทั้งนี้การตรวจเพื่อดูว่าค่าของสารครีเอตินีน Creatinine อยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ โดยหากพบว่าค่า Urine Creatinine มีความผิดปกติ นั่นอาจแสดงได้ถึงสภาวะของโรคไตหรือความผิดปกติอื่นๆในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการสร้างสารดัง กล่าวขึ้นมาที่ไตมากกว่าปกติ Urine Volum ( ml ) คืออะไร Urine Volum (ml) เป็นหน่วยใช้สำหรับวัดบอกว่าผู้ที่จะตรวจปัสสาวะ ว่าต้องถ่ายปัสสาวะลงในภาชนะหรือถ้วยที่ให้ในปริมาณกี่มิลลิลิตร โดยสังเกตได้ด้วยสายตา เนื่องจากที่ถ้วยหรือภาชนะดังกล่าวจะมีตัวเลขปริมาณกำหนดอยู่แล้ว ทั้งนี้สำหรับการถ่ายปัสสาวะลงในถ้วยหรือภาชนะนั้น แนะนำให้ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งไปจำนวนหนึ่งก่อน จากนั้นกลั้นปัสสาวะที่เหลือไว้ แล้วถ่ายลงในถ้วยให้ได้ปริมาณที่ต้องการ ที่เหลือจึงถ่ายทิ้งตามปกติ ข้อควรระวังในการถ่ายปัสสาวะเพื่อตรวจ Urine Creatinine / Creatinine เพื่อให้การถ่ายปัสสาวะสำหรับนำไปตรวจทางการแพทย์ ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่มีประสิทธิภาพและแน่นอนที่สุด จะต้องระมัดระวังดังนี้ 1.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบมีฝาปิด ให้รีบปิดฝาทันทีหลังถ่ายลงในถ้วยเสร็จ 2.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบไม่มีฝาปิด ควรระมัดระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมใดๆ ตกลงไปในถ้วยใส่ปัสสาวะเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น เส้นขนจากอวัยวะเพศ หยดเลือดจากประจำเดือนหรือเศษกระดาษชำระก็ตาม>> การตรวจปัสสาวะสามารถบอกอะไรได้บ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ การแบ่งชนิดน้ำปัสสาวะเพื่อการตรวจครีเอตินีน สำหรับการแบ่งชนิดของน้ำปัสสาวะนั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ 1.น้ำปัสสาวะครั้งแรกในตอนเช้า ก็คือปัสสาวะที่ได้จากการถ่ายครั้งแรกหลังตื่นนอนนั่นเอง โดยมักจะใช้กับผู้ป่วยที่นอนอยู่ที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว 2.น้ำปัสสาวะที่สุ่มตรวจ ( Random or Spot Urine Specimen ) ก็ถือปัสสาวะที่ได้จากการตรวจโดยไม่กำหนดเวลาแน่นอน ซึ่งผู้ตรวจอาจมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ต้องการตรวจปัสสาวะเพื่อเช็คปัญหาสุขภาพเท่านั้น โดยการตรวจแบบนี้สามารถตรวจที่โรงพยาบาลเวลาใดก็ได้ 3.น้ำปัสสาวะที่รวบรวมได้ในรอบ 24 ชั่วโมง คือปัสสาวะที่เก็บได้จากการถ่ายออกมาทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะใช้กรณีคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลอยู่แล้ว ซึ่งแพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจอย่างละเอียด การตรวจหาค่า Urine Creatinine / Creatinine ในร่างกาย ทำให้ทราบค่าอะไรได้บ้าง 1. Creatinine Phosphate เป็นสารของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายจะปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดทุกครั้งที่มี การยืดหรือหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น โดยสารชนิดนี้ก็เกิดจากการแตกตัวของสารประกอบ Creatinine นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วสารดังกล่าวจะมีการหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดในระดับที่เกือบคงที่อยู่ตลอดเวลา ยกเว้นในคนที่ต้องใช้ร่างกายเยอะกว่าปกติ เช่นนักกีฬา จึงทำให้กล้ามเนื้อยืด-หดตัวมากกว่าคนทั่วไป และมีการหลั่งสาร Creatinine มากกว่าปกติ 2. เมื่อ Creatinine ได้แตกสลายตัวเองออกมาเป็น Creatinine Phosphate ในเลือดแล้ว ไตก็จะต้องทำหน้าที่ในการกรองสารตัวนี้ออกจากเลือดและทิ้งไปกับปัสสาวะ เพื่อไม่ให้ระดับของสารดังกล่าวในเลือดมีมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีการพบสาร Creatinine หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดบ้างเล็กน้อยเช่นกัน 3. หากไตทำงานปกติ และร่างกายก็มีสุขภาพดีเช่นคนปกติทั่วไป รวมถึงมีการทำกิจวัตรประจำวันเป็นปกติ ค่าของ Creatinine ที่พบในน้ำปัสสาวะก็ควรอยู่ในระดับที่เป็นปกติด้วย โดยหากพบว่ามีค่าของสารตัวนี้ในน้ำปัสสาวะมากหรือน้อยเกินไปก็แสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายก็ได้ 4. หากตรวจพบว่าค่า Creatinine ในปัสสาวะมีค่าน้อยกว่าปกติ ในขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ และในขณะเดียวกับค่าดังกล่าวที่พบในเลือดก็สูงขึ้นมาก นั่นอาจแสดงได้ว่าไตกำลังมีปัญหา ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียลดน้อยลง หรืออาจเป็นโรคบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการกรองของเสียของไตได้เหมือนกัน 5. ในกรณีที่ไตมีสภาวะเป็นปกติ แต่กลับมีค่า Creatinine ที่พบในปัสสาวะสูงกว่าระดับปกติเป็นอย่างมาก นั่นก็แสดงได้ว่ากล้ามเนื้อในร่างกายกำลังมีปัญหา หรืออาจมีโรคที่เป็นสาเหตุให้ค่าของสารดังกล่าวสูงขึ้น ค่าปกติของยูรีนครีเอตินีน 1. ค่าปกติ Creatinine ในปัสสาวะ...
- ตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพและการบริโภค

การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis )

0
การตรวจปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis ) วิธีการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะเพื่อนำค่าผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือ ยังไม่เกิดโรค ก็ให้ตรวจเพื่อการป้องกัน และมีแนวทางการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเหมาะสมนั้นมีความสำคัญมาก เรามาทำความรู้จักกับลักษณะทางกายภาพของปัสสาวะให้มากขึ้นกันค่ะ >> สาเหตุของอาการปัสสาวะน้อยเกิดจากอะไร มาดูกันค่ะ >> ปัสสาวะมากเกิดมาจากสาเหตุอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ ลักษณะทางกายภาพของ ปัสสาวะ ( Urine ) เกณฑ์การวัด อาการแสดงของปัสสาวะ อาการผิดปกติที่อาจเกิดโรค สีของปัสสาวะ สีระดับปกติ เหลืองซีดหรือเหลืองเข้ม - สีระดับผิดปกติ เหลืองจัด อาจมีภาวะขาดน้ำ สีระดับผิดปกติ ใสซีด อาจเป็นโรคไต อาจเป็นโรคเบาหวาน สีระดับผิดปกติ แดง อาจมีเลือดปน ความใสของปัสสาวะ ความใสปกติ สีใสและไม่มีตะกอน ความใสผิดปกติ ขุ่น อาจมีเม็ดเลือดปะปน อาจมีเชื้ออสุจิปะปน อาจมีเชื้อโรค กลิ่นของปัสสาวะ กลิ่นปกติ กลิ่นคล้ายเปลือกไม้ กลิ่นผิดปกติ มีกลิ่นฉุน อาจเกิดจากกลิ่นของอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง อาจมีการอักเสบที่ช่องทางเดินปัสสาวะ อาจมีกรดอะมิโนออกมาปะปน ค่าความถ่วงจำเพาะ ( Urine Specific Gravity )  ค่าปกติ 1.005 – 1.030 - ค่าผิดปกติ มีระดับสูง อาจเข้มข้นเพราะร่างกายขาดน้ำ ค่าผิดปกติ มีระดับต่ำ อาจเจือจางเพราะโรคไต สารชีวเคมีใน ปัสสาวะ เนื่องจากปัสสาวะนั้น ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ คือ เลือด ที่ไตเป็นผู้กรองเอาสารชีวเคมีที่ดีคือให้เลือดกลับไปใช้ได้อีก ดังนั้น น้ำปัสสาวะแท้จริงจึงคงเหลือแต่    1.สารของเสีย 2.สิ่งที่เป็นพิษ เช่น มีแอลกอฮอล์ในร่างกาย 3.สารในสภาวะของเหลวจากเลือดจำนวนหนึ่ง รวมกันในรูปของน้ำปัสสาวะที่ไตขับทิ้งออกสู่กระเพาะปัสสาวะโดยรวบรวมไว้รอการปลดปล่อยให้พ้นออกจากร่างกายต่อไป ในร่างกายของคนที่มีสุขภาพเป็นปกติ จึงย่อมปรากฏแต่สารของเสียซึ่งเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการใช้ปะปนผสมอยู่ในปัสสาวะเท่านั้น และในร่างกายของคนที่มีสภาวะผิดปกติ ย่อมปรากฏมีสารชีวเคมีที่ดีซึ่งควรอยู่แต่ในเลือด แต่กลับหลุดออกมาสู่น้ำปัสสาวะ จึงทำให้สามารถตรวจวิเคราะห์เพื่อจะทราบถึงสาเหตุแท้จริงของสภาวะผิดปกติหรือโรคได้ต่อไป คำแนะนำในการเก็บน้ำปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำวิธีการเก็บปัสสาวะของผู้ประสงค์จะสงค์กรวดน้ำปัสสาวะของตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้ วันแรก เมื่อตื่นนอนตอนเช้าให้ปัสสาวะทิ้งโถส้วมไป 1 ครั้ง ภายหลังจากนับแต่เวลานั้นอีก 24 ชั่วโมงต่อมา จึงให้ถ่ายปัสสาวะใส่ลงในภาชนะรวบรวมเก็บไว้ในตู้เย็น ปัสสาวะส่วนนี้ คือ จำนวนที่จะนำไปตรวจ นับเป็นชนิดปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ( 24 Hours Urine ) วันที่สอง เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ก็ให้ถ่ายปัสสาวะครั้งแรกใส่ลงในภาชนะแล้วปิดฝาให้เรียบร้อย เก็บไว้ในตู้เย็น ปัสสาวะส่วนนี้ คือ จำนวนที่จะนำไปตรวจเป็นชนิดน้ำปัสสาวะตัวอย่าง ( Spot Urine ) ในกรณีได้เตรียมการใดๆเลยโดยเทเก็บปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้จะเรียกว่า ปัสสาวะสุ่มตรวจ ( Random Urine )    ภายหลังจากนั้น จึงให้รีบนำส่งปัสสาวะไปรับการตรวจวิเคราะห์โดยเร็วที่สุด หรือในโอกาสแรกที่ทำได้ บทบาทของไตในการผลิต น้ำปัสสาวะ เมื่อจะกล่าวถึงการตรวจวิเคราะห์บรรดาสารชีวเคมีในน้ำปัสสาวะทั้งหลายหรือคุณลักษณะพิเศษเกี่ยวกับปัสสาวะทั้งปวง ก็ย่อมไม่อาจมองข้ามบทบาทของไตในฐานะที่เป็นผู้สร้างน้ำปัสสาวะ หรือเป็นต้นตอของผู้ปล่อยผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย คือ น้ำปัสสาวะ     1.บทบาทของไตในการธำรงรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย และ 2.สภาพของไตที่เสื่อมลงจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต 1.บทบาทของไตในการธำรงรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย เพื่อให้เกิดความปกติสุข อาจกล่าวในสาระสำคัญโดยสรุปได้ ดังนี้ ไตเป็นอวัยวะจำเป็นยิ่งอย่างหนึ่งที่มีหน้าที่ขับถ่ายสารของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาการธำรงชีวิตของร่างกาย เช่น กระบวนการเผาผลาญอาหารทั่วไปย่อมเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการย่อยสลายโปรตีน ย่อมเกิดสารแอมโมเนีย และยูเรีย ตามลำดับ ฯลฯ สารของเสียทั้งหลายเหล่านั้น ไต จะมีส่วนช่วยบำบัดปล่อยทิ้งผ่านทางปัสสาวะ ควบคุมปริมาณของของเหลวและสารละลายภายในร่างกาย เพื่อความสมดุลของปริมาตร ความสมดุลของกรด-ด่าง ตลอดจนเกลือแร่ชนิดต่างๆ มีหน้าที่ร่วมกับตับในการขจัดทิ้งบรรดาสารพิษที่ละลายน้ำได้ เช่น สารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร แอลกอฮอล์ หรือแม้แต่ยารักษาโรคชนิดที่ละลายน้ำได้ ( Water Soluble Drugs ) หน้าที่ในข้อนี้ของไตเสมือนรับหน้าที่ดำเนินการต่อจากตับว่า หากตับได้ตรวจสอบได้ว่าอะไรเป็นพิษต่อร่างกายก็จะถูกกรองทิ้งสารพิษนั้นทิ้งออกไปนอกร่างกายปนไปกับปัสสาวะทันที ไตยังมีบทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำหน้าที่คล้ายต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Function ) โดยสามารถผลิตสารชีวโมเลกุลหลายอย่าง ไตมีเอนไซม์ สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ( Eryhropoietin ) ซึ่งไตผลิตขึ้นแล้วส่งให้ไขกระดูกดำเนินการทางชีวเคมีต่อไป วิตามินดี ( Vitamin D ) ส่วนหนึ่งผลิตขึ้นมาจากคอเลสเตอรอล ซึ่งถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด แต่วิตามินดี ส่วนน้อยอีกจำนวนหนึ่งก็ผลิตขึ้นมาใช้โดยไต ทั้งนี้ วิตามินดี ทั้งหมดนี้ไตจะส่งให้ ลำไส้เล็กใช้เป็นเครื่องมือดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเอามาใช้ในร่างกาย เอนไซม์เรนีน ( Renin Enzyme ) เป็นเอนไซม์ที่ไตผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมความดันเลือดทั่วร่างกาย...