เบาหวาน

สาเหตุการเกิดเบาหวาน

เบาหวาน เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้น

ชนิดของเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินร่างกายต้องทดแทนโดยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย
เบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด การได้รับสารเคมี หรือความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
เบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เป็นแผลแล้วหายยาก ตาพร่ามัว ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

1. ประทานอาหารตามหลักโภชนาการในปริมาณที่พอดีกับที่ร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานหรือเครื่องดื่มมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัด

- เบาหวาน

โภชนาการเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผลิตภัณฑ์คุณภาพทางการแพทย์

0
อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน+ โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ส่งผลต่อโภชนาการและการทำงานของตับ ระบบดูดซึมน้ำตาลในเลือดจึงผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เมื่อปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไต โรคระบบประสาท และปัญหาการมองเห็นถึงขั้นตาบอดได้ การเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes ) คือ โรคที่เกิดจากภาวะของตับอ่อนมีการทำงานที่ผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน  ( Insulin ) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือการที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อปริมาณฮอร์โมนอินซูลินน้อยหรือฮอร์โมนอินซูลินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายได้ ส่งผลให้น้ำตาลที่คงเหลืออยู่ในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น>> เบาหวานมีกี่ชนิดและมีวิธีป้องกันการเป็นเบาหวานได้อย่างไร อยากรู้มาดูบทความนี้กันค่ะ >> ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างไร มาเช็คตัวเองกันค่ะ โรคเบาหวานที่พบได้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1. เบาหวานชนิดที่ 1 ( Type 1 Diabetes ) คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากการขาดอินซูลิน เพราะเบต้าเซลล์ (Beta cells) ที่อยู่ในตับอ่อนไม่สามารถทำการผลิตออร์โมนอินซูลินออกมาได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดความผิดปกติจึงเข้าไปยับยั้งหรือไปทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถทำการสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จะมีอายุประมาณ 5-24 ปี 2. เบาหวานชนิดที่ 2 ( Type 2 Diabetes ) คือ เบาหวานที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินหรือเกิดเนื่องจากการที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือที่เรียกว่า “ภาวะดื้ออินซูลิน ( Insulin Resistance )” ภาวะดื้ออินซูลินนี้อาจเป็นสาเหตุของความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับตับซึ่งเป็นที่มาของโรคเบาหวาน นอกจากความเสื่อมที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น การไม่ออกกำลังกาย ความอ้วนหรือโรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงตลอดเวลา ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาที่พบส่วนใหญ่ประมาณ 90 % ของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ 3. เบาหวานชนิดที่ 3 ( Type 3 Diabetes ) หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ( Gestational Diabetes Mellitus ) คือ เบาหวานชนิดนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์บางคนร่างกายจะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินน้อยลง ดังนั้นถ้าร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่สามารถทำการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดภาวะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น แต่เมื่อคลอดลูกแล้วอาการของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นก็จะหายไปเอง แต่ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้ นอกจากเบาหวานทั้ง 3 ชนิดแล้ว ยังมีเบาหวานชนิดพิเศษอื่น ๆ ที่มีสาเหตุแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลจากการผ่าตัด การเสพยาเสพติด การเกิดภาวะขาดสารอาหาร โรคตับอ่อน การได้รับยากลุ่มสเตีบรอยด์ เป็นต้น ซึ่งเบาหวานชนิดพิเศษพบได้น้อยมากประมาณ 1 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โรคเบาหวานสามารถตรวจเช็คได้ด้วยการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes ) คือ โรคที่เกิดจากภาวะของตับอ่อนมีการทำงานที่ผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) อาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1. บาดแผลหายช้า แผลเบาหวาน ( Diabetic Ulcer ) เป็นอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมากผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเป็นแผลจะหายช้ากว่าคนทั่วไป เนื่องจากหลอดเลือดที่นำพาเลือดไปเลี้ยงส่วนที่เป็นแผลมีการตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณบาดแผลได้ ส่งผลให้แผลหายช้าและมักเนื้อที่บริเวณบาดแผลจะมีโอกาสตายมากขึ้นจนกลายเป็นแผลลุกลาม 2. กินบ่อยแต่น้ำหนักลด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการหิวบ่อยเนื่องจากไม่สามารถดึงน้ำตาลที่มีอยู่ในกระแสเลือดเข้าไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ทำให้ร่างกายรู้สึกหิวตลอดเวลา แต่ถึงแม้จะกินบ่อยขึ้นแต่พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานกลับมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างชัดเจน เนื่องร่างกายไม่สามารถดึงน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้ จึงทำการดึงไขมันและโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมาใช้แทน...
- เบาหวาน

การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิต การดูแลที่ไม่ควรมองข้าม

0
ผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิต ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการรักษาคือบุคคลที่ได้รับบริการด้านสุขภาพจากแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ ทันตแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และต้องการการรักษา หรือการปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง >> การตรวจเบาหวาน มีวิธีการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างไร มาเช็คดูกันค่ะ กรณีที่ 1 การดูแลผู้ป่วยและการรักษามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น บุตรสาวของผู้ป่วยได้นำผู้ป่วยนั่งรถเข็นมายังคลินิก โดยอาการของผู้ป่วยในขณะนั้นไม่สนใจสิ่งแวดล้อมใดๆ ซึมจนเห็นได้ชัด ส่วนบุตรสาวก็ดูเหมือนกำลังอมทุกข์และเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะ เบื่อหน่ายที่จะต้องดูแลมารดานั่นเอง โดยทั้งนี้บุตรสาวก็ได้เล่าให้กับพยาบาลฟังว่า “แม่ของเธอมีอาการซึม ขาชา ขาชา ไม่ยอมกินข้าว มักจะคลื่นไส้ตลอด จากนั้นบุตรสาวก็เดินออกไปรอข้างนอก เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง จึงเดินกลับเข้าไปหาแม่ใหม่ และถามว่าแม่เป็นอย่างไรบ้าง พยาบาลก็ได้ตอบว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงก็ได้พาผู้ป่วยไปเอ็กซเรย์สมอง ได้ผลว่าไม่พบความผิดปกติ จึงให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเพื่อสังเกตอาการก่อน และค่อยเจาะเลือดพรุ่งนี้เช้า จึงจะไปพบแพทย์ที่อายุรกรรมให้ตรวจอีกที ในเช้าวันต่อมาบุตรสาวก็ได้พาแม่ไปเจาะเลือด ผลที่ได้คือแม่มีน้ำตาลต่ำ แพทย์จึงให้พาผู้ป่วยไปทานอาหารและหยุดทานยาเบาหวานแล้วค่อยมาพบพยาบาลที่คลินิกเบาหวานใหม่ บุตรสวจึงได้พาแม่ไปดื่มชาดำเย็น 1 ถุงและทานข้าว จากนั้นจึงไปเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้งได้ผล DTX 60 mg/dl จึงให้แม่ทานน้ำหวานและกล้วยอีก 2 ใบ พร้อมกับส่งไปที่ห้องฉุกเฉินเพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่ทั้งนี้บัตรสาวและผู้ป่วยก็ได้ต่อรองว่าจะไม่ไปที่ห้องฉุกเฉินอีก พยาบาลจึงต้องอธิบายว่า ยาลดน้ำตาลที่ผู้ป่วยทานไปก่อนหน้านี้ กว่าไตจะขับออกหมดก็ประมาณ 2 วัน หากตรวจอีกคืนนี้ก็จะพบว่าน้ำตาลต่ำอีก ทั้งคู่จึงได้กลับไปห้องฉุกเฉิน DTX=100mg/dl แพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ โดยไม่ได้รักษาใดๆ เพิ่มเติม กรณีที่ 2 กะกะเอา ผู้หญิงมีอายุ 70 ปี ถูกส่งปรึกษามาจากหอผู้ป่วย มีรูปร่างผอมขาว โดยเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการซึม คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็วเหนื่อยง่าย โดยแรกรับพบว่า Blood sugar 890 mg/dl, ketone 8 mmol/l จึงคาดว่าผู้ป่วยน่าจะขาดยาอินซูลินมา จากนั้นจึงได้ทำการซักประวัติถึงการฉีดยาอินซูลินของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยฉีดทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าจะฉีด 24 ยูนิต ส่วนตอนเย็นฉีดอีก 12 ยูนิต จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดยาอินซูลินอย่างสม่ำเสมอจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อผู้ป่วยฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่องแล้วทำไม น้ำตาลในเลือดจึงยังสูงขนาดนี้ ทั้งที่สาเหตุน่าจะมาจากการขาดอินซูลิน จากนั้นพยาบาลจึงถามต่อว่าตอนนี้ยาฉุดอินซูลินที่ได้รับเหลือกี่หลอด ผู้ป่วยตอบว่าเหลือ 5 หลอด ซึ่งเมื่อลองคำนวณดูแล้ว น่าจะเหลือไม่เกิน 1 หลอด จึงได้ทำการประเมินความคลาดเคลื่อนของการฉีดยาของผู้ป่วยต่อ โดยให้ผู้ป่วยสาธิตการฉีดให้ดู เริ่มตั้งแต่ดูดอินซูลิน โดยผู้ป่วยก็ได้เตรียมยาอินซูลินด้วยการเขย่าขวดกลับไปมา จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดจุกยาง พร้อมเสียบเข็มได้อย่างถูกต้อง แต่สังเกตพบว่าปริมาณยาที่ผู้ป่วยดูดออกมาจากขวด มีเพียง 5 ยูนิตเท่านั้น ซึ่ง ผู้ป่วยก็ได้บอกแก่พยาบาลว่า “ มองไม่เห็นหน่วยตัวเลขที่กระบอกฉีดยา ทุกครั้งที่ฉีดก็เลยแค่กะกะเอา ” กรณีที่ 3 ดูแลแบบองค์รวมหรือไม่ กรณีของเคสที่เป็นเคสซับซ้อนในหัวข้อ “ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมนั้นมีหรือไม่? ”  นี่เป็นเคสผู้ป่วยที่เป็นชายร่างอ้วน ผิวคล้ำ เป็นเคสที่เดินทางเข้ามาด้วยการนั่งรถเข็นเพียงคนเดียว เป็นเคสผู้ป่วยเก่าของทางโรงพยาบาลแห่งนี้โดยตรง ถูกส่งเข้ามารักษาตัวด้วยอาการเกิดบาดแผลที่เท้า ในขณะที่กำลังนั่งรอทำแผลนั้นผู้ป่วยก็จะมีการแสดงการเคาะโต้ะ คอยนั่งโยกไปมาเรื่อย ๆ จากประวัติการรักษาตัวล่าสุดก่อนหน้านี้ที่โรงพยาบาลแห่งนี้นั่นคือเมื่อห้าวันที่แล้วพบว่าผู้ป่วยมีประวัติป่วยเป็น NIDDM เป็น HYPERTENSION , Schizophreania และ Hyperlipidnia เคยมีประวัติรักษาตัวด้วยอาการที่หอบ เหนื่อยและได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็น Congestive...
- เบาหวาน

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบรายบุคคล

0
ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรค รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพ หน้าที่หลักประกอบด้วยสองประการสำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเชิงรุก เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถจัดการปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้บริการต่อเนื่อง โดยเน้นการให้คำปรึกษา การรักษาผู้ป่วยทันที และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการดูแลฉุกเฉินและการพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อ นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือและการเชื่อมโยงในระบบสุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานให้ครอบคลุมทุกมิติและตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงมีนโยบายที่จะจัดการกับอาการของโรคเรื้อรัง มุ่งเน้นให้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมากถึงร้อยละ 80-90 พร้อมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษาและแนะนำสำหรับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นอีกด้วย โดยทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วพบว่าการดูแลผู้ป่วยยังไม่ค่อยครอบคลุมมากนัก ทำให้ผู้ป่วยแต่ละบุคคลขาดการปรับพฤติกรรมของตัวเองอย่างต่อเนื่อง และได้รับการเข้าถึงการบริการของสถานพยาบาลเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ล่าสุด แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 และกรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี พ.ศ.2554- พ.ศ.2558 ก็ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้มีความสอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยเน้นให้มีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของตนเองและคนในครอบครัว ตลอดจนชุมชน สังคมมากขึ้น ทั้งยังมีการพัฒนาระบบและเครื่องมือให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงให้ความใส่ใจในเรื่องของการจัดการ ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารและงบประมาณบุคลากรเช่นกัน สำหรับกรอบแนวทางในการจัดบริการดูแลและรักษาโรคเรื้อรังใน รพ.สต. ก็ไม่ใช่แค่การตรวจเลือดและการจ่ายยาเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถประเมินอาการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย นั่นก็เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีความยั่งยืนที่สุด โดยองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ ที่สำคัญก็มีทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้ องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ 6 ส่วน 1. การออกแบบระบบการให้บริการ พร้อมปรับโครงสร้างการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการสร้างทีมงานที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างชัดเจนที่สุด 2. สนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ เพราะโรคเรื้อรังนั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลได้ดีที่สุด ก็คือตัวของผู้ป่วยเองนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องมีการให้คำแนะนำและความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้ ซึ่งก็จะเน้นในการให้ผู้ป่วยจัดการกับสุขภาพของตนเองในด้านของการออกกำลังกาย การชั่งน้ำหนัก การควบคุมอาหาร การใช้ยา การตรวจติดตามตนเองและการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น 3. มีการจัดโครงสร้างการทำงานของ รพ.สต. ใหม่ เพื่อให้มีโครงสร้างในการบริหารจัดการที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับสร้างความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่าง รพ.สต. กับผู้ป่วย ผู้ประกันสุขภาพและหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ อีกมากมายเช่นกัน 4. เน้นในด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความชัดเจนที่สุด รวมถึงมีการผสมการดูแลโรคเรื้อรังและกระบวนการดูแลผู้ป่วยประจำวันในรูปของการย้ำเตือนหรือการกระตุ้นเข้าไปด้วย 5. ทำการเชื่อมโยงเพื่อเสริมพลังชุมชน ( Community Empowerment ) ให้เกิดการพัฒนาและดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังมากขึ้น 6. การจัดการข้อมูลทางคลินิก ( Clinical Information System ) เพื่อให้มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของผู้ป่วยอยู่เสมอ รวมถึงบันทึกเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาวางแผนดูแลผู้ป่วยเช่นกัน>> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ? >> การรักษาแผลเบาหวานด้วยวิธีธรรมชาติทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ    สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยเบาหวานรายกรณีและความดันโลหิตสูงในชุมชน จากรายงานการสัมภาษณ์และจากการสนทนากับกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลในรายละเอียดที่ลงลึกกว่าปกติ เกี่ยวกับปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับการจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าในรพ.สต. หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนาม “ อนามัย ” โดยรัฐบาลได้ระบุผู้ที่จะต้องให้การบริการ ด้านสุขภาพแก่ประชาชนใน รพ.สต. คือ หัวหน้าสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น แต่ละ รพ.สต. กลับมีบุคลากรแค่เพียง 3-4 คนเท่านั้น และที่ขาดแคลนเป็นอย่างมากก็คือ พยาบาลวิชาชีพ หาก รพ.สต.ไหนมีพยาบาลประจำอยู่ ก็จะเป็นแค่พยาบาลเทคนิคที่มาฝึกงาน ทั้งที่ตามบทบาทและหน้าที่ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ลักษณะ คือ งานฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการบริการสุขภาพ และในทางปฏิบัติพยาบาลจะต้องทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในการให้บริการการตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยปัญหาสุขภาพทั่วไป การให้บริการที่ชุมชน การให้บริการที่ชุมชน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1. ปัญหาปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) จำนวนร้อยละ 50 ของทั้งหมด มีพยาบาลประจำในการปฏฺบัติงานเพียงคนเดียวเท่านั้น...
- เบาหวาน

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามอาการที่แตกต่างกัน

0
เบาหวาน โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 42 ในประเทศพัฒนาแล้ว จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดว่าในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานอายุระหว่าง 20-79 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน จาก 285 ล้านคนในปี 2553 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 58.7 ล้านคนในปี 2553 เป็น 101 ล้านคนในปี 2573 สำหรับประเทศไทย ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9.6 โดยในปี 2549 พบผู้ป่วยจำนวน 643,522 คนใน 48 จังหวัด และเพิ่มขึ้นเป็น 757,031 คนในปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างร่วมกันเลยก็ได้ ซึ่งหากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ ( Macroangiopathy ) ซึ่งทำให้เกิดการตีบเล็กลงของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ หลอดเลือดแดงโคโรนารี หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลายที่ขา และภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ( Microangiopathy ) จากพยาธิสภาพที่มีการหนาตัวของ Basement Membrane จนส่งผลให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งก็จะส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพมากขึ้น >> การตรวจสุภาพประจำปีมีความสำคัญอย่างไร มาดูกันค่ะ >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำได้อย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเพื่อที่จะควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จนอาจทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา หรือถึงขั้นตาบอด เป็นอัมพาต หรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยครั้งด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวในทันทีแต่ก็ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง ทำให้ได้รับผลกระทบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดงานหรือเปลี่ยนงานใหม่ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีความสามารถที่จะทำงานเดิมได้ อีกทั้งเมื่อผู้ป่วยมีความพิการ ก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาลและการดูแลสภาพเพิ่มขึ้นไปอีก เนื่องจากพยาธิสภาพและกลไกลการเกิดเบาหวานจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดในระยะแรก การจัดการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น มีการจัดระบบบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ที่มีการตรวจพบว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค และหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานก็จะต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย มีการป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่ร้ายแรงเพิ่มเติม การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องครอบคลุมการดำเนินงานทั้งในส่วนของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวของผู้ป่วย มีการจัดการดูแลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบปฐมภูมิ ( Primary Care ) ทุติยภูมิ ( Secondary Care ) และตติยภูมิ ( Tertiary Care ) รวมทั้งมีกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อเตรียมสำหรับการรองรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึง มีความเสมอภาคและพยายามลดช่องว่างในช่วงการเชื่อมต่อในทุกระดับของระบบบริการสุขภาพให้น้อยที่สุด โรคเบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว ผู้จัดการรายกรณีในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีบทบาทเป็นแกนนำในการพัฒนาการดูแลดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้การบริการเชิงรุกมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ครอบคลุมทั้งเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย ดำเนินการป้องกันการเกิดโรค การจัดการควบคุมโรค ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลง รวมทั้งมีการวางแผนการจัดการดูแล จัดกิจกรรมการดูแลทั้งในระดับปฐมภูมิทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างเหมาะสม ลดความรุนแรงของโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนค้นหาสภาพปัญหา และจัดสรรระบบรองรับการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสุขภาพทุกระดับที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1. การค้นหา คัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงเพื่อร่วมกันจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยการเกิดโรคเบาหวานในระยะต่างๆ 2. การประเมินความจำเป็นของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการสุขภาพที่มีเหมาะสม และจัดการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 3. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยง กลุ่มโรคเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน และกลุ่มโรคเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเน้นการป้องกันและควบคุมการดำเนินของโรค การกำเริบของโรค ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน ให้ความสำคัญกับการดูแลต่อเนื่อง ความคุ้มค่า คุ้มทุน การทบทวนความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี 4. การจัดการรายกรณีโดยใช้บริการมาตรฐานสุขภาพตามกระบวนการของโรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัย การจัดบริการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยตามความจำเป็นและความเหมาะสม 5. การจัดการให้ผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วยมีส่วนร่วมและสามารถที่จะดูแลตนเองได้ การจัดการให้ผู้ป่วยคัดกรองโอกาสเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง 6....
- เบาหวาน

การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี

0
การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี การจัดการรายกรณีสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 1. กระบวนการดูแล 1.ทำแบบประเมินความเสี่ยงให้กับประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต พร้อมเตรียมป้องกันและรับมือกับโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ 2.ผู้ที่พบว่ามีความเสี่ยงจะต้องเข้าทำการคัดกรองทันที เพื่อจะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยจะทำการตรวจด้วยด้วยการตรวจพลาสมากลูโคสขณะอดอาหา ( fasting plasma glucose, FPG ) ถ้าไม่สามารถตรวจ FPG ให้ตรวจ Fasting Capillary Blood Glucose ได้ 3. ผู้ที่มีผลการตรวจ FPG หรือ Fasting Capillary Blood Glucose มีค่า ≥ 126 มก./ดล. จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำการลงทะเบียนผู้ป่วยและส่งเข้ารับการรักษาในทันที 4. ผู้ที่มีระดับ FPG 100-125 มก./ดล. วินิจฉัยเป็น IFG คือมีความเสี่ยงเป็นหวาน ซึ่งจะต้องได้รับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากเบาหวาน รวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญจะต้องมีการ ติดตาม FPG ซ้ำทุกๆ 1-3 ปี ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มี ไม่มีการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลและในชุมชน จัดให้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขทำการค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน อัตราความชุก ( Prevalence ) และ อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ( Incidence ) ลดลง  2. การให้ความรู้และกระตุ้นผู้ป่วยและครอบครัวในการป้องกันและเกิดโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง 1.การจัดการรายบุคคล 1.1 ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในเรื่อง Life style modification ด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ ( ปฏิบัติได้ทั้งรายบุคคล/รายกลุ่ม ) โดยจะทำทุก 3 เดือน 1.2 ได้รับการตรวจประเมิน BMI รอบเอว ความดันโลหิต (ใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน) ทุก 1 เดือน 1.3 ทำการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL ทุก 6 เดือน 1.4 จะต้องมีสมุดบันทึกสุขภาพ ( Record book ) ประจำตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกน้ำหนักตัว BMI รอบเอว ระดับความดันโลหิต ผลการตรวจเลือดและบันทึกพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อติดตามและประเมินผลต่อไป 2. การจัดการกับชุมชน 2.1 กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ทำการรณรงค์เรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในชุมชนทุก 6 เดือน ไม่สามารถควบคุมภาวะ Metabolic syndrome ได้ ภายใน 6 เดือน : ระดับความดันโลหิต > 130/85 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ : BMI สูงเกินเกณฑ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด : ระดับTriglyceride, HDL สูงเกินมาตรฐานมาตลอดและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 1. จัดโปรแกรมเพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล   3. ประสานรพ.ชุมชน/รพ.จังหวัดเพื่อส่งผู้ป่วยไปรับความรู้และคำปรึกษาเรื่อง Life style modification ทุก 3 เดือน รวมทั้งตรวจประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HD ทุก 6 เดือน 4. นัดผู้ป่วยพบแพทย์อายุรกรรมในโรงพยาบาล อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง Impaired Fasting Glucose...
- เบาหวาน

การจัดการรายบุคคล ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แนวคิดสู่การปฏิบัติตัว

0
การจัดการรายบุคคล ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แนวคิดสู่การปฏิบัติตัว ในปัจจุบันพบว่า สถิติของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีมากขึ้นจนน่ากังวลเลยทีเดียว เพราะทั้งสองโรคนี้ หากผู้ป่วยไม่ควบคุมตัวเองให้ดี ก็อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนได้อีกมากมาย เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา โรคไตและอื่นๆ เป็นต้น ทั้งยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากร งบประมาณและเวชภัณฑ์ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงควรลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็สามารถทำได้ด้วยการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดนั่นเอง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักจะไม่ให้ความร่วมมือกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมโรคมากนัก จึงมักจะพบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตมีภาวะแทรกซ้อนอยู่บ่อยๆ    ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงควรได้รับการช่วยเหลือในทุกด้านอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือการจัดการรายกรณีนั่นเอง ซึ่งก็จะมีการประสานให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอยู่เสมอ มีการปรับเปลี่ยนการรักษาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพทางคลินิกที่ซับซ้อน และทำการป้องกันดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ดีและยังช่วยลดการใช้งบประมาณหรือการสูญเสียทรัพยากรในการรักษาไปอย่างสูญเปล่าอีกด้วย>> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูบทความนี้กัน >> เมื่อเป็นเบาหวานควรดูแลตนเองอย่างไร บทความนี้มีคำแนะนำมาบอกค่ะ บทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี สำหรับพยาบาลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณี จะมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกปัญหา โดยหลักๆ ก็จะมีบทบาททั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ คลินิก/การดูแล การจัดการ/ภาวะผู้นำ การเงิน/ธุรกิจ การสื่อสารและการจัดการข้อมูล รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพด้วย โดยมีรายละเอียดของแต่ละบทบาทดังนี้ ตาราง บทบาทของผู้จัดการรายกรณี บทบาทของผู้จัดการรายกรณี กิจกรรมของผู้จัดการรายกรณี ด้านคลินิก/การดูแล  ประเมินปัญหาและความต้องการของผุ้ป่วย ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตามแผน ประเมินผลของการปฏิบัติการ และการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง วางแผนในการดูแลผู้ป่วย ด้านการจัดการ/ภาวะผู้นำ ควบคุมและพัฒนาคุรภาพการดูแล ร่วมพัฒนาแผนการจัดการผู้ป่วย และแนวทางการรักษา ( CPG ) ประสาน เอื้ออำนวย และการจัดการการดูแล ชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงของทีมการดูแล ติดตามประเมินกิจกรรมการดูแลและผลลัพธ์ พิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วยและครอบครัว ด้านการเงิน/ธุรกิจ ทบทวนทรัพยากรในการดูแล ลดความสูญเปล่า และควบคุมค่าใช้จ่าย วิเคราะห์และจัดการความผันแปร ด้านการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล ออกแบบการบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการกับข้อมูล รายงานข้อมูล ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ศึกษาวิจัย หรือใช้ผลการวิจัย เสนอนโยบาย/แนวปฏิบัติในรูปแบบใหม่ นำเสนอผลลัพธ์ของการจัดการ การจัดการทรัพยากร พยาบาลผู้จัดการายกรณี จะต้องพยายามจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ทบทวนย้อนหลัง เป็นการทบทวนดูว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีการใช้ทรัพยากรทั้งหมดไปมากน้อยแค่ไหน และมีการใช้ไปมากเกินความจำเป็นหรือไม่ สาเหตุจากการใช้มากเกิดจากอะไร และเกิดการรักษาที่ล่าช้าในกรณีใดบ้างหรือไม่  2.ทบทวนขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นการทบทวนถึงความเหมาะสมระหว่างการรักษากับความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงพยายามลดความซ้ำซากของการใช้ทรัพยากรให้ได้มากที่สุดพร้อมกับหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นด้วย และที่สำคัญจะต้องพยายามขจัดความล่าช้าในการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ทรัพยากรมากเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้พยาบาลผู้จัดการายกรณีจะต้องมีการเทียบเคียงการใช้ทรัพยากรกับการเบิกจ่าย DRG ด้วย โดยทั้งนี้หากพบว่าทรัพยากรมีมากเกินไป ก็จะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร พร้อมแจ้งผลการวิเคราะห์ให้กับทีมรักษาเพื่อวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมต่อไปนั่นเอง ผลลัพธ์ของการจัดการรายกรณี จากการจัดการรายกรณี พยาบาลผู้จัดการจะต้องสรุปผลสุดท้ายออกมา ซึ่งการจะวัดผลสุดท้ายได้นั้นจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดของผลลัพธ์อย่างชัดเจน และใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดในการวัดผลลัพธ์ด้วย ประเภทของผลลัพธ์ในการจัดการรายกรณี 1.การประเมินผลลัพธ์ระยะยาว เป็นการประเมินโดยดูผลลัพธ์จากภาพรวมการรักษาในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะดูจากระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่ลดลงไป ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่น้อยกว่าปกติ ความผาสุกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยการประเมินในระยะยาวนี้ ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและแน่นอนพอสมควรเลยทีเดียว 2.การประเมินผลลัพธ์ระยะสั้น เป็นการประเมินเพื่อดูผลลัพธ์ในระยะสั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะดูจากร้อยละของผู้ป่วยจากภัยพิบัติที่เข้าถึงการรักษา และร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการจัดการตามความต้องการ แต่ทั้งนี้การประเมินระยะสั้นก็อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่แน่ชัดเหมือนกับการประเมินในระยะยาวมากนัก  ตัวอย่างขั้นตอนปฏิบัติการจัดการรายกรณี 1.วันที่ผู้ป่วยมาเข้ารับการตรวจ โดยพยายามผู้จัดการรายกรณีจะเข้าพบผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการเจาะเลือดและซํกประวัติเพื่อคัดกรองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพยายามก็จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ( Life Style Modification ) ของผู้ป่วย โดยอาจยกเอาขึ้นมาเสนอหลายๆ อย่าง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการด้วยตัวเอง พร้อมกับตั้งเป้าหมายและเริ่มทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทันที นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำพร้อมกับเป็นที่ปรึกษา เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอีกด้วย โดยจะทำการประเมินความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และวางแผนจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งยังให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ในยามฉุกเฉินอีกด้วย 2.พยาบาลทำการศึกษาบริบทของผู้ป่วยก่อนถึงวันที่ผู้ป่วยจะมาตรวจตามนัด นั่นก็เพื่อคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่มีความต้องการการรักษามากน้อย อย่างไร โดยจะทำให้ทำการรักษาได้ง่ายขึ้น 3.พยาบาลจะต้องเข้าพบผู้ป่วยอีกครั้งหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาเรียบร้อยแล้ว เพื่อแนะนำวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง รวมถึงตั้งเป้าหมายและวางแผนร่วมกันกับผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม 4.ติดตามผู้ป่วยตลอดการรักษา เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่ได้ และวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงมีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามปรับพฤติกรรมและทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การติดตามผลการรักษา ก็ยังเป็นดั่งการใช้ภาพสะท้อน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นผลลัพธ์และเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามแผนรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559.  ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ...
- เบาหวาน

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของเบาหวาน

0
อาการเบาหวาน โรคเบาหวาน เมื่อเป็นแล้วอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว นั่นก็เพราะอาการเบาหวานจะส่งผลต่อสุขภาพของคนเราได้ดังนี้  1.ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งก็เนื่องมาจากการปัสสาวะบ่อย จนทำให้ร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไปในที่สุด 2.ไตทำงานลดลงจากเดิม โดยเป็นเพราะน้ำตาลที่ไปเกาะแน่นอยู่เต็มหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตได้น้อยลง เป็นผลให้ไตด้อยประสิทธิภาพในการทำงานลงในที่สุด 3.ความสามารถในการรับรู้ค่อยๆ ลดลงไป เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความดันโลหิตจะต่ำลง เป็นผลให้ไตและสมองทำงานแย่ลงกว่าเดิม ปฎิกิริยาการตอบสนองและการรับรู้จึงค่อยๆ ลดลงไปด้วยนั่นเอง 4.หมดสติและเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากภาวะร่างกายที่อ่อนเพลียจนเกินไปและเนื่องมาจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ จึงทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ >> ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างไร ? อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> เบาหวานลงไตมีลักษณะอาการอย่างไร อยากรู้มาดูค่ะ ทำไมอ้วน แต่น้ำหนักกลับลดลง เป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวานที่สังเกตเห็นได้ชัด นั่นก็คือคนที่อ้วน ทั้งที่กินมากและไม่เคยออกกำลังกายเลย แต่น้ำหนักกลับลดลงจนน่าตกใจ แถมยังลดลงอย่างต่อเนื่องจนดูผอมแห้งในที่สุด นั่นก็เพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้ประโยชน์โดยการเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ทำให้ต้องสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อและสลายไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาใช้แทน จนทำให้น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เป็นเบาหวานมักแถมด้วยอาการป่วยอื่นๆ เมื่อเป็นเบาหวาน ก็มักจะแถมด้วยอาการผิดปกติอื่นๆ พ่วงมาด้วย โดยทั้งนี้ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 160-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็มักจะมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดดังต่อไปนี้  1. คอแห้ง 2. ดื่มน้ำมาก 3. ปัสสาวะบ่อย 4. ไม่รู้สึกเจ็บหรือคัน นอกจากนี้เมื่อป่วยด้วยเบาหวานเป็นระยะเวลานาน ก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อนตามมาด้วยเสมอ ซึ่งก็เป็นเพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ น้ำตาลจึงสะสมอยู่เยอะและอาจไปแย่งพื้นที่ออกซิเจนในเซลล์ต่างๆ จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะในร่างกายทำงานได้น้อยลง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ในที่สุด โดยอวัยวะที่มักจะได้รับผลกระทบจากอาการเบาหวานอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ไต ตาและเท้านั่นเอง อาการเบาหวานขึ้นตา ( Diabetic Retinopathy ) อาการเบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะคือ 1.ระยะตายใจ เป็นระยะที่ยังไม่มีอาการเบาหวานใดๆ และไม่มีสิ่งผิดปกติใดเกิดขึ้น จึงยังไม่รู้ได้ว่าเป็นเบาหวานขึ้นตา แต่จะมีจุดเล็กๆ เกาะอยู่ที่จอประสาทตา และมีไขมัน+โปรตีนตกตะกอนจับตัวเป็นจุดอยู่ 2.ระยะทำใจ เป็นระยะที่เริ่มมีอาการมองไม่เห็นแล้ว ซึ่งหากรักษาไม่ทันก็อาจตาบอดได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่คนส่วนมากมักจะตายใจคิดว่าอาการเบาหวานจะไม่รุนแรง จนตาบอดในที่สุด    เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมหรืออักเสบจากอาการเบาหวาน ( Diabetic Neuropathy ) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมาก เพราะแค่รองเท้ากัดก็อาจถึงกับต้องตัดขาทิ้งกันเลยทีเดียว โดยภาวะที่ว่านี้จะสังเกตถึงความผิดปกติได้คือ มีอาการเหน็บชาและปวดแสบปวดร้อนที่ขาหรือเท้าทั้งสองข้าง และอาจมีความรู้สึกเหมือนมดไต่ขาอยู่ตลอดเวลา รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มแทงเท้าอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดความรู้สึกที่รุนแรงจนถึงขั้นนอนไม่หลับได้เลยทีเดียว รู้สึกว่าเท้าหนาและหนัก คล้ายกับกำลังใส่ถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา รู้สึกตัวร้อนเหมือนจะมีไข้ นอกจากนี้เมื่อเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมหรืออักเสบ ก็อาจส่งผลเสียโดยตรงได้ดังนี้ ประสาทรับความรู้สึก ( Diabetic Symmetric Polyneuropathy : DSDP ) คือจะทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดต่ำลงกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการชา เป็นผลก็ไม่เจ็บหรือโดนไฟลวกก็ไม่รู้สึก นอกจากนี้เมื่อเป็นแผลเรื้อรังตามแขนขาก็รักษาให้หายได้ยากอีกด้วย ประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Neuropathy ) คือจะทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ เกิดอาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน ปัสสาวะติดขัดและสมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น ประสาทเฉพาะที่ ( Focal and Multfocal Neuropathy ) ส่วนมากจะมีอาการหนังตาตกกะทันหัน และทำให้มองเห็นภาพซ้อนจากการกลอกตาไปมาได้อีกด้วย  อาการเบาหวานลงไต ( Diabetic Neuropathy ) เมื่ออาการเบาหวานลงไต จะส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะไตถือเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว โดยปกติแล้ว ไตจะมีหน้าที่ในการขับน้ำพร้อมของเสียออกไปจากร่างกาย รวมถึงดึงเอาของเสียจากกระแสเลือด ออกมาขับทิ้งพร้อมกับปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นเมื่ออาการเบาหวานลงไต ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตด้อยลงในที่สุด และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว เช่นตัวบวมขาบวม เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หายใจติดขัดรุนแรง ปัสสาวะน้อยมากจนเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมปอด เป็นต้น ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ...
- เบาหวาน

แผนรักษาเบาหวานที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง

0
สาเหตุโรคเบาหวาน สาเหตุโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตของตัวเราเองสร้างเบาหวานขึ้นมาโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว  พฤติกรรมที่เป็นตัวการของโรคเบาหวาน 1. กินไม่เลือก โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีรสชาติหวานจัด เค็มจัดหรือมีไขมันมากเกินไป เพราะอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุโรคเบาหวานทั้งสิ้น 2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป 3. เครียดจัดและมักจะกังวลกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตอยู่เสมอ 4. อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะในคนที่อ้วนลงพุง เพราะจะมีระดับไขมันและคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าปกติจนกระตุ้นให้เกิดเบาหวานได้ในที่สุด 5. สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือสูบบุหรี่จัดมาก คือมากกว่า 1 ซองในแต่ละวัน 6. กินผักและผลไม้น้อยเกินไป 7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินหรือดื่มจนติดเป็นนิสัย 8. ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือออกน้อยเกินไป ซึ่งปกติควรออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาทีและอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์>> การออกกำลังกายช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือไม่ ? >> เมื่อเป็นเบาหวานควรดูแลตนเองอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ สูตรสุขภาพดี พร้อมห่างไกลจาสาเหตุโรคเบาหวานแบบอมตะ สำหรับสูตรสุขภาพดี ที่จะทำให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวาน มีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน ซึ่งได้แก่   1. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น นั่นก็เพราะได้มีการซ่อมแซมระบบต่างๆ ในร่างกายที่สึกหรอ ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม และสามารถต้านโรคภัยต่างๆ รวมถึงช่วยให้ห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวานได้นั่นเอง โดยทั้งนี้คนเราควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงจะดีที่สุด เพราะฉะนั้นใครที่มักจะนอนน้อยเป็นประจำ ก็ควรรีบมาปรับพฤติกรรมการนอนโดยด่วน 2. เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ การจะมีสุขภาพดีแบบอมตะได้นั้น จะต้องเลือกกินอาหารเฉพาะที่มีประโยชน์และพยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้านอย่างเด็ดขาด นั่นก็เพราะว่าอาหารนอกบ้านมักจะให้พลังงานสูง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแป้ง มีการปรุงรสด้วยเครื่องปรุงที่เข้มข้น โดยเฉพาะเกลือและน้ำตาลจะมีปริมาณสูงมาก และแม้ว่าจะเป็นเนื้อปลา ก็มักจะมีน้ำมันเยิ้ม ซึ่งก็เป็นสาเหตุของความอ้วนและสาเหตุโรคเบาหวานเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้านจะดีที่สุด นอกจากนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการกินให้ถูกต้องด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้ดังนี้ 1. อย่าเสียดาย เพราะการเสียดายจะทำให้คุณน้ำหนักขึ้นและเป็นสาเหตุเบาหวานโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกินอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการนั่นเอง ซึ่งทางที่ดี ควรกินแต่พออิ่มจะดีกว่า 2. กินให้ครบ 5 หมู่ เพราะในแต่ละมื้อคนเราควรได้รับอาหารอย่างครบถ้วน ดังนั้นหากมื้อไหนของคุณขาดอะไรไป ก็ควรเพิ่มเติมเข้าไปให้ครบ เท่านี้สุขภาพที่ดีก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว 3. ระวังน้ำมันที่อยู่ในซุปแสนอร่อย เพราะน้ำมันที่ลอยขึ้นมานั้นล้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งสิ้น ทางที่ดีก่อนกินควรรอให้น้ำมันลอยขึ้นมามากๆ ก่อนดีกว่า จากนั้นก็ให้ตักน้ำมันออกทิ้ง เท่านี้ก็สามารถกินได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพแล้ว 4. ก่อนจะซื้อเครื่องดื่ม ไม่ว่าเครื่องดื่มอะไรก็ตาม ควรตั้งสติก่อนเสมอ และพิจารณาให้ดีว่าเครื่องดื่มชนิดนั้นมีน้ำตาลอยู่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากพบว่ามีน้ำตาลสูงมาก แนะนำว่าควรเลี่ยงจะดีที่สุด 5. กินของทอดอย่างปลอดภัย ด้วยการใช้กระดาษซับมัน ซับเอาน้ำมันจากอาหารทอดออกให้ได้มากที่สุดก่อน และที่สำคัญควรเลือกซื้อของทอดจากร้านที่ไม่ใช้น้ำมันเก่ามาทอด โดยสังเกตได้จากเวลาทอดแล้วมีควันลอยขึ้นมาจากกระทะเป็นจำนวนมากนั่นเองและที่สำคัญเลยก็คือการนับแคลอรีให้เป็นนั่นเอง โดยในหนึ่งวัน คนเราควรได้รับพลังงานแคลอรี่ตามตารางดังต่อไปนี้ พลังงานที่พอดี เด็ก/ผู้หญิง/ผู้สูงอายุ วัยรุ่น/วัยทำงาน ผู้ใช้แรงงาน/นักกีฬา พลังงานที่พอดี/วัน 1,600 แคลอรี 2,000 แคลอรี 2,400 แคลอรี น้ำตาลที่พอดี/วัน ไม่เกิน 4 ช้อนชา ไม่เกิน 6 ช้อนชา ไม่เกิน 8 ช้อนชา   อาหารแต่ละวัยใน 1 วัน 1 กรัม = พลังงาน 4 แคลอรี 1 ช้อนชา = พลังงาน 20 แคลอรี เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปเท่านั้น แต่จะต้องควบคุมอาหารประเภทโปรตีนด้วยเช่นกัน โดยอาหารของแต่ละช่วงวัยที่ควรได้รับใน 1 วันก็มีดังนี้    1. อาหารสำหรับวัยเด็ก ผู้หญิงและผู้สูงอายุ ได้แก่ นม 2 แก้ว ข้าว 8 ทัพพี ผลไม้ 3 ส่วน ผัก 16 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ 6 ทัพพี รวมทั้งหมด 1,600 แคลอรี 2. อาหารสำหรับวัยรุ่นและวัยทำงาน ได้แก่ นม 1 แก้ว ข้าว...
- เบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง

0
สาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดที่ 2 คือภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมี 2 สาเหตุ คือ การลดระดับของการผลิตอินซูลินในร่างกาย และภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งสาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เป็นเบาหวานที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยเกิดจากวิถีชีวิตประจำวันการกินมากถึง 99.99% ส่วนอีก 0.01% ก็จะมาจากพันธุกรรมนั่นเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองล้วนๆ  ใครบ้าง เสี่ยงกลับมาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ? 1. คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี 2. มีระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ รวมถึงระดับไตรกลีเซอไรด์ด้วย 3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด 4. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก 5. ผู้ชายที่มีรอบเอว มากกว่า 36 นิ้วและผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว 6. มีถุงน้ำในรังไข่ 7. มีดัชนีมวลกายสูงมากกว่า 23 กก./ม2 หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนนั่นเอง 8. มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นเบาหวานมาก่อน >> เมื่อเป็นเบาหวานควรดูแลตนเองอย่างไร มาดูกันค่ะ >> รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานหรือยัง อยากรู้มาเช็คกันดูค่ะ ผอมแค่ไหน ก็มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2ได้ หลายคนมีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องอ้วนเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผู้ที่มีรูปร่างผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้เหมือนกัน ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้    1. มีพ่อแม่ ญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัวเป็นเบาหวานมาก่อน โดยอาจเกิดการติดต่อกันทางพันธุกรรมได้ 2. เกิดปัญหากับตับอ่อน เป็นผลให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ 3. เป็นเพราะผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 4. เกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด จึงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้สูง เช่น คางทูม หัด และหัดเยอรมันเป็นต้น 5. มีการขาดสารอาหารตั้งแต่แรกเกิด ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายขาดประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นเบาหวานได้ในที่สุด พันธุกรรมกับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นสาเหตุของเบาหวานที่เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะจากสถิติพบว่า ผู้ที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นเบาหวานมาก่อน มักจะลงเอยด้วยการเป็นเบาหวานทั้งสิ้น นั่นก็เพราะร่างกายของพวกเขาล้วนดื้อต่ออินซูลินนั่นเอง ซึ่งเมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีก ภาวะการดื้อต่ออินซูลิน ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายทำการบังคับให้อินซูลินมีประสิทธิภาพที่แย่ลงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้กลูโคสถูกนำออกไปจากเลือดในปริมาณมาก เพราะร่างกายต้องการเก็บน้ำตาลไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือกับการอดอาหารหลายวัน ( เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นอาหารหายาก ในวันที่หาอาหารไม่ได้ก็จะต้องพยายามอดนั่นเอง ) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดยีนที่ดื้อต่ออินซูลินขึ้นมาในร่างกาย และมีการถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่นในที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเบาหวานจากพันธุกรรมได้ ในปัจจุบันร่างกายของคนเราไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดการดื้ออินซูลินอีกต่อไป เพราะในยุคนี้ไม่ต้องอดอาหารเหมือนในยุคก่อนๆ แต่กลับต้องการอินซูลินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการขนส่งกลูโคสออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เป็นเบาหวานได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้บ้างด้วยการหมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ นั่นเอง ถ้าเป็นเบาหวาน ลูกจะเป็นด้วยไหม? เบาหวาน เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม ที่สืบทอดต่อกันไปยังบรรพบุรุษ ดังนั้นเมื่อใครก็ตามที่เป็นเบาหวาน ก็ย่อมส่งต่อเบาหวานไปสู่ลูกที่เกิดมาได้โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุดอย่าให้เป็นเบาหวานจะดีกว่า เพื่อที่ลูกจะได้ไม่เสี่ยงเป็นเบาหวานไปด้วย ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557. สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แก้ว กังสดาลอำไพ....
- เบาหวาน

เบาหวานแฝงตัวมากับเครื่องดื่ม

0
เครื่องดื่มก่อเบาหวาน นอกจากน้ำเปล่าแล้ว เครื่องดื่มอื่นๆ อย่างเช่นน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชานมหรือนมเปรี้ยว ก็เป็นเครื่องดื่มที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมดื่มกันในแต่ละวันเช่นกัน นั่นก็เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะให้ความสดชื่นและคลายเครียดได้ดี แต่รู้ไหมว่าเป็น เครื่องดื่มก่อเบาหวาน แฝงมาทั้งสิ้น ซึ่งก็คืออาจทำให้คุณเป็นเบาหวานได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ชนิดเครื่องดื่ม ปริมาณ (กรัม) น้ำตาล (ช้อนชา) พลังงาน (แคลอรี) น้ำตาลเกิน (ช้อนชา) น้ำส้ม 44.8 11.2 224 5.2 น้ำอัดลม 34.6 8.7 174 2.7 ชาเขียว (กล่อง) รสน้ำผึ้ง 30 7.5 150 1.5 เครื่องดื่มชูกำลัง 30 7.5 150 1.5 นมเปรี้ยวขวดเล็ก 17.6 4.4 88 - กาแฟกระป๋อง 17.2 4.3 84 - คำนวณปริมาณของน้ำตาลในเครื่องดื่มจากฉลากโภชนาการ 1.กรณีที่ปริมาณของน้ำตาลในฉลากระบุมาเป็น % ให้คำนวณตามสูตรดังนี้ ( ปริมาณ ( % ) × ปริมาตรสุทธิ (มล.) ) / 500 = ปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชา  2.กรณีที่ปริมาณของน้ำตาลในฉลากระบุมาเป็นกรัม ให้คำนวณตามสูตรดังนี้ (น้ำตาล (กรัม) ) / 500 = ปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชา ยกตัวอย่างเช่น น้ำมะนาว 350 มล. มีน้ำตาลอยู่ทั้งหมด 10.5% สามารถหาปริมาณของน้ำตาลได้โดย (10.5×350) / 500 = 7.35 ซึ่งสรุปได้ว่า การที่เราดื่มน้ำมะนาวกล่องนี้ 1 กล่อง ก็เท่ากับว่าได้ทานน้ำตาลไปมากกว่า 7 ช้อนชานั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราควรกินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากดื่มน้ำมะนาวติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน รับรองเลยว่าเบาหวานจะต้องถามหาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าได้ชะล่าใจว่าการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะไม่ทำให้เป็นเบาหวานเด็ดขาด กาแฟหอม มาพร้อมกับโรค ต้องยอมรับเลยว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียนหรือวัยทำงานก็ตาม และเนื่องจากในปัจจุบันมีกาแฟสำเร็จรูปออกมาวางขายมากมาย หลายคนจึงหันมาดื่มกาแฟสำเร็จรูปกันมากขึ้น รวมถึงกาแฟที่ชงขายตามร้าน อย่างมอคค่า ลาเต้หรือคาปูชิโน่เช่นกัน และแน่นอนว่ากาแฟเหล่านี้ล้วนมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก ซึ่งก็จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ไม่ยากเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ลาเต้เย็น ให้พลังงาน 288 แคลอรี และมีน้ำตาล 3-9 ช้อนชา คาปูชิโน่เย็น ให้พลังงาน 303 แคลอรี และมีน้ำตาล 6-9 ช้อนชา มอคค่าเย็น ให้พลังงาน 404 แคลอรี และมีน้ำตาล 5-9 ช้อนชา โดยจากข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่นับรวมน้ำเชื่อม ผงช็อกโกแลตและอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกาแฟ จึงสรุปได้ว่า กาแฟก็เป็นตัวการร้ายของโรคเบาหวานที่จะมองข้ามไม่ได้เลยทีเดียว แอลกอฮอล์ ถึงจะขมแต่ก็แฝงด้วยเบาหวาน เบาหวาน ไม่ได้เกิดจากการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานเท่านั้น แต่เครื่องดื่มที่มีรสขมอย่างแอลกอฮอล์ ก็อาจนำมาซึ่งการเป็นเบาหวานได้เช่นเดียวกัน นั่นก็เพราะ  1.การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวัน จะส่งผลให้อินซูลินลดลงและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เพียงแค่ 1 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 7 แคลอรี 3.โดยปกติแอลกอฮอล์จะให้พลังงานที่สูงมาก ทำให้ร่างกายไม่ต้องสลายไขมันออกมาใช้เป็นพลังงาน เป็นผลให้มีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนอ้วนลงพุงและเป็นเบาหวานได้ 4.แอลกอฮอล์จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีนที่ย่อยแล้ว ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงเป็นเบาหวาน ก็อาจขาดสารอาหารได้อีกด้วย พลังงานที่พบในเครื่องดื่มต่างๆ เครื่องดื่ม พลังงาน (แคลอรี) เบียร์กระป๋อง 350 ml 144 ไวน์แดงหรือและไวน์ขาว 1 แก้ว 80 วิสกี้ 30 ml 65 เบียร์สด 100 ml 42 จะเห็นได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เสี่ยงเบาหวานได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ชายควรดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 ดริ๊ง และผู้หญิงควรดื่มไม่เกินวันละ 1 ดริ๊ง แอลกอฮอล์ตกค้างในกระแสเลือด เมื่อแอลกอฮอล์ตกค้างในกระแสเลือด จะทำให้เกิดการขัดขวางไม่ให้ร่างกายสามารถนำไขมันไปเผาผลาญเป็นพลังงานได้ และยังทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตลดต่ำลงกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันและย้อนกลับมาเกาะที่ตับแทน ผลที่เกิดขึ้นก็คือเซลล์ตับจะดื้อต่ออินซูลิน และระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นเบาหวานได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามการดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะช่วยลดเบาหวานและโรคหัวใจได้อีกด้วย โดยปริมาณที่พอเหมาะก็คือเทียบเท่ากับเอทานอล 12.6 กรัมนั่นเอง>> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นแบบไหนมาดูกันค่ะ เทคนิคการดื่มอย่างฉลาด เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นเรามาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างฉลาดกันดีกว่า ซึ่งก็มีเทคนิคการดื่มดังนี้ 1.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆ...
- เบาหวาน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

0
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากข้อมูลพบว่ามี ผู้เป็นป่วยโรคเบาหวานใช้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ สมุนไพร มากเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญกับอาหารเสริมชนิดต่างๆ ที่มีการโฆษณาและขายอยู่ในปัจจุบันนี้ มากว่าการปรับพฤติกรรมการกินและใช้ชีวิตตามที่แพทย์สั่งมา  ผู้ป่วยหลายคนมักหา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการอวดอ้างสรรคุณว่าดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ ทั้งที่ในปัจจุบัน ความเป็นจริงยังไม่มีอาหารเสริมตัวไหนที่ได้รับรองทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ ล่าสุดในปี ค.ศ.2014 สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำผู้ป่วยเบาหวานว่า หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรต้องเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรใดๆทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมในอาหารเสริมลดลงแต่อย่างใด  ปัจจัยการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน บางคน ที่อาจจำเป็นจะต้องใช้อาหารเสริมชนิดต่างๆ โดยมักมีสาเหตุและจุดประสงค์ ที่จะต้องนำมาใช้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เสมอและควบคุมได้ยาก มีความจำเป็นต้องงดอาหารบางชนิดที่มีสารอาหารที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากมีการแพ้อาหาร ได้รับปริมาณอาหารต่ำกว่า 1,600 แคลอรีต่อวัน จากการที่ต้องลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลทางสุขภาพ ได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยายาตีกันกับวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น ยาเมทฟอร์มิน อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการดูดซึมวิตามินบี 12 ซึ่งส่งผลให้ผลให้เกิดโลหิตจางในเวลาต่อมา ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน จึงควรได้รับการเสริมวิตามินบี 12 ควบคู่กันไป>> อาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ>> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อยากรู้มาดูกันค่ะ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับการวิจัยในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในปัจจุบันมีดังนี้ 1. โครเมียม การเสริมโครเมียมในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการทดลองใช้กันมานาน โดยผลที่ได้มีทั้งผลในทางบวก และผลในทางที่เป็นลบ ซึ่งผลในทางบวกพบว่าผู้ป่วยที่ทำการเสริมโครเมียมให้กับร่างกายโดยใช้โครเมียมในรูปโครเมียมพิโคลิเนตวันละ 1,000 ไมโครกรัม ร่วมกับยาโรคเบาหวานจะช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ช่วยให้คุมน้ำตาลได้ดีกว่าการใช้ยาเบาหวานอย่างเดียว และยังช่วยลดน้ำหนักที่มีผลมาจากยาเบาหวานได้อีกด้วย   ส่วนผลในเชิงลบที่พบคือ การเสริมด้วยโครเมียม ไม่ได้ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแต่อย่างใด แต่กลับให้ผลร้ายตามมาคือ เกิดการปวดท้อง มีอาการผิดปกติเกิดข้นกับกล้ามเนื้อและผิวหนัง นอกจากนี้การเสริมโครเมียมในปริมาณที่สูงมากๆ ยังอาจทำให้ตับและไตวาย เม็ดเลือดแตก ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อีกด้วย  2. กิงโกะบิโลบา ( สารสกัดจากใบแปะก๊วย ) กิงโกะบิโลบา เป็นสารที่สามารถสกัดได้จากในใบแปะก๊วย ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มความจำ ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือกทำงานได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยที่ได้นำสารชนิดนี้ไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพบว่าสามารถช่วยลดอาการดื้อต่ออินซูลินได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์มารองรับที่ชัดเจน ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาต่อไป หากผู้ป่วยเบาหวานคนไหนจะใช้สารชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด เพราะอาจมีผลขัดกับยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานอยู่แล้ว 3. โสม โสมถือว่าเป็นสมุนไพรโบราณอีกหนึ่งชนิด ที่มีสรรพคุณมากมาย ช่วยในการรักษาโรคได้หลายชนิด ส่วนที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีงานวิจัยพบว่า โสมชนิดเกาหลีมีสรรคุณที่จะช่วยให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินดีขึ้นได้ และโสมอเมริกัน ( American Ginseng ) มีผลช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ข้อมูลโสมทั้งสองชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ในการวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยัง มีข้อควรระวังหากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะใช้โสมทั้ง 2 ชนิดนี้คือ เลี่ยงการใช้โสมถ้าต้องใช้ยาแสไพรินและวาร์ฟาริน เพราะโสมจะลดฤทธิ์การทำงานของยาเหล่านั้น หรือควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้จะดีที่สุด 4. แมกนีเซียม แมกนีเซียม สามารถพบได้มากในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อปลา ผักใบเขียว ไข่ นม ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชชนิดไม่ขัดสี เป็นต้น โดยแมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด ที่ช่วยในการทำงานของคาร์โบไฮเดรตและควบคุมฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย นักวิจัยเชื่อว่า หากร่างกายขาดแมกนีเซียมจะจะส่งผลกระทบต่อการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และทำให้อินซูลินทำงานได้ไม่ดี ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีระดับแมกนีเซียมสะสมในเลือดต่ำ จาการที่ต้องสูญเสียแมกนีเซียมไปกับปัสสาวะมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน จึงอาจส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนในเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ดังนั้นความต้องการแมกนีเซียมในร่างกายจะสูงขึ้นในผู้ที่คุมเบาหวานไม่ดีและในผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตจะทำให้แมกนีเซียมถูกขับออกจากปัสสาวะมากขึ้น มีผลสรุปจากงานวิจัยจำนวน 9 งานที่เกี่ยวกับแมกนีเซียม ว่า การเสริมแมกนีเซียมประมาณ 4-16 สัปดาห์ อาจส่งผลช่วยให้ลดระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า และยังจะไปช่วยเพิ่มค่า เอชดีแอลคอเลสเตอรอลในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย แต่ผลระยะยาว ผลข้างเคียง และความปลอดภัยในการใช้ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม โดยปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับต่อวันสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมสำหรับผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป...
- เบาหวาน

วิธีวิ่งหนีโรคแทรกซ้อนเบาหวาน

0
โรคแทรกซ้อนเบาหวาน โรคเบาหวานอาจดูเหมือนเป็นโรคธรรมดา ที่ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายจนถึงชีวิต เป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากมายแต่ยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ เพียงแค่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในค่ามาตรฐานปกติ แต่ทั้งนี้ยัง มีภัยเงียบอีกชนิดหนึ่งที่มักจะมาพร้อมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็คือ ภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้ บางชนิดของโรคเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคสูงมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่น้อยเลย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระมัดระวัง นอกจากระดับน้ำตาลไม่เลือดแล้วก็ต้องคอยตรวจสอบร่างกายตนเองไม่ให้เกิดภาวะ โรคแทรกซ้อนเบาหวาน จากโรคแทรกซ้อนต่างๆต่างๆ อีกด้วย  โรคแทรกซ้อนเบาหวานคืออะไร โรคแทรกซ้อนเบาหวาน หมายถึง การเกิดภาวะของโรคชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว โดยอาจมีทั้งโรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรครุนแรงสูง หรือ โรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรคต่ำก็ได้ ซึ่งภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานขาดการควบคุมระดับน้ำตาลตนเองให้ดี และยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวานด้วย หากยิ่งเป็นเบาหวานระยะเวลานานเท่าใด โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิด2 มักจะมีโรคแทรกซ้อนในระยะยาว>> การออกกำลังกายช่วยลดเบาหวานได้จิงหรือ อยากรู้มาดูกัน >> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นอย่างไร มาดูกัน โรคแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนที่เรามักพบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยเบาหวานมีดังต่อไปนี้ 1. โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้มากในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้จำนวนมาก ประมาณ 2 ใน 3 วิธีการป้องกัน : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องควบคุมระดับความดันโลหิตในอยู่ในค่ามาตรฐาน ไม่ให้เกิน 140 / 90 เพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินไป และควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ 2. โรคไต การที่ร่างกายมีระดับของน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ จนเกิดเป็นโรคเบาหวาน จะส่งผลให้ไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับของเสีย และสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น หลอดเลือดฝอยในไตจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง เมื่อหลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะทำให้การขับถ่ายของเสียลดลง มีของเสียในเลือดคั่งและเกิดภาวะไตวายในที่สุด วิธีการป้องกัน : ควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในเลือด ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งจะช่วยลดภาระกานทำงานของไตลงได้ นอกจากนี้ควรตรวจค่าการทำงานของไตเพิ่มเติม ได้แก่ ครีอะตินิน Creatinine ระดับปกติในชายคือ 0.6 – 1.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในหญิง 0.5 – 1.1 มิลลิกรัม / เดซิลิตร บียูเอ็น ( BUN ) ระดับปกติคือ 10 – 20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ ควรตรวจสุขภาพไตทุก 1 – 3 ปี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานเกิน 5 ปีขึ้นไป  ไมโครอัลบูมิน ( โปรตีนชนิดหนึ่งที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ) ระดับปกติคือ < 30 ไมโครกรัม / มิลลิกรัม 3. โรคเกี่ยวกับดวงตา โรคเกี่ยวกับดวงตา ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยอาการเกี่ยวกับดวงตามราพบเจอ เช่น อาการเบาหวานขึ้นตา โรคตาเป็นต้อหินหรือต้อกระจก เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจมีผลร้ายแรงทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว วิธีการป้องกัน : ควรตรวจสุขภาพของดวงตาปีละครั้ง หรือทุก 1 – 2 ปี และหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในค่าปกติ ไม่ให้มีค่าสูง เนื่องจาก หากค่าน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลระดับน้ำตาลในตาสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้สารซอร์บิทอล ( Sorbitol ) สะสมในเลนส์แก้วตา จนทำให้เลนส์แก้วตาหนาขึ้น มีลักษณะคล้ายคนสายตาสั้น และเป็นต้นเหตุในการเกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับตา 4. โรคหลอดหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง ทั้ง 2...
- เบาหวาน

เป็นโรคเบาหวานต้องเลือกกินอาหารนอกบ้านอย่างไร

0
อาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน อาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน อาจคิดว่าจะหากินได้ยากกว่าอาหารคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานและเป็นเมนูซ้ำแบเดิมๆ แต่ในปัจจุบันการกินอาหารนอกบ้านไม่ใช่สิ่งต้องห้ามอีกแล้วสำหรับคนเป็นเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสังสรรค์กันในหมู่เพื่อนฝูง การไปหาร้านอาหารอร่อย ๆ กินร่วมกันกับครอบครัว หรือจะเลือกซื้ออาหารตามริมถนนกลับมากินที่บ้าน เข้าร้านฟาสต์ฟู้ด หรือจะเลือกใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ส่งมาให้กินโดยไม่ต้องออกไปไหน เพียงแต่ต้องเลือกเมนู ที่เหมาะสมและไม่เป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นนั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันไปแล้ว แม้ส่วนใหญ่ของผู้ที่ออกไปกินอาหารนอกบ้านนั้น มักจะคิดถึงเรื่องความสะดวก รวดเร็ว และรสชาติที่อร่อยถูกปากมากกว่าจะมาคิดว่าอาหารที่กินนั้นจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือเปล่า?  แต่การออกไปกินอาหารนอกบ้านอาจดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน หากคุณมีการวางแผนในการเลือกบริโภคอาหารเช่นเดียวกับการวางแผนสำหรับเรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงานหรือวางแผนการใช้ชีวิต โดยสามารถเริ่มต้นได้จากการรู้จักเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อีกทั้งในปัจจุบันร้านอาหารมากมายหลายร้านก็อยากที่จะเอาใจลูกค้า ด้วยการทำอาหารที่ครบทั้งรสชาติความอร่อยและประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะคนเป็นโรคเบาหวานไม่ใช่คนกลุ่มเดียวที่ต้องการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ไม่เพียงจะอยากกินอาหารรสชาติอร่อยเท่านั้น แต่ก็ยังต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะกินเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค กินเพื่อดูแลตัวเองจากโรคที่เป็นอยู่ไม่ให้กลับมาแสดงอาการอีก หรือกินเพื่อลดน้ำหนักลดคอเลสเตอรอล ไม่ว่าคุณจะมีอาการป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ก็จำเป็นที่จะต้องกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั่นเอง เวลาที่คุณเข้าไปใช้บริการตามภัตตาคารหรือจะเป็นร้านอาหารประเภทตามสั่งก็ตาม คุณสามารถแจ้งให้ทางร้านทราบได้เลยว่าคุณต้องการอะไรไม่ว่าจะเป็น “ ไม่เอาเค็มนะ ” ใส่น้ำตาลนิดเดียวนะ ” “ ไม่ใส่ผงชูรส ” “ ใส่เส้นนิดเดียวเน้นผักเยอะ ๆ ” “ ขอเนื้อ ๆ ไม่เอามันนะ ” ฯลฯ ไม่ยากเลยที่คุณจะระบุหรือกำชับทางร้าน เพื่อที่จะได้อาหารที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการและดีสำหรับสุขภาพของตัวคุณ หากคุณกินอาหารนอกบ้านอยู่เป็นประจำ จำเป็นที่คุณจะต้องควบคุมอาหารให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคุณจะสามารถเลือกอาหารได้ง่ายขึ้น หากเป็นร้านที่มีเมนูให้เลือกเยอะ>> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มาดูกันค่ะ >> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นอย่างไร หลังจากที่ได้อ่านเมนูแล้วควรจะสั่งอะไร หากเป็นเมนูที่คุณไม่รู้จัก คุณอาจจะถามพนักงานเอาก็ได้ว่าเมนูนั้นมีส่วนผสมสำคัญอะไรบ้าง ถามถึงภาชนะที่ใส่ว่ามีขนาดแค่ไหน สำหรับกี่คนกิน เลือกเมนูที่ใส่น้ำมันน้อย เช่น อาหารประเภทอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง หรือยำ แกงที่ไม่มีกะทิเป็นส่วนผสม หรือใส่จนข้นคลั่ก ส่วนเมนูผัด ก็ไม่ควรใส่น้ำมันมากไปจนเยิ้ม พยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารจำพวกของทอดหรือของชุบแป้งทอด ถ้าจะกินให้กินแต่น้อย ถ้าเป็นสลัดควรแยกน้ำสลัด และถ้าน้ำสลัดเป็นแบบน้ำข้นหรือครีม ควรใช้ส้อมจิ้มผักหรือผลไม้จุ่มน้ำสลัดกินทีละชิ้น หากเป็นน้ำสลัดแบบน้ำใสเวลากินให้ใส่น้ำสลัดทีละช้อนชา  เลือกเมนูที่มีความหลากหลาย ครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผัก หากคุณคิดจะกินขนมหวานลองเปลี่ยนเป็นผลไม้แทน แต่ถ้าอยากกินจริง ๆ ก็ควรลดแป้งและน้ำตาลลง เครื่องดื่มควรเป็นน้ำเปล่า หรือน้ำชา หรือเป็นเครื่องดื่มชนิดไม่ใส่น้ำตาล แอลกอฮอล์เป็นอีกหนึ่งตัวการที่จะเพิ่มแคลอรี่ให้มากขึ้น และอาจมีผลให้การดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ถูกยับยั้ง เพราะฉะนั้นคุณจึงควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรพยายามจำกัดปริมาณการกินในแต่ละมื้อ หากอาหารที่คุณสั่งมีปริมาณเยอะเกินไป ควรหาคนช่วยกินหรือให้ห่อส่วนที่เหลือกลับไปกินในมื้ออื่นแทน เคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด แต่ใช้เวลาใกล้เคียงกับการทานอาหารปกติ จัดเวลากินตามช่วงเวลาการกินอาหารปกติ หากคุณจำเป็นต้องกินยาเบาหวานหรือฉีดอินซูลิน ก็ต้องจัดตารางเวลาว่าเวลาไหนจะต้องเป็นเวลากิน จัดเวลากินตามช่วงเวลาการกินอาหารปกติที่คุณกิน ไม่ควรจัดเวลาให้ตรงกับช่วงที่ร้านอาหารมีลูกค้าเยอะ เพราะคุณอาจจะต้องรอนานจนเกินเวลา แต่สำหรับบางร้านคุณอาจจะโทรไปสั่งจองโต๊ะและสั่งอาหารรอไว้ล่วงหน้าได้ ถามถึงอาหารที่คุณสั่งด้วยว่าจะต้องใช้เวลารอนานแค่ไหน หากคุณรอที่จะกินอาหารจนเลยเวลาที่จะต้องกินไป คุณก็ควรจะหาผลไม้กินรองท้องแทนไปก่อน วิธีกินฟาสต์ฟู้ดให้ปลอดภัยสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบในรสชาติของฟาสต์ฟู้ด และต้องการกินอาหารแบบมีประโยชน์ต่อสุขภาพไปด้วยพร้อม ๆ กันละก็ สามารถทำได้ดังนี้ หลักสำคัญที่คุณควรจะจดจำให้ได้ก็คือ “ โภชนาการที่ดี ” คือคุณควรที่จะกินให้ได้อย่างหลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะพอดี การกินอาหารที่มีไขมันมาก ๆ และอาหารรสเค็มจัดให้น้อยลง และสำหรับอาหารฟาสต์ฟู้ดแล้วจัดเป็นอาหารที่เรียกได้ว่าทั้งมันจัดและเค็มจัด ฟาสต์ฟู้ดเพียงหนึ่งมื้อก็พอ ๆ กับสิ่งที่คุณต้องจำกัดตลอดวันเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดีเราก็ยังสามารถลดโทษภัยจากฟาสต์ฟู้ดให้น้อยลงได้ หากรู้จักฟาสต์ฟู้ดให้ดีขึ้น  คุณอาจได้รับพลังงานจากฟาสต์ฟู้ด 1 มื้อสูงถึง 1,000 แคลอรี่เป็นอย่างน้อย และมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อคุณกินเข้าไปในสองชั่วโมงแรก ระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะยังไม่พุ่งสูงขึ้นมากนัก เนื่องจากร่างกายจะย่อยอาหารที่มีไขมันสูงได้ค่อนข้างช้า หากคุณคิดจะสั่งอาหารฟาสต์ฟู้ดมากิน สิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้คือข้อมูลทางโภชนาการ โดยคุณสามารถที่จะดาวน์โหลดข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของร้านฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ มาอ่านได้ เช่น แมคโดนัลด์ เคเอฟซี หรือเบอร์เกอร์คิงส์ ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกตกใจไม่น้อยกับตัวเลขที่แจ้งในข้อมูลโภชนาการ...
- เบาหวาน

น้ำตาลแท้ น้ำตาลเทียมหวานเทียบกับเบาหวาน

0
น้ำตาล เมี่อพูดถึงสารที่ให้ความหวาน หลายคนก็คงจะนึกถึง น้ำตาล เป็นอันดับแรก เพราะเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่ประจำจนเคยชิน แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้ว สารที่ให้ความหวานได้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดประมาณ 26 ชนิดด้วยกัน แต่บางชนิดยังอยู่ในขั้น ตอนการรออนุมัติจาก FDA อยู่ ทั้งนี้เมื่อสรุปโดยรวมแล้วก็สามารถแบ่งสารให้ความหวานออกได้เป็น 3 ชนิดคือ 1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย 2. สารให้ความหวานที่ใช้ทดแทนความหวานได้ แต่ไม่ให้พลังงาน ส่วนใหญ่จะเรียกว่าน้ำตาลเทียม 3. สารให้ความหวานที่ให้พลังงานต่ำมาก เรียกว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์ ตัวอย่างสารให้ความหวาน สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน  น้ำตาลเทียม  น้ำตาลแอลกอฮอล์ เดกซ์โทรส แซ็กคาริน ซอร์บิทอล น้ำเชื่อมกลูโคส ซูคราโลส แมนนิทอล ฟรักโทสชนิดเกล็ด แอสปาร์แทม ไซลิทอล ไฮฟรักโทสคอร์นไซรัป (น้ำเชื่อมฟรักโทสเข้มข้น) นีโอแทม ไอโซมอลต์ น้ำผึ้ง มอลทิทอล น้ำตาล กลีเซอรอล มอลโทเดกซ์ทริน พอลิเดกซ์โทรส ทรีฮาโลส สตีเวีย น้ำผลไม้เข้มข้น น้ำตาลเทียม เป็นน้ำตาลที่ไม่ให้พลังงานและไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด จึงสามารถใช้กับคนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานได้ อย่างเช่น ขนมหรือของหวานที่ผลิตจากต่างประเทศและส่งเข้ามาขายในไทย โดยจะมีข้อความระบุว่า Sugar Free ซึ่งหมายความว่าไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม แต่ทั้งนี้ก็อาจจะมีการใช้สารให้ความหวานแทน อย่างไรก็ตามในขนมและของหวานเหล่านี้ แม้ว่าจะได้มีการใช้น้ำตาลเทียมหรือสารให้ความหวานแทน แต่ก็อาจมีส่วนผสมที่เต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ดังนั้นจึงอาจให้พลังงานสูงและเสี่ยงอ้วนได้ไม่แพ้ขนมที่ใช้น้ำตาลจริงเลยทีเดียว คาร์โบไฮเดรตและสารให้ความหวาน น้ำตาล เป็นสารให้ความหวานที่ให้พลังงานสูงและจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร ทำให้ขนมอบกรอบหรือขนมเชื่อมมีสีสันที่สวยงามและน่าทานมากขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มรสชาติให้มีความอร่อยมากขึ้นด้วย โดยทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวานนั้น ได้กล่าวว่าพลังงานคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละคนนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับนิสัยการบริโภคเป็นหลัก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลที่ให้พลังงานสูงเกินไป เพราะจะยิ่ง เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น เช่น น้ำตาลกรวด น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลฟรักโทสสกัด เป็นต้น โดยจากความเชื่อดังกล่าวนี้เกิดจากการที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เมื่อทานเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่าแป้ง เป็นผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ยังไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ได้มากนัก นอกจากนี้จากการทำการวิจัยก็พบอีกว่า น้ำตาลที่ได้จากผลไม้และนมนั้นจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าแป้งเป็นอย่างมาก จึงสามารถทานได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลนั่นเอง >> กินน้ำตาลมากๆจะทำให้เป็นเบาหวานได้หรือไม่ มาดูกันค่ะ >> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มาดูกันค่ะ น้ำตาลและเบาหวาน ความเชื่อที่ว่าน้ำตาลเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานและควรให้ผู้ป่วยงดการทานน้ำตาลอย่างเด็ดขาดนั้น มีรายงานไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1920 ซึ่งในยุคนั้นนายแพทย์เฟรเดอริก อัลเลน Frederick Allen ได้เป็นผู้กล่าวไว้ แต่เนื่องจากในยุคสมัยนั้นไม่มีเครื่องมือทันสมัยที่จะสามารถหาเหตุผลมาสรุปข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ เป็นผลให้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนและยังไม่มีผู้ทำตามมากนัก ซึ่งในเวลาต่อมา ยุคสมัยหลังจากนั้นก็มีนักวิจัยให้คำแนะนำเช่นเดียวกับนายแพทย์ เฟรเดอริก อัลเลน ว่าน้ำตาลเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานและไม่ควรทานเด็ดขาด ด้วยการยกเหตุผลขึ้นมาว่า น้ำตาลนั้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ซึ่งโดยปกติร่างกายของคนเราจะสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารในรูปของโมเลกุลเชิงเดี่ยวได้ง่ายและรวดเร็วมาก การทานน้ำตาลจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบหลายๆ อย่างนั่นเอง และจากข้อสรุปดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดการแนะนำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานหลีกเลี่ยงการทานน้ำตาลอย่างเด็ดขาด แต่ในยุคสมัยนั้นก็ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับน้ำตาลมากนัก จนเมื่อปี ค.ศ.1970 นักวิจัยหลายๆ คนไม่มั่นใจกับข้อสรุปดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำตาลและผู้ป่วยเบาหวานอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปที่มีความละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1993 กล่าวว่า การกินน้ำตาลโดยคิดเป็นส่วนหนึ่งของคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยไม่ได้เพิ่มคาร์โบไฮเดรตเข้าไปในมื้ออาหารอีก จะไม่ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 แต่อย่างใด ดังนั้นจึงสรุปว่าผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องงดการทานน้ำตาล นั่นก็เพราะว่าน้ำตาลถือเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ดังนั้นเมื่อทานน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากอะไร แต่จะคิดรวมเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในวันนั้นๆ เลยนั่นเอง รวมถึงคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากผลไม้ ข้าวและแป้งด้วย ดังนั้นน้ำตาลที่ทานเข้าไปจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดที่ทานในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากทานน้ำตาลและอาหารคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ รวมกันไม่เกินจากค่าที่กำหนดในแต่ละวัน ก็จะไม่มีผลเสียต่อผู้ป่วยเบาหวานแน่นอน  แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากของหวานที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบนั้นมักจะมีไขมันอยู่ด้วย ซึ่งจะยิ่งเพิ่มพลังงานและแคลอรีในอาหารให้สูงขึ้นไปอีกและเนื่องจากน้ำตาลนั้นให้แต่พลังงาน แต่ไม่ได้ให้สารอาหารจำเป็นด้วย จึงไม่แนะนำให้กินน้ำตาลมากเกินไป โดยควรเน้นการกินคารโบไฮเดรตจากอาหารชนิดอื่นมากกว่าน้ำตาล ในปัจจุบันนี้จึงเห็นได้ว่ามีการแนะนำให้นับคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวันเสมอ น้ำตาลถูกลืมว่าเป็นคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน ทำให้เผลอทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตจนเพลิน เป็นผลให้ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นในที่สุด โดยน้ำตาลนั้นถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีเส้นใยอาหารและประกอบไปด้วยกลูโคส 50% ฟรักโทส 50% ซึ่งการให้พลังงานของน้ำตาลนั้นก็จะเท่ากับการให้พลังงานของคาร์โบไฮเดรตในข้าวและแป้ง คือ 1 กรัม ต่อพลังงาน 4 แคลอรี เพียงแต่ว่าพลังงานที่ได้จากน้ำตาลจะถูกดูดซึมไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วกว่านั่นเอง ดังนั้นจึงได้มีการจำกัดปริมาณของน้ำตาลที่ควรทานในแต่ละวันไว้ที่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับในแต่ละวัน และต้องคิดรวมเป็นส่วนหนึ่งของคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวันด้วย ซึ่งกองโภชนาการก็ได้แนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชานั่นเอง และจากรายงานการสำรวจการบริโภคน้ำตาลของคนไทยในปี พ.ศ. 2558 ก็พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลสูงขึ้นมากโดยเฉลี่ยมากถึงวันละ 16.7 ช้อนชาเลยทีเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยมีปัญหาอ้วนเยอะ และมีภาวการณ์ดื้ออินซูลินจนทำให้เป็นเบาหวานอีกด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะคนไทยได้ลืมไปแล้วว่าน้ำตาลก็เป็นส่วนหนึ่งของคาร์โบเดรต และไม่ได้ใส่ใจโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพมากนัก โดยหากเทียบระหว่างน้ำตาลกับข้าวแล้ว จะพบว่าน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานมากเท่ากับข้าวครึ่งทัพพีเลยทีเดียว หรือให้พลังงานประมาณ...
- เบาหวาน

เบาหวานกับเทศกาลปีใหม่กินอย่างไรไม่ทำลายสุขภาพ

0
คนเป็นเบาหวาน ควรกินอย่างไรไม่ทำให้เสียสุขภาพในเทศกาลปีใหม่ เทศกาลวันหยุดปีใหม่ ถือว่าเป็นช่วงวันเวลาที่ใครหลายๆคนคงอยากให้มาถึงเร็วๆ เนื่องจากเป็นเทศกาลวันหยุดยาวที่ติดต่อกันหลายวัน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่จะได้กลับไปเจอญาติพี่น้อง ที่อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน หรือจะเป็นการได้ออกไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ กับครอบครัวหรือบรรดาเพื่อนฝูง คนเบาหวาน ควรกินอย่างไรในเทศกาลปีใหม่ ดังนั้นจึงมีหลักการง่ายๆ สำหรับการทานอาหารของคนเป็นเบาหวานและใช้ชีวิตให้มีความสุขในเทศกาลปีใหม่ ดังวิธีต่อไปนี้ >> กินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เป็นเบาหวานได้หรือไม่ อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การออกกำลังกายช่วยลดเบาหวานได้จิงหรือ อยากรู้มาดูกันค่ะ เคล็ดลับก่อนไปฉลองปีใหม่ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 1. ผู้ป่วยเบาหวาน ควรจำกัดชนิดและปริมาณอาหารให้เหมาะสม ควรเลือกประเภทของอาหารก่อนที่จะกินเข้าไป โดยต้องพิจารณาอาหารแต่ละชนิดว่าเหมาะสมกับร่างกายตนเองหรือไม่ ไม่ใช่ว่ามีอาหารอะไรก็ทานหมดทุกอย่าง ที่สำคัญต้องระมัดระวังอาหารที่มากไปด้วยคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมาก นอกจากนี้ก็ควรทานอาหารแต่ละชนิดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป 2. เลือกกินประเภทอาหารที่มีน้ำหนักมาก มีงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารของมนุษย์ออกมาว่า สมองของคนเรามักจะสั่งให้เรากินในปริมาณที่สอดคล้องกับน้ำหนักอาหาร เช่น การกิน มันฝรั่งทอด สาหร่ายทอกรอบ ที่มีรูปร่างเป็นชิ้นเล็กๆ มีน้ำหนักเบา แต่มีการให้พลังงานสูง เรามักจะยังไม่รู้สึกอิ่มกับการกิน แต่หากเราทานอาหารที่มีรูปร่างเป็นชิ้นใหญ่ๆ มีน้ำหนักมากขึ้นอย่างเช่น แอปเปิล ส้ม ซึ่งให้พลังงานเท่ากัน เรามักจะรู้สึกอิ่มกว่าการกินอาหารชิ้นเล็กๆ ดังนั้นหากเลือกได้ควรเลือกกินอาหารที่มีชิ้นใหญ่ และมีน้ำหนักมากอย่างเช่นอาหารในกลุ่มของผลไม้ 3. ไม่ละเลยการออกกำลังกาย ในช่วงเวลาวันหยุดเทศกาลปีใหม่แบบนี้หลายคนมักฉลองกันอย่างสนุกสนาน จนลืมกิจวัติที่เคยทำอย่างออกกำลังกายไป ดังนั้นหากรู้ตัวว่าจะมีกิจกรรมงานสังสรรค์ให้จัดระเบียบเวลาการออกกำลังกายตนเองให้ดี โดยอาจจะเลื่อนหรือปรับเปลี่ยนเวลา แต่ไม่ควรข้ามวันหรืองดกิจกรรมออกกำลังกายไปเลย เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันน้ำหนักเพิ่ม ลดความเครียดในร่างกาย และลดความอยากอาหารได้อีกด้วย 4. ผู้ป่วยเบาหวาน ควรออกกำลังกายก่อนกินมื้อใหญ่ ก่อนที่จะออกไปงานเลี้ยงสรรค์มื้อใหญ่ ควรปรับพฤติกรรมเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้มากขึ้น ก่อนที่จะมีการกินอาหารเข้าไป โดย อาจใช้วิธีการเดินให้บ่อยขึ้น ไม่นั่งๆนอนๆทั้งวัน แต่ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมเพราะจะทำให้กินอาหารได้มากขึ้นกว่าเดิม 5. ดื่มน้ำก่อนกินอาหาร การดื่มน้ำเปล่าสะอาดก่อนการกินอาหารในประมาณ 1 - 2 แก้ว จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วมากขึ้น ทำให้กินอาหารให้น้อยลง นอกจากนี้ วิธีการดื่มน้ำก่อนกินอาหาร ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายและระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย 6. ผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง โดยปกติแล้วภายในงานเลี้ยงสังสรรค์จะมากไปด้วยเครื่องดื่มหลากหลายชนิด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหลายชนิดมักจะมากไปด้วยปริมาณของน้ำตาล และให้พลังงานที่สูง หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า น้ำอัดลม 1 กระป๋องจะให้พลังงานที่สูงมากถึง 150 แคลอรี เลยทีเดียว รวมถึงการดื่มชา กาแฟ ก็ควรเติมน้ำตาลหรือครีมเทียมในปริมาณที่ต้องไม่มากจนเกินไป ดังนั้นจึงควรดื่มเครื่องดื่มต่างๆเหล่านี้ในปริมาณที่น้อย หรือ หากเลี่ยงได้จะดีที่สุด และควรดื่มน้ำเปล่าเป็นหลักจะดีกว่า 7. บริหารจัดการอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานในแต่ละวัน หากรู้ว่าในตอนเย็นจะต้องไปงานเลี้ยงสังสรรค์ ก็ควรปรับปริมาณลดอาหารของในมื้อเช้าและมื้อกลางวันลดลง เพื่อให้ปริมาณพลังงานที่ได้รับไม่มากเกินไปในแต่ละวัน หรือหากไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน หากวันนี้ทานอาหารมากกว่าปกติ ในวันรุ่งขึ้นก็ควรทานให้น้อยลง แต่ไม่ควรอดอาหารโดยเด็ดขาด หากผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตนได้ตามทั้ง 7 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นนี้แล้วละก็ จะสามารถใช้ชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้มีความสุขเหมือนกับคนปกติทั่วไป สามารถไปงานเลี้ยงสังสรรค์ได้อย่างไม่ต้องวิตกกังวลอีกต่อไปแล้ว แต่ทั้งนี้หากผู้ป่วยไม่มีวินัยมากพอ ไม่ยอมปฏิบัติตนตาม 7 ข้อที่กล่าวมา ผลเสียทั้งหมดก็จะตกอยู่ที่ผู้ป่วยเอง ทั้งสิ้น ทั้งระดับน้ำตาลหรือน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มสูงขึ้น และยังอาจจะต้องเสียเวลาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วย ดังนั้นหากอยากมีความสุขในเทศกาลปีใหม่ที่มีแค่ปีละครั้งนี้ ก็ต้องรู้จักปฏิบัติตนเองอย่างเคร่งครัด เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปฉลองปีใหม่สำหรับผู้เป็นเบาหวาน ดังนี้ อย่าปล่อยให้ตนเองหิวมาก ควรดื่มน้ำเปล่าก่อนไปสังสรรค์หรือจัดหนัก จำกัดปริมาณอาหารขณะรับประทาน เช่น อาหารประเภทแป้ง น้ำตาลทุกชนิด ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้เชื่อม เป็นต้น ไม่ควรบริโภคของมึนเมา และสารเสพติด อาหารที่สามารถทานได้ไม่จำกัดปริมาณ เช่น มะเขือ ฟัก แตงกวา น้ำเต้าผักกาด คะน้า กวางตุ้ง...
- เบาหวาน

การปฏิบัติตนในการกินอาหารในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

0
อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน ในปัจจุบันงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ เปรียบเสมือนกิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไปแล้ว กิจกรรมงานสังสรรค์เกิดขึ้นได้ตามโอกาสมากมาย อย่างเช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงรุ่น งานเลี้ยงปีใหม่ วันครบรอบต่างๆ หรือกิจกรรมการพบปะกันของครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ที่นานๆจะได้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน เป็นต้น  งานเลี้ยง สังสรรค์เป็นกิจกรรมที่มีความสุขและสร้างความสนุกให้กับใครหลายๆคน  ไม่ว่าจะเป็น การได้พบปะพูดคุยกัน การได้ฟังเพลงหรือดนตรีในงาน รวมกระทั่งเมนูอาหารอร่อยต่างๆให้ได้กินกันอย่างเต็มที่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็ยังคงมีข้อสงสัยว่าตนเองสามารถใช้ชีวิตไปงานเลี้ยงสังสรรค์ตามปกติเหมือนคนทั่วไปได้หรือไม่ และ อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน เป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติตนเองอย่างไร ซึ่งมีคำตอบและข้อแนะนำที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้ >> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานกัน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ใครบ้างที่เสี่ยงกลับมาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีก มาดูกันค่ะ ผู้ป่วยเบาหวานกับการไปงานเลี้ยง สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็คงอาจมีความวิตกกังกลเกิดขึ้นในการไปงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ รวมถึงการไปทานอาหารนอกบ้าน และการเดินทางไปในที่ไกลๆด้วย  เนื่องจากต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ ไม่สามารถทานอาหารได้ตามใจชอบ หรือใช้ชีวิตแบบไม่มีระเบียบ ได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายปกติ  ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถไปร่วมงานเลี้ยงหรือกิจกรรมต่างๆ การออกไปทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงการเดินทางไปในที่ต่างๆได้เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจนเกินไป การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อต้องไปงานเลี้ยงในลักษณะต่างๆ การกำหนดรูปแบบงานเลี้ยงในงานสังคมในปัจจุบันนี้ มีมากมายหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้จัดงานว่าต้องการกำหนดให้เป็นแบบไหน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรต้องรู้และต้องคอยปฏิบัติตัวเองให้ถูกต้องตามลักษณะงานที่จัดเลี้ยงขึ้น ดังต่อไปนี้ 1. งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ ( แบบค็อกเทล ) งานเลี้ยงแบบค็อกเทล จะมีลักษณะของงานคือ เป็นการจัดอาหารว่าง หรืออาหารต่างๆหลากชนิด รวมถึงเครื่องดื่ม ไว้ในรูปแบบของซุ้มอาหาร ในงานเลี้ยงจะไม่มีโต๊ะอาหารจัดให้แขกนั่งรับประทาน มีเพียงโต๊ะวางอาหารตั้งไว้เป็นส่วนกลางเท่านั้น ผู้ร่วมงานสามารถเดินเลือกรับประทานเองได้ โดยปกติงานมักจะเริ่มระหว่างเวลา 6 เย็นจนถึงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : เนื่องจากงานมักจะเริ่มช้าหรือดึกไปสักหน่อย สำหรับเวลาการทานอาหารเย็นปกติของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นก่อนไปงานเลี้ยงควรหาอาหารทานรองท้องไปก่อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ และควรเลือกทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณของน้ำตาลและไขมันที่น้อย 2. งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ งานเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์นี้จะแตกต่างจากแบบค็อกเทล คือ การจัดเลี้ยงจะใช้ ใช้โต๊ะขนาดใหญ่จัดวางอาหารเรียงบนถาดหรือภาชนะขนาดใหญ่ตามประเภท และอาหารมีตั้งแต่อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารหลัก อาหารหวาน เครื่องดื่ม ในปริมาณที่มากกว่างานเลี้ยงแบบค็อกเทล เพราะจัดในเวลามื้ออาหารหลักที่ผู้มาร่วมงานสามารถทานได้อิ่มท้องเต็มที่  ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : เนื่องจากอาหารมีหลากหลายชนิดผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง โดยต้องพยายามหลีกเลี่ยง พวกอาหารไขมันสูง อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลหรือแป้งในปริมาณมาก ถ้าผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณในการรับประทานของตนได้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารไปงานเลี้ยงชนิดนี้ได้เช่นกัน 3. งานเลี้ยงแบบโต๊ะจีน เป็นการจัดเลี้ยงโดยมีโต๊ะให้ผู้ร่วมงานนั่ง อาหารจะค่อยๆทยอยเสิร์ฟทีละจานไล่ตั้งแต่ เมนูของทานเล่น อาหารต่างๆ จนไปถึงเมนูขนมหวาน ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังการทานอาหารแบบนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากโต๊ะจีนมักประกอบไปด้วยเมนูอาหาร ที่ให้พลังงานหรือมีไขมันสูง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรลดความถี่ในการไปงานเลี้ยงประเภทนี้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรรู้จักวิธีการจำกัดปริมาณอาหารที่ควรรับประทาน การวางแผนและแนวปฏิบัติ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หากจะไปงานเลี้ยงต่างๆ ควรรู้จักเตรียมตัวและวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้สุขภาพร่างกายและระดับน้ำตาลผิดไปจากเกณฑ์มาตรฐานปกติ ซึ่งมีวิธีที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 1. เตรียมตัวเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารล่วงหน้า ก่อนถึงวันที่จะไปงานเลี้ยง โดยก่อนถึงวันงานควรลดปริมาณของไขมันในมืออื่นๆลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับงานเลี้ยงที่อาจได้รับปริมาณไขมันที่สูงกว่าการทานอาหารในวันปกติ เปรียบเสมือนเป็นการชดเชย แต่ไม่ควรทำบ่อยๆ 2. ทานอาหารมื้อหลักให้ครบปกติทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง หากงานเลี้ยงใดที่เลยเวลาอาหารในมื้อหลัก ให้ผู้ป่วยทานอาหารว่าง อย่างผลไม้ไปรองท้องก่อน เนื่องจากการการทานอาหารไม่ตรงเวลาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ และนอกจากนี้ยังอาจจะทำให้เกิดการกินมากกว่าปกติ จากความรู้สึกหิวมากนั้นเอง 3. เลือกนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคนรู้จัก เพื่อให้เกิดการสนทนาพูดคุยมากขึ้น ก็จะช่วยทำให้ทานอาหารได้น้อยและช้าลง 4. ก่อนเริ่มรับประทานอาหารในงาน ควรดื่มน้ำเปล่าก่อน 1 แก้ว เสมอเพื่อให้อิ่มเร็วขึ้นและไม่รับประทานอาหารมากเกินควร แนวปฏิบัติเพื่อควบคุมการรับประทาน      1. เลือกทานผักสด สลัด หรือซุปใสก่อนการรับประทานอาหารชนิดอื่น จะช่วยทำให้ลดปริมาณอาหารชนิดอื่นโดยเฉพาะอาหารทีมีไขมันสูง 2. อย่าให้ความเกรงใจทำให้ละเลยการควบคุมอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้จักการปฏิเสธอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง หากมีบุคคลอื่นๆชวนให้ลองรับประทาน 3. ควรทานอาหารประเภทจำพวกข้าวหรืออาหารในกลุ่มของข้าวตามปริมาณปกติที่เคยทาน ไม่ทานให้มากเกินไปหรือทานน้อยจนเกินไป 4. หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ที่ติดมัน รวมถึงหนังสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีปริมาณไขมันมากด้วย 5. เลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน เช่น หมี่กรอบ ขนมจีนน้ำยาพริก หรือน้ำจิ้มชนิดต่างๆ ที่มีรสหวาน 6. ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารประเภทชุปแป้งทอดต่างๆ เช่น ...
- เบาหวาน

อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

0
อาหารมังสวิรัติ ปัจจุบันคนหันมาสนใจ อาหารมังสวิรัติ กันมากขึ้นเพราะมีข้อมูลมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าชาวมังสวิรัติมักจะมีอายุยืนกว่าชาวอมังสวิรัติ ( ผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์ ) โรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรงบั่นทองสุขภาพกายและสุขภาพใจหลายๆ โรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ฯลฯ มักไม่ค่อยพบกับชาวมังสวิรัติและโรคดังกล่าวก็ล้วนเป็น โรคที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักและไม้ถูกส่วน เมื่อเกิดโรคเหล่านี้ วิธีการรักษาก็จำเป็นที่จะต้องใช้อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดโรค  ไม่ว่าจะเป็นมังสวิรัติประเภทเคร่งที่เรียกว่าวีแกน Vegan หรือ ประเภทละเว้นเพียงเนื้อสัตว์แต่รับประทานไข่และนม Lacto-Ovo-Vegetarian ก็สามารถบรรลุเป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวานได้ถ้ามีการวางแผนการรับประทานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ชาวมังสวิรัติปัญหาระดับไขมันในเลือด โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตน้อยกว่าชาวอมังสวิรัติ การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นการลดไขมันประเภทอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลไปในตัว ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี และสาร แคโรทีนอยด์ สารพฤกษาเคมี Phytochemical เช่น ไลโคพีน ( Lycopene ) และไอโซฟลาโวน ( Isoflavone ) นอกจากนี้ยังได้โพแทสเซียมและเส้นใยอาหาร ชาวมังสวิรัติที่เป็นโรคเบาหวานจึงได้ประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจเพิ่มขึ้น อาหารมังสวิรัติมีปริมาณเส้นใยอาหารมากกว่าอาหารอมังสวิรัติ ( หมายถึงอาหารทั่วไปที่มีเนื้อสัตว์ปน ) 2-3 เท่า และอาหารมังสวิรัติที่ให้เส้นใยมากขึ้นนี้ยังช่วยลดปริมาณแคลอรีที่ได้จากอาหาร ทำให้ชาวมังสวิรัติควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าชาวอมังสวิรัติ และอาจช่วยลดปริมาณอินซูลินที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องใช้ ชาวมังสวิรัติส่วนใหญ่จึงมีดรรชนีมวลกายต่ำกว่าชาวอมังสวิรัติ อาหารมังสวิรัติมีส่วนประกอบของธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีสูงจึงมีธาตุโครเมียมสูง ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น อาหารมังสวิรัติมีโปรตีนต่ำกว่าอาหารอมังสวิรัติ จึงเป็นการช่วยลดโรคแทรกซ้อนจากโรคไต นอกจากนี้ โปรตีนจากพืชยังช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะ Proteinuria ลดอัตราการกรองปัสสาวะของไต Glomerular Filtration Rate จึงเป็นการลดอันตรายที่จะเกิดจากไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน    ปัจจุบันการวางแผนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องให้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่และความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคล ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นชาวมังสวิรัติจึงควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อให้อาหารมีผลต่อการควบคุมโรคโดยมีเป้าหมายต่อไปนี้ 1. ให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน 2. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงกับปกติ 3. ควบคุมระดับไขมันให้ใกล้เคียงกับปกติ 4. ให้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 5. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคไต ปลายประสาทเสื่อม และโรคตา ฯลฯ>> อาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายเป็นแบบไหน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นแบบไหน มาดูกันค่ะ สารอาหารที่ควรให้ความสนใจในอาหารมังสวิรัติ คาร์โบไฮเดรต อาหารมังสวิรัติมีคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งอาหารคาร์โบไฮเดรตมีผลต่อระดับน้ำตาลในระยะสั้น ในปัจจุบันจึงนิยมการนับจำนวนคาร์โบไฮเดรตเพื่อปรับปริมาณอินซูลินในผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลิน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำทั่วไปคือร้อยละ 50-60 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน แต่คาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นชนิดที่มีกากใย เช่น จากเมล็ดข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ( ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ฯลฯ ) ถั่ว ผัก และผลไม้ ในขณะเดียวกันก็ลดปริมาณเนื้อสัตว์และไขมันรวมในอาหาร ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการฉีดอินซูลินได้ ข้อมูลการวิจัยบ่งชี้ว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยสูงช่วยเพิ่มความไวของการทำงานของอินซูลิน ในขณะที่ในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงแต่ใยอาหารต่ำมีผลในการเพิ่มระดับน้ำตาลและไทรกลีเซอไรด์ในเลือด  ไขมัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลเพื่อลดปัญหาโรคหัวใจ การลดปริมาณไขมันนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักได้แล้วยังช่วยลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ด้วย ยกเว้นในกรณีการเพิ่มการรับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวที่อาจช่วยควบคุมระดับไทรกลีเซอไรด์ ระดับน้ำตาล และความดื้อต่ออินซูลินได้ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวมีข้อดี คือ สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลโดยไม่มีผลต่อระดับ เอชดีแอล ( HDL ) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่มีประโยชน์ กรดไขมันชนิดนี้มีมากในถั่วเปลือกแข็ง มะกอก น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันปาล์มโอเลอิน และน้ำมันอโวคาโด ปริมาณไขมันรวมที่แนะนำอยู่ในช่วงร้อยละ 15-40 ของพลังงานทั้งหมด โดยที่พลังงานจากไขมันอิ่มตัวอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 7-10 เท่านั้น โปรตีน ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจำกัดอาหารโปรตีนให้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมด ควรเลือกเกณฑ์ที่ต่ำไว้ก่อนโดยเฉพาะในผู้ที่ไตเริ่มมีปัญหา การรับประทานโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากสัตว์จะช่วยรักษาไตให้ทำงานได้อย่างปกติ อาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่ให้โปรตีนประมาณร้อยละ 10-14 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ จึงไม่ทำให้ชาวมังสวิรัติขาดโปรตีน การเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหาร การเปลี่ยนมารับประทานอาหารมังสวิรัติย่อมให้คุณประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และควรจะเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นไปเพื่อให้เวลาในการปรับเปลี่ยนระดับน้ำตาลและระดับยา จึงควรปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการ ในกรณีนี้อาจมีการลดยาฉีดหรือยารับประทานประมาณร้อยละ 10-50 จากปริมาณเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงอาหาร หลังจากนั้นการปรับยาจะขึ้นกับระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน    การใช้หมวดอาหารแลกเปลี่ยนในการวางแผนรายการอาหาร การวางแผนรายการอาหารนั้นนักโภชนาการควรพิจารณาเป็นรายบุคคลเพราะปัญหาและความชอบในการรับประทานอาหารจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หมวดอาหารแลกเปลี่ยนจะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องควบคุมและจำกัดแคลอรีรวมถึงการกระจายสารอาหาร หมวดอาหารแลกเปลี่ยนจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานแลกเปลี่ยนเนื้อสัตว์กับโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง และโปรตีนเกษตร ฯลฯ ได้อย่างถูกสัดส่วน โปรตีนจากพืช 1 ส่วนให้โปรตีน 7...
- เบาหวาน

แสงแดดรักษาแผลแม้แต่แผลเบาหวานขั้นรุนแรง

0
แสงแดด แสงแดด เป็น แสงแห่งพลังชีวิต ทำให้พืชเจริญเติมโตให้ดอกออกผล ทำให้มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆมีร่างกายแข็งแรง เติบโต มีสุขภาพดีด้วยพลังวิตามินดีจากแสงแดด นอกจากนี้ แสงแดดช่วยรักษาแผล เพราะในแสงแดดมีรังสีแสงอุลตราไวโอเลตมีแสงยูวีซีที่เป็นประโยชน์ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้ >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> แสงแดดมีประโยชน์อย่างไร อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดแผลตามร่างกาย สำหรับคนปกติที่ไม่มีภาวะของโรคเบาหวาน การเกิดบาดแผลถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แค่ระวังไม่ให้แผลติดเชื้อ เมื่อระยะเวลาผ่านไปไม่นาน แผลตามส่วนต่างๆก็สามารถหายได้เองเป็นปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นการเกิดบาดแผลขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลย เนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้ว แผลจะหายได้ยากกว่าคนปกติมาก ผู้ป่วยบางคนที่มีแผลเกิดขึ้นและไม่ได้ทำการรักษาอย่างดีเพียงพอ ก็อาจจะส่งผลให้แผลติดเชื้อ หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น ในที่สุดก็อาจจำเป็นจะต้องตัดอวัยวะชิ้นนั้นทิ้งเลย เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ คนส่วนมากมักไม่ค่อยกลัวหรือตกใจมากนัก  เมื่อรู้ว่าตนเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นในร่างกายแล้ว เนื่องจากโรคนี้ไม่ได้อันตรายร้ายแรงจนถึงชีวิต ผู้ที่ป่วยยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแค่ทานยาและ ควบคุมอาหารตามที่แพทย์สั่ง แต่หลายคนก็อาจจะไม่ทราบว่า สิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคเบาหวานก็คือ ภาวะของอาการแทรกซ้อนต่างๆมากมาย ที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้เสมอในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเพียงพอ นอกจากอาการแทรกซ้อนยอดฮิตอย่าง โรคความดันสูง โรคไตวายแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานกลัว และต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งนั้นคือการเกิดบาดแผลขึ้นตามส่วนต่างๆในร่างกาย โรคปลายประสามเสื่อม ต้นเหตุของการเกิดบาดแผล ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะเป็นเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีเพียงพอ ก็มักจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆขึ้น โดยโรคที่เจอบ่อยๆประเภทหนึ่งก็คือ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท หรืออาจเรียกว่า โรคปลายประสามเสื่อม ซึ่งหากเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้ ประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะสูญเสียการรับรู้ควาเจ็บปวด หรือความรู้สึกร้อนเย็นดังนั้นเมื่อมีแผลเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว เนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บปวด แผลเล็กๆที่เกิดขึ้นตอนแรก จึงเกิดการอักเสบลุกลามเป็นแผลขนาดใหญ่มากขึ้น ปลายประสาทควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อที่เท้าไม่อยู่ในสภาพสมดุล ปลายประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ระบบประสาทควบคุมการหลั่งของเหงื่อ การหดและขยายตัวของหลอดเลือดเสื่อมและเสียไป ผิวหนังจะมีอาการแห้งและแตกง่าย เส้นเลือดตีบจนถึงอุดตันในหลอดเลือดใหญ่และหลอดเลือดฝอย ทำให้เกิดแผลที่เท้า เนื่องจากมีเนื้อเยื่อฉีกขาด แผลมักเกิดขึ้นได้ตามนิ้วเท้า ส้นเท้า ในผู้ป่วยบางรายแผลอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การโดนของมีคมบาด แผลจากการเกา ซึ่งแผลเล็กๆเหล่านี้ก็อาจจะกลายเป็นแผลลุกลามใหญ่โตขึ้นได้เช่นกัน สาเหตุที่แผลหายช้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีแผลเกิดขึ้น จะทำการรักษาหายได้ยากกว่าแผลของคนปกติมาก เนื่องจาก เลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลได้ไม่เพียงพอ เกิดภาวะเลือดหวาน จากการที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งภาวะที่เลือดมีน้ำตาลมากเช่นนี้กลายเป็นอาหารอย่างดีสำหรับเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคมีความแข็งแรงมากกว่า ที่เม็ดเลือดขาวจะป้องกันได้  แผลที่เกิดขึ้นจึงติดเชื้อได้ง่าย เกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วและรุนแรง เหตุนี้จึงทำให้แผลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หายยากกว่าคนปกติมาก  ความร้ายแรงของแผลในผู้ป่วยเบาหวาน แผลที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีเพียงพอ ก็มักจะเกิดความรุนแรงของแผลขึ้น  จนทำให้เนื้อเยื่อที่แผลเน่าส่งกลิ่นเหม็น เรียกว่าเป็นแผลเนื้อเน่า ( Gangrene ) มีด้วย 2 ชนิด คือ แผลเนื้อเน่าแห้ง ( Dry Gangrene ) เนื้อแผลจะแห้งและมีสีดำ มีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด  ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อหรือแม้แต่ข้อหลุดออกมาได้ แผลเนื้อเน่าเปียก ( Wet Gangrene ) เป็นแผลเน่าและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีของเหลวไหลออกจากแผลตลอดเวลา เป็นแผลชนิดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก หากแผลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดการลุกลามมากขึ้น โดยที่แพทย์ไม่สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ เมื่อเกิดการกระจายเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วยได้เลย ดังนั้นแพทย์ จึงจำเป็นจะต้องตัดอวัยวะที่เกิดบาดแผลทิ้งไป เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ การรักษาแผลผู้ป่วยในโรคเบาหวาน การรักษาแผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดผู้ป่วยพบเห็นบาดแผลเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็กหรือใหญ่ ให้รีบพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้ เพื่อให้แผลหายเอง ที่สำคัญเรื่องความสะอาดต้องเน้นเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ  โดยเมื่อถึงมือแพทย์แล้ว แพทย์จะตรวจและวิเคราะห์  ถึงอาการของบาดแผลที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนในการรักษาต่อไป แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์พบว่า แสงแดดรักษาแผลได้ รวมทั้งแผลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่หายได้ยากได้ แสงแดดรักษาแผลได้อย่างไร? การที่บาดแผลที่เกิดขึ้นจะหายได้เป็นปกตินั้น จะต้องเกิดการสมานกันของแผลเสียก่อน ซึ่งต้องอาศัยเซลล์และสารชีวเคมีของร่างกายหลายชนิดทำงานร่วมกัน เริ่มจาก การห้ามเลือดให้หยุดไหลโดยเกล็ดเลือด  หลังจากนั้นเม็ดเลือดขาวจะถูกส่งมาบริเวณบาดแผล เพื่อกำจัดสารและเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการออกไป...
- เบาหวาน

มารู้จักอาหาร Low GI กันเถอะ

0
อาหาร Low GI สำหรับคำว่า GI ย่อมาจากคำว่า Glycemic Index ซึ่งก็คือดัชนีที่ใช้ในการวัดหาค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือด โดยค่า GI ที่เหมาะสม ก็คือจะต้องมีค่าน้อยหรือต่ำ เพื่อให้น้ำตาลถูกย่อยเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลงกว่าปกติ ดังนั้น อาหาร Low GI จึงเป็นอาหารที่ดีที่สุดในการเลือกทาน เพราะทำให้อิ่มนาน ระหว่างมื้ออาหารไม่กินจุกจิก โดยส่วนมากมักพบในอาหารที่มีกากใยสูง หวานน้อย และในพืชผักหลายชนิด  ในปัจจุบัน ความรู้ในด้านต่างๆ ได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความรู้ทางด้านโภชนาการ ซึ่งไม่เพียงแต่นักกีฬาเท่านั้นที่ให้ความสนใจกับการรับประทานอาหาร แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับโภชนาการเพื่อ การมีสุขภาพที่ดีและการฟื้นฟูร่างกายให้เร็วที่สุดเช่นกัน โดยเทรนด์สุขภาพที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจก็คือการทานอาหารคลีนนั่นเอง โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งนอกจากการทำความเข้าใจกับอาหารคลีนแล้ว ก็จะต้องทำความรู้จักกับค่า Glycemic Index ( GI ) เพื่อการเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสมด้วย>> อาหารมังสวิรัติมีส่วนประกอบของสารอะไบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ การแบ่งค่า Glycemic Index ( GI ) เป็น 3 ระดับ ค่า GI แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ  GI = 0-55 Low GI = 56-70 Medium GI = 71-100 High   อาหารที่มี GI สูง ก็คืออาหารที่มีอัตราความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลสูง จึงทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งก็จะเป็นผลให้ร่างกายมีการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้นด้วย เพื่อทำหน้าที่เก็บกวาดน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่างๆ นั่นเอง และเนื่องจากตับอ่อนเป็นตัวทำหน้าที่ในการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมา การทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) สูง จึงทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักมาก และอาจเกิดผลเสียได้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของความอ้วนอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรเน้นการทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) ต่ำเป็นหลักนั่นเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเบาหวานสูง ควรเน้นทานอาหารแบบ Low GI จะดีที่สุด ดังนั้นอาหาร Low GI จึงจัดอยู่ในกลุ่มของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และอาหาร Hi GI ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ เป็นผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่างรวด เร็ว และอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วนได้อีกด้วย นอกจากนี้นักโภชนาการก็ได้มีการทำตารางกำหนดประเภทของอาหารและดัชนี Glycemic Index ( GI ) ขึ้นมา เพื่อให้แยกอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) สูงต่ำได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น เช่น อาหารที่มีแนวโน้มว่าจะมีค่า Glycemic Index (GI) สูงได้แก่ ข้าวเจ้า อาหารแปรรูปจากแป้งขัดขาว เครื่องดื่มที่ผสมไปด้วยน้ำตาลและน้ำหวาน เป็นต้น โดยอาหารเหล่านี้เมื่อทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดกระบวนการย่อยได้ง่ายและถูกแปรเป็นน้ำตาลอย่างรวดเร็ว ตามด้วยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในเวลาสั้นๆ ต่อไป อาหาร Low GI ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีปริมาณของไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือดได้ดีและยังช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ว จึงไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย โดยอาหารประเภทนี้ได้แก่ ผักผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ พืชตระกูลถั่ว กล้วย องุ่น ลูกแพร์ เชอร์รี่ ส้ม กีวี แอปเปิ้ล และลูกพีช...
- เบาหวาน

ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด มีข้อบ่งชี้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร

0
อินซูลิน ( Insulin ) โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินสุลินได้ในปริมาณที่สูงพอที่จะจัดการเก็บน้ำตาลจากเลือดเข้าเซลล์เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับสู่ค่าปกติ ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยการ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยา เพียงเท่านี้ผู้ป่วยก็จะมีชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขเหมือนคนทั่วไป ในเรื่องการใช้ยา มียาอยู่ 2 ประเภทได้แก่ ยารับประทาน และยาฉีด อินซูลิน ( Insulin ) >> การตรวจเบาหวานสามารถทำได้อย่างไร มาดูกัน >> เบาหวานมีกี่ชนิดและมีวิธีป้องกันการเป็นเบาหวานได้อย่างไร มาดูกันค่ะ ยาชนิดรับประทาน ( Oral Hypoglycemic Agents ) ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ( ได้แก่ โภชนบำบัด การออกกำลังกาย การเรียนรู้โรคเบาหวานและการดูแลตนเอง ) ร่วมกับการใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นเพื่อที่จะป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง รวมทั้งรักษาอาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงคนปกติ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ยากลุ่มไบกัวไนด์ Biguanide ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย Sulfonylurea ยาต้านแอลฟากลูโคซิเดส L-Glucosidase Inhibitor ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน Insulin Sensitizer 1.1 ยากลุ่มไบกัวไนด์ ทางการแพทย์ นำมาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ข้อดีของยานี้คือ ไม่ก่อให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ สารอนุพันธ์ไบกัวไนด์ที่มีการใช้บ่อยที่สุดคือ ยา Metformin ข้อดีของ ยา Metformin ได้แก่ก่อให้มีความเสี่ยงน้อยต่อการ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นยาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต และช่วยลดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์อีกด้วย ยาในกลุ่มนี้เท่าที่เคยมีจำหน่าย คือเฟนฟอร์มิน PHENFORMIN บูฟอร์มิน BUFORMINแต่ปัจจุบันเลิกจำหน่ายไปแล้วเหลือเฉพาะ เมตฟอร์มิน METFORMIN ตัวเดียวที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน Metformin มีชื่อการค้าต่างๆ เช่น กลูโคเฟจ Glucophage ไดอะเมต Diamet เป็นต้น 1.2 ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย ยานี้ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วเบาหวานที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไปและเป็นชนิดไม่มีอาการแทรกซ้อนประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้ขึ้นกับว่าตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถทำงานได้มากน้อยเพียงใดยากลุ่มนี้ใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยที่ตับอ่อนไม่ทำงานแล้ว   กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย 1.เพิ่มประสิทธิ์ภาพของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย 2.ช่วยลดการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 3.กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น 4.ระงับการสร้างน้ำตาลจากตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง ยากลุ่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นมารุ่นแรก First Generation ได้แก่ ทอลบูตาไมด์ Tolbutamide มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นประมาณ 4-6 ชั่งโมง ต้องรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง จึงจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปได้ทั้งวัน อะซีโตเฮกซะไมด์ Acetohexamide  ออกฤทธิ์ยาวปานกลาง คลอร์โพรพาไมด์ Chlorpropamide ออกฤทธิ์ยาวประมาณ 30-36 ชั่วโมง รับประทานเพียงวันละครั้ง กลุ่มที่สังเคราห์รุ่นที่ 2 second generation มีฤทธิ์แรงขึ้นออกฤทธิ์ยาวปานกลางประมาณ 5-8 ชั่วโมง รับประทานวันละ 2 ครั้ง จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปได้ทั้งวัน ได้แก่ กลิเบนคลาไมด์ Glibenclamide กลิคลาไซด์ Gliclazide กลิพิไซด์ Gligizide ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียทุกชนิดดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานก่ออาหาร  ถ้ารับประทานยาพร้อมอาหารหรืออาหารการดูดซึมของยาจะลดลง การเปลี่ยนยาจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งอาจได้ผลที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากการดูดซึมยาต่างกันและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อตัวยาอาจแตกต่างกันได้ ดังนั้นในกรณีที่ใช้ยาชนิดหนึ่งไม่ได้ผลอาจจะลองเปลี่ยนยาเป็นอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มเดียวกันได้ 1.3 ยาต้านแอลฟากลูโคซิเดส ยาแอลฟา-กลูโคซิเดส เป็นหมวดยาสังเคราะห์ ที่ใช้รักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยจะใช้กลไกป้องกันมิให้ร่างกายย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลาย เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก ( น้ำตาลชนิดสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน ) ในธรรมชาติต้นพืชหลายชนิดก็มีสารประเภทแอลฟา-กลูโคซิเดสอยู่ด้วยเช่น ในเห็ดไมตาเกะ ( Maitake mushroom ) ซึ่งนัก วิจัยค้นพบว่าการบริโภคเห็ดชนิดนี้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้  ปัจจุบันยาในกลุ่มนี้มีขายในประเทศไทยแล้ว 2 ชนิด คือ อะคาร์โบส Acarbose มีชื่อการค้าว่ากลูโคเบย์ Glucobay และโวกลิโบส Voglibose มีชื่อการค้าว่าเบเซน Basen 1.4 ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินเป็นพัฒนาการใหม่ล่าสุดของยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทาน ยาใหม่ในกลุ่มนี้คือกลุ่มไทเอโซลิดีนไดโอน Thiazolidinedione ซึ่งปัจจุบันมีใช้แล้ว 2...
- เบาหวาน

เบาหวานลงไตคืออะไร ( Diabetic Kidney Disease, DKD )

0
เบาหวานลงไต โรคเบาหวานลงไต ( Diabetic Kidney Disease, DKD ) เป็นโรคหนึ่งที่ผู้ป่วยอาจจะมีการเกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้มากมายหลายโรค ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังก็เป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนต้องเจอ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 - 40 ของผู้ ป่วยไตวายทั้งหมด จะมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานลงไต  โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่สำคัญ คือ การที่มีภาวะเลือดหรือสารน้ำไปเลี้ยงไตน้อยลง การได้รับยาหรือสารพิษต่างๆที่ไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ส่วนสาเหตุอื่นที่ทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังนอกจากโรคเบาหวานก็มี เช่น การอักเสบเรื้อรังของตัวกรองของไตหรือหลอดไต  มีความดันโลหิตสูง การอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น โดยปกติร่างกายคนเราจะมีไต 2 ข้าง เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่วคอยทำหน้าที่หลักๆในร่างกาย  2 ประการ ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ คอยควบคุมระดับเกลือแร่ต่างๆ ให้เป็นปกติ และทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนและสารต่างๆ ฮอร์โมนที่สำคัญคือ เออริโทรพอยเอติน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทั้งนี้มนุษย์เราก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่มีไตข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น  โรคไตวายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไตทั้ง  2 ข้าง มีความผิดปกติจนไม่สามารถทำหน้าที่ตามธรรมชาติได้ ซึ่งอาจเป็นชนิดไตวายเฉียบพลันหรือไตวายแบบเรื้อรังก็ได้ ผลกระทบที่ตามมาของไตวาย คือ การมีของเสีย เกลือแร่ และน้ำค้างอยู่ในร่างกาย มีภาวะซีดเนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ส่วนในกรณีไตวายเฉียบพลัน หากสามารถแก้ไขต้นเหตุได้แล้วไตก็จะกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ แต่ในกรณีเป็นไตวายชนิดเรื้อรัง หากว่าทำการรักษาแล้วยังไตยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติก็อาจจะนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุดนั้นเอง>> การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังของแพทย์มีอะไรบ้าง >> เบาหวานมีกี่ชนิดและมีวิธีป้องกันการเป็นเบาหวานได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ อาการผิดปกติของโรคไตวาย สามารถตรวจหาสาเหตุจากค่าในไต 2 ค่าดังนี้ คือ ค่ายูเรียไนโตรเจนในเลือดหรือบียูเอ็น (ฺ Blood urea nitrogen ) จะแสดงถึงระดับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและคั่งค้างอยู่ในเลือดในร่างกายมีค่าปกติเท่ากับ 10 - 20 มิลลิกรัม / เดซิลิตร หากไตทำหน้าที่ลดลงก็จะมีของเสียคั่งค้างสูงขึ้นค่าบียูเอ็นสูงขึ้นตามไปด้วย ค่าไตคือค่าครีเอตินีน ( Creatinine ) จะแสดงถึงการทำงานของไต มีค่าปกติอยู่ในช่วง 0.7 - 2.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากการทำงานของไตลดลงจะทำให้ค่าครีเอตินีนในเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานลงไตมีกี่ระยะ? โรคเบาหวานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไตเป็นขั้นตอนตามลำดับ 5 ระยะ ดังนี้ โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 1  ในระยะแรกของผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการใดๆ ที่แสดงออกให้ผู้ป่วยทราบ เป็นระยะที่ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น เลือดไปเลี้ยงไปเลี้ยงไตมากขึ้น โดยจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อเริ่มเป็นโรคเบาหวาน  โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นหลังจากที่เป็นโรคเบาหวานประมาณ 2 ปี แต่ก็ยังไม่แสดอาการใดๆให้ผู้ป่วยทราบเหมือนระยะที่ 1 ในระยะนี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ตัวกรองของไต หรือไตไม่สามารถรักษาสมดุลของตัวเองได้ โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 3 ระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคเบาหวานมาแล้ว 10 - 15 ปี ร่างกายของผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติแสดงออกมา เช่น ตรวจพบไข่ขาวหรือโปรตีนปริมาณน้อยในปัสสาวะและจะมีปริมาณค่อยๆเพิ่มขึ้นในทุกๆปีเริ่มมีความดันโลหิตสูง มักจะเกิดขึ้นภายหลังการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นเวลา 2 ปีแต่การตรวจเลือดหาค่าบียูเอ็นและค่าครีเอตินีน เพื่อดูหน้าที่ของไตยังให้ผลอยู่ในเกณฑ์ปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 4 จะเกิดขึ้นหลังจากป่วยเป็นโรคเบาหวานมาแล้ว 15-25 ปี  โดยผู้ป่วยประมาณ ร้อยละ  25-40 สามารถตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 0.5 กรัมต่อวัน ในระยะนี้จะเริ่มมีการเสื่อมของไตอย่างต่อเนื่องมากกว่าคนปกติ โดยคนปกติที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ไตจะเสื่อมร้อยละ 1 ต่อปี แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตจะมีการเสื่อมของไตมากถึง ร้อยละ 10 หากปล่อยให้การทำงานของไตลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ของภาวะปกติ จะมีของเสียคั่งค้างมากในร่างกาย จนผู้ป่วยจะเกิดอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร ไม่มีแรง รู้สึกหนาวง่าย อาการเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการซีดเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำลงกว่าปกติ โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 5 ระยะนี้เรียกว่าเป็นระยะของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งการทำงานของไตจะลดลงจนเหลือไม่ถึงร้อยละ...
- เบาหวาน

เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี

0
การออกกำลังกาย ที่เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน โรคเบาหวานกับ การออกกำลังกาย จะช่วยได้อย่างไร หากอธิบายให้ง่ายๆก็คือ โรคเบาหวานเกิดจากเซลล์ในร่างกายของเราอยู่ในภาวะ "ดื้อต่ออินซูลิน" ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เพียงแค่ทานอาหารรสหวานจัดอย่างที่เข้าใจกัน แต่ยังรวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกายจนกลายเป็นอ้วนลงพุง น้ำหนัก เกินเกณฑ์มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะร่างกายดื้ออินซูลิน จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในที่สุดการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะให้ผลดีคือ จะไปช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย >> เมื่อเป็นเบาหวานต้องดูแลตนเองอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การออกกำลังกายแบบไหนเหมาะกับตัวคุณ อยากรู้มาดูกันค่ะ ข้อดีของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน การออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนได้เคลื่อนไหวได้ออกแรงพร้อมๆกัน และไม่ต้องใช้แรงต้านมากเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมากที่สุด เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ  เป็นต้น หรือจะเลือกตามความถนัดที่ตนเองชอบก็ได้  ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งให้อยู่ในช่วงเวลา 20 – 45 นาที เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการออกกำลังกาย แต่ทั้งนี้กิจกรรมการออกกำลังกายบางอย่าง ก็ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน  การออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากๆ เช่น การยกน้ำหนักหรือ การออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป เพราะอาจจะไปทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและระบบหัวใจได้นั้นเอง ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหากิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม และไม่ฝืนร่างกายตนเองจนเกินไป ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน หากผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยังไม่เคยออกกำลังกาย หรือ ไม่ได้ออกกำลังกายมานานแล้ว ควรให้คุณหมอตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนก็จะดีไม่น้อยเลยและอาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติมว่าควรเริ่มจากอะไรดีแล้วควรออกกำลังกายเวลาใด เนื่องจากสภาพโรคและร่างกายผู้ป่วยทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยส่วนมาก ก็จะเน้นเอาช่วงเวลาที่ผู้ป่วยสะดวกนั้นเอง อาจจะเป็นช่วงเย็นๆที่แดดไม่ร้อนจนเกินไป ( 15.00 – 17.00 น. ) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ( แบบพึ่งอินซูลิน ) ควรทานอาหารว่างก่อนไปออกกำลังกายอย่างน้อย 30 – 60 นาที เพื่อช่วงป้องกันปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงเกินปกติ เพราะช่วงนี้เป็นเวลาที่อินซูลินจะถูกดูดซึมเต็มที่และออกฤทธิ์สูงสุดหากผู้ป่วยเลือกที่จะออกกำลังกายในเวลาอื่นๆ หรือเมื่อออกกำลังแล้วเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 30-60 นาทีเสมอ ข้อควรระวังเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกายมากกว่าปกติ ต้องคอยตรวจระดับน้ำตาล โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทานยาหรือต้องฉีดอินซูลินอยู่ตลอด ควรเช็คระดับน้ำตาลทุกครึ่งชั่วโมงชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย และเบรกเพื่อเช็คอีกครั้ง ทุกๆครึ่งชั่วโมง เพราะร่างกายเมื่อได้เผาผลาญแล้ว อาจทำให้ระดับน้ำตาลที่มียาช่วย ลดต่ำลงไปได้อีก อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้  ข้อควรระวังในผู้ป่วยเบาหวานสำหรับการออกกำลังกาย หากออกกำลังกายให้เพียงพอและเหมาะสม ร่างกายจะนำน้ำตาลในเลือดไปเปลี่ยนเป็นพลังงานช่วยให้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้การออกกำลังกายนอกจากมีผลตีต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์อีกหลายประการ เช่น ไขมันในเลือดลดต่ำลง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดจากอาการเส้นเลือดหัวใจอุดตัน น้ำหนักตัวลดลง ทำให้เป็นผลดีในการควบคุมเบาหวานได้ง่ายขึ้น อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หิว เหงื่อออก หรือใจสั่น ตาพร่ามัว หน้ามืด เป็นแผลที่เท้า เหนื่อยมากผิดปกติ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้ เพราะในขณะที่เราออกกำลังกายนั้น ร่างกายจะต้องใช้พลังงาน ซึ่งแหล่งพลังงานในร่างกายคนเราก็คือน้ำตาล ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แม้การออกกำลังกายจะมีผลดี แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคน ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติที่ทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายบางชนิดได้และนอกจากนี้ควรระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการออกกำลังกาย เช่น สำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 1 (แบบพึ่งอินซูลิน) การออกกำลังกายที่มากเกินไปและไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้การควบคุมเบาหวานที่ไม่ดีอยู่แล้วเป็นมากขึ้นได้อีก อาจจะทำให้เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนได้ ส่วนผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ดีอยู่แล้ว ก็มีสิ่งที่ควรระวังคือ ในระหว่างออกกำลังกายอย่าปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไปนั้นเอง ควรหลีก เลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระทบกระแทกที่เท้ามากๆเพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการเท้าชาจากปลายประสาทเสื่อมต้องระวังไม่ให้เกิดแผลที่เท้า เพราะจะกลายเป็นแผลเบาหวานได้ซึ่งอาจจะหายช้าและเสี่ยงการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงคือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง ก่อนเริ่มวางแผนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องควรได้รับการตรวจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเพราะหากออกกำลังกายมากเกินไปจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  การออกกำลังกายนั้นส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นร่างกายแข็งและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงได้แต่ถ้าเราออกกำลังกายหนักเกินไปหรือออกกำลังกายที่ไม่ถูกวิธีก็จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆซึ่งอาจจะทำให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงยิ่งขึ้นดังนั้นก่อนการวางแผนออกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกำลังกายที่เหมาะสมก่อนจะดีที่สุด และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.
- เบาหวาน

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

0
โรคเบาหวานขณะมีการตั้งครรภ์ กรณีนี้จะเกิดได้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานทั้งแบบประเภทที่ 1 ( เบาหวานแบบพึ่งอินซูลิน )และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ( เบาหวานแบบไม่พึ่งอินซูลิน ) หากผู้ป่วยตรวจพบว่าตัวเองเป็น โรคเบาหวานขณะมีการตั้งครรภ์ ต้องทำการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่ดีตลอดเวลา แต่หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลเกินค่ามาตรฐานปกติ ต้องทำการใช้ยาช่วยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลทันที แต่มีข้อแม้ว่าผู้ป่วยต้องใช้วิธีการแบบฉีดอินซูลินได้เพียงอย่างเดียวเท่า นั้น ห้ามรับประทานยาชนิดเม็ดโดยเด็ดขาด เนื่องจากยาดังกล่าวจะไปส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ อาจจะพิการหรือเกิดความผิดปกติในร่างกายของเด็กได้ หากจะใช้ยาอะไรควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน คำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานมีความตั้งใจจะมีบุตร ต้องมีการวางแผนอย่างดีเสียก่อน โดยควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดีเสมอ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับความร่วมมือและการประสานงานกันแบบเป็นทีม ทั้งจากคนใกล้ตัวญาติพี่น้อง หรือทีมแพทย์ต่างๆ เช่น แพทย์ดูแลโรคเบาหวาน กุมารแพทย์ สูติแพทย์ พยาบาลด้านเบาหวาน และนักโภชนาการ เพื่อที่จะช่วยให้ว่าที่คุณแม่และลูกในครรภ์ มีร่างกายสมบรูณ์แข็งแรงและปลอดภัยที่สุด  หลายคนมักจะมีความเข้าใจที่ผิดว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น ไม่สามารถที่จะมีบุตรได้ แต่ในความเป็นจริงทางการแพทย์สรุปไว้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานยังคงสามารถมีบุตรได้ตามคนทั่วไปปกติ เพียงแต่จะต้องดูแลตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิม >> ระยะของโรคเบาหวานลงไตมีกี่ระยะ อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ เป็นโรคเบาหวานหลังจากมีการตั้งครรภ์แล้ว เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ เนื่องจากขณะมีการตั้งครรภ์จะมีปัจจัยไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนบางชนิดขึ้นมา ที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้หากไม่ได้รับการควบคุมที่ดีพอ จะทำให้มีผลกระทบต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นเพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีความปลอดภัย จึงควรมีการตรวจคัดกรองในหญิงมีครรภ์เพื่อหาโรคเบาหวาน ซึ่งจะสามารถเริ่มทำได้เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์โดยให้ผู้ป่วยดื่ม น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ละลายในน้ำ 1 แก้ว หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จึงตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหากพบว่ามีระดับน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 1.อายุมากกว่า 30 ปี 2.มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน 3.เป็นคนอ้วนมาก ( น้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัมขึ้นไป ) 4.เคยมีประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมาผิดปกติ เช่น การแท้ง  ครรภ์เป็นพิษ ลูกที่คลอดออกมามีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัมหรือเคยตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ 5.เป็นโรคความดันโลหิตสูง 6.มีประวัติเกิดการติดเชื้อง่าย บริเวณอวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะและในผิวหนัง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อมารดา การตั้งครรภ์อาจจะทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าปกติ เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน มีภาวะเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต ระบบหลอดเลือด และระบบปลายประสาท มีความดันโลหิตสูง ติดเชื้อต่างๆได้ง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ผลกระทบต่อลูกในครรภ์ สำหรับทารกในครรภ์ก็อาจจะได้รับผลกระทบคือ ร่างกายโตกว่าปกติทำให้คลอดด้วยวิธีปกติได้ยากจนอาจเป็นอันตรายในขณะคลอด อาจจะแท้งหรือคลอดกก่อนกำหนด มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจล้มเหลว มีอาการตัวเหลือง หรืออาจจะพิการตั้งแต่กำเนิดได้ เป็นต้น  ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ควรมีการตั้งครรภ์ แม้ว่าผลทางการแพทย์จะยืนยันว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะสามารถมีลูกหรือตั้งครรภ์ได้ปกติ แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ป่วยบางคนที่ไม่ควรมีการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายต่อตนเองและลูกในครรภ์ได้ ดังนี้ 1.มีอาการหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง 2.มีภาวะไตเสื่อม 3.เป็นโรคเบาหวานชนิดขึ้นตาอย่างรุนแรงและยังไม่ได้รับการรักษา 4.มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอททั้งที่อยู่ในระหว่างการได้รับการรักษา 5.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอย่าเพิ่งหมดกำลังใจไป ยังคงสามารถมีลูกและตั้งครรภ์ได้ตามเช่นคนปกติ แต่ควรมีการวางแผนที่ดีและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ตลอดตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จนกระทั้งคลอดลูกออกมา ผู้ป่วยควรดูแลรักษาร่างกายตนเองให้แข็งแรง และคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ เพื่อสุขภาพความปลอดภัยของตัวว่าที่คุณแม่เองและเพื่อลูกน้อยตัวเล็กๆที่กำลังจะลืมตาดูโลกเกิดขึ้นมา ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เอกสารอ้างอิง ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.
- เบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอย่างไร

0
อาการโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แม้ อาการโรคเบาหวาน จะไม่รุนแรงน่ากลัว ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์จะทำให้สามารถใช้ชีวิตตามคนปกติโดยทั่วไปได้ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเองมักจะได้รับผลกระทบจาก อาการแทรกซ้อนที่ผิดปกติเข้ามา เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เหงื่อออกมากผิดปกติ หรือภาวะการติดเชื้อตามส่วนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วย โรคเบาหวานจึงควรรู้อาการและวิธีป้องกันเบื้องต้น ของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมา ดังข้อมูลต่อไปนี้ >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> เมื่อเป็นเบาหวานต้องดูแลตนเองอย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ  อาการและวิธีป้องกันเบื้องต้น ของโรคแทรกซ้อน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เช่น อ้วนเกินไป น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย หรือมีไขมันในเลือดสูง 1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) โดยส่วนใหญ่จะเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ คือ การฉีดอินซูลินหรือทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือผิดเวลาปกติจากเดิม อาการของโรค : หัวใจจะเต้นแรงและเร็ว มีอาการตัวเย็น มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ วิงเวียน มึนงง และปวดศีรษะ รู้สึกชาบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้าหรือรอบปาก ตาเกิดความพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน หน้าซีด และพูดไม่ชัดและอาจะมีอาการชัก และหมดสติได้ การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ : ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่ายๆ คือ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไปเมื่อได้รับน้ำตาลเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมหลังจากนั้นร่างๆกายจะดีขึ้นเองอย่างรวดเร็ว หากมีอาการดังกล่าว ไม่ควรปล่อยไว้ เนื่องจาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่สามารถหายได้เองจากการพักผ่อน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน มีวิธีแก้ไขเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 1.หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากการทานอาหารผิดเวลาไปจากเดิม ควรรีบทานอาหารทันทีหรือหาอาหารว่างหรืออาหารง่ายๆ เช่น ขนมปัง มาทานรองท้องไปก่อนก็ได้เพื่อที่อาการจะได้ดีขึ้น 2.หากผู้ป่วยมีการที่เริ่มหนักแล้ว ควรรีบหาอาหารรสหวานที่สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เช่น น้ำหวาน นมรสหวาน มารีบรับประทานทันที เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปรับกลับมาเป็นปกติ 3.นั่งหรือนอนพักผ่อน งดเว้นการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ 4.หากปฏิบัติตามข้อ 1- 3 แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 10 - 15 นาทีแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีความหวานเพิ่มเข้าไป 5.หากเป็นผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ควรหาอาหารว่างทานก่อนออกกำลังกาย เช่น แซนวิช หรือขนมปังทาเนยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรคุมประเภทและปริมาณอาหารแต่ละมื้ออย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ และควรทานอาหารให้ตรงเวลารับประทานยาและฉีดอินซูลิน ตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ กรณีออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรทานก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินถ้าเป็นไปได้ควรตรวจเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกาย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับในการรักษาโรคอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันยาชนิดนั้นๆส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดนั้นเอง แจ้งบุคคลใกล้ชิตหรือญาติให้ทราบเรื่องการเป็นโรคเบาหวาน และควรอธิบายวิธีการในการช่วยเหลือเบื้องต้นให้ทราบด้วย ในกรณีฉีดอินซูลิน ควรมีการพกอาหารหรือของว่างที่มีรสหวาน ติดตัวหรือติดบ้านไว้ ในกรณีฉุกเฉิน สามารถหยิบทานได้ทันที และหากออกจากบ้านควรพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานตลอด เผื่อในกรณีฉุกเฉินผู้ที่พบเห็นจะได้ช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง 2. ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ( Postural hypotension ) เป็นภาวะโรคแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความดันโลหิตลดต่ำลงเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตเสียและเสี่ยมสภาพไปส่งผลให้การควบคุมความดันในโลหิตและการสูบฉีดเลือดหรือการเต้นของหัวใจทำได้แย่ลงหรืออาจจะเกิดจากสาเหตุการได้รับยาบางตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมเลยไปทำให้ความดันโลหิตต่ำลงมากกว่าปกติ อาการของโรค : เมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่ง เช่น จากนอนไปลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็วจะมีอาการ เวียนศีรษะ หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม หรือบางรายอาจจะหมดสติได้ การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้ หลีกเลี่ยงและลดการใช้ยาที่มีผลลดความดันโลหิตหากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ออกกำลังกายเป็นประจำ ปรับการนอนให้สูงกว่าปกติ 30 - 45 องศา เพื่อลดอาการหน้ามืดจากการเปลี่ยนท่า จากนอนเป็นลุกขึ้นยืน ใช้ยาช่วยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักและไม่สามารถใช้วิธีอื่นช่วยได้แล้ว 3. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ( Pseudomotor dysfunction ) มีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ควบคุมต่อมเหงื่อซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนชนิดหนึ่งต่อระบบประสาทอันเนื่องมาจากการเป็นโรคเบาหวาน อาการของโรค : ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกมากว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลำตัว หรือแขน และสำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะทำให้ระบบระบายความร้อนในร่างกายเสียไปด้วย ทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาวะอากาศที่ร้อนได้ การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้ : อาการแทรกซ้อนประเภทนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยต้องระมัดระวังตัวไม่อยู่ในที่อากาศร้อนจัด...
- เบาหวาน

กินน้ำตาลมากๆ จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

0
น้ำตาล น้ำตาล จัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีเส้นใยอาหาร น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำ ให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่า ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน คนส่วนใหญ่เมื่อกินน้ำตาล ในรูปเครื่องปรุง หรือขนมหวานมักลืมว่าน้ำตาลให้พลังงานเช่นเดียวกับข้าวและแป้ง จึงถือเป็นพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายจะได้รับ น้ำตาลเพียง 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานถึง 48 กิโลแคลอรีซึ่งเท่ากับข้าวประมาณ ½ ทัพพี อีกทั้งยังไม่มีวิตามิน เกลือแร่ กากใยอาหารที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการกินหวานมากเกินไป จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น ฟันผุ ไขมันในเลือดสูง อ้วนง่าย โรคเบาหวาน เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เป็นแล้วจะเรื้อรังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ต้องคอยควบคุมดูแลระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดของตนเองเสมอ สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัยมีการเก็บสถิติข้อมูลพบว่าคนในสหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 26 ล้านคน โดยในปี 2550 ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวาน หลายคนคงมีความเชื่อและเข้าใจว่า เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารทีมีส่วนประกอบของน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย  จนไปทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คนที่เป็นโรคนี้ต้องจำกัดการกินอาหารที่มีรสหวานและต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสมอ หากจะวิเคราะห์ความเชื่อในส่วนนั้น ต้องมาทำความเข้าใจของโรคเบาหวานกันก่อน โดย โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกตามประเภทและอาการได้ 3 ประเภทซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุและความเสี่ยงที่ต่างกันไป ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในสหรัฐอเมริกามากถึง 71,000 คน และมีการพยากรณ์ว่าหากไม่มีมาตรการจัดการเมื่อ ถึงปี พ.ศ.2593 จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากถึง 1 ใน 3 ของประเทศเลยทีเดียว การกินน้ำตาลมากๆมีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด แต่การที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่ ขึ้นกับการทำงานของอินซูลิน และตับอ่อนเป็นสำคัญ >> เบาหวานมีกี่ชนิดและมีวิธีป้องกันการเป็นเบาหวานได้อย่างไร มาดูกันค่ะ >> ใครบ้างที่เสี่ยงกลับมาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาดูกันค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=uwqFaXzlO3I เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทนี้มักจะเกิดกับเด็กหรือเกิดในวัยรุ่นที่อายุยังไม่เยอะ อาจจะมีการติดเชื้อบางอย่างเป็นจุดตั้งต้นหรืออาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม บางครั้งเรียกโรคนี้ว่า เบาหวานในวัยเด็กโดยมีสาเหตุจากเซลล์ตับอ่อน ที่ปกติมีหน้าที่สร้างอินซูลีน ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะส่งผลให้ร่างกายขาดอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการนำน้ำตาลไปใช้ในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินปกติ แนวทางการรักษา : ทางแพทย์จะใช้การรักษาโดยฉีดอินซูลินเข้าไป เพื่อให้ระบบกลไกการนำน้ำตาลไปใช้งานในร่างกาย สามารถทำได้ปกติ นั้นเอง เบาหวานประเภทที่ 2 โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ จะต่างจากประเภทแรก คือ ตับอ่อนยังคงสามารถทำการผลิตอินซูลินได้เป็นปกติ แต่กลับเป็นเซลล์ในร่างกายเองที่ไม่ค่อยตอบสนองกับอินซูลิน หรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ผลกระทบที่ตามมาก็คือจะไปทำให้ให้เกิดภาวะปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งในปัจจุบันโรคเบาหวานประเภทนี้มีผู้เป็นกันเยอะที่สุด  เฉลี่ยร้อยละ 95 ของโรคเบาหวานทั้งหมด โดยจะพบมากในวัยกลางคน และนอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือขาดการออกกำลังกาย ก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของคนเป็นโรคนี้ด้วย การตรวจพบในโรคนี้ทำได้ยาก บางครั้งต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะตรวจสอบเจอ แนวทางการรักษา :  ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง  หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทาน เบาหวานประเภทที่ 3 หรือ เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์  ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้  เบาหวานประเภทนี้มักจะมีสาเหตุมาจาก ความอ้วน มีความดันในโลหิตสูงหรือมาจากกรรมพันธุ์ถ่ายทอดต่อกันมา แต่หลังจากที่คลอดลูกแล้วระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับสู่ภาวะปกติเอง แต่ก็อาจจะมีโอกาสกลับไปเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อีกในอนาคต แนวทางการรักษา : ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง  หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทาน เมื่อดูจากสาเหตุของโรคเบาหวานแต่ละประเภทแล้ว จะพบว่าสาเหตุหลักๆของโรคคือพฤติกรรมการกินอาหารและน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานปกติหรืออ้วนนั้นเอง ยกเว้นเบาหวานประเภทที่ 1 ซึ่งก็มีคำถามตามมาว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มาก เป็นสาเหตุในการทำให้เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ซึ่งทางสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า แคลอรีส่วนเกินที่ร่างกายรับเข้าไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะมาจากน้ำตาล ไขมัน หรือการกินที่เกินพอดีล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานได้เท่าๆกันนั้นเอง ซึ่งนักวิจัยหลายท่านก็ยังไม่ค่อยเชื่อกับความเห็นนี้สักเท่าไหร่ แต่ถ้าลองวิเคราะห์ให้ดี ผู้ที่บริโภคน้ำตาลมากๆก็มักจะเป็นผู้ที่ทานอาหารมากด้วยเช่นกัน แม้ความรู้สึกของคนส่วนมากก็อาจจะมองว่าโรคเบาหวานไม่ได้เป็นโรคที่ดูน่ากลัวมากนัก เมื่อเทียบกับโรคร้ายอื่นๆ  เช่น โรคมะเร็ง โรคไตวาย เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หากไม่รีบรักษาตัวก็อาจจะมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกันและหากเป็นไปได้ก็คงไม่อยากมีใครป่วยเป็นเบาหวานเหมือนกัน...
- เบาหวาน

การติดตามประเมินผลการควบคุมเบาหวาน

0
ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคเบาหวานในระยะยาว เช่น เลือดออกในตาทำให้ตามัว หรือตาบอด เท้าชาขาดความรู้สึก ขาดสมรรถภาพทางเพศเส้นเลือดที่ไตตีบทำให้ไตเสื่อม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ตีบ เช่น สมอง หัวใจ หรือที่ขา ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจาการที่มี ระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติเป็นเวลานาน การ ป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านี้จะมุ่งไปที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด แต่การจะประเมินผลการควบคุมเบาหวานว่าดีหรือไม่นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลของระดับน้ำตาลในเลือดตลอดเวลาหรืออย่างน้อยก็ถี่มากๆ จึงจะได้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลที่ถูกต้อง ระดับน้ำตาลในเลือดเพียงค่าเดียวเป็นดรรชนีที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ทั้งนี้ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและลงต่ำอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันตามมื้ออาหารที่รับประทาน >> การตรวจเบาหวานสามารถทำได้อย่างไร มาดูกัน >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตทำได้อย่างไร มาดูค่ะ การวัดระดับน้ำตาลในเลือด ในคนปกติระดับน้ำตาลจะสูงขึ้นไม่มากหลังการรับประทานอาหารแต่ละมื้อและจะลดลงสู่ระดับปกติอย่างรวมเร็วภายใน 2 ชั่วโมง แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานเมื่อรับประทานอาหารประเภทเดียวกันระดับน้ำตาลจะสูงขึ้นมากและลดลงสู่ระดับปกติค่อนข้างช้า ความสูงของระดับน้ำตาลหลังอาหารขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารที่รับประทาน ถ้ารับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวาน ระดับน้ำตาลก็สูงขึ้นมาก ถ้ารับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่านอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดยังขึ้นกับความรุนแรงของโรคเบาหวานเอง ถ้าเป็นมากน้ำตาลก็ยิ่งเพิ่มขึ้นสูงมากหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาดรรชนีที่สามารถบอกค่าของน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่เดิมการวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรงที่รู้จักกันว่า Fasting Blood Sugar ( FBS ) เป็นวิธีเดียวที่ใช้กัน โดยมักจะเจาะเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า ( หลังเที่ยงคืนแล้วไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอะไรเลยนอกจากน้ำ ) พบว่าระดับเอฟบีเอสขึ้นลงเร็วตามอาหารที่เพิ่มรับประทานเข้าไป ทำให้เปรียบเทียบผลการควบคุมเบาหวานได้ยาก อาทิ ค่าเอฟบีเอสของวันนี้หลังจากที่ผู้ป่วยเพิ่งไปงานเลี้ยงเมื่อคืนที่ผ่านมาจะสูงกว่าค่าเอฟบีเอสหลังการรับประทานอาหารตามปกติ ทั้งที่จริงๆ แล้วอาการโรคเบาหวานไม่ได้กำเริบแต่อย่างใด หากแพทย์ใช้ระดับเอฟบีเอสของวันนี้เป็นเครื่องประเมินผลการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยก็ไม่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นต้องหาวิธีวัดน้ำตาลวิธีอื่นที่จะให้ผลแน่นอน แม่นยำ และสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า เมื่อมีการคั่งของน้ำตาลในเลือดนอกจากน้ำตาลจะไปจับตาลสารโปรตีนของเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายแล้ว มันยังไปจับกับโปรตีนที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด โดยจับแบบไม่สามารถหลุดออกมาเป็นน้ำตาลโมเลกุลอิสระได้อีก ตราบจนกระทั้งโปรตีนเหล่านั้นสูญสลายไปเองและมีการสร้างขึ้นใหม่ทดแทน การรับประทานอาหารในมื้อก่อนทำการตรวจเลือดจะไม่มีส่วนทำให้เปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลที่จับเกาะกับโปรตีนดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติตนในการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยอย่างแท้จริงโปรตีนในเลือดที่นิยมวัดเปอร์เซ็นต์น้ำตาลที่จับอยู่ด้วยคือฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลไปเกาะอยู่ด้วยว่าไกลโคซิเลตฮีโมโกลบิน Glycosylated Hemoglobin ไกลโคซิเลตฮีโมโกลบิน เกิดจากการจับกันของน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูงกับฮีโมโกลบิน รู้จักกันในชื่อว่า ฮีโมโกลบินเอวัน (HbA1) ที่น่าสนใจคือระดับฮีโมโกลบินเอวันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการกำเริบของโรคเบาหวาน จำนวนน้ำตาลที่ไปเกาะกับฮีโมโกลบินจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นสัดส่วนกับระยะเวลาที่น้ำตาลในเลือดสูงด้วย ปริมาณของฮีโมโกลบินเอวันจึงสะท้อนให้เห็นทั้งระดับน้ำตาลและเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนเมื่อตรวจมีค่าระดับน้ำตาลเอฟบีเอสเป็นที่น่าพอใจ แต่ระดับฮีโมโกลบินเอวันสูงมากแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้ระวังเรื่องอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพิ่งจะมาระวังเฉพาะเวลา 2-3 วัน ก่อนมาเจาะเลือดตรวจเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยบางคนตรวจพบว่าเอฟบีเอสสูง แต่ค่าฮีโมโกลบินเอวันอยู่ในเกณฑ์พอดี แสดงว่าผู้ป่วยรายนั้นควบคุมอาหารดีมาตลอด แต่บังเอิญเพิ่งมารับประทานมากในระยะวันสองวันก่อนมาตรวจ ดังนั้นระดับฮีโมโกลบินเอวันจะเป็นดรรชนีบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพียงใด ฮีโมโกลบินเอวันมีหลายชนิดแล้วแต่ชนิดของน้ำตาลที่ไปเกาะแต่ทุกชนิดมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเป็นโรคเบาหวานทั้งสิ้น จะเลือกวัดชนิดใดก็ได้หรือวัดค่ารวมของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ตรวจว่าจะเลือกใช้วิธีใดในการวัดปริมาณ เพราะการใช้วิธีต่างกันจะวัดชนิดของฮีโมโกลบินเอวันที่ได้ต่างกันไปด้วย แต่สิ่งสำคัญคือหากใช้วิธีใดกับผู้ป่วยรายนั้นๆ แล้วจะต้องใช้วิธีนั้นตลอดไปจึงจะสามารถเปรียบเทียบผลของการควบคุมเบาหวานได้ ที่นิยมวัดกันในปัจจุบันคือการวัดค่ารวมของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมดหรือวันเฉพาะค่าฮีโมโกลบินเอวันที่มีน้ำตาลกลูโคสมาจับ หรือที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี ( HbA1c ) ในคนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีจะมีค่าประมาณ 4-6% ของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมด และจากผลงานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าถ้าหากคนที่เป็นโรคเบาหวานควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีใกล้เคียงคนปกติได้มากที่สุดจะสามารถชะลอและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนค่าการแปลผลใหม่ตามตารางต่อไปนี้ ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี  ( % ) การแปลผลน้อยกว่า 7% ควบคุมเบาหวานได้ดี 7-8% ควบคุมเบาหวานพอใช้ได้มากกว่า 8% ยังคุมเบาหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร การวัดระดับฮีโมโกลบินเอวันเป็นการบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในระยะ 8 สัปดาห์ ค่าของฮีโมโกลบินเอวันจะเปลี่ยนไปก็ต่อเมื่อฮีโมโกลบินได้เสื่อมสลายไปตามอายุของเม็ดเลือดแล้ว ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างค่าเอฟบีเอสและฮีโมโกลบินเอวันก็เหมือนกับการวัดความหวานของตัวกล้วยเชื่อมเองและความหวานของน้ำเชื่อม น้ำเชื่อมของกล้วยเชื่อมจะเปลี่ยนความหวานได้รวดเร็วเพียงการเติมน้ำเปล่าหรือน้ำหวานลงไป ซึ่งเปรียบได้กับค่าระดับน้ำตาลในเลือด เอฟบีเอสซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหลังรับประทานอาหารหรืองดอาหาร ในขณะที่ความหวานของตัวกล้วยเชื่อมจะเปลี่ยนแปลงช้าๆ ขึ้นอยู่กับว่าแช่อยู่ในน้ำเชื่อมหวานจัดเพียงใดและแช่อยู่นานเท่าใด การวัดความหวานของตัวกล้วยเชื่อมเทียบได้กับการวัดค่าฮีโมโกลบินเอวัน ซึ่งจะบ่งความหวานโดยเฉลี่ยของตัวน้ำเชื่อมได้ดีกว่าการวัดความหวานของตัวน้ำเชื่อมเอง การประเมินผลการควบคุมโรคเบาหวานด้วยตนเอง ในปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการติดตามระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิดสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลด้วยตนเองได้ที่บ้าน ทั้งนี้ เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุปกรณ์การแพทย์เอื้ออำนวย ผู้ป่วยจะสามารถตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะหรือในเลือดซึ่งแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลจะแนะนำวิธีเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานเสียก่อน สำหรับวิธีการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดนั้นมีรายละเอียดในการทำงานที่แตกต่างกันและมีให้เลือกหลากหลายจึงมิได้ชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ด้วย ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในคนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าหรือหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมงระดับน้ำตาลในเลือดจะมีค่าน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และหลังรับประทานอาหารระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ในช่วงประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ดังนั้นจึงใช้เกณฑ์ปกติดังกล่าวเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ ผลที่ได้ค่อนข้างแม่นยำบอกระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง 1.ผลที่ได้อาจไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น หากปัสสาวะที่นำมาใช้ตรวจตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนาน เป็นการตรวจระดับน้ำตาลที่ไตขับออกมาทางปัสสาวะ เป็นการบอกระดับน้ำตาลในเลือดทางอ้อมผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน...
- เบาหวาน

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

0
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็น ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดทรมาน อันเป็นสาเหตุให้บางครั้งผู้ป่วยไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัดเพราะไม่มีอาการหรือความไม่สบายกายแต่อย่างใด ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องมีการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการของโรคและความเป็นมา ตลอดจนการรักษาและโรค แทรกซ้อนที่จะตามมาในภายหลังผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างเสมอจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อโรคแทรกซ้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นจะเกินอาการเจ็บปวดและทรมานได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเริ่มรักษาต้องมีการปรับตัว คือ ต้องหมั่นมาพบแพทย์ มีความอดทนและปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารไม่ตามใจตนเอง และที่สำคัญยอมรับว่าตนเป็นโรคเบาหวานและต้องให้ความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดไปโดยผู้ป่วยต้องได้รับทราบว่าแพทย์มีเป้าหมายการรักษาอยู่ที่ การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งมีแผนการรักษาดังนี้ 1.การควบคุมอาหาร 2.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ 3.พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด เพื่อตรวจร่างกาย ติดตามผลการรักษาและประเมินสภาพของโรค รวมทั้งการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินในปริมาณแพทย์สั่งโดยเคร่งรัด 4.อารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความรู้สึกของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก คือ กลัว ตกใจ สับสนไม่เชื่อว่าจะรักษาไม่หายจึงเปลี่ยนสถานที่รักษา มีความหวังว่าจะได้พบแพทย์เก่งๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จนบางครั้งหยุดการรักษาด้วยแผนปัจจุบันหันไปรักษาแผนโบราณ ใช้ยาสมุนไพร หรือวิธีอื่นๆ เหมือนถูกบังคับ ทำให้ควบคุมอาหารได้ไม่นานก็กลับมารับประทานในลักษณะเดิมอีก เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายหรือมีอาการแทรกซ้อนแสดงให้เห็นทันที ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงจะยอมรับความจริงได้ เช่น ได้พบเห็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีโรคแทรกซ้อนที่ประสบความทุกข์ทรมานจึงเกิดความกลัวว่าจะเป็นเช่นนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อแพทย์ตรวจพบหรือมีอาการแสดงของโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากจะยอมรับและปฏิบัติตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ก็มักเป็นการสายเกินไป เนื่องจากโรคแทรกซ้อนเหล่านี้รักษาไม่หายขาดและจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ และแรงสนับสนุนที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ อารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยจะแสดงออกมาแตกต่างกันได้หลายรูปแบบดังนี้ รูปแบบที่ 1 ต่อต้าน ผู้ป่วยมักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย รู้สึกรำคาญต่อภาวะและกิจกรรมบำบัดรักษาต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตประจำวันของตนเปลี่ยนไปผู้ป่วยอาจไม่ให้ความร่วมมือต่อการรักษาของแพทย์ ไม่ไยดีต่อคำวิงวอนร้องขอหรือแม้กระทั่งการบังคับขู่เข็ญ ญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย ค่อยๆอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนใจให้ความร่วมมือขึ้นมาก็ได้ รูปแบบที่ 2 หลีกหนี ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่านขั้นตอนของการยอมรับความจริงจะเกิดอาการปฏิเสธและหลีกหนีการเผชิญความจริง ไม่ยอมแม้กระทั่งจะไปพบแพทย์ หรือการเปลี่ยนสถานที่รักษาหลายแห่งโดยมีความเชื่อว่าจะต้องมีแพทย์ที่เก่งและรักษาโรคนี้ให้หายโดยไม่ยอมรับฟังคำอธิยายความเป็นจริงจากใครทั้งสิ้น ลักษณะเช่นนี้ผู้ที่ใกล้ชิดจะต้องพยายามเตือนสติให้ผู้ป่วยได้คิดถึงอนาคต คิดถึงบุคคลหรือสิ่งอื่นๆ ที่เขารักและให้ความสำคัญ อาจทำให้ผู้ป่วยหันมายอมรับความจริงได้มากขึ้น รูปแบบที่ 3 ปกปิด ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานโดยพยายามแสดงให้เห็นว่าไม่มีอาการแสดงของโรค เมื่อใกล้วันที่จะมาพบแพทย์หลอกตนเองโดยรับประทานน้อยลง หลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดในวันที่มาพบแพทย์ไม่สูงหรือเป็นปกติ และจะบอกตนเองว่าหายแล้วไม่ไปพบแพทย์และหยุดยาช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากยังสบายดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะกลับมามีพฤติกรรมเดิมคือ ไม่ควบคุมอาหาร จนกระทั่งเริ่มมีอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงกลับไปพบแพทย์อีก ซึ่งอาจจะสายเกินแก้และผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกซึมเศร้า เส้นใจ ผู้ที่ใกล้ชิดและสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ รูปแบบที่ 4 ยอมรับ มักจะเป็นปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่มีพื้นฐานทางสุขภาพจิตดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จะพยายามทุกวิถีทางที่จะบำบัดโรคของตนเองและได้รับการเสริมกำลังใจที่ดีจากผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถยืนหยัดกับโรคเบาหวานได้เหมือนคนปกติโดยไม่รู้สึกกว่าถูกควบคุมหรืออึดอัดต่อกิจกรรมและพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงในระยะต้น ต่อมาสามารถปรับให้เป็นพฤติกรรมที่ต้องกระทำในชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ดี บุคคลสำคัญที่สุดที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตที่พร้อมจะเผชิญกับโรคเบาหวานได้ดีคือ ตัวผู้ป่วยเอง เพราะหากผู้ป่วยไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง ผู้อื่นก็ยากที่จะแทรกเข้ามาช่วยได้ การรู้จักรักตนเองจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะหากขาดสิ่งนี้ก็เท่ากับขาดปัจจัยสำคัญทางจิตใจ>> เมื่อเป็นเบาหวานต้องดูแลตนเองอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ >> การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ การดูแลสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าปกติจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย เช่น เกินการอักเสบของผิวหนัง ช่องปาก และเท้า เป็นต้น ถ้าควบคุมเบาหวานเหล่านี้เกิดขึ้นการควบคุมโรคจะยิ่งเลวลง ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรปฏิบัติดังนี้ 1.นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง 2.หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ เพราะจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ 3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสดชื่นและควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น โดยเลือกประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตนเอง ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าปล่อยให้อ้วนเพราะจะทำให้การควบคุมเบาหวานยากขึ้น 4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า 5.ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพตา ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลสุขภาพตาดังนี้ ควรพบจักษุแพทย์ตรวจสุขภาพตาโดยละเอียดอย่างน้อยปีละครั้งถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัว ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสนใจสุขภาพฟันดังนี้ 1.หมั่นรักษาความสะอาดของฟันและช่องปาก แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเพื่อการทำความสะอาดซอกฟันให้ทั่วถึงแต่ควรระมัดระวังไม่ให้โดนเหงือก 2.ควรพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพของฟันและช่องปากทุก 6 เดือน  ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพผิวหนัง ผิวหนังจัดเป็นปราการชั้นนอกสุดในการป้องกันเชื้อโรค จึงควรมีการดูแลรักษาดังนี้ 1.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะตามซอกอันชื้น เช่น ใต้ราวนม รักแร้ และขาหนีบ หลังอาบน้ำต้องเช็ดบริเวณเหล่านี้ไม่ให้อับชื้น มิฉะนั้นจะเกิดเชื้อราได้ง่าย 2.ถ้าผิวหนังแห้ง ควรทาครีมเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ 3.ถ้าเหงื่อออกมากทาแป้งฝุ่นบางๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น 4.สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและสบาย 5.ถ้ามีอาการอักเสบของผิวหนัง ผื่นคัน ฝีพุพอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมลงจะมีระดับของการสูญเสียความรู้สึกแตกต่างกันมาก บางคนอาจจะเหยียบตะปู เดินเตะถูกของแข็งโดยไม่รู้สึกเจ็บ จนถึงบางคนรองเท้าหลุดไปแล้วก็ยังไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพเท้า สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลเท้าก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดแผล การละเลยต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อาจจะทำให้เกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนของทั้งระบบประสาทและหลอดเลือด การตีบตันของหลอดเลือดนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในหารส่งผลให้แผลหายเร็วหรือช้าทั้งนี้ เนื่องจากหลอดเลือดเป็นเส้นทางซึ่งสารอาหารและยาถูกขนส่งไปยังบริเวณที่เป็นแผลรวมทั้งเป็นเส้นทางกำจัดของเสียจาแผลด้วย อาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับหลอดเลือด...
- เบาหวาน

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

0
โรคเบาหวานกับการดูแลตนเอง การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะโรคเบาหวานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินที่อยู่ในร่างกาย อินซูลินมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรามีหน้าที่คือนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ดังนั้น การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน จะต้องแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนหรือภาวะหมดสติเนื่องจากระดับน้ำตาลสูงมากเกินไปหรือน้อยเกินไป >> ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> กินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เป็นเบาหวานได้หรือไม่ มาดูกันบทความนี้ค่ะ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะดังกล่าวเหมือนภาวะที่มีความเครียดเกิดขึ้น จะมีการหลั่งฮอร์โมนหลายตัว รวมแล้วเรียกสเตรสฮอร์โมน stress hormones ซึ่งจะทำให้ตับสร้างน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น คนปกติจะมีการตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงขึ้นไปใช้เป็นแหล่งพลังงานในเนื้อเยื่อได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพิ่มขึ้นได้ตามที่ร่างกายต้องการในขณะที่มีความเครียด และประกอบกับสเตรสฮอร์โมนเหล่านี้ยังมีผลทำให้ฮอร์โมนอินซูลินพาน้ำตาลกลูโคสเข้าเนื้อเยื่อได้ไม่ดีอีกด้วย ผลก็คือระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานจะสูงขึ้นกว่าปกติและอาจจะขึ้นสูงได้มากๆ จนเป็นอันตรายได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อเพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงสลายไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้เป็นแหล่งพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการสลายไขมันนี้จะได้สารคีโทนซึ่งเป็นสารพิษและมีฤทธิ์เป็นกรดเกิดขึ้นด้วย หากร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินหรือมีเพียงเล็กน้อยเช่นในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 สารคีโทนในเลือดก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมากทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ร่างกายยังพอจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้บ้างมักจะไม่เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน แต่จะเกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ จนเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากปัสสาวะบ่อยจนอาจเป็นลมหมดสติไปได้ ในบางครั้งหากภาวะเจ็บป่วยนั้นเป็นเพียงเล็กน้อยและสเตรสฮอร์โมนไม่ได้ถูกสร้างออกมามาก และผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ หรือถ่ายอุจจาระมากๆ จนอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือสารอาหาร อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้  ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานไม่สบายจึงควรมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและ / หรือคีโทนในปัสสาวะบ่อยๆ โดยอาจทำด้วยตนเองหรือโดยคนในครอบครัว เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงขณะเจ็บป่วย ข้อควรปฏิบัติในการดูแลตนเองขณะเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุก 4-6 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ซึ่งใช้ยาฉีดอินซูลิน ควรตรวจคีโทนในปัสสาวะร่วมด้วยทุก 4-6 ชั่วโมง เช่นกัน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ไม่ควรหยุดฉีดอินซูลินหรือหยุดรับประทานยาเบาหวาน ให้ฉีดยาหรือรับประทานยาตามขนาดเดิม ควรจะมีอินซูลินชนิดใสซึ่งออกฤทธิ์เร็วเผื่อใช้เพิ่มเติม ( ตามคำแนะนำของแพทย์ ) ควรระวังและสังเกตอาการจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไป รับประทานอาหารแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ( ดูหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ) ดื่มน้ำให้มากขึ้น พักผ่อนมากๆ และงดออกกำลังกาย การฉีดยาอินซูลินขณะเจ็บป่วย ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 หรือที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินเป็นประจำก็ให้ฉีดในขนาดเท่าเดิม เวลาเดิมตามปกติ และสามารถฉีดอินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นเพิ่มได้อีก หากตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และ / หรือคีโทนในปัสสาวะมากกว่า 1 โดยมีวิธีฉีดดังนี้ ปริมาณ : ให้ฉีดเพิ่มประมาณ 20% ของปริมาณยาฉีด รวมทั้งหมดตามปกติ เช่น ปกติฉีด รวมทั้งวัน    = 40 ยูนิต 20% ของ 40 ยูนิต   = 8 ยูนิต  เวลา : ฉีดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามระดับน้ำตาลในเลือด หรือคีโทนในปัสสาวะที่ตรวจพบพยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงประมาณ 100-240 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และ / หรือตรวจไม่พบคีโทนในปัสสาวะ ในกรณีต่อไปนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาแพทย์หรือมาโรงพยาบาล อาการเจ็บป่วยเป็นนานเกิน 2-3 วัน คลื่นไส้ อาเจียนมาก เช่น ทุก 4-6 ชั่วโมง หรืออุจจาระร่วงไม่หยุดเลยนานกว่า 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย หรือรู้สึกไม่สบายและอ่อนเพลียมาก ฉีดอินซูลินเพิ่มแล้วระดับน้ำตาลในเลือดหรือคีโทนในปัสสาวะก็ไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจควรจะปรึกษากับทีมผู้รักษาโดยตรงทันที ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง ศาสตราจารย์ นพ. เทพ หิมะทองคำ และคณะบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน และรองศาสตราจารย์ ภญ.ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557. สิรินาถ วงศ์ภมรมนตรี. เราจะไม่เป็นเบาหวานในชาตินี้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559.
- เบาหวาน

ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน

0
อาหารผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ที่เพิ่งพบหรือตรวจเจอว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน  นอกจากจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์แล้วก็คงมีคำถามขึ้นมาในหัวมากมายว่า ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตอย่างไรบ้าง อะไรที่สามารถทำได้เหมือน เดิม หรืออะไรที่ไม่ควรทำและต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะเรื่อง อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีความสำคัญกับอาการของโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก ลองมาดูกันว่ามีคำถามอะไรที่บ้างที่ผู้ป่วยมักสงสัยและอยากถาม ดังต่อไปนี้ คำถามเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป 1.1 ผู้ป่วยเป็นเบาหวานสามารถรับประทานผลไม้ได้มากน้อยเพียงใดต่างจากคนปกติหรือไม่? ตอบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานสามารถทานผลไม้ได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากในผลไม้ทุกชนิดจะน้ำตาลที่อยู่ในรูปของฟรักโทส หากทานมากเกินไปจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ 1.2 ผู้ป่วยเบาหวานทานทุเรียนได้หรือไม่? ตอบ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลมากและให้พลังงานสูง ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานทุเรียนเข้าไปจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าการทานผลไม้อื่นๆ 1.3 ผู้ป่วยเบาหวานดื่นเบียร์ได้หรือไม่? ตอบ  ไม่ควรดื่ม เนื่องจากเบียร์เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ยาให้มีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้อินซูลีนอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากว่าปกติและเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ให้พลังงานสูง หากทานในปริมาณมากจะยิ่งทำให้อ้วนได้ 1.4 ผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานข้าวระหว่างมื้อได้หรือไม่? ตอบ ทานได้แต่ต้องให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมโดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวมทั้งวันต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนด 1.5 ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานขนมหวานๆ บ้างได้หรือไม่? ตอบ ทานได้ แต่ควรทานในปริมาณน้อย เนื่องจากขนมหวานต่างๆ มักจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันที่สูงเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ หากต้องทานขนมหวานควรลดปริมาณอาหารอย่างอื่นในมื้อนั้นๆ แต่ก็จะได้รับสารอาหารที่น้อยตามไปด้วย 1.6 ดื่มน้ำเต้าหู้ตอนเช้าแทนนมได้หรือไม่? ตอบ  ทานแทนได้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้นม แม้ว่าน้ำเต้าหู้จะมีแคลเซียมน้อยกว่านมมาก แต่ก็อุดมไปด้วยโปรตีนและ ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรทานแบบหวานน้อยหรือใช้ความหวานจากน้ำตาลเทียมแทน 1.7 ดื่มนมมากกว่าวันละ 2 กล่องได้หรือไม่? ตอบ  สามารถดื่มได้แต่ควรเลือกนมชนิดพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน และเลือกทานนมรสจืดจะดีที่สุด ในแต่ละวันผู้ใหญ่ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2 กล่อง เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ ส่วนผู้ที่ต้องการแคลเซียมมากขึ้นเป็นพิเศษอย่างคนท้อง ผู้สูงอายุ หรือเด็กที่กำลังโต อาจจะดื่มเพิ่มเป็น 3 กล่องเพื่อให้ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ 1.8 รับประทานรังนกได้หรือไม่? ตอบ ผู้ป่วยเบาหวานทานรังนกได้ แต่ต้องระวังเนื่องจากรังนกที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปจะมีปริมาณน้ำตาลที่สูงผสมเข้าไปเพื่อให้มีรสอร่อย ทานง่าย ควรเลือกแบบไม่มีน้ำตาลหรือทำทานเองได้จะดีที่สุด แต่เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูงแต่กับมีคุณค่าทางอาหารไม่สูงเหมือนราคา จึงอาจจะไม่จำเป็นต่อร่างกายมากนัก  ผู้ป่วยสามารถทานอย่างอื่นทดแทนได้ เช่น นม น้ำผลไม้ธรรมชาติ เป็นต้น 1.9 รับประทานซุปไก่สำเร็จรูปได้หรือไม่? ตอบ ผู้ป่วยเบาหวาน ทานได้หากไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เพราะซุปไก่สำเร็จรูปมีราคาสูง อาจจะใช้รับประทานเพื่อให้ได้โปรตีนในมื้ออาหาร เมื่อมีอาการเจ็บป่วยและรับประทานอาหารปกติไม่ลงซุปไก่สำเร็จรูปเป็นโปรตีนที่ย่อยแล้วอยู่ในรูปเพปไทด์แม้ว่าจากการวิเคราะห์คุณค่าอาหารจะพบว่าเทียบเท่ากับไข่ครึ่งฟองเพียงเท่านั้น แต่โปรตีนในซุปไก่สำเร็จรูปสามารถย่อยได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการย่อยโปรตีน 1.10 จะดื่มน้ำส้มร่วมกับอาหารมื้อเช้าได้หรือไม่? ตอบ สามารถดื่มได้ โดยปกติน้ำส้มจะใช้เมื่อ ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงเพราะสามารถหาได้ง่ายและร่างกายดูดซึมได้อย่างรวดเร็วแต่ทั้งนี้การทานผลไม้สดๆจะให้ผลประโยชน์ที่ดีกว่าการนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ 1.11 น้ำแครอตมีประโยชน์อย่างไร ต้องจำกัดปริมาณการบริโภคหรือไม่? ตอบ แครอตเป็นพืชที่มีสารเบตาแคโรทีนสูงช่วยในการมองเห็นในที่มืดช่วยให้สุขภาพผิวพรรณดีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและที่สำคัญ คือป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้ทำปฏิกิริยาทำลายส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดแต่ในแครอทจะมีคาร์โบไฮเดรตรวมอยู่ด้วย จึงควรทานในปริมาณที่เหมาะสม หากทานมากเกินไป จะทำให้ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น หากไม่ลดปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 1.12 การดื่มนมโคทำให้เป็นโรคเบาหวานจริงหรือไม่? ตอบ ข้อนี้แม้จะยังไม่มีผลวิจัยไหนที่รองรับ แต่ทางแพทย์ได้แนะนำสำหรับครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ว่าควรเลี้ยงทารกด้วยนมแม่จะดีที่สุด เพราะจะช่วยป้องกันเบาหวานในเด็กได้นอกจากนี้ นมวัวมีโปรตีนที่ย่อยยากกว่านมแม่ แล้วยังขาดธาตุเหล็กอีกด้วยซึ่งอาจส่งผลให้เด็กเป็นโรคโลหิตจางได้ รวมทั้งยังอาจทำให้เด็กแพ้นมวัวได้อีกด้วย>> ปริมาณอาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นแบบไหน มาดูกันค่ะ เรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆในการทานอาหารเพื่อรักษาโรคเบาหวาน 2.1 เคยได้ยินโฆษณาว่าน้ำตาลฟรักโทสสามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้จริงหรือไม่? ตอบ ฟรักโทสหรือน้ำตาลผลไม้ เป็นรูปแบบน้ำตาลจากธรรมขาติ ให้ความหวานสูงโดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของฮอร์โมสอินซูลิน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้อยกว่าการรับประทานน้ำตาลทรายแต่ในที่สุดร่างกายก็จะเปลี่ยนฟรักโทสไปเป็นกลูโคสเช่นกัน ระดับกลูโคสในเลือดจึงสูงขึ้นช้ากว่าการรับประทานน้ำตาลทราย ฟรักโทสให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทราย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีจึงไม่ควรรับประทานฟรักโทส แต่ในผู้ป่วยที่ควบคุมได้ดีอาจใช้ฟรักโทสได้เล็กน้อยเป็นครั้งคราวแต่สิ่งที่ดีที่สุดคือเลี่ยงอาหารรสหวานนั้นเอง 2.2 เคยมีข่าวว่าผู้ป่วยเบาหวานจะใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลได้ แต่ทำไมข่าวคราวจึงเงียบไป? ตอบ หญ้าหวานเป็นพืชที่หวานกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า และไม่ก่อให้เกิดพลังงาน จากการทดสอบและทดลองพบว่า สารให้รสหวานสตีวิโอไซด์ที่สกัดจากหญ้าหวาน  เมื่อฉีดเข้าไปในตัวหนูขาวแล้ว มีความเป็นพิษต่อไตของหนูขาวและยังมีฤทธิ์กลายพันธุ์ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งจากการทดลองก็นับว่ายังไม่ปลอดภัยที่จะนำหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาล 2.3 น้ำมันปลา Fish Oil ช่วยลดระดับไขมันได้จริงหรือ ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานหรือไม่? ตอบ น้ำมันปลาเป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเนื้อปลาทะเลหลายชนิด บรรจุในรูปของแคปซูลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานน้ำปลาไปข้อดีคือ จะช่วยรักษาภาวะไขมันไทรกลีเซอไรด์สูงในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกันคือ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลเป็นปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานประเภทไม่พึ่งอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรรับประทานน้ำมันปลาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เพราะอาจเกิดผลเสียต่อการควบคุมเบาหวานได้ 2.4 สมุนไพรรักษาเบาหวานได้ไหม? ตอบ ปัจจุบันยังไม่สามารถใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันได้ในการรักษาเบาหวานได้ แต่หากทานไปก็ไม่มีโทษอะไร หลายสมุนไพร เช่น  มะระไทย หอมใหญ่  เป็นอาหารที่ทานกันประจำอยู่แล้ว  สมุนไพรบางชนิดอาจจะมีสรรพคุณที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากทางการแพทย์ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานห้ามหยุดยาที่ได้จากแพทย์ควรทานต่อเนื่อง...
- เบาหวาน

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวานที่พบบ่อย

0
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาล ( กลูโคส ) ในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป  เราได้นำคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ จากผู้ป่วยโรคเบาหวานพร้อมทั้งคำตอบเพื่อเป็นความรู้และแนวทางในการดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวานโดยแบ่งเป็นข้อๆดังนี้ >> การตรวจเบาหวานสามารถทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ >> การตรวจสุภาพประจำปีมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร มาดูกัน คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน ? ตอบ : อาการสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อย   คอแห้ง กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย หิวบ่อย รับประทานจุ เป็นต้นแต่ก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ตรวจพบโรคเบาหวานโดยบังเอิญโดยพบจากการตรวจร่างกายประจำปี เกณฑ์ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน คือ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ว่าจะเป็นเวลาใดเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน ถาม : การตรวจระดับน้ำตาล ควรเจาะเลือดเวลาใดจึงจะดีที่สุด ? ตอบ :การตรวจรับดับน้ำตาลในเลือดควรตรวจเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า จะดีที่สุด ซึ่งค่าที่ได้อกมาต้องไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิเบล ส่วนผู้มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว สามารถตรวจได้ทุกเวลาแต่หากรับประทานอาหารแล้วมักจะเจาะเลือดตรวจหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถาม : ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่าไรจึงถือว่าเป็นอันตราย ? ตอบ : ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติไม่ว่าจะเท่าใดก็ตามเป็นอันตราย ไม่ควรปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ถาม : โรคเบาหวานเป็นแล้วมีโอกาสหายหรือไม่ ? ตอบ : โรคเบาหวานหากเป็นแล้วจะไม่หายขาด เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะเป็นไปจนตาย หากผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในค่าปกติ ก็สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป ถาม : พ่อแม่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ทำไมบุตรจึงเป็นโรคเบาหวานได้ ? ตอบ : โรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมเพียงอย่างเดียว สามารถเกิดจากได้สาเหตุ เช่น ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรงหรือได้รับการผ่าตัด การตั้งครรภ์ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด การมีอายุที่มากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งสิ้น ถาม : ถ้าแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โอกาสที่บุตรในครรภ์จะเป็นเบาวานด้วยมีมากเท่าใด ? ตอบ :  ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันการติดโรคเบาหวานจากแม่สู่ลูกในครรภ์ แต่หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานถ้าควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี โอกาสที่บุตรในครรภ์จะมีความผิดปกติก็สามารถเกิดขึ้นได้ ถาม : ลูกคนที่คลอดมาหลังจากแม่เป็นโรคเบาหวานแล้ว มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่คลอดก่อนแม่เป็นโรคเบาหวานหรือไม่? ตอบ : ยังไม่มีรายงานชัดเจนเช่นกัน แต่ทุกคนที่มีบิดาและหรือมารดาเป็นโรคเบาหวานล้วนแต่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าบุคคลอื่นทั้งสิ้น ถาม : เมื่อฉีดอินซูลินแล้วมีโอกาสกลับมาใช้ยารับประทานได้หรือไม่ ? ตอบ : สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แบบพึ่งอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาทานได้ ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 ถ้าใช้อินซูลินเนื่องจากดื้อยารับประทานแล้วหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจนเกิดไตวายก็ไม่สามารถกลับมาใช้ยารับประทานได้อีก เนื่องจากยารับประทานถูกขับถ่ายออกทางไตจะทำให้ไตทำงานหนักยิ่งขึ้น ถาม : ถ้าลืมฉีดอินซูลินตอนเช้าจนบ่าย ควรทำอย่างไร ? ตอบ : ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาใหม่สำหรับวันนั้นไม่ควรฉีดเหมือนเดิมปกติในช่วงบ่าย เนื่องจากระดับอินซูลินที่ออกฤทธิ์สูงสุดจะไปตรงกับช่วงกลางคืน อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่ายเนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่ได้รับประทานอาหาร ถาม : ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ต้องรับประทานก่อนอาหารสามารถเปลี่ยนมารับประทานหลังอาหารแทนได้หรือไม่? ตอบ : หากทานหลังอาหารประสิทธิภาพของยาจะลดลงมีผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดน้อยลง เนื่องจาก ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดจะดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานก่อนอาหารเท่านั้น ถาม : คนที่ใช้ยาฉีดอินซูลินแสดงว่าถึงขั้นสุดท้ายแล้วใช่หรือไม่ ? ตอบ : คนที่ฉีดอินซูลินไม่ได้แสดงว่าถึงขั้นสุดท้าย แต่เป็นทางเลือกชนิดหนึ่งที่แพทย์จะใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ ถาม : หากเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังแล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ? ตอบ : ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังเนื่องจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะไม่สามารถรักษากลับให้ดีดังเดิมได้ ถาม : เวลามีน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่ ? ตอบ : การออกกำลังกายสามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ เหมาะสำหรับผู้ที่คุมระดับของโรคเบาหวานได้ดีเท่านั้น แต่หากผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังขาดอินซูลิน การออกกำลังกายจะยิ่งไปช่วยใช้ทำให้ระดับอินซูลินลดต่ำลงไปอีก ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ถาม : ควรออกกำลังกายก่อนหรือหลังอาหาร ? ตอบ : ควรออกกำลังกายหลังทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไปเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อาหารกำลังถูกย่อยสลาย ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น การออกกำลังกายจะไปช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายตอนเช้าก่อนอาหารในคนที่คุมเบาหวานได้ดี ควรทานอะไรรองท้องไว้สักหน่อย เพราะการออกกำลังกายจะไปลดระดับน้ำตาลในเลือดลงจนอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถาม :...