ขนมขบเคี้ยวอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร
ขนมขบเคี้ยวเป็นอาหารที่กินระหว่างมื้อซึ่งไม่ใช่มื้อหลัก และไม่ใช่กับข้าว มีทั้งขึ้นรูปและแปรรูปทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ เป็นได้ทั้งของหวานหรือของคาว

ขนมขบเคี้ยว

ขนมขบเคี้ยว (Snack food) คือ อาหารที่กินระหว่างมื้อซึ่งไม่ใช่มื้อหลัก และไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งต่าง ๆ หรือข้าว นํ้าตาล เกลือ ไขมัน ผงชูรส แต่งกลิ่น รสหวาน มัน เค็ม และสี มีทั้งขึ้นรูปและแปรรูปทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ เป็นได้ทั้งของหวานหรือของคาว ได้แก่ มันฝรั่งทอด ลูกอมลูกกวาด ช็อกโกแลต คุกกี้ หมากฝรั่ง เนื้อปลาและปลาหมึก ถั่ว สาหร่าย ข้าวเกรียบกุ้ง และข้าวโพดอบกรอบ และของหวานที่เคี้ยวได้ต่าง ๆ เช่น นมอัดเม็ด ซึ่งมักกินเพื่อลดความหิว ความอร่อย หรือ เพิ่มพลังงาน คลายเคลียด

ประวัติของ ขนมขบเคี้ยว

ขนมขบเคี้ยว พบได้ในวัฒนธรรมตะวันตก ในรูปแบบของอาหารที่ไม่ใช่อาหารที่เป็นมื้อหลักของวัน แต่หมายถึงอาหารที่มีไว้เพื่อระงับความหิวระหว่างมื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายเล็กน้อย

ประเภทของขนม

1. ขนมไทย
2. ขนมขบเคี้ยวหรือ สแน็ก
3. ขนมหวาน
4. ขนมเค้ก
5. ขนมปัง

โทษของขนมขบเคี้ยว

1. โรคอ้วน และฟันผุ ขนมขบเคี้ยวบางชนิดมีรสหวานเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วไม่มีการเผาผลาญ กลูโคสในน้ำตาลจะแปรสภาพเป็นไขมันและเกาะตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้อ้วนได้ และน้ำตาลยังเป็นสาเหตุของฟันผุอีกด้วย
2. ไขมันอุดตันในเลือด โดยไขมันที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะการเกิดลิ่มเลือด และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสำหรับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายบ่อยๆ
3. เบื่ออาการ เด็กที่ชอบรับประทานขนมขบเคี้ยวเป็นประจำ เมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ จะชิดกับรสเค็ม หวานจากขนมจะทำให้เบื่ออาหาร ส่งผลให้ไม่ได้รับสารอาหารตามโภชนาการ และเกิดการขาดสารอาหาร
4. โรคไต ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่จะมีการเติมเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติ มีทั้งการแต่งสี กลิ่นและใส่ผงชูรส ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปมากไตจะทำงานหนัก และถ้าบริโภคต่อเนื่องจะทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในตับและไตและทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
5. โรคความดันโลหิตสูง ขนมขบเคี้ยวจำพวกช็อกโกแลตหรือขนมอบเคลือบช็อกโกแลต มีสารเฟนิลไธลามิน ธีโอโบรไมน์ และกาเฟอีน ซึ่งรับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควนทานช็อกโกแลตแท้ หรือ Dark chocolate แทน

ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ

1. ผลไม้อบแห้ง อาทิ ฟักทองอบแห้ง แครอทอบแห้ง สับปะรดอบแห้ง กล้วยอบแห้ง ลูกพรุนอบแห้ง จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตตามินซี และกากใยอาหารช่วยเรื่องระบบขับถ่าย พกพาสะดวก สามารถรับประทานได้ทุกที
2. นมอัดเม็ด นมอัดเม็ดเป็นขนมขบเคี้ยวทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนนมของเด็กที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งตอนนี้ขนมชนิดนี้ได้มีวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป อร่อย เคี้ยวเพลิน ได้แคลเซียมสูง
3. ปลาเส้นหรือปลาสวรรค์ มีโปรตีนและวิตามินเป็นส่วนประกอบ เป็นขนมขบเคี้ยวที่มีโทษน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับขนมขบเคี้ยวในปริมาณ และต้องเลือกยี่ห้อที่ใช้การอบแทนการทอดรวมทั้งมีโซเดียมต่ำ
4. อัลมอนด์อบกรอบ เป็นขนมขบเคี้ยวที่อร่อยมีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ วิตามิน โปรตีนและกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มไขมันดี HDL และลดระดับไขมันไม่ดี LDL
5. ป็อบคอร์นไขมันต่ำ ให้พลังงานสูงแต่ไขมันต่ำมีวิตามินบี 1 วิตามินบี2 วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ

ข้อควรปฏิบัติในการเลือกขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ

1. เลือกขนมที่ใช้สีที่มาจากธรรมชาติ
2. ขนมอบกรอบที่น้ำตาลน้อย และไม่เค็มเกินไป
3. ไม่ควรรับประทานขนมขบเคี้ยว หรือขนมหวานแทนอาหารหลัก
4. ควรจำกัดปริมาณขนมขบเคี้ยว ขนมทานเล่นให้เหมาะสม

ขนมขบเคี้ยวถือเป็นอาหารว่างที่มีมาตั้งแต่เด็กจนโต เป็นอาหารที่ทานได้เพลินๆไม่เฉพาะแต่เด็กๆ ที่ชื่นชอบ เพราะผู้ใหญ่วัยทำงานหลายๆ คนก็ซื้อหาขนมติดตัวเพื่อช่วยประทังความหิว ตามท้องตลาดทั่วไปมีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย ดังนั้นควรรับประทานแต่น้อย และออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเผาผลาญให้มากขึ้น เลือกบริโภคขนมที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

บทความที่เกี่ยวข้อง