ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหารในร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย

โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการขาดหรือได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไปจึงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึม รวมถึงการขับถ่ายด้วย ซึ่งในปัจจุบันนักวิชาการก็ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และพบว่าการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหาร สามารถเป็นไปได้ 2 แบบคือ

1.แบบเสริมคุณสมบัติกัน ซึ่งจะมีการนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

2.แบบขัดขวางกัน ซึ่งจะทำให้การนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพลดลง

นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของสารอาหากต่างๆ ก็ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และทราบถึงผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพได้อีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ภายในของสารที่ให้พลังงาน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย สารอาหารที่จะให้พลังงานกับร่างกายได้ดี คือ ไขมัน โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยส่งเสริมให้ไขมันถูกเผาผลาญได้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้มีการดูดซึมโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้การเผาผลาญไขมันไม่สมบูรณ์และเกิดสารคีโตนบอดี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นตัวการที่จะทำให้กรดในร่างกายสูงขึ้น และหากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันน้อยกว่าปกติ ก็จะมีการนำเอาโปรตีนออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน และเนื่องจากกระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูง จึงทำให้ต้องสูญเสียพลังงานจากอาหารไปอย่างเปล่าประโยชน์นั่นเอง และนอกจากนี้ยังทำให้โปรตีนไม่พอที่จะใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรออีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและโปรตีน 

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจะสามารถใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอด้วย เพราะพลังงานจะทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมโปรตีนได้นานขึ้น และช่วยลดการสูญเสียโปรตีนให้น้อยลงได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่ร่างกายขาด ทั้งโปรตีนและพลังงาน ก็จะมีการดึงเอาโปรตีนที่สะสมอยู่ออกมาใช้ จึงทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายที่ต้องใช้โปรตีน มีประสิทธิภาพและการทำงานที่ด้อยลงเช่นกัน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและวิตามิน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย พลังงานที่ได้รับกับวิตามินบีหนึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่าหากมีการบริโภคโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงานในปริมาณมาก ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าวิตามินจะทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการช่วยเผาผลาญโปรตีนในร่างกายนั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและแร่ธาตุ

แร่ธาตุและวิตามินมีความสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยหลายตัวให้ทำปฎิกิริยาการเกิดพลังงานได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและไกลโคเจนอีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ภายในของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนจำเป็นและชนิดไม่จำเป็น มีอิทธิพลต่อกันเอง กล่าวคือ หากมีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นในปริมาณมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ร่างกายต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่น้อยลง เป็นผลให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นชนิดนั้นในปริมาณที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้การได้รับกรดอะมิโนบางตัวสูงมาก ก็จะส่งผลให้เกิดการใช้กรดอะมิโนบางตัวได้น้อยกว่าปกติอีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและวิตามิน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกรดอะมิโนและวิตามินโดยใช้ลูกไก่ในการทดลอง ซึ่งพบว่าเมื่อมีการเติมเมไทโอนีนลงไปในอาหารที่ไม่มีวิตามินบีสิบสอง จะทำให้ลูกไก่มีการเจริญเติบโตได้ดีไม่ต่างกับอาหารที่มีวิตามินบีสิบสองอยู่ จึงได้ข้อสรุปว่า เมไทโอนีนน่าจะให้เมธิลกรุ๊ปที่จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินบีสิบสองได้นั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและแร่ธาตุ

ธาตุและสารประกอบในร่างกายแร่ธาตุบางตัวจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหลักๆ ของกรดอะมิโน เช่น ซีลทีน ซีสเทอีน เป็นต้น ซึ่งการทานอาหารจำพวกโปรตีนมากๆ นั้น ก็จะช่วยให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้หากร่างกายได้รับซีลีเนียมในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีลทีน ซีสเทอีนและเมไทโอนีน จนทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้กรดอมิโนทั้ง 3 ตัวนี้ได้นั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไขมันและแร่ธาตุ 

การที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจะเกิดการรวมตัวกันระหว่างไขมันและแคลเซียมจนก่อให้เกิดสารประกอบชนิดหนึ่งที่ไม่ละลาย และไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ แต่จะเกิดการดูดซึมฟอสฟอรัสมากขึ้นบริเวณของลำไส้แทน

ปฏิสัมพันธ์ภายในของวิตามิน 

โดยปกติแล้วธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินที่มีความสมดุลกันอยู่เสมอ หากขาดวิตามินบางตัวไปก็จะทำให้เกิดผลกระทบมากมายตามมาได้ เช่น การขาดวิตามินบีสิบสอง จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเชียสได้ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับโฟลาซินเสริมเข้าไปเช่นกัน นอกจากนี้หากมีวิตามินบีสิบสองและโฟลาซินอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย
ส่วนการขาดวิตามินบี 6 จะส่งผลให้เกิดการดูดซึมวิตามินบีสิบสองได้น้อยลงกว่าเดิม และหากขาดวิตามินอี ก็จะทำให้การเก็บวิตามินเอในร่างกายลดลงไปด้วย หรือการมีอยู่ของวิตามินอีและซีที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการรบกวนการใช้วิตามินเอของร่างกายได้เช่นกัน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ 

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ ถึงแม้ว่าแร่ธาตุและวิตามินบางตัวจะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่แร่ธาตุบางชนิดก็จำเป็นต้องมีวิตามินเพื่อเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้การทำงานเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยมีปฏิสัมพันธ์ดังนี้

1.วิตามินอีกับซีลีเนียม
จากการศึกษาที่ผ่านมาได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า วิตามินอีและซีลีเนียมสามารถเสริมภูมิคุ้นกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้ โดยวิตามินอีจะทำหน้าที่ในการเสริมภูมิต้านทานโดยตรง ส่วนซีลีเนียมก็จะทำหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( Glutathione Peroxidade, GSHPx ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั่นเอง นอกจากนี้พบว่าหากร่างกายได้รับอาหารที่มีซีลีเนียมและวิตามินอีต่ำ ก็จะทำให้การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ด้อยประสิทธิภาพลงไปด้วย
จากภาวะดังกล่าวที่การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดสลดต่ำลง ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายเช่นกัน โดยจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความอ่อนแอ จึงต้านทานการติดเชื้อและโรคร้ายต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการป่วยได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน หากได้รับซีลีเนียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยเสริมให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น และทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินอีก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในลักษณะเดียวกันได้เช่นกัน

2.วิตามินดีกับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
วิตามินและแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ต่างมีความสัมพันธ์และจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเสมอ โดยวิตามินดีจะช่วยในการจับเกาะของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก พร้อมทั้งควบคุมระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดไม่ให้ต่ำจนเกินไป และช่วยให้มีการดูดซึมบริเวณลำไส้ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่มีวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัสก็อาจถูกขับออกจากร่างกายไปหมดจนทำให้ร่างกายเกิดการขาดได้นั่นเอง

3.วิตามินซีกับเหล็ก
วิตามินซี มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กที่ร่างกายได้รับจากอาหาร และทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเหล็กที่เป็นเฟอริคให้กลายเป็นเฟอรัสที่สามารถดูดซึมได้ง่ายและดีกว่า นอกจากนี้พบว่าหากมีการทานวิตามินซีเป็นอาหารเสริมวันละ 280 มิลลิกรัม ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากกว่าเดิมเป็นสองเท่าเลยทีเดียว หรือหากมีการแบ่งทานวิตามินซีในปริมาณดังกล่าวตามมื้ออาหาร ก็จะทำให้อัตราการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายเพิ่มมากขึ้นไปอีก

4.วิตามินเอและวิตามินซีกับแคลเซียม
วิตามินเอและวิตามินซีเมื่อทำงานร่วมกัน หรือได้รับในปริมาณ สัดส่วนที่มีความเหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

5.วิตามินเอกับสังกะสี
จากการศึกษาพบว่า หากร่างกายได้รับสังกะสีในปริมาณที่น้อยเกินไปจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างได้ แม้ว่าจะได้รับวิตามินเออย่างครบถ้วนก็ตาม เช่น การมองเห็นด้อยลง โดยเฉพาะการมองในที่ที่มีแสงสลัวๆ หรือความมืด นอกจากนี้ก็พบว่าน้ำย่อย แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนวิตามินเอให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็มีสังกะสีประกอบอยู่ในน้ำย่อยเช่นกัน ดังนั้นวิตามินและแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จึงมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างมาก

6.วิตามินเอกับเหล็ก
จากการทดลองพบว่า วิตามินเอมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดเช่นเดียวกับเหล็ก ดังนั้นการทำงานร่วมกันระหว่างวิตามินเอและเหล็ก จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเม็ดเลือดได้อย่างดีเยี่ยม

ปฏิสัมพันธ์ภายในของแร่ธาตุ 

สำหรับปฏิสัมพันธ์ในส่วนของแร่ธาตุด้วยกันเอง ส่วนมากจะเป็นในรูปของการขัดขวางกันมากกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดการนำแร่ธาตุบางชนิดไปใช้ประโยชน์ได้น้อยลง โดยสาเหตุส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะ ร่างกายได้รับแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งสูงเกินไป จึงไปขัดขวางการดูดซึมของแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแร่ธาตุชนิดนั้นตามมาได้นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งหากมีแคลเซียมในปริมาณน้อยก็จะทำให้ฟอสฟอรัสขาดความสมดุลไปด้วย และหากได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ก็จะได้รับแมกนีเซียมสูงขึ้นไปด้วย และแมกนีเซียมนี่เองที่จะไปขัดขวางการดูดซึมของฟอสฟอรัส จนทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสต่ำมากหรืออาจขาดได้ และในขณะเดียวกัน หากมีฟอสฟอรัสสูงกว่า ก็จะทำให้แมกนีเซียมถูกดูดซึมน้อยลงจนถึงขั้นขาดได้เหมือนกัน
ส่วนอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ก็จะขัดขวางการดูดซึมของเหล็ก สังกะสี แคลเซียมและแมกนีเซียม เนื่องจากจะเกิดการรวมของฟอสเฟตจนเกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลาย และไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุดังกล่าวโดยตรง
หรือการทานอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการแมงกานีสสูงขึ้น และแมงกานีสที่มีมากเกินไป ก็จะไปลดปริมาณของเหล็กที่ถูกเก็บไว้ให้เหลือน้องลงเช่นกัน
นอกจากนี้ จากการวิจัยก็พบว่าฟลูออรีน จะสามารถเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมและทำให้กระดูกมีความแข็งแรงขึ้นได้

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแร่ธาตุเหล็กและสังกะสี โดยมีบทบาทต่อภาวะโภชนาการของคนดังนี้

1.เหล็กที่อยู่ในรูปของเฟอรัส จะสามารถขัดขวางการดูดซึมสังกะสีได้มากกว่าเหล็กที่อยู่ในรูปเฟอริค

2.วิตามินซีมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเหล็ก แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดการขัดขวางการดูดซึมสังกะสีได้อีกด้วย

3.เหล็กและสังกะสีจะมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอ นั่นคือ หากในภาวะที่ร่างกายขาดเหล็กและมีการดูดซึมเหล็กมากขึ้น จะมีการดูดซึมสังกะสีน้อยลง แต่เมื่อร่างกายได้รับเหล็กอย่างเพียงพอ ก็จะมีการดูดซึมเหล็กน้อยลง และเกิดการดูดซึมสังกะสีมากขึ้นแทน เนื่องจากไม่มีการรบกวนการดูดซึมของสังกะสีนั่นเอง

4.ในการเสริมเหล็กลงไปในอาหารประเภทนม ยาเม็ดหรืออาหารเสริม จะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึมของแร่ธาตุสังกะสีได้ โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้อีกด้วย หรือในหญิงตั้งครรภ์ที่ทานยาเม็ดเสริมเหล็ก ก็อาจมีผลกระทบต่อการเติบโตของทารกเนื่องจากขาดสังกะสีได้
ส่วนการได้รับโซเดียมและโปแตสเซียมในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหัวใจและไต ดังนั้นจึงควรกินอาหารที่มีโซเดียมควบคู่ไปกับผักผลไม้อย่างพอเหมาะเพื่อให้ได้รับแร่ธาตุทั้งสองชนิดอย่างสมดุลกัน และเกิดการทำงานเสริมกันที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.