เทคนิคควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยวิธีง่าย ๆ
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยากหรือซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายสามารถทำได้โดยการตั้งเป้าหมายที่เป็นจริง และทำตามขั้นตอนที่ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเลือกอาหารที่มีประโยชน์และลดการบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดและขนมหวาน นอกจากนี้ การเพิ่มการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินหรือทำกิจกรรมที่ชอบ จะช่วยให้การควบคุมน้ำหนักเป็นเรื่องที่สนุกและง่ายดายขึ้น
>> การหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> อาหารลดน้ำหนักแบบไหนที่เหมาะกับสุขภาพของ
สำหรับการดูว่ารูปร่างของตัวเองอยู่ในระดับที่พอดีแล้วหรือยัง ก็สามารถดูได้จากดัชนีมวลกาย ( BMI ) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
BMI = น้ำหนัก ( กิโลกรัม ) หารด้วยส่วนสูง ( เมตร )2
เมื่อได้ผลลัพธ์จากการคำนวณตามสูตรแล้ว ก็ให้เอามาแปลผล ดังนี้
ถ้า BMI ต่ำกว่า 19 หมายความว่า รูปร่างผอม
ถ้า BMI 20-24.9 หมายความว่า รูปร่างพอดี สมส่วน
ถ้า BMI 25-29.9 หมายความว่า อ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน
ถ้า BMI 30 ขึ้นไป แสดงว่าอ้วนถึงขนาดที่เรียกว่า โรคอ้วน
เมื่อพบว่ามีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือเข้าข่ายที่เรียกว่าอ้วน ควรรีบทำการลดน้ำหนักในทันที โดยให้ลดแบบค่อยเป็นค่อยไป และใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมานั่นเอง
วิธีการลดน้ำหนักที่เหมาะสม
1.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยลดพลังงานจากอาหาร
ความอ้วน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องลดความอ้วนด้วยการลดพลังงานจากอาหารในแต่ละวันให้น้อยลง โดยสามารถทำได้ด้วยการจำกัดอาหารพลังงานสูง จำกัดอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ลดปริมาณน้ำตาลให้น้อยลงหรืออาจใช้น้ำตาลเทียมแทนก็ได้ นอกจากนี้ควรเน้นเพิ่มผักผลไม้และอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้นด้วย
2.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายก็จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี เพราะเป็นการเพิ่มการใช้พลังงานให้มากขึ้นนั่นเอง โดยแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเดินหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 20-30 นาที เป็นประจำทุกวัน
3.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้มีการซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ และยังช่วยลดความรู้สึกหิวได้ดีอีกด้วย โดยทั้งนี้ควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เท่านี้การลดน้ำหนักก็จะไม่ยากจนเกินไปแล้ว
4.ทานยาอาหารเสริมลดน้ำหนัก
สามารถใช้ยาอาหารเสริมลดน้ำหนักเป็นตัวช่วยได้แต่จะต้องเลือกอาหารเสริมที่เป็นสมุนไพรเท่านั้น และทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งอาหารเสริมที่จะช่วยในการลดน้ำหนักได้ดี ก็คือ บุก สารสกัดจากผลส้มแขก โครเมียม สารสกัดจากพริก สารสกัดจากชาเขียวและสารสกัดจากเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น และที่สำคัญก่อนซื้อก็ควรดูด้วยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวมีเครื่องหมาย อย. หรือไม่ นั่นก็เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณนั่นเอง
5.รู้จักยับยั้งชั่งใจ
และที่สำคัญเลย ก็คือการรู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้ตัวเองเผลอทานอาหารมากเกินความจำเป็น ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ก็อาจต้องใช้ความพยายามพอสมควร โดยเฉพาะคนที่ตามใจปากจนติดเป็นนิสัย
โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วน ก็ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคนิ่วในถุงน้ำดีนั่นเอง
วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัว
1. ควบคุมสัดส่วนและปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มให้พอเหมาะแต่ละวัน
2. กินอาหารเช้าทุกวัน
3. กินอาหารพออิ่มในแต่ละมื้อ
4. กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป
5. กินผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานมาก
6. กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารมันจัด
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9. ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
ผลเสียของการมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
โดยเหตุผลที่เราควรลดน้ำหนักทันทีเมื่อพบว่าน้ำหนักเกิน หรือต้องรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีอยู่เสมอนั้น ก็เป็นเพราะการมีน้ำหนักตัวเกินจะนำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากมายนั่นเอง โดยโรคร้ายที่มักจะพบบ่อยจากการเป็นโรคอ้วนก็ได้แก่
1. โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป ซึ่งก็อาจทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเป็นไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ในที่สุด
2. โรคหัวใจ อีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินก็จะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้ได้มากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ
3. โรคเบาหวาน แน่นอนว่าเมื่อเป็นโรคอ้วน ก็มักจะเป็นเบาหวานตามมาด้วยเสมอ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการทานน้ำตาลหรือของหวานมากเกินไป และผลจากความอ้วนที่ทำให้อินซูลินมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงทำให้เป็นเบาหวานได้นั่นเอง ทั้งนี้โรคเบาหวานเมื่อเป็นแล้วก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังมีความอันตรายเป็นอย่างมากอีกด้วย
4. โรคข้อกระดูกเสื่อม เพราะร่างกายต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอยู่เสมอ จึงอาจทำให้ข้อกระดูกเกิดการเสื่อมสภาพได้
เปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันด้วยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาที่จะควบคุมน้ำหนักของตนเองได้อย่างเต็มที่มากนัก ก็สามารถเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันให้กลายเป็นการลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีได้ไม่ยาก โดยมีวิธีดังนี้
1. ตื่นนอนเร็วกว่าเดิม
การตื่นนอนเร็ว จะทำให้เรามีเวลาทำอะไรต่ออะไรมากขึ้น พร้อมทั้งได้เคลื่อนไหวร่างกายในหนึ่งวันมากกว่าเดิมจึงสามารถลดน้ำหนักได้ดี
2. เดินขึ้นลงบันไดแทนลิฟท์
การเดินขึ้นลงบันไดสามารถช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นมาเดินขึ้นลงบันไดแทนลิฟท์กันดีกว่า
3. ทำอาหารกลางวันเอง
ควรทำอาหารเพื่อห่อไปกินกลางวันด้วยตัวเองจะดีกว่า เพราะจะได้เลือกวัตถุดิบและควบคุมเครื่องปรุงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ แถมยังมั่นใจได้ถึงความสะอาด ปลอดภัยอีกด้วย
4. ทำงานบ้าน
การทำงานบ้านก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดี เพราะร่างกายได้เคลื่อนไหวอยู่เสมอ...
โรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่คุณคาดไม่ถึง
โรคอ้วน
โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight ) เป็น โรคเรื้อรังที่มีตัวกำหนดคือไขมันส่วนเกินในร่างกายเห็นได้ชัดอ้วนลงพุง เส้นรอบเอวสำเกิน 36 นิ้ว แม้ว่าไขมันจะจำเป็นต่อร่างกายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ แต่โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศไทย จากสถิติพบว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคอ้วนสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และโรคมะเร็ง เป็นต้น
สาเหตุของโรคอ้วน
โดยทั่วไปแล้วความอ้วนมักเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมนบางอย่าง ความเครียด การนอนหลับที่ไม่ดี และที่สำคัญการกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลใน
ปริมาณมากเป็นประจำ เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทนี้จะต้องมีการเผาผลาญโดยการออกกำลังกาย แต่ในปัจจุบันทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายจึงทำให้ไขมันไม่ดีถูกสะสมอยู่ในร่างกายและพัฒนาเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต
การวินิจฉัยโรคอ้วน
แพทย์จะวินิจฉัยโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินตามประวัติทางการแพทย์ที่มีการตรวจร่างกาย
1. การวัดค่าดัชนีมวลกายสูง ( BMI ) สำหรับผู้ใหญ่ค่าดัชนีมวลกายจะอยู่ที่ 18.5 - 22.9 ถือว่าน้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. วัดเส้นรอบวงรอบเอว หากมากกว่า 35 นิ้ว แสดงถึงปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้องซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน
3. การประเมินน้ำหนักตัวของคุณ
4. การตรวจเลือดเพื่อหาสารตะกั่ว ตรวจต่อมไทรอยด์วัดระดับฮอร์โมน อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้
5. การตรวจอุลตร้าซาวด์เชิงกราน เพื่อตรวจหาสาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่และซีสต์ได้ อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้
>> อาหารลดน้ำหนักแบบไหนที่เหมาะกับสุขภาพของคุณ อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ข้อมูลโภชนาการอาหารบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ
แพทย์จะใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคอ้วน จากความผิดปกติอย่างน้อย 3 ข้อใน 5 ข้อ ต่อไปนี้
ผู้ชายอ้วนลงพุง จะต้องมีเส้นรอบเอว ≥ 90 เซนติเมตร หรือผู้หญิงอ้วนลงพุงมีเส้นรอบเอว ≥ 80 เซนติเมตร
ผู้ชายและผู้หญิง มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มก./ดล.
ผู้ชาย มีระดับ ( HDL ) คอเลสเตอรอล ชนิด HDL < 40 มก./ดล. หรือในผู้หญิง < 50 มก./ดล.
ผู้ชายและผู้หญิงมีความดันโลหิต ≥ 130/85 มม.ปรอท หรืออยู่ระหว่างการรับประทานยาลดความดันโลหิต
ผู้ชายและผู้หญิงมีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥ 100 มก./ดล.
การรักษาโรคอ้วน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาโรคอ้วนได้อย่างถาวร หากความอ้วนมีความรุนแรงของอาการมากขึ้นอาจต้องใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักที่ถูกต้องและปลอดภัย เช่น การคุมอาหารที่ให้พลังงานสูง กำหนดเป้าหมายการออกกำลังหรือทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย เช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ฟิตเนส อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับที่ดีสามารถรักษาช่วยลดน้ำหนักได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนโรคอ้วน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน ได้แก่
1. โรความดันโลหิตสูง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่อ้วนอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.9 เท่า
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบอันตรายจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้น แม้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์
3. โรคมะเร็งบางชนิด เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบการเสียชีวิตในเพศชายประมาณ 1.3 เท่า และเพศหญิงประมาณ 1.6 เท่า
4. โรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค 3 - 4 เท่า
5. โรคตับอักเสบจากไขมันสะสม เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วน พบร้อยละ...
โรคอ้วนสาเหตุความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้หญิง
โรคหัวใจในผู้หญิง
จากสถิติการเสียชีวิตของผู้หญิงด้วยโรคหัวใจในแต่ละปี พบว่ามีไม่ต่ำกว่า 500,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งก็พบว่ามากกว่าการตายจากโรคมะเร็งทุกประเภทรวมกันซะอีก ดังนั้นจึงต้องให้ความใส่ใจกับโรคหัวใจในผู้หญิงมากขึ้น โดย ในปัจจุบันก็พบว่ามีผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจโดยตรงไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ และหลายคนก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายประเด็นอีกด้วย
ความจริงคืออะไร ?
ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจในผู้หญิง มีจำนวนมากกว่าผู้ชายเสมอ
หลายคนเข้าใจว่าโรคหัวใจในผู้หญิง จะเป็นเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินและปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ
จากการสำรวจพบว่ามีผู้หญิงน้อยมากที่ได้รับคำแนะนำในเรื่องโรคหัวใจในผู้หญิงจากแพทย์ ส่วนใหญ่จึงมักจะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก>> อาการของโรคอ้วนมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ>> อาการของโรคหัวใจเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ
สาเหตุของการป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง
โรคหัวใจในผู้หญิงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมีโอกาสป่วยด้วยโรคหัวใจได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย โดยสาเหตุสำคัญที่พบได้มากที่สุด ก็คือภาวะเส้นเลือดแดงตีบ ซึ่งสามารถวัดความเสี่ยงโรคหัวใจพื้นฐานได้จากระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์นั่นเอง แต่ที่ได้รับความนิยมและสามารถชี้วัดได้ดีที่สุด ก็คือ ระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือด
ซึ่งภาวะเส้นเลือดตีบนั้น เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเป็นแผล และมีเกล็ดเลือดมาเกาะ จากนั้นก็จะทำลายหลอดเลือดแดงด้วยการปล่อยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารทรอมบ็อกแซน ( Thromboxane ) ออกมา เป็นผลให้หลอดเลือดเกิดการบีบรัดตัวผิดปกติมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีคอเลสเตอรอลเข้ามาฝังตัวในส่วนนี้ จนทำให้หลอดเลือดตีบได้ในที่สุดและนำไปสู่โรคหัวใจในผู้หญิง
อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง
สำหรับอาการของโรคหัวใจในผู้หญิงจะมีความแตกต่างจากผู้ชายอยู่บ้าง และเนื่องจากเป็นโรคที่ค่อยเป็นค่อยไปจึงมักจะไม่ค่อยมีการแสดงอาการออกมาให้เห็น จนกว่าจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาการจึงจะแสดงออกมาอย่างเด่นชัด หลายคนจึงมีความเข้าใจผิดๆ ว่า โรคหัวใจจะเกิดเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนนั่นเอง
โดยอาการที่มักจะพบในผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง ได้แก่
โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการเจ็บหน้าอกและเจ็บร้าวไปตามแขนข้างซ้าย
โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการปวดตามคอ ไหล่ แผ่นหลังและขากรรไกร ซึ่งมักจะเป็นๆ หายๆ แบบเรื้อรัง
โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการอ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ รวมถึงอาจมีอาการปวดท้อง ไม่สบายท้องคล้ายกับอาหารไม่ย่อยไอ้อีกด้วย
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ พร้อมกับอาการหายใจติดขัด
ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการบางอย่างที่แสดงออกมาก็จะคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดและอาการไม่สบายทั่วไป ทำให้หลายคนชะล่าใจและรักษาไม่ถูกวิธีจนเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในที่สุด โดยสำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจก็มีหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและอายุ ซึ่งพบว่าผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงมากกว่าวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ โดยเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยปกป้องผู้หญิงจากโรคหัวใจนั่นเอง
การตรวจเลือด เพื่อบอกความเสี่ยงโรคหัวใจ
โรคหัวใจ พบว่าจะมีความเสี่ยงสูงมากในผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปี โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เพราะมีระดับของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งในขณะเดียวกัน เอชดีแอล ไขมันชนิดดีก็จะลดลงอย่างรวดเร็วด้วย
ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยผู้ตรวจจะต้องงดอาหารประมาณ 8 - 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ และสามารถพิจารณาความเสี่ยงได้ตามตารางดังนี้
ระดับคอเลสเตอรอลรวม
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
<170 ( อายุ < 20 ปี )
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
< 200 ( อายุ > 20 ปี )
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
200 - 239
สูงปานกลาง
> 240
สูง
ระดับแอลดีแอล
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
< 110 (อายุ < 20 ปี )
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
> 130 (อายุ < 20 ปี )
สูง
< 100 (อายุ > 20 ปี )
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
100 – 129
เสี่ยงเพิ่มขึ้น
130 – 159
สูงปานกลาง
160 – 189
สูง
> 190
สูงมาก
ระดับเอสดีแอล
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
ชาย > 40
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
หญิง > 50
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
ระดับไตรกลีเซอไรด์
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
<150
ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
150 - 199
สูงปานกลาง
200 - 499
สูง
>...
โรคอ้วนกับโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารแดช ( DASH )
อาหารแดช ( DASH )
ความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นเหมือนกับระเบิดเวลาในหลอดเลือด ที่รอเวลาจะแสดงผลออกมา เพื่อเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หัวใจวายหรือเกิดสโตรกนั่นเอง และแม้ว่าจะยังไม่ถึงจุดนั้น โรคความดันโลหิตสูงก็มีการแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนเรา ไม่น้อยเช่นกัน และที่สำคัญเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าระเบิดเวลานั้นอยู่ที่จุดใด รู้เพียงว่ายิ่งความดันโลหิตสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใกล้ถึงจุดระเบิดเร็วขึ้นมากเท่านั้น
รู้ได้อย่างไร ความดันโลหิตปกติหรือไม่?
ความดันโลหิต ก็คือแรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือดแดงที่จะเกิดขึ้นขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวและคลายตัว ซึ่งค่าที่ได้จากการวัดความดันโลหิตจะมี 2 ค่าด้วยกัน คือ ค่าความดันตัวบนได้จากหัวใจบีบตัว ( Systolic ) และค่าความดันตัวล่างได้จากหัวใจคลายตัว ( Diastolic ) โดยปกติแล้วค่าที่วัดได้จะต้องไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นหากได้ค่าที่สูงกว่านี้ก็เท่ากับว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะความดันโลหิตสูง ดังตารางต่อไปนี้
ระดับความดัน
ความดันตัวบน ( Systolic )
ความดันตัวล่าง ( Duastol )
ข้อเสนอแนะ
ปกติ
<120
< 80
ระดับเหมาะสม
เริ่มสูง
120 - 139
80 - 89
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( อาหาร เครื่องดื่ม การออกกำลังกาย ) ลดน้ำหนัก ถ้าอ้วนและเป็นเบาหวาน ต้องปรึกษาแพทย์
สูงระดับ 1
140 - 159
90 - 99
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการได้ยาลดความดันจากแพทย์
สูงระดับ 2
≥ 160
≥ 100
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการได้ยาลดความดันจากแพทย์
ซึ่งหากพบว่าความดันโลหิตสูงจะต้องรีบปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตโดยด่วน เพราะภาวะที่ความดันโลหิตสูงนั้น จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นจนอาจนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดได้ โดยเฉพาะหลอดเลือดสมองตีบ หัวใจขาดเลือดและหัวใจล้มเหลวจนกระทั่งหัวใจวาย ซึ่งก็มีความอันตรายมากทีเดียว
นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูง ยังมักจะเกิดกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคเมตาโบลิกซินโดรมได้มากที่สุด รวมถึงผู้สูงอายุ แต่ทั้งนี้ก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่นั่นเอง
>> การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
>> อาหารมังสวิรัติมีสารอาหารอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
พฤติกรรมที่จะช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง
จากการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่ พบว่าการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย สามารถชะลอและบำบัดอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้ดี นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังตารางต่อไปนี้ ก็สามารถป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อแนะนำ
ความดันโลหิตที่ลดลง ( ประมาณ )
ลดน้ำหนัก
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
5 – 22 มิลลิเมตรปรอท ต่อน้ำหนักที่ลดลง 10 กิโลกรัม
รับประทานอาหารแดช
เน้นพวกผักผลไม้
อาหารที่มีไขมันต่ำและนมไขมันต่ำ 8 – 14 มิลลิเมตรปรอท
ลดเกลือหรืออาหารเค็ม
ควรทานโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ( เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา )
2 – 8 มิลลิเมตรปรอท
ออกกำลังกาย
วันละ 30 นาที
4 – 9 มิลลิเมตรปรอท
ดื่มแอลกอฮอล์แต่น้อย
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกินวันละ 1 – 2 ดริ๊งค์ หรือเลิกดื่มไปเลย
2 – 4 มิลลิเมตรปรอท
อาหารแดช คืออะไร?
อาหารแดช ( DASH ) เป็น หลักการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงมีชื่อเต็มว่า Dietary Approaches to Stop Hypertension และมีชื่อย่อว่า DASH หรือ DASH DIET ซึ่งเป็นอาหารที่เน้นปริมาณเกลือน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาหารแดชในช่วงปี 1990 พบว่าการรับประทานอาหาร DASH สามารถลดความดันโลหิตลงได้ในผู้ป่วยโรคอ้วนได้ถึง 6.7 มิลลิเมตรปรอท ภายใน 2 สัปดาห์
แนวทางการลดน้ำหนักของจากการทานอาหาร DASH โดยการลดโซเดียมแบบ 2 ระยะ
DASH...
การติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการลดน้ำหนัก
พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับการลดน้ำหนัก ด้วยวิธีจำกัดหรือลดปริมาณการกินให้น้อยลงในแต่ละมื้อ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนัก เพราะผู้ที่ลดน้ำหนักอาจจะรู้สึกหิวในเวลาอันสั้นหรือรู้สึกว่าทรมานร่างกายจากการทานอาหารไม่เพียงพอ จนบางครั้งต้องมากินเพิ่มอีกภายหลัง เหตุผลดังกล่าทำให้การลดน้ำหนักของใครหลายคนที่ใช้วิธีการลดปริมาณอาหารแบบนี้ ทำได้ไม่สำเร็จสักที ผู้เชี่ยวชาญในการลดน้ำหนักจึงให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักว่า ให้ลองปรับวิธีในการลดน้ำหนักโดยใช้วิธีการ นับปริมาณของ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจากฉลากโภชนาการซึ่งระบุปริมาณสารอาหาร ปริมาณรวมของไขมัน และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่ได้รับในแต่ละวันแทนวิธีการจำกัดหรือลดปริมาณอาหารแบบเดิม
วิธีดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะมีหลักการที่ว่า สามารถทานอาหารในปริมาณปกติ ที่ไม่ต้องลดปริมาณอาหารแต่ให้เน้นทานอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งมีกากใยอาหารสูง และใช้การควบคุมปริมาณของไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำ วิธีนี้มักได้ผลดีหากผู้ปฏิบัติจำกัดปริมาณอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย ซึ่งนอกเหนือจากการควบคุมปริมาณของคาร์โบไฮเดรตและปริมาณไขมันแล้ว ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย>> คอเลสเตอรอลคืออะไร จำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ไขมันดี HDL คืออะไร และสามารถพบได้ในอาหารอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
หลักการที่ควรปฏิบัติ
1. การเรียนรู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการ ( Reading Label ) เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
มีหลักการต่างๆดังนี้
1.1 อ่านฉลากโภชนาการ
การอ่านฉลากสินค้าต่างๆก่อนซื้อ เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ที่ใครหลายคนมักมองข้ามไป เนื่องจากอาหารต่างๆมากมายในปัจจุบันมักจะให้พลังงานที่สูงและมีปริมาณไขมันมากกว่าที่เราคาดไว้ ในฉลากนอกจากจะบอกข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับอาหาร เช่น ข้อความอ้างสรรพคุณของอาหาร ปริมาณอาหารและส่วนประกอบของเครื่องปรุงแต่ละชนิดในอาหาร ผู้ผลิตวันผลิต และวันหมดอายุ รวมทั้งเลขทะเบียนและเครื่องหมาย อย. แล้ว ยังช่วยให้ผู้บริโภคอย่างเราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเดียวกัน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด
1.2 เกณฑ์การอ่านฉลากอาหาร
การอ่านฉลากอาหารนั้น มีหลักเกณฑ์ในการอ่านเพื่อพิจารณาอาหารต่างๆ ก่อนที่จะทำการซื้อมาบริโภค
เลือกอาหารที่ดี มีใยอาหาร และมีส่วนประกอบของ แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินซี
เปรียบเทียบอาหารในชนิดเดียวกันว่ายี่ห้อไหนที่มีปริมาณของไขมันและให้พลังงานแคลอรีต่ำกว่า
เลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียม ( เกลือ ) ต่ำ
เลือกอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ต่ำ
เลือกอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลที่ต่ำ
ข้อมูลโภชนาการบอกพฤติกรรมการบริโภคอาหารอะไรบ้าง
จำนวน 1 หน่วยบริโภค หมายถึง การระบุปริมาณเป็นถ้วยตวงหรือช้อนตวง น้ำหนักเป็นกรัมหรือเป็นปริมาตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำในการบริโภคต่อหนึ่งครั้ง
จำนวนหน่วยบริโภคต่อ 1 กล่อง หรือ 1 ห่อ หรือ 1 กระป๋อง
ตัวอย่าง เช่น
* จำนวนหน่วยบริโภค 4 หมายถึง กินได้ 4 ครั้ง
* ถ้าปริมาณ 1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 1 ถ้วยตวง แต่เรารับประทาน 2 ถ้วยตวง ก็จะได้พลังงาน ไขมัน และ สารอาหารอื่นๆที่ระบุไว้เป็น 2 เท่า
คุณค่าโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึงข้อมูลที่แจ้งให้ทราบว่าหากรับประทานตามปริมาณที่ระบุไว้ใน " หนึ่งหน่วยบริโภค " แล้วจะได้รับสารอาหารอะไรเข้าไปบ้าง เช่น ปริมาณของไขมันรวมไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร โซเดียม น้ำตาล วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก หรือ สารอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
ปริมาณพลังงานและไขมันรวมหมายถึงข้อมูลที่แจ้งให้ทราบว่าหากรับประทานตามปริมาณที่ระบุไว้ใน "หนึ่งหน่วยบริโภค" แล้วจะได้รับพลังงานเท่าใด และมีพลังงานจากไขมันเท่าใด โดยสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนักควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำและมีปริมาณไขมันที่น้อยด้วยโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และต้องปลอดจากไขมันทรานส์
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ( % Daily Value = % DV ) หมายถึงค่าเฉลี่ยของสารอาหารชนิดนี้ ว่าคุณค่าทางโภชนาการคิดเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันได้เท่าไร เช่น หากฉลากระบุไว้ว่าหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารนี้ให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตคิดเป็น คือ...
ควรกินคาร์โบไฮเดรตกี่กรัมต่อวันอย่างไรไม่ให้อ้วน
คาร์โบไฮเดรต คืออะไร ?
คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate ) หรือ เรียกสั้นๆว่า “ คาร์บ ” หมายถึง สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ขนมปัง แป้งชนิดต่างๆผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิดนอกจากยังรวมไปถึงผักหรือ ผลไม้ บางชนิดที่มีสารอาหารประเภทนี้ด้วย เราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปก็เพื่อให้ร่างกายได้มีพลังงานไปใช้ในชีวิตประจำวันแต่ทั้งนี้ก็ควรทานในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย หากมีการทานในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่มากตามไปด้วย
หากไม่สามารถใช้พลังงานหรือเผลาผลาญออกหมดในแต่ละวันก็จะทำให้มีพลังงานเหลือเป็นส่วนเกิน ร่างกายก็จะนำพลังงานเหล่านี้ไปเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน เมื่อมีเยอะๆเข้าก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง ซึ่งการมีปริมาณไขมันที่มากก็จะส่งผลให้มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม เป็นต้น>> ข้อมูลโภชนาการอาหารบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ
>> การหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ก็คงจะพอรู้กันว่าหากต้องการลดน้ำหนักลงให้ได้ผล หนึ่งในปัจจัยที่ต้องควบคุมก็คือ การทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ให้น้อยลงกว่าปกติ แต่คาร์โบไฮเดรตก็เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มี ความจำเป็นต่อร่างกาย หากขาดไปก็จะทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่าต้องทานคาร์โบไฮเดรตอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ทำให้อ้วน ดังข้อมูลต่อไปนี้
สัดส่วนอาหารมาตรฐาน
ปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรต 1 คาร์บจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค โดยส่วนใหญ่ 1 คาร์บจะมีค่าเท่ากับอาหาร 1 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ( ยกเว้นผัก ) โดยจะมีตัวอย่างของสัดส่วนอาหารดังต่อไปนี้
ข้าว เส้นต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆหรือผักที่มีแป้งมาก ( ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บเท่ากับ 15 กรัม
นมและผลิตภัณฑ์นม 240 มิลลิลิตรมีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 12 กรัม
ผลไม้ ( ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดผลไม้ ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม
ผักใบ ดอก ( 3 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ) คาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม
ขนมหวานต่างๆ ( ถ้าไม่มีฉลากอาหาร ต้องประเมินเอง หรือประเมินจากสูตรอาหาร ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม
คาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
ดังนั้นจะต้องมีการทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการทานอาหารแบบกำหนดจำนวนคาร์บดังต่อไปนี้
ช่วงลดน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 3-4 คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ 2-3 คาร์บ
2. ช่วงคุมน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 4-5 คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ 3-4 คาร์บ
3. ผู้ที่ออกกำลังกาย สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 5-6 คาร์บ...
ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนัก
ลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนัก หรือ เคยผ่านช่วงเวลาที่ลดน้ำหนักมาแล้วนั้น เชื่อได้เลยว่าหลายๆคนต้องเคยเจอปัญหาต่างๆในระหว่างที่กำลังลดน้ำหนัก เช่น ทำไมน้ำหนักถึงลดไม่ลงสักที ทำไมน้ำหนักถึงลงช้า ทำไมออกกำลังกายมากแล้วยังไม่ผอมเสียที หรือจะเป็นคำถามอีกมามายที่เกิดความสงสัยขึ้น สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหา เกี่ยวกับการลดน้ำหนักหรือกำลังประสบปัญหาอยู่ ลองมาดูกันว่าปัญหาที่เกิดกับตัวของคุณหรือไม่ ที่จะอธิบายดังต่อไปนี้หรือไม่
>> โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> การหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ทำได้อย่างไร ?
ทำไมหญิงชายลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน?
ลดน้ำหนักยังไงให้ได้ผล เป็นคำถามที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย ทั้งที่ควบคุมอาหารก็มากกว่า หรือออกกำลังกายก็หนักกว่า แล้วทำไมถึงลดน้ำหนักได้น้อยกว่าในผู้ชายที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารน้อยกว่าเรื่องนี้ทำให้ผู้หญิงส่วน ใหญ่รู้สึกว่าตนเองล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายและมักถอดใจเลิกออกกำลังกายในที่สุด ซึ่งคำถามข้อนี้สามารถอธิบายเหตุผลได้ดังต่อไปนี้
1. สงครามแคลอรีระหว่างเพศ
เหตุผลที่จะอธิบายข้อแรกคือ โดยปกติแล้วในผู้ชายมักมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าผู้หญิง ร่วมถึงมีปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกายมากว่าด้วยซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าเนื้อเยื่อไขมัน จึงทำให้การใช้พลังงานในชีวิตประจำวันปกติของเพศชายจะสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่าในเพศหญิงดังนั้นถึงแม้ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะมีรูปร่างเท่าๆกัน แต่ผู้ชายจะสามารถกินได้มากกว่าผู้หญิงโดยที่น้ำหนักไม่ขึ้น รวมทั้งสามารถลดน้ำหนักได้ง่ายกว่าเพียงลดปริมาณอาหารให้น้อยลงเท่านั้น
2. อายุ
โดยปกติมนุษย์เราเมื่อมีอายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อในร่างกายต่างๆ ก็จะลดลงทำให้ปริมาณแคลอรีที่ต้องการในแต่ละวันก็ลดลงตามไปด้วยซึ่งผู้ชายสามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าผู้หญิงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม เนื่องจากผู้หญิงเมื่อถึงวัยที่หมดประจำเดือนนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อลดลงเร็วกว่าปกติ จึงควบคุมน้ำหนักได้ยาก แม้ว่าจะกินอาหารแคลอรีต่ำในปริมาณน้อยแล้วก็ตามแต่ทั้งนี้อย่าพยายามลดน้ำหนักด้วยการลดแคลอรีมากๆ เนื่องจากจะไปทำให้เกิดการเร่งให้สูญเสียกล้ามเนื้อเร็วขึ้นซึ่งมีผลให้ระบบเผาผลาญลดลง ควรแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อจะดีที่สุด โดยเฉพาะในผู้หญิงวิธีนี้เป็นสิ่งที่ช่วยรักษาระบบเผาผลาญในร่างกายให้ยังทำงานได้ในระดับเป็นปกติ
3. ออกกำลังกายแต่อย่าให้หนักเกินไป
ธรรมชาติของร่างกายของผู้ชาย หากทำการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักลงได้ โดยที่ไม่ต้องควบคุมหรือลดระดับอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน และหากมีการเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงเร็วขึ้นไปอีก ซึ่งแตกต่างจากในผู้หญิง หากผู้หญิงทำการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นแบบหนักมาก ก็อาจจะไม่ได้ผลเหมือนในผู้ชาย ซึ่งมีเหตุผลจากการวิจัยคือ ในผู้หญิงเมื่อยิ่งออกกำลังกายหนักขึ้นร่างกายจะส่งสัญญาณให้ “ อยากกิน ” เพื่อชดเชยพลังงานที่ได้สูญเสียออกไป เพราะร่างกายผู้หญิงทำงานในลักษณะคอยเก็บไขมัน ซึ่งเป็นระบบป้องกันร่างกายของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ เมื่อออกกำลังกายหนักจึงกระตุ้นให้เกิดอาการหิว อยากกินมากขึ้น ซึ่งในผู้ชายจะไม่พบหรือเป็นแบบนี้เหมือนในผู้หญิงดังนั้นการออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้ผู้หญิงสามารถลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินได้ดีกว่า การออกกำลังกายแบบหนักและหักโหม หรือควรเคลื่อนไหวให้มากขึ้นตลอดวัน ไม่ใช่เพียงการออกกำลังกายแบบหนักในช่วงเวลาเพียงแค่วันละ 30 นาทีเท่านั้น
4. ค้นหาความจริงในการกินและออกกำลังกาย
การลดน้ำหนักที่ได้ผลนั้น ผู้ลดน้ำหนักจะต้องคำนวณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน ต้องให้มากว่าพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารเข้าไป โดยเฉพาคุณผู้หญิงต้องทำการจดบันทึกทุกครั้งเมื่อมีการทานอาหารอะไรเข้าไป แม้จะเป็นเพียงแค่อาหารคำเล็กๆ หรือทานปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ทานเค้ก 2 คำ ทานขนมปังเพียงครึ่งชิ้น ซึ่งหากรวมๆกันแล้วก็อาจจะเป็นปริมาณพลังงานที่สูงได้ รวมทั้งให้บันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้มาคำนวณปริมาณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน นอกจากนี้ควรจดเวลา สถานที่ และความรู้สึกที่ทานอาหารต่างๆด้วย เพราะบางคนใช้การทานอาหารแก้เบื่อ เมื่อลองจดบันทึกดูสักระยะ จะสามารถทราบและวิเคราะห์พฤติกรรมการทานอาหารที่แท้จริงของตนเองได้ และเริ่มเรียนรู้เพื่อปรับตัวในการทานอาหารที่มีอิทธิพลจากอารมณ์ตนเองได้ในที่สุด
5. สิ่งที่ควรทำเพื่อลดช่องว่างระหว่างเพศ
หาวิธีออกกำลังกายที่ไม่หนักมากจนเกินไป เช่น การเดิน 10-20 นาที โดยเฉพาะหลังจากทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานออกไป อย่างน้อยให้ได้วันละ 150 กิโลแคลอรี
สังเกตดูว่า อาหารสะท้อนถึงอารมณ์อย่างไรในระหว่างวัน โดยใช้วิธีการบันทึกมาช่วยแก้ไขพฤติกรรมนั้นๆ
อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนชายของคุณ หรือคู่ของคุณที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะการลดน้ำหนักของผู้หญิงไม่เหมือนกับผู้ชาย
ติดตามความก้าวหน้าในการลดน้ำหนักของตนเอง และประคับประคองพฤติกรรมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ อย่าให้ความล้มเหลวในการลดน้ำหนักของคนอื่นมาทำให้คุณหมดกำลังใจ
ถ้าต้องการช่วยเหลือควรปรึกษานักโภชนาการอาหาร เพื่อขอคำแนะนำที่ดีและถูกต้อง
8 เหตุผลที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่ได้ผล
ผู้ที่ลดน้ำหนักไม่ได้ผล อาจจะมาจากสาเหตุหรือปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งหากลองมาดูเหตุผลหลักๆ ที่มักเจอในผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนักก็มักจะเป็นเหตุผลที่ซ้ำๆและคล้ายๆกันดัง 8 ข้อต่อไปนี้
1. ละเลยการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดน้ำหนักที่รองมาจากการควบคุมอาหาร โดยไม่เพียงแต่ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วยเพราะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายขณะลดน้ำหนักจะช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้
2. ช่วงเวลาลดน้ำหนักสั้นเกินควร การลดน้ำหนักที่กำหนดช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นการกดดันตนเองจนเกินไป อาจทำให้เครียดหรือท้อแท้ กับน้ำหนักที่ลดลงช้ากว่าที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้ควรวางแผนระยะเวลาในการลดน้ำหนักที่ดี ไม่เร็วหรือน้อยช้าไป การลดน้ำหนักอย่างช้าๆร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร และปลูกฝังนิสัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ดี และช่วยป้องกันน้ำหนักส่วนเกินในระยะยาวได้
3. หงุดหงิดกับปริมาณอาหารที่ลดลง การต้องปรับและควบคุมอาหารการกิน จากในสิ่งที่ชอบและกินในปริมาณมากๆ มากินอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก คงเป็นอะไรที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ลดน้ำหนักในระยะแรกไม่มากก็น้อย ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ก็ต้องค่อยๆปรับตัวตามไปด้วยความมีวินัยและอดทน
4. มองข้ามอาหารไขมันซ่อนรูป อาหารหลายๆอย่าง มีไขมันประเภทเนย ครีม น้ำมัน...
สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย
สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมัน
คนที่อ้วน หรือ รูปร่างไม่สมส่วนมักจะมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันมาใช้ และคงไม่มีใครที่อยากจะเป็นคนอ้วน มีพุง หรือมีร่างกายใหญ่โตเกินปกติ เพราะนอกจากบุคลิกภาพภายนอกที่ดูไม่ดีแล้ว การหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ก็ยังทำได้ยากกว่าคนปกติ และยังไม่รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มักมาพร้อมกับโรคอ้วนอีกด้วย
หลายคนจึงมักหันมาลดน้ำหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งผลที่ได้นั้นก็แตกต่างกันออกไปบางคนก็สามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จโดยใช้วิธีปกติ ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ การควบคุมอาหารและการออกกำลัง กายอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็มีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถลดน้ำหนักตามที่คาดหวังได้ด้วยวิธีปกติ จึงพยายามหาตัวช่วยในการลดน้ำหนักเข้ามา ซึ่งส่วนมาก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันหลากหลายยี่ห้อ และสามารถหาซื้อได้ง่ายนั้นเอง
สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน คืออะไร?
สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆที่มีมากมายหลายชนิด เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริม ยา หรือสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น ที่มาพร้อมกับโฆษณาชวนเชื่อที่หลากหลายว่า สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยควบคุมนำหนักในร่างกาย ทำให้ผู้ที่ใช้สามารถทำการลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนจากคนที่อ้วนเป็นคนผอมได้ง่ายๆ โดยที่ยังสามารถทานอาหารได้เหมือนคนปกติ
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางขายกันอยู่ทั่วไป มีจุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ เจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ใช้วิธีการพิสูจน์ผลิตภัณฑ์กับกลุ่มคนจำนวนที่น้อย และใช้ระยะเวลาทดสอบแค่เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การที่จะพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักชนิดนั้นๆ สามารช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ และมีความปลอดภัยเพียงใดกับผู้ใช้งาน จะต้องทำการวิจัย ทดลองในกลุ่มคนที่มีจำนวนมากๆ และต้องทดสอบเป็นระยะเวลานานโดยอาจจะใช้ระยะเป็นปีเลยทีเดียว>> การดื่มการแฟสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ หาคำตอบกันได้ที่นี่ค่ะ
สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
สำหรับสารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และได้รับการทบทวนข้อมูลการวิจัยจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังต่อไปนี้
1. ส้มขม หรือ บิตเตอร์ ออเร้นจ์ ( Bitter Orange )
ส้มขม เป็นสมุนไพรในตำรายาจีนอย่างหนึ่ง ที่มีการเอาเปลือก ดอก ใบ และผลมาสกัดเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ รวมทั้งยังมีสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ในส้มขมจะมีส่วนประกอบของซินเนฟรีน ( Synephrine ) และโดพามีน ( Dopamine ) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นคล้ายเอฟิดร้า ( Ephedra ) หรือมาฮวง ( Ma Huang ) จัดเป็นสารกระตุ้นชนิดหนึ่งที่มีการอ้างสรรพคุณว่าสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรี่ สลายไขมัน และลดความอยากอาหารลงได้ นอกจากนี้ในส้มขมมักมีส่วนผสมของกาเฟอีนและสารประกอบอื่นๆอีกด้วย
ในแง่ของการให้ผลเพื่อช่วยให้การลดน้ำหนัก ยังคงไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันได้ชัดเจน ว่าส้มขม ช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ แต่ส้มขมอาจจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีในร่างกาย และช่วยลดความอยากอาหารได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ส่วนในเรื่องของความปลอดภัย พบว่าส้มขมอาจจะไม่ปลอดภัยนัก เพราะผลิตภัณฑ์ส้มขมอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นรัว เกิดการวิตกกังวล และความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และมีการพบว่าการใช้ส้มขมร่วมกับสารกระตุ้นชนิดอื่น เช่น กาเฟอีน อาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้อีกด้วย
2. สารคาเฟอีน
สารคาเฟอีน เป็นสิ่งใกล้ตัวที่สามารถพบได้ง่ายในปัจจุบัน จากการดื่มชา กาแฟ โกโก้ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเป็นส่วนผสม อย่างเช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังนอกจากนี้ยังพบได้ในยาและสมุนไพรบางชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่ใช้คาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น คาเฟอีน เป็นสารกระตุ้นที่มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว เพิ่มความกระชุ่มกระชวย เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เพิ่มการสลายตัวของไขมันให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นในแง่ของการลดน้ำหนัก แม้งานวิจัยจะไม่ชัดเจนว่าคาเฟอีนช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็มีทฤษฎีที่อ้างถึงผลของคาเฟอีนที่อาจมีผลต่อน้ำหนักตัว คือ
คาเฟอีนเป็นสารที่ยับยั้งความหิว ทำให้กินอาหารน้อยลงแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอว่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ในระยะยาว
คาเฟอีนช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญแคลอรีในการย่อยอาหาร แต่ก็อาจจะไม่มากพอที่จะทำให้ลดน้ำหนักลงได้นั้นเองคาเฟอีนจะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณน้อย แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบ เช่น ทำให้มีอาการ กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ และหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงๆมากเกินกว่า 400 มิลลิกรัม/วัน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูง และมีอาการชักได้
3. เยอร์บามาเต้ ( Yerba Mate )
คือพืชชนิดหนึ่งที่มีสารคาเฟอีน เป็นส่วนประกอบจะขึ้นเองอยู่ในป่าตามธรรมชาติแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวอเมริกาใต้นิยมนำพืชชนิดนี้มาใช้ชงเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของ ชา ซึ่งเชื่อกันว่ามีสรรพคุณ ในการช่วยลดอาการเหนื่อยล้า...
ลดความอ้วน เพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism
กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ลดความอ้วน
หลายคนคงมีความสงสัยว่า กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism คืออะไร? เพราะเหตุใดจึงไม่สามารถลดน้ำหนักตัวลงตามที่ใจหวังไว้ได้เสียที ทั้งๆที่ทำตามขั้นตอนการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมปริมาณอาหารหรือการออกกำลังกายก็ตาม จึงมักเกิดความท้อแท้และเลิกลดน้ำหนักไปเลยก็มีทั้งนี้จะมีอีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลในการน้ำหนักของแต่ละคน ก็คือ กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism หรือ ระบบเผาผลาญ ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นเอง ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน จึงทำให้การลดน้ำหนักในแต่ละคนก็อาจจะได้ผลมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้หากผู้ใดที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายต่ำ ก็สามารถที่จะหาวิธีกระตุ้นให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังข้อมูลต่อไปนี้
กระบวนการเผาผลาญอาหาร metabolism ระบบเผาผลาญคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?
กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ระบบเผาผลาญในร่างกาย หรือ เมแทบอลิซึม ( Metabolism ) หมายถึง กระบวนการทางชีวเคมีทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเซลล์เพื่อนำเอาพลังงานจากอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระบบเผาผลาญจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ( Metabolic Rate ) ซึ่งหากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่ต่ำ ก็จะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ยาก แต่ถ้าผู้ใดที่มีอัตรากรเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่สูง ก็จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่าผู้ที่มีระบบเผาผลาญต่ำนั้นเอง
โดยปกติมนุษย์ทุกคนจะมีอัตราหรือประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายมาจากพลังงาน 3 ส่วน หลักๆ คือ
1. พลังงานพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การหายใจทางปอด การเต้นของหัวใจ การหมุนเวียนของเลือด การทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อย และการดูดซึม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น แม้แต่ขณะที่นอนหลับอวัยวะภายในอย่าง หัวใจ และปอดก็ยังทำงานอยู่ปกติ จึงมีการใช้พลังงานส่วนนี้ตลอดเวลา
2. พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหวหรือออกแรง เช่น การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้ง การเดิน การวิ่ง การขับรถ การทำงานต่างๆ เป็นต้น
3. พลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหาร เป็นพลังงานในส่วนที่เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย>> ปัญหาที่มักพบคู่กับการลดน้ำหนักคืออะไร อยากรู้มาดูกัน
>> การออกกำลังกายแบบไหนเหมาะกับตัวคุณ อยากรู้มาดูกันค่ะ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism
ในตลอดช่วงชีวิตอายุคน อัตราระบบเผาผลาญในร่างจะไม่ได้อยู่ในระดับเดิมไปตลอดชีวิต แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
โดยปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเผาผลาญในร่างกาย ดังนี้
อายุ โดยปกติแล้ว เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายของคนเราจะลดลงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาทุกๆ 10 ปี
เพศ ( เพศชายแม้ขณะอยู่เฉยๆ ก็สามารถเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าเพศหญิง )
น้ำหนัก
ส่วนสูง
วิถีการดำเนินชีวิต
ปริมาณของมวลกล้ามเนื้อ คนที่มีกล้ามเนื้อมากจะมีระบบการเผาผลาญสูงกว่าคนที่มีไขมันมาก เพราะเซลล์กล้ามเนื้อเป็นเซลล์ขยัน ใช้พลังงานได้ดีกว่าเซลล์ไขมันซึ่งเปรียบได้กับเซลล์ขี้เกียจ
พันธุกรรมการถ่ายทอดจากคนในครอบครัว
โรคบางชนิด เช่น ไทรอยด์ต่ำ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงด้วย
ทำไมน้ำหนักทรงตัว หลังลดความอ้วน?
สำหรับผู้อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ในช่วงแรกๆจะสังเกตได้ว่าน้ำหนักตัวลดลงไปอย่างเร็ว แต่เมื่อผ่านไปสักพักน้ำหนักตัวจะลดลงได้น้อยจนทรงตัวแทบไม่ลดเลย สาเหตุที่เป็นแบบนี้เนื่องจากช่วงแรกๆ น้ำหนักตัวเรายังมากอยู่ ระบบเผาผลาญในร่างกายก็ยังคงทำงานได้สูง ดังนั้นเมื่อออกกำลังกายหรือมีการควบคุมลดแคลอรีจากอาหารลงมาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงมาได้ง่ายแต่เมื่อร่างกายสูญเสียเซลล์ไขมัน เซลล์กล้ามเนื้อ และสูญเสียน้ำในระยะแรกซึ่งมีอยู่มาก ออกไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายก็จะลดต่ำลง ร่างกายก็จะใช้พลังงานลดลงตามไปด้วย จึงส่งผลให้น้ำหนักในช่วงนี้จึงลดลงได้ยากนั้นเองเซลล์กล้ามเนื้อทุกๆครึ่งกิโลกรัมที่ลดลงในร่างกาย จะไปทำให้ระบบเผาผลาญทำงานลดลงประมาณวันละ 9 กิโลแคลอรี
ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนที่ลดน้ำหนักจึงกลับมาอ้วนอีกได้ง่าย ถ้าหากไม่ควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พลังงานที่ร่างกายต้องการจากอาหารก็จะลดน้อยลงไปอีก จึงทำให้ ปริมาณอาหารที่รับประทานจะต้องลดน้อยลงตามไปด้วย
6 วิธีกินเพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism
หากผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้วน้ำหนักไม่ลดลงสักที หรือปริมาณที่ลดลงน้อยมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องระบบเผาผลาญในร่างกาย ที่ทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ซึ่งก็มีวิธีที่จะกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น ด้วย 6 วิธีดังต่อไปนี้
1. กินบ่อย แต่แบ่งเป็นมื้อเล็กๆโดยปกติอาหารมื้อหลักในแต่ละวันก็จะประกอบด้วย มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น สิ่งหากต้องการให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ให้ลองทำการเปลี่ยนมาเป็นทานอาหารมื้อเล็กๆ เป็น 4-6 มื้อในแต่ละวัน...
ลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก
ลดน้ำหนัก
เมื่อคิดจะ ลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่คิดจะทำการลดน้ำหนัก แม้จะลองทำด้วยวิธีการต่างๆมากมายแล้วก็ยังไม่สามารถลดได้ตามที่คาดหวังไว้ หรือหลายคนที่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตามใจต้องการแล้ว แต่ก็ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักให้คงทีได้ ส่งผลทำให้กลับมาอ้วนเหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากการเข้าใจวิธีและหลักการในการลดน้ำหนัก อย่างไม่ถูกต้องทำให้ผลที่ได้ออกมาไม่เป็นดังที่คาดหวังไว้ ดังนั้นหากมีความตั้งใจที่จะลดน้ำหนักให้ได้ผลแล้ว ต้องเรียนรู้การลดน้ำหนักที่ถูกหลักถูกวิธี ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
>> อาหารลดน้ำหนักแบบไหนที่เหมาะกับสุขภาพคุณ มาดูกันค่ะ
>> โยโย่เอฟเฟค ( YOYO Effect ) เกิดจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
ข้อเท็จจริงในการลดน้ำหนัก
สำหรับการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ ผู้ที่จะลดต้องทำการลดน้ำหนักให้ถูกหลัก โดยน้ำหนักตัวนั้นจะต้องค่อยๆลดลงในปริมาณที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะต้องไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และเมื่อสามารถทำการลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว จะต้องรู้จักวิธีควบคุมให้น้ำหนักคงที่ได้ต่อไปไม่ให้กลับมาอ้วนอีก จึงจะถือว่าเป็นการลดน้ำหนักที่ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง
คนส่วนใหญ่เมื่ออยากลดน้ำหนัก ก็มักจะต้องการลดน้ำหนักให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ก็มักหันไปใช้วิธีการลดน้ำหนักที่ผิดๆไม่ถูกต้องอย่างเช่น การอดอาหารกินไม่ครบมื้อ การกินอาหารในปริมาณที่น้อยมากๆ การทานอาหารที่แคลอรี่ต่ำมาก การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในการลดน้ำหนักหรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูดซับหรือยับยั้งการสร้างไขมันซึ่งวิธีเหล่านี้ก็อาจทำให้การลดน้ำหนักได้ผลรวดเร็วตามที่ต้องการ แต่ก็เป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนจะได้ผลในระยะเวลาช่วงสั้นๆเท่านั้น ไม่สามารถรักษาระดับน้ำหนักให้คงที่ได้ตลอดนอกจากนี้การลดน้ำหนักด้วยวิธีผิดๆเหล่านี้ ยังอาจจะมีผลกระทบตามมาได้อีก โดยเฉพาะภาวะที่เราเรียกว่า โยโย่ เอฟเฟค
โยโย่ เอฟเฟค คืออะไร?
โยโย่ เอฟเฟค หมายถึง ภาวะที่น้ำหนักร่างกายลดลง และจากนั้นก็เพิ่มขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนการเล่นลูกดิ่งโยโย่ ที่เมื่อโยนลงไปแล้วจะดีดตัวกลับขึ้นมาในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้นเองโดยมีสาเหตุเกิดจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว จนระบบเผาผลาญพื้นฐานของร่างกาย ( BMR ) เกิดความผิดปกติ เมื่อพลังงานที่เคยได้รับจากอาหารลดลง ร่างกายก็จะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานลดลงไปด้วย เช่น หากปกติร่างกายเคยใช้พลัง 2,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ร่างกายก็อาจจะปรับการใช้พลังงานเหลือแค่ 1,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เท่านั้น
ดังนั้นหากเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าลดน้ำหนักดีระดับที่พอใจแล้วจึงกลับไปทานอาหารเพิ่มมากขึ้น ระบบในร่างกายก็ยังคงใช้พลังงานเท่าเดิม จนกลายเป็นพลังงานส่วนเกินที่เผาพลาญไม่หมดไปเก็บไว้ในรูปแบบไขมัน และในที่สุดก็กลับมาอ้วนเหมือนเดิมหรือบางคนอาจจะอ้วนมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป ดังนั้นหากไม่อยากเกิดภาวะ โยโย่ เอฟเฟคกับตนเอง จนต้องกลับไปลดน้ำหนักใหม่อีกครั้ง ผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ ทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ และควรหมั่นหาเวลาออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เนื่องจากจะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นเมื่อระดับน้ำหนักลดลง
หยุดอ้วนได้ ไม่ต้องอดอาหาร
การอดอาหารไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในการลดน้ำหนัก ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสามารถทานอาหารได้ครบทุกมื้อตามปกติแต่ให้ยึดหลักของโภชนาการอาหารเป็นสำคัญ ซึ่งโภชนาการในยุคใหม่นั้น จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ลดน้ำหนัก ไม่รู้สึกว่าถูกจำกัดมากจนเกินไป และเกิดความเบื่อหน่ายที่จะทำ หรือ รู้สึกว่ายากเกินกว่าที่จะทำได้
หลักเกณฑ์โภชนาการยุคใหม่
ยึดความเป็นไปได้ ผู้ลดน้ำหนักควรปรับนิสัยในการทานอาหาร แบบค่อยเป็นค่อยไป ให้เกิดความเคยชินกับตนเองเสียก่อน และควรเพิ่มกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน ที่ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานออกไปมากขึ้น
รับประทานอาหารให้หลากหลาย เมนูอาหารสำหรับคนลดน้ำหนักมีมากมาย ควรรู้จักปรับเปลี่ยนไม่ให้เกิดความซ้ำซาก จนเบื่อหน่าย หรืออยากทานอะไรก็สามารถทานได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
ยืดหยุ่นกับตัวเองอย่ากดดันตนเองจนชีวิตไม่มีความสุขในเรื่องของการกิน โดยเราสามารถปรับสมดุลของอาหารที่ทานกับพลังงานที่ใช้ออกไปได้ เช่น หากวันนี้ทานอาหารมากไป ก็อาจจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีลดปริมาณอาหารในมื้อถัดไป และไม่จำเป็นว่าจะต้องดูกันเป็นมื้อ แต่อาจพิจารณาดูกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็ได้
บริโภคอย่างฉลาดมีเหตุผลเราสามารถทานอาหารที่ตนเองชอบได้ แต่ต้องควบคุมปริมาณด้วย หากอาหารที่ทานไปในมื้อนั้นมีปริมาณของการให้พลังงานที่สูง มื้อต่อไปก็อาจจะทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำแทน
ทำตัวให้กระฉับกระเฉงตลอดวัน พยายามหากิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายทำ เช่น เดินให้มากขึ้น ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์ เป็นต้น และไม่ใช้ชีวิตแบบกินแล้วเอาแต่นั่งหรือนอนเท่านั้น
3 หลักลดน้ำหนัก
วิธีการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้ได้ผลในระยะยาวมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อ ที่สามารถปฏิบัติได้ คือ
1. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
ผู้ที่จะทำการลดน้ำหนักนั้น จะต้องพร้อมไปด้วยสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ดี และต้องมีการตั้งเป้าหมายกับตัวเองถึงระดับน้ำหนักที่ต้องการจะลดลง โดยจะต้องขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ที่จะทำด้วย การกำหนดเป้าหมายควรมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น และเป้าหมายระยาว ที่ไม่สูงเกินไป อาจจะมีระยะเวลาเป็น 6 เดือน ถึง 1 ปีก็ได้ ทั้งนี้ปริมาณน้ำหนักที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่สามารถลดได้ คือสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม จนถึง 1 กิโลกรัมนั้นเอง
เป้าหมายระยะสั้น : สำหรับการตั้งเป้าหมาย ระยะสั้นในการลดน้ำหนัก ควรกำหนดไว้ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเริ่มต้นก่อน เพื่อเป็นกำลังใจที่ดีในการลดน้ำหนักต่อไป การลดควรจะทำแบบถูกวิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป...
ลดน้ำหนักด้วยจานอาหารสุขภาพ
อาหารลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุดก็คือการควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทานเข้าไป รวมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอนั้นเอง ซึ่งการควบคุมอาหารนั้นเป็นปัจจัยหลักอย่างแรกเลยที่ทำให้การลดน้ำหนักได้ผลดี แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีอาหารชนิดใดที่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีที่สุดหรือสามารถช่วยให้ลดน้ำหนักเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคลนั้นจะแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ลดน้ำหนักต้องพิจารณาว่า อาหารลดน้ำหนัก ชนิดไหนเหมาะกับสุภาพร่างกายของตนเองมากที่สุด เพราะจะทำให้สามารถปฏิบัติได้ดีและมีความต่อเนื่องนั้นเอง
>> ในแต่ละมื้อควรทานคาร์โบไฮเดรตปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ข้อมูลโภชนาการอาหารบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ
ธรรมชาติของคนที่อยากจะลดน้ำหนักอย่างหนึ่งก็คือ จะทำอย่างไรให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็วและทันใจ จึงมักมองหาตัวช่วยหรือวิธีลัดในการลดน้ำหนักต่างๆ เข้ามาเพื่อเป็นตัวช่วย ประกอบกับในปัจจุบันมีโฆษณาชวนเชื่อมากมายเกี่ยวกับ ยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เข้ามาเป็นตัวเลือกให้ผู้ที่อยากลดน้ำหนักได้นำไปใช้ ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการวิจัยไหน ที่สามารถออกมารับรองได้ว่าได้ผลจริงในการช่วยลดน้ำหนักลงให้รวดเร็วขึ้น ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางคน อาจจะได้ผลดีในระยะแรกๆ น้ำหนักจะลดลงแบบรวดเร็ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักน้ำหนักก็จะคงที่และไม่สามารถลดลงได้อีกแล้ว ซึ่งถ้าหากหยุดใช้หรือหยุดกินผลิตภัณฑ์นั้นเมื่อไหร่ก็อาจจะทำให้กลับมาอ้วนเหมือนเดิม หรืออาจจะยิ่งอ้วนกว่าเดิมด้วยซ้ำไป
การควบคุมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ลดน้ำหนักส่วนมากนิยมใช้กันและได้ผลคือ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต หรือเรียกย่อๆว่า คาร์บ ในการกินอาหารแต่ละวัน
ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีทีเดียวกับคนที่ลดน้ำหนักลงยากและยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย วิธีนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการทานอาหารลดน้ำหนักชนิดอื่นๆ
การเริ่มต้นการลดน้ำหนักโดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ปรับเปลี่ยนสิ่งที่เราเติมลงในจานอาหารแต่ละมื้อ โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “ จานอาหารสุขภาพ ” นั่นเอง
จากอาหารสุขภาพ ( Plate Method ) คืออะไร
จากอาหารสุขภาพ ( Plate Method ) คืออะไร จานอาหารสุขภาพ หมายถึง การปรับเปลี่ยนปริมาณหรือประเภทอาหารในแต่ละมื้อที่จะทานให้มีส่วนประกอบของอาหารที่เหมาะสม และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนักหรือผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี
วิธีจัดจานสุขภาพแบบง่ายๆ
สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. ใช้จานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว หรือ 23 เซนติเมตร
2. เติมผักหลากหลายชนิดลงไป เช่น แตงกวา แครอท มะเขือเทศ เป็นต้น โดยต้องให้มีปริมาณของผักทั้งหมดรวมแล้วเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมดในจาน
3. เติมข้าวหรือแป้งหรือธัญพืชไม่ขัดสี ในปริมาณ 1 ส่วน 4 ของจาน
4. เติมเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ หรืออาหารทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ ในปริมาณ 1 ส่วน 4 ของจาน หรือประมาณ 90 กรัม
5. เตรียมผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ หรือ นมถั่วเหลืองไม่เติมน้ำตาล 240 มิลลิลิตร อยู่นอกจาน
6. เตรียมผลไม้ 1 ส่วน อยู่นอกจาน
7. เลือกอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลที่ต่ำ
โดยเฉพาะอาหารว่างโดยทั่วไป แบบแผนจานสุขภาพนี้ จะให้สารอาหารต่อมื้อได้แก่ พลังงานประมาณ 425 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 55 – 60 กรัม โปรตีน 35 กรัม ไขมัน 10 กรัม ขึ้นกับวิธีการปรุงอาหารหากเป็นผู้หญิงแนะนำให้คุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตไว้ไม่เกิน 45 กรัมต่อมื้อ โดยรับประทานผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและผลไม้เป็นอาหารว่าง รวมทั้งให้ระวังปริมาณเครื่องปรุงที่มีแคลอรีจากน้ำตาลและไขมันด้วย
วิธีนับคาร์โบไฮเดรต
1. เรียนรู้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต อย่างแรกเลยเราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่าเมนูอาหารใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต เพื่อที่จะได้เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม
2. เรียนรู้การประเมินสัดส่วนอาหาร เพื่อสามารถคำนวณได้ว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนั้นมีพลังงานสูงมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ทานในปริมาณที่เหมาะสม
3. เรียนรู้การอ่านฉลากโภชนาการการอ่านฉลากช่วยให้ได้รับรู้ปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ของอาหารชนิดนั้นๆ
ซึ่งมีหลักการดังต่อไป
ดูขนาดหนึ่งหน่วยบริโภค ( ปริมาณการกินต่อ 1 ครั้ง ของอาหารนั้น )
ดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณน้ำตาลที่เติมในการผลิตหรือที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติจะรวมอยู่ในปริมาณคาร์โบไฮเดรต
เปรียบเทียบปริมาณ 1 ที่เสิร์ฟในฉลากอาหารกับปริมาณอาหาร...
โรคอ้วนและภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคอ้วน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคอ้วน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานกับโรคหลอดเลือดหัวใจ ถือเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก โดยพบว่ามีผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานสูงมากถึง 2-4 เท่า ของคนที่ไม่เป็นเลยทีเดียว
นั่นก็เพราะว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีความดื้อต่ออินซูลินสูง ซึ่งก็ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยจะทำ ให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้หลอดเลือดอุดตันในที่สุด และยังทำให้เสี่ยงต่อหลอดเลือดในสมองตีบและหัวใจวายได้อีกด้วยเพราะฉะนั้นในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปพร้อมๆ กับการควบคุมไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจไปด้วยนั่นเอง
>> โรคหัวใจมีอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกัน
>> ข้อมูลโภชนาการอาหารบอกอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกัน
ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงโรคหัวใจ
ปัจจัยที่จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีหลักๆ ซึ่งก็คือ
1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
กรรมพันธุ์ โรคหัวใจเป็นอีกโรคหนึ่งมีอาจมีความเสี่ยงจากกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นหากพบว่าคนในครอบครัวมีใครที่เป็นโรคหัวใจ ก็ควรระมัดระวังความเสี่ยงให้ดี โดยเฉพาะหากพบว่าคนในครอบครัวที่เป็นผู้ชาย เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี และผู้หญิงเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
อายุ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูงมากขึ้นไปด้วย เนื่องจากไขมันจะไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจและค่อยๆ สะสมขึ้นไปเรื่อยๆ จนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันและเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งส่วนใหญ่กว่าอาการจะปรากฎออกมาก็ใช้เวลานานถึง 10 ปีเลยทีเดียว
เพศ สำหรับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในกรณีนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอายุต่ำกว่า 55 ปี ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้หญิง แต่ช่วงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย
เชื้อชาติ โดยพบว่าคนที่มีผิวดำจะมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้มากกว่าเชื้อชาติผิวขาว
2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้
บุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่รวมถึงผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่สูบบุหรี่พร้อมกับทานยาคุมกำเนิดร่วมด้วย เพราะสารพิษจากบุหรี่จะทำปฏิกิริยากับยาคุมกำเนิด จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจโดยตรง และเป็นตัวการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี ทำลายหลอดเลือด ซึ่งเป็นผลให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจถึง 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ไขมันในเลือดสูง เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ซึ่งพบว่าจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้สูงมาก
มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหัวใจให้สูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน โดยนักวิจัยได้พบว่า คนที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงมากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะไปทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้น และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงยิ่งขึ้นไปอีก
ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมเร็วขึ้น จึงทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้อย่างง่ายดาย เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดในสมองตีบและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น โดยระดับความดันเลือดปกติจะอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท นั่นเอง
ละเลยการออกกำลังกาย ซึ่งพบว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลยจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากถึง 2 เท่า และเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
โรคอ้วน เนื่องจากภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งพบว่าการลดน้ำหนักก็จะช่วยลดความดันให้ต่ำลงมาได้เหมือนกัน
ทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย จึงส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหากพยายามเลี่ยงการทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง ก็จะลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้มากถึง 53 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มชนิดนี้จะไปเพิ่มระดับความดันโลหิตให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายได้สูงมาก และยังเพิ่มความเสี่ยงโรคตับ โรคมะเร็งและโรคระบบประสาทได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง โดยมีรายงานว่าผู้ชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ดริ๊งค์ และผู้หญิงไม่เกินวันละ 1 ดริ๊งค์
1 ดริ๊งค์ เท่ากับเท่าไรแอลกอฮอล์
1 ดริ๊งเท่ากับเบียร์ หรือคูลเลอร์ ( cooler ) ( แอลกอฮอล์ 5 % ) 355 มล.
ไวน์ ( แอลกอฮอล์ 12% ) 148 มล....
รับประทานอาหารเช้าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้
อาหารเช้า
ในยุคที่มีแต่ความเร่งรีบ ทุกคนต่างต้องทำงานหรือกิจกรรมต่างๆเพื่อแข่งกับเวลาที่มีจำกัดในแต่ละวัน โดยเฉพาะเวลาช่วงเช้านั้น ต่างคนคงมีภารกิจมากมายรออยู่ ทั้งการเตรียมตัวไปทำงาน เตรียมตัวไปโรงเรียน และอื่นๆมากมาย ซึ่งการที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบเพื่อแข่งกับเวลานี้ ก็ทำให้ใครหลายคน เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการทาน อาหารเช้า แล้วไปกินอีกที ในมื้อกลางวันเลย การการะทำดังกล่าวถือว่าไม่ถูกต้อง และอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากอาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด และนอกจากนี้การทานอาหารเช้ายังมีประโยชน์ มากมายอีกหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
>> ในแต่ละมื้อควรทานคาร์โบไฮเดรตปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> อาหารลดน้ำหนักแบบไหนที่เหมาะกับสุขภาพ อยากรู้ตามมาดูกัน
ประโยชน์ของการทานอาหารเช้า
1. อาหารเช้าลดน้ำหนัก
อาหารเช้าลดน้ำหนักหลายคนมักมีความเชื่อที่ผิดๆว่าการอดอาหารเช้า สามารถทำให้ลดน้ำหนักได้ แต่ที่จริงแล้วการไม่ทานอาหารเช้ากลับยิ่งทำให้อ้วน มากกว่าผู้ที่ทานอาหารเช้าปกติ การงดอาการเช้า จะมีผลไปทำให้เกิดการกินอาหารในมื้ออื่นๆเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก สมองจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า นิวโรเพปไทด์วาย ออกมาซึ่งจะทำให้เกิดการกินอาหารปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว เป็นภาวะที่เรียกว่า “ อาการกินกลางคืน ( Night Eating Syndrome ) ” คือ เมื่อเริ่มทานในมื้อกลางวันแล้วจะหยุดกินไม่ได้จนกว่าจะเข้านอน มักกินจุกกินจิก และเลือกอาหารที่ทานสะดวกและอยากกินเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นอาหารที่ มีไขมัน แป้ง น้ำตาล และแคลอรีที่สูง
ผลของการวิจัยหลายๆที่ให้คำตอบไปในทางเดียวกันคือ ผู้ที่ไม่ทานอาหารเช้ามีแนวโน้มที่จะอ้วนได้มากกว่าคนที่ทานอาหารเช้าปกติถึง 4 เท่า นอกจากนี้การทานอาหารเช้าเป็นประจำยังสามารถป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้อีกด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การทานอาหารเช้าไม่ได้ทำให้อ้วนขึ้นอย่างใด แต่อาหารเช้าช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุลการทานอาหารในมื้ออื่นๆ ก็จะเป็นไปด้วยความเหมาะสม ช่วยลดการกินจุกจิก ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ้วนนั้นเองแต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกทานอาหารเช้าที่ดีมีประโยชน์ พร้อมทั้งควบคุมปริมาณให้เหมาะสมด้วย
2. อาหารเช้าลดโรค
อาหารเช้าลดโรคการทานอาหารเช้าสม่ำเสมอและเป็นประจำ นอกจากจะทำให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส ไม่อ่อนเพลียแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเบาหวาน
ในการศึกษาและวิจัยพบว่า ผู้ที่ทานอาหารพวกธัญพืชชนิดไม่ขัดสี เป็นอาหารเช้าทุกๆวัน ในระยะเวลานานกว่า 5 ปี จะเป็นผู้ที่มีอายุยืนกว่าคนปกติ
ซึ่งมีเหตุผลมาจาก ในธัญพืชไม่ขัดสี จะมีสารแอนติออกซิแดนท์ ใยอาหารและอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิต ส่งผลให้ร่างกายใช้กลูโคสและฮอร์โมนอินซูลินได้ดีขึ้น ธัญพืชชนิดที่มีโปรตีนถั่วเหลืองผสมจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น เพราะโปรตีนถั่วเหลือง จะไปช่วยลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือดลงได้ ส่วนอาหารที่มีองค์ประกอบของกรดโฟลิค วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 จะช่วยลดสารโฮโมซิสเตอีนในเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดในร่างกาย
3. อาหารเช้าเพิ่มพลังสมอง
อาหารเช้าเพิ่มพลังสมองร่างกายส่วนต่างๆยังคงใช้พลังงานปกติ แม้กระทั่งในเวลานอนหลับ พลังงานเหล่านี้จะมาจากกลูโคสที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้ ซึ่งกว่าจะถึงตอนเช้า ร่างกายจะใช้กลูโคสเกินมากกว่าครึ่งไปแล้ว ทำให้ร่างกายนั้นต้องการพลังงานมาเติมทดแทน โดยพลังงานเหล่านี้จะมาจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก
สมองก็เช่นกันที่ต้องใช้พลังงานจากกลูโคส แต่จะต่างกันที่สมองนั้นไม่สามารถเก็บพลังงานส่วนที่เหลือไว้ได้เหมือนร่างกายดังนั้น เราจึงควรทานอาหารเช้า เพื่อให้สมองได้รับพลังงานเข้าไป และช่วยให้สมองเราทำงานได้ดี สำหรับผู้ที่ไม่ทานอาหารเช้านั้น แม้ร่างกายจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติอะไร เนื่องจากมีพลังงานสำรองอยู่ แต่เมื่อใช้พลังงานนั้นจดหมด ร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะเครียด สมองไม่แล่น ประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆจะลดลงและแม้ว่าจะกินอาหารชดเชยในมื้อเที่ยงเข้าไปแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเวลาที่ร่างกายต้องการพลังงานส่วนนั้นได้ผ่านไปแล้วนั้นเอง
องค์ประกอบอาหารเช้าที่ดีองค์ประกอบอาหารเช้าที่ดี
จากข้อมูลการวิจัยพบว่าสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้สมองและระบบความจำดีทำงานได้ดีและแม่นยำขึ้นและหากมีการงดอาหารเช้าเกิดขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารสำคัญส่งผลให้ระบบความจำในทั้งวันจะทำงานได้ไม่ดีเมื่อรู้แบบนี้แล้วว่าอาหารเช้ามีความสำคัญกับร่างกายเพียงใด เราจึงควรทานอาหารเช้าเป็นประจำ และถ้าหากต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ต้องมีหลักในการเลือกชนิดของอาหารเช้าที่ดี ดังต่อไปนี้
หลักในการเลือกชนิดของอาหารเช้า
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
พบได้มากใน ธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่างๆ และผลไม้ เป็นประเภทอาหารที่ดีที่สุดที่จะทานในมื้อเช้า เนื่องจากสารอาหารประเภทคาร์โบไอเดรตเชิงซ้อนจะค่อยๆลำเลียงสารอาหารกลูโคสไปส่งให้กับสมอง โดยจะใช้เวลานานขึ้นในการย่อยและดูดซึม
โปรตีน
สารอาหารจำพวกโปรตีนจะให้กรดแอมิโนเพื่อไปผลิตสารสำหรับบำรุงสมอง พบได้มากในผลิตภัณฑ์นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเล เป็นต้น นอกจากนี้การทานไข่ยังไปช่วยทำให้ระบบความจำดีขึ้นได้อีกด้วย
อาหารแคลเซียมสูง
จะช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกายพบได้ในอาหารต่างๆ เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ธัญพืชหรือน้ำส้มชนิดเสริมแคลเซียม เป็นต้น
อาหารเติมความอิ่ม
สำหรับผู้ที่ทานอาหารมื้อหลักไปแล้ว แต่ยังรู้สึกหิวบ่อยๆ มีหลักในการเลือกอาหารสำหรับเติมความอิ่มให้กับร่างกาย โดยจะให้เน้นอาหารที่มีประโยชน์และไม่ทำให้อ้วน คือ เน้นอาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำในปริมาณมาก เช่น นมและโยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ หรือ ผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดแคลอรีของอาหารที่กินเข้าไปได้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า...
เช็กด่วน! สาเหตุ ปัจจัย และอาการของโรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วน คือ
โรคอ้วน คือ ร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินไปทำให้น้ำหนักเกิน ซึ่งวัดจากดัชนีมวลกายค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่าเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสามารถอธิบายการเกิดภาวะนี้ได้ง่ายๆ คือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานจากการกินอาหารเข้าไปมากกว่าพลังงานที่ได้ใช้ออกมาในแต่ละวัน ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือถูกเก็บสะสมไว้ในรูปแบบของไขมัน เมื่อมีปริมาณมากๆก็จะกลายเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง
ทำไมบางคนกินเยอะแต่ไม่อ้วน?
เนื่องจากร่างกายคนเรามีความซับซ้อนกว่าที่คิดแต่ความอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมล้วนๆ ปัจจัยแต่ละอย่างส่งผลต่อน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ได้แก่
1.กินเมื่อร่างกายหิว
2.ปัจจัยของฮอร์โมนความหิวถูกควบคุมโดยฮอร์โมนสองชนิด คือ เกรลิน และเลปติน โดยฮอร์โมนเลปตินจะผลิตโดยเซลล์ไขมันระงับความอยากอาหาร ในขณะที่ฮอร์โมนเกรลินทำตรงกันข้าม เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของเรา คนที่มีความไวหรือการผลิตเลปตินสูงกว่าจะควบคุมความอยากหรือลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น
3.การนอนหลับที่เหมาะสม ควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน หากอดนอนทำให้ระดับฮอร์โมนเกรลินสูงขึ้น และร่างกายจะผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวมากขึ้นตามไปด้วย
เช็กด่วน! 6 ตำแหน่งอ้วนจากไขมันสะสมในร่างกาย บ่งบอกอะไรได้บ้าง
1.อ้วนช่วงบน เกิดจากกินน้ำตาล น้ำอัดลม อาหารหวาน และเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไปแล้วร่างกายไม่ได้นำไปใช้งานถึงทำให้ไขมันสะสมส่วนบน
2.อ้วนช่วงกลางหน้าท้อง เกิดจากฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลทำให้ไขมันสะสมในหน้าท้อง
3.อ้วนช่วงท้องด้านบนและด้านหลังยื่น เกิดจากไม่ชอบขยับร่างกาย ชอบอยู่นิ่งๆ ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
4.อ้วนช่วงล่าง เกิดจากกินอาหารที่มีกลูเตนมากเกินไปรวมถึงพันธุกรรม และช่วงการตั้งครรภ์
5.อ้วนท้องบวม เกิดจากกินเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินกลายเป็นไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องทำให้พุงยื่น อ้วนลงพุงได้
6.อ้วนช่วงล่างไปถึงขา เกิดจากกินอาหารรสเค็มมากเกินไปทำให้โซเดียมสูงและคั่งค้างอยู่ในร่างกาย
ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ได้สำรวจภาวะโรคอ้วนทั่วโลกพบข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าระหว่าง ปี 1980-2014 นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์ตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมากขึ้น การสูญเสียความสามารถในการทำงาน และค่าแรงที่ลดลง โรคอ้วนกับค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวเลขที่ใช้ประเมินโรคอ้วน โดยค่านี้คิดว่าส่วนสูงและน้ำหนักของผู้ป่วย
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้น มักจะมีอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นที่จะสามารถพบได้บ่อยๆ เข้ามาด้วย เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อเสื่อม โรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และอื่นๆอีกมามาย เนื่องจากโรคอ้วนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุไปทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกาย ( ระบบเมตาโบลิซึม ) และระบบฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทำงานรวนหรือ ผิดเพี้ยนไปจากเดินนั้นเอง
นอกจากนี้ยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดจากการเป็นอ้วนลงพุง ทำให้ความสุขในชีวิตลดลง เช่น การหายใจที่ลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังและทำให้มีบุตรยากอีกด้วยปัญหาโรคอ้วน นับวันจะค่อยๆร้ายแรงขึ้น กลายเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ และเริ่มระบาดไปในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา โรคอ้วนกำลังระบาดอย่างหนักมาก โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่ามาโดยตลอดในทั่วโลก หากดูข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก มีสถิตที่น่าสนใจคือ ในปี ค.ศ. 2014 มีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนมากถึง 600 ล้านคน และในจำนวนนี้เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ถึง 42 ล้านคนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นข้อมูลและสถิติที่น่าตกไม่น้อยเลย
>> คอเลสเตอรอลคืออะไร มีความจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ มาดูกันค่ะ
>> อาหารเช้าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้จริงหรือ อยากรู้ดูได้จากบทความนี้ค่ะ
โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุอะไร
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนนั้น สามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยหลักๆ ได้ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
1.1 กรรมพันธุ์ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หากครอบครัวใดที่พ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่ออกมามีโอกาสจะเป็นโรคอ้วนมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีพ่อหรือแม่แค่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคอ้วน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคอ้วนจะลดลงมาเหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับครอบครัวที่พ่อและแม่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน ลูกที่ออกมาจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองและการควบคุมอาหารด้วย ที่สามารถลดปัจจัยด้านกรรมพันธุ์นี้ได้
1.2 เพศ โดยปกติแล้วโอกาสที่เพศหญิงจะเป็นโรคอ้วนมีสูงกว่าผู้ชายเนื่องจากในผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง จึงใช้พลังงานในแต่ละวันมากกว่าผู้หญิง และจากข้อมูลจะพบว่าผู้หญิงมีนิสัยชอบกินจุกกินจิกมากกว่าผู้ชายด้วยเลยทำให้อ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชายนั้นเอง
1.3 อายุ ด้วยอายุที่มากขึ้นในทุกๆปี ทำให้ปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกาย และการทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันจะน้อยลงกว่าวัยหนุ่มสาว การใช้พลังงานน้อยลงทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังน้อยลดตามไปด้วย และสำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้วมวลกล้ามเนื้อจะลดลง...