Home Blog Page 69

เหียง ช่วยแก้บิด แก้ตกขาว เป็นยาสมานแผล

0
เหียง ช่วยแก้บิด แก้ตกขาว เป็นยาสมานแผล
เหียง หรือยางเหียง ดอกเป็นสีชมพูสดรสเปรี้ยวเล็กน้อย ผลมีลักษณะกลมแข็ง
เหียง ช่วยแก้บิด แก้ตกขาว เป็นยาสมานแผล
เหียง หรือยางเหียง ดอกเป็นสีชมพูสดรสเปรี้ยวเล็กน้อย ผลมีลักษณะกลมแข็ง

เหียง

เหียง (Hairy Keruing) หรือยางเหียง มีดอกเป็นสีชมพูสด กลีบดอกมีรสเปรี้ยวเล็กน้อยโดยชาวบ้านนิยมนำมาจิ้มทานกับน้ำพริก เป็นต้นที่มีส่วนเปลือกต้นหรือเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมาก และที่สำคัญยังมีสรรพคุณทางยาได้อีกด้วย เหียงเป็นต้นที่คนทั่วไปไม่ค่อยได้ยินชื่อนัก แต่พบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนของผลมีลักษณะเด่นคือมีปีกเป็นสีแดงสดยาวลงมาจากต้นทำให้ต้นมีสีสันสดใส

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเหียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Hairy Keruing”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอุตรดิตถ์เรียกว่า “สะแบง” ภาคตะวันออกเรียกว่า “ตะแบง” จังหวัดราชบุรีและจันทบุรีเรียกว่า “ยางเหียง” จังหวัดพิษณุโลกและจันทบุรีเรียกว่า “ตาด” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “ซาด” จังหวัดเลยและน่านเรียกว่า “เห่ง” จังหวัดนครพนมเรียกว่า “คร้าด” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “เหียงพลวง เหียงโยน” ละว้าเชียงใหม่เรียกว่า “เกาะสะเตียง” กะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ตะลาอ่ออาหมือ” กะเหรี่ยงกาญจนบุรีเรียกว่า “สาละอองโว” มลายูภาคใต้เรียกว่า “กุง” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “ไม้ยาง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ชาด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
ชื่อพ้อง : Dipterocarpus punctulatus Pierre

ลักษณะของต้นเหียง

เหียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ ประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าสนเขา ป่าชายหาด และตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ
ลำต้น : ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย เรือนยอดเล็ก เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนาและเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้เป็นสีแดงอ่อนถึงสีน้ำตาลปนแดง ตามกิ่งอ่อนและใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ขนาดใหญ่ ปลายใบมน โคนใบมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบเป็นหยักคลื่นตามเส้นใบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสีน้ำตาล ท้องใบเป็นสีบรอนซ์ออกสีเขียวและมีขนรูปดาวตามเส้นใบ ใบอ่อนมีลักษณะพับเป็นจีบชัดเจนตามแนวเส้นแขนงใบ มีหูใบหุ้มยอดอ่อน หูใบมีลักษณะเป็นรูปแถบกว้างและปลายมนเป็นสีชมพูสด
ดอก : ออกดอกรวมกันเป็นช่อเดียวตามซอกใบใกล้บริเวณปลายกิ่ง กลุ่มละประมาณ 3 – 7 ดอก แกนก้านเป็นรูปซิกแซก มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีชมพูสด ลักษณะของกลีบเป็นรูปกรวย โคนกลีบชิดกัน ตรงปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน ผิวด้านนอกมีขนสั้นเป็นรูปดาวขึ้นปกคลุม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะร่วงลงสู่พื้น
ผล : เป็นผลแห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลมีลักษณะกลมแข็ง เมื่ออ่อนจะยังมีขนปกคลุมอยู่ เมื่อแก่แล้วผลจะเรียบเกลี้ยง ผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลเป็นมัน และมีปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงของดอก 5 ปีก แบ่งเป็นปีกยาวที่มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน 2 ปีก มีเส้นตามยาวปีก 1 เส้น ส่วนเส้นย่อยสานกันเป็นร่างแห และอีก 3 ปีกเล็ก ปีกอ่อนจะเป็นสีแดงสด และภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด มักจะติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของเหียง

  • สรรพคุณจากใบ
    แก้ปวดฟัน แก้ฟันโยกคลอน โดยตำรายาไทยนำใบมาต้มผสมกับน้ำเกลือแล้วใช้อม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาแก้ไข้ตานขโมย เป็นยาแก้บิด
    – แก้ท้องเสีย ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากน้ำมันยาง ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาวของสตรี เป็นยาสมานแผล แก้หนอง เป็นยาทารักษาแผลภายนอก
  • สรรพคุณจากใบและยาง เป็นยาตัดลูกหรือทำให้ไม่มีบุตร

ประโยชน์ของเหียง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร กลีบดอกมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ชาวบ้านจึงนำมาทานจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ในการก่อสร้างและอุปกรณ์ ใบเหียงแก่นำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาหรือเถียงนาหรือกั้นเป็นฝาได้เหมือนใบพลวง ยางไม้หรือน้ำมันจากลำต้นใช้ทำเครื่องจักสาน ยาแนวเรือและทำไม้
3. ใช้ห่อแทนกล้วย ทางภาคเหนือนำใบแก่มาห่อยาสูบ ห่อของสด ห่ออาหาร ห่อข้าวเหนียวหรืออาหารอื่น ๆ
4. เป็นเชื้อเพลิง ชาวเมี่ยนนำยางใช้ผสมกับเนื้อไม้ผุแล้วนำมาอัดใส่กระบอกไม้ไผ่ใช้เป็นเชื้อเพลิง คนเมืองนำเนื้อไม้ของต้นเหียงมาใช้ทำฟืน
5. กันยุง เปลือกไม้นำมาบดให้ละเอียดผสมกับขี้เลื่อยและกาว ใช้ทำเป็นธูป หรือนำมาผสมกับกำมะถันทำเป็นยากันยุงได้

เหียง เป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ใช้ในการก่อสร้างได้ มีผลสีแดงห้อยลงมาเป็นปีกทำให้ดูสวยงาม ทว่าต้นเหียงมักจะมียางและมีน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ เหียงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้นและน้ำมันยาง มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปวดฟัน แก้บิด รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาวของสตรีและเป็นยาสมานแผล ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบทางเดินปัสสาวะเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เหียง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 194.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เหียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [19 ก.ค. 2014].
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. “ยางเหียง”.
ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . “ยางเหียง” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [19 ก.ค. 2014].
ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ชาด,ยางเหียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/. [19 ก.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เหียง, ยางเหียง”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [19 ก.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ผักโขมหนาม อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยแก้ไข้ แก้บิด แก้นิ่ว แก้บวมอักเสบ

0
ผักโขมหนาม อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยแก้ไข้ แก้บิด แก้นิ่ว แก้บวมอักเสบ
ผักโขมหนาม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ ผลมีเมล็ดเป็นรูปทรงกลมสีน้ำตาลเป็นมันเงา
ผักโขมหนาม อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยแก้ไข้ แก้บิด แก้นิ่ว แก้บวมอักเสบ
ผักโขมหนาม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ ผลมีเมล็ดเป็นรูปทรงกลมสีน้ำตาลเป็นมันเงา

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม (Spiny amaranth) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน สามารถนำมารับประทานในรูปแบบของผักได้ โดยนิยมนำมาทำแกงหรือผัดผัก ถือเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงสุดชนิดหนึ่ง และยังมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย ดูจากภายนอกนั้นผักชนิดนี้ดูไม่มีอะไรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ส่วนต่าง ๆ ของต้นคือยาที่มีสรรพคุณทั้งนั้น มีดอกเป็นเหมือนกาบปลายแหลมสีขาวและเขียวขนาดเล็กและผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายใน เป็นพืชในวงศ์บานไม่รู้โรยที่มีชื่อเรียกที่นิยมอีกชื่อว่า “ผักโขมสวน”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักโขมหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Spiny amaranth” “Spiny pigweed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักขมหนาม ผักหมหนาม ผักขมสวน” ภาคใต้เรียกว่า “ผักโขมหนาม” เขมรเรียกว่า “ปะตึ ปะตี” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “แม่ล้อคู่ กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ด่อเร่น” ชาวลัวะเรียกว่า “บะโด่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและแตกกิ่งมาก ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลม ผิวเรียบ มีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้น การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ลักษณะของขอบใบเป็นคลื่น มีหนามแหลมยาว 2 อันอยู่ที่โคนก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด หรือเป็นช่อแบบกระจุก ออกบริเวณปลายกิ่ง ตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเท่าเมล็ด ลักษณะของกลีบดอกเป็นเหมือนกาบปลายแหลมสีขาวและเขียวขนาดเล็ก
ผล : ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก เป็นรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น 3 พู โดยจะแตกตามขวางของผล ผลมีเมล็ดเป็นรูปทรงกลม ตรงกลางทั้งสองด้านจะนูน เมล็ดมีสีน้ำตาลเป็นมันเงา

สรรพคุณของผักโขมหนาม

  • สรรพคุณจากราก ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยแก้ไข้ ระงับความร้อนในร่างกาย รักษาเด็กที่ลิ้นเป็นฝ้าละออง รักษาเด็กมีอาการเบื่ออาหาร ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการจุกเสียด ช่วยแก้หนองใน รักษากามโรค ช่วยต่อต้านสารพิษที่มาทำลายตับ ช่วยแก้ขี้กลาก ช่วยแก้พิษ
    – แก้ฝี ด้วยการนำรากมาเผาไฟพอข้างนอกดำ แล้วจี้ที่หัวฝีจะทำให้ฝีที่แก่แตก
  • สรรพคุณจากทั้งต้น รักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือด มีฤทธิ์ในการบีบตัวของลำไส้เล็ก ช่วยรักษาอาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการบวมอักเสบต่าง ๆ ช่วยแก้พิษงู
    – ช่วยแก้อาการแน่นท้อง ช่วยแก้อาการตกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับและส่งเสริมการไหลของน้ำนมของสตรี ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่ม
    – แก้บวม ด้วยการนำทั้งต้นผสมกับข้าวโพดทั้งต้น แล้วต้มกับน้ำดื่ม
  • สรรพคุณจากต้น ใบและราก เป็นยาระบายในเด็ก ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง
  • สรรพคุณจากต้นสด
    – ช่วยรักษานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการนำต้นสดที่มีสีเขียวจำนวน 200 กรัม มาต้มกับไส้หมู 1 ท่อน แล้วนำมาทาน
  • สรรพคุณจากใบ ประเทศอินโดนีเซียใช้ในการพอกแผล ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยแก้พิษงู
    – แก้หนอง ด้วยการนำใบมาตำใช้พอกปิดแผล
  • สรรพคุณจากใบและราก
    – ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง ด้วยการนำใบต้มกับรากใช้อาบ

ประโยชน์ของผักโขมหนาม

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผักโขมนำมาทานเป็นผักได้ หรือนำลำต้นมาประกอบอาหารด้วยการลอกเปลือกและหนามออกให้หมด ส่วนใบ ยอดอ่อนและดอกใช้นึ่งกิน หรือนำไปคั่วและผัด ยอดอ่อนนิยมใช้ทำแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงใส่เนื้อหมูและผัดน้ำมัน ส่วนต้นอ่อนก็นำมาแกงได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขมหนาม

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขมหนามส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม ให้เบตาแคโรทีน 4 – 8 มิลลิกรัม วิตามินซี 60 – 120 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 300 – 400 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 4 – 9 มิลลิกรัม

ข้อควรระวังของผักโขมหนาม

ประเทศบราซิลได้มีรายงานว่า ผักโขมหนามมีพิษต่อวัว ควายและม้า ทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการเบื่ออาหาร เซื่องซึม น้ำหนักตัวลดลง มีอาการท้องเสียและกลิ่นเหม็นมาก บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาในอุจจาระได้

ผักโขมหนาม ถือเป็นต้นที่มีวิตามินซีสูงและทำให้ต้านอนุมูลอิสระได้ มีคุณค่าทางโภชนาการและเหมาะต่อการนำมาประกอบอาหาร ซึ่งส่วนมากมักจะนำมาใช้ในการทำแกงต่าง ๆ ผักโขมหนามมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้บิด แก้ตกขาว แก้บวมอักเสบ รักษานิ่วในถุงน้ำดีได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ผักขมหนาม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [13 พ.ย. 2013].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ผักโขมหนาม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [13 พ.ย. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ผักโขมหนาม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [13 พ.ย. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Spiny amaranth, Spiny pigweed”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [13 พ.ย. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. “ผักโขมหนาม สมุนไพรมากคุณค่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [13 พ.ย. 2013].
รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “เรื่อง ผักขม“. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2543. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [13 พ.ย. 2013].
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: dc.oas.psu.ac.th/dcms/files/03180/Chapter4(8-50).pdf‎. [13 พ.ย. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

แสมสาร ต้านมะเร็ง บำรุงเลือด แก้เบาหวาน ช่วยในการนอนหลับ

0
แสมสาร ต้านมะเร็ง บำรุงเลือด แก้เบาหวาน ช่วยในการนอนหลับ
แสมสาร ไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลือง มีรสขม ผลเป็นฝักแบนบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง
แสมสาร ต้านมะเร็ง บำรุงเลือด แก้เบาหวาน ช่วยในการนอนหลับ
แสมสาร ไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลือง มีรสขม ผลเป็นฝักแบนบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง

แสมสาร

แสมสาร (Senna garrettiana) เป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลือง ซึ่งจะนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับไว้ตามข้างทางทั่วไป เพราะมีทรงพุ่มเป็นเรือนยอดสวยงาม เมื่อยามออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น นอกจากนั้นเรามักจะพบเจอแสมสารได้ในแกงต่าง ๆ ทั้งต้นส่วนมากจะมีรสขม ดังนั้นก่อนนำมารับประทานจึงต้องทำการต้มเพื่อลดความขมลงก่อน แสมสารยังเป็นต้นที่ส่วนต่าง ๆ นำมาประกอบเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแสมสาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ขี้เหล็กโคก ขี้เล็กแพะ” ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ขี้เหล็กป่า” จังหวัดนครราชสีมาและปราจีนบุรีเรียกว่า “ขี้เหล็กสาร” ชาวบน นครราชสีมาเรียกว่า “กราบัด กะบัด” ชาวเขมรสุรินทร์เรียกว่า “ไงซาน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia garrettiana Craib

ลักษณะของแสมสาร

แสมสาร เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบตามบริเวณป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าที่ราบต่ำทั่วไปและป่าผลัดใบ ในประเทศไทยพบทุกภาคยกเว้นภาคใต้
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้แข็ง กิ่งแตกแขนงเป็นเรือนยอดกลมทึบ เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ลำต้นขรุขระแตกเป็นร่องลึก แตกเป็นสะเก็ดเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 6 – 9 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปหอก หรือรูปหอกถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 10 – 15 เส้น หูใบเรียวเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อใหญ่ โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามมุมก้านใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก ดอกย่อยเป็นสีเหลือง สีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนกลีบดอกเรียว ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปกลม เป็นสีเขียวออกเหลือง มีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังกลางดอก 10 อัน ก้านเกสรเป็นสีน้ำตาลมีขนาดยาวไม่เท่ากัน รังไข่และหลอดเกสรเพศเมียเกลี้ยงหรือมีขนประปราย มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ผล : ออกผลเป็นฝักแบน ฝักมักจะบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง ผิวฝักเรียบเกลี้ยงไม่มีขน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะบิดและแตกออกเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 10 – 20 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ มักจะติดฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และผลจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของแสมสาร

  • สรรพคุณจากแสมสาร ช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต ช่วยเจริญธาตุไฟ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โลหิตประจำเดือนเสีย ช่วยแก้ไตพิการ ทำให้แท้ง ทำให้มดลูกคลายตัว เป็นพิษต่อตัวอ่อน กระตุ้นมดลูก ต้านมะเร็ง
    สรรพคุณจากแก่น เป็นยาแก้โลหิต แก้ลม ช่วยถ่ายกระษัยหรือป้องกันความเสื่อมโทรมของร่างกาย ช่วยแก้โลหิตกำเดา เป็นยาถ่ายเสมหะ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นสี แก้ปัสสาวะพิการ ช่วยฟอกถ่ายประจำเดือนของสตรี ช่วยทำให้เส้นเอ็นอ่อนหรือหย่อน แก้ปวดเมื่อย ช่วยแก้ลมในกระดูก
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาฟอกโลหิต
  • สรรพคุณจากยอด
    – แก้โรคเบาหวาน ด้วยการนำยอดมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากดอก
    – แก้นอนไม่หลับ ด้วยการนำดอกมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาถ่าย บำบัดโรคงูสวัด ช่วยรักษาแผลสดและแผลแห้ง บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว

ประโยชน์ของแสมสาร

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนและใบอ่อนทานเป็นผักได้แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้มีความทนทาน และไม่แข็งมากจนเกินไป นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือช่าง ทำสลัก
3. ใช้ด้านเชื้อเพลิง ทำเป็นถ่านไม้และฟืน ซึ่งจะเป็นถ่านที่ให้ความร้อนสูงถึง 6,477 แคลอรี/กรัม ถ้าเป็นฟืนจะให้ความร้อน 4,418 แคลอรี/กรัม
4. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับไว้ตามข้างทางทั่วไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของแสมสาร

สารที่พบในแสมสาร พบว่ามีสารในกลุ่มแอนทราควิโนนอยู่หลายชนิดได้แก่ Chrysophanol และ Cassialoin ยังพบ aloe emodin, aloin, deoxy, benz – (D – E) – anthracene – 7 – one, 7 – (H): 6,8 – dihydroxy – 4 methyl, betulic acid, bibenzyl, 3,3′ – 4 – trihydroxy, bibenzyl, 3,3′ – dihydroxy, cassialoin, cassigarol A, B, C, D, E, F, G, chrysophanic acid, chrysophanol dianthrone, quercetin, piceatannol, piceatanol, protocatechuic aldehyde, scirpusin B, rhamnetin, rhamnocitrin
ฤทธิ์ของแสมสาร มีฤทธิ์ด้านฮิสตามีน ด้านการบีบตัวของลำไส้ มีฤทธิ์เหมือน Lectin ยับยั้งเอนไซม์ H+,H+-ATPase และ lipoxygenase หยุดการขับน้ำย่อย
การทดสอบความเป็นพิษของแสมสาร เมื่อป้อนสารสกัดจากแก่นแสมสารด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตรา 1:1 หรือฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูถีบจักรทดลองในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษใด ๆ

แสมสาร เป็นต้นที่นิยมนำส่วนของเนื้อไม้และแก่นมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ทั้งต้นจะมีรสขมและทำให้รับประทานได้ยากจึงต้องนำมาต้มให้หายขมเสียก่อนจึงจะนำมารับประทานได้ สามารถพบแสมสารได้ตามข้างทางทั่วไปหรือในเมนูอาหารประเภทแกง แสมสารมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของแก่น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ต้านโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ ช่วยบำรุงโลหิต แก้โรคปัสสาวะและเป็นยาระบาย เป็นต้นที่มีสรรพคุณได้หลากหลายด้าน ถือเป็นต้นที่น่าสนใจในการนำมาใช้ทำแกงในอาหารได้ เพราะนอกจากจะเป็นวัตถุดิบทางอาหารแล้ว เรายังได้ประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “แสมสาร (Samae San)”. หน้า 309.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “แสมสาร”. หน้า 145.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “แสมสาร”. หน้า 78.
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “แสมสาร”.
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แสมสาร กะบัด ขี้เหล็กโคก ขี้เหล็ก คันชั่ง ขี้เหล็กแพะ ขี้เหล็กสาร ไงซาน กราบัด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [15 มิ.ย. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “แสมสาร”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [15 มิ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

กระทงลาย แหล่งสกัดน้ำมันยอดนิยม ช่วยแก้โรคอัมพาต แก้ไข้ รักษาโรคบิด

0
กระทงลาย แหล่งสกัดน้ำมันยอดนิยม ช่วยแก้โรคอัมพาต แก้ไข้ รักษาโรคบิด
กระทงลาย เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง ดอกขนาดเล็กคล้ายรูประฆังสีขาวอมสีเหลือง มีสรรพคุณทางยา
กระทงลาย แหล่งสกัดน้ำมันยอดนิยม ช่วยแก้โรคอัมพาต แก้ไข้ รักษาโรคบิด
กระทงลาย เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง ดอกขนาดเล็กคล้ายรูประฆังสีขาวอมสีเหลือง มีสรรพคุณทางยา

กระทงลาย

กระทงลาย (Black oil plant) เป็นไม้เลื้อยยอดนิยมในประเทศอินเดีย ซึ่งมักจะนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกระทงลายมาใช้เป็นยา ส่วนในประเทศไทยเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นเคยนักสำหรับบุคคลทั่วไป แต่สำหรับคนที่มีความรู้ด้านยาสมุนไพรจะรู้กันว่าเป็นพรรณไม้ที่มีสรรพคุณทางยาแทบทั้งต้น นอกจากจะเป็นยาสมุนไพรแล้วมักจะนำมาใช้ในรูปแบบของน้ำมันมากกว่าการนำไปใช้ในแบบอื่น ๆ

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกระทงลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celastrus paniculatus Willd.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Black ipecac” “Black oil plant” “Black oil tree” “Celastrus dependens” “Climbing staff plant” “Climbing staff tree” “Intellect tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กระทงลาย กระทุงลาย โชด” ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่า “มะแตก มะแตกเครือ มักแตก” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “นางแตก” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “หมากแตก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กระทงลาย (CELASTRACEAE)

ลักษณะของกระทงลาย

กระทงลาย เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางจีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซียไปจนถึงออสเตรเลียและนิวแคลิโดเนีย ส่วนในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะหรือตามพื้นที่โล่ง
เปลือกต้น : เป็นสีน้ำตาลปนสีเทา ผิวขรุขระเล็กน้อย ตามกิ่งจะมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน เป็นรูปวงรีหรือเป็นวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบเรียบ ท้องใบมีขนอยู่ประปราย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด เป็นดอกแบบแยกเพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีสีขาวอมสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบและกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก มีลักษณะค่อนข้างกลมและมีขนขึ้นประปราย ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบและมีลักษณะเป็นพู 3 พู ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แต่พอผลแก่เต็มที่แล้วเกสรที่ปลายก็จะหลุดออก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีส้มปนเหลืองและแตกออกเป็น 3 ซีก
เมล็ด : ในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3 – 6 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีและมีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง

สรรพคุณของกระทงลาย

  • สรรพคุณจากใบ แก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน อาจใช้ถอนพิษฝีได้
    – ช่วยกระตุ้นประสาท ถอนพิษฝิ่น รักษาโรคบิด ด้วยการนำใบมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม
  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้ไข้
    – รักษาโรคปวดตามข้อหรือปวดตามกล้ามเนื้อ แก้โรคอัมพาต ด้วยการนำเมล็ดมารับประทานหรือพอก
  • สรรพคุณจากน้ำมันเมล็ด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความจำ รักษาโรคเหน็บชา
  • สรรพคุณจากผล ช่วยบำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด แก้พิษงู
  • สรรพคุณจากแก่น รักษาวัณโรค
  • สรรพคุณจากเปลือก แก้ไข้มาลาเรีย
    – รักษาโรคบิด ด้วยการนำเปลือกต้นมาตำผสมกับตัวมดแดงและเกลือสำหรับรับประทานครั้งเดียว
  • สรรพคุณจากราก แก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน
    – แก้อาการปวดท้อง บำรุงน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตร ด้วยการนำรากตากแห้งมาต้มผสมกับข้าวเปลือก 9 เม็ด แล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเถา แก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน
    – บำรุงน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตรในเวลาเรือนไฟ ด้วยการนำเถามาต้มหรือฝนเป็นยารับประทาน
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ด้วยการนำลำต้นมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของต้นกระทงลาย

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาใช้ทำแกงใส่ไข่มดแดงหรือใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก
2. สกัดเป็นน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดใช้เคลือบกระดาษกันน้ำซึม ทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ในสมัยก่อนมีการใช้เมล็ดแก่บีบเอาน้ำมันสำหรับใช้จุดตะเกียงได้

กระทงลาย มักจะนำมาใช้สกัดเป็นน้ำมันทำเชื้อเพลิงและนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย นิยมเรียกกันอีกอย่างว่ากระทุงลายหรือหมากแตก เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณโดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคอัมพาต แก้ไข้ รักษาโรคบิดและบำรุงน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตร

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “กระทงลาย (Krathong Lai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 27.
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กระทงลาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [01 ก.พ. 2014].
หนังสือพืชและอาหารสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). “กระทงลาย”. (อัปสร และคณะ).
หนังสือ Flora of Thailand Volume 10 Part 2.
มูลนิธิสุขภาพไทย. “หมากแตก ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [01 ก.พ. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “กระทงลาย, มะแตก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [01 ก.พ. 2014].
หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ราชบัณฑิตยสถาน.
Bhanumathy M. Harish MS. Shivaprasad HN. Sushma G (2010). “Nootropic activity of Celastrus paniculatus seed”. Pharmaceutical Biology 48 (3): 324–7.
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “มะแตกเครือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [01 ก.พ. 2014].

เสม็ด น้ำมันเขียวเป็นยา รักษาโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคไขข้อ

0
เสม็ด น้ำมันเขียวเป็นยา รักษาโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคไขข้อ
เร่ว เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน ดอกคล้ายกับดอกข่า
เสม็ด น้ำมันเขียวเป็นยา รักษาโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคไขข้อ
เสม็ด หรือต้นเสม็ดขาว เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันคล้ายเส้นไหม ดอกย่อยเป็นสีขาวขนาดเล็ก

เสม็ด

เสม็ด (Cajuput tree) หรือต้นเสม็ดขาว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ชมพู่ที่มีดอกเป็นสีขาวขนาดเล็ก มักจะพบริมชายทะเลจึงพบได้มากทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนของใบสดเมื่อนำมากลั่นจะได้ “น้ำมันเขียว” ซึ่งเป็นยาสมุนไพรที่ยอดเยี่ยมชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน ส่วนของใบยังนำมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชาหรือนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย ซึ่งส่วนของใบต้นเสม็ดถือเป็นขุมทรัพย์ชั้นดีที่นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าทึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเสม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T.Blake หรือ Melaleuca cajuputi Powell
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Cajuput tree” “Milk wood” “Paper bark tree” “Swamp tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคใต้เรียกว่า “เม็ด เหม็ด” ภาคตะวันออกเรียกว่า “เสม็ดขาว” ชาวมลายูปัตตานีเรียกว่า “กือแล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ชื่อพ้อง : Melaleuca leucadendra var. minor (Sm.) Duthie

ลักษณะของต้นเสม็ด

เสม็ด เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัด ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคใต้ มักจะพบได้ทั่วไปตามชายทะเล ป่าชายหาดใกล้ทะเล ในที่ลุ่มมีน้ำขัง ตามขอบของป่าพรุที่ถูกไฟเผาผลาญทำลายจนโล่งเตียน
ลำต้น : มีเรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกลำต้นเป็นสีขาวนวลจนถึงสีน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบางเรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม ลอกออกได้เป็นแผ่น ส่วนเปลือกชั้นในบางและเป็นสีน้ำตาลอ่อน ตามยอดอ่อน ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันคล้ายเส้นไหมขึ้นปกคลุมและกิ่งมักจะห้อยลง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมนหรือเป็นรูปลิ้ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ เป็นสีเขียวอมเทา มีเส้นใบหลักประมาณ 5 – 7 เส้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบหรือใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปช้อนแกมรูปไข่ เกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีขาวและมีจำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกเป็นพู่ ก้านชูช่อดอกมีขนสีขาว มักจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : เป็นผลแห้งและแตกออกได้เป็นพู 3 พู ลักษณะของผลเป็นรูปถ้วย ปลายปิด ขนาดเล็กและแป้น ผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีคล้ำ ผลแห้งแตกด้านบน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก

สรรพคุณของเสม็ด

  • สรรพคุณจากน้ำมันเขียวที่สกัดจากใบ ช่วยขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ เป็นยาดมเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องอืด แก้ท้องขึ้น เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาหม่องแก้ปวดศีรษะ แก้ปวดหู อุดฟันเพื่อแก้ปวดฟัน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะลำไส้ แก้ลมชัก เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาสิว เป็นยาทาแก้ปวดเมื่อย แก้บวม แก้เคล็ด รักษาโรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคปวดข้อรูมาติสซั่ม
  • สรรพคุณจากใบและเปลือก
    – กลัดหนอง ช่วยดูดหนองให้แห้ง ฆ่าเหา ฆ่าหมัด ไล่ยุง ด้วยการนำใบและเปลือกตำรวมกันใช้เป็นยาพอกแผล
  • สรรพคุณจากใบสด
    – แก้เคล็ดขัดยอกฟกช้ำบวม ด้วยการนำใบสดตำแล้วพอก

ประโยชน์ของเสม็ด

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบและยอดอ่อนนำมาทานเป็นผัก ดอกและยอดอ่อนมีรสเผ็ดใช้ทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกได้ ผลแห้งใช้ทำพริกไทยดำ
2. เป็นน้ำมันหอมระเหย ใบสดเฉพาะยอดอ่อนนำมาใช้กลั่นทำเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งจะมีกลิ่นคล้ายกับการบูร
3. เป็นส่วนประกอบของยา มีคุณสมบัติในทางยาคล้ายกับ Eucalyptus oil
4. ไล่แมลง น้ำมันเสม็ดใช้ไล่แมลงจำพวกยุง เห็บ หมัด เหา ปลวกและสัตว์ดูดเลือด ทำเป็นสเปรย์ไล่ยุง สเปรย์ฆ่าปลวก สเปรย์ป้องกันทาก ธูปกันยังแชมพูสุนัข
5. เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง น้ำมันเสม็ดสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดสิวได้ จึงเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ป้องกันสิวได้
6. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้มีความคงทนต่อสภาพที่เปียกชื้นและในน้ำเค็มได้ดี จึงนำมาใช้ทำเสาเข็ม สร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำรั้ว ทำถ่าน ส่วนเปลือกต้นใช้มุงหลังคา ทำฝาบ้านชั่วคราว เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ชาวประมง ใช้ห่อก้อนไต้สำหรับใช้จุดไฟ
7. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า น้ำต้มจากใบเสม็ดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันไปย้อมสีผ้าจะให้สีน้ำตาลอ่อนและช่วยทำให้ผ้าคงทนต่อการเข้าทำลายของแมลงที่กัดกินเนื้อผ้าได้ดี
8. ด้านการเกษตร ทุกปีในช่วงหน้าแล้งหากมีฝนตกจนป่าเสม็ดชุ่มชื้น และมีแสงแดดจัดประมาณ 4 – 5 วัน จะมี “เห็ดเสม็ด” งอกขึ้นมา เป็นเห็ดมีรสค่อนข้างขมแต่ถือเป็นเห็ดยอดนิยมของชาวใต้ ป่าเสม็ดยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของผึ้งและนกน้ำ ในเวียดนามจะใช้ป่าเสม็ดเป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เป็นกรดให้มีความเป็นกรดลดลงก่อนนำไปใช้ปลูกข้าว

ข้อควรระวังของเสม็ด

หากรับประทานมากเกินควรจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้

เสม็ด ถือเป็นไม้ต้นที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นไม้ที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ มีน้ำมันหอมระเหยจากใบเป็นจุดเด่นซึ่งเรียกว่า “น้ำมันเขียว” หรือ “น้ำมันเสม็ด” เสม็ดมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของน้ำมันเขียวที่สกัดจากใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ขับลม รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคไขข้ออักเสบและโรคปวดข้อรูมาติสซั่มได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “เสม็ด (Samet)”. หน้า 307.
หนังสือพรรณไม้ป่าพรุ จังหวัดนาราธิวาสโครงการศูนย์การศึกษาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนาราธิวาส (งานป่าไม้). “เสม็ดขาว”.
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เสม็ดขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [14 มิ.ย. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “เสม็ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [14 มิ.ย. 2014].
มูลนิธิชัยพัฒนา. “โครงการจัดการป่าเสม็ดแบบครบวงจร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เชียงใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chaipat.or.th. [14 มิ.ย. 2014].
ส่วนพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้. “การใช้ประโยชน์จากเสม็ดขาว”. หน้า 4.
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (อนงค์นาฏ ศรีบุญแก้ว). “เสม็ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [14 มิ.ย. 2014].
Thai Medicinal and Aromatic Plants. “เสม็ดขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: med-aromaticplant.blogspot.com. [14 มิ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เร่ว ผลรสเผ็ดปร่า ทั้งต้นเป็นยา ดีต่ออวัยวะของสตรี

0
เร่ว ผลรสเผ็ดปร่า ทั้งต้นเป็นยา ดีต่ออวัยวะของสตรี
เร่ว เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน ดอกคล้ายกับดอกข่า
เร่ว ผลรสเผ็ดปร่า ทั้งต้นเป็นยา ดีต่ออวัยวะของสตรี
เร่ว เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน ดอกคล้ายกับดอกข่า

เร่ว

เร่ว (Tavoy cardamom) เป็นต้นในวงศ์ขิงที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนของผลอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ซึ่งมีกลิ่นหอมและมีรสร้อนเผ็ดปร่า ซึ่งเร่วสามารถแบ่งได้เป็นเร่วน้อยและเร่วใหญ่ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลาง สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และที่สำคัญเป็นยาสมุนไพรในตำรับยาพิกัดทศกุลาผลได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเร่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum villosum var. xanthioides (Wall. ex Baker) T.L.Wu & S.J.Chen
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bustard cardamom” และ “Tavoy cardamom”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคอีสานเรียกว่า “หมากเนิง” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “หมากแหน่ง” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “หน่อเนง” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้” คนทั่วไปเรียกว่า “เร่วใหญ่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ชื่อพ้อง : Amomum xanthioides Wall. ex Baker

ลักษณะของเร่ว

เร่ว เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลาง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ผิวใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบเรียวยาว เป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบเป็นแผ่นและมีขนาดสั้น
ดอก : ดอกมีสีขาว ออกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกรวมอยู่ในก้านเดียวกันเป็นช่อยาวคล้ายกับดอกข่า กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ตรงปลายแยกเป็นกลีบและก้านช่อดอกสั้น
ผลเร่วน้อย : ผลค่อนข้างกลม ลักษณะเป็น 3 พู และมีขน ผลแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากจับกันเป็นกลุ่มก้อนกลมหรือกลมวงรี มี 3 พู โดยแต่ละพูจะมีเมล็ดประมาณ 3 – 15 เมล็ด อัดเรียงกันแน่น 3 – 4 แถว เมล็ดมีรูปร่างไม่แน่นอน มีหลายเหลี่ยมและมีสันนูน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ผิวด้านนอกเรียบและมีเยื่อบางหุ้ม ปลายแหลมของเมล็ดมีรูเห็นได้เด่นชัด เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม รสเผ็ดซ่าและมีรสขมเล็กน้อย
ผลเร่วใหญ่ : ผลมีลักษณะเรียวยาวหรือขอบขนานแกมสามเหลี่ยม สามารถแห้งและแตกได้ มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ผลมีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดเป็นกลุ่ม 10 – 20 เมล็ด ลักษณะเหมือนเร่วน้อย เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมและมีรสร้อนเผ็ดปร่า

สรรพคุณของเร่ว

  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยขับลมในลำไส้
    – ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการนำเมล็ดผสมกับหัวแห้วหมู ขิงแห้งและชะเอมเทศมาปรุงเป็นยา
    – แก้ท้องขึ้น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการนำเมล็ดจากผลแก่มาบดให้เป็นผง แล้วใช้ทานหลังอาหารครั้งละ 1 – 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง โดยใช้ผลประมาณ 3 – 9 ผล
    – ช่วยแก้อาการเป็นพิษ ด้วยการนำเมล็ดมาบดเป็นผง ชงกับน้ำอุ่นแล้วนำมาดื่ม
  • สรรพคุณจากผลเร่วใหญ่ ช่วยแก้ธาตุพิการ ช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้เสมหะอันบังเกิดแต่ดี ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยขับผายลม ช่วยทำให้เรอ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี ช่วยรักษาอาการขัดในทรวง มีฤทธิ์ขับลม ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลาย ช่วยลดความดันโลหิต
    – ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ด้วยการนำผลแห้งประมาณ 7 – 8 กรัม ย่างไฟจนแห้งกรอบแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นประจำ
  • สรรพคุณจากเมล็ดเร่วใหญ่ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยแก้หืดไอ แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษต่อตับ ช่วยขับน้ำนมหลังการคลอดบุตรของสตรี
  • สรรพคุณจากผลเร่วน้อย แก้ไข้ ช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยแก้หืดไอ แก้เสมหะในลำคอ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี ช่วยรักษาพิษอันบังเกิดในกองมุตกิดและมุตฆาตหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
    – ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ด้วยการนำผลแห้งประมาณ 7 – 8 กรัม ย่างไฟจนแห้งกรอบแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นประจำ
  • สรรพคุณจากเมล็ดเร่วน้อย ช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยแก้หืดไอ แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยกัดเสมหะ ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำนมหลังการคลอดบุตรของสตรี
    – ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ด้วยการนำเมล็ดมาบดเป็นผงครั้งละประมาณ 7 – 8 กรัม ชงกับน้ำขิงต้มดื่มกินเป็นประจำ
  • สรรพคุณจากราก ช่วยแก้ไข้เซื่องซึม ช่วยแก้อาการหืด แก้อาการไอ
  • สรรพคุณจากต้น แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยแก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันขึ้นตามร่างกาย

ประโยชน์ของเร่ว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เมล็ดและผลของเร่วใหญ่นำมาใช้เป็นเครื่องเทศได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม นำมาผลิตใช้ทำเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์อาหารได้
3. เป็นส่วนประกอบของยา เป็นยาสมุนไพรในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล”

เร่ว มีหลายชนิดด้วยกันและสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้นที่มีผลรสเผ็ดร้อนจึงสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกด้วย เร่วมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผลและเมล็ด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยขับลม แก้ไข้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำนมหลังการคลอดบุตรของสตรี ดีต่ออาการตกขาวและประจำเดือนของผู้หญิง และดีต่อระบบทางเดินปัสสาวะเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เท้ายายม่อม หรือ “แป้งเท้ายายม่อม” ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย

0
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง ผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง ผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว

เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม (East Indian arrow root) เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง เป็นแป้งที่ได้รับคำยกย่องจากโภชนบําบัดว่า มีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่น นอกจากนั้นยังนิยมนำมาผสมกับแป้งชนิดอื่นเพื่อให้ได้อาหารที่มีความเข้มเหนียวและเป็นมันวาว ซึ่งส่วนมากจะใช้ในการทำขนม และมีประโยชน์ในการนำมาพอกหน้ารักษาสิวและทำให้หน้าขาวได้อีกด้วย ทว่าแป้งเท้ายายม่อมแท้ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างที่จะหายากพอสมควร

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเท้ายายม่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “East Indian arrow root”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ไม้เท้าฤาษี” จังหวัดตราดเรียกว่า “บุกรอ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สิงโตดำ” จังหวัดระยองเรียกว่า “นางนวล” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ท้าวยายม่อม ว่านพญาหอกหลอก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กลอย (DIOSCOREACEAE)

ลักษณะของเท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายและพบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่ ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักจะขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทรายและตามป่าชายหาด ต้นเท้ายายม่อมจะยุบตัวเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวและใบจะเหลือง
หัวใต้ดิน : มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร ลักษณะของหัวเป็นรูปกลม กลมแบนหรือรูปวงรี ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเวียนเป็นแนวรัศมี ใบมีขนาดใหญ่และเว้าลึก เป็นรูปฝ่ามือ ปลายแยกออกเป็นแฉก 3 แฉก แต่ละแฉกขอบมีลักษณะเว้าลึก ปลายใบแหลม ก้านใบเป็นสีดำแกมเขียว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม แทงช่อสูงออกมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกจะออกที่ปลายยอด ก้านดอกเป็นสีม่วงอมเขียวมีลาย ช่อดอกจะมีประมาณ 1 – 2 ช่อ แต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 20 – 40 ดอก กลีบรวมเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเขียวอมม่วงเข้ม มักจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
ผล : เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ที่ผิวเมล็ดจะมีลาย

สรรพคุณของเท้ายายม่อม

  • สรรพคุณจากเหง้า
    – บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการนำเหง้ามาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากหัว ทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ร้อนใน ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ดีต่อระบบทางเดินอาหาร
    – แก้ร่างกายอ่อนเพลียจากไข้ แก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ บำรุงกำลัง ช่วยให้ชุ่มชื่นหัวใจ บำรุงร่างกายให้ฟื้นฟู ด้วยการนำแป้งจากหัวมาละลายกับน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวดแล้วตั้งไฟกวนจนสุกให้คนไข้รับประทาน
    – แก้อาการท้องเสียและบิด หยุดเลือดในกระเพาะและลำไส้ โดยชาวฮาวายนำหัวมาผสมกับน้ำและดินเคาลินสีแดงใช้กินเป็นยา
    – ช่วยห้ามเลือด ด้วยการนำแป้งที่ได้จากหัวโรยบริเวณแผล
    – แก้ผดผื่นคัน ด้วยการนำแป้งจากหัวละลายกับน้ำแล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ
    – รักษาฝีแผล แก้ช้ำ ถอนพิษ ด้วยการนำแป้งมานวดกับน้ำอุ่นให้พอเป็นยางเหนียวแล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ
    – ป้องกันเชื้อราที่เท้า ด้วยการนำแป้งโรยในถุงเท้า
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาขับเสมหะ
    แก้ไข้ โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำรากเป็นยา
    – แก้ไส้เลื่อน ด้วยการนำรากผสมกับสมุนไพรอื่นแล้วต้มกับน้ำกินเป็นยาเย็นหรือเผาให้ร้อนเอาผ้าห่อแล้วนั่งทับ
  • สรรพคุณจากหัวและราก
    – แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษผึ้ง พิษจากแมงกะพรุนไฟ เป็นต้น ด้วยการนำหัวหรือรากมาฝนกับน้ำมะนาวใช้ทาเป็นยา

ประโยชน์ของเท้ายายม่อม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร แป้งที่สกัดได้จากหัวนำมาใช้ประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด นิยมผสมกับแป้งชนิดอื่นเพื่อให้ได้อาหารที่มีความเข้มเหนียวและเป็นมันวาวใช้ทำขนมได้มากมาย สำหรับอาหารคาวจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมในซุปเห็ดเจ ราดหน้า กระเพาะปลา หอยทอด เป็นต้น ดอกและยอดอ่อนนำมาต้มแล้วจิ้มกับน้ำพริกหรือนำยอดอ่อนมาผัดกับน้ำกะทิสดได้
2. ใช้บำรุงผิว ช่วยลดสิวฝ้า ทำให้หน้าขาว ด้วยการนำแป้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักครู่แล้วค่อยล้างออก หรือใช้ผัดหน้าแทนแป้งฝุ่นได้

เท้ายายม่อม มีส่วนหัวที่ใช้ทำแป้งซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน นอกจากจะเป็นแป้งที่ใช้ทำขนมและอาหารแล้วยังเป็นยาพอกหน้าเพื่อบำรุงผิวได้ เท้ายายม่อมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง แก้ไข้ แก้อาการท้องเสียและบิด ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร เป็นส่วนที่มีแป้งเหมาะสมต่อระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์

เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง
เท้ายายม่อม,แป้งเท้ายายม่อม,ไม้เท้าฤาษี,บุกรอ,สิงโตดำ,นางนวล,ว่านพญาหอกหลอก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ท้าวยายม่อม (หัว)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [10 ธ.ค. 2014].
หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน. (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล). “เท้ายายม่อม”. หน้า 212.
จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙, กันยายน ๒๕๓๒.
กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “เท้ายายม่อม… แป้งแท้แต่โบราณ อาหารฟื้นไข้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rakkhaoyai.com. [10 ธ.ค. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สิงโตดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [10 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เทียนสัตตบุษย์ ต้นมีกลิ่นหอม ผลและเมล็ดเป็นยา ดีต่อลมในร่างกาย

0
เทียนสัตตบุษย์ ต้นมีกลิ่นหอม ผลและเมล็ดเป็นยา ดีต่อลมในร่างกาย
เทียนสัตตบุษย์ เป็นไม้ล้มลุก ดอกสีเหลืองหรือสีขาว รากมีกลิ่นหอม ผลและเมล็ดมีรสเผ็ดหวานเล็กน้อย เมล็ดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล
เทียนสัตตบุษย์ ต้นมีกลิ่นหอม ผลและเมล็ดเป็นยา ดีต่อลมในร่างกาย
เทียนสัตตบุษย์ เป็นไม้ล้มลุก ดอกสีเหลืองหรือสีขาว รากมีกลิ่นหอม ผลและเมล็ดมีรสเผ็ดหวานเล็กน้อย เมล็ดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล

เทียนสัตตบุษย์

เทียนสัตตบุษย์ (Aniseed) เป็นไม้ล้มลุกที่มีสีเหลืองหรือสีขาว ส่วนของใบและรากมีกลิ่นหอมจึงนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและนำมาใช้เป็นส่วนผสมที่ให้ความหอมได้ มักจะนำใบสดมารับประทานในรูปแบบของผัก ผลและเมล็ดมีรสเผ็ดหวานเล็กน้อยและเป็นยาร้อนอ่อน ๆ และส่วนที่สำคัญเลยก็คือเป็นยาสมุนไพรโดยเทียนสัตตบุษย์เป็นส่วนผสมในตำรับยามากถึง 4 ตำรับด้วยกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเทียนสัตตบุษย์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pimpinella anisum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Anise” และ “Aniseed”
ชื่อท้องถิ่น : จีนกลางเรียกว่า “เสียวหุยเซียง โอวโจวต้าหุยเซียง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ลักษณะของเทียนสัตตบุษย์

เทียนสัตตบุษย์ เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุประมาณ 1 ปี ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลำต้น : กิ่งและก้านเป็นสีเขียว เป็นรูปทรงกลมผิวมีร่องหรือเหลี่ยม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่เหมือนพัด ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ส่วนที่แตกจากกิ่งช่วงยอดต้นเป็นรูปแฉกยาว มีใบประกอบ 3 ใบ เป็นแบบขนนก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อคล้ายก้านซี่ร่มหลายชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลืองหรือสีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวและมีขนาดเล็ก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ตัว ติดอยู่บนฐานรอบดอก มีรังไข่ 5 ห้อง
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาววงรีกลมและคดงอเล็กน้อย เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล

สรรพคุณของเทียนสัตตบุษย์

  • สรรพคุณจากผลและเมล็ด ออกฤทธิ์ต่อปอด ธาตุและไต เป็นยาแก้หอบหืด แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ลมขึ้น ขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับประจำเดือนของสตรี ช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตร
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาแก้ไข้หอบ ช่วยแก้อาการแพ้ท้อง เป็นยาบำรุงโลหิต แก้อาเจียน ช่วยขับลม เป็นตำรับยาหอม แก้ลมวิงเวียน แก้หน้ามืด แก้ตาลาย แก้ใจสั่น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง เป็นยาบรรเทาอาการท้องอืด
  • สรรพคุณจากน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค
    – แก้ไอ ด้วยการนำมาใช้ร่วมกับชะเอมจีนในการเป็นส่วนผสมในยาอมแก้ไอ
  • สรรพคุณจากผล ช่วยขับเหงื่อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

ประโยชน์ของเทียนสัตตบุษย์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบสดทานเป็นผักดิบหรือใช้ตกแต่งอาหารให้ดูสวยงาม ประเทศอินเดียใช้ใบและรากซึ่งมีกลิ่นหอมมาเป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ผลหรือเมล็ดมีกลิ่นหอมและมีรสหวานจึงนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม เหล้า เครื่องแกงแบบอินเดีย เมล็ดช่วยเพิ่มรสให้กับพวกซุปและซอส ขนมปัง เค้กและบิสกิตได้
2. เป็นสารให้ความหอม ยุโรปและอินเดียนิยมใช้น้ำมันจากผลเทียนสัตตบุษย์เป็นส่วนผสมในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก ใช้ผสมเครื่องหอม สบู่และของหอมอื่น ๆ ใช้แต่งกลิ่นน้ำยาบ้วนปาก แต่งกลิ่นอาหาร ลูกกวาด เครื่องดื่ม เหล้า ใช้แต่งกลิ่นบุหงาและกลบกลิ่นไม่ดีของยา แต่ต้องมีการใช้ในปริมาณที่กำหนด
3. เป็นยาฆ่าแมลง น้ำมันจากเมล็ดอาจเป็นยาฆ่าแมลง หมัดและเหาได้
4. เป็นส่วนประกอบของยา อยู่ในตำรับยาพิกัดเทียน ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาธาตุบรรจบ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเทียนสัตตบุษย์

สารที่พบในผลเทียนสัตตบุษย์ พบน้ำมันหอมระเหย Anise oil ซึ่งมีสาร Anethole เป็นองค์ประกอบหลักและยังพบสารคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย

การทดลองของเทียนสัตตบุษย์

  • ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ โดยใช้หลอดลมของหนูที่ถูกทำให้ตีบตัวด้วย methacholine เมื่อให้สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล น้ำมันหอมระเหยและ theophylline (1mM) จะแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมอย่างมีนัยสำคัญ โดยน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์ได้น้อยกว่า theophylline ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ theophylline กลไกในการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการยับยั้ง muscarinic receptors
  • เมื่อให้หนูขาวทดลองรับประทานน้ำมันจากผลเทียนสัตตบุษย์ พบว่า มีการสร้างเซลล์ใหม่ที่ตับเพิ่มขึ้นได้
    ฤทธิ์ของเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกให้บีบตัวแรงขึ้น กระตุ้นเต้านมให้ผลิตน้ำนมให้มากขึ้นได้ในสตรีหลังคลอดแต่หากสตรีไม่มีบุตรจะพบว่ามีอาการคัดเต้านม กระตุ้นความต้องการทางเพศได้เล็กน้อย

ข้อควรระวังของเทียนสัตตบุษย์

ไม่ควรนำผลเทียนสัตตบุษย์มาบดให้เป็นผงเพราะจะทำให้กลิ่นหอมระเหยไปและไม่ควรใช้เกินกว่าปริมาณที่กำหนดเพราะจะเป็นพิษกับร่างกายได้

เทียนสัตตบุษย์ เป็นต้นที่มีกลิ่นหอมเป็นจุดเด่นจึงนำมาใช้ในการเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารและเป็นสารให้ความหอมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนประกอบในตำรับยาพิกัดเทียน ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐและยาธาตุบรรจบอีกด้วย เทียนสัตตบุษย์มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผลและเมล็ด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ขับลม บำรุงเลือด แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับประจำเดือนและน้ำนมของสตรีได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เทียนสัตตบุษย์”. หน้า 280.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เทียนสัตตบุษย์ Anise”. หน้า 215.
ไทยเกษตรศาสตร์. “เทียนสัตตบุษย์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [05 ธ.ค. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [04 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ฝิ่นต้น เปลือกต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ แต่เมล็ดและยางเป็นพิษ!

0
ฝิ่นต้น เปลือกต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ แต่เมล็ดและยางเป็นพิษ!
ฝิ่นต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคล้ายกับต้นมะละกอ ดอกสีแดงสด รากมีรสเฝื่อน เปลือกต้นมีรสฝาดเมาร้อน ใบและเมล็ดมีรสเมาเบื่อ
ฝิ่นต้น เปลือกต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ แต่เมล็ดและยางเป็นพิษ!
ฝิ่นต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคล้ายกับต้นมะละกอ ดอกสีแดงสด รากมีรสเฝื่อน เปลือกต้นมีรสฝาดเมาร้อน ใบและเมล็ดมีรสเมาเบื่อ

ฝิ่นต้น

ฝิ่นต้น (Coral bush) เป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคล้ายกับต้นมะละกอ มีดอกสีแดงสดและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภททำให้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับได้ ส่วนของรากมีรสเฝื่อนแต่สามารถนำมารับประทานได้ ส่วนของเปลือกต้นมีรสฝาดเมาร้อน ใบมีรสเมา เมล็ดมีรสเมาเบื่อ ทว่าสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากจะเป็นยาแล้วนั้นฝิ่นต้นถือเป็นต้นที่มีพิษชนิดหนึ่ง ส่วนที่มีพิษคือส่วนของเมล็ดและยาง มีสารที่เป็นพิษคือ สาร Clacium Oxalate
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของฝิ่นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha multifida L.

ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Coral bush” “Coral plant” “Physic Nut”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะหุ่งแดง” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “มะละกอฝรั่ง” คนเมืองเรียกว่า “ทิงเจอร์ต้น ว่านนพเก้า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

ลักษณะของฝิ่นต้น

ฝิ่นต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
ลำต้น : ลำต้นคล้ายกับต้นมะละกอแต่มีขนาดเล็กและเป็นแกนแข็งกว่า ค่อนข้างอวบน้ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา มีกระและจุดเล็ก ๆ มียางเป็นสีขาว
ราก : รากมีลักษณะเป็นหัว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปกลม ขอบใบลึกเป็นแฉกเว้าลึกลักษณะคล้ายฝ่ามือ ประมาณ 9 – 11 แฉก ในขอบใบที่เป็นแฉกจะหยักเป็นซี่ฟันช่วงกลางขอบใบ ปลายเป็นติ่งแหลมถึงยาวคล้ายหาง ปลายใบแหลม แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบเรียบ ก้านใบยาวกลม หูใบแยกเป็นง่ามรูปขนแข็ง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบนแน่นติดกันแบบช่อเชิงหลั่น โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กติดกันแน่น ดอกมีสีแดงสดเป็นแบบแยกเพศ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกเถาคันหรือดอกกะตังบาย กลีบเลี้ยงในดอกเพศผู้เป็นรูปไข่กลับกว้าง กลีบดอกแยกจากกันเป็นสีแดงสด เกสรเพศผู้มี 8 อัน ก้านเกสรแยกกัน ส่วนกลีบดอกในดอกเพศเมียมียอดเกสรเพศเมียเป็นรูปกระจุก เป็นพู 2 พู
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีพู 3 พู คล้ายผลสลอดหรือผลปัตตาเวียแต่จะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ละพูจะมีลักษณะเป็นสัน ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองหม่น มีลายสีน้ำตาล มีจุกขั้วขนาดเล็ก แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของฝิ่นต้น

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาแก้ลมและโลหิต เป็นยาคุมธาตุ เป็นยาแก้อาการลงแดง เป็นยาแก้อาเจียน เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดเมื่อยตามข้อ แก้ปวดเส้นเอ็น เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ตัวเย็น แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน
  • สรรพคุณจากเมล็ด ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายอย่างแรง
    – ทำให้แท้งบุตร ด้วยการนำเมล็ดมาบีบเอาน้ำมันใช้ทั้งภายในและภายนอก
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้โรคลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาฆ่าหิด กำจัดพยาธิผิวหนัง ใช้สระผมแก้เหา
    – เป็นยาถ่าย ด้วยการนำมาต้มกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากน้ำยาง
    – ช่วยสมานแผล ใช้ทาแผลปากเปื่อย แก้แผลมีดบาด แก้แผลอักเสบเรื้อรัง ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ด้วยการนำน้ำยางใส่แผลสดเป็นยา

ประโยชน์ของฝิ่นต้น

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร รากมีรสเฝื่อนแต่สามารถนำมาเผาแล้วกินได้
2. เป็นยาเบื่อ เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อ อาจใช้เป็นยาเบื่อปลา ต้นมีสารจำพวกซาโปนินก็สามารถนำมาใช้เบื่อปลาได้
3. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า ใบใช้ในการย้อมสีเส้นไหมโดยใช้ใบสด 15 กิโลกรัม ย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยให้สีน้ำตาลเขียว
4. ปลูกเป็นไม้ประดับ
5. เป็นส่วนประกอบของตำรับยา อยู่ในตำรับพิกัดตรีเกสรมาศ ตำรับพิกัดตรีเกสรเพศ

พิษของฝิ่นต้น

ส่วนที่มีพิษในฝิ่นต้น เมล็ดและน้ำยางมีพิษ ซึ่งเมล็ดจะมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร โดยสารที่เป็นพิษคือสาร Clacium Oxalate

อาการของพิษที่ได้รับ

  • เมล็ด เมื่อรับประทานจะทำให้เกิดอาการคัน รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ปากบวมพอง เยื่อบุแกม ลิ้นเพดานและหนาบวม น้ำลายไหล บริเวณที่บวมพองอาจมีเม็ดตุ่มเกิดขึ้น ลิ้นเคลื่อนไหวลำบาก กลืนอาหารยาก พูดไม่ถนัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ทำให้กระเพาะอักเสบ ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาตได้ถึง 24 ชั่วโมงและอาการจะดีขึ้นภายใน 7 วัน หายใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ แม้ว่าจะรับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
  • น้ำยาง เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน
    การรักษาอาการเบื้องต้นเมื่อได้รับสารพิษ :
  • หากทานเมล็ด ก่อนนำส่งโรงพยาบาลให้ดื่มนมหรือผงถ่าน (Activated charcoal) เพื่อช่วยลดการดูดซึมของสารพิษ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องทันที ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันการหมดสติและอาการช็อกที่เกิดจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
  • หากมีอาการคล้ายสาร atropine เช่น ในกลุ่มสารพิษ curcin ให้สารแก้พิษ (atropine antagonists) เช่น physostigmine salicylate ทางเส้นเลือด
  • น้ำยาง หากถูกผิวหนังให้ล้างน้ำยางออกโดยใช้สบู่และน้ำ และใช้ยาทาสเตียรอยด์ แต่หากรับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกโดยใช้ผงถ่าน ทำให้อาเจียนหรือล้างท้องและรักษาตามอาการ
  • กรณีอื่น รักษาไปตามอาการ เช่น การให้ morphine sulfate เพื่อลดอาการปวด เป็นต้น

ฝิ่นต้น เป็นต้นที่ค่อนข้างเป็นพิษสูงในส่วนของเมล็ดและน้ำยาง ทว่าส่วนของใบและเปลือกต้นถือเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยา เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยา เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า เป็นยาเบื่อและนำมารับประทานได้ ฝิ่นต้นมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้บิด แก้ปวดเมื่อย แก้โรคลำไส้และช่วยสมานแผล เป็นต้นที่ค่อนข้างดีต่อระบบขับถ่ายและลำไส้ต่าง ๆ ทว่าฝิ่นต้นนั้นก็เป็นพืชที่ควรระวังเป็นอย่างมากเพราะมีสารพิษสูงและอาจอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นก่อนที่จะนำมารับประทานไม่ว่าจะรูปแบบใดควรศึกษาให้ดีก่อนใช้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ฝิ่นต้น (Fin Ton)”. หน้า 187.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ฝิ่นต้น”. หน้า 520-521.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม)., หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ (สมพร ภูติยานันต์)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์)., ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 12(1) : พืชสมุนไพรและพืชพิษเล่ม 1 (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [13 พ.ย. 2014].
ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฝิ่นต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [13 พ.ย. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ฝิ่นต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [13 พ.ย. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “ฝิ่นต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [13 พ.ย. 2014].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ, กรมหม่อนไหม. “ฝิ่นต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : qsds.go.th/webtreecolor/. [13 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ว่านมหาเมฆ เหง้าอุดมไปด้วยสรรพคุณ ดีต่อมดลูกของสตรี

0
ว่านมหาเมฆ เหง้าอุดมไปด้วยสรรพคุณ ดีต่อมดลูกของสตรี
ว่านมหาเมฆ มีเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน ดอกสีขาวหรือสีชมพูแดง รสขมเผ็ด
ว่านมหาเมฆ เหง้าอุดมไปด้วยสรรพคุณ ดีต่อมดลูกของสตรี
ว่านมหาเมฆ มีเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน ดอกสีขาวหรือสีชมพูแดง รสขมเผ็ด

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ (Curcuma aeruginosa) เป็นพืชในวงศ์ขิงที่มีเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงทำให้มีคนเรียกว่า “ขิงดำ” หรือ “ขิงสีน้ำเงิน” มีดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดงรูปกระบอกทำให้ดูสวยงามมาก ชาวมาเลเซีย อินเดียและประเทศในแถบอินโดจีนนิยมปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเพื่อเป็นยาสมุนไพรโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนของเหง้าจะมีรสขมเผ็ดและเป็นยาร้อนเล็กน้อย นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่เป็นความเชื่อได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของว่านมหาเมฆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aeruginosa Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ขมิ้นดำ ว่านขมิ้นดำ” จีนกลางเรียกว่า “กระเจียวแดง มหาเมฆ อาวแดง ขิงเนื้อดำ ขิงดำ ขิงสีน้ำเงิน เหวินจู๋เอ๋อจู๋”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ลักษณะของว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณและป่าราบทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เหง้า : มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง
ใบ : ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบ จะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ในหนึ่งต้นมีใบประมาณ 4 – 7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาววงรี ปลายใบแหลม ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมวงรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว มีเกสรเพศผู้ 1 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มี 3 รัง
ผล : ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สามเหลี่ยมเหมือนดอกระกำหรือดอกคำ ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมและมีเนื้อสีขาวใสหุ้มอยู่

สรรพคุณของว่านมหาเมฆ

สรรพคุณจากเหง้า ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม เป็นยากระจายเลือดลม บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย เป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน เป็นยาแก้โรคหอบหืดหายใจไม่ปกติ แก้ไอ เป็นยาแก้ลมขึ้น แก้จุกเสียดแน่นหน้าอก ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากเส้นเลือดของมดลูกอุดตัน ช่วยคลายและกระจายก้อนเนื้อในร่างกายหรือซีสต์ในมดลูก รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรก ช่วยรักษาตับและม้ามโต เป็นยาสมานแผลและต้านเชื้อรา เป็นยาประคบผิวหนังแก้อาการคัน เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
– แก้โรคธาตุพิการ ด้วยการนำเหง้าสดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน
– แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ด้วยการนำเหง้ามาหั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
– รักษาอาการท้องร่วงได้ดีมาก เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดลูกใหม่หรืออยู่เรือนไฟ เป็นยาช่วยแก้อาการปวดมดลูก มดลูกอักเสบ ช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยรัดมดลูกและทำให้ยุบตัวเร็ว ด้วยการนำเหง้ามาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้ากินเป็นยา
– เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำเหง้าสดทานกับน้ำสะอาดก่อนเข้านอนเพียง 3 วัน

ประโยชน์ของว่านมหาเมฆ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร ชาวมาเลเซีย อินเดียและประเทศในแถบอินโดจีนนิยมปลูก
3. เป็นความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคาให้นำหัวว่านมหาเมฆมาปลุกเสกด้วยคาถา ทำการเสกจนพระจันทร์มืดแล้วนำหัวว่านมาทาบตัวจะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเราและหากปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดั่งปรารถนา หรือหากนำมารับประทานก็จะเป็นคงกระพันชาตรี

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านมหาเมฆ

สารที่พบในเหง้า พบน้ำมันซึ่งมีสาร Curcumenol, Curdione, Curzerenone, Germacene, Isofrtungermacrene, Zedoarone และแป้ง

ฤทธิ์ของเหง้า

  • น้ำมันจากเหง้ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus inuza, Staphylococcus, เชื้ออหิวาต์และเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้หลายชนิด
  • สาร Curdione จากเหง้ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella. Pneumoniae และ Stophylococcus aureus
    การทดลองของว่านมหาเมฆ
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเหง้ามาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในตับหรือเป็นเนื้อร้าย 180 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ถ้านำสารสกัดมาให้หนูทดลองดังกล่าวกินพบว่าจะไม่มีผลในการรักษา
  • เมื่อนำน้ำมันจากเหง้ามาให้คนหรือสัตว์กิน พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้มีการขยับและบิดเคลื่อนไหวตัว ทำให้สามารถขับลมในกระเพาะและลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย
  • สารสกัดยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV – 1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV – 1 protease

ข้อควรระวังของว่านมหาเมฆ

สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่มีอาการเลือดลมพร่องหรือม้ามและกระเพาะหย่อน ไม่ควรรับประทาน

ว่านมหาเมฆ เป็นว่านที่นิยมในแถบอินโดจีนเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นต้นที่มีเหง้าเป็นจุดเด่น ทว่าดอกก็มีสีสันสวยงาม ภายในเหง้าจะมีน้ำมันซึ่งเป็นส่วนที่มีสารอยู่ภายในและทำให้มีฤทธิ์ในการเป็นยาได้ ว่านมหาเมฆมีสรรพคุณทางยาจากส่วนของเหง้าโดยเฉพาะ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง รักษาตับและม้ามโต ช่วยคลายและกระจายก้อนเนื้อในร่างกายหรือซีสต์ในมดลูก มีสรรพคุณที่ดีต่อมดลูกของผู้หญิงเป็นอย่างมาก ถือเป็นต้นที่สาว ๆ ควรรับประทานแต่สำหรับสตรีที่มีครรภ์นั้นควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ว่านมหาเมฆ”. หน้า 514.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านมหาเมฆ”. หน้า 727-728.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ว่านมหาเมฆ”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชสกุลขมิ้นในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [23 ต.ค. 2014]
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ว่านมหาเมฆ”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [23 ต.ค. 2014]
๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่านมหาเมฆ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.panmai.com. [23 ต.ค. 2014].
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “ว่านมหาเมฆ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : aidsstithai.org/herbs/. [23 ต.ค. 2014].
ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ขมิ้นดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [23 ต.ค. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สารสำคัญในต้นว่านมหาเมฆ”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [23 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/