Home Blog Page 74

เดื่อผา ผลรสหวานแต่ไม่นิยม เป็นยาแก้ลมในร่างกาย

0
เดื่อผา ผลรสหวานแต่ไม่นิยม เป็นยาแก้ลมในร่างกาย
เดื่อผา เป็นพรรณไม้พุ่ม ออกดอกตามต้น ผลเป็นผลรวมค่อนข้างกลม ขนยาวแข็งสีน้ำตาล
เดื่อผา ผลรสหวานแต่ไม่นิยม เป็นยาแก้ลมในร่างกาย
เดื่อผา เป็นพรรณไม้พุ่ม ออกดอกตามต้น ผลเป็นผลรวมค่อนข้างกลม ขนยาวแข็งสีน้ำตาล

เดื่อผา

เดื่อผา (Ficus squamosa) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขนุนที่มีผลเป็นอาหารสำหรับชาวเมี่ยนในสมัยก่อน และยังเป็นส่วนประกอบในสะตวงสำหรับพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวไทลื้ออีกด้วย เดื่อผาเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่สำคัญของชาวล้านนา คนไทยมักจะไม่ค่อยมีใครรู้จักสักเท่าไหร่ ในประเทศไทยมักจะพบในป่าทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ ผลของเดื่อผาจะมีขนปกคลุมแน่นซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเดื่อผา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus squamosa Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เดื่อน้ำ เดื่อโฮเฮ” จังหวัดน่านเรียกว่า “มะหนอดน้ำ สลอดน้ำ” ไทลื้อเรียกว่า “มะเดื่อ” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “เหลาะโคเลเหมาะ” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “เดี้ยทงเจี๊ยะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขนุน (MORACEAE)
ชื่อพ้อง : Ficus laminosa Hardw. ex Roxb., Ficus pyrrhocarpa Kurz, Ficus saemocarpa Miq.

ลักษณะของเดื่อผา

เดื่อผา เป็นพรรณไม้พุ่มที่พบในประเทศเนปาล ภูฏาน สิกขิม ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่า ลาว จีนยูนนาน ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือตามโขดหินริมน้ำ ลำห้วย ลำธาร ป่าดิบแล้งและป่าผสมผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก
เปลือกต้น : เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเทาขึ้นปกคลุม มีน้ำยางสีขาวขุ่น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเวียนหรือเรียงเกือบตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสีขาวหรือสีน้ำตาลแกมดำ เส้นแขนงใบมีข้างละ 8 – 15 เส้น เส้นใบย่อยมีลักษณะคล้ายขั้นบันได ก้านใบมีขนยาวแข็งสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกตามต้น ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีรูปทรงเกือบกลมจนเกือบคล้ายรูปไข่กลับหรือผลลูกแพร์ มีขนยาวแข็งสีน้ำตาลแกมดำขึ้นปกคลุม มีสันตามยาว 5 สัน มีใบประดับขนาดเล็กเป็นรูปลิ่ม 3 ใบ ติดอยู่บนก้านช่อดอก ดอกร่วงได้ง่ายและมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก
ผล : ผลเป็นผลรวม ลักษณะของผลเป็นรูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองแกมดำ ผลมีขนยาวแข็งสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ผลย่อยเป็นแบบผลแห้ง มีเมล็ดล่อนขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของเดื่อผา

  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาแก้ลม ตามตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้รากเดื่อผาผสมกับเหง้าว่านน้ำและใบสะค้านมาตำให้เป็นผงเพื่อใช้ละลายกับน้ำแล้วดื่มแก้อาการ

ประโยชน์ของเดื่อผา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ในสมัยก่อนชาวเมี่ยนนำผลมารับประทาน ผลอ่อนและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ขนมจีนและลาบได้
2. เป็นความเชื่อ ผลใช้เป็นส่วนประกอบในสะตวงสำหรับพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวไทลื้อ

เดื่อผา สามารถนำผลมารับประทานได้ ผลมีรสหวานและรากนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรตามตำรายาพื้นบ้านล้านนา เดื่อผามักจะไม่ค่อยนิยมรับประทานกันเท่าไหร่ในยุคปัจจุบัน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ลม นอกจากนั้นยังเป็นความเชื่อที่นำผลมาใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวไทลื้ออีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เดื่อผา”. หน้า 113.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เดื่อน้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [23 ธ.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เดื่อผา”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [23 ธ.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เดื่อผา, เดื่อน้ำ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [23 ธ.ค. 2014].

คดสัง แก้โรคในปากและเหงือก แก้นิ่วในไต ดีต่อลำไส้ ชะล้างระบบสืบพันธุ์

0
คดสัง แก้โรคในปากและเหงือก แก้นิ่วในไต ดีต่อลำไส้ ชะล้างระบบสืบพันธุ์
คดสัง ดอกสีขาวที่ส่งกลิ่นหอม มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทา ยอดและใบอ่อนกินได้ ผลเป็นรูปวงรีแคบ มีครีบปีกแข็ง 4 - 6 ปีก
คดสัง แก้โรคในปากและเหงือก แก้นิ่วในไต ดีต่อลำไส้ ชะล้างระบบสืบพันธุ์
คดสัง ดอกสีขาวที่ส่งกลิ่นหอม มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทา ยอดและใบอ่อนกินได้ ผลเป็นรูปวงรีแคบ มีครีบปีกแข็ง 4 – 6 ปีก

คดสัง

คดสัง (Combretum trifoliatum Vent) มีดอกสีขาวที่ส่งกลิ่นหอมจากต้นและมีขนคล้ายเส้นไหมสีเทาแผ่ออกทำให้ดูสวยงามและโดดเด่น นิยมนำส่วนของยอดและใบอ่อนมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบหรือก้อย เป็นต้นที่มักจะพบตามบริเวณที่ชุ่มชื้น คดสังสามารถนำส่วนจากต้นมาเป็นยาสมุนไพรเพื่อแก้อาการและรักษาได้ และที่สำคัญคดสังเป็นยาพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคดสัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum trifoliatum Vent.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กรด” ภาคเหนือเรียกว่า “หญ้ายอดคำ” ภาคใต้เรียกว่า “จุด ชุด สุด” จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคามเรียกว่า “เบน เบ็น” จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “เบนน้ำ” จังหวัดนครพนมเรียกว่า “เปือย” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ย่านตุด คดสัง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)

ลักษณะของคดสัง

คดสัง เป็นพรรณไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยที่มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
กิ่ง : ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองขึ้นปกคลุม เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกที่ข้อเดียวกัน 3 – 5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบมนหรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย เนื้อใบหนามัน ด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีตุ่มหูดหรือมีแถบของขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองพาดขนานตามความยาวของเส้นกลางใบ เส้นใบมีประมาณ 6 – 8 คู่ มีสีน้ำตาลแดงหรือสีสนิมเหล็กและมีขนนุ่ม เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยงและเปลี่ยนเป็นสีดำ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอดหรือออกตามง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงตอนล่างเชื่อมติดกันเป็นท่อ มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทา ตอนบนแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ มีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนนุ่มและหนาแน่น
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปวงรีแคบ ผิวของผลเกลี้ยง มีสีน้ำตาลดำเป็นมัน ไม่มีก้าน มีครีบปีกแข็ง 4 – 6 ปีก ผลเมื่อแห้งจะแข็ง

สรรพคุณของคดสัง

  • สรรพคุณจากผล ถ่ายพยาธิไส้เดือน
    – บำรุงและรักษาเหงือก ด้วยการนำผลมาผสมกับเมล็ดข้าวโพดแล้วทำให้สุก จากนั้นนำมาปั้นเป็นยาลูกกลอนเพื่อเคี้ยวแก้อาการ
    – แก้ปากเปื่อยและเหงือกบวม ด้วยการนำผลมาต้มแล้วเอาน้ำมาอมแก้อาการ
  • สรรพคุณจากทั้งต้น รักษาโรคบิด ขับพยาธิ
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาอาการตกขาว ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์ ด้วยการนำรากมาปรุงเป็นยาชง
    – แก้ฝีหนอง ด้วยการนำรากมาฝนแล้วทา
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – แก้นิ่วในไต ยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีนำลำต้นมาเข้ายากับแก่นมะขาม เบนน้ำ เพกาและจำปาขาว จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเปลือกและราก
    – ยาสมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ด้วยการนำเปลือกและรากมาฝนกับน้ำซาวข้าวแล้วดื่ม
    – แก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียด ด้วยการนำเปลือกและรากมาดองกับเหล้าเพื่อดื่ม

ประโยชน์ของคดสัง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดหรือใบอ่อนนำมาทานสดเป็นผักร่วมกับลาบและก้อย

คดสัง เป็นต้นที่นำมาเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอุบลราชธานี จุดเด่นของต้นอยู่ที่ดอกสีขาวที่มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทาแผ่ออกทำให้ดูสวยงามและโดดเด่น อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมชวนให้น่าดมอีกด้วย ในส่วนของการนำมาทานเป็นผักจะนำใบอ่อนและยอดอ่อนของต้นมาทานร่วมกับลาบและก้อย คดสังเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้บิด ขับพยาธิ บำรุงเหงือก แก้นิ่วในไตและรักษาอาการตกขาว และที่สำคัญคือช่วยชะล้างอวัยวะสืบพันธุ์ได้ ถือเป็นต้นที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้และผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “คดสัง”. หน้า 156-157.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “คดสัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [24 ม.ค. 2015].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “เบ็น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [24 ม.ค. 2015].

ไม้เท้ายายม่อม พรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมอญ ช่วยแก้พิษไข้ได้ทุกชนิด

0
ไม้เท้ายายม่อม พรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมอญ ช่วยแก้พิษไข้ได้ทุกชนิด
ไม้เท้ายายม่อม พรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมอญ ช่วยแก้พิษไข้ได้ทุกชนิด
ไม้เท้ายายม่อม พรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมอญ ช่วยแก้พิษไข้ได้ทุกชนิด
ไม้เท้ายายม่อม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก รากแก้วอันเดียวลึกและพุ่งตรง ดอกเล็กสีขาว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำเงินแกมสีดำ

ไม้เท้ายายม่อม

ไม้เท้ายายม่อม (One Root Plant) ชนิดนี้เป็นพืชคนละชนิดกันกับเท้ายายม่อม เป็นพืชในวงศ์กะเพราที่สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในประเทศไทย เป็นพรรณไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด คนไทยสมัยใหม่อาจจะไม่ค่อยรู้จักแต่เป็นต้นที่ชนชาติสายมอญถือกันว่าเป็นพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประโยชน์ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรของตำรายาพื้นบ้านล้านนาและตำรายาไทยอีกด้วย ไม้เท้ายายม่อมเป็นต้นที่มีลักษณะพิเศษอีกอย่างตรงที่หัวในดินนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งได้ซึ่งเรียกว่า “แป้งท้าวยายม่อม”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของไม้เท้ายายม่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum indicum (L.) Kuntze หรือ Clerodendrum petasites (Lour.) S.Moore
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “One Root Plant”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ดอกไม้มอญ จรดพระธรณี พญาลิงจ้อน ปู่เจ้าปทุมราชา ไม้ท้าวยายม่อม เท้ายายม่อม” ภาคเหนือเรียกว่า “ปิ้งขม ปิ้งหลวง ไม้เท้าฤาษี” ภาคใต้เรียกว่า “พญารากเดียว ไม้เท้าฤาษี” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “พญาเลงจ้อน พญาเล็งจ้อน เล็งจ้อนใต้” จังหวัดเลยเรียกว่า “พินพี” จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “ท้าวยายม่อมป่า” จังหวัดอุดรธานีเรียกว่า “พมพี” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “โพพิ่ง” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “ว่านพญาหอกหล่อ” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “หญ้าลิ้นจ้อน” จังหวัดยะลาเรียกว่า “กาซะลอง จรดพระธรณี ดอกคาน” ชาวกะเหรี่ยงกำแพงเพชรเรียกว่า “พวกวอ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ท่าละม่อม ท้าวยายม่อม เท้ายายม่อมตัวเมีย ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

ลักษณะของไม้เท้ายายม่อม

ไม้เท้ายายม่อม เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อมที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มักจะพบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในประเทศไทย
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขาหรือแตกกิ่งน้อยบริเวณยอด ลักษณะโปร่ง บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม
ราก : เป็นไม้ลงรากแก้วอันเดียวลึกและพุ่งตรง รากมีลักษณะกลม ดำและโต
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันหรือออกรอบข้อ ข้อละประมาณ 3 – 5 ใบ สลับกันจากตามข้อของลำต้นไปจนถึงส่วนยอด มีการแตกกิ่งใหม่ตามยอดสูงของลำต้น ใบมีขนาดเรียวเล็ก ลักษณะเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ ปลายใบและโคนใบแหลม แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นกลางใบงอโค้งเข้าหาลำต้น เกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตั้งตรงโดยจะออกที่ปลายกิ่งเป็นพุ่มกระจายคล้ายฉัตรช่อสั้นตั้งชูขึ้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว กลีบดอกเป็นสีขาว ที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ลักษณะโค้งมน กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยสีเขียว 5 แฉก เมื่อแก่จะเป็นสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้สีม่วงแดง 4 อัน ยื่นงอนพ้นออกมาจากกลีบดอก มักจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน
ผล : เป็นผลสดลักษณะกลมแป้นหรือมี 4 – 5 พูติดกัน ผิวผลเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแกมสีดำ สีดำแดงหรือสีดำ ผลมีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่

สรรพคุณของไม้เท้ายายม่อม

  • สรรพคุณจากหัวในดิน
    – บรรเทาอาการโรคเบื่ออาหารและอาการอ่อนเพลีย โดยตำรายาไทยนำหัวใต้ดินซึ่งเป็นแป้งมาละลายกับน้ำและน้ำตาลกรวดแล้วตั้งไฟเพื่อกวนให้สุก
  • สรรพคุณจากราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้อาเจียน เป็นยาแก้หืดและหืดไอ
    – แก้พิษไข้ พิษกาฬ กระทุ้งพิษไข้หวัด ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้เพื่อดีพิการ ถอนพิษไข้ทุกชนิด ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ด้วยการนำรากสดมาต้มกับน้ำกินเป็นยาหรือใช้ปรุงเป็นยาด้วยการใช้รากสด 1 ราก มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำฝนหรือเหล้าขาว จากนั้นคั้นเอาน้ำกินเป็นยา
    – เป็นยาขับยาเสมหะให้ลงเบื้องต่ำ แก้พิษได้ทุกชนิด ด้วยการนำรากสดมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู ช่วยดับพิษฝี แก้อาการแพ้ แก้อาการอักเสบและปวดบวม ด้วยการนำรากสดมาตำเอากากพอกบริเวณปากแผลเป็นยาทา
    – ถอนพิษไข้กาฬหรืออาการไข้ที่มีตุ่มบนผิวหนังและตุ่มอาจมีสีดำ โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากผสมกับเหง้าว่านกีบแรด ใบพิมเสนต้น เนระพูสีทั้งต้น ใช้น้ำซาวข้าวและน้ำเกสรบุนนาคเป็นน้ำกระสายยา ทำการปั้นเป็นลูกกลอนแล้วใช้กินเป็นยา
    – แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้ต่าง ๆ แก้ไข้เพื่อดีและโลหิตและช่วยถอนพิษผิดสำแดง ด้วยการนำรากมาผสมกับรากคนทา รากชิงชี่ รากย่านางและรากมะเดื่อชุมพร
  • สรรพคุณจากต้น เป็นยาขับพิษไข้ทุกชนิด แก้ร้อนใน เป็นยาขับยาเสมหะให้ลงเบื้องต่ำ
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้หืดและหืดไอ

ประโยชน์ของไม้เท้ายายม่อม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมาลวกเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้
2. เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ชนชาติสายมอญถือกันว่าเป็นพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง
3. เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร เป็นส่วนประกอบของยา “พิกัดยาเบญจโลกวิเชียร” ในตำรายาไทย

ไม้เท้ายายม่อม เป็นต้นที่มีหัวใต้ดินใช้ทำเป็นแป้งได้ และยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรายาพื้นบ้านสมุนไพรทั้งหลาย ที่สำคัญยังเป็นไม้มงคลของชาวสายมอญอีกด้วย เป็นต้นที่มีดอกสีขาวและผลสีสดใสทำให้ดูโดดเด่น เป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดีย ไม้เท้ายายม่อมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้พิษไข้ทุกชนิด แก้ร้อนใน ขับเสมหะ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการโรคเบื่ออาหารและอาการอ่อนเพลียได้ ถือเป็นต้นที่ช่วยแก้พิษจากไข้ทั้งหลายได้ดีมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ท้าวยายม่อม (เท้ายายม่อม)”. หน้า 379-380.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เท้ายายม่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ธ.ค. 2014].
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ท้าวยายม่อม (ต้น)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [09 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ก้างปลาเครือ ยาแก้ไข้ ช่วยสมานแผล ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

0
ก้างปลาเครือ ยาแก้ไข้ ช่วยสมานแผล ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ก้างปลาเครือ ยาแก้ไข้ ช่วยสมานแผล ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ก้างปลาเครือ ยาแก้ไข้ ช่วยสมานแผล ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ก้างปลาเครือ ผลเป็นรูปกลมแป้นฉ่ำน้ำสีแดงสด เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ยอดอ่อนของต้นมาใช้ทำอาหารได้

ก้างปลาเครือ

ก้างปลาเครือ (Phyllanthus reticulatus Poir) เป็นต้นที่มีชื่อแปลกประหลาดซึ่งมีลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นฉ่ำน้ำสีแดงสด เมื่อสุกจะกลายเป็นสีดำกลมทำให้ดูโดดเด่น เป็นพืชในวงศ์มะขามป้อมที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มักจะพบได้ในแกงแคหรือแกงคั่วเพราะสามารถนำยอดอ่อนของต้นมาใช้ทำอาหารได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้ทำยาสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับแก้อาการได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของก้างปลาเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus reticulatus Poir.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่และอ่างทองเรียกว่า “ก้างปลาขาว” จังหวัดแพร่เรียกว่า “หมัดคำ” จังหวัดนครปฐมเรียกว่า “หมาเยี่ยว” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “อำอ้าย” จังหวัดสุพรรณบุรีเรียกว่า “ข่าคล่อง” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กระออง” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ก้างปลาแดง” คนทั่วไปเรียกว่า “ขี้เฮียด ก้างปลาเครือ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ต่าคะโค่คึย สะแบรที” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “เกล็ดปลาน้อย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ลักษณะของก้างปลาเครือ

ก้างปลาเครือ เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเถาหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มักจะพบตามป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
กิ่ง : มีขนเล็กน้อย กิ่งมีขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเกลี้ยง เส้นใบมี 5 – 9 คู่ หูใบเป็นรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนตัด เนื้อบางแห้ง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นตามง่ามใบช่อละ 1 – 3 ดอก โดยจะออกตามใบ ห้อยลงใต้ใบ มีลักษณะเล็กเป็นทรงกลมวงรี ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เพศผู้มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมแดง ไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกหรือติดกัน จานฐานดอกมี 5 – 6 พู ดอกเพศเมียจะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีรังไข่ 8 – 10 ช่อง มีออวุล 2 หน่วยต่อหนึ่งช่อง ก้านเกสรเพศเมียมีขนาดสั้นมาก ส่วนมากจะแยกออกเป็น 2 แฉก
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมแป้นฉ่ำน้ำสีแดง เมื่อสุกจะเป็นสีดำกลมโต
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 8 – 16 เมล็ด หน้าตัดของเมล็ดเป็นรูป 3 เหลี่ยมด้านไม่เท่า

สรรพคุณของก้างปลาเครือ

สรรพคุณจากก้างปลาเครือ ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ ต้านเชื้อรา ต้านยีสต์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับพิษไข้หัวทุกชนิด แก้ไข้หวัด ไข้รากสาด ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาขับพิษ แก้เริม แก้งูสวัด แก้ไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้ซางข้าวเปลือก แก้ฝีแดงและฝีทั้งปวง
– เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำราก 120 กรัม มาทุบให้แหลกแล้วต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
– เป็นยาแก้หอบหืด ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
สรรพคุณจากใบ
– เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
– เป็นยาสมานแผล ทำให้เย็นและถอนพิษฝี ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วพอก
– แก้เลือดออกตามไรฟัน ด้วยการนำใบมาบดให้เป็นผงใช้ใส่แผลหรือปั้นเป็นลูกกลอนผสมกับการบูรและสารที่สกัดจากตะไคร้ต้น ทำการอมให้ละลายช้า ๆ
สรรพคุณจากผล เป็นยาฝาดสมานในระบบทางเดินอาหารและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ
สรรพคุณจากต้น
– เป็นยาแก้บิดและแก้ท้องเสีย เป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาแก้น้ำเหลืองและฟอกโลหิต ด้วยการนำต้นมาต้มเอาน้ำรับประทาน

ประโยชน์ของก้างปลาเครือ

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำไปใช้ประกอบอาหารประเภทแกง เช่น แกงแค แกงคั่ว เป็นต้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของก้างปลาเครือ

สารที่พบในก้างปลาเครือ พบสาร betulin, friedelan, friedelin, taraxerone
การทดลองกับสัตว์
– การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดที่อยู่เหนือดินของต้นก้างปลาเครือเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ตายครึ่งหนึ่งคือ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
– เมื่อปี ค.ศ. 2007 ประเทศอินเดีย Kumas S และคณะได้ทำการทดลองใช้รากก้างปลาเครือในขนาด 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานโดยใช้สาร alloxan ผลการทดลองพบว่า ขนาดยาที่เหมาะสมคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ทำให้หนูมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการทดลองยังพบสาร terpenoid glycoside, protein, carbohydrate, alkaloid, steroid อีกด้วย

ก้างปลาเครือ เป็นต้นที่พบได้ทั่วประเทศไทยแต่ส่วนมากคนไทยไม่ค่อยนำมาใช้สักเท่าไหร่ สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารจำพวกแกงได้ ทว่าเป็นต้นที่มีชื่อเรียกแปลกในหลาย ๆ ท้องถิ่นจึงทำให้จำได้ง่าย มีการทดลองฤทธิ์และสรรพคุณของก้างปลาเครือมาตั้งแต่อดีตโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ก้างปลาเครือมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ สมานแผล แก้ร้อนและลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้นที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานจริง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ก้างปลาเครือ”. หน้า 176/1.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ก้างปลาเครือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [18 มิ.ย. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ก้างปลาเครือ”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [18 มิ.ย. 2015].
กรีนคลินิก. “ก้างปลา”. [ออนไลน์]. อ้างอิงใน : หนังสือเครื่องยาไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), พฤกษาน่าสน. เข้าถึงได้จาก : www.greenclinic.in.th. [18 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

บวบขม ปลูกเพื่อทำยาโดยเฉพาะ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้

0
บวบขม ปลูกเพื่อทำยาโดยเฉพาะ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้
บวบขม เป็นไม้ล้มลุก ผลเป็นรูปกลมวงรีหรือรูปไข่ มีจุดประสีขาวทั่วผล ผลงอมีรสขม
บวบขม ปลูกเพื่อทำยาโดยเฉพาะ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้
บวบขม เป็นไม้ล้มลุก ผลเป็นรูปกลมวงรีหรือรูปไข่ มีจุดประสีขาวทั่วผล ผลงอมีรสขม

บวบขม

บวบขม (Trichosanthes cucumerina) เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยพันไปตามต้นไม้อื่นหรือตามพื้นดิน เนื้อในผลมีรสขมจึงไม่นิยมปลูกไว้ในสวนเพื่อรับประทานเป็นอาหารแต่จะปลูกไว้เพื่อใช้เป็นยาโดยเฉพาะ ซึ่งรสขมนั้นเป็นเพราะสาร “คิวเคอร์บิตาซิน” ในปริมาณมากที่อยู่ภายในบวบขม ถือว่าเป็นสารที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ดี จึงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรโดยเฉพาะในตำรายาพื้นบ้านล้านนาและตำรายาไทย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบวบขม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cucumerina L.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “นมพิจิตร” ภาคเหนือเรียกว่า “มะนอยจ๋า” ขาวเมี่ยนเรียกว่า “เล่ยเซ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของบวบขม

บวบขม เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีมือเกาะจับต้นไม้อื่นตลอดเถา มักจะพบตามริมน้ำหรือตามที่รกร้างทั่วไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยมหรือรูปโล่แกมรูปไตไปจนถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก ผิวใบสากมือ มีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเป็นร่องลึกเห็นได้ชัดและออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น ก้านใบเล็กและมีขน
ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้ายและมีขนเล็กน้อย กลีบรองดอกมีโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยม 3 เส้น กลีบอยู่ชิดกัน มีเกสรเพศผู้ 3 อัน เป็นรูปทรงกระบอก ดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองโดยจะออกตามซอกใบ กลีบรองดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน รังไข่เป็นรูปยาววงรีและมีขนยาวนุ่ม ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปกลมวงรีหรือรูปไข่ หัวท้ายแหลม ผิวผลเป็นสีเขียวมีตุ่มเล็กและขรุขระเล็กน้อย มีจุดประสีขาวทั่วผล ลายมีสีเขียวเข้มตามความยาวของผล ผลมักงอเล็กน้อยและมีรสขม
เมล็ด : ภายในมีเมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากอัดแน่นกันเป็นแถว เมื่อแก่จะเป็นสีดำรูปหยดน้ำและแบน

สรรพคุณของบวบขม

  • สรรพคุณจากเถา เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาระบาย
    – ลดไข้ แก้หนองให้ตก ด้วยการนำเถามาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – ทำให้อาเจียน ด้วยการนำเถามาคั้นเอาน้ำกิน
    – แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ช่วยฟอกเลือด ขับประจำเดือนและใช้กับคนไข่ท่อน้ำดีอักเสบ ด้วยการนำเถาใช้ร่วมกับต้นผักชี น้ำผึ้งและต้น Gentian กินเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ
    – ลดไข้ เป็นยาระบาย ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก ทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย เป็นยาขับพยาธิ
    – ลดไข้ แก้อาการปวดศีรษะ เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – เป็นยาถ่ายอย่างแรง ด้วยการต้มน้ำจากรากขนาด 60 มิลลิลิตร จะเป็นยารบกวนทางเดินอาหารอย่างมาก
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาแก้หืด เป็นยาถ่ายอย่างแรง เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี ใช้ได้ดีกับคนไข้ธาตุพิการ
  • สรรพคุณจากผล เป็นยาแก้ร้อนในกระหาย ทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายอย่างแรง เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาแก้ท่อน้ำดีอุดตัน
    – เป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก ด้วยการนำรังหรือใยบวบขมแบบแห้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็กหรือหั่นให้เป็นฝอยผสมกับเส้นยาสูบเล็กน้อยมวนเป็นบุหรี่สูบฆ่าเชื้อริดสีดวงจมูกทั้งที่เพิ่งเป็นใหม่ ๆ และเป็นมากขนาดหายใจออกมามีกลิ่นเหม็น
    – ช่วยย่อย ด้วยการนำผลแห้งมาต้มกับน้ำตาล
    – เป็นยาพอกศีรษะ แก้คัน แก้รังแคและฆ่าเหา โดยตำรายาไทยนำผลสดเป็นยาพอกโดยนำมาขยี้ฟอกศีรษะเส้นผมหลังสระผม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วค่อยล้างน้ำออก โดยให้ฟอกทุกครั้งหลังสระผม
  • สรรพคุณจากยอดอ่อน เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากทั้งต้นและผล
    – ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ด้วยการสกัดทั้งต้นและผลด้วยแอลกอฮอล์
  • สรรพคุณจากเถา ผลและทั้งต้น ตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้เป็นยาหอมแก้ลมและบำรุงหัวใจ

ประโยชน์ของบวบขม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลใช้ใส่ในแกงได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เส้นใยใช้แทนฟองน้ำสำหรับล้างจานได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบวบขม
สารที่พบในบวบขม พบสาร “คิวเคอร์บิตาซิน” ในปริมาณมากซึ่งเป็นสารขมที่เป็นลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์นี้ เป็นสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนที่มีออกซิเจนจำนวนมาก คิวเคอร์บิตาซินหลักในบวบขมจะเป็นคิวเคอร์บิตาซิน บี ซึ่งมีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปากและจมูก (KB cell) เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด ER positive และ ER negative
ผลการทดลอง น้ำคั้นและสารสกัดจากผลบวบขมด้วยอีเทอร์มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง

บวบขม เป็นต้นที่มีรสขมมากจึงไม่เหมาะเท่าไหร่ที่จะนำมาใช้ประกอบอาหารทว่าเหมาะอย่างมากที่จะนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรโดยเฉพาะการทำลายเซลล์มะเร็งซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นกันมาก เป็นต้นที่มีสารสำคัญอย่าง “คิวเคอร์บิตาซิน” ซึ่งเป็นสารความขมแต่มีสรรพคุณสูง บวบขมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผลและเถา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ไข้ เป็นยาระบายและช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้ เป็นผลที่คู่ควรแก่การนำมาใช้ให้มากกว่าทุกวันนี้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “บวบขม (Buap Khom)”. หน้า 160.
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “บวบขม”. หน้า 217.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “บวบขม”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 5 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [30 พ.ย. 2014].
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล). “บวบขม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [30 พ.ย. 2014].
ผู้จัดการออนไลน์. “บวบขม รังแก้รังแคริดสีดวงจมูก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th. [30 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

บอนส้ม พบทางป่าภาคใต้เท่านั้น เป็นยาดีต่อลำคอ ช่วยกัดเสมหะและแก้ไอได้

0
บอนส้ม เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อ ดอกอ่อนสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว
บอนส้ม พบทางป่าภาคใต้เท่านั้น เป็นยาดีต่อลำคอ ช่วยกัดเสมหะและแก้ไอได้
บอนส้ม เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อ ดอกอ่อนสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว

บอนส้ม

บอนส้ม (Homalomena rostrata Griff) เป็นชื่อที่มักจะเรียกกันในจังหวัดปัตตานี เป็นต้นที่พบเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น มีดอกเป็นแท่งกลมยาวสีขาวเมื่ออ่อนทำให้ดูโดดเด่นและมองหาได้ง่าย แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว สามารถนำช่อดอก ยอดอ่อนและก้านใบมาปรุงในเมนูแกงส้มหรือแกงเลียงได้ คนไทยส่วนมากคงไม่รู้จักต้นบอนส้มเนื่องจากไม่ได้พบง่ายและเป็นต้นที่อยู่ในป่าทางใต้เท่านั้น บอนส้มสามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบอนส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena rostrata Griff.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “บอนส้ม” ชาวมลายูนราธิวาสและมาเลย์เรียกว่า “กลาดีมาแซ้” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “บอนหอม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของบอนส้ม

บอนส้ม เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่พบตามที่ชื้นในป่าทั่วไปทางภาคใต้เท่านั้น
ลำต้น : ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอนแต่จะมีขนาดเล็กกว่า
ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเป็นแท่งกลมยาว ดอกเพศผู้จะอยู่ตอนบน ดอกเพศเมียจะอยู่ตอนล่างแต่จะมีเป็นจำนวนน้อยกว่าดอกเพศผู้หรืออาจจะมีดอกไม่มีเพศคั่นอยู่ระหว่างกลางหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ก้านช่อดอกยาว เมื่อดอกยังอ่อนอยู่จะเป็นสีขาว ดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว กาบนี้จะมีลักษณะป่องออกตรงช่วงที่เป็นดอกเพศเมีย ตรงปลายจะเป็นรูปจะงอย ส่วนตรงกลางจะคอดและตอนบนแคบ

สรรพคุณของบอนส้ม

  • สรรพคุณจากทั้งต้น รักษาอาการไอ เป็นยากัดเสมหะ

ประโยชน์ของบอนส้ม

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ช่อดอก ยอดอ่อนและก้านใบนำมาลอกเปลือกออกใช้ปรุงในเมนูแกงเลียงและแกงส้ม

บอนส้ม เป็นต้นที่ขึ้นตามป่าทั่วไปในภาคใต้ทำให้พบได้ยากและไม่ค่อยมีใครรู้จัก มีลักษณะเด่นอยู่ที่ดอกซึ่งจะเป็นแท่งกลมยาวทำให้ดูเด่นขึ้นมา ส่วนมากมักจะพบบอนส้มอยู่ในพวกแกงส้มหรือแกงเลียงซึ่งสามารถนำส่วนของช่อดอก ยอดอ่อนและก้านใบจากต้นมาใช้เป็นส่วนประกอบได้ บอนส้มมีสรรพคุณทางยาได้จากทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการไอและเป็นยากัดเสมหะ เหมาะสำหรับการรักษาลำคอโดยเฉพาะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “บอนส้ม”. หน้า 414.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “บอนส้ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [30 พ.ย. 2014].

โสก ดอกรสหอมเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด

0
โสก ดอกรสหอมเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด
โสก หรืออโศกน้ำ เป็นไม้ยืนต้น โคนใบกลมเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปลิ่ม ออกดอกเป็นช่อสีแสดไปจนถึงสีแดงฝักทรงแบน รูปไข่หรือรูปวงรี
โสก ดอกรสหอมเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด
โสก หรืออโศกน้ำ เป็นไม้ยืนต้น โคนใบกลมเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปลิ่ม ออกดอกเป็นช่อสีแสดไปจนถึงสีแดงฝักทรงแบน รูปไข่หรือรูปวงรี

โสก

โสก (Asoka) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “อโศกน้ำ” เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย มักจะพบตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย โสกมีดอกเป็นสีแสดไปจนถึงสีแดงทำให้ดูสดใสและสวยงามจึงนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกตามวัด ปลูกประดับอาคารสถานที่ ปลูกให้ร่มเงาตามสวนสาธารณะต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม เป็นต้นที่มีดอกรสหอมเปรี้ยวและเป็นยาสมุนไพรของแพทย์พื้นบ้านในอินเดียด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโสก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca indica L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Asoka” “Asoke tree” “Saraca”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ส้มสุก” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “โสกน้ำ” จังหวัดยะลาเรียกว่า “ชุมแสงน้ำ” ชาวมลายูปัตตานีเรียกว่า “ตะโคลีเต๊าะ” ชาวมลายูยะลาเรียกว่า “กาแปะห์ไอย์” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “อโศก โศก อโศกน้ำ อโศกวัด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Saraca bijuga Prain

ลักษณะของต้นโสก

โสก เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตราและชวา สามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทย โดยจะขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
ต้น : เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยเป็นรูปวงรี รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกประมาณ 1 – 7 คู่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบกลมเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบบางและเกลี้ยง ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแสดไปจนถึงสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียว บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่แกมรูปวงรีหรือรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 – 8 อัน เกสรเพศผู้ยาวพ้นจากปากหลอด รังไข่มีขนตามขอบ มักจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักทรงแบน รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายฝักเป็นจะงอยสั้น เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก ฝักจะเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1 – 3 เมล็ด เมล็ดโสกมีลักษณะเป็นรูปไข่แบน

สรรพคุณของโสก

  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาแก้ไอ เป็นยาขับเสมหะ
  • สรรพคุณจากเปลือกและราก แพทย์พื้นบ้านในอินเดียนิยมใช้เปลือกและรากมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต

ประโยชน์ของโสก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและดอกนำมาใช้ประกอบอาหารอย่างแกงส้ม ยำหรือรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกตามวัด ปลูกประดับอาคารสถานที่ ปลูกเป็นร่มเงาตามสวนสาธารณะต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม ควรปลูกไว้ริมน้ำ
3. ใช้ในการเกษตร เป็นพืชล่อแมลง เช่น ผีเสื้อ เนื่องจากช่อดอกเป็นหลอดคล้ายดอกเข็มทำให้มีน้ำหวานมาก
4. ความเชื่อ ต้นโสกหรือ “อโศก” เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ไม่โศกเศร้า เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งในทางพุทธศาสนาจะเรียกว่า “ความเมตตา”

คุณค่าทางโภชนาการของโสก

คุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 1.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
ใยอาหาร 1.2 กรัม
แคลเซียม 46 มิลลิกรัม
วิตามินซี 14 มิลลิกรัม

โสก เป็นชื่อที่เปลี่ยนมาจาก “โศก” เพราะความหมายของโศกนั้นคือความเศร้า ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนมาเรียกกันว่าโสกแทน เป็นต้นที่มีดอกสีแสดหรือสีแดงทำให้ดูสวยงามและนำมาใช้ปลูกประดับสถานที่ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการนำมารับประทานเป็นผักและเป็นพืชล่อแมลงได้ มีคุณค่าทางโภชนาการและยังเป็นยาสมุนไพรของแพทย์พื้นบ้านในอินเดียด้วย โสกมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาแก้ไอ เป็นยาขับเสมหะและเป็นยาบำรุงเลือด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “โสก”. หน้า 186.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โสก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [06 ต.ค. 2014].
หนังสือ Flora of Thailand Volume 4 Part 1. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “โสกน้ำ”. หน้า 97.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โสกน้ำ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [06 ต.ค. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 310 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “โศก : สัญลักษณ์ของความรักจากตะวันออก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [06 ต.ค. 2014].
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “อโศกน้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [06 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เห็ดเป๋าฮื้อ วัตถุดิบที่นิยมในอาหารจีน อุดมไปด้วยสรรพคุณมากมาย

0
เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดที่มักจะนำมานำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและประกอบในอาหารมากมายหลายเมนูสำหรับสุขภาพ

abalone-mushroom

เห็ดเป๋าฮื้อ วัตถุดิบที่นิยมในอาหารจีน อุดมไปด้วยสรรพคุณมากมาย
เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดที่มักจะนำมานำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและประกอบในอาหารมากมายหลายเมนูสำหรับสุขภาพ

เห็ดเป๋าฮื้อ

เห็ดเป๋าฮื้อ (Abalone Mushroom) เป็น ชื่อที่คุ้นเคยโดยเฉพาะในอาหารจีนที่มักจะมีเมนูเห็ดชนิดนี้ประกอบอยู่ในนั้น เป็นเห็ดที่มักจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มสำหรับสุขภาพโดยเฉพาะ และค่อนข้างที่จะมีราคาแพงเนื่องจากเป็นเห็ดที่มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศจีนและไต้หวัน แต่ในปัจจุบันสามารถเพาะปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศและพบตามแหล่งธรรมชาติที่มักจะพบตามขอนไม้ผุหรือเปลือกไม้ในสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งถือว่าเป็นเห็ดที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ และเป็นเห็ดที่มีการนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและประกอบในอาหารมากมายหลายเมนู

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus (FR.) Guel
ชื่อสามัญ : จะมีชื่อสามัญที่แตกต่างกันตามพื้นที่เพาะเลี้ยงในแต่ละพื้นที่ เห็ดที่เพาะเลี้ยงกันในสหรัฐอเมริกามีชื่อสามัญว่า ” Abalone Mushroom” ชื่อที่สองคือ “maple oyster mushroom” และอีกชื่อเรียกว่า “Miller’ oyster mushroom” เพาะเลี้ยงกันแพร่หลายในแถบเอเชียโดยเฉพาะในไทยและไต้หวันมีชื่อสามัญเรียกว่า “Pleurotus abalonus Han” และ “Chen&Cheng”
ชื่อท้องถิ่น : ในประเทศไทยมีชื่อที่นิยมเรียกกันว่า “เห็ดหอยโข่งทะเล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตระกูลใหญ่ของเห็ดรา (TRICHOLOMATACEAE) อยู่ในตระกูลเดียวกับเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้า
ชื่อพ้อง : Abalone mushroom

ลักษณะของ Abalone mushroom

  • หมวก หมวกของเห็ดจะมีสีครีมไล่ไปจนถึงสีเทาเข้ม ผิวดอกมีความแห้ง ที่ขอบหมวกม้วนงอลงเล็กน้อย ขนาดของหมวกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 5 – 15 เซนติเมตร บริเวณส่วนกลางของหมวกดอกจะบุ๋มเล็กน้อย
  • ครีบ ครีบใต้หมวกดอกของเห็ดมีสีขาวไปจนถึงสีครีม
  • ก้าน ก้านของดอกจะมีขนาดใหญ่ อวบแน่นและแข็งแรงเพราะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่ออัดตัวกันอย่างแน่นหนา บางดอกมีก้านดอกสั้นมาก ก้านดอกของเห็ดจะไม่ติดตรงกลางดอกเหมือนเห็ดฟางแต่จะติดกับขอบหมวกดอกด้านใดด้านหนึ่ง
  • ดอก มีดอกที่หนา มีสีน้ำตาลหรือสีขาวนวลรูปร่างคล้ายหอยทะเล ที่ผิวดอกมีสีคล้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 9 เซนติเมตร

สรรพคุณของ Abalone mushroom

1. สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
2. สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและช่วยปรับสภาพความดันโลหิต มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
3. สรรพคุณด้านป้องกันโรค ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ป้องกันโรคหวัดและช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียพวกกรัมบวก
4. สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยรักษาโรคกระเพาะและช่วยป้องกันโรคท้องผูก
5. สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ มีส่วนช่วยลดการอักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงาน แร่ธาตุต่าง ๆ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดย

เห็ดเป๋าฮื้อ 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 34 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
โปรตีน 1.6 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 1.0 กรัม
ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 2.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 11 มิลลิกรัม

เมนูอาหารที่นิยม ได้แก่ ตุ๋นยาจีน ราดหน้าเป๋าฮื้อ โจ๊กไก่เป๋าฮื้อเห็ดหอม ผัดน้ำมันหอย ผัดเป๋าฮื้อ และเป๋าฮื้อหน่อไม้ทะเลเจี๋ยนน้ำแดง

Abalone mushroom เป็นเห็ดที่พบมากในฤดูฝนและมีการนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อแปรรูปเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ มีรสชาติคล้ายกับเนื้อไก่ ถือเป็นเห็ดที่นิยมอย่างมากในเมนูอาหารจีนทั้งหลาย ทั้งมีประโยชน์และมีรสชาติอร่อย เหมาะอย่างมากสำหรับผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนรักสุขภาพทานเพื่อชะลอโรคร้ายและช่วยเสริมสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ค้อนหมาขาว หรือพร้าวพันลำ ไม้พุ่มป่าดิบแล้ง แก้ไอ รักษาเบาหวาน

0
ค้อนหมาขาว หรือ “พร้าวพันลำ” ไม้พุ่มในป่าดิบแล้ง ช่วยแก้ไอและรักษาเบาหวาน
ค้อนหมาขาว หรือพร้าวพันลำ ผลสุกเป็นสีเหลืองส้ม ต้นอ่อนเป็นสีเขียว กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
ค้อนหมาขาว หรือ “พร้าวพันลำ” ไม้พุ่มในป่าดิบแล้ง ช่วยแก้ไอและรักษาเบาหวาน
ค้อนหมาขาว หรือพร้าวพันลำ ผลสุกเป็นสีเหลืองส้ม ต้นอ่อนเป็นสีเขียว กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน

ค้อนหมาขาว

ค้อนหมาขาว (Dracaena angustifolia Roxb) หรือเรียกกันว่า “พร้าวพันลำ” มักจะพบในป่าดิบแล้งในประเทศไทย มีผลเป็นสีเหลืองส้มโดดเด่นอยู่บนต้น ค้อนหมาขาวเป็นต้นในวงศ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผู้คนไม่ค่อยรู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อ เป็นยาสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาพื้นบ้าน ตำรายาพื้นบ้านล้านนาและชาวเขาเผ่าเย้า มักจะพบค้อนหมาขาวส่วนของยอดอ่อนและดอกอ่อนในรูปแบบผักหรือพบในแกงเผ็ดมากกว่ารูปแบบอื่น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของค้อนหมาขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena angustifolia Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “พร้าวพันลำ” จังหวัดแพร่เรียกว่า “หมากพู่ป่า” จังหวัดลำปางเรียกว่า “ผักก้อนหมา” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ผักหวานดง คอนแคน” จังหวัดสุรินทร์เรียกว่า “ว่านสากเหล็ก” จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “อีกริมป่า” ชาวลัวะเรียกว่า “ดอกแก รางดอย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE)

ลักษณะของค้อนหมาขาว

ค้อนหมาขาว เป็นพรรณไม้พุ่มที่พบตามป่าดิบแล้งทุกภาคในประเทศไทย
ลำต้น : มีลักษณะตั้งตรงเป็นต้นเดียวหรือแตกเป็นกอเล็กน้อย ลำต้นหนาเป็นรูปทรงกระบอก ต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปดาบ มีผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเป็นเส้นใย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากและมีลักษณะห้อยลง ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : เป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปเกือบทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ออกผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของค้อนหมาขาว

  • สรรพคุณจากราก
    – แก้ไอ ชาวเขาเผ่าเย้านำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มแก้อาการ
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – รักษาเบาหวาน ตำรายาพื้นบ้านนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่มแก้อาการ
    – แก้ไข้รากสาดและไข้กาฬ ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำทั้งต้นมาผสมกับใบพิมเสนต้นและใบบัวบก จากนั้นบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนกินหรือใช้ต้มกับน้ำแล้วดื่มแก้อาการ

ประโยชน์ของค้อนหมาขาว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนมีรสหวานจึงนำมาลวกและต้มทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปปรุงอาหารอย่างแกงเลียง แกงส้ม แกงแค แกงผักรวมใส่ปลาย่าง เป็นต้น
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของค้อนหมาขาว

จากการทดลองกับสัตว์พบว่า เมื่อนำทั้งต้นค้อนหมาขาวที่โผล่เหนือดินมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์นั้นสามารถยับยั้งการเกร็งตัวของลำไส้ในสัตว์ทดลองได้

ค้อนหมาขาว เป็นต้นที่มีชื่อแปลกประหลาดแต่จำได้ง่าย มักจะพบในเมนูแกงส้มหรือแกงเลียง เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาของชาวเขาและชาวบ้านทั่วไป มักจะนำทั้งต้นของค้อนหมาขาวมาปรุงเป็นยา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาเบาหวาน แก้ไอ แก้ไข้รากสาดและไข้กาฬ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ค้อนหมาขาว”. หน้า 94.
พืชกินได้ในป่าสะแกราช, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “ค้อนหมาขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tistr.or.th. [21 ม.ค. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ค้อนหมาขาว, พร้าวพันลำ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 ม.ค. 2015].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ค้อนหมาขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [21 ม.ค. 2015].

คะน้า บรรเทาอาการไมเกรน ลดอารมณ์หงุดหงิดของสตรี ยับยั้งมะเร็งทั้งหลาย

0
คะน้า บรรเทาอาการไมเกรน ลดอารมณ์หงุดหงิดของสตรี ยับยั้งมะเร็งทั้งหลาย
คะน้า เป็นผักใบเขียว ประกอบของอาหารในหลายเมนู สามารถปลูกได้ตลอดปี มีประโยชน์ต่อร่างกาย
คะน้า บรรเทาอาการไมเกรน ลดอารมณ์หงุดหงิดของสตรี ยับยั้งมะเร็งทั้งหลาย
คะน้า เป็นผักใบเขียว ประกอบของอาหารในหลายเมนู สามารถปลูกได้ตลอดปี มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คะน้า

คะน้า (Chinese Kale) เป็น ผักสีเขียวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันทั่วไป มักจะเป็นส่วนประกอบของอาหารในหลายเมนู เป็นผักที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง สามารถปลูกได้ตลอดปี อีกทั้งยังมีรสชาติกรอบอร่อย รับประทานได้ง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน แต่บางคนยังไม่รู้ว่าผักคะน้ามีสรรพคุณต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคะน้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญ 3 ชื่อ คือ “Kai – Lan” “Chinese broccoli” “Chinese kale”
ชื่อท้องถิ่น : จีนกวางตุ้งเรียกว่า “ไก๋หลาน” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “กำหนำ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ชื่อพ้อง : Brassica alboglabra L.H.Bailey

ลักษณะของคะน้า

คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ
พันธุ์ใบกลม : มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1
พันธุ์ใบแหลม : เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.20
พันธุ์ยอดหรือก้าน : มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 2

สรรพคุณของคะน้า

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ วิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น
  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณ ลดความอ้วนหรือลดอาการกินของจุบจิบ
    สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตา ช่วยเสริมสร้างฟันให้แข็งแรง
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย บำรุงโลหิต เสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เสริมสร้างออกซิเจนในเลือด ป้องกันการเกิดโลหิตจาง
  • สรรพคุณด้านกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • สรรพคุณด้านลดไขมัน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลเพราะเป็นผักที่มีน้ำตาลน้อยมาก
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ บรรเทาอาการไมเกรน ป้องกันการเกิดตะคริวหากรับประทานเป็นประจำ
  • สรรพคุณด้านสมอง ช่วยชะลอความจำเสื่อม เสริมสร้างสมองและลดความเสี่ยงต่อการพิการของเด็กทารกในครรภ์
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรคมะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคภูมิแพ้
  • สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • สรรพคุณด้านฮอร์โมน ปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย รักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือช่วยลดอาการหงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน

ประโยชน์ของคะน้า

เป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ต้มจับฉ่าย ข้าวผัดคะน้า คะน้าปลาเค็ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า

คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้าต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
โปรตีน 2.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
แคลเซียม 245 มิลลิกรัม
เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 147 มิลลิกรัม
กากใยอาหาร 3.2 กรัม
เบต้าแคโรทีน 2,512 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 419 ไมโครกรัม 
ไทอะมิน 0.05 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.08 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง

1. ก่อนนำมารับประทานควรล้างผักให้สะอาด ควรใช้น้ำยาล้างผักหรือน้ำส้มสายชูฆ่าสารพิษออกให้หมด เนื่องจากผักคะน้าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด รวมถึงธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและดิน เป็นพิษต่อตับและไต
2. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป เพราะผักคะน้ามีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีนจนเป็นสาเหตุของโรคคอพอก ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ และไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์

ผักคะน้า เป็นผักที่มีน้ำมากและมีรสกรอบอร่อย แต่เป็นผักที่มีสารพิษตกค้างมากเช่นกัน มักจะพบอยู่ในเมนูอาหารมากมาย เป็นผักยอดนิยมสำหรับคนไทยและคนเอเชีย สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม บรรเทาอาการไมเกรน ชะลอความจำเสื่อม ยับยั้งสารก่อมะเร็ง และช่วยลดอารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือนได้ ถือเป็นผักที่มีประโยชน์มากมายจริง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ดร.หรงฮัว จูเกอ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา