Home Blog Page 75

บุกอีรอกเขา ยาดีสำหรับคนลดน้ำหนัก หัวใต้ดินอุดมไปด้วยสรรพคุณ

0
บุกอีรอกเขา ยาดีสำหรับคนลดน้ำหนัก หัวใต้ดินอุดมไปด้วยสรรพคุณ
บุกอีรอกเขา เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกอ่อนลอกเปลือกลวกรับประทาน
บุกอีรอกเขา ยาดีสำหรับคนลดน้ำหนัก หัวใต้ดินอุดมไปด้วยสรรพคุณ
บุกอีรอกเขา เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกอ่อนลอกเปลือกลวกรับประทาน

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา (Amorphophallus brevispathus Gagnep) เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มักจะพบตามที่ชื้นแฉะหรือฝนตกชุก เป็นต้นที่มีชื่อแปลกและไม่ค่อยมีใครรู้จักแต่เป็นต้นหนึ่งที่มีการวิจัยถึงสรรพคุณและสารที่พบในบุกอีรอกเขา สามารถนำดอกอ่อนมาลอกเปลือกลวกรับประทานกับน้ำพริกหรือใช้ปรุงอาหารในเมนูแกงเห็ดหรือแกงหน่อไม้ได้ เป็นพืชวงศ์บอนที่มีหัวใต้ดินเป็นยาสมุนไพรแก้อาการ

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบุกอีรอกเขา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus brevispathus Gagnep.
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “บุก” “อีรอก” และ “ดอกก้าน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของบุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา เป็นไม้ล้มลุกข้ามปีที่มักจะพบตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก
เหง้า : มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวและมีลักษณะกลมอวบน้ำ ไม่มีแกน ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาลและดำเป็นจุดด่าง มีใบประดับ 10 – 120 ใบ มักจะออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย
ดอก : ก้านดอกยาวออกจากเหง้า ดอกอยู่ตรงปลายก้าน ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายดอกหน้าวัว
ผล : ออกผลเป็นกลุ่ม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกตั้งขึ้น มีผลย่อยรูปรีจำนวนมาก

สรรพคุณของบุกอีรอกเขา

สรรพคุณจากบุกอีรอกเขา แก้ท้องเสีย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ต้านเนื้องอก
สรรพคุณจากหัว ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและลดน้ำหนัก เป็นยากัดเสมหะ เป็นยาแก้เถาดาลที่จุดเป็นก้อนกลิ้งอยู่ในท้อง อาจเป็นยาพอกกัดฝีหนองได้

ประโยชน์ของบุกอีรอกเขา

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนนำมาลอกเปลือกลวกรับประทานกับน้ำพริกหรือใช้ปรุงอาหารประเภทนึ่งหรือใส่ในแกงเห็ดและแกงหน่อไม้ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบุกอีรอกเขา

  • สารที่พบในบุกอีรอกเขา L – dopa, dopamine, konjac mannan, β – mannanase I, β – mannanase II
  • การทดลองผลของไฟเบอร์และสาร glucomannan ในบุกอีรอกเขา ณ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1983 พบว่า สามารถช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหารในคนได้
  • การทดสอบความเป็นพิษ พบว่า การให้สารโพลีแซ็กคาไรด์กรอกปากหนูถีบจักรในขนาด 2.8 กรัมต่อกิโลกรัม ทั้งสองเพศนั้นไม่พบว่ามีหนูตาย
  • ฤทธิ์ของบุกอีรอกเขา การรับประทาน glucomannan มาก ๆ จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังทางเดินอาหารได้ มีฤทธิ์กระตุ้น cAMP และ cGMP ยับยั้งเอนไซม์ trypsin ต้านพิษของสีแดง (amaranth) ลดการดูดซึมของวิตามินอี

บุกอีรอกเขา เป็นต้นที่มักจะพบในเมนูแกงเห็ดหรือแกงหน่อไม้ และนำมารับประทานในรูปแบบของผักลวกได้ เป็นต้นที่พบสารมากมายและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอยู่ที่ส่วนของหัวใต้ดิน ถือเป็นต้นที่มีสรรพคุณน่าทึ่งกว่าที่คิด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและลดน้ำหนัก และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดมะเร็งและต้านเนื้องอกได้ ถือเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “บุกอีรอกเขา”. หน้า 996.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “อีรอก”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [30 พ.ย. 2014].

ผักกาดนอ หรือ “ผักกาดนก” ทั้งต้นเป็นยาเย็นรสขมเผ็ด ช่วยแก้ไข้และแก้ไอได้

0
ผักกาดนอ หรือ “ผักกาดนก” ทั้งต้นเป็นยาเย็นรสขมเผ็ด ช่วยแก้ไข้และแก้ไอได้
ผักกาดนอ หรือผักกาดนก เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกลี้ยงไม่มีขน ต้นมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย
ผักกาดนอ หรือ “ผักกาดนก” ทั้งต้นเป็นยาเย็นรสขมเผ็ด ช่วยแก้ไข้และแก้ไอได้
ผักกาดนอ หรือผักกาดนก เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกลี้ยงไม่มีขน ต้นมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย

ผักกาดนอ

ผักกาดนอ (Rosy Milkweed) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “ผักกาดนก” มีดอกสีเหลืองขนาดเล็กจึงทำให้มีอีกชื่อว่า “ผักกาดน้ำดอกเหลือง” เป็นไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามข้างทางหรือบริเวณใกล้ลำธาร ทั้งต้นมีรสขมเผ็ดเล็กน้อยและเป็นยาเย็น สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ผักกาดนอมีน้ำมันอยู่ภายในเมล็ดและพบสารที่มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ มักจะนำส่วนของยอดอ่อนมาลวกจิ้มกับน้ำพริกเพื่อทานเป็นอาหาร แต่ผักกาดนอนั้นไม่เหมาะสำหรับคนที่มีธาตุไฟอ่อนสักเท่าไหร่

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกาดนอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rorippa indica (L.) Hiern
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Rosy Milkweed”
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “ผักกาดนก ผักกาดน้ำ ผักกาดน้ำดอกเหลือง” ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “เหล็กเต่าเช่า” ชาวจีนกลางเรียกว่า “ซกไก้ช่าย ลู่โต้วเฉ่า ฮั่นช่าย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ชื่อพ้อง : Nasturtium montanum Wall. ex Hook. f. & Thomson, Rorippa montana (Wall. ex Hook. f. & Thomson) Small

ลักษณะของผักกาดนอ

ผักกาดนอ เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุ 1 ปี มักจะพบขึ้นทั่วไปตามข้างทาง พื้นที่ชายขอบป่าและบริเวณใกล้ริมลำธาร
ลำต้น : ลำต้นอ่อนไหวและเกลี้ยงไม่มีขน ตามกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมสีเขียวอมม่วงแดง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ที่โคนต้นมีก้านใบมน ไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมวงรี รูปไข่กลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบสอบเรียว ขอบใบหยักไม่สม่ำเสมอ บริเวณยอดต้นขอบใบจะเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลีบดอก 4 กลีบ กลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน
ผล : ออกผลเป็นฝักบริเวณยอดต้น ลักษณะของฝักเป็นรูปกลมยาว ภายในมีเมล็ด

สรรพคุณของผักกาดนอ

สรรพคุณจากทั้งต้น ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบ แก้หลอดลมอักเสบ รักษาปากลิ้นเปื่อยและแผลมีฝ้า เป็นยาขับลมชื้น ช่วยแก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้อาการบวมน้ำ แก้ไขข้ออักเสบเฉียบพลัน เป็นยาแก้พิษงูและแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฝีหนอง
แก้ร้อนในและไข้หวัดตัวร้อน ด้วยการนำผักกาดนอ 35 กรัม และน้ำนมราชสีห์ 35 กรัม มาต้มกับน้ำเพื่อดื่ม
– แก้ไอร้อนในปอด ด้วยการนำต้นสด 70 กรัม และกวยแฉะ 10 กรัม มารวมกันต้มกับน้ำเพื่อดื่ม
– เป็นยาขับปัสสาวะและแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ด้วยการนำต้นสด 70 กรัม มาต้มใส่น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อยเพื่อรับประทานเป็นยา

ประโยชน์ของผักกาดนอ

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกเพื่อรับประทานเป็นอาหารได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกาดนอ

สารที่พบในผักกาดนอ ในต้นพบสาร Rorifone ส่วนในเมล็ดพบน้ำมัน
ฤทธิ์ของผักกาดนอ เมื่อนำผักกาดนอมาต้มทำให้มีฤทธิ์ละลายเสมหะของกระต่ายที่ทดลองได้ แต่ไม่มีผลต่อการแก้ไอและไม่มีผลต่อคน ถ้าต้องการนำมาใช้ในการแก้ไอนั้นต้องรับประทานวันละ 200 – 300 มิลลิกรัม ติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน นอกจากนั้นสารสกัดจากผักกาดนอยังสามารถยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้หลายชนิด เช่น เชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัด เชื้อ Columbacillus ของลำไส้ เชื้อ Staphelo coccus, Steptro coccus กับเชื้อ Coccus ในปอดที่ทำให้ปอดอักเสบได้

ข้อควรระวังของผักกาดนอ

1. บุคคลที่มีธาตุไฟอ่อน อย่างตัวเย็นและเลือดเย็นนั้นห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นอันขาด
2. ไม่ควรนำผักกาดนอมาผสมเข้ายากับคนทีสอ เพราะจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อร่างกายซึ่งทำให้มีอาการมือเท้าและแขนขาชาได้

ผักกาดนอ มีทั้งต้นเป็นยาสมุนไพรเนื่องจากมีรสขมเผ็ดเล็กน้อยและเป็นยาเย็นซึ่งช่วยในเรื่องของการแก้ไข้ตัวร้อนได้ดี สามารถนำยอดอ่อนมาทานในรูปแบบของผักได้ ผักกาดนอนั้นมีฤทธิ์เป็นยาเย็นเพราะฉะนั้นคนตัวเย็นหรือธาตุไฟอ่อนไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ ผักกาดนอมีสรรพคุณทางยาได้จากทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ถอนพิษไข้ แก้ไอ แก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่านและอาการบวมน้ำได้ ถือเป็นต้นที่ดีต่อการดับความร้อนในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ผักกาดนอ”. หน้า 334.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ผักกาดน้ำดอกเหลือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [30 ส.ค. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ชะพลูป่า หรือ ตะค้านหนู ใบห่อเมี่ยง ทั้งต้นเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน

0
ชะพลูป่า หรือ “ตะค้านหนู” ใบใช้ห่อเมี่ยง ทั้งต้นเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา
ชะพลูป่า หรือตะค้านหนู เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน มักนำใบมาใช้ห่อเมี่ยงหรือนำมาทำแกงคั่ว
ชะพลูป่า หรือ “ตะค้านหนู” ใบใช้ห่อเมี่ยง ทั้งต้นเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา
ชะพลูป่า หรือตะค้านหนู เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน มักนำใบมาใช้ห่อเมี่ยงหรือนำมาทำแกงคั่ว

ชะพลูป่า

ชะพลูป่า (Piper wallichii) หรือเรียกกันว่า “ตะค้านหนู” เป็นชะพลูป่าที่มักจะนำใบมาใช้ห่อเมี่ยงหรือนำมาทำแกงคั่ว นอกจากจะนิยมนำมาทานแล้วชะพลูป่ายังมีสรรพคุณทางยาซึ่งทั้งต้นเป็นส่วนผสมในตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา ถือเป็นต้นที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันอย่างแพร่หลายเพราะใบชะพลูมักจะพบได้มากในเมนูอาหารต่าง ๆ

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของชะพลูป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper wallichii (Miq.) Hand. – Mazz.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดน่านเรียกว่า “พลูป่า” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “ตะค้านหนู” จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “ชะพลูป่า” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “ผักแค พลูแก พลูตุ๊กแก พลูกะตอย สะค้านหนู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)
ชื่อพ้อง : Piper aurantiacum Wall. ex C. DC.

ลักษณะของชะพลูป่า

ชะพลูป่า เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันชนิดหนึ่ง
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงหรือรอเลื้อย มีข้อโป่งพอง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบบาง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอกแล้วห้อยลง ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง
ผล : ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เป็นผลรวมที่เกิดจากดอกเจริญมาเป็นผลและอัดแน่นอยู่บนก้านผลอันเดียว

สรรพคุณของชะพลูป่า

  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้อาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำทั้งต้นมาตำแล้วพอกแก้อาการ

ประโยชน์ของชะพลูป่า

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบใช้รับประทานสดเป็นผักหรือใช้ห่อเมี่ยง นำมาทำแกงคั่วได้อีกด้วย

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะพลูป่า

จากการทดลองกับสัตว์พบว่า เมื่อนำผลชะพลูป่ามาสกัดด้วยแอลกอฮอล์นั้นสามารถลดความดันโลหิต ยับยั้งการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจและกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และมดลูกในสัตว์ทดลองได้

ชะพลูป่า มักจะพบในรูปแบบของผักที่ใช้รับประทานในเมนูเมี่ยงหรือในแกงคั่ว ทั้งนี้ขึ้นชื่อว่าใบผักสีเขียวย่อมต้องมีประโยชน์ต่อร่างกาย ใบชะพลูนั้นสามารถนำทั้งต้นมาใช้ปรุงเป็นยาได้ตามตำรายาพื้นบ้านล้านนา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้อาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ทว่ายังมีการวิจัยว่าใบชะพลูป่านั้นช่วยลดความดันเลือดและช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติและยังพบว่าช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และมดลูกในสัตว์ทดลองเพศเมียได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชะพลูป่า”. หน้า 167.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ชะพลูป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [07 ม.ค. 2015].
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “List of Piper species in Thailand”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : home.kku.ac.th/raccha/. [08 ส.ค. 2015].

มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่

0
มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่
มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้น ผลมีรสเปรี้ยว เป็นผลสดกลมแบนสีขาวอมเขียว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียด
มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่
มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้น ผลมีรสเปรี้ยว เป็นผลสดกลมแบนสีขาวอมเขียว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียด

มะเหลี่ยมหิน

มะเหลี่ยมหิน (Rhus chinensis Mill) เป็นต้นที่ผลมีรสเปรี้ยวและชาวเผ่าในเชียงใหม่นิยมนำมารับประทานและใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นต้นที่นิยมในชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ ชาวเขาเผ่าอีก้อ ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ชาวลัวะ ชาวมูเซอและคนเมืองก็นิยมนำมะเหลี่ยมหินมาทาน เป็นไม้ยืนต้นที่ภายนอกไม่ค่อยมีลักษณะโดดเด่นแต่เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับชาวพื้นเมืองหรือชาวเผ่าทั่วไป

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเหลี่ยมหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhus chinensis Mill.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “มะเหลี่ยมหิน ซุง” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “สำค้ำ” จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเรียกว่า “มะผด ส้มผด” ชาวเย้าเชียงใหม่เรียกว่า “ตะซาย” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เส่ฉี่” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “เส่ชิ” ชาวลัวะเรียกว่า “ลำยึ ไม้สมโพด แผละยึ เพี๊ยะยึ มักพด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)
ชื่อพ้อง : Rhus javanica var. chinensis (Mill.) T.Yamaz.

ลักษณะของมะเหลี่ยมหิน

มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มักจะพบในป่าดงดิบหรือที่ชื้นทั่วไป
เปลือก : เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลอมขาวหม่นและมีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมขาวหม่น เมื่อแก่จะมีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมแดงเรียงกันเป็นแถว เปลือกด้านในเป็นสีขาวหม่น มียางสีขาวหม่นหรือขาวอมเหลือง กิ่งเปราะ ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ออกเรียงสลับระหว่างช่อเวียนรอบกิ่งหรือต้น แกนในร่วมแบนข้างเล็กน้อย แผ่เป็นสันคล้ายปีก ใบย่อยไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมขอบขนานไปจนถึงรูปใบหอก รูปใบหอกหรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งมนหรือสอบแคบ สองข้างใบไม่สมมาตรกัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยขนาดเล็ก ใบอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบสดมีขนละเอียดสีน้ำตาลเฉพาะบนเส้นใบด้านบน ส่วนล่างมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มก่อนจะร่วง ใบมักจะมีแมลงขนาดเล็กคล้ายแมลงหวี่มาทำลาย ทำให้เกิดปมเป็นตุ่มขนาดใหญ่สีแดงงอกออกมาเป็นกลุ่มคล้ายผล ซึ่งจะเห็นกระจายอยู่ทั่วทั้งต้นได้ชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะแยกแขนงขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศหรืออาจแยกเพศแยกช่ออยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสั้นและโคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปวงรีกว้างหรือรูปขอบขนาน กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนอมเขียวอ่อน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เรียงล้อมรอบหมอนรองดอกที่มี 5 พู รังไข่ค่อนข้างกลมนูนอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม มีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ภายในมี 1 ช่อง ก้านเกสร 3 อัน มักจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
ผล : เป็นผลสด มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน ผลมีกลีบเลี้ยงรองรับ เมื่ออ่อนจะเป็นสีขาวอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีชมพูไปจนถึงสีแดงจัดแกมน้ำตาลเป็นสีขาว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ติดผลในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
เมล็ด : เมล็ดมีชั้นหุ้มแข็ง

สรรพคุณของมะเหลี่ยมหิน

  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดแสบลิ้นปี่ แก้อาการปวดท้อง แก้อาการอาหารไม่ย่อยและอาหารเป็นพิษ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้ไอ โดยชาวเขาเผ่าอีก้อนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้ไอและมีน้ำมูกข้น โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากมาผสมกับรากสาบเสือ รากปืนนกไส้ ก้นจ้ำทั้งต้นและผักปลายทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากผล
    – เป็นยาแก้อาการหวัด โดยชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำผลมาแช่ในน้ำแล้วใส่เกลือเพื่อดื่ม
    แก้ไอ โดยชาวลัวะนำผลไปต้มผสมกับขิงเพื่อรับประทาน
    – รักษาโรคริดสีดวง ด้วยการนำผลมาเคี้ยวกินแล้วดื่มน้ำตาม
  • สรรพคุณจากยอดอ่อน
    – แก้ท้องเสีย โดยชาวมูเซอนำยอดอ่อนมาผสมกับไข่หมกเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาแผลสดและแผลถลอก ช่วยสมานแผลและช่วยห้ามเลือด รักษาแผลงูกัด ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาหรือพอก
    – แก้อาการผื่นคันและตุ่มพอง รักษาโรคผิวหนังตามร่างกาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – ช่วยล้างแผล ฝี หนองและแผลติดเชื้อ ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วล้างแผล
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้อาการคันจากพิษยางรัก
  • สรรพคุณจากต้นและเมล็ด
    – แก้อาการเจ็บคอและหวัด ด้วยการนำต้นและเมล็ดมาต้มกับน้ำแล้วกินแก้อาการ
    – แก้บาดแผล ด้วยการนำต้นและเมล็ดมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของมะเหลี่ยมหิน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานและปรุงรสอาหาร ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำผลมาตำใส่เกลือและพริกรับประทาน ชาวลัวะนำผลมาคลุกกับเกลือหรือกะปิหรือรับประทานร่วมกับลำชิเพียร ชาวอีก้อนำใบอ่อนผสมกับหน่อไม้ทานเป็นผัก คนเมืองนำเปลือกต้นมาขูดใส่ลาบเพื่อช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น
2. ใช้ในด้านความสะอาดและความงาม ลำต้น รากและใบนำมาต้มแล้วนำน้ำมาทำความสะอาดร่างกายได้ ผลนำมาถูบริเวณส้นเท้าที่แตกได้
3. เก็บรักษาข้าว นำใบ 9 ใบ มาวางบนก้อนหินในยุ้งฉางก่อนจะใส่ข้าวเพื่อเก็บรักษา
4. ใช้ในการก่อสร้าง ลำต้นใช้ทำรั้ว กิ่งก้านใช้ทำฟืน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเหลี่ยมหิน

จากการวิจัยพบว่า ใบมีกรดแทนนิกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและป้องกันสารบางชนิดที่ทำลายดีเอ็นเอของเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลอง สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลองได้

มะเหลี่ยมหิน เป็นต้นที่ภายนอกไม่โดดเด่นหรือสวยงามแต่มีสรรพคุณทางยาได้หลากหลายและยังมีผลรสเปรี้ยวที่นำมาประยุกต์ในการปรุงอาหารได้ด้วย ถือเป็นที่นิยมในชนเผ่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ มะเหลี่ยมหินมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและผล มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาบาดแผล แก้ไข้และแก้ไอ แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคผิวหนังตามร่างกาย ถือเป็นต้นที่แก้อาการพื้นฐานได้เป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะเหลี่ยมหิน”. หน้า 185.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [31 ต.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “มะเหลี่ยมหิน, ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3 (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [31 ต.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [31 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ

0
เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ
เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุง ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีเทา มีกลิ่นหอม รสขม
เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ
เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุง ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีเทา มีกลิ่นหอม รสขม

เพี้ยกระทิง

เพี้ยกระทิง (Melicope pteleifolia) เป็นต้นยอดนิยมของชาวเผ่าทั่วไปในการใช้เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุงได้ อีกทั้งยังเป็นใบที่ชนเผ่านิยมทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เพี้ยกระทิงมีดอกย่อยสีขาวเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่บนต้น คนไทยไม่ค่อยได้ยินหรือรู้จักเพี้ยกระทิงกันมากนัก ในด้านยาสมุนไพรนั้นสามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาได้ เป็นต้นหนึ่งที่นิยมสำหรับชาวบ้านและชาวเผ่าทั่วไป

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเพี้ยกระทิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melicope pteleifolia (Champ. ex Benth.) T.G. Hartley
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เพี้ยกระทิง ผักส้มเสี้ยนผี” ไทใหญ่เรียกว่า “ขมสามดอย แสงกลางวัน” คนเมืองเรียกว่า “มะโหกโตน” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ตะคะโดะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “สะเลียมดง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ส้ม (RUTACEAE)
ชื่อพ้อง : Euodia gracilis Kurz, Euodia lepta (Spreng.) Merr.

ลักษณะของเพี้ยกระทิง

เพี้ยกระทิง เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรี เนื้อใบมีต่อมน้ำมันเป็นจุด ๆ กระจายอยู่ทั่วไป
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดเล็ก มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ
ผล : ผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม เป็นพู 2 พู
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเดียว เมล็ดมีรูปทรงกลมสีดำ

สรรพคุณของเพี้ยกระทิง

  • สรรพคุณจากราก รักษาโรคริดสีดวง
    – แก้ไข้หนาว ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากเพี้ยกระทิงมาผสมกับรากพลับพลาแล้วนำมาต้มกับน้ำให้ข้น ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 – 4 ครั้ง
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – รักษาอาการมดลูกอักเสบ ด้วยการนำทั้งต้นมาผสมกับสมุนไพรอีก 2 ชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำล้างช่องคลอด
    – แก้อาการปวดเอว อาการเคล็ดหรือปวดตามตัว ด้วยการนำกากที่กลั่นเหล้าแล้วหรือต้นสดมาปูนอน
  • สรรพคุณจากหัว
    – ช่วยให้มดลูกของผู้หญิงเข้าอู่ ด้วยการนำหัวมาต้มเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ แก้ตุ่มคัน

ประโยชน์ของเพี้ยกระทิง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวไทใหญ่นำใบและยอดอ่อนรับประทานร่วมกับลาบหรือจะใช้ใบและดอกมาลวกทานกับน้ำพริก ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำยอดอ่อนและดอกมารับประทานสดหรือนำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและใส่ข้าวเบือน ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนนำใบเพี้ยกระทิงมาย่างกับไฟอ่อน ๆ แล้วขยี้เป็นแผ่นเล็ก ๆ หรือจะใส่ทั้งใบลงในแกงเพื่อเพิ่มรสขม
2. ป้องกันยุง ใบนำมาขยี้ทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดเวลาเข้าป่าได้

เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและผักที่สำคัญของชนเผ่าทั้งหลายอย่างไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่และชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน ถือเป็นผักที่หาได้ในป่าและยังช่วยกันยุงป่าได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้หนาว รักษาโรคริดสีดวง รักษาอาการมดลูกอักเสบ เป็นต้นที่สำคัญในการรักษาเกี่ยวกับมดลูกในผู้หญิงของชนเผ่าทั้งหลาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เพี้ยกระทิง”. หน้า 108.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เพี้ยกระทิง, สะเลียมดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 พ.ย. 2014].

ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้

0
ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้
ผักกาดส้ม เป็นพืชในวงศ์ไผ่ ต้นมีรสเปรี้ยว ลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน รากแก้วคล้ายหัวผักกาด
ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้
ผักกาดส้ม เป็นพืชในวงศ์ไผ่ ต้นมีรสเปรี้ยว ลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน รากแก้วคล้ายหัวผักกาด

ผักกาดส้ม

ผักกาดส้ม (Curly Dock) เป็นพืชในวงศ์ไผ่ที่นิยมของชาวท้องถิ่น ผักกาดส้มเป็นชื่อเรียกของคนแม่ฮ่องสอนและเป็นผักที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นในแถบภาคเหนือและชาวกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวดังนั้นชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่น ๆ จึงนิยมนำลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน เป็นต้นที่มีประโยชน์ต่อการนำมาปรุงอาหารและเป็นยาสมุนไพรของชาวม้งและชาวล้านนา แต่ผักกาดส้มก็เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีพิษต่อร่างกายได้เช่นกัน

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกาดส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rumex crispus L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Curly Dock” “Yellow dock”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ผักกาดส้ม” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “เก่อบะซิ” ชาวม้งเชียงใหม่เรียกว่า “ชั่วโล่งจั๊วะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “พะปลอ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)

ลักษณะของผักกาดส้ม

ผักกาดส้ม เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี
ลำต้น : ลำต้นเป็นสีเขียวอมแดงและค่อนข้างกลม ผิวลำต้นเกลี้ยง มีรากแก้วคล้ายหัวผักกาด สามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเวียนรอบต้นหรือกิ่งแผ่เป็นวงรัศมี ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ โค้งมนรูปตัดหรือเว้าตื้น ขอบใบเป็นลอนคลื่นหรือย่น ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบค่อนข้างเลือนรางจนมองเห็นไม่ชัดเจน หูใบแผ่แบนลักษณะคล้ายปลอกหุ้มลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง บางครั้งแยกแขนงออกเป็น 2 – 3 แขนง ดอกย่อยมีจำนวนมาก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศอยู่เป็นกระจุกรอบแกนดอกชิดติดกันแน่นตามแกนช่อดอก ลักษณะคล้ายกระบองหรือทรงกระบอก กลุ่มดอกที่ออกจากซอกใบล่างลงมามักเป็นกระจุกเล็ก ๆ มีรูปทรงกลม ดอกย่อยเป็นสีเขียวมีขนาดเล็ก วงกลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบวงในขยายใหญ่และหุ้มผลเมื่อตกผล ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน เรียงตัวเป็น 2 วง วงละ 3 อัน อับเรณูติดที่ฐาน รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 3 ช่อง มีก้านเกสรสั้น 3 อัน ปลายก้านมีลักษณะคล้ายแปรงหรือชายครุย
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตก
เมล็ด : เป็นเมล็ดเดี่ยว ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ ด้านข้างเป็นสันนูนคล้ายปีก 3 สัน มีกาบของกลีบหุ้มเป็นสันคล้ายปีก 3 สัน

สรรพคุณของผักกาดส้ม

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ปวดฟัน โดยชาวม้งนำยอดอ่อนมาอมหรือต้มกับไข่กินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาระบาย โดยตำรายาพื้นบ้านล้านนานำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้หนองใน ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – รักษาฝี ด้วยการนำรากมาทุบห่อผ้าเพื่อทำเป็นลูกประคบฝี เมื่อฝีแตกให้นำรากมาฝนกับน้ำทาบริเวณที่เป็น

ประโยชน์ของผักกาดส้ม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบนำมาใช้แทนมะนาวใส่ในแกงเพื่อปรุงให้มีรสเปรี้ยวได้ ชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่น ๆ นำลำต้นและใบมาทำเป็นผักดองเค็มเพื่อทานเป็นกับแกล้มหรือกินกับข้าว
2. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและหนัง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกาดส้ม

  • ทั้งต้นของผักกาดส้ม พบกรดออกซาลิกซึ่งเป็นพิษต่อตับและไตของคน จึงทำให้เสียชีวิตได้
  • รากของผักกาดส้ม พบสารกลุ่มแอนทราควิโนนซึ่งมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนู
  • แก่นของผักกาดส้ม พบสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ในสัตว์ทดลอง

ผักกาดส้ม เป็นต้นที่มีลักษณะคล้ายผักกาดแต่ไม่ได้มีสีส้มตามชื่อ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวจึงนิยมนำมาทานเป็นผักดองเค็มและนำมาใช้แทนมะนาวได้ ภายในต้นพบสารที่เป็นพิษต่อตับและไตจึงควรระวังในการนำมารับประทาน ผักกาดส้มมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปวดฟัน เป็นยาระบาย แก้หนองในและรักษาฝีได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ผักกาดส้ม”. หน้า 188.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ผักกาดส้ม”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 พ.ย. 2014].

ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา

0
ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา
ต้นสร้อยทับทิม เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมารับประทานสด กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู
ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา
ต้นสร้อยทับทิม เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมารับประทานสด กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู

ต้นสร้อยทับทิม

ต้นสร้อยทับทิม (Persicaria barbata) เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่และมักจะพบตามริมน้ำหรือริมคลองทั่วไป นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสด นอกจากนั้นยังนิยมสำหรับปลูกเป็นพรรณไม้ประดับสวนน้ำทั่วไปอีกด้วย ในด้านของสรรพคุณทางยาสมุนไพรนั้นสร้อยทับทิมถือเป็นต้นที่อยู่ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาและเป็นยาสำหรับชาวเขาเผ่าแม้ว

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของต้นสร้อยทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persicaria barbata (L.) H.Hara
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สร้อยทับทิม” จังหวัดน่านเรียกว่า “ผักไผ่น้ำ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักแพรวกระต่าย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)
ชื่อพ้อง : Polygonum barbatum L.

ลักษณะของสร้อยทับทิม

สร้อยทับทิม เป็นพืชล้มลุกที่มักจะพบบริเวณริมน้ำ ริมคลองหรือในที่น้ำท่วมขังตื้น ๆ มักจะขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงและมีขน สามารถเห็นข้อปล้องชัดเจน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบมีขนที่ริมใบและเส้นกลางใบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนขึ้นปกคลุม มีหูใบหรือกาบใบแผ่เป็นแผ่นบางหุ้มรอบลำต้นและมีขน ทำให้บริเวณข้อโป่งพองออก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตกและเป็นมัน

สรรพคุณของสร้อยทับทิม

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ไข้มาลาเรีย ชาวเขาเผ่าแม้วนำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำเพื่อดื่มเป็นยา
    – รักษาเกลื้อน เรื้อนและอาการคัน ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำใบสดมาผสมกับยาเส้นแล้วคั้นเอาน้ำมาทาแก้อาการ

ประโยชน์ของสร้อยทับทิม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาทานเป็นผักสดได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นพรรณไม้ประดับสวนน้ำทั่วไป

สร้อยทับทิม ถือเป็นพืชยอดนิยมของชนชาวเขาทั่วไปเนื่องจากมีสรรพคุณที่รักษาไข้มาลาเรียซึ่งเป็นไข้ป่าที่ชาวเขาส่วนมากมักจะเป็นกันบ่อย จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มียารักษาโรคเข้าถึง และยังนำยอดอ่อนและใบอ่อนของต้นมารับประทานเป็นผักสดได้ แต่คนเมืองมักจะนำสร้อยทับทิมมาปลูกเป็นไม้ประดับในสวนน้ำทั่วไปมากกว่า สร้อยทับทิมเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาจากส่วนของใบซึ่งมีสรรพคุณแก้ไข้มาลาเรีย รักษาเกลื้อนหรือเรื้อนและอาการคันได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สร้อยทับทิม”. หน้า 174.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักแพรวกระต่าย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [17 ต.ค. 2014].

สุวรรณพฤกษ์ หรือ ขี้เหล็กอเมริกัน รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย

0
สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย
สุวรรณพฤกษ์ หรือขี้เหล็กอเมริกัน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูง ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย
สุวรรณพฤกษ์ หรือขี้เหล็กอเมริกัน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูง ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม

สุวรรณพฤกษ์

สุวรรณพฤกษ์ (American Cassia) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ขี้เหล็กอเมริกัน” เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูงทำให้ดูสง่างามจึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่สาธารณะอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ เพราะไม่ต้องการการดูแลสูงนัก ทว่าไม่ค่อยมีใครรู้ว่าดอกและใบของต้นสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ และยังนำเนื้อไม้มาทำเครื่องมือหรือฟืนได้อีกด้วย ชาวเขาเผ่าแม้วนำใบมาใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นต้นที่มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการพื้นฐานได้ดี

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสุวรรณพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna spectabilis (DC.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “American Cassia”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ขี้เหล็กอเมริกัน ทองนพคุณ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ขี้เหล็กอเมริกา”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia spectabilis DC.

ลักษณะของสุวรรณพฤกษ์

สุวรรณพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน
ต้น : ทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาว ส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 10 – 15 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรี ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางอ่อนเป็นสีเขียวสด หลังใบด้านบนเรียบ ท้องมีขนละเอียดนาบไปกับแผ่นใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมากเป็นรูปดอกหางนกยูง มีประมาณ 6 – 60 ดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีเหลืองสดขนาดไม่เท่ากัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เป็นหมัน 3 อัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกตามตะเข็บ สามารถติดผลได้ตลอดทั้งปี
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 50 – 70 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปวงรีสีน้ำตาล

สรรพคุณของสุวรรณพฤกษ์

  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาอาการตัวเหลืองและดีซ่าน โดยชาวเขาเผ่าแม้วนำใบและก้านใบมาใช้อย่างเดียวหรือผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นแล้วนำมาต้มอบไอน้ำ
    – ช่วยรักษาคนติดฝิ่น ด้วยการนำใบและก้านใบมาต้มอบไอน้ำ
    – ลดการอักเสบอย่างอ่อนในสัตว์ ด้วยการนำใบแห้งบดเป็นผงให้สัตว์ทดลองกิน
  • สรรพคุณจากใบและดอก เป็นยาถ่ายเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน
    – เป็นยาถ่ายโลหิตระดูของสตรี โดยใช้ร่วมกับแก่นขี้เหล็กและแก่นแสมทะเล
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาอาการปวดตามข้อ ด้วยการนำรากสดประมาณ 60 กรัม มาตุ๋นกับเป็ด ไก่หรือเต้าหู้กินเป็นยา

ประโยชน์ของสุวรรณพฤกษ์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกและใบนำมาใช้ประกอบอาหารได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นด้ามเครื่องมือ ไม้ถือ เครื่องเรือน ทำครก สากหรือนำมาใช้ทำฟืนได้
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามที่สาธารณะ

สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” เป็นต้นที่พบได้ทั่วไปเพราะนิยมปลูกกันในที่สาธารณะทั่วประเทศไทย มีดอกสีเหลืองโดดเด่นทำให้ดูสวยงาม ทว่าต้นนั้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งการนำมาประกอบอาหารหรือใช้ทำเครื่องมือได้ สุวรรณพฤกษ์มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบและดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการตัวเหลืองและดีซ่าน ช่วยรักษาคนติดฝิ่น เป็นยาระบาย ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถือเป็นต้นที่มีประโยชน์มากกว่าที่เห็นกันทั่วไปตามที่สาธารณะ

 

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สุวรรณพฤกษ์”. หน้า 64.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ขี้เหล็กอเมริกัน”. อ้างอิงใน : หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [07 ต.ค. 2014].
ไทยเกษตรศาสตร์. “ขี้เหล็กอเมริกัน”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [08 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้

0
หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้
หนามแน่แดง เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดง ดอกบานจะมีสีเหลือง ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว
หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้
หนามแน่แดง เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดง ดอกบานจะมีสีเหลือง ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว

หนามแน่แดง

หนามแน่แดง (Thunbergia coccinea Wall) เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดงแต่เมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองโผล่ออกมา เป็นไม้หายากที่นิยมนำมาใช้เป็นไม้ปลูกประดับ ชาวเย้า ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ชาวเขาเผ่าปะหล่องไทใหญ่และพม่านิยมนำหนามแน่แดงมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการดูดพิษจากสัตว์มีพิษทั้งหลาย นอกจากนั้นยังนิยมนำดอกมาประกอบอาหารเพื่อใช้ทำเป็นแกงได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหนามแน่แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia coccinea Wall.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “น้ำปู้ หนามแน่แดง เครือนกน้อย” ชาวเย้าเชียงใหม่เรียกว่า “เหนอะตอนเมื่อย” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “จอละดิ๊กเดอพอกวอ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “จอลอดิ๊กเดอพอกวอ ปังกะล่ะกวอ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “รางจืด รางจืดแดง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
ชื่อพ้อง : Hexacentris coccinea (Wall.) Nees

ลักษณะของหนามแน่แดง

หนามแน่แดง เป็นไม้พุ่มเลื้อยพันที่มักจะพบตามป่าดิบชื้น บริเวณที่โล่งหรือตามชายป่าและตามภูเขาสูง พบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ลำต้น : มีการแตกกิ่งก้านสาขามากจนปกคลุมต้นไม้อื่น ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกจากข้อของลำต้นหรือกิ่ง โดยจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกันแบบเวียนรอบและทิ้งระยะค่อนข้างห่างระหว่างข้อ ก้านใบมีลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงและไม่มีขน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบโค้งมน ป้านหรือเว้าลึกเล็กน้อย ขอบใบหยักคล้ายซี่เลื่อยหรือเป็นลูกคลื่นแบบห่างไม่สม่ำเสมอกัน เนื้อใบค่อนข้างบาง หลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว ท้องใบมีสีอ่อนกว่าและมีนวลสีขาวขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห้อยลง โดยจะออกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง เป็นดอกแบบสมบูรณ์โดยมีประมาณ 20 – 60 ดอกต่อช่อออกเรียงตัวแบบเวียนรอบแกนช่อ มีใบประดับลักษณะเป็นรูปไข่ปลาแหลมหรือมนเล็กน้อย ดอกเป็นสีส้ม สีส้มอมแดงไปจนถึงสีแดงอมม่วงหุ้มดอกเมื่อดอกตูม เมื่อดอกเริ่มบานกลีบดอกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงเหลืองเข้มจะโผล่ออกมาทางด้านล่างของใบประดับ กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นแถบเล็กอยู่บริเวณโคนกลีบดอก กลีบดอกมีช่วงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ช่วงปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบบนจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่นและมีลักษณะตั้งขึ้น ส่วนกลีบที่เหลือมักพับลง ผิวด้านในของกลีบจะมีสีอ่อนกว่าด้านนอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน โดยจะอยู่ลึกลงไปในท่อกลีบดอก ก้านเกสรสั้น มีรังไข่ 1 อัน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักประเภทแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว ภายในฝักมีเมล็ดหลายเมล็ด โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

สรรพคุณของหนามแน่แดง

  • สรรพคุณจากเถา
    – แก้อาการเด็กนอนไม่หลับ โดยชาวเย้านำเถามาต้มกับน้ำให้เด็กอาบ
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นอย่างเช่น รากพญาดง (Persicaria chinensis) แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเครือ
    – แก้พิษจากสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ แมงมุมพิษ งู ด้วยการนำเครือมาต้มกับน้ำกินเวลาที่โดนพิษ
  • สรรพคุณจากเถาและใบ
    แก้ไข้ โดยชาวเขาเผ่าปะหล่องไทใหญ่และพม่านำเถาอ่อนและใบมาต้มกับน้ำอาบเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบและเครือ
    – แก้อาการเคืองตา ตาแดงและเจ็บตา ด้วยการนำใบและเครือมาต้มหรือใช้น้ำที่อยู่ภายในลำต้นมาล้างตา
  • สรรพคุณจากดอกและผล
    – ดูดพิษงูกัด ด้วยการนำดอกและผลมาตำพอกแผลที่โดนงูกัด
  • สรรพคุณจากรากและใบ
    – แก้พิษยาเบื่อ แก้พิษจากยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลง โดยเชื่อว่าจะมีฤทธิ์แรงกว่ารางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.)

ประโยชน์ของหนามแน่แดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมาใช้ประกอบอาหารอย่างการทำแกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับบ้านทั่วไปหรือปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม

หนามแน่แดง เป็นต้นไม้หายากและมีดอกที่สวยงามจึงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอที่มักจะพบทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวเผ่านิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลากหลาย หนามแน่แดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยทุกส่วนมีความสำคัญในการรักษาพอกัน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้พิษจากสัตว์มีพิษ แก้ไข้ แก้พิษยาเบื่อหรือยาฆ่าแมลง แก้อาการเคืองตาได้ ถือเป็นต้นที่เหมาะอย่างมากในการรักษาหรือดูดพิษในแบบธรรมชาติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนามแน่แดง”. หน้า 209.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หนามแน่แดง, รางจืด, รางจืดแดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [29 ก.ย. 2014].
พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนามแน่แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th. [29 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ

0
หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ
หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ สีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม
หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ
หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ สีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม

หญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา (Itch flower) เป็นพรรณไม้ล้มลุกซึ่งเป็นต้นที่มีลักษณะคล้ายหญ้าซึ่งพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อนเล็ก ๆ ชวนให้ดูน่ารัก เป็นต้นที่ไม่คาดคิดว่าจะมีประโยชน์แต่ใบและดอกอ่อนสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ ทั้งต้นมีรสขมเย็นจึงมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำมาใช้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งด้วย หญ้าไข่เหาเป็นชื่อที่คนทางเหนือนิยมเรียกกันแต่ก็มีชื่อเรียกในจังหวัดอื่นด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหญ้าไข่เหา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mollugo pentaphylla L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Itch flower”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “หญ้าไข่เหา” จังหวัดตราดเรียกว่า “หญ้าตีนนก” จังหวัดชัยนาทเรียกว่า “หญ้านกเขา” จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “สร้อยนกเขา” หรือหญ้าฝรั่ง
ชื่อวงศ์ : วงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)

ลักษณะของหญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกรอบข้อเป็นกระจุกละ 2 – 4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวเรียวหรือรูปวงรีขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ โดยจะออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านชูช่อดอกยาว
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็น 3 เสี่ยง ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล

สรรพคุณของหญ้าไข่เหา

  • สรรพคุณจากทั้งต้นและลำต้น เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาระบายท้อง แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาแก้ดีพิการ
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ไข้จับสั่น
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้รำมะนาด โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำทั้งต้นมาขยี้ผสมกับเกลือใช้อุดฟัน

ประโยชน์ของหญ้าไข่เหา

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ใบและดอกอ่อนนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารอย่างพวกแกงป่าและแกงใส่ปลาร้าได้

หญ้าไข่เหา เป็นต้นที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนลักษณะตุ่มกลมเล็ก ทั้งต้นมีรสขมเย็นจึงมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือลดความร้อนในร่างกายได้ นิยมนำดอกอ่อนและใบมาปรุงเป็นอาหารอย่างพวกแกงป่าและแกงใส่ปลาร้า หญ้าไข่เหามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะทั้งต้นและลำต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ริดสีดวงทวารและบำรุงธาตุ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หญ้าไข่เหา (Ya Khai Hao)”. หน้า 314.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้าไข่เหา”. หน้า 801-802.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “หญ้าไข่เหา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [03 ก.ย. 2014].
สวนสวรส. “หญ้าไข่เหา” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.suansavarose.com. [03 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/