Home Blog Page 73

ลิเภา หรือ “หญ้ายายเภา” ยาสมุนไพรยอดนิยมของชาวเขา

0
ลิเภา หรือ “หญ้ายายเภา” ยาสมุนไพรยอดนิยมของชาวเขา
ลิเภา หรือหญ้ายายเภา เป็นเฟิร์นต้นเป็นเหง้าสั้นมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น เมื่อแก่จะมีสีดำและเป็นมัน นิยมทำกระเป๋าและเครื่องประดับได้
ลิเภา หรือ “หญ้ายายเภา” ยาสมุนไพรยอดนิยมของชาวเขา
ลิเภา หรือหญ้ายายเภา เป็นเฟิร์นต้นเป็นเหง้าสั้นมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น เมื่อแก่จะมีสีดำและเป็นมัน นิยมทำกระเป๋าและเครื่องประดับได้

ลิเภา

ลิเภา (Lygodium flexuosum) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “หญ้ายายเภา” เป็นต้นที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลากหลายชื่อจนดูน่าสับสนและยังมีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นเฟิร์นทอดเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นที่พบได้ตามป่าทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งต้นมีรสจืดเย็นและยังเป็นยาสมุนไพรที่ชาวเขาเผ่าอีก้อ ชาวแม้ว ชาวมูเซอ ชาวเย้า ตำรายาไทยและตำรายาพื้นบ้านล้านนาล้วนนำมาใช้ทั้งนั้น นอกจากนั้นลิเภายังนำต้นมาใช้ทำเชือกและนำส่วนของใบอ่อนมารับประทานเป็นผักสดได้ ทว่าลิเภาเองก็มีพิษต่อสัตว์อย่างหนูและกระต่ายเช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของลิเภา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lygodium flexuosum (L.) Sw.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Big Lygodium” “Climbing Fern” “Darai Paya” “Ribu – Ribu Besar” “Ribu – Ribu Gajah”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “กูดก้อง กูดเครือ กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักจีน ต๊กโต” ภาคใต้เรียกว่า “ตะเภาขึ้นหน หลีเภา” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “เฟิร์นตีนมังกร” จังหวัดพิจิตรเรียกว่า “ตีนตะขาบ” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “กระฉอด หมอยแม่ม่าย” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “หมอยแม่ม่าย” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กระฉอก ตะเภาขึ้นหน” จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “ลิเภาใหญ่” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “หมอยยายชี” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “เต่วีเหมาะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “กิ๊โก่หล่า” ชาวลัวะเรียกว่า “กูดงอ บ่ะกูดงอ บะฮวาล” ชาวขมุเรียกว่า “กะราวาหระ” ชาวไทลื้อเรียกว่า “กูดงอ” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ด่อวาเบรียง” คนเมืองเรียกว่า “กูดก๊อง ผักกูดก๊อง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “งอแง ลิเภาย่อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ LYGODIACEAE
ชื่อพ้อง : Eupatorium rebaudianum Bertoni, Stevia rebaudiana (Bertoni) Hemsl.

ลักษณะของลิเภา

ลิเภา เป็นเฟิร์นทอดเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นยาวได้หลายเมตรที่มักจะพบขึ้นตามป่าทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบและป่าผลัดใบผสมทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ลำต้น : ลำต้นเป็นเหง้าสั้นมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น ไม่มีเกล็ด ลำต้นเมื่อแก่จะมีสีดำและเป็นมัน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แกนกลางมีลักษณะเป็นเถาเลื้อย โคนก้านใบเป็นสีน้ำตาล ด้านบนเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีขนสีน้ำตาล มีปีกแผ่ยื่นออกมาไม่ชัดเจนหรือไม่มี ใบย่อยออกเรียงบนแกนกลางของใบโดยใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ แผ่นใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันปลา แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวใบมีขนใส หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนขึ้นประปรายตามเส้นใบ ส่วนใบย่อยที่สร้างสปอร์ที่อยู่กลางเถาขึ้นไปนั้นแอนนูลัสจะประกอบด้วยเซลล์เพียงแถวเดียวซึ่งเรียงตัวในแนวขวางและอยู่ตรงยอดของอับสปอร์ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เทียมจะมีลักษณะเป็นถุงเรียงซ้อนกันและมีขนใส กลุ่มสปอร์นั้นจะเกิดที่ขอบใบย่อย ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าลักษณะของใบย่อยนั้นจะมีอยู่หลายรูปร่าง เช่น ขอบขนานไปจนถึงรูปสามเหลี่ยมยาว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย

สรรพคุณของลิเภา

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาขับเสมหะ ตำรายาไทยใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษฝีภายในและฝีภายนอก
    – แก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบ โดยชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอและเย้านำทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่วในไต รักษาเลือดตกใน แก้อาการปวดหลัง ด้วยการนำทั้งต้นรวมรากและเหง้ามาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – เป็นยาถอนพิษ แก้ฟกช้ำบวม ทำให้เย็นและช่วยแก้อาการอักเสบจากงู ตะขาบ แมงป่องและแมลงมีพิษกัดต่อย ด้วยการนำทั้งเถาและใบใช้ตำพอกปิดแผลที่สัตว์มีพิษกัดต่อย
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้อาการร้อนใน รักษาโรคริดสีดวงทวารและโรคนิ่ว แก้ปัสสาวะแดงและปัสสาวะเหลือง ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – เป็นยารักษาโรคมะเร็ง ด้วยการนำรากมาผสมกับยาอื่น
  • สรรพคุณจากใบอ่อน
    – เป็นยาหยอดตาแก้ตาเจ็บหรือนัยน์ตาเป็นแผล ด้วยการนำใบอ่อนมาแช่กับน้ำแล้วห่อด้วยผ้าสะอาด จากนั้นบีบเอาน้ำออกมาใช้
  • สรรพคุณจากราก ใบและเถา
    – แก้เลือดพิการ แก้ระดูมากะปริบกะปรอย ด้วยการนำราก ใบและเถามาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยารักษาบาดแผลและแผลพุพอง ต้านแบคทีเรีย
    – ช่วยห้ามเลือดและทำให้แผลแห้งเร็ว รักษาโรคหิด รักษาผื่นแดงและฝีฝักบัว ป้องกันอาการปวดข้อและอาการแพลง ด้วยการนำใบมาขยี้ใช้พอก
  • สรรพคุณจากส่วนที่อยู่ใต้ดิน
    – แก้พิษจากสุนัขกัด แก้อาการจากพิษ แก้ปวด ด้วยการนำมาต้มเป็นยาห่ม
  • สรรพคุณจากต้นและใบ
    – เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ โดยตำรายาพื้นบ้านล้านนานำต้นและใบมาผสมกับหัวยาข้าวเย็นแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มต่างน้ำชา

ประโยชน์ของลิเภา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมาใช้ประกอบอาหารอย่างพวกแกง ผัด ต้ม นึ่ง ลวกหรือทานสดร่วมกับน้ำพริกและลาบ
2. ใช้ในอุตสาหกรรม ต้นสามารถนำมาใช้ทำเชือกได้เพราะเถามีความเหนียวคงทน ทำสานตะกร้า กำไล ทำกระเป๋าและเครื่องประดับได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของลิเภา

จากการทดลองในสัตว์ พบว่า สารสกัดจากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้หนูและกระต่ายแท้งได้

ลิเภา เป็นเฟิร์นที่มีเถาเลื้อยไปตามต้นไม้อื่นที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ และยังมีหลากหลายสายพันธุ์อีกด้วย มีต้นรสจืดเย็นทำให้มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ถือเป็นต้นยอดนิยมในการนำมาเป็นยาของชนชาวเขาทั้งหลาย ส่วนของเถานั้นมีความเหนียวคงทนทำให้นำมาแปรรูปเป็นเชือกและนำมาใช้ในอุตสาหกรรมจักสานได้ ลิเภามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะการนำมาใช้ทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้พิษฝี แก้เจ็บคอ รักษาโรคมะเร็ง ช่วยถอนพิษ แก้อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุและรักษาโรคทางเดินปัสสาวะได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หญ้ายายเภา”. หน้า 145.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ลิเภา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [03 ก.ย. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [03 ก.ย. 2014].
หัตถกรรมย่านลิเภา. “ย่านลิเภา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tungsong.com. [03 ก.ย. 2014].
ไทยเกษตรศาสตร์. “ลิเภา”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [03 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ผักเป็ดน้ำ พรรณไม้น้ำที่มีสรรพคุณแก้ตับอักเสบชนิดเอ แก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบีได้

0
ผักเป็ดน้ำ พรรณไม้น้ำที่มีสรรพคุณแก้ตับอักเสบชนิดเอ แก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบีได้
ผักเป็ดน้ำ เป็นพรรณไม้น้ำที่มีดอกสีขาวสวยงาม ดอกกลมคล้ายถ้วย ผลกลมวงรีเป็นหนาม
ผักเป็ดน้ำ พรรณไม้น้ำที่มีสรรพคุณแก้ตับอักเสบชนิดเอ แก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบีได้
ผักเป็ดน้ำ เป็นพรรณไม้น้ำที่มีดอกสีขาวสวยงาม ดอกกลมคล้ายถ้วย ผลกลมวงรีเป็นหนาม

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ (Alligator weed) เป็นพรรณไม้น้ำที่มีดอกสีขาวสวยงามคล้ายถ้วย สามารถนำยอดอ่อนมารับประทานกับน้ำพริกหรือนำมาชุบแป้งทอดได้ ทว่าส่วนที่สำคัญเลยก็คือเป็นยาสมุนไพรที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะสามารถยับยั้งเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกได้อย่างน่าทึ่ง แต่ว่าผักเป็ดน้ำก็มีส่วนที่เป็นพิษต่อร่างกายเช่นกันหากได้รับในปริมาณที่มากเกินควร

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเป็ดน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera philoxeroides (Mart.) Griseb.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Alligator weed”
ชื่อท้องถิ่น : คนทั่วไปเรียกว่า “ผักเป็ด” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “คงซิมเกี่ยง” จีนกลางเรียกว่า “คงซินเจี้ยน คงซินเหลี่ยนจื่อเฉ่า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ เป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุกอายุราว 1 ปี มักจะพบตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป
ลำต้น : มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก
ราก : รากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อ ภายในของลำต้นกลวง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ โดยจะออกตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปวงรียาวหรือรูปไข่กลมวงรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตามขอบใบทั้งสองด้าน เส้นกลางใบนูน แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามส่วนยอดของลำต้นหรือตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะกลมคล้ายถ้วย กลีบดอกเป็นสีขาวเรียงซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน และเกสรเพศเมีย 1 ก้าน
ผล : ผลมีลักษณะแบนกลมวงรี ขอบหนาและเป็นหนาม ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด

สรรพคุณของผักเป็ดน้ำ

  • สรรพคุณจากต้น
    – ช่วยรักษาวัณโรคชนิดที่ไอเป็นเลือด ด้วยการนำต้นสดผสมกับน้ำตาลกรวดแล้วตุ๋นกับน้ำรับประทาน โดยใช้ประมาณ 120 กรัมและ 15 กรัม
    – ช่วยแก้ไข้หวัดระบาดตัวร้อน ด้วยการนำต้นสด 40 – 75 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน
    – แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ด้วยการนำต้นสดประมาณ 75 – 100 กรัมมาต้มกับน้ำแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วนำมารับประทาน
    – รักษาโรคหนองใน ด้วยการนำต้นสดประมาณ 60 กรัมมาตุ๋นกับน้ำรับประทาน
    – รักษาแผลมีน้ำเหลืองหรือเป็นผดผื่นคัน ด้วยการนำต้นสดผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาตำให้เข้ากัน คั้นเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น
    – แก้ฝี ด้วยการนำต้นสดมาตำผสมกับน้ำผึ้งทาบริเวณที่เป็น
    – แก้พิษงูหรือถูกงูกัด ด้วยการนำต้นสดประมาณ 150 – 250 กรัมมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกบริเวณที่ถูกงูกัด
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยแก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบี เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้หัด ทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยแก้ตับอักเสบชนิดเอ ช่วยแก้อีสุกอีใส ช่วยรักษาโรคผิวหนังผดผื่นคัน แก้ฝีหนอง
    – รักษาโรคไข้สมองอักเสบและไข้เลือดออกในระยะแรก ด้วยการนำมาปรุงเป็นยาฉีด
    – แก้งูสวัด ด้วยการนำต้นสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น

ประโยชน์ของผักเป็ดน้ำ

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริกหรือนำมาชุบแป้งทอดกับไข่ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเป็ดน้ำ

สารที่พบในผักเป็ดน้ำ ทั้งต้นจะมีสาร 7α – L – rhamnosyl – 6 – methoxyluteolin และมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อพวกปลา สารซาโปนินนั้นถ้าทำการย่อยแล้วจะได้น้ำตาล 3 ชนิด ได้แก่ กลูโคส แรมโนส และไรโบส นอกจากนี้ยังพบว่ามีกรดโอลีอะโนลิค (Oleanolic acid) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
การสกัดสารจากผักเป็ดน้ำ ถ้านำสารที่สกัดได้จากผักเป็ดน้ำมาทำเป็นยาฉีดจะมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ Enecphalitis virus type B, Hepatitis virus type A, Rabies virus และเป็นยาฉีดที่มีพิษน้อยมาก
ความเป็นพิษของผักเป็ดน้ำ จากการทดสอบพบว่ามีพิษน้อยมากเพราะเมื่อนำมาทดสอบกับหนูในขนาดที่เกินกว่า 455.4 กรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าทางเส้นเลือดจะทำให้หนูทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตาย
การทดลอง เมื่อใช้ยาสดในขนาด 20 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมมาสกัดทำเป็นยาฉีด โดยแบ่งฉีดวันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1 – 4 เดือน พบว่าจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 613 คน พบว่าผู้ป่วย 596 คน หายดีเป็นปกติ และอีก 17 คน มีอาการดีขึ้น

ข้อควรระวังของผักเป็ดน้ำ

1. ผักเป็ดน้ำที่เจริญเติบโตในแหล่งน้ำที่เป็นพิษห้ามนำมาใช้เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
2. ห้ามใช้ในปริมาณที่เกินกว่า 455.5 ซีซีต่อหนึ่งกิโลกรัม เพราะจะทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย

ผักเป็ดน้ำ เป็นไม้น้ำที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้หลากหลายส่วน และยังมีดอกสีขาวที่สวยงามอีกด้วย เป็นต้นที่มีการนำมาสกัดและทำการทดลองมาเนิ่นนาน ผักเป็ดน้ำมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้ไอเป็นเลือด แก้ตับอักเสบชนิดเอ แก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบี รักษาโรคไข้สมองอักเสบและไข้เลือดออกในระยะแรกได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาที่สามารถยังยั้งอาการแปลก ๆ ที่หายาสมุนไพรแก้อาการได้ยากอย่างสมองอักเสบและตับอักเสบได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ผักเป็ดน้ำ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 504-506.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผักเป็ดน้ํา”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 354.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เล็บเหยี่ยว แก้โรคเบาหวาน แก้มดลูกพิการ บำรุงกำลังและแก้ปวดเมื่อย

0
เล็บเหยี่ยว แก้โรคเบาหวาน แก้มดลูกพิการ บำรุงกำลังและแก้ปวดเมื่อย
เล็บเหยี่ยว เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่รสเปรี้ยวสีม่วงดำ ดอกสีเขียวอมเหลือง
เล็บเหยี่ยว แก้โรคเบาหวาน แก้มดลูกพิการ บำรุงกำลังและแก้ปวดเมื่อย
เล็บเหยี่ยว เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่รสเปรี้ยวสีม่วงดำ ดอกสีเขียวอมเหลือง

เล็บเหยี่ยว

เล็บเหยี่ยว (Jackal Jujube) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งที่มีผลแก่รสเปรี้ยวและสามารถนำมารับประทานได้ มีดอกสีเขียวหรือสีเขียวอมเหลืองเล็ก ๆ มักจะพบตามป่าเขาและเป็นต้นที่นิยมในพื้นบ้านหรือชนชาวเขามากกว่า เล็บเหยี่ยวอยู่ในส่วนประกอบของตำรายาไทย ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาและในประเทศอินเดีย เป็นต้นที่คนทั่วไปไม่ค่อยนิยมหรือรู้จักกันมากเท่าไหร่แต่เป็นต้นชนิดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับสตรีทีเดียว เพราะเป็นต้นที่ดีต่ออวัยวะมดลูกเป็นอย่างมาก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเล็บเยี่ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ziziphus oenopolia (L.) Mill.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Jackal Jujube” “Small – fruited Jujube” “Wild Jujube”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “พุทราขอ เล็ดเหยี่ยว เล็บเหยี่ยว” ภาคเหนือเรียกว่า “มะตันขอ หมากหนาม หนามเล็บเหยี่ยว” ภาคอีสานเรียกว่า “บักเล็บแมว” ภาคใต้เรียกว่า “ยับยิ้ว” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ตาฉู่แม โลชูมี” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “เล็บแมว ยับเยี่ยว” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “แสงคำ” จังหวัดสุราษฎร์ธานีและระนองเรียกว่า “สั่งคัน” คลองหอยโข่งสงขลาเรียกว่า “เล็บหยิ่ว ยับหยิ่ว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)
ชื่อพ้อง : Rhamnus oenopolia L.

ลักษณะของเล็บเหยี่ยว

เล็บเหยี่ยว เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งที่มีเขตการกระจายพันธุ์จากอนุทวีปอินเดียไปทางใต้ของประเทศจีนและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย มักจะพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าคืนสภาพ
เถา : เถาและกิ่งมีหนามสั้นแหลมโค้ง เปลือกเถาเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย เป็นสีดำเทา ส่วนกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีแดง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบวงรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบอ่อนทั้งสองด้านมีขนนุ่มสั้น ผิวใบด้านบนเรียบหรือมีขนด้วยเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก มีเส้นใบ 3 ใบ ออกจากฐานใบไปปลายใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีขนเล็กน้อย ใบประดับช่อดอกมี 1 อัน มีขนกระจายอยู่ทั่วไป ดอกย่อยจะมีประมาณ 5 – 11 ดอก กลีบดอกย่อยมี 5 กลีบ เป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง รูปช้อนปลายกลมออกสลับกับกลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เป็นสีเขียวอมเหลือง ก้านชูเกสรแบนติดอยู่ที่ฐานกลีบดอก ส่วนอับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่เกิดจาก 2 คาร์เพล ในแต่ละคาร์เพลจะมี 1 ช่องและ 1 ออวุล ก้านและยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะคล้ายรูปขวด มีสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง ปลายกลีบก้านนอกมีขนด้วยเล็กน้อย มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ จะติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลม

สรรพคุณของเล็บเหยี่ยว

  • สรรพคุณจากรากและเปลือกต้น
    – แก้โรคเบาหวาน โดยตำรายาไทยนำรากและเปลือกต้นมาต้มดื่มเป็นยา
    – ขับปัสสาวะ ขับระดูขาวของสตรี ช่วยแก้ฝีมุตกิดและฝีในมดลูกของสตรี ช่วยแก้มดลูกพิการ ด้วยการนำรากและเปลือกต้นมาต้มดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – บำรุงกำลังและแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการนำลำต้นตากแห้งมาผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพานควาย แก่นฝาง ข้าวหลามดง จะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง ม้ากระทืบโรง ไม้มะดูกและหัวยาข้าวเย็น มาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – ช่วยทำให้มีกำลังหลังจากฟื้นไข้ โดยคนเมืองนำลำต้นมาผสมกับข้าวหลามดงและปูเลยแล้วนำมาปรุงเป็นยา
  • สรรพคุณจากผล ช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากราก ช่วยในการย่อยและรักษาภาวะกรดเกิน ช่วยแก้อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร ประเทศอินเดียนำรากเป็นยาขับพยาธิตัวกลม เป็นยาช่วยสมานแผลและฆ่าเชื้อ
    – แก้ไอ ด้วยการนำรากผสมกับรากหญ้าคาและรากหญ้าชันกาด จากนั้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – แก้ผิดสาบ ด้วยการนำรากผสมกับรากชะอม รากรางแดง รากสามสิบ แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดงและเขากวางมาฝนใส่ข้าวจ้าวกิน
    – แก้เล็บที่ห้อเลือด แก้ฝี ด้วยการนำรากฝนกับน้ำทา
    – แก้ตะคริว โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากผสมกับรากกำจาย รากดังดีด รากคนทา รากทองกวาว รากมะแว้งต้น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวมาตำให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาประคบ

ประโยชน์ของเล็บเหยี่ยว

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลแก่มีรสเปรี้ยวนำมาทานได้

เล็บเหยี่ยว มีผลที่สามารถนำมารับประทานได้และเป็นส่วนที่ดีต่อลำคอเป็นอย่างมาก เป็นต้นที่นิยมในการนำมาทำเป็นยาสมุนไพรของตำรายาไทย ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาและในประเทศอินเดีย เล็บเหยี่ยวมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและลำต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคเบาหวาน แก้มดลูกพิการ แก้ไอ เป็นยาระบาย บำรุงกำลังและแก้อาการปวดเมื่อยได้ ถือเป็นต้นที่ดีมากต่อมดลูกของผู้หญิง ดังนั้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับสาว ๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เล็บเหยี่ยว”. หน้า 229 .
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เล็บเหยี่ยว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [31 พ.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ข้อมูลเล็บเหยี่ยว”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [31 พ.ค. 2014].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Ziziphus oenoplia”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Ziziphus_oenoplia. [31 พ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

พิลังกาสา ไม้ต้นตามที่สาธารณะ ป้องกันหลอดเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตันได้

0
พิลังกาสา ไม้ต้นตามที่สาธารณะ ป้องกันหลอดเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตันได้
พิลังกาสา เป็นไม้ยืนต้นยอดอ่อนเป็นสีแดง ผลกลมโตสีแดง เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
พิลังกาสา ไม้ต้นตามที่สาธารณะ ป้องกันหลอดเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตันได้
พิลังกาสา เป็นไม้ยืนต้นยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอกเป็นสีเหลืองนวล ผลกลมโตสีแดง เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ

พิลังกาสา

พิลังกาสา (Ardisia polycephala) เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นต้นที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยพอควรเพราะเป็นต้นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ราชการหรือตามสวนสาธารณะทั่วไป มีดอกเป็นสีเหลืองนวลและออกดอกเป็นกลุ่มทำให้ดูสวยงาม ทว่าคนส่วนมากยังไม่รู้ว่าต้นพิลังกาสานั้นยังมีส่วนต่าง ๆ ของต้นที่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ และยังนำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อนซึ่งมีรสชาติฝาดมันและเปรี้ยวอมหวานมาใช้รับประทานเป็นผักเหนาะได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพิลังกาสา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall. ex A.DC.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเรียกว่า “ผักจำ ผักจ้ำแดง” จังหวัดเลยเรียกว่า “ตีนจำ” จังหวัดตราดเรียกว่า “ลังพิสา” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “ทุรังกาสา” จังหวัดสงขลาเรียกว่า “ราม” ชาวมลายูนราธิวาสเรียกว่า “ปือนา” คนทั่วไปเรียกว่า “พิลังกาสา” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “จิงจ้ำ จ้ำก้อง มะจ้ำใหญ่ ตาปลาราม ตาเป็ด ทุกังสา มาตาอาแย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ PRIMULACEAE
ชื่อพ้อง : Tinus polycephala (Wall. ex A. DC.) Kuntze

ลักษณะของพิลังกาสา

พิลังกาสา เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของประเทศญี่ปุ่นและกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ มักจะพบตามป่าราบ ป่าโปร่งและป่าดิบเขาทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้นแต่ไม่มากนัก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นคู่ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก แผ่นใบเป็นสีเขียวมันมีลักษณะหนาและใหญ่ ยอดอ่อนเป็นสีแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามส่วนของยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวลหรืออาจเป็นสีชมพูอมขาวหรือสีขาวแกมชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมี 5 แฉก คล้ายรูปดาว
ผล : ผลมีลักษณะกลมโต ออกผลเป็นกระจุกมีก้านช่อยาวห้อยย้อยลงและก้านผลยาวเรียงสลับรอบก้านช่อ ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อแก่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ

สรรพคุณของพิลังกาสา

  • สรรพคุณจากพิลังกาสา มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด รักษามาลาเรีย แก้อาการท้องเสีย แก้เกลื้อน ช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตัน ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองอุดตัน ป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษ
  • สรรพคุณจากผล ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ไข้และแก้ไข้ในกองอติสารโรค แก้โรคเรื้อน
    – บำรุงโลหิต ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกกลอนกินหรือใช้ผงยา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำครึ่งแก้วดื่ม
    – ช่วยแก้โรคระดูของสตรี ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้อาการไอ แก้ลม ช่วยแก้ปอดพิการ รักษาโรคตับพิการ
  • สรรพคุณจากใบและผล ช่วยแก้ท้องเสีย
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาแก้พยาธิ เป็นยาฆ่าเชื้อโรค
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้กามโรค แก้หนองใน
    – เป็นยาพอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด แก้พิษงูหรือใช้กากพอกแผล ด้วยการเอาน้ำกิน
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยแก้ลมพิษ
  • สรรพคุณจากต้น เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนและกุฏฐัง

ประโยชน์ของพิลังกาสา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อนนำมาทานเป็นผักเหนาะได้ ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ตามสถานที่ราชการหรือตามสวนสาธารณะทั่วไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิลังกาสา

สารที่พบในพิลังกาสา พบสาร α – amyrin, rapanone
ฤทธิ์ของพิลังกาสา ช่วยยับยั้ง platelet activating factor receptor binding มีฤทธิ์เหมือนฮีสตามีน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อ Aspergillus
การทดลอง
– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้นำผลสุกของพิลังกาสามาทำเป็น “ไวน์พิลังกาสา” และได้นำไวน์นั้นไปตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สารฟีโนลิค (Phenolic) และฟลาโวนอยด์ (Phenolic flavannoid) สูง
– ผลของพิลังกาสาสุกจะเป็นสีม่วงเข้มจนเกือบดำโดยสีม่วงนี้จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (E. coli) ในระบบทางเดินอาหาร

พิลังกาสา เป็นต้นที่มีสารแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยป้องกันโรคเหมาะสำหรับทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ และที่สำคัญยังเป็นไม้ประดับทั่วไปที่พบได้ตามที่สาธารณะ เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ทานเป็นผักเหนาะได้ พิลังกาสามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผลและราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ป้องกันเส้นเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตัน ป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษ บำรุงเลือดและรักษาโรคผิวหนัง เป็นต้นที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุหรือบุคคลที่เป็นโรคหลอดเลือดตีบซึ่งเป็นโรคที่คนไทยในปัจจุบันมักจะเป็นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “พิลังกาสา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 560-561.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พิลังกาสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [02 พ.ค. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “พิลังกาสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [02 พ.ค. 2014].
ไทยโพสต์ ออนไลน์ 20 พฤษภาคม 2555.
หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย).
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พิลังกาสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [02 พ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ผักเบี้ยหิน บำรุงเลือด ขับลม รักษาโรคไตและโรคริดสีดวงทวาร

0
ผักเบี้ยหิน บำรุงเลือด ขับลม รักษาโรคไตและโรคริดสีดวงทวาร
ผักเบี้ยหิน เป็นไม้ล้มลุก เป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูแกมขาว ผลอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีแดง
ผักเบี้ยหิน บำรุงเลือด ขับลม รักษาโรคไตและโรคริดสีดวงทวาร
ผักเบี้ยหิน เป็นไม้ล้มลุก เป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูแกมขาว ผลอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีแดง

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum) เป็นไม้ล้มลุกฤดูกาลเดียวที่พบในข้าวไร่และนาดอนพื้นที่นาน้ำฝน มีดอกเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูแกมขาว สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้แต่ว่าสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เป็นอันขาดเพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ ผักเบี้ยหินยังเป็นยาสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาไทยและชาวอินเดียใช้ในการรักษา ถือเป็นต้นที่ภายนอกดูเหมือนไม่มีประโยชน์นักแต่กลับเป็นยาได้หลายส่วนจากต้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเบี้ยหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema portulacastrum L.
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักโขมหิน ผักขมหิน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักเบี้ยทะเล (AIZOACEAE)

ลักษณะของผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูกาลเดียวที่มักจะพบในข้าวไร่และนาดอนพื้นที่นาน้ำฝน
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแผ่ราบปกคลุมดินหรือมีลักษณะตั้งตรงบ้าง ลำต้นมีลักษณะกลมสดอวบน้ำหรือค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีสีเขียวอมม่วงหรือสีม่วงอมแดงอ่อน ตามกิ่งอ่อนและตามข้อจะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปกลมหรือรูปหัวใจ ปลายใบมนเว้า โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ริมขอบใบเป็นสีม่วง แต่ละใบมีขนาดไม่เท่ากัน แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ก้านใบมีลักษณะเป็นร่องเล็ก ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
ดอก : ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ด้านซ้ายหรือด้านขวาสลับกันในแต่ละข้อ ดอกจะฝังตัวในหลอดกลีบที่เชื่อมติดกับโคนก้านใบในซอกใบ ไม่มีก้านดอก ข้างหลอดกลีบจะมีใบประดับสีม่วงแกมเขียว 2 อัน ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม หลอดกลีบเป็นสีม่วงแกมเขียวติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูแกมขาว แยกจากกันมี 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายแหลม ตอนปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสีม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากติดอยู่บนกลีบดอก ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว อับเรณูเป็นสีชมพู เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่ superior ovary ยอดเกสรเป็นเส้น รังไข่เป็นรูปทรงกระบอกมี 1 ห้อง ออวุลมี 2 – 8 อัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปถ้วย ส่วนโคนของฝักจะอยู่ตามซอกใบ เปลือกเหนียว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีแดง ถ้าแห้งแล้วจะแตก
เมล็ด : ภายในมีเมล็ดสีดำประมาณ 3 – 4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต ผิวเมล็ดมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย

สรรพคุณของผักเบี้ยหิน

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาบำรุงโลหิต เป็นยาขับลม ช่วยแก้โรคท้องมานและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคไต เป็นยาแก้ฟกบวม
  • สรรพคุณจากราก ช่วยเจริญธาตุไฟ ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์ เป็นยาขับเสมหะ เป็นยาถ่าย เป็นยาช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้อาการเจ็บ แก้เหงือกบวม ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาทาภายนอกแก้แผลอักเสบ

ประโยชน์ของผักเบี้ยหิน

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ปรุงเป็นอาหารหรือรับประทานสด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเบี้ยหิน

ผลการทดลองของผักเบี้ยหินในหนูทดลอง จากการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักเบี้ยหินกับหนูทดลอง โดยแบ่งหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่รักษาด้วยยามาตรฐานซึ่งใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide) ในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนอีก 2 กลุ่มให้สารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหินขนาด 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหินสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทได้อย่างมีนัยสำคัญหลังกินเข้าไป 1 ชั่วโมง และจะออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลได้ดีที่สุดหลังกินเข้าไป 4 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้เทียบเท่ากับการรักษาโดยใช้ยามาตรฐานที่ใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide)

ผักเบี้ยหิน เป็นไม้ล้มลุกฤดูกาลเดียวที่ทอดเลื้อยแผ่ราบปกคลุมดิน สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหรือทานสดได้ คนไทยมักจะไม่ค่อยรู้ว่าผักคลุมดินชนิดนี้สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรได้ ผักเบี้ยหินมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงเลือด ขับลม รักษาโรคไต รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติและขับระดูขาวของสตรี เป็นต้นที่ดีต่อมดลูกของผู้หญิงแต่ในทางกลับกันก็เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักโขมหิน”. หน้า 474-475.
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum ) ช่วยลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [20 พ.ย. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. (นายสวีสอง). “ผักเบี้ยหิน แก้เจ็บคอ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net. [20 พ.ย. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ผักเบี้ยหิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bedo.or.th. [20 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ขี้หนอน ดอกมีพิษถึงขั้นชีวิต! แต่มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว แก้ไข้และดับพิษร้อนได้

0
ขี้หนอน ดอกมีพิษถึงขั้นชีวิต! แต่มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว แก้ไข้และดับพิษร้อนได้
ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้น ดอกอันตรายทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
ขี้หนอน ดอกมีพิษถึงขั้นชีวิต! แต่มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว แก้ไข้และดับพิษร้อนได้
ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้น ดอกอันตรายทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน

ขี้หนอน

ขี้หนอน (Zollingeria dongnaiensis Pierre) เป็นต้นที่มีดอกอันตรายซึ่งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่จะนำส่วนของยอดอ่อนมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก เป็นพืชในวงศ์เงาะที่นอกจากดอกแล้วยังพบความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นอีกด้วย แต่บางส่วนของต้นก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโดยเฉพาะในด้านการทำเครื่องประดับและทำฟืน ส่วนมากมักจะพบขี้หนอนตามชายป่าทั่วไปในประเทศไทย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของขี้หนอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zollingeria dongnaiensis Pierre
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมาเรียกว่า “ขี้มอด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

ลักษณะของขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มักจะพบตามป่าผลัดใบ ตามชายป่า ที่รกร้างและด้านหลังชายหาด
เปลือกต้น : เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีเทาดำเรียบและแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีขาว
ลำต้น : ลำต้นหรือกิ่งไม้จะมีหนามยาว ๆ อยู่ประปราย เรือนยอดเป็นรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลมและโปร่ง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงเวียนสลับกันประมาณ 5 – 8 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวและมัน ท้องใบมีขนสั้นนุ่ม แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 7 – 9 เส้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบค่อนไปทางปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และเป็นแบบแยกเพศ กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว 5 กลีบ มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ดอกมีพิษถ้ากินเข้าไปจะทำให้ตายได้
ผล : เป็นผลแห้งที่มีปีกยาว 3 ปีก เรียงตามยาว ผลจะแก่และออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่

สรรพคุณของขี้หนอน

  • สรรพคุณจากขี้หนอน แก้หวัดและคัดจมูก
  • สรรพคุณจากด่างไม้ แก้โรคกระษัยหรือโรคของความเสื่อมโทรมทางร่างกายที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ เป็นยาขับมุตกิดหรือเมือกจากช่องคลอดของสตรี
  • สรรพคุณจากเปลือก
    แก้ร้อนใน ด้วยการนำเปลือกมาผสมเป็นยาเขียว
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – แก้ไข้และดับพิษร้อน แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำเปลือกมาสับเป็นชิ้นเล็กแล้วนำมาแช่กับน้ำตีให้เป็นฟองสีขาว จากนั้นนำฟองนั้นมาสุมหรือพอกศีรษะเด็ก
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ร้อน

ประโยชน์ของขี้หนอน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ผลใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ฟองที่ได้จากเปลือกสามารถนำมาล้างเครื่องเพชรได้
3. ใช้ในด้านความสะอาด นำมาใช้ซักผ้าได้
4. เป็นไม้ปลูกประดับ มีดอกขาวบานสะพรั่ง ปลูกได้ง่ายและโตเร็ว
5. ทำฟืนหรือถ่านไม้ เป็นฟืนที่ให้ความร้อน 4,543 แคลอรี/กรัม ถ่านไม้ให้ความร้อนถึง 6,989 แคลอรี/กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้หนอน

– จากการนำใบมาสกัดด้วยเอทานอลและน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่า ขี้หนอนมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตและไม่พบความเป็นพิษ เมื่อนำมาฉีดเข้าผิวหนังในร่างกาย
– พบว่า ขี้หนอนเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่น ถ้ากิน Saponin จะทำให้อาเจียนและท้องร่วง แต่ถ้านำมาฉีดเข้าเส้นเลือดจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้

ขี้หนอน ถือเป็นต้นที่ควรระวังในการรับประทานเนื่องจากดอกมีพิษจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่เป็นต้นที่มีประโยชน์ในหลายด้านอย่างการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เป็นไม้ปลูกประดับและยังเป็นฟืนหรือถ่านไม้ที่ให้ความร้อนได้ดีอีกด้วย ในส่วนของการนำมาเป็นผักจะนำส่วนของยอดอ่อนมาทานร่วมกับน้ำพริก ขี้หนอนเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะด่างไม้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้และดับพิษร้อน แก้หวัดและคัดจมูก แก้นิ่วและขับเมือกจากช่องคลอดในผู้หญิงได้

ขี้หนอน ดอกมีพิษถึงขั้นชีวิต! แต่มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว แก้ไข้และดับพิษร้อนได้
ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้น ดอกอันตรายทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
ขี้หนอน,ขี้มอด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขี้หนอน”. หน้า 138.
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้เพื่อประเมินสถานภาพและศักยภาพ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี). “ขี้หนอน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : inven.dnp9.com/inven/. [31 ม.ค. 2015].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขี้หนอน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [31 ม.ค. 2015].
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ขี้หนอน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [31 ม.ค. 2015].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ขี้หนอน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [31 ม.ค. 2015].

โรคเมลิออยด์ หรือ “โรคไข้ดิน” เชื้อโรคที่มาจากน้ำและดินโคลน อันตรายถึงชีวิต

0
โรคเมลิออยด์ หรือ “โรคไข้ดิน” เชื้อโรคที่มาจากน้ำและดินโคลน อันตรายถึงชีวิต
โรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พบในดิน โคลน และแหล่งน้ำ เข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผลเปิด
โรคเมลิออยด์ หรือ “โรคไข้ดิน” เชื้อโรคที่มาจากน้ำและดินโคลน อันตรายถึงชีวิต
โรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พบในดิน โคลน และแหล่งน้ำ เข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผลเปิด

โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์ หรือ เมลิออยโดสิส (Melioidosis) คือ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เชื้อแบคทีเรียมีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei หรือที่รู้จักว่า “โรคไข้ดิน” ซึ่งพบในดิน โคลน และแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเมลิออยด์ในประเทศออสเตรเลียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

การติดเชื้อของโรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผลเปิด การหายใจเข้าฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์เข้าสู่ปอด และการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์เข้าปากสามารถติดเชื้อได้ทั้งคนและสัตว์

ระยะฟักตัวของเชื้อโรคเมลิออยด์

ปัจจุบันพบว่าการระยะฟักตัวของเชื้อโรคเมลิออยด์ที่ถูกพบในประเทศไทยมีระยะฟักตัวแตกต่างกันไป โดยปกติระยะฟักตัวเริ่มตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่สามารถอยู่ได้นานถึงสองสามปี ดังนั้นอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณที่พบเชื้อโรคเมลิออยด์นั้นด้วย

อาการทั่วไป

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • แผลเปื่อย
  • อาการไอ
  • ไอเป็นเลือด
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • มีอาการชัก
  • ลดน้ำหนัก
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือตามข้อ

อาการติดเชื้อที่รุนแรงส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน

การรักษา

แพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอาการของโรคเมลิออยด์

การป้องกัน และข้อควรระวังเมื่อต้องสัมผัสกับน้ำหรือดิน

  • สวมรองเท้าบูทกันน้ำ เมื่อเดินในดินเปียก น้ำขัง หรือโคลน
  • สวมถุงมือยางขณะทำสวน หรือทำงานกับดิน
  • หากมีแผลเปิดให้ติดพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำได้
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหลังจากสัมผัสกับดินในสวน
  • สวมหน้ากากที่ปิดจมูกและปากขณะตัดหญ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช หรือใช้น้ำแรงดันสูงฉีดดิน
  • ควรอาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายทันที ทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับน้ำหรือดิน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำนิ่ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ผ่านการต้ม
  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือดินโคลน อาจปนเปื้อนเชื้อโรคเมลิออยโดสิสเข้าสู่บาดแผลได้

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ ได้แก่

  • นักท่องเที่ยวเดินป่า
  • ทหาร หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้
  • คนงานก่อสร้าง
  • คนงานเหมือง
  • คนงานด้านการเกษตร
  • คนเลี้ยงสัตว์ไล่ทุ่ง
  • เกษตรกรทำฟาร์มพืชและสัตว์
  • บุคคลอื่นๆ ที่สัมผัสกับดิน น้ำ และโคลน ที่ปนเปื้อนสัมผัสกับแบคทีเรียโดยตรง

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมลิออยด์สูงที่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยมะเร็ง
  • ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
  • ผู้ป่วยระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง (HIV)

อย่างไรก็ตามสถานณ์การน้ำท่วมในประเทศไทยยังส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายอำเภอเป็นวงกว้าง ระดับน้ำยังท่วมขังสูง ทุกครั้งหลังจากลุยน้ำมากให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายฟอกสบู่อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดินที่มากับน้ำท่วม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เถาคัน หรือเถาคันแดง ช่วยฟอกเลือด ขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะและแก้นิ่ว

0
เถาคัน เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีแดง ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
เถาคัน หรือเถาคันแดง ช่วยฟอกเลือด ขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะและแก้นิ่ว
เถาคัน เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีแดง ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

เถาคัน

เถาคัน (Virginia creeper) เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่มักจะขึ้นตามป่า ส่วนมากมักจะรู้จักกันจากการนำลูกเถาคันมาใส่ในแกงส้มจนกลายเป็นเมนู “แกงส้มลูกเถาคัน” สามารถพบได้ 2 ชนิด แต่ละชนิดของเถาคันจะแยกตามสี ได้แก่ เถาคันแดงและเถาคันขาว ในที่นี้เถาคันแดงจะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากกว่า นอกจากนั้นยอดอ่อนของต้นจะมีรสจืดและสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเถาคัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parthenocissus quinquefolia (L.) Planch.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Virginia creeper” “True Virginia creeper” “Victoria creeper” “Five – leaved ivy” “Five – finger”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เครือหุนแป เถาคันแดง เถาคันขาว” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “หุนแปแดง หุนแปขาว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์องุ่น (VITACEAE)
ชื่อพ้อง : Ampelopsis hederacea DC.

ลักษณะของเถาคันแดง

เถาคันแดง เป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็ง
เถา : เถามีสีเขียวขนาดเล็ก มีมือเกาะแตกจากข้อไม่มีขน
ใบ : เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 หรือ 5 ใบ แตกจากก้านใบจุดเดียวกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบค่อนข้างแหลม โคนใบป้าน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยหรือเป็นคลื่น แผ่นใบเรียบ เส้นกลางใบนูนจนเห็นได้ชัด แผ่นใบเป็นสรเขียวเข้มและมันเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกแตกออกจากก้านช่อดอกหลักจุดเดียวกัน ออกเป็นช่อใหญ่สีแดง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ผลมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลดิบเป็นสีเขียว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าบีบจะมีน้ำออกเป็นสีม่วงแดง ออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของเถาคัน

  • สรรพคุณจากเถา
    – เป็นยารักษาโรคกษัย เป็นยาฟอกเลือด เป็นยาขับเสมหะและขับลม รักษาอาการฟกช้ำภายในและช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อนหรือผ่อนคลาย ด้วยการนำเถามาต้มแล้วรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ
    – ช่วยปิดฝีบ่มหนองเพื่อให้ฝีแตกและดูดหนองออก ด้วยการนำใบไปอังกับไฟให้พอเหี่ยวแล้วทำการแปะลงบนแผล
  • สรรพคุณจากราก แก้อาการอักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
    – เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เป็นยาฟอกโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลาและรักษาอาการฟกช้ำภายใน ด้วยการนำรากมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของเถาคัน

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลดิบใช้กินเป็นอาหารด้วยการนำมาใส่ในแกงส้มหรือใส่ในน้ำพริก ยอดอ่อนนำมาลวกหรือต้มแล้วจิ้มกับน้ำพริกหรือรับประทานเป็นผักสดได้

คุณค่าทางโภชนาการของเถาคันต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเถาคันต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม
โปรตีน 0.4 กรัม 
วิตามินเอ 39 ไมโครกรัม 
วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
วิตามินอี 2.64 มิลลิกรัม
เบตาแคโรทีน 236 ไมโครกรัม
ไนอะซิน 1.62 มิลลิกรัม
น้ำ 93.4 กรัม
เถ้า 0.3 กรัม

พิษของเถาคัน

มีข้อมูลระบุว่า ผลเถาคันแดงมีกรดออกซาลิกซึ่งเป็นสารพิษ หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคันซึ่งเป็นส่วนของน้ำที่บีบออกมาเป็นสีม่วงแดง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังกระเพาะลำไส้และจะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบจนทำให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลต ส่งผลกระทบต่อแคลเซียมในร่างกาย การทำงานของหัวใจ ประสาทส่วนกลางและเกิดอาการไตพิการได้

เถาคัน มีขนาดของผลเท่ามะแว้งหรือเท่าปลายนิ้วก้อยและมักจะนำมาใส่ในแกงส้มหรือในน้ำพริก เป็นผลที่มีพิษต่อร่างกายด้วยเช่นกันหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินควร แต่ถ้ารับประทานอย่างถูกต้องแล้วเถาคันก็จะมีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการฟกช้ำภายใน ช่วยฟอกเลือด เป็นยาขับพยาธิและขับปัสสาวะ ขับเสมหะและแก้นิ่วได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณแก้อาการพื้นฐานและดีต่อระบบเลือดในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เถาคัน”. หน้า 341-342.
พืชกินได้ในป่าสะแกราช, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “เถาคันแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tistr.or.th. [13 ก.ค. 2015].
พืชพิษ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รายงานการเกิดพิษในคน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/poison.htm. [13 ก.ค. 2015].
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “เถาคันขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.agri.kps.ku.ac.th. [13 ก.ค. 2015].

หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย

0
หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย
หนามโค้ง หรือผักงวม เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นสีเหลือง ฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดมีลักษณะแบน
หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย
หนามโค้ง หรือผักงวม เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นสีเหลือง ฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดมีลักษณะแบน

หนามโค้ง

หนามโค้ง (Caesalpinia furfuracea) หรือเรียกกันว่า “ผักงวม” มีฝักที่สามารถนำมาประกอบอาหารและรับประทานได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย ฝักมีรสเปรี้ยวอมฝาดแต่เมื่อนำมาปรุงจะมีรสชาติที่อร่อย นอกจากฝักแล้วยังมีดอกสีเหลืองอร่ามบนต้นชวนให้น่ามองและดูสวยงาม หนามโค้งเป็นผักพื้นเมืองของทางภาคเหนือที่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหนามโค้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia furfuracea (Prain) Hattink
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “พาย่วม หนามโค้ง” จังหวัดลำปางเรียกว่า “นวม” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “งวม ผักงวม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Mezoneuron furfuraceum Prain, Mezoneuron glabrum sensu Baker, Mezoneurum furfuraceum Prain

ลักษณะของหนามโค้ง

หนามโค้ง เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย
ลำต้น : มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เนื้อไม้แข็ง
เปลือกเถา : เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยมีขนาดเล็ก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4 – 6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

สรรพคุณของหนามโค้ง

สรรพคุณจากฝัก เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาช่วยกัดเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาสมานท้อง

ประโยชน์ของหนามโค้ง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ฝักอ่อนใช้ทำเป็นยำผักงวมได้

หนามโค้ง เป็นผักพื้นเมืองของชาวเหนือที่มักจะหายากแต่สามารถซื้อต้นมาปลูกได้ ส่วนมากมักจะนำฝักมาประกอบอาหารและภายในฝักนั้นก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย นอกจากชื่อหนามโค้งแล้วคนทั่วไปยังเรียกกันว่า “ผักงวม” มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ซึ่งจะช่วยแก้อาการพื้นฐานได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “หนามโค้ง”. หน้า 187.
อาหารจากผักพื้นบ้าน, กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ยำผักงวม”. อ้างอิงใน : หนังสือคู่มือการปรุงอาหารจากผักพื้นบ้านไทย (ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [14 ก.ค. 2015].
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา. “งวม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : plant.opat.ac.th. [14 ก.ค. 2015].

ขี้เหล็กเลือด ดีต่อระบบเลือด แก่นของต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ

0
ขี้เหล็กเลือด ดีต่อระบบเลือด แก่นของต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ
ขี้เหล็กเลือด เป็นไม้ยืนต้น กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด ใบอ่อนและดอกตูมนำมารับประทานได้
ขี้เหล็กเลือด ดีต่อระบบเลือด แก่นของต้นอุดมไปด้วยสรรพคุณ
ขี้เหล็กเลือด เป็นไม้ยืนต้น กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด รสขม ใบอ่อนและดอกตูมนำมารับประทานได้

ขี้เหล็กเลือด

ขี้เหล็กเลือด (Senna timoriensis) เป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อแปลกประหลาดและน่าค้นหา อีกทั้งยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหรือจังหวัดที่แปลกอีกมากมาย เป็นต้นที่มีรสขมแต่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร นอกจากนั้นชาวขมุยังนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้างและทำฟืนได้ เป็นต้นที่มีดอกสีเหลืองสดและมีผลเป็นฝักยาว สามารถแยกได้ง่ายเมื่อพบเห็น ขี้เหล็กเลือดเป็นไม้ยืนต้นที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของขี้เหล็กเลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna timoriensis (DC.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กแดง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ขี้เหล็กดง” ภาคตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่า “ขี้เหล็กป่า” ภาคใต้เรียกว่า “กะแลงแงน ขี้เหล็กนางชี ขี้เหล็กเลือด ช้าขี้เหล็ก” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กตาซี ขี้เหล็กแดง ขี้เหล็กยายชี ขี้เหล็กปันช่าง บี้ตะขะ ช้าขี้เหล็ก ขี้เหล็กแมลงสาบ” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “มะเกลือเลือด” จังหวัดนราธิวาสเรียกว่า “กะแลงแง็น” ชาวละว้าเชียงใหม่เรียกว่า “ปี้ตะขะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “แมะขี้เหละที แมะแคะแหล่ะ” ชาวเงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “จี้ลีหลอย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia timoriensis DC.

ลักษณะของขี้เหล็กเลือด

ขี้เหล็กเลือด เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลีย มักจะพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าราบ ป่าผลัดใบ ชายป่าที่แห้งแล้ง สองข้างถนนหรือตามเขาหินปูน
เปลือกลำต้น : เป็นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหรือสีเหลืองไปจนถึงสีเหลืองทองขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกซึ่งออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ 10 – 20 คู่ มีขนสั้นนุ่ม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมสั้นหรือเป็นติ่ง โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยและสั้น ท้องใบเป็นสีแดง มีหูใบเป็นรูปติ่งหู
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงแบบหลวมโดยจะออกตามซอกใบ ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม หลุดร่วงได้ง่าย ก้านดอกย่อยมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่และปลายกลม มีขนสั้นนุ่มด้านนอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองสดมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ โคนกลีบดอกแหลม มีก้านกลีบสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่และก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรมีขนาดเล็ก มักจะออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักเป็นรูปแถบ แบนและเกลี้ยง เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระเปาะจะแตกได้
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลประมาณ 10 – 30 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปวงรีแบนและเป็นมันวาว โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของขี้เหล็กเลือด

  • สรรพคุณจากแก่น แก้กระษัยหรือโรคของความเสื่อมโทรมทางร่างกายที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาอาการปวดเอว แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นปัตคาดที่อยู่บริเวณท้องน้อยไปจนถึงขาด้านหน้าและด้านหลังซึ่งทำให้แก้หน้าขาตึงได้
    – บำรุงโลหิต รักษาโรคสตรีที่มีโลหิตระดูเสีย เป็นยาขับล้างโลหิต ด้วยการนำแก่นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้โรคหิด

ประโยชน์ของขี้เหล็กเลือด

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและดอกตูมนำมารับประทานได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ชาวขมุนำเนื้อไม้หรือกิ่งมาใช้ในการก่อสร้างและนำลำต้นมาทำฟืน
3. ปลูกเป็นไม้เบิกนำ ขี้เหล็กเลือดเจริญเติบโตได้ในดินทั่วไปและทนความแล้งได้ดี

ขี้เหล็กเลือด เป็นต้นที่มีดอกสีเหลืองและมีรสขมโดยเฉพาะแก่นและเปลือกต้น เป็นไม้ยืนต้นที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถนำใบอ่อนและดอกมารับประทานเป็นผักได้ ขี้เหล็กเลือดมีสรรพคุณทางยาจากส่วนของเปลือกต้นและแก่น ซึ่งสรรพคุณจะอยู่ที่ส่วนของแก่นมากกว่าส่วนอื่น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคหิด บำรุงเลือด แก้ไตพิการและแก้ปวดเมื่อย ถือเป็นต้นที่เหมาะสำหรับบุคคลที่มีปัญหาต่อระบบเลือดเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ขี้เหล็กเลือด (Kii Lek Lueat)”. หน้า 66.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขี้เหล็กเลือด”. หน้า 145-146.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ขี้เหล็กเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [30 ม.ค. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ขี้เหล็กเลือด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [30 ม.ค. 2015].
ฐานข้อมูลชนิดพรรณพืช พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี. “ขี้เหล็กเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.en.mahidol.ac.th/conservation/. [30 ม.ค. 2015].