Home Blog Page 76

แคหางค่าง ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะ แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ

0
แคหางค่าง ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะ แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ
แคหางค่าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน ฝักเส้นยาวโค้งงอและบิดเป็นเกลียวมีขนสีน้ำตาลแดง
แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว

แคหางค่าง

แคหางค่าง (Fernandoa adenophylla) เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไป มักจะนิยมนำมารับประทานด้วยการจิ้มกับน้ำพริก เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยคุ้นเคย มักจะปีนขึ้นไปเด็ดดอกแคหางค่างแล้วนำมาปรุงรส เป็นดอกที่สามารถรับประทานได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อยและนำเนื้อไม้จากต้นมาใช้ประโยชน์ในการทำสิ่งก่อสร้างได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแคหางค่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fernandoa adenophylla (Wall. ex G.Don) Steenis
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “แคหางค่าง” ภาคเหนือเรียกว่า “แคขน” จังหวัดเลยเรียกว่า “แคบิด แคร้าว แคลาว” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “แฮงป่า” จังหวัดสุราษฎ์ธานีเรียกว่า “แคพอง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “แคหัวหมู” ม้งเรียกว่า “ปั้งอะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

ลักษณะของแคหางค่าง

แคหางค่าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจะพบได้มากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าหญ้าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
เปลือกต้น : เป็นสีเทาค่อนข้างเรียบ เปลือกด้านในเป็นสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลและมีช่องระบายอากาศอยู่ทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นคดงอ มีเรือนยอดไม่เป็นระเบียบ เอนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบ : ออกใบเป็นช่อ ช่อจะออกตรงข้ามกันหรือออกเยื้องกัน ในแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยใบย่อยที่มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันออกไป ปลายใบมนและเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ส่วนโคนใบมนหรือยักเว้าเล็กน้อยและมักจะเบี้ยว แผ่นใบหนา หลังใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนเล็กน้อย ท้องใบมีขนสาก เส้นแขนงของใบค่อนข้างเหยียดตรง
ดอก : ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่บริเวณปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะตั้งชี้ขึ้น โคนกลีบรองกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก และมีขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่น ส่วนกลีบฐานดอกจะติดเป็นจุกผล กลีบของดอกเป็นรูปแตรงอน มีขนสีน้ำตาลขึ้นอยู่หนาแน่นทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง หลอดกลีบดอกในช่วงล่างเป็นหลอดแคบ ส่วนช่วงบนจะขยายใหญ่กว้างจนถึงปากหลอด ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนกันยายน
ฝัก : มีลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระบอกโต โค้งงอและบิดเป็นเกลียว ฝักจะมีสันเป็นเส้นยาวตามฝัก 5 สัน และมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสาน
เมล็ด : ในฝักมีเมล็ดลักษณะแบนและมีเยื่อบาง ๆ ตามขอบคล้ายกับปีก

สรรพคุณของแคหางค่าง

  • สรรพคุณจากเมล็ด บำรุงโลหิต ขับเสมหะ
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มแล้วดื่ม
    – บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยรักษาแผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยห้ามเลือด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน และหูด ด้วยการนำใบมาพอก

ประโยชน์ของแคหางค่าง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกและฝักอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
2. ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้าง ทำเสาต่าง ๆ ทำด้ามเครื่องมือหรือด้ามปืนได้

แคหางค่าง ดอกยอดนิยมของตระกูลแคในการนำมารับประทานหรือเป็นส่วนประกอบในอาหาร มีรสขมเล็กน้อยแต่ต้องนำมาลวกต้มหรือทำให้สุกก่อนรับประทาน มีดอกขนาดใหญ่และโดดเด่นอยู่บนต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะและแก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ เป็นผักพื้นบ้านที่ช่วยแก้อาการพื้นฐานต่าง ๆ ได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แคบิด”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [27 ธ.ค. 2013].
สารสนเทศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ku.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
รายชื่อพรรณไม้ (ป่า) ในประเทศไทย ฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยด้านป่าไม้ หน่วยวิจัยภัยพิบัติด้านทรัพยากรธรรมชาติ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.frcdb.forest.ku.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.dusit.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “แคหางค่าง, แคบิด”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [27 ธ.ค. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.org/newslet/9_5.pdf. [27 ธ.ค. 2013].
MyFirstBrain. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.myfirstbrain.com. [27 ธ.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แคบิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [27 ธ.ค. 2013].

แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก

0
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว
แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว

แคนา

แคนา (Dolichandrone serrulata) เป็นต้นไม้มงคลที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยและเสริมสร้างรายได้ให้เกษตรกรในการส่งขาย ส่วนมากมักจะพบในหมู่บ้านจัดสรร ร้านอาหารและรีสอร์ต เป็นไม้ปลูกประดับและยังนำมารับประทานเป็นผักหรือนำมาทานเป็นยาก็ได้เช่นกัน ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขมแต่เมื่อนำมาจิ้มกับน้ำพริกจะมีรสชาติอร่อยมาก และมีสรรพคุณที่ยอดเยี่ยมต่อร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแคนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “แคนา” ภาคเหนือเรียกว่า “แคตุ้ย แคแน แคฝา แคฝอย แคหยุยฮ่อ แคแหนแห้” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “แคขาว แคเก็ตวา แคเก็ตถวา แคเค็ตถวา” จังหวัดลำปางเรียกว่า “แคภูฮ่อ” จังหวัดเลยและลำปางเรียกว่า “แคป่า” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “แคทราย” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “แคยาว แคอาว” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “แคยอดดำ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)
ชื่อพ้อง : Bignonia serratula Wall. ex DC., Bignonia serrulata Wall. ex DC., Spathodea serrulata (Wall. ex DC.) DC., Stereospermum serrulatum DC.

ลักษณะของแคนา

แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศลาว พม่า เวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบได้บ่อยตามนาข้าวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลำต้น : เป็นเปลาตรง มีการแตกกิ่งต่ำ
เปลือกต้น : เป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจจะมีจุดดำประปราย ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดเล็ก ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ตื้น ๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้นตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปแตรสีขาวและมีกลิ่นหอม ดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอกในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว
เมล็ด : เมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม

สรรพคุณของแคนา

  • สรรพคุณจากแคนา แก้อาการท้องร่วง กำจัดพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้อาการตกเลือด แก้ฝีราก เป็นยาแก้บวม
  • สรรพคุณจากราก ช่วยบำรุงโลหิต แก้เสมหะและลม
  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยในการนอนหลับ แก้ไข้หัวลม เป็นยาขับเสมหะ ขับโลหิตและลม ขับผายลม ช่วยในการขับถ่าย
  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยาบ้วนปาก ด้วยการนำใบมาต้มแล้วอม
    – รักษาแผล ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อโดยใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร

ประโยชน์ของแคนา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบในการทำแกงส้ม ส่วนมากนิยมนำมาต้มหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก รสขมจากดอกช่วยเพิ่มความอร่อยของอาหารได้
2. เป็นไม้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวน มักจะพบที่หมู่บ้านจัดสรร ร้านอาหารและรีสอร์ต เป็นต้น
3. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของวัวและควาย
4. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้ของต้นนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝ้าเพดานและพื้น เป็นต้น

แคนา เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวรสขมและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านในการรับประทานกับน้ำพริกหรือเป็นไม้ปลูกประดับที่สวยงาม และยังเป็นไม้มงคลอีกด้วย ในปัจจุบันการปลูกต้นแคนาส่งขายทำรายได้ให้กับเกษตรกรมากมาย ต้นมีเอกลักษณ์และน่าปลูกหากมีพื้นที่ภายในบ้าน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยในการขับถ่ายและขับลม แก้โรคชัก บำรุงเลือดและขับเสมหะ ในส่วนของราก เปลือกต้น ใบ ดอกและเมล็ดจะมีรสหวานเย็น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “แคนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [26 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [26 ธ.ค. 2013].
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.uru.ac.th. [26 ธ.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แคนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [26 ธ.ค. 2013].
สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [26 ธ.ค. 2013].
ไทยโพสต์. “แคป่า บานกลางกรุง ตอกย้ำความอร่อยของผักตามฤดูกาล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [26 ธ.ค. 2013].

ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน

0
ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน
ตาว หรือลูกชิด เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน มีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน
ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน
ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน มีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน

ตาว

ตาว (Areng palm) หรือลูกชิด ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงอย่างมากเนื่องจากการที่ป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน มีชื่อเรียกมากมายจนน่าสับสน เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่มักจะพบริมน้ำ ส่วนมากมักจะพบเป็นลูกชิดที่นำมาทำเป็นของหวาน เป็นต้นที่มีผลเป็นพวงมากมายอย่างโดดเด่น สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arenga pinnata (Wurmb) Merr.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sugar palm” “Aren” “Arenga palm” “Areng palm” “Black – fiber palm” “Gomuti palm” “Kaong” “Irok”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ตาว ชิด” ภาคเหนือเรียกว่า “ตาว ต๋าว มะต๋าว” ภาคใต้เรียกว่า “ฉก ชก ต้นชก” และเรียกผลของชิดว่า “ลูกเหนา” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “เตาเกียด เต่าเกียด” และเรียกผลของชิดว่า “ลูกชิด” จังหวัดตราดเรียกว่า “โตะ” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “กาชก” จังหวัดพังงาและภูเก็ตเรียกว่า “ฉก”จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “ลังค่าย หลังค่าย” จังหวัดสตูลเรียกว่า “โยก” จังหวัดตรังเรียกว่า “เนา” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกผลว่า “ลูกตาว” จังหวัดน่านเรียกผลว่า “ลูกต๋าว” ชาวเมี่ยน ขมุ ไทลื้อและคนเมืองเรียกว่า “ต่าว” ชาวม้งเรียกว่า “ต๋งล้าง” ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “วู้” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ต่ะดึ๊” ลั้วะเรียกว่า “หมึ่กล่าง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ปาล์ม (ARECACEAE)

ลักษณะของต้นตาว

ต้น เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นตามป่าในเขตจังหวัดน่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่และตาก มักจะพบขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง ตามริมแม่น้ำลำธารหรือตามโขดหิน
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงสูง มีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล มีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ
ราก : เป็นระบบรากฝอย รากจะเจริญออกจากใต้ดิน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีลักษณะแบบเดียวกับใบมะพร้าวแต่จะใหญ่และแข็งกว่า ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม ส่วนโคนใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบและผิวหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ เป็นดอกชนิด Polgamous มีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันแต่อยู่คนละช่อดอก และสามารถออกดอกได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนออกดอกประมาณ 15 – 20 ปี โดยออกดอกตามซอกใบ
ผล : ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สีเขียว ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่มีสีเหลืองและสีดำหรือมีสีม่วงเข้มจนถึงสีดำ
เมล็ด : เมล็ดมีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน ในแต่ละผลจะมี 2 – 3 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว ส่วนเมล็ดแก่มีสีดำ เปลือกของเมล็ดจะเป็นกะลาบาง ๆ แข็ง ๆ มีสีดำ ส่วนเนื้อในของเมล็ดจะเรียกว่า “ลูกชิด”

ประโยชน์ของตาว

  • ประโยชน์ของหน่ออ่อน รับประทานและทำเป็นแกงหรือใส่ข้าวเบือได้
  • ประโยชน์ของเนื้อในเมล็ด ลูกชิดสามารถนำมารับประทานสด นำไปต้มหรือนำมาเชื่อมกับน้ำตาลแล้วทานเป็นของหวานได้ นำมาแปรรูปทำเป็นลูกชิดแช่อิ่ม ลูกชิดปี๊บ ลูกชิดกระป๋อง และลูกชิดอบแห้ง
  • ประโยชน์ของยอดอ่อน นำมานึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปทำแกง ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำไปดองเปรี้ยวเก็บไว้ใช้แกงส้มหรือทำแกงกะทิ
  • ประโยชน์ของยอดลำต้น นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับยอดมะพร้าว
  • ประโยชน์ของใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักเช่นเดียวกับกะหล่ำปลี
  • ประโยชน์ของแกนในของลำต้นอ่อน ทำเป็นแกงใส่ไก่หรือหมูได้
  • ประโยชน์ของผล งวงหรือดอก น้ำหวานที่ได้จากผลสามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกับน้ำตาลโตนด และยังนำไปทำน้ำส้มที่เรียกว่า “น้ำส้มชุก” สำหรับใช้ในการปรุงอาหารหรือทำน้ำตาลเมาหรือเอาส่วนที่เคี่ยวเป็น “น้ำผึ้งชุก” ไปหมักสำหรับทำสุราหรือเป็นไวน์ผลไม้
  • ประโยชน์ของลำต้น นำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตรได้ ส่วนลำต้นในระยะที่เริ่มออกดอกจะมีแป้งสะสมอยู่ภายใน สามารถนำแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ ทำไฟเบอร์ซึ่งจะมีความยาวและมีสีเทาดำ
  • ประโยชน์ของใบ ใบแก่ใช้มุงหลังคาและกั้นฝาบ้าน ใช้ตกแต่งงานกิจกรรมหรือนำมาใช้จักสานตะกร้า ส่วนใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นมวนบุหรี่ ก้านใบเมื่อนำมาเหลารวมกันทำเป็นไม้กวาด
  • ประโยชน์ของก้านทางใบ ทำฟืนสำหรับก่อไฟ นำมาผลิตไฟเบอร์ ในอินโดนีเซียจะนำไปทำเป็นเชือกสำหรับใช้กับเรือประมง
  • ประโยชน์ของเส้นใยจากลำต้น ทำเป็นแปรงได้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิด ต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิด ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม
โปรตีน 0.1 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
น้ำ 94.7 กรัม
วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.01 มิลลิกรัม
แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม

พิษของตาว

ควรนำไปต้มก่อนรับประทานเพราะผิวของเปลือกเมล็ด ขนบนผลและน้ำเลี้ยงจากเปลือกผลนั้นมีพิษ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้

ตาว เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก มักจะนำส่วนผลมาแปรรูปรับประทานได้หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นต้นที่เหมาะต่อวิถีชีวิตของคนไทยโบราณ พบได้มากในเมนูของหวานที่มีลูกชิดเป็นส่วนประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [1 พ.ย. 2013].
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม สมิตินันทน์).
หนังสือ 108 ซองคำถาม เล่ม 2. (ประวิทย์ สุวณิชย์).
ฐานข้อมูลการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โครงการสำรวจพันธุกรรมพืชชิด (Arenga pinnata.) ในจังหวัดน่าน”. (อนุชา จันทรบูรณ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kucon.lib.ku.ac.th. [1 พ.ย. 2013].
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pirun.kps.ku.ac.th. [1 พ.ย. 2013].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [1 พ.ย. 2013].
มติชนออนไลน์. “ต๋าว พืชเฉพาะถิ่นนครน่าน หนึ่งของดีแปรรูปได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [1 พ.ย. 2013].
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [1 พ.ย. 2013].
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ผักพื้นบ้าน ลูกชิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th. [1 พ.ย. 2013].

พะยอม ไม้มงคลเก่าแก่ ช่วยสมานแผลและบำรุงหัวใจ

0
พะยอม ไม้มงคลเก่าแก่ ช่วยสมานแผลและบำรุงหัวใจ
พะยอม เป็นไม้ยืนต้น ดอกเป็นช่อใหญ่มีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม เปลือกต้นสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีเหลือง
พะยอม ไม้มงคลเก่าแก่ ช่วยสมานแผลและบำรุงหัวใจ
พะยอม เป็นไม้ยืนต้น ดอกเป็นช่อใหญ่มีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม เปลือกต้นสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีเหลือง

พะยอม

พะยอม (White meranti) เป็นไม้ยืนต้นที่แพร่หลายอย่างมากในประเทศไทย เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ มีดอกสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม เป็นไม้ต้นที่ชวนให้สบายตาและน่าชมเวลาเดินผ่าน สามารถนำดอกมารับประทานเป็นยาได้ เป็นต้นไม้เก่าแก่ที่มีความมงคลและมีสรรพคุณที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G.Don
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Shorea” และ “White meranti”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สุกรม” ภาคเหนือเรียกว่า “ขะยอมดง พะยอมดง” ภาคอีสานเรียกว่า “คะยอม ขะยอม” ภาคใต้เรียกว่า “ยอม” จังหวัดเลยเรียกว่า “แดน” จังหวัดน่านเรียกว่า “ยางหยวก” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “กะยอม เชียง เซียว เซี่ย” จังหวัดปราจีนบุรีและสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “พะยอมทอง” ประเทศลาวเรียกว่า “ขะยอม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
ชื่อพ้อง : Shorea talura Roxb.

ลักษณะของต้นพะยอม

พะยอม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและทวีปเอเชีย สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบที่มีดินเป็นดินทราย
เปลือกต้น : มีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม เปลือกแตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล
ต้น : ต้นเป็นทรงพุ่มกลม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก
ใบ : ใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบที่มองเห็นชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม มักจะออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล : เป็นผลแห้งที่มีผนังผลชั้นนอกเจริญยื่นออกมาเป็นปีก มีลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก และปีกสั้น 2 ปีก ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
เมล็ด : ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด

สรรพคุณของพะยอม

  • สรรพคุณจากดอก ช่วยบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาหอมไว้แก้ลม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้อาการท้องร่วงหรือท้องเดิน นำมากินแทนหมากเพื่อช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ เป็นยา
  • ฝาดสมานแผลในลำไส้ ช่วยสมานบาดแผลและชำระบาดแผลต่าง ๆ ด้วยการนำเปลือกต้นมาฝนแล้วทา

ประโยชน์ของพะยอม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนนำมารับประทานได้ด้วยการนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ใส่ในแกงต่าง ๆ หรือนำมาผัดกับส่วนประกอบอื่น ๆ เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้ เปลือกต้นและเนื้อไม้ชิ้นเล็กสามารถนำมารองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนดและนำมาใส่ในเครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม ไม้พะยอมสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างอย่างการทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ หมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทอง เป็นยาแนวเรือด้วยการนำชันจากต้นมาผสมกับน้ำมันทาไม้ ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
3. เป็นไม้ประดับ ปลูกได้ดีในที่แล้ง ปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือน มีความเชื่อว่าบ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ ตามความเชื่อควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและปลูกในวันเสาร์

คุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอม

คุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม
โปรตีน 4.4 กรัม
ไขมัน 1.1 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
แคลเซียม 46 มิลลิกรัม

เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง ช่วยสมานแผลได้

พะยอม เป็นไม้ตระกูลเก่าแก่ที่มีความเชื่อเป็นมงคลและเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานที่มากมาย เป็นไม้ที่เป็นพุ่มกลมอย่างสวยงาม สะดุดตาเพียงครั้งแรกที่มอง นอกจากความงามแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรม สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงหัวใจและสมานบาดแผลได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)

อวดเชือก หรือเครืออวดเชือก เป็นยาบำรุง บำรุงเลือด รักษากามโรค

0
อวดเชือก หรือเครืออวดเชือก เป็นยาบำรุง บำรุงเลือด รักษากามโรค
อวดเชือก หรือเครืออวดเชือก ไม้เถาเลื้อย กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีสีแดงอ่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุก สีขาวแกมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
อวดเชือก หรือเครืออวดเชือก เป็นยาบำรุง บำรุงเลือด รักษากามโรค
อวดเชือก หรือเครืออวดเชือก ไม้เถาเลื้อย กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีสีแดงอ่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุก สีขาวแกมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

อวดเชือก

อวดเชือก (Combretum latifolium Blume) หรือเครืออวดเชือก เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดในทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีและเร็วในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นปานกลางและชอบแสงแดดค่อนข้างจัด ดังนั้นในประเทศไทยจึงสามารถพบได้ทั่วทุกภาค เป็นต้นที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักนัก แต่ชาวลัวะนิยมนำใบอ่อนซึ่งมีรสฝาดมารับประทานด้วยการหมกกับไฟใช้กินแทนเมี่ยงได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้หลากหลายส่วนอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของอวดเชือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum latifolium Blume.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มันแดง แหนเครือ” ภาคอีสานและจังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “ขมิ้นเครือ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ถั่วแป๋เถา” จังหวัดหนองคายเรียกว่า “แกดำ” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “แหนเหลือง” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ผ่อนออึ ซิคริ๊บ่อ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “เครืออวดเชือก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)
ชื่อพ้อง : Combretum extensum Roxb. ex G.Don.

ลักษณะของอวดเชือก

อวดเชือก เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนชื้นอย่างทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามที่เปิดใกล้ริมลำธาร
ลำต้น : ชอบเลื้อยพันต้นไม้อื่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีสีแดงอ่อน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปมนวงรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก พื้นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหนาและเหนียว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกโดยจะออกบริเวณปลายยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวแกมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีกลีบดอก 4 กลีบ ลักษณะค่อนข้างกลมเกลี้ยง กลางดอกมีเกสร 8 อัน
ผล : ลักษณะของผลค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่แกมวงรี เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด รอบผลมีกลีบ 4 กลีบ หรือเรียกว่าปีก มีสีน้ำตาลอ่อน

สรรพคุณของอวดเชือก

  • สรรพคุณจากผล ช่วยเจริญอาหารหรือเป็นยาบำรุง
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงโลหิต เป็นยาบำรุง เป็นยาสมานลำไส้
    – เป็นยาธาตุ ด้วยการนำเนื้อไม้มาบดละลายกับน้ำอุ่นเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบอ่อน
    – แก้อาการร้อนใน ด้วยการนำใบอ่อนมาเคี้ยวกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี
    – แก้อาการร้อนใน ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – รักษากามโรค ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเครือหรือทั้งต้น
    – แก้อาการปวดท้องจากท้องเสีย ด้วยการนำเครือหรือทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา

ประโยชน์ของอวดเชือก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวลัวะนำใบอ่อนซึ่งมีรสฝาดมาหมกกับไฟใช้กินแทนเมี่ยง
2. ทำถ่าน เถาอวดเชือกนั้นมีความหนาและแข็งมากจึงสามารถนำไปเผาถ่านแล้วได้ถ่านเนื้อดี

อวดเชือก หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “เครืออวดเชือก” เป็นต้นที่พบได้ทุกภาคในประเทศไทยแต่ส่วนมากมักจะเป็นชาวลัวะที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ ถือเป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ทำถ่านได้และยังเป็นยาสมุนไพรที่รักษาอาการบางอย่างได้อย่างเหลือเชื่อ อวดเชือกมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและเนื้อไม้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุง บำรุงเลือด รักษากามโรค แก้อาการร้อนในและขับประจำเดือนของสตรีได้ ถือเป็นต้นที่รักษาอาการพื้นฐานและยังเป็นยาดีต่อระบบขับถ่ายอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “อวดเชือก”. หน้า 836-837.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน. (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล). “อวดเชือก”. หน้า 69.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “อวดเชือก”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

อบเชยเถา รากเป็นยาและมีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง

0
อบเชยเถา รากเป็นยาและมีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง
อบเชยเถา เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มียางสีขาว ดอกออกตามซอกใบ ผลเป็นรูปไข่ยาว ติดกันเป็นคู่
อบเชยเถา รากเป็นยาและมีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง
อบเชยเถา เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มียางสีขาว ดอกออกตามซอกใบ ผลเป็นรูปไข่ยาว ติดกันเป็นคู่

อบเชยเถา

อบเชยเถา (Atherolepis pierrei Costantin) เป็นไม้เลื้อยที่มักจะพบตามชายป่า ดังนั้นชาวกรุงเทพมหานครจึงเรียกกันว่า “อบเชยป่า” เป็นต้นที่มีผลเป็นรูปไข่ยาวซึ่งผลอ่อนนั้นจะนิยมนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ ส่วนรากมีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชยต้น เป็นต้นที่มีคุณค่าทางโภชนาการและยังเป็นอาหารของสัตว์อย่างโคกระบืออีกด้วย และยังเป็นยาสมุนไพรที่ดีโดยเฉพาะส่วนของรากจากต้นอบเชยเถา

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของอบเชยเถา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atherolepis pierrei Costantin
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “อบเชยเถา” ภาคเหนือเรียกว่า “กำยานเครือ เครือเขาใหม่ เถาเชือกเขา” ภาคอีสานเรียกว่า “จั่นดิน กู๊ดิน” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “อบเชยป่า” จังหวัดแพร่เรียกว่า “เครือเขาใหม่” จังหวัดนครสวรรค์เรียกว่า “เชือกเถา” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ตำยาน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

ลักษณะของอบเชยเถา

อบเชยเถา เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก มักจะพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทยตามชายป่า
ลำต้น : เลื้อยพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นหรือเถามีขนสั้นและมีน้ำยางสีขาว เปลือกมีช่องระบายอากาศรูปไข่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เถามีลักษณะกลมเรียวเป็นสีน้ำตาลเทาไปจนถึงสีน้ำตาลม่วง
ราก : มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชยต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มหรือสีน้ำเงิน ลายเส้นใบเป็นสีขาว ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มียางสีขาวข้น หูใบสั้นมาก ใบอ่อนจะมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นใบ แล้วขนนั้นจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อใบแก่
ดอก : ออกดอกเป็นช่อโดยจะออกตามซอกใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 5 – 6 ดอก กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอมส้ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีชมพูอ่อนหรือชมพูอมส้ม โคนกลีบดอกชิดติดกันเป็นรูปถ้วยหรือเป็นท่อสั้น ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม กลีบดอกจะบิดไปในทางเดียวกัน เมื่อดอกบานจะกางออกแบบดอกมะเขือ มีขนขึ้นประปรายทั้งด้านในและด้านนอก ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังใจกลางดอก โดยมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมและปลายแหลม เกสรเพศเมียมี 1 อัน ปลายเกสรจะใหญ่กว่าท่อเกสรและมีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม ปลายแหลมสั้น มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ยาว ติดกันเป็นคู่ ผิวผลเนียน มีร่องเป็นแนวตามยาว ภายในผลมีเมล็ด

สรรพคุณของอบเชยเถา

  • สรรพคุณจากราก เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้ชุ่มชื่นกระปรี้กระเปร่า ปรุงเป็นยาหอม ช่วยแก้ลมวิงเวียนศีรษะ รักษาอาการหน้ามืดตาลาย เป็นยาขับลมในลำไส้ ช่วยแก้อาการปวดมวนในท้อง เป็นยาแก้บิดและแก้ท้องเสีย
    – แก้โรคผิวหนังและผื่นคัน ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วอบไอน้ำ

ประโยชน์ของอบเชยเถา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ในการเกษตร ใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกโคกระบือ

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชยเถา

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชยเถา ให้โปรตีน 11.9% แคลเซียม 2.01% ฟอสฟอรัส 0.2% โพแทสเซียม 1.66% ADF 23.8% NDF 26.9% DMD 78.6% และแทนนิน 3.99%

อบเชยเถา เป็นต้นไม้เลื้อยที่มีรากเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังเป็นต้นที่มีโภชนาการทางอาหารอีกด้วย เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงอย่างโคกระบือได้ สามารถพบได้ตามชายป่าทั่วประเทศไทย อบเชยเถามีสรรพคุณทางยาจากส่วนของรากที่มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชยต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียนศีรษะ ขับลมในลำไส้ แก้โรคผิวหนัง แก้บิดและแก้ท้องเสียได้ เป็นต้นที่ดีต่อระบบขับถ่ายในร่างกายของเราและยังดีต่อหัวใจอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “อบเชยเถา”. หน้า 151.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “อบเชยเถา”. หน้า 835-836.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “อบเชยเถา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 ก.ย. 2014].
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “อบเชยเถา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [21 ก.ย. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “อบเชยเถา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [22 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

กระเจียวขาว รสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมและแก้อาการปวดเมื่อยได้

0
กระเจียวขาว รสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมและแก้อาการปวดเมื่อยได้
กระเจียวขาว มีดอกสีขาวออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นรูปไข่กลับและมีขน
กระเจียวขาว รสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมและแก้อาการปวดเมื่อยได้
กระเจียวขาว มีดอกสีขาวออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นรูปไข่กลับและมีขน

กระเจียวขาว

กระเจียวขาว (White angel) มีดอกสีขาวสวยงามแถมยังมีกลิ่นหอมเหมาะสำหรับปลูกประดับเป็นอย่างมาก เป็นผักป่าที่เหมาะแก่การปลูกไว้ในสวน กระเจียวขาวเป็นผักที่นิยมในหมู่ชาวบ้านและชาวสวนสำหรับรับประทานจิ้มกับน้ำพริก นอกจากความสวยงามแล้วยังนิยมรับประทานเป็นยาสมุนไพรได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกระเจียวขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma parviflora Wall.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “White angel”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “อาวขาว” จังหวัดเลยเรียกว่า “กระเจียวโคก กระชายดง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “กระเจียวขาว” จังหวัดสุโขทัยเรียกว่า “ว่านม้าน้อย” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “กระจ๊อด กระเจียว ดอกดิน อาว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ลักษณะของต้นกระเจียวขาว

ต้นกระเจียวขาว เป็นไม้ล้มลุกที่พบในประเทศอินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย จีนและประเทศไทย มักจะพบตามป่าดิบทั่วไป ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ บริเวณโคกและบริเวณป่าโปร่ง
ลำต้น : มีลำต้นตั้งตรง
เหง้า : เหง้าอยู่ใต้ดินและมีกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดสั้นมาก ภายในเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ทั้งนี้เหง้าของลำต้นเทียมที่แก่เต็มที่หรือมีดอกแล้วเท่านั้นจึงจะบวมพองสะสมน้ำและอาหารได้
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือเป็นรูปวงรี ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่มหรือมน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบแผ่เป็นกาบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดโดยจะออกจากกลางลำต้น ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาว มีใบประดับเป็นสีเขียว มีสีขาวล้วนหรือมีสีม่วงหรือสีน้ำเงินแต้มอยู่ที่ส่วนปลาย ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น ๆ ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม
ผล : เป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กลับและมีขน

สรรพคุณของกระเจียวขาว

  • สรรพคุณจากหน่ออ่อน เป็นยาช่วยขับลม
  • สรรพคุณจากดอกอ่อน เป็นยาช่วยขับลม
  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาแผลสดและช่วยห้ามเลือด ด้วยการนำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำมาทาเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – เป็นยาทาถูนวดสำหรับแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการนำต้นกระเจียวขาวทั้งต้นมาผสมกับหัวขมิ้นขาว หัวข่าหด หัวเร่ว หัวไพล หัวว่านมหาเมฆ หัวว่านสาวหลงและหัวว่านแสงอาทิตย์ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืชแล้วกรองเอากากทิ้งเอาแต่น้ำมันมาใช้ทา

ประโยชน์ของกระเจียวขาว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนและหน่ออ่อนสามารถนำมาต้มหรือลวกใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาใส่ในแกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ

กระเจียวขาว เป็นดอกที่มีการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรมาเนิ่นนาน อยู่ในตำราตำรับยาพื้นบ้านล้านนาและชาวเขาเผ่าอีก้ออีกด้วย หน่ออ่อนและดอกอ่อนของกระเจียวมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมจึงนิยมนำส่วนนี้มารับประทานมากกว่าส่วนอื่น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาช่วยขับลม ช่วยห้ามเลือดและแก้อาการปวดเมื่อยได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระเจียวขาว”. หน้า 89.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “กระเจียวขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [14 เม.ย. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “กระเจียวขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [14 เม.ย. 2014].

มะสัง ผลรสเปรี้ยว นิยมทำไม้แคระและไม้ดัด สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย

0
มะสัง ผลรสเปรี้ยว นิยมทำไม้แคระและไม้ดัด สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย
มะสัง ไม้ยืนต้น ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งหรือตามซอกใบคล้ายดอกกระถิน สีขาว ผลคล้ายมะนาว รสเปรี้ยว ผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
มะสัง ผลรสเปรี้ยว นิยมทำไม้แคระและไม้ดัด สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย
มะสัง ไม้ยืนต้น ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งหรือตามซอกใบคล้ายดอกกระถิน สีขาว ผลคล้ายมะนาว รสเปรี้ยว ผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

มะสัง

มะสัง (Wood apple) เป็นไม้ยืนต้นที่มีผลคล้ายมะนาวและยังมีรสเปรี้ยวอีกด้วย เป็นต้นที่คนไทยอาจจะเคยได้ยินหรือนิยมกันในหมู่คนปลูกต้นไม้ เนื่องจากมะสังนั้นกลายเป็นต้นยอดฮิตของคนที่ชอบปลูกไม้ประดับพวกไม้แคระหรือไม้ดัดเพราะเปลือกที่ขรุขระและรูปทรงของต้นที่สวยงาม นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นน้ำผลไม้และนำใบมารับประทานในรูปแบบของผักสดหรือทานร่วมกับลาบและก้อยได้เช่นกัน แถมยังนำผลมาใช้ในการเป็นเครื่องปรุงซึ่งให้รสเปรี้ยวใช้แทนมะนาวได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะสัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus lucida (Scheff.) Mabb.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Wood apple”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “หมากกะสัง มะสัง” ภาคใต้เรียกว่า “กะสัง” จังหวัดมุกดาหารเรียกว่า “ผักสัง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “หมากสัง กระสัง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ส้ม (RUTACEAE)
ชื่อพ้อง : Feroniella lucida (Scheff.) Swingle

ลักษณะของมะสัง

มะสัง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทยมักจะพบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าโคกและทุ่งนา
ลำต้น : ลำต้นแตกกิ่งก้านขนานกับลำต้นหรือออกตั้งฉากกับลำต้น ต้นมีกิ่งก้านจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวและแข็งตรง ที่กิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นร่องเล็ก เปลือกแตกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยม ต้นแก่เป็นสีเทาไปจนถึงดำ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ปลายใบคี่ ก้านใบเรียงตัวกันแบบสลับหรือเป็นกระจุกประมาณ 2 – 3 ก้านใน 1 ข้อ ใบย่อยจะเกิดเป็นคู่เรียงตัวกันแบบตรงข้ามจำนวน 3 – 5 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปวงรี ปลายใบแหลมหรือค่อนข้างมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นต่อมน้ำมันกระจายชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งหรือตามซอกใบคล้ายดอกกระถิน เป็นปุยมีสีขาว โคนก้านมีใบประดับ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแยกจากกัน ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับหรือรูปใบหอก ปลายกลีบแหลม โคนกลีบตัดตรง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ติดกันเล็กน้อยที่ฐาน ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก เป็นกลีบสีเขียวแกมเหลือง ลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 15 – 20 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว อับเรณูติดบนก้านแบบ Basifix มีสีเหลืองแกมสีน้ำตาลอ่อน เกสรเพศเมียมี 1 ก้าน มีรังไข่ superior ovary สีเขียว ลักษณะเป็นรูปโดมทรงกลม ก้านเกสรอวบ ยอดเกสรเรียวเล็กกว่าก้านเกสรเล็กน้อย รังไข่มี 5 – 6 ห้อง มีออวุลจำนวนมาก สามารถออกดอกได้ตลอดปี
ผล : ผลมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวคล้ายผลมะนาว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกผลแข็งและหนามาก เปลือกมีกลิ่นหอม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปยาววงรี

สรรพคุณของมะสัง

  • สรรพคุณจากใบ บำรุงร่างกาย ช่วยแก้ท้องเดิน แก้ท้องอืดและท้องเฟ้อ เป็นยาสมานแผล
  • สรรพคุณจากรากและผลอ่อน
    – แก้ไข้ โดยตำรายาไทยนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มหรือฝนกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากแก่น
    – ดีต่อสตรีขณะอยู่ไฟ ด้วยการนำแก่นมาผสมกับแก่นมะขามแล้วใช้ต้มกับน้ำเพื่อดื่ม

ประโยชน์ของมะสัง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลนำมาปรุงในน้ำพริกหรือใส่ในแกงและนำมาทำน้ำผลไม้ได้ ยอดอ่อนและใบอ่อนทานเป็นผักสดหรือนำไปปิ้งไฟให้หอมทานร่วมกับลาบ ก้อยและซุปหน่อไม้ได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมทำเป็นไม้แคระประดับหรือไม้ดัดเพราะเปลือกที่ขรุขระและรูปทรงของต้นสวยงาม ง่ายต่อการดัดเพราะกิ่งก้านมีความเหนียว

มะสัง มักจะพบในรูปแบบของไม้แคระประดับหรือไม้ดัดเพราะก้านมีความเหนียว เป็นต้นที่มีใบรสจืดแต่ผลมีรสเปรี้ยวและนำมาใช้แทนมะนาวได้ มะสังมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย ช่วยแก้ท้องเดิน แก้ท้องอืดและท้องเฟ้อ แก้ไข้ เป็นต้นที่ดีต่อระบบย่อยอาหารและช่วยบำรุงกำลังจึงเหมาะสำหรับสตรีขณะอยู่ไฟได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะสัง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 158.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะสัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [18 พ.ค. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะสัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [18 พ.ค. 2014].
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. “มะสัง, กระสัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: science.sut.ac.th. [18 พ.ค. 2014].

พลองแก้มอ้น ช่วยแก้ไข้ สมานแผล แก้แผลเปื่อยและรักษาโรคเหงือก

0
พลองแก้มอ้น ช่วยแก้ไข้ สมานแผล แก้แผลเปื่อยและรักษาโรคเหงือก
พลองแก้มอ้น เป็นไม้พุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ผลสดมีขนนุ่มสีเขียวแดง สุกเป็นสีม่วงดำภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด
พลองแก้มอ้น ช่วยแก้ไข้ สมานแผล แก้แผลเปื่อยและรักษาโรคเหงือก
พลองแก้มอ้น เป็นไม้พุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ผลสดมีขนนุ่มสีเขียวแดง สุกเป็นสีม่วงดำภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด

พลองแก้มอ้น

พลองแก้มอ้น (Rhodamnia dumetorum) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ชมพู่ที่มักจะพบมากในทางภาคใต้ มีดอกสีขาวและผลสุกเป็นสีม่วงดำซึ่งสามารถนำมารับประทานได้ เป็นต้นที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักและไม่ได้พบได้ทั่วไป เป็นชื่อที่แปลกประหลาดและมักจะเรียกกันหลากหลายในทางใต้ของประเทศไทย ทว่าต้นที่ดูไม่มีอะไรนั้นสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรแก้อาการได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพลองแก้มอ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhodamnia dumetorum (DC.) Merr. & L.M.Perry
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “พลวดหม้อ” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “พลองเสม็ด” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ก้นถ้วย” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “พลองแก้มอ้น พลองขี้ไต่ พลองขี้อ้น”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ชื่อพ้อง : Eugenia dumetorum DC., Myrtus dumetorum Poir., Myrtus trinervia Lour., Nelitris trinervia (Lour.) Spreng., Opanea trinervia (Lour.) Raf., Rhodamnia siamensis Craib

ลักษณะของพลองแก้มอ้น

พลองแก้มอ้น เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มักจะพบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าทุ่งหญ้า ป่าที่ลุ่มต่ำและป่าพรุทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และทางภาคใต้
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอก มีขนสั้นสีเทา ส่วนกิ่งแก่และเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล ผิวเรียบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปวงรีแคบหรือรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนนุ่มสีเทาหรืออาจเกลี้ยง มีเส้นใบออกจากฐาน 3 เส้น มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านของใบ ก้านใบมีขน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือเกือบปลายยอด ตาดอกเป็นรูปลูกแพร์ อาจมีดอกประมาณ 1 – 3 ดอก หรือเป็นกระจุกหรือเป็นกระจุกซ้อน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ 5 กลีบ ด้านนอกมีขนสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก วงกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่และมีขนนุ่ม ฐานดอกเป็นรูปถ้วยและมีขนนุ่มสีขาว มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผล : เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงเกือบกลม มีขนนุ่ม กลีบเลี้ยงติดคงทน ผลเป็นสีเขียวแดง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดหลายเมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยม

สรรพคุณของพลองแก้มอ้น

  • สรรพคุณจากเปลือกต้นและใบ ตำรายาไทยใช้เป็นยาฝาดสมานรักษาบาดแผล
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้ไข้ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากผล
    – แก้แผลเปื่อยและรักษาโรคเหงือก ด้วยการนำผลมาปรุงเป็นยาต้ม

ประโยชน์ของพลองแก้มอ้น

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสุกนำมารับประทานได้

พลองแก้มอ้น เป็นต้นที่นิยมในทางภาคใต้เนื่องจากพบได้มากกว่าที่อื่น เป็นพืชในวงศ์ชมพู่ที่มีผลสุกเป็นสีม่วงดำซึ่งเป็นส่วนที่สามารถนำมารับประทานได้ นอกจากนั้นยังเป็นยาสมุนไพรในตำรายาไทยอีกด้วย พลองแก้มอ้นมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะรากและผล มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ ช่วยสมานแผล แก้แผลเปื่อยและรักษาโรคเหงือก ถือเป็นต้นที่ค่อนข้างมีสรรพคุณในการรักษาภายนอกที่เป็นบาดแผลได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พลองแก้มอ้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [02 ต.ค. 2015].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “พลองแก้มอ้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [02 ต.ค. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ไกร แก้โรคเบาหวาน แก้ตับพิการและเป็นยาระบาย

0
ไกร แก้โรคเบาหวาน แก้ตับพิการและเป็นยาระบาย
ไกร เป็นต้นไม้ใหญ่ ผลเป็นผลสดแบบมะเดื่อมีสีขาวอมชมพู กลมแป้นหรือเป็นรูปหัวใจ ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง
ไกร แก้โรคเบาหวาน แก้ตับพิการและเป็นยาระบาย
ไกร เป็นต้นไม้ใหญ่ ผลเป็นผลสดแบบมะเดื่อมีสีขาวอมชมพู กลมแป้นหรือเป็นรูปหัวใจ ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง

ไกร

ไกร (Sea Fig) เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีผลสีขาวชมพูเล็ก ๆ เป็นชื่อที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคยและไม่รู้จัก สามารถนำส่วนของต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ต้นไกรนั้นเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งในพุทธศาสนา และที่สำคัญผลของต้นไกรเป็นอาหารชั้นดีสำหรับนกและสัตว์ต่าง ๆ เหมาะสำหรับเกษตรกรเป็นอย่างมาก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของไกร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus subpisocarpa Gagnep. และ Ficus superba Miq.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sea Fig” “Deciduous Fig”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดลำปางเรียกว่า “ฮ่าง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “โพไทร” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “เลียบ ไกร” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “ไทรเลียบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขนุน (MORACEAE)
ชื่อพ้อง : Ficus superba var. japonica Miq.

ลักษณะของไกร

ไกร เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดในจีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เปลือกต้น : เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีเทา ทุก ๆ ส่วนเกลี้ยงยกเว้นหูใบ มีรากอากาศรัดพันเล็กน้อย
ต้น : เป็นต้นทรงพุ่มรูปไข่ มียางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับกันเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมเป็นติ่งหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว มีสีเขียวเข้มและเป็นมัน เส้นแขนงใบมีข้างละ 6 – 8 เส้น
ดอก : ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อรูปร่างคล้ายผลซึ่งมีแกนกลาง ช่อดอกเจริญแผ่ขยายใหญ่เป็นกระเปาะ มีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ดอกมีขนาดเล็กเป็นแบบแยกเพศในกระเปาะ โดยดอกเพศผู้จะมีจำนวนน้อยมาก ดอกเพศเมียมีจำนวนมาก ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
ผล : ผลเป็นผลสดแบบมะเดื่อ มีสีขาวอมชมพู ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแกมรูปไข่กลับ กลมแป้นหรือเป็นรูปหัวใจกลับ ออกเป็นคู่ที่กิ่งเหนือรอยแผลของใบ ผลเป็นสีเขียว มีจุดสีครีมกระจายอยู่ทั่วผล เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมชมพู ออกผลในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดทรงกลมสีดำอยู่เป็นจำนวนมาก

สรรพคุณของไกร

  • สรรพคุณจากไกร เป็นยาแก้เบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ผดผื่นคัน ยาทาฝี แก้ริดสีดวง แก้เมื่อยขบ
    สรรพคุณจากราก
    – แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้ตับพิการและเป็นยาระบาย ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้ปวดท้องและท้องร่วง
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ เป็นยาสมานและคุมธาตุ

ประโยชน์ของไกร

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสุกใช้รับประทานและเป็นอาหารของนกและสัตว์ต่าง ๆ ใบอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้
2. ปลูกเป็นไม้แคระประดับ

ไกร เป็นไม้มงคลที่มีประโยชน์ในด้านยาสมุนไพร เป็นไม้ปลูกประดับและนำมารับประทานได้ ส่วนของผลจะเป็นอาหารสำหรับสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะนก สามารถปลูกเพื่อล่อนกได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้เบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับพิการและเป็นยาระบาย คนที่เป็นเบาหวานควรปลูกไว้ในบ้านเพื่อนำใบมาใช้เป็นยาได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “เลียบ”. หน้า 137.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ไกร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [16 ก.ค. 2015].
ไทยเกษตรศาสตร์. “ไกรไม้แคระประดับ”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [16 ก.ค. 2015].
ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.). “เลียบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : onep-intranet.onep.go.th/plant/. [16 ก.ค. 2015].