แพ้นมวัว
แพ้นมวัว ( Cow milk allergy ) หรือที่เรียกว่าโรคภูมิแพ้โปรตีนนม ( cow milk protein allergy ( CMPA ) คือ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองที่ผิดปกติต่อโปรตีนในนมวัวและนมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ มักเกิดในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะปกป้องร่างกายของเราจากเชื้อโรคสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรีย เชื้อไวรัส เมื่อระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติอาจแสดงอาการตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการแพ้นมอย่างรุนแรง (anaphylaxis) ดังนั้น ทำให้โปรตีนในนมวัวเป็นสารอันตรายสามารถทำลายกระเพาะอาหาร และลำไส้ของทารกได้ ในขณะที่อาการแพ้นมวัวเป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารที่พบบ่อยที่สุดซึ่งส่งผลต่อทารกและเด็กในประเทศไทยมีเด็กแรกเกิดประมาณปีละ 8 แสนคน และยังมีเด็กอีกประมาณ 2 หมื่นคน โดยส่วนใหญ่อาการแพ้นมวัวในเด็กมักมีอาการที่บ่งชีถึงการแพ้นมหลายอย่าง
สาเหตุของการแพ้นมวัว
การแพ้นมวัวไม่ใช้จะเกิดขึ้นกับเด็กทุกคน แต่บางคนที่แพ้คือโปรตีนนม 2 ชนิดที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในลูกน้อย คือ
1. บีตา-แล็กโทโกลบูลิน ( Beta-Lactoglobulin ) เป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวย์โปรตีนทั้งหมดของนมวัว ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้นมสูงถึง 82 เปอร์เซ็นต์
2. เคซีน ( Casein ) เป็นโปรตีนหลักในน้ำนมดิบโดยผ่านกระบวนการต้มด้วยความร้อนสูงถึง 100 องศาเซลเซียส และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โปรตีนผง ซึ่งในน้ำนมแม่มีเคซีน Casein น้อยกว่านมวัว และนมแม่ไม่มี Beta-Lactoglobulin ดังนั้น อาการแพ้นมแม่จึงพบได้น้อยมาก
อาการแพ้นมวัวในเด็ก
อาการแพ้จะแสดงออกมี 2 ประเภท คือ อาการแพ้แบบเกิดหลังสัมผัสไม่เกิน 2 ชั่วโมง ( IgE-mediated ) และออกการแพ้แบบเกิดหลังสัมผัสอาจใช้เวลาเป็นวัน (non-IgE mediated) โดยทั้งสองประเภทมีอาการที่แตกต่างกัน เมื่อกินนมเข้าไปร่างกายจะตอบสนองทันทีโดยมีน้ำมูกไหล ผื่นแดง คัน ลมพิษ และหายใจถี่ แต่ในบางคนจะมีอาการแพ้ที่ช้ากว่ามักเริ่มภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากกินนมนั่นเอง โดยอาการแพ้นม แบ่งออกตามระบบได้ ดังนี้ อาการทั่วไป ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง และระบบโลหิต ได้แก่
1. อาการแพ้นมทั่วไปในเด็ก
- ใบหน้าบวมแดง
- เด็กรู้สึกไม่สบายตัวเริ่มงอแงมาก
- เด็กทารกแรกเกิดร้องไห้ไม่ยอมนอน เกิดจากท้องอืด หรือจุดเสียด
- เด็กทารกน้ำหนักเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็น
- กรดไหลย้อนในเด็ก
2. ระบบทางเดินอาหาร
- แหวะนม หรืออาเจียน
- บ้วนน้ำลาย
- ปวดท้อง
- ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย 2-4 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลานานกว่า 5-7 วัน
- ท้องอืดเรอบ่อยเพราะมีแก๊สมาก
- อุจจาระเป็นเลือดในเด็กทารก เนื่องจากลำไส้อักเสบ
3. ระบบทางเดินหายใจ
- คัดจมูก
- เป็นหวัด หรือน้ำมูกไหล
- โรคหอบหืด
- ไอ หรือจาม
- ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอบวม
- หลอดลมอักเสบ
- หายใจถี่
- หายใจไม่ออก
4. ระบบผิวหนัง
- รู้สึกคันตามร่างกาย
- เกิดผื่นที่ผิวหนัง ลักษณะคล้ายเม็ดทราย หรือลมพิษ
5. ระบบโลหิต
- เป็นโรคโลหิตจาง
- ขาดธาตุเหล็ก
- เกล็ดเลือดต่ำ
- พบระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น
ผู้ที่เสี่ยงต่อการแพ้นมวัวมากที่สุด
อาการเด็กแพ้นมวัวถือได้ว่าเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมาก มักส่งผลกระทบมากที่สุดในทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี อัตราความเสี่ยงประมาณ 2 – 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความเสี่ยงในทารกจะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไปน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง
โรคแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อไหร่
- เด็กมีอายุ 1 ปี อาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อ คิดเป็นร้อยละ 45-56 เปอร์เซ็นต์
- อาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อเด็กมีอายุ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 60-77 เปอร์เซ็นต์
- อาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อเด็กมีอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 84-87 เปอร์เซ็นต์
- อาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อเด็กมีอายุ 5 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90-95 เปอร์เซ็นต์
- อาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อเด็กมีอายุเกินอายุ 10 ปีคิดเป็นร้อยละ 1% เปอร์เซ็นต์
ควรพาเด็กที่มีอาการแพ้นมวัวไปพบแพทย์เมื่อใด
หากลูกของคุณเริ่มมีอาการต่อไปนี้ คือ ไม่กินนม อ่อนเพลีย นอนเยอะผิดปกติ มีไข้ อาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง น้ำหนักลด และอุจจาระมีเลือดปน ให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที
การวินิจฉัยอาการแพ้นมวัว
แพทย์จะตรวจดูอาการของทารกก่อน และสอบถามประวัติการแพ้นมวัวของพ่อแม่ หากสงสัยว่าแพ้โปรตีนนมวัว (CMPA) หรือที่เรียกว่าแพ้นมวัว (CMA) แพทย์จะทำการทดสอบภูมิแพ้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพ้โปรตีนนม การแพ้อาการ หรือแพ้นมวัวหรือไม่ โดยการทดสอบต้องทำการตรวจเลือด การทดสอบอาการแพ้ที่ผิวหนัง การทดสอบการแพ้อาหาร เป็นต้น
การรักษาอาการแพ้นมวัว
หากเด็กทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพ้นมวัว แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนนมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม
- ผู้ปกครองของเด็กควรอ่านฉลากสินค้าก่อนซื้อนมอย่างละเอียดทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการกินนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดในเด็กทารก
- ควรเปลี่ยนนมสูตรพิเศษสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัวแทน
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม