อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness )
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการอ่อนแรงที่ส่วนของแขน ขา เป็นไปตามนิยามของสภาวิจัยทางการแพทย์ ( The medical research council scale หรือ MRC ) เมื่อมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาการวินิจฉัยจะอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
แนวทางในการวินิจฉัย อาการอ่อนแรง
1. ทำการแยกว่าอาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเป็นอาการอ่อนแรงหรือเกิดจากความอ่อนเพลียของร่างกาย
2. เมื่อผู้ป่วยแจ้งว่ามีอาการชา บางครั้งอาจเป็นอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นได้
3. ตำแหน่งที่ผู้ป่วยแจ้งกับแพทย์ว่าเกิดอาการอ่อนแรงอาจไม่ใช่ตำแหน่งเดียวที่เกิดอาการอ่อนแรงก็ได้
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ต้องทำการการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย เพื่อที่จะระบุตำแหน่งและลักษณะของการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อว่าเป็นแบบใด
การซักประวัติผู้ป่วย อาการอ่อนแรง
1. ระยะเวลาในการเกิดอาการอ่อนแรง
ระยะเวลาที่เกิดอาการอ่อนแรงสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนแรงได้ดังนี้
1.1 เกิดขึ้นทันทีทันใด แสดงว่าอาการอาจเกิดจากในโรคหลอดเลือดแตกหรืออุดตัน แต่ถ้าอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นหลังจากการชักอาจเกิดจากโรคไมเกรนได้
1.2 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และอาการค่อยรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงว่าอาจเกิดขึ้นจากการที่เส้นประสาทโดนกดทับหรือโรคเส้นประสาทมีการอักเสบจากการติดเชื้อ
1.3 เกิดขึ้นอย่างกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าผู้ป่วยอาจมีระบบประสาทที่เกิดการอักเสบหรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นทับเส้นประสาท
1.4 เกิดอย่างเรื้อรัง คือ อาการอ่อนแรง ที่เกิดขึ้นยาวนานหลายปีต่อเนื่อง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคทางกรรมพันธุ์หรือระบบประสาทเกิดความเสื่อม
1.5 เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน ( fatigabi lity ) คือ อาการอ่อนแรงที่เป็น ๆ หาย ๆ จะเป็นเมื่อมีการต้องออกแรงและหายเมื่อมีการหยุดพัก ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรค post-synaptic neuromuscular junction ได้แก่ โรคแพ้ภูมิตนเองเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( myasthenis gravis ) หรือโรคกลุ่ม periodic paralysis ที่มีระดับเกลือแร่โพแทสเซียมผิดปกติในเลือด จะส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงแบบเป็น ๆ หาย ๆ ตามระดับของโพแทสเซียมในเลือดนั่นเอง
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2. บริเวณที่กล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง
ตำแหน่งหรือบริเวณที่มี อาการอ่อนแรงมีความสำคัญมากในการวินิจฉัยโรค แต่บางครั้งในการซักประวัติผู้ป่วยอาจระบุตำแหน่งเพียงบางส่วนที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าต้องออกแรงมากจึงจะใช้อวัยวะนั้นทำงานได้ หรือเป็นตำแหน่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการซักประวัติแล้วควรทำการตรวจร่างกายเพื่อหาตำแหน่งที่เกิดอาการอ่อนแรงทั้งหมด เพื่อช่วยในการแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป โดยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่สำคัญนอกเหนือจากแขนขา ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ดังนี้
2.1 กล้ามเนื้อการก้มศีรษะ ( neck flexor ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะยกศีรษะขึ้นจากหมอนไม่ได้
2.2 กล้ามเนื้อเงยศีรษะ ( neck extensor ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการคอตกหรือแหงนศีรษะไม่ได้
2.3 กล้ามเนื้อยกหนังตา ( levator palpebrea ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก
2.4 กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลอกตาอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นภาพซ้อน โดยถ้ามีสาเหตุมาจากระบบประสาทการมองเห็นภาพซ้อนจะเกิดขึ้นเมื่อมอง 2 ตา และเมื่อปิดตา 1 ข้างอาการจะดีขึ้น และผู้ป่วยเห็นภาพซ้อนมากที่สุดเมื่อมองไปในทิศทางใด ถ้าเห็นภาพซ้อนเมื่อมองไปด้านซ้ายแสดงว่ากล้ามเนื้อ lateral rectus ด่านซ้ายมีอาการอ่อนแรง แต่ถ้าเห็นภาพซ้อนเมื่อมองไปด้านขวาแสดงว่ากล้ามเนื้อ medial rectus ทางด้านขวามีการอ่อนแรง
2.5 กระบังลมอ่อนแรง เมื่อนอนราบแล้วมีอาการเหนื่อยต้องลุกขึ้นทันทีที่ลงนอน หรือบริเวณช่องอกและท้องไม่สัมพันธ์ในขณะที่หายใจ ซึ่งต่างจากอาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ ซึ่งต้องนอนไปสักพักจึงจะมีอาการเหนื่อย เนื่องจากเลือดไหลกลับจากหลอดเลือดของอวัยวะภายใน และขา เข้าสู่หลอดเลือดส่วนกลางขณะที่นอนลง และระบบประสาท symphatetic มีการลดลงในขณะนอน ทำให้กว่าผู้ป่วยจะเหนื่อยต้องใช้เวลานั่นเอง แต่กระบังลมอ่อนแรงจะเกิดจนทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ ได้แก่ โรค amyotrophic lateral sclerosis ( ALS ) รอยโรคของเส้นประสาท phrenic รอยโรคที่ neuromuscular junction ได้แก่โรค myasthenia gravis หรือโรคของกล้ามเนื้อเช่น adult onset acid maltase deficienc
2.6 กล้ามเนื้อต้นแขนอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยที่ต้นแขน มักมีอาการไม่รุนแรง โดยผู้ป่วยจะ อาการอ่อนแรง และเมื่อยอย่างมากเวลายกของขึ้นที่สูงๆ เวลาสระผมหรือหวีผมเป็นต้น
2.7 กล้ามเนื้อแขนส่วนปลายอ่อนแรง ถ้าอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยจะใช้มือทำงานที่ละเอียดได้ยาก เช่น การสอยเข็ม การติดกระดุม แต่ถ้ามีอาการอ่อนแรงผู้ป่วยจะใช้มือทำงานต่าง ๆ ยากขึ้น เช่น การบิดลูกบิดประตูบ้าน การเปิดประตูรถการไขกุญแจ การเขียนหนังสือ เป็นต้น [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2.8 กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง เป็นส่วนที่เมื่อมีอาการอ่อนแรงผู้ป่วยจะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน เพราะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เช่น การลุกนั่ง การขึ้นหรือลงบันได และลักษณะท่าทางในการเดินมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
2.9 กล้ามเนื้อขาส่วนปลายอ่อนแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.9.1 anterior การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนปลายที่ขึ้นกับ anterior compartment ในช่วงแรกจะมีอาการอ่อนแรงไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยมีอาการข้อเท้าเคล็ดหรือพลิกบ่อยๆ แต่ถ้าอาการอ่อนแรงรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการข้อเท้าตกที่เป็นสาเหตุของการเดินแบบการเดินแล้วปลายเท้าลากพื้น ( steppage gait )
2.9.2 posterior compartment อาการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อ posterior compartment ได้แก่ กล้ามเนื้อ hamstring โดยผู้ป่วยไม่สามารถยืนบนปลายเท้าได้ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ anterior และ posterior compartment จะยืนทรงตัวไม่ได้
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย
ลักษณะการเกิดอาการอ่อนแรงและตำแหน่งของอาการอ่อนแรง
เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ควรทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการอ่อนแรงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการเกิดอาการอ่อนแรงและตำแหน่งของอาการอ่อนแรง เพื่อบอกตำแหน่งขอระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนแรง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1. การสังเกต โดยแพทย์ต้องทำการสังเกตลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เช่น การยืน การเดิน ลักษณะเสียงพูด ขนาดของกล้ามเนื้อเล็กลงหรือใหญ่ขึ้น ลักษณะของกล้ามเนื้อสั่นพริ้ว เป็นต้น
2. การตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อ ( Deep tendon reflexes ) และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่แสดงถึงการมีพยาธิสภาพ ( pathologic relexes ) เพื่อช่วยในการแยกอาการอ่อนแรงของผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่ UMN หรือ LMN โดยควรฝึกและบอกให้ผู้ป่วยปล่อยแขนขาตามสบาย เพื่อการแปลผลการตรวจ DTR และ pathologic reflexes ที่ถูกต้องแม่นยำ
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
โดยการตรวจ DTR สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
ระดับ DTR เป็น 0 คือ การตรวจไม่พบ DTR
ระดับ DTR เป็น 1+ หรือ + คือ การลดลงของ DTR
ระดับ DTR เป็น 2+ หรือ ++ คือ การมีระดับ DTR ปกติ
ระดับ DTR เป็น 3+ หรือ +++ คือ การเพิ่มขึ้นของ DTR ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ผิดปกติ
ระดับ DTR เป็น 4+ หรือ ++++ คือ การเพิ่มขึ้นของ DTR ที่ผิดปกติ อาจพบมีรอยโรค sustained clonus ที่สมองหรือไขสันหลัง
3. ตรวจกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อกะโหลกศีรษะ ( cranial musculature ) รวมด้วย ซึ่งสามารถบ่องบอกถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนแรงได้
4. ตรวจกล้ามเนื้อแขนขา โดยทำการตรวจแยกแต่ละมัด เพื่อช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงแบบใด
4.1 อาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีก pyramidal weakness คือ กล้ามเนื้อยืด ( extensor ) มีอาการอ่อนแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อ ( flexor ) ที่แขน แต่การอ่อนแรงของขากล้ามเนื้อยืดจะอ่อนแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อ
4.2 อาการอ่อนแรงที่แขนหรือขาเพียงข้างเดียว
4.3 อาการอ่อนแรงที่ขาทั้งสองข้าง
4.4 อาการอ่อนแรงทั้งร่างกาย ที่แยกเป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขาส่วนต้น หรือส่วนปลาย
5. ตรวจการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ( muscle tone ) ความตึงของกล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
5.1 กล้ามเนื้อมีการตึงตัวเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดึง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
5.1.1 Spastic tone คือ การตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วง range of motion คล้ายการง้างมีดพับ
5.1.2 Rigidity คือ กล้ามเนื้อมีการตึงเพิ่มขึ้นตลอดการเคลื่อนที่ของข้อ แสดงถึงรอยโรคที่ extrapyramidal tract ที่ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ คือ อาการเคลื่อนไหวจะไม่คล่องแคล่ว ช้า สั่นและแข็ง ( Cogwheel rigidity ) ที่พบได้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน
5.1.3 frontal lobe ต้องทำการตรวจอาการอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น palmomental reflex, grasp reflex, snout หรือ sucking reflex
5.2 การตึงตัวของกล้ามเนื้อปกติ อาการอ่อนแรงในกล้ามเนื้อที่ภาวะปกติ แสดงว่าเกิดจากรอยโรคที่ส่วนเชื่อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ( neuromuscular junction ) หรือรอยโรคที่กล้ามเนื้อ
5.3 การดึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง เกิดในผู้ที่มีรอยโรค LMN โดยเฉพาะรอยโรคที่ anterior horn cell หรือ peripheral nerve สำหรับรอยโรค UMN ที่ทำให้เกิด flaccid tone ได้แก่ รอยโรคที่ไขสันหลังในกรณีที่เกิด spinal shock
6. ความตึงของมัดกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติมาก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
6.1 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดที่เล็กลง แสดงว่าเกิดจากรอยโรค LMN หรือระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ ยกเว้นรอยโรคที่การเชื่อมต่อประสาทและกล้ามเนื้อ ( neuromuscular junction ) ที่มัดกล้ามเนื้อลีบจะไม่ลีบ นอกจากผู้ป่วยจะไม่ใช้กล้ามเนื้อมัดหรือเกิดการขาดสารอาหาร
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
6.2 มัดกล้ามเนื้อปกติ ไม่ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของมัดกล้ามเนื้อ
6.3 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งแยกออกเป็น 2 แบบ คือ
6.3.1 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นจริง เกิดจากโรคของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมากผิดปกติหรือมีการใช้งานมากผิดปกติ
6.3.2 กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นปลอม เกิดจากโรคกล้ามเนื้อผิดปกติแต่กำเนิดหรือมีไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแทรกอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อ
7. ตรวจท่าการยืน การเดิน ว่ามีลักษณะที่ปกติหรือมีท่าการยืนและเดินที่ผิดปกติ
8.ตรวจการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ในขณะที่เดิน ยืน นั่ง เพื่อดูทางระบบประสาทว่ามีความผิดปกติจนส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง
9. ตรวจลักษณะเสียงพูด ลักษณะของเสียงพูดที่เกิดจากการอ่อนแรง เช่น เสียงพูดขึ้นจมูก ที่เกิดจากเพดานอ่อนเกิดอ่อนแรง หรือเสียงพูดไม่ชัดที่เกิดจากการอ่อนแรงของ corticobulbar tract
10. ตรวจความรู้สึก การรับรู้ด้านความรู้สึกสามารถบ่งบอกอาการอ่อนแรง เพื่อบอกถึงรอยโรคได้
11. ตรวจความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำการตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกร่วมกับอาการท้องผูก ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยเกี่ยวกับไขสันหลัง, conus medullaris หรือ cauda equina
สาเหตุของ อาการอ่อนแรง แบบครึ่งซีก
อาการอ่อนแรง สามารถเกิดได้ที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเกิดครึ่งกับร่างกายครึ่งใดครึ่งหนึ่ง หรือที่เรียกว่าอาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีก ( hemiplegia ) ที่เกิดจากความผิดปกติทางกายภาพของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง ก้านสมอง หรือไขสันหลัง โดยเฉพาะความผิดปกติของสมอง ซึ่งสาเหตุของอาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีกสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่เปลือกสมอง
แขนขาของผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงไม่เท่ากัน เป็นตาม motor homunculus ที่เปลือกสมอง แต่ถ้ารอยโรคมีขนาดใหญ่มาก ๆ จะทำให้แขนขาทั้งสองข้างอ่อนเท่า ๆ กัน พบได้ในผู้ป่วยสติการรู้สติลดลง
2. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่ชั้นใต้เปลือกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของแขนกับขาเท่า ๆ กัน บางครั้งอาการอ่อนแรงรุนแรงจนทำให้แขนขาขยับไม่ได้ แต่สติการรับรู้ยังเป็นปกติ โดยการขาดเลือดของสมองส่วนเซลล์เนื้อสีขาวใต้เปลือกสมอง ( subcortex ) จะมีความต่างจากเนื้อเยื่อสีเทาของสมองใหญ่ ( cerebral cortex ) โดยการขาดเลือดของ internal capsule ด้านตรงข้าม หลอดเลือดเลี้ยงสมองในส่วน subcortex แบ่งออกเป็น [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2.1 หลอดเลือด Lenticulostriate เป็นแขนงของ MCA ส่วนต้น ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงฐานปมประสาทและ internal capsule
2.2 หลอดเลือด Thalamoperforate เป็นแขนงของ PCA เลี้ยง thalamus ผู้ป่วยจะมีอาการชาร่างกายซีกตรงข้ามหรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่ไม่มีอาการอ่อนแรง
3. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่ก้านสมอง
ก้านสมองมีหน้าที่ ควบคุมกำลังและความรู้สึกของ แขนขา ใบหน้า ความแม่นยำการเคลื่อนไหวของแขนขา ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic ควบคุมความรู้สึกตัวโดย ascending reticular activating system
ซึ่งอาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคก้านสมองมักเกิดร่วมกับความผิด การทำงานของเส้นประสาทสมองหรือ cranial nuclues โดยจะมีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีกและแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง โดยจะทำให้แขนขาซีกตรงข้ามเป็นอัมพาต คือ ถ้าเป็นอ่อนแรงซีกขวาแสดงว่ามีความผิดปกติในก้านสมองซีกซ้ายนั่นเอง
4. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคไขสันหลัง
รอยโรคที่บริเวณไขสันหลังที่ทำให้เกิดอ่อนแรงครึ่งซีก จะเกิดขึ้นที่ปลายสันหลังส่วนคอ โดยรอยโรคจะอยู่ที่ lateral CTS เพียงข้างเดียว มีสาเหตุจาก spinal hemisection, transverse myelitis, spinal cord compression เป็นต้น
5. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่เส้นประสาท
เส้นประสาทเกิดความผิดปกติจะส่งผลให้เกิด อาการอ่อนแรงได้ยาก แต่จะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบพร้อมกันหลายเส้น จนทำให้เกิดอ่อนแรงมากกว่า
6. อาการอ่อนแรงรยางค์เดียว
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอ่อนแรงที่ขาเพียงอย่างเดียว จะเกิดจากหลอดเลือด ACA ด้านตรงข้ามขาดเลือด แต่อาการของแขนอ่อนแรงร่วมกับใบหน้าอ่อนแรงแบบ UMN ด้านตรงข้ามกับรอยโรค จะเกิดจากหลอดเลือด MCA ขาดเลือด ซึ่งอาการอ่อนแรงมักเกิดจากรอยโรคที่ไขสันหลังมากกว่ารอยโรคที่ก้านสมอง และมักเกิดจากรอยโรคที่มาจากการกดทับ โดยเฉพาะการกดทับรากประสาท ทำให้ความผิดปกติของความรู้สึกตามรากประสาทส่วนนั้น
7. Plexopathy เกิดจากรอยโรคที่ร่างแหประสาทที่เกิดจากการประสานกันระหว่างเส้นประสาทไขสันหลังส่วนปลายแต่ละเส้น ( plexus ) ซึ่งไม่อาจพบอาการปวดและความรู้สึกเกิดความผิดปกติ อาการอ่อนแรงแบบนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วย
7.1 plexus และ lumbar plexitis ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเองจะมีการอักเสบที่ plexus ที่สามารถพบได้ที่ brachial plexus โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวไหล่หรือแขน เมื่ออาการปวดหายไปแขนขาจะมี อาการอ่อนแรง สามารถแยกได้ด้วยการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อใช้แยกภาวะ plexopathy จากโรครากประสาทได้
7.2 รอยโรคที่ plexus จากโรคมะเร็ง เมื่อ Plexus มีการเชื้อมะเร็งแทรกเข้าไป จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปอด ไต หรือมะเร็งของอวัยวะในช่องท้อง โดยจะเริ่มมีอาการปวดแล้วจึงมีอาการอ่อนแรง [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
7.3 รอยโรคที่ plexus จากการฉายแสง มีอาการอ่อนแรงแต่ไม่มีอาการปวดมาก่อน สามารถทำการตรวจ MRI เพื่อแยกว่าเป็นอาการอ่อนแรงจากมะเร็งหรือจากการฉายแสง
7.4 อาการอ่อนแรงจาก thoracic outlet syndome มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่หล่อเลี้ยงโดยเส้นประสาท median และ ulnar เกิดจาก thoracic outlet syndome เช่น accessory cervical ribs โดย finger และ wrist flexor จะเกิดอาการอ่อนแรง ซึ่งเส้นประสาท ulnar จะมีอาการชา สามารถตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท
7.5 อาการอ่อนแรง จาก diabetic amyotrophy มีอาการปวดและอ่อนแรงตามเส้นประสาทที่หล่อเลี้ยงด้วย femoral อาการจะหายไปภายใน 4 สัปดาห์ เกิดจากรอยโรคที่สวนต้นของ lumber plexus
8. อาการอ่อนแรงขาทั้งสองข้างและไขสันหลัง
มีอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นที่สัมพันธ์กับรอยโรคของไขสันหลังและสาเหตุของโรค เช่น รอยโรคไขสันหลังส่วนคอ แขนขาจะมีอาการอ่อนแรง แต่ถ้ามีรอยโรคที่ไขสันหลัง T2 ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้าง เพื่อยืนยันตำแหน่งของรอยโรค ต้องทำการตรวจความผิดปกติของความรู้สึกตาม dermatome ร่วมกับการตรวจความรู้สึกของข้อ การรับรู้การสั่นเพื่อดูรอยโรคที่ posterior column และการตรวจความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะและทวารหนัก
8.1 อาการ spinal shock คือ เมื่อไขสันหลังได้รับบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะมีการลดลงของ spinal reflxes เมื่อตรวจ patholo gical reflexes จะพบ cutaneous และ muscle stretch refle โดยไขสันหลังจะสูญเสียการทำงานต่อรอยโรคของไขสันหลัง ทำให้มีอาการอ่อนแรงของขาแขน สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด สูญเสียการรับรู้อุณหภูมิ ความรู้สึกที่ข้อ และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น อาการปัสสาวะไม่ออก ถ่ายอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น พบในผู้ป่วย bulbocavernosus และ cremasteric reflxes
8.2 อาการ Brown-Sequard คือ ไขสันหลังมีความผิดปกติข้างเดียว โดยมีอาการอ่อนแรงที่แขนขาในด้านเดียวกับรอยโรค แต่สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด การอุณหภูมิ การสัมผัส ด้านตรงข้ามรอยโรค เกิดจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบ
8.3 อาการ Central cord คือ ไขสันหลังตรงกลางเกิดความผิดปกต เกิดจากไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ จะมีอาการอ่อนแรงที่แขนมากกว่าขา อาการปัสสาวะไม่ออก สูญเสียความรู้สึก เช่น เสียความรู้สึกเป็นแถบตาม dermatome จากรอยโรคที่ anterior white commissure
8.4 อาการ anteriro spinal artery เกิดจากไขสันหลังด้านหน้ามีรอยโรคถึง 2 ใน 3 เกิดจากรอยโรคที่หลอดเลือดไขสันหลังส่วนหน้า หรือจากโรคการอักเสบของไขสันหลัง โดยจะมีอาการอ่อนแรงจากรอยโรคที่ corticospinal tract และมีอาการชาจากรอยโรคที่ spinothalamic tract เมื่อตรวจความรู้สึกจะปกติ เนื่องจาก dorsal column อยู่ทางด้านหลังของไขสันหลัง
8.5 อาการร่วมระหว่างรอยโรคที่ posterior และ lateral column ผู้ป่วยจะมีการเดินแบบผิดปกติแบบ spastic-ataxic เกิดจากโรค Freiedrich atax ia, การติดเชื้อ HTLV1 หรือการขาดวิตามินบี 12
[adinserter name=”sesame”]
ลักษณะ อาการอ่อนแรงทั่วร่างกาย
นอกจาก อาการอ่อนแรง แบบซีกเดียวแล้ว ยังมีการอ่อนแรงอีกชนิดหนึ่ง คือ การอ่อนแรงแบบทั่วร่างกาย
ซึ่งสามารถแยกตามลักษณะการอ่อนแรงได้เป็น 2 แบบ คือ
1.เกิดจากรอยโรคที่ upper motor neuron
เกิดขึ้นที่ก้านสมองหรือไขสันหลังส่วนคอเกิดรอยโรค การอ่อนแรงทั่วร่างกายที่เกิดจากรอยโรคที่ก้านสมองนั้น ผู้ป่วยรู้ตัวดี กลอกตาขึ้นลงได้ รวมเรียกอาการนี้ว่า Locked-in ซึ่งเกิดจากอาการ locked-in เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรค osmolar demyelin ating จากความผิดปกติของระดับโซเดียมในเลือด
2.เกิดจากรอยโรคที่ lower motor neuron ในกลุ่ม lower motor neuron ซึ่งสามารแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
2.1 อาการอ่อนแรงแบบที่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
- myasthenia gravis ซึ่งเกิดจากการมีแอนติบอดี้ต่อ post-synaptic nicotinic acetylcholine receptor โดยจะมีอาการอ่อนแรงมากในชาวงสายของวัน หรือกล้ามเนื้อมีการใช้งานซักระยะเรียกลักษณะอาการอ่อนแรงแบบนี้ว่า fatigability จะพบที่กล้ามเนื้อตา ร่วมกับแขนขา กล้ามเนื้อกระบังลมหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน
- Hypokalemic periodic paralysis คือ ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำจึงทำให้เกิดอาการอ่อนแรง เนื่องจากโปแตสเซียมเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์มากเกินไป พบมากในผู้ชายอายุ 20 – 40 ปี พบในผู้ป่วยที่ต่อมไทยรอยทำงานผิดปกติหรือหลังการรับประทานอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณสูง
2.2 การแบบที่อ่อนแรงแบบคงที่ ซึ่งแยกออกเป็นการอ่อนแรงที่เป็นแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
อาการอ่อนแรงเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วน ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจะมาด้วยอาการที่ต่างกัน โดยมักเริ่มจากอาการปวดและอาการชา ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาแพทย์จะต้องทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อสืบหาสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการอ่อนแรงขึ้น เพื่อนำมาซึ่งแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.
ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.
Daroff RB, Fenichel GM, Jankovic J, Mazziotta JC, editors. Bradley’s neurology in clinical practice. Vol 1.6 th ed.2012, Philadelphia. Elsevier Saunders.