โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

ไตวาย ไม่ตายไว

0
ไตวาย ก่อนที่จะไปกล่าวถึงโรคไตวาย ลองมาดูความสำคัญและหน้าที่ของไตกันก่อนว่า ไต คืออะไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไรต่อร่างกายของมนุษย์เรา ไต หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Kidney คือ อวัยวะอย่างหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดงอยู่บริเวณส่วนล่างของช่องท้อง ไตมีสองข้าง คือซ้ายและขวา ไตขวาอยู่ในช่องท้องด้านขวาด้านใต้อยู่ติดกับตับ ส่วนไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมติดกับม้าม มีต่อมหมวกไต ( Adrenal Gland ) อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง โดยจะมีชั้นไขมันสองชั้นห่อหุ้มอยู่ ภายในไตนั้นจะมี 2 ชั้น คือ ชั้นนอก เรียกว่า คอร์เทกซ์ ( Cortex ) ส่วนนี้มีสีแดง ขณะที่ชั้นใน จะเรียกว่า เมดูลลา ( Medulla ) ส่วนนี้มีสีขาว  โรคไตวาย ในทุกๆวันนี้ มีโรคภัยไข้เจ็บมากมายที่เกิดขึ้นกับบุคคลรอบข้างเรา รวมกระทั้งที่เกิดกับตัวเราเองด้วย มีตั้งแต่โรคที่มีความรุนแรงของโรคน้อยจนไปถึงโรคที่มีความรุนแรงของโรคมาก  ซึ่งหากมาลองวิเคราะห์กันดูถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะพบว่า สาเหตุของหลายๆโรค มักมาจากการใช้ชีวิตพฤติกรรมที่ผิดๆ การทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ เป็นส่วนใหญ่ โรค ไตวาย ก็เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มักมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตหรือการกินหาอาหารที่ไม่ถูกต้อง เป็น โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในทุกๆวัน  หากเกิดโรคไตวายขึ้นกับร่างกายจะทำให้ไตที่เป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ปกติเหมือนเดิม จึงทำให้ระบบกลไกในร่างกายมีความผิดปกติตามไปด้วย โรคไตวายมีรายละเอียดอย่างไร จะอธิบายดังต่อไปนี้ หน้าที่หลักของไต คือ เป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับกับระบบปัสสาวะ ทำหน้าที่ กรองของเสีย น้ำ และเกลือแร่ ส่วนเกินในร่างกายออกจากเลือด แล้วจึงทำการขับออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตวายเป็นอย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ ภาวะไตวาย คืออะไร? ภาวะไตวาย ( Renal failure ) หรือ ไตล้มเหลว หรือ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ไตล้ม คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน จนทำงานได้น้อยกว่าปกติหรืออาจทำงานไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียเกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อร่างกาย อาการนี้ส่งผลกระทบต่อดุลของอิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างในเลือด และถ้าเป็นไตวายชนิดเรื้อรัง ฮอร์โมนบางชนิดที่ไตเป็นสร้างขึ้นมา ก็จะลดน้อยลงไปด้วย ทำให้อวัยวะแทบทุกส่วนในร่างกายมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น  ประเภทของภาวะไตวาย เราสามารถแบ่งประเภทของโรคภาวะไตวายออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ภาวะไตวายชนิดเฉียบพัน ( Acute Kidney Failure หรือ Acute Renal Failure ) ไตวายเฉียบพลัน คือ การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีโรคของไตมาก่อน เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต  การกินยารักษาโรคในปริมาณที่มากติดต่อกัน เป็นเวลานาน เกิดการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น อาการไตวายเฉียบพลัน โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายกลับมาได้เป็นปกติ โดยใช้วิธีล้างไต เพื่อนำของเสียและสารพิษต่างๆออก เพื่อให้ไตกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เคยเป็นไตวายเฉียบพันแล้วก็มีความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นไตวายซ้ำได้อีก หรือในบางราย ไตจะค่อย ๆ เสื่อมลงกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค หรือการได้รับการรักษาที่ล่าช้า จนไตเริ่มเสื่อมแล้ว 2. ภาวะไตวายชนิดเรื้อรัง ( Chronic Kidney Failure หรือ Chronic Renal Failure )  ไตวายเรื้อรัง เกิดจากภาวะการที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย อาจจะใช้ระยะเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี โรคนี้จัดเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ที่มีอายุมาก นอกจากภาวะนี้ไตวายเรื้อรัง ยังเป็นผลแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆด้วย  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอื่นๆ โดยโรคเหล่านี้จะไปทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไต และยังรวมถึงการใช้ยาที่มีพิษต่อไตเป็นจำนวนมากอีกด้วย สาเหตุของการเกิดโรคไตวายชนิดต่างๆ สาเหตุในการเกิดโรค ของภาวะไตวายชนิดต่างๆ ...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต

0
เปลี่ยนไต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย  หรือ ไตทำงานได้น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องได้รับการ เปลี่ยนไตจำนวน 1 ข้าง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีไตใหม่มาคอยทำหน้าที่ทดแทนไตเดิม  ซึ่งไตเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้แล้วทั้งสองข้าง  เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเปลี่ยนไต จะมีไตเดิมจำนวน 1 ข้าง และไตใหม่จำนวน 1 ข้าง หากไตใหม่สามารถทำ งานได้ดี เป็นปกติ และไม่มีปฏิกิริยาเหมือนจะต่อต้าน  ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตอีกต่อไปการรับบริจาคไต สามารถรับบริจาคได้จากกลุ่มคนเหล่านี้ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรัง สามารถทำได้อย่างไรมาดูกันค่ะ    ผู้ที่เปลี่ยนไตจะได้รับบริจาคจาก 2 กลุ่ม 1. ผู้บริจาคไตที่เพิ่งเสียชีวิต ผู้บริจาคอวัยะที่เพิ่งจะเสียชีวิต บางแห่งอาจจะต้องรอให้ผู้บริจาคอวัยวะหัวใจหยุดเต้นเสียก่อน  แต่บางที่อาจจะพึ่งการตรวจคลื่นสมองเป็นหลัก  หากสมองตายแล้ว ผู้บริจาคอวัยวะจะสามารถบริจาคอวัยวะได้ทันทีในขณะนั้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องรอให้หัวใจหยุดเต้นก็สามารถทำได้  ซึ่งแพทย์จะจัดเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไต ทันทีที่ผู้บริจาคได้เสียชีวิตลง 2. รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่ รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่หรือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่ว่าจะเป็น พ่อ – แม่ หรือ ญาติพี่น้อง  ลุง ป้า น้าอา หรือแม้กระทั่งหลาน หากเป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกัน ย่อมสามารถบริจาคไตให้แก่กันได้ ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้ เราสามารถบริจาคไตที่ไหนได้บ้าง สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคไต  สามารถแสดงความจำนงได้ที่ศูนย์บริจาคไต  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานของสภากาชาดไทย  หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลประจำจังหวัด  หรือ โรงพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์   หลังจากที่ผู้บริจาคได้ทำเรื่องเพื่อขอบริจาคไตแล้ว  ควรแจ้งให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดทราบด้วย  ซึ่งญาติและผู้ใกล้ชิด จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ และเซ็นชื่อยินยอม เพื่อให้แพทย์ได้ผ่าตัดเอาไตของผู้บริจาคไปให้กับผู้รับบริจาค หากต้องการบริจาคไตให้ญาติ ต้องตรวจอะไรบ้าง? ผู้บริจาคไต จะต้องได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อที่จะสามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด ว่าผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ดังนี้  1. วัดความดันเลือดและชีพจร  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง 2. ต้องตรวจเลือดดูการทำงานของไต  ซึ่งไตต้องปกติและต้องไม่เป็นเบาหวาน 3. ต้องทำการตรวจปัสสาวะ ซึ่งต้องปกติเท่านั้น 4. ตรวจอัลตราซาวน์  ต้องพบว่าไม่มีโรคร้ายแรง 5. ต้องตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด 6. ต้องถูกประเมินทางจิตเวช หลังจากที่ได้มีการบริจาคไตให้กับญาติ  ผู้บริจาคควรดูแลตนเองอย่างไร ? เมื่อผู้บริจาคได้รับการผ่าตัดไตออกไปแล้ว  ผู้บริจาคจะเหลือไตเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น  เพราะฉะนั้น ผู้บริจาคควรระมัดระวัง และควรดูแลตนเอง โดยจะต้องนอนพักฟื้น 2 – 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ ได้  และช่วงในระยะพักฟื้น ควรหมั่นลุกขึ้นเดินบ่อยครั้ง เพื่อบริหารร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป  อีกทั้งในช่วงระยะแรก ไม่ควรให้ แผลเปียกน้ำเป็นอันขาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ และ ผู้บริจาคจะต้องไม่ยกของหนัก นอกจากนี้  ผู้บริจาคควรดูแลสุขภาพให้เต็มที่ เพื่อที่จะสามารถกลับมามีสุขภาพเป็นปกติ และ แข็งแรงเหมือนเดิม หากต้องการบริจาคไตให้กับสภากาชาดไทย ต้องทำอย่างไร ? 1. ผู้บริจาคจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือ ควรมากกว่า 18 ปี และไม่ควรอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ 2. ผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง  และ ไม่เป็นโรคเบาหวาน 3. เมื่อตรวจสภาพร่างกายแล้ว ต้องพบว่าไตของผู้บริจาคสามารถทำงานได้เป็นปกติ  พร้อมทั้งไม่มีประวัติว่าเป็นโรคเรื้อรัง  4. ไม่มีภาวะโรคอ้วน 5. ผ่านการประเมินทางจิตเวช คุณสมบัติของผู้รับบริจาคไต 1. เป็นผู้ป่วยที่กำลังรักษาตนเองด้วยการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2. อายุของผู้ป่วยจะต้องไม่เกิน 60 ปี  หากเป็นผู้ป่วยเด็กจะต้องไม่เกิน 5 ปี 3. ผู้ปวยไม่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง 4....
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

วิธีการบำบัดทดแทนไต ( Kidney Replacement Therapy )

0
การบำบัดทดแทนไต การบำบัดทดแทนไต คือวิธีการรักษาอย่างหนึ่งที่ใช้ทดแทนหน้าที่ของไตในการฟอกเลือดและกรองเลือด ใช้ทำหน้าที่แทนไตเมื่อไตทำงานไม่ได้หรือทำงานได้ไม่เพียงพอ เรียกว่าไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไตมีหลายวิธี ได้แก่ การแยกสารผ่านเยื่อ การบำบัดทดแทนไตสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้  1. การบำบัดทดแทนไตแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส   สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล โดยจะต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งด้วยกัน 2. การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไต โดยใช้น้ำยาทางช่องท้อง หรือ ซีเอพีดี  สามารถทำเองได้ที่บ้าน และต้องทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ปกติแล้วแพทย์จะอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญให้กับผู้ป่วยและญาติได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือแม้กระทั่งข้อเสีย รวมไปถึงการให้คำแนะนำพร้อมทั้งวิธีทำที่เหมาะสม  แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาตามสภาวะร่างกาย การใช้ชีวิต และภาวะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ในกรณีที่ต้องทำการตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยจะเลือกฟอกเลือดและทำการล้างไตโดยใช้วิธีใด  ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนกระทั่ง ญาติ  สามารถร่วมตัดสินใจด้วยได้  เนื่องจากผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะทำการตัดสินใจได้ยาก เพราะมีปัญหาทางด้านการเงิน หรือ การใช้สิทธิ์ในแต่ละครั้งผ่านการรักษาโดยตรง >> ผู้ที่บริจาคไตต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง อยากรู้บทความนี้มีคำตอบค่ะ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงใช้สิทธิ์รักษา 30 บาท สามารถรักษาได้ทุกโรคนั้น  ผู้ป่วยจะสามารถเบิกได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำการล้างไตทางช่องท้อง  ถ้าเป็นวิธีการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเอง  แต่ข้อสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ  ผู้ป่วยและญาติจะต้องมีความเข้าใจ  การล้างไตจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำอย่างถูกต้องเท่านั้น พร้อมทั้งจะต้องสังเกตอาการผิดปกติอยู่ตลอดเวลาร่วมด้วย หากต้องเปลี่ยนจากการล้างไตทางหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยพบว่า ตนเองจะต้องทำการเปลี่ยน จากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดแทนนั้น  ผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ผ่านการให้ฟอกเลือดแบบชั่วคราว หรือ ถาวร ดังนี้ ข้อบ่งชี้  ให้ทำการฟอกเลือดแบบชั่วคราว  อาจจะมีอาการอักเสบของช่องท้อง ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น  ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดจากเชื้อรา หรือ มีอาการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย  ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอวัยวะในช่องท้อง หรืออาจจะมีไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้ทำการแก้ไข  ผู้ป่วยมีช่องทางติดต่อระหว่างอวัยวะภายนอก หรือ ผู้ป่วยมีลักษณะอ้วนมาก  ข้อบ่งชี้ ให้ฟอกเลือดแบบถาวร  เกิดเหตุการณ์น้ำยารั่วออกจากช่องท้องอย่างเป็นประจำ  เยื่อบุทางช่องท้อง ดูเหมือนจะเป็นพังผืดจนไม่สามารถวางสายได้ หรือ รอยของโรค จะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าปกติทั่วไป  ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง  จนไม่สามารถล้างหน้าผ่านทางหน้าท้องได้ การบำบัดไตทดแทนแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม สำหรับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส นั้น  จะต้องทำภายในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์หน่วยไตเทียมเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเครื่องฟอกเลือดโดยประมาณ 460 เครื่อง โดยกระจัดกระจายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน  รวมไปถึงมูลนิธีต่าง ๆ ร่วมด้วย   หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือดแล้ว ผู้ป่วยจะมีลักษณะดีขึ้น สดชื่นขึ้น  พร้อมทั้งมีความสมดุลของน้ำและเกลือแร่เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังคงช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย วิธีการฟอกเลือด สำหรับวิธีการฟอกเลือดนั้น  จะเป็นการนำเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะในบริเวณที่เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว  ซึ่งจะมีการผ่านเข้ามาภายในตัวกรองของเสียของเครื่องไตเทียม  เพื่อให้เครื่องไตเทียมได้ทำการกรองของเสียเสียก่อน สำหรับเลือดที่ถูกกรองแล้วนั้น จะไหลกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำอีกครั้ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่ได้เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว เช่นกัน  ขั้นตอนการฟอกเลือด 1. ผู้ป่วยจะถูกทำความสะอาดบริเวณแขน และ บริเวณที่จะวางอุปกรณ์ ที่จะมีการฟอกเลือดโดยตรง เพื่อให้ปราศจากเชื้อโรค 2. เจ้าหน้าที่ทำการแทงเข็มจำนวน 2 เข็ม  ซึ่งเข็มแรกจะแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำที่ถูกเตรียมเอาไว้  ส่วนเข็มที่สองจะถูกแทงเข้าไปยังหลอดเลือดเส้นเดียวกัน แต่จะอยู่ทางด้านเหนือของทิศทางเลือดำไหล  เพื่อเป็นช่องทางในการนำเลือดที่ดี ที่ได้รับการฟอกแล้ว กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง 3. เมื่อผู้ป่วยฟอกเลือดเสร็จแล้ว  พยาบาลจะดึงเข็มออกทันที  และใช้ผ้ากอสปราศจากเชื้อ ทำการกดหลอดเลือดไว้ แล้วใช้พลาสเตอร์ปิดเอาไว้ให้แน่น  ส่งผลทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง  โดยการฟอกเลือดจะทำสัปดาห์ละ 2 – 3...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวายเฉียบพลันและโรคไตวายเรื้อรัง

0
ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลัน หรือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรง ย่อมได้รับผลกระทบต่อร่างกายในทุก ๆ ส่วน โดยเฉพาะการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ตามมา ดังนี้   พยาธิสภาพโรคไตวายเรื้อรัง อาการภาวะแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง ถือได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคชนิดนี้ การระมัดระวังรวมไปถึงการสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาที่ มีอาการผิดปกติ มีโอกาสช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น เพราะญาติและผู้ป่วยเอง จะสามารถบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแพทย์ได้ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยตามอาการ และถ้าค้นพบภาวะแทรกซ้อนและรักษาได้ทันท่วงที ย่อมสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน 1. อาการผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ หรือ ขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น บางครั้งก็อาจจะมีผลมาจาก สาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ผู้ป่วยอาจจะได้รับน้ำเข้าทางหลอดเลือดเพิ่มเติมหรือมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาได้น้อยรวมไปถึงผู้ป่วยไม่ได้รักษาความสมดุลของเกลือและน้ำ 2. หัวใจขาดเลือดส่งผลอย่างไรกับไตวาย ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้องอาจจะมีอาการปวดศีระษะ หรือ เวียนศีรษะร่วมด้วย หรือ อาจจะเกิดหัวใจวายขึ้นได้ ในกรณีนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย อาการของผู้ป่วยโดยรวม คือ มีอาการหอบเหนื่อย สะอึก ใจสั่น รู้สึกเจ็บหน้าอก ปวดกราม ปวดหู ปวดคอหรือช่วงไหล่ ปวดหรือชาที่บริเวณหน้าอก บ่า และแขน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน>> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ >> อาการของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ 3. ผู้ป่วยมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากไตได้ขับของเสียออกน้อยลง ส่งผลทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ หรือ เต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีเนื่องจากมีโปแตสเซียมในเลือดสูงหรืออาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยไตวาย มักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติหรือขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น 4. ผู้ป่วยที่มีอาการความดันเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ 4.1 ความดันเลือดสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่นัก ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรมากนัก 4.2 ความดันเลือดสูงมากขึ้น แถมโพแทสเซียมก็ยังคงสูงตามไปด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริวง่าย และอาจจะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ชีพจรเต้นเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย บวกกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง 4.3 ผู้ป่วยมีโซเดียมต่ำร่วมด้วย ซึ่งในกรณีนี้ร่างกายของผู้ป่วยจะมีน้ำคั่ง มีอาการสับสน หมดสติ ท้องเดิน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีโซเดียมสูง ผู้ป่วยจะมีอาการชา กระตุก มือจีบ เป็นต้น 4.4 หากผู้ป่วยมีแมกนีเซียมสูง ฟอสเฟตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึม หัวใจเต้นช้าลง 5. ผู้ป่วยที่มีภาวะซีดหรือมีภาวะเลือดจาง  สามารถพบกรณีนี้ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลทำให้อาการภาวะไตวายรุนแรงขึ้น ซึ่งสภาวะเลือดจาง หรือ เลือดซีด จะส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม หรือ ไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ ขี้หนาว ซึ่งผู้ป่วยไตวาย ยังสามารถมีภาวะซีดมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้ ภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการเจาะเลือดบ่อย ๆ ผู้ป่วยที่เสียเลือดในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่าย ผู้ป่วยเสียเลือดระหว่างการฟอกเลือด ผู้ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย 6. ผู้ป่วยที่มีภาวะยูเรียหรือระดับยูเรียสูงมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไม่สมดุลของค่าอีเล็คไตรไลท์ โดยมีโซเดียม ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสเฟต และน้ำคั่ง แถมเลือดยังเป็นกรดอีกด้วย 7. ผู้ป่วยที่ระบบประสาทส่วนปลายอักเสบ จนถูกทำลาย ผู้ป่วยมักจะมีอาการร้อนที่บริเวณเท้า เมื่อแตะเท้าจะรู้สึกเจ็บปวด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องขยับเท้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้เกิดการทรงตัวที่ไม่ดี 8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน โดยมีสาเหตุมาจาก ไตเสียหน้าที่ที่จะสังเคราะห์วิตามินดี ( Vitamin D )...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง

0
วินิจฉัยโรคไต การ วินิจฉัยโรคไต แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตตามขั้นตอนโดยจะต้องอาศัยข้อมูล พร้อมทั้งประวัติและอาการของผู้ป่วยที่แสดงได้อย่างชี้ชัด  พร้อมทั้งผลการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย  1. แพทย์ทำการซักประวัติ พร้อมทั้งอาการป่วย ซึ่งแพทย์อาจจะสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างไรบ้าง  ปัสสาวะได้ดีแค่ไหน และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น 2. แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ แพทย์อาจดูผิวหนัง รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ดูลักษณะของทรวงอก การหายใจที่มีกลิ่นยูเรีย การค้นพบความดันเลือดต่ำ หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย  หรือ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ การค้นพบอาการปากอักเสบ  ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง เป็นต้น เมื่อฟังเสียงปอดแล้วมีเสียงกรอบแกรบ ปัสสาวะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ซึม หรือ หมดสติ 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เจาะเลือด เพื่อตรวจดูการทำงานของไต และดูค่าบียูเอ็น และ ครีเอตินีน พร้อมทั้งตรวจดูของเสียคั่งค้าง การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจปัสสาวะ ว่ามีไข่ขาว หรือ สารเคมี พร้อมทั้งสิ่งปกติหรือไม่ 4. การประเมินอาการความรุนแรงของโรคไตวาย  การตรวจดูค่าครีเอตินีน เคลียรานส์  พร้อมทั้งเจาะเลือดหาค่าครีเอตินีน เจาะเลือดตรวจอีเลคโตรไลท์  เพื่อดูค่าโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสเฟต และสภาวะเลือดเป็นกรด ค่าปกติของโปรตีนและค่าอัลบูมินจากปัสสาวะ ปกติแล้ว ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว  ค่าปกติน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าอัลบูมินในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติต้องน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน  ส่วนไมโครอัลบูมิน  ค่าจะอยู่ที่ 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าอัลบูมินในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว ค่าปกติจะน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวันส่วนไมโครอัลบูมินจะอยู่ที่ 30 -300 มิลลิกรัมต่อวัน >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกัน >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรังทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ การวินิจฉัยโรคไตวายและแยกแยะโรคที่มีอาการใกล้เคียง ในกรณีที่ ไตวายเฉียบพลัน  มักจะมีอาการรุนแรง และ เฉียบพลันส่วน ภาวะไตวายเรื้อรัง  เป็นอาการป่วยที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ไม่ได้เฉียบพลัน  ซึ่งอาการส่วนใหญ่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย  จำเป็นจะต้องตรวจดูการทำงานของไตเป็นหลักการแยกแยะโรค ผู้ป่วยและญาติจำเป็นจะต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งดูความสัมพันธ์ที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้  เพื่อที่จะสามารถแจ้งอาการทั้งหมดให้แพทย์ทราบได้อย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตและแยกแยะได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ หากผู้ป่วยและญาติ สามารถบอกอาการได้มากพอและมีความชัดเจน    โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคไตวาย 1. อาการปวดบั้นเอว  อาจจะมีอาการปวดร้าวไปถึงขาหนีบ  ซึ่งอาจจะเกิดมาจากโรคถุงน้ำในไต ซึ่งสามารถแยกโรคนี้ออกจากโรคไตวายได้เช่นกัน 2. อาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือ เป็นน้ำล้างเลือด และมีอาการปวดบั้นเอวร่วมด้วย อาจจะเกิดจากโรคมะเร็งที่ไต  มีนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ  มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ  มีก้อนนิ่วหลุดออกมา เป็นต้น 3. อาการปัสสาวะน้อย หรือ ไม่มีปัสสาวะ อาจจะเป็นโรคที่เกิดจาก เลือดออกในทางเดินอาหารมาก  กระเพาะอาหารทะลุ  ร่างกายขาดน้ำมาก เนื่องจากท้องเสีย  ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น  มีอาการต่อมลูกหมากโต  การบวมบริเวณท่อปัสสาวะโดยตรง  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด หรือ ผู้ป่วยฉีดยาเข้าเส้นประสาทหรือไขสันหลัง  เป็นต้น 4. อาการบวม  สามารถพบได้ในโรคหน่วยไตอักเสบ ,โรคไตเนฟโฟรติก โรคตับเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย โรคท่อน้ำเหลืองอุดตัน บวมจากอาการแพ้ยา 5. อาการซีด...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย

0
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย  มักจะต้องได้รับโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสม กับช่วงระยะของอาการไตวายที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ซึ่งการรับประทานโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสมนั้น จะช่วยทำให้ลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนกระทั่งลดอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่ง อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย จะถูกจำกัดสารอาหารต่างๆตามระยะของโรค การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3 ต้องจำกัดโปรตีน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 4 – 5 ต้องจำกัดและควบคุมอาหารมากขึ้น  ต้องระมัดระวังเรื่องฟอสเฟต และ โพแทสเซียม อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย หลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายไต  จะต้องควบคุมอาหารเหมือนกับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ซึ่งจะต้องพิจารณาไตใหม่ด้วยว่า สามารถทำงานได้ดีหรือไม่ อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายหลังจากล้างไตหรือทำการฟอกเลือด   ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารโปรด ตามใจผู้ป่วยได้บ้างแต่ต้องไม่มาก  เพราะจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อย ๆ  ถึงแม้ว่าจะทำการล้างไตแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม   สามารถทำได้ในช่วงเวลา 8 – 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สามารถกำจัดของเสียได้เพียง 6 – 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง   ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน  วิธีนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติ >> โปรตีนมีความสำคัญมากแค่ไหนต่อร่างกาย อยากรู้ตามมาดูกันค่ะ >> โปแตสเซียมในร่างกายมีความจำเป็นอย่างไร อยากรู้หาคำตอบได้ที่บทความนี้ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีโอกาสขาดสารอาหาร 1. โรคไต ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร 2. การจำกัดอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย ส่งผลทำให้เหลือแต่เมนูอาหารรสจืด และ มีเมนูอาหารน้อยลง  ทำให้ผู้ป่วยเบื่อที่จะรับประทานอาหาร และอยู่ในสภาวะเครียด 3. มีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปกับการบำบัดไต  โดยเฉพาะโปรตีน 4. ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโปรตีนมากยิ่งขึ้น  โปรตีนที่ผู้ป่วยไตวายต้องการ โปรตีน นับได้ว่าส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และ เนื้อเยื่อภายในร่างกาย และโปรตีนยังคงมีความจำเป็นในการเสริมสร้างฮอร์โมน ภูมิต้านทาน และกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราทั้งหมด เมื่อมีการย่อยสลายโปรตีนที่เราได้รับประทานเข้าไปในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดของเสียในรูปแบบยูเรีย  ทำให้เป็นสาเหตุที่จะต้องจำกัดโปรตีน  โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการล้างไต หรือ ทำการฟอกเลือดแล้ว  ผู้ป่วยจะสามารถเพิ่มโปรตีนขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ขาดสารอาหาร แต่ต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัม หรือ วันละ 6 – 8 ช้อนโต๊ะ ซึ่งระดับยูเรียจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินวันละ 20 มก./ดล.เท่านั้น ผู้ป่วยไตวายระดับที่ 4 – 5   ในกลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง  มักจะต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัมต่อวัน  ส่วนผู้ป่วยที่ทำการฟอกไต  ควรได้รับโปรตีน 1.1 - 1.4 กรัมต่อวัน โปรตีนแบบไหนที่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยไตวาย โปรตีนที่มีความสมบูรณ์และมีกรดอะมิโนอย่างครบถ้วน  ส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ที่สามารถย่อยได้ง่าย  ไม่ว่าจะเป็นไข่ขาว กบ กุ้ง และ ไก่  รวมไปถึงกรดไขมันชนิดดี ได้แก่ โอเมก้า 3 โปรตีนจากพืช  อย่างเช่น  ถั่วชนิดต่าง ๆ เต้าหู้  เป็นต้น โปรตีนภายในถั่วเมล็ดแห้ง  อาจจะต้องระวังโพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส โปรตีนจากไข่ขาว  สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดไปได้ ซึ่งไข่ขาวจำนวน 1 ฟอง จะเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์สุกแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ การพิจารณาว่าผู้ป่วยได้รับโปรตีนเพียงพอหรือยัง  มีวิธีดังนี้ ประเมินจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน 

0
โรคไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเฉียบพลัน ถือได้ว่าเป็นโรคภัยที่รุนแรงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างเร่งด่วนทันที  หากล่าช้าอาจจะส่งผลต่อชีวิตได้ แต่ถ้าหากสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันเวลา ไตจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา และสามารถทำงานได้เป็นปกติภายใน 3 วัน แต่ถ้าหากปล่อยให้ไตถูกทำลายมากๆ อาจจะส่งผลทำให้เป็นโรคไตวาย  เรื้อรังได้เช่นเดียวกัน  กระบวนการรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน 1. ค้นหาสาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน  การแก้ไขสภาวะช็อค หากค้นพบว่าร่างกายขาดน้ำและขาดเลือด  จะมีการรักษาโดยการให้เลือดและสารน้ำ หรือ พลาสม่า อย่างรวดเร็ว มีการให้ยาแก้อักเสบติดเชื้อ หยุดรักษาด้วยยาที่ส่งผลทำให้เกิดอาการไตวาย หากค้นพบว่ามีสาเหตุมาจาก การเกิดภาวะอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดอาการไตวาย ในรูปแบบเบื้องต้น แล้วจึงค่อย ๆ รักษา โดยการหยุดภาวะอุดตันที่เกิดขึ้น 2. การรักษาโรคไตวายเฉียบพลันโดยใช้ยา เพื่อรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลัน ส่งผลทำให้ไตสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะให้มากกว่าเดิม  โดยอาจจะใช้ยาเพื่อกระตุ้นหลอดเลือด หรือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 3. การรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลันแบบประคับประคอง รวมไปถึงมีการรักษาอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 4. หากอาการของผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันยังคงไม่ดีขึ้น  อาจจะมีการรักษาด้วยการฟอกเลือด  เพื่อที่จะทำการขับของเสียออกจากร่างกาย  โดยต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง การควบคุมอาหารและน้ำ ในผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน มักจะขาดสารอาหาร  เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง  รวมไปถึงมีการสลายตัวของโปรตีนภายในร่างกาย   ซึ่งในช่วงที่โรคไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง จำเป็นจะต้องจำกัดน้ำและอาหาร ที่ส่งผลและ เพิ่มภาวะให้กับไต  แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว  การจำกัดน้ำและอาหาร สามารถผ่อนหรือเบาลงได้ตามความเหมาะสม  วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเลือดเป็นกรด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  เนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับกรด  พร้อมทั้ง โพแทสเซียม ออกจากร่างกายได้ หากผู้ป่วยมีอาการภาวะเลือดเป็นกรดอยู่นาน จะส่งผลทำเกิดการสร้างกระดูกที่ลดลง ส่งผลทำให้สูญเสียมวลเนื้อเยื่อได้ในที่สุด  ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้ 1. มีการให้ยา เคเอกซาเลท  แพทย์ส่วนใหญ่จะต้องระมัดระวังการให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วย เพราะจะส่งผลทำให้โซเดียมสูงขึ้นได้  ทำให้เกิดภาวะบวมตามมา และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน 2. ในช่วงที่ซีรั่มไบคาร์บอเนตในเลือดต่ำกว่า 10 มิลลิอีควาเลนซ์ต่อลิตร  แพทย์อาจจะให้ยาโซเดียมไบคาร์บาเนต ในปริมาณที่ต่ำกว่าการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นอาจจะมีการปรับขนาดของยา 3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด หรือ โพแทสเซียมในเลือดสูงได้  แพทย์อาจจะต้องทำการล้างไต หรือ ฟอกเลือด>> โปแตสเซียมในร่างกายมีความจำเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ วิธีการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง ภาวะโพแทสเซียมสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันขั้นรุนแรง หรือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามร่างกายสูงมาก  ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลดลงได้ รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีอาการอ่อนแรง  คลื่นไส้ และ ท้องเดิน ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้    1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง   แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร ถ้าไม่ดีขึ้นจึงจะให้ยาไปรับประทาน 2. ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง  แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร พร้อมกับให้ยาไปรับประทานร่วมด้วย 3. ผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมสูงอย่างรุนแรง  แพทย์จะให้ยาสองตัว ซึ่งเป็นยาที่ช่วยดึงโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ภายในร่างกาย  กับ ยาที่ช่วยขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย  ซึ่งออกทางปัสสาวะ 4. ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหาร ที่ส่งผลทำให้เกิดโพแทสเซียมสูง และจำเป็นจะต้องระมัดระวังยาที่ทำให้โพแทสเซียมสูงขึ้นด้วย 5. ผู้ป่วยจะต้องติดตาม ดูค่าโพแทสเซียมในเลือดอย่างเป็นประจำ การรักษาภาวะฟอสเฟตสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วงระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะมีความเสี่ยงต่อระดับของค่าฟอสเฟสภายในเลือด ซึ่งอาจจะสูงกว่า 7.0 มิลลิกรัม ผู้ป่วยที่มีภาวะฟอสเฟสสูง  สามารถรักษาได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณฟอสเฟตจากอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะต้องงดอาหารที่มีฟอสเฟตสูงเป็นสำคัญ 2. ผู้ป่วยจะต้องเสริมอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยจะต้องรับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น 3. ผู้ป่วยจะต้องคุมระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ  ซึ่งค่าแคลเซียมจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 9.0 – 10.2 มิลลิกรัม%   ส่วนค่าฟอสเฟต  จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ?

0
ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ไตวาย เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด จนไม่สามารถขับของเสีย ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย ไตถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไตคือ การขับถ่ายของเสียภายในร่างกาย และ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารในรูปแบบน้ำและเกลือแร่ที่มีอยู่ภายในร่างกายให้มีความสมดุลโดยปกติแล้วไตของคนเราจะมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วแดงมีสีน้ำตาลอมแดงและมีขนาดเท่ากับกำปั้นของคนเรา สำหรับกลุ่มคนในวัยผู้ใหญ่ ไตจะมีความยาวประมาณ 10–13 เซนติเมตรโดยที่ไตจะมีน้ำหนักข้างละไม่เกิน 120–170 กรัม ตำแหน่งของไต ตำแหน่งของไตจะอยู่ฝั่งซ้ายและขวา บริเวณส่วนหลังตรงบั้นเอว โดยไตจะอยู่นอกช่องท้อง ซึ่งไตข้างซ้ายจะอยู่ข้างหลังของกระเพาะอาหาร และไตข้างขาวจะอยู่ข้างหลังของตับ หน่วยของไต ไตแต่ละข้าง มักจะมีหน่วยไตข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจะคอยทำหน้าที่ในการกรองน้ำเลือด ในแต่ละวันไตจะมีเลือดผ่านไตประมาณ 20–30 เปอร์เซ็นต์ของเลือดที่ออกมาจากหัวใจหรือคิดเป็นประมาณ 1.2 ลิตรต่อนาทีหรือ 1,700 ลิตรต่อวัน เมื่อไตได้มีการกรองน้ำเลือดเพื่อที่จะเอาสารต่างๆ ที่มีความจำเป็น กลับคืนสู่ร่างกายของคนเราแล้ว ไตก็จะทำหน้าที่ในการขับของเสียออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งของเสียส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ กลุ่มคนวัยผู้ใหญ่จะปัสสาวะวันละ 1–2 ลิตร >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรังทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตวายเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ หน้าที่ของไตคืออะไร 1. ไต ทำหน้าที่ขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ ของเสียส่วนน้อยจะถูกขับออกทางเหงื่อ หากใครมียูเรียคั่งภายในกระแสเลือดมากๆ ก็อาจจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาเจียน นอนไม่หลับ หรืออาจจะมีอาการชักและไม่รู้สึกตัว โดยปกติแล้วคนเราจะมียูเรีย 2.5 – 7.5 มิลลิโมลต่อ ลิตรเท่านั้น 2. ไต จะทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย หากน้ำและเกลือแร่มีมากเกินความจำเป็น ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ในกรณีผู้ป่วยไตวายที่ไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ความดันโลหิตอาจจะสูง อีกทั้งผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกไปได้ อาจจะส่งผลทำให้หัวใจของผู้ป่วยเต้นผิปกติ หรือ หัวใจหยุดเต้นได้เช่นกัน 3. ไตทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่กระแสเลือด    4. ไต ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุล ทั้งกรดและด่างภายในร่างกาย โดยที่กรดภายในร่างกาย จะมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง และ น้ำตาล ส่วนด่าง จะมาจากอาหารประเภทผักและผลไม้รสเปรี้ยวหรือ ไม่หวานจัด 5. ไต คอยทำหน้าที่ผลิต และคอยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนบางชนิดภายในร่างกาย อย่างเช่น ฮอร์โมนอีริทโทรพอยอิติน หรือ อีโป้ วิตามินดีในรูปแบบที่สามารถทำงานได้ สังเคราะห์พรอสตาแกลนิน เป็นต้น หากไตไม่สามารถทํางานได้ตามปกติจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย เมื่อไตไม่ทำงาน อาจมีสาเหตุจากอาการไตวายเฉียบพลันหรืออาการไตวายเรื้อรัง เรามาดูกันว่าอะไรคือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง? อาการไตวายเฉียบพลัน อาการไตวายเฉียบพลัน คืออาการที่ไตมีลักษณะสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้น้ำและของเสียไม่ได้ถูกขับออกมาจากร่างกาย ปัสสาวะอาจจะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน ทำให้มีของเสียคั่งภายในเลือดจนกระทั่งเป็นพิษต่อร่างกาย รวมไปถึงมีการคั่งของน้ำและเกลือแร่ส่งผลทำให้เสียสมดุลของเกลือแร่และเสียสมดุลความเป็นกรดและเป็นด่างภายในเลือดอีกทั้งอาจจะทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตนำไปสู่ความผิดปกติตามอวัยวะต่างๆภายในร่างกายได้ อาการไตวายเรื้อรัง อาการไตวายเรื้อรัง คือเนื้อไตได้ถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องโดยระยะแรกอาจจะไม่มีอาการอะไรส่งผลทำให้การทำงานของไตเสียไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงนี้อาการจะเริ่มแสดงออก ถ้าหากอาการรุนแรงขึ้นเนื้อไตจะมีลักษณะฝ่อและเหี่ยวลงหรืออาจจะเกิดพังผืดแทรกภายในเนื้อไตสำหรับเนื้อไตส่วนที่ยังดีอยู่นั้นจะต้องคอยทำหน้าที่ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทดแทนไตส่วนที่เสียได้ เมื่อเนื้อไตปกติต้องทำงานมากยิ่งขึ้น จึงมีลักษณะใหญ่โตขึ้น เรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีการรักษาแล้วก็ตาม แต่ไตที่วายเรื้อรัง จะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติ หรือ ดีขึ้นได้ การเข้ารับการรักษาจะสามารถช่วยทำให้ไตไม่เสียเร็วขึ้นกว่าเดิมและจะมีอาการดีขึ้นส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยเหนื่อยง่าย อีกทั้งการรักษาในแต่ละครั้งจะช่วยชะลอการเกิดอาการแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ในกรณีที่ไตวายเพียงข้างเดียวและไตอีกข้างยังคงสามารทำหน้าที่แทนได้นั้น แพทย์อาจจะทำการรักษาด้วยการดูแลไม่ให้ไตมีอาการแย่ไปกว่าเดิม โดยที่ผู้ป่วยจะต้องระวังอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน และรสมันเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไตวายทั้ง 2 ข้าง และมีอาการรุนแรงหรือผู้ป่วยอยู่ในช่วงไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการดูแลตนเองให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการฟอกเลือดหรือทำการล้างไต แต่หากรุนแรงและมีอาการเรื้อรังจำเป็นจะต้องรักษาแบบนี้ตลอดไปจนกว่าจะทำการปลูกถ่ายไตได้ในที่สุด  สาเหตุของอาการไตวาย 1. มีเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง จนกระทั่งกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน อีกทั้งยังคงมีการหลั่งฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติค โดยทั้งสองกรณีจะส่งผลทำให้น้ำถูกดูดกลับไปที่ไตมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะลดลง เกิดอาการเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ ตลอดจนกระทั่งมีของเสียคั่งในเลือดมากขึ้น 2. ทางเดินปัสสาวะเกิดการอุดตัน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากรวยไตลงมาส่งผลทำให้เกิดความดันในส่วนที่อยู่เหนือการอุดกั้นเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างรวดเร็วเมื่อไตไม่มีการกรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะจึงทำให้เกิดของเสียคั่งภายในเลือด ของเสียคั่งภายในเลือดเกิดจากไตไม่กรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะ 3. ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลทำให้เกิดความดันเลือดน้อยลงโดยเลือกไปเลี้ยงที่ไตลดลงในขั้นแรกหากความดันเลือดยังมีมากกว่า...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

ตำแหน่งของไตและการรักษาไตวายเรื้อรัง

0
ไตวายเรื้อรัง การรักษา ไตวายเรื้อรัง นั้น ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไต ส่วนใหญ่เน้นการรักษาแบบประคับประคอง บรรเทาอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยชะลอการดำเนินโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนั้นยังต้องรักษาโรคร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายด้วย เช่น ให้ยาควบคุมเบาหวาน รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไตไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป ให้ยาควบคุมความดันเลือดสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไตก็จะเสี่ยมช้าลง ให้ยารักษาโรคเกาต์ ผ่าตัดนิ่วในไต เป็นต้น การรักษาไตวายเรื้อรังแบบประคับประคอง ควบคุมอาหารและน้ำ เลือกอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ จำกัดโปรตีน เกลือโซเดียม ฟอสเฟต โพแทสเซียม ซึ่งจะเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าคนปกติดูแลตนเองอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ไตเสื่อมกว่าเดิม โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลงดังนี้ 1.ทุกวันควรพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ระบบฮอร์โมนทำงานเป็นปกติ 2. ควรใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการสำรวจร่างกายและผ่อนคลายด้วยการฝึกโยคะหรือนั่งสมาธิ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 3.ออกกำลังกายแบบเเอโรบิคตามสภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค ลีลาศ ว่ายน้ำ ให้ถึงระดับเหนื่อยพอควร ครั้งละ 30 - 45 นาที สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง และควรฝึกกล้ามเนื้อด้วย เช่น ฝึกยกดัมเบลล์ ฝึกกับขวดน้ำ หรือใช้ยางยืดเข้ามาช่วย สัปดาห์ละ 2 - 4 ครั้ง 4.ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน งดปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคไตวาย งดบุหรี่ สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้ง ยาต่อไปนี้ด้วย 4.1 ยาแก้ปวด แก้อักเสบ กลุ่มเอนเซ็ด 4.2 ยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ 4.3 การฉีดสารทึบรังสี 4.4 สมุนไพรที่รับประทานอย่างเข้มข้นหรือต่อเนื่อง ควรรับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับขนาดยาเอง หรือซื้อยาใช้เอ เพราะยาหลายชนิดที่มีพิษต่อไตระวังและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูง ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะบวมและความดันเลือดสูง รวมทั้งระวังและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวายเรื้อรังระยะที่ 4-5 ดูแลรักษาเพิ่มเติม การฟอกเลือดหรือล้างไต จะช่วยลดอาการคั่งของเกลือ ของเสีย ในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการบวม หอบ เหนื่อย ชัก กระดุก รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะหายไป >> ผู้ที่บริจาคไตต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ? >> อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตวาย5.ศึกษาเรียนรู้เรื่องการบำบัดทดแทนไต ดูข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี ค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์จากบัตรที่มีอยู่ หรือการช่วยเหลือจากรัฐ หรือจากประกันชีวิต หรือหน่วยงานอื่นๆ ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในคนที่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่ทั้งสองข้าง ฉีด 3 ครั้ง คือ เดือนที่ 0  1 และ 6 ติดตามตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นหรือยังที่ 1 เดือนหลังเข็มสุดท้าย ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานขึ้นมาป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ แต่ถ้าฉีดครบแล้วยังไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น ต้องทำการฉีดซ้ำและตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบ 3 เข็งเหมือนเดิม ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะวัคซีนชนิดนี้คุ้มกันได้เพียงปีเดียว ผู้ป่วยโรคไตวายระยะท้าย ควรตรวจอัลบูมินในซีรั่มทุก 3-6 เดือน โดยอัลบูมินไม่ควรต่ำกว่า 3.5 กรัม% การบำบัดทดแทนไต หรือเรียกว่า การฟอกเลือด การล้างไต จะกระทำเมื่อมีของเสียคั่งอย่างมาก รักษาด้วยยาและการควบคุมอาหารแล้วยังไม่ช่วยควบคุมอาการของโรคได้ จึงจำเป็นต้องล้างไต 6.เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรคไตวาย ไตทำงานน้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่ออัตรากรองของไต ( จีเอฟอาร์ ) น้อยกว่า 6 แม้ว่าจะไม่มีภาวะทุพโภชนาการก็ตาม ของเสียคั่งในเลือด มีบียูเอ็นมากกว่า 100 มิลลิกรัม% ระดับครีเอตินีนมากกว่า 10 มิลลิกรัม% แต่ถ้าผู้ป่วยขาดสารอาหารอย่างมากด้วย จะใช้ค่าบียูเอ็นมากกว่า...
- โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

การใช้สิทธิ์บำบัดทดแทนไตค่ายา และปลูกถ่ายไต

0
ประกันสุขภาพ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนันสนุนและส่งเสริมการตัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท ข้าราชการใช้สิทธิเบิกได้ตามระเบียบข้าราชการ ส่วนคนที่ใช้บัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับสิทธ์ในการล้างไตทางหน้าท้อง รวมทั้งการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ถ้าต้องการฟอกเลือดจะเบิกไม่ได้ ต้องจ่ายเอง หากเป็นผู้ประกันตน สามารถเบิกได้ทั้งการฟอกเลือด การล้างไตทางหน้าท้อง และการปลูกถ่ายไต คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ 1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาตไทย 2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ ประกันสังคม สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่นๆ สามารถตรวจสิทธิและการลงทะเบียนปรักันสุขภาพภาครัฐตามกฎหมาย 1. ติดต่อด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ 2. สายด่วน สปสช. โทร. 1330 กด2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก 3. ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต www.nhso.go.th หรือ app สปสช. หรือ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml บัตรทอง / บัตรประกันสุขภาพ ( ใช้สิทธิกับ รพ.ที่เข้าร่วม ) กรณีปลูกถ่ายไต 1.1 ช่วงเตรียมตัวก่อนผ่าตัด เบิกเหมาจ่าย (ได้ใกล้เคียงกับประกันสังคม) กรณีผู้ให้ไตถือบัตรทอง ส่วนผู้รับไตที่เป็นญาตินั้นมีสิทธิประกันสังคมผู้ให้ไตจะได้รับคุ้มครองจากสิทธิประกันสังคม คือ เบิกค่าผ่าตัดไต ค่าตรวจเนื้อเยื่อ ตรวจโรค ในราคาเหมาจ่าย ได้ 40,000 บาทต่อราย 1.2 ช่วงผ่าตัดปลูกถ่ายไต เหมาจ่าย 1.3 หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่าย ครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เหมาจ่ายตามระยะเวลา ปีที่ 1 เดือน  1-6    30,000 บาท เดือน 7-12           25,000 บาท ปีที่ 2                  20,000 บาท ปีที่ 3                  15,000 บาท กรณีล้างไตทางช่องท้อง ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายที่ถือบัตรทอง สามารถรับบริการล้างไตทาง หน้าท้องได้ฟรี ผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่อาจเบิกค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ ถ้าอยากฟอกเลือดเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องฟอกเลือด จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง กรณีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้เฉพาะผู้ป่วยรายเก่าที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อน 1 ตุลาคม 2551 จ่ายให้ 2 ใน 3 ของค่าบริการไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง คือ ผู้ป่วยร่วมจ่ายด้วย 500 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยหลัง 1 ต.ค.51 ให้สิทธิ์ฟอกเลือกกับผู้ป่วยบัตรทองที่มีข้อห้ามล้างไตทางช่องท้องเท่านั้น โดยจ่ายรัฐค่าฟอกเลือดให้ 1,500-1,700 บาท/ครั้ง ขั้นตอนรับบริการล้างไต ของผู้มีสิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยยื่นบัตรทอง พร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน แจ้งความจำนงที่โรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง รายชื่อของผู้ป่วยจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ผู้ป่วยที่ได้รับการอนุมัติ จะได้รับการลงทะเบียน และได้รับการแจ้งกลับจากโรงพยาบาล ค่ายา จ่ายให้ผู้ประกันตน บัตรทอง ข้าราชการ ตามระดับความเข้มขนของเลือดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้ ความเข้มข้นของเลือด ( ฮีมาโตคริต )...